วันเวลาปัจจุบัน 22 พ.ค. 2025, 16:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แสงอาทิตย์....พลังงานสะอาด
สร้างโอกาส..แก้วิกฤตพลังงาน


ปริมาณ ความร้อนที่ดวงอาทิตย์ถ่ายเทมาสู่โลกทั้งหมด
ร้อยละ 31.8 ถูกสะท้อนกลับในลักษณะ คลื่นสั้นสู่ชั้นบรรยากาศ
มีเพียงร้อยละ 68.2 ที่ผิวโลกสามารถรับความร้อนได้

...โลกนำพลังงานที่ได้รับนี้ไปก่อให้เกิดความร้อนในโลก ร้อยละ 43.5

...นำพลังงานความร้อนไปก่อให้เกิดให้เกิดการระเหยของน้ำและของเหลวบนโลก
รวมถึงการเกิดฝนตกต่าง ๆ ร้อยละ 22.7

...นำพลังงานนี้ไปก่อกำเนิดคลื่นและลมต่าง ๆ บนโลก ร้อยละ 1.9

...เหลือเป็นพลังงานไปใช้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก
รวมทั้งมนุษย์ สัตว์ และการเจริญเติบโตของพืชบางส่วน

...มนุษย์และสิ่งมีชีวิตนำพลังงานความร้อนที่ได้รับ
มาแปรรูปและใช้งานในรูปพลังงานจากแสงอาทิตย์เพียงน้อยนิด
จากพลังงานทั้งหมดที่ดวงอาทิตย์ถ่ายเทให้เท่านั้น

สัดส่วนเพียงน้อยนิดนี้สามารถนำไปใช้ในรูปแบบ
พลังงานเพื่อมวลมนุษย์เป็นจำนวนมหาศาล
จากรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมแผงสุริยะภาคพื้นยุโรปเกี่ยวกับ
โซล่าร์เจนเนเรชั่น (Solar Generation)

ระบุว่าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า
ป้อนให้กับผู้คนได้กว่า 2,000 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2583

พลังงานแสงอาทิตย์...พลังงานหมุนเวียนที่ได้จากธรรมชาติ
ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ
ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์
มาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน 2 รูปแบบ คือ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


1) ผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์โดยใช้เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์
(ส่วนการผลิตไฟฟ้าจากระบบความร้อนแบบรวมแสงยังอยู่ระหว่างการศึกษา)
2) ผลิตความร้อนเพื่อใช้ในบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ อุตสาหกรรม
และการอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร โดยมีการผลิตไฟฟ้าจำนวน 32.25 เมกะวัตต์
และความร้อนจำนวน 2.3 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ

ก่อนนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์จำเป็นต้องทราบถึง
ศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ต่าง ๆ จากรายงานของ
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ.
ได้มอบหมายให้ทางมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดทำ
แผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย
(Solar energy potential map)
โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังจากดาวเทียมเป็นเวลา 6 ปี
เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาใช้เป็นแนวทางการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์
ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ในประเทศไทยศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ใน
แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน โดยศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์
ที่มี ความเข็มรังสีสูงเฉลี่ยทั้งปี และแผ่ในบริเวณกว้าง
ทางตอนล่างและตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รวมถึงบางส่วนของภาคกลาง พื้นที่อื่น ๆ จะมีศักยภาพลดหลั่นกันไป

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....
การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของโลก
การพัฒนาการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่นญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในกลุ่มยุโรป จากรายงานคาดการณ์ที่จัดทำโดย European Commission Joint Research Center พบว่าในปี พ.ศ.2553 ทั่วโลกจะมีเซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้ารวม 11,000 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ.2563 เพิ่มเป็น 60,000 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2573 จะเพิ่มเป็น 127,000 เมกะวัตต์
(มีต่อ...)



ที่มา:'รักษ์พลังงาน :ฉ.61 2552:18-19

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2009, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


แล้ว Solar Cell มันแพงมั้ยอ่า :b10:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชิโนะซึเกะ เขียน:
แล้ว Solar Cell มันแพงมั้ยอ่า :b10:

ก็เอาการค่ะ...คุณ ชิโนะซึเกะ
แต่เพื่อนที่ติดตั้งแก่ไปขอทุนสนับสนุนจากสถาบันได้อ่ะ
ป่านนี้หมดทุนไปแล้วมั้ง....
:b2: :b2: :b2:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อนะคะ....

แนว โน้ม การพัฒนาการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขณะนี้
ไม่ได้จำกัดเพียงประเทศดังกล่าวข้างต้นอีกต่อไป
ขณะนี้สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ริเริ่มโครงการก่อสร้าง
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์
(China plans world’s largest Solar Power Plant)
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ซึ่งคาดว่าจะ ใหญ่ที่สุดในโลก
โดยความร่วมมือของ 2 บริษัท คือ The China Technology Development Group Corp.
(NSDQ: CTDC) and Qinghai New Energy Co.
เริ่มต้นก่อสร้างโครงการแล้วในปีนี้ โดยมีเป้าหมายเริ่มต้นที่กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์
ใช้เงินลงทุน 146 ล้านเหรียญในเฟสแรก และจะใช้แผงโซล่าร์เซลล์ 2 ชนิดร่วมกัน
คือ c rys talline silicon กับ thin-film solar panels
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จีนพัฒนาขึ้น โดยโครงการจะใช้พื้นที่ 31,200 ตารางเมตร


การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520-2550 ประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
โดยใช้เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์จำนวน 32.25 เมกะวัตต์
แบ่งเป็นการติดตั้งแบบเชื่อมต่อกับระบบจำหน่าย 3.06 เมกะวัตต์
และระบบอิสระ 29.19 เมกะวัตต์ ในที่ ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง

การผลิตความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์

ปัจจุบันมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตความร้อนประมาณ 2.3 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ
พพ. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ปฏิบัติงานด้านนี้ ทั้งศึกษาวิจัยและให้การสนับสนุนเช่น
โครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสาน
ใช้ใน 3 กลุ่มหลัก คือ ภาคบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ และอุตสาหกรรม
ซึ่งมีความต้องการปริมาณน้ำร้อนรวมทั้งสิ้น 1,206.5 พันตัน
โดยที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตได้ทั้งสิ้นจำนวน 153.9 พันตัน
หรือคิดเป็นพื้นที่รับแสงประมาณ 1.5 ล้านตารางเมตร

นอกจากการผลิตน้ำรอนยังมีการนำแสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์
ในการอบแห้งเท่าที่ผ่านมาการอบแห้งในประเทศไทย
เป็นการวิจัยพัฒนาในสถาบันศึกษาเพื่อผลทางวิชาการเท่านั้น

ดังนั้นเมื่อปี พ.ศ.2546 พพ. จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร
พัฒนาระบบแห่งพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้อบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
โดยทำการพัฒนา 3 แบบ คือ แบบเรือนกระจก แบบอุโมงค์ และแบบใช้อากาศร้อนจากหลังคา

ซึ่ง พพ. จะดำเนินการพัฒนาระบบอบแห้งแบบเรือนกระจกสำหรับอุตสาหกรรมใหญ่
เพื่อใช้อบแห้งผลิตภัณฑ์การเกษตรและทำการส่งเสริมให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายในระยะยาว

ขณะนี้ได้มีการกำหนดแผนพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์
ไว้ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (2551-2565)
ในกลุ่มพลังงานธรรมชาติ (แสงอาทิตย์) นั้น แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

• ระยะสั้น ( พ.ศ. 2551-2554 )
• ระยะกลาง ( พ.ศ. 2555-2559 )
• ระยะยาว ( พ.ศ. 2560-2565 )

โดยตั้งป้าส่งเสริมการผลิตไฟฟ้า 500 เมกะวัตต์
และความร้อนร่วม 38 พันตัน ซึ่งจะมุ่งเน้นการส่งเสริม
ด้านการผลิต การใช้ และการศึกษาวิจัย
โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ตั้งวัตถุดิบไปจนถึงการใช้พลังงานที่ผลิตได้

อนาคตอันใกล้นี้ พลังงานแสงอาทิตย์จะเป็น
พลังงานทดแทนการใช้พลังงานฟอสซิลที่นับวันจะหมดลง
เนื่องจากเป็นพลังงานที่สะอาดปราศจากมลพิษ
สามารถนำมาใช้ได้อย่างไม่สิ้นสุดและมีลักษณะกระจายไปถึงผู้ใช้โดยตรง
ทำให้หลายประเทศให้ความสนใจ และมุ่งมั่นพัฒนาแสงอาทิตย์กันอย่างจริงจัง


ที่มา: 'รักษ์โลก :20-23

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร