วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 187 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ได้ไงว่าไม่คุ้มขอรับ :b16:

การศึกษาพระวินัยต้องศึกษาให้ถึงต้นบัญญัติ (อาทิกัมมิกะ) แล้วดูอนุบัญญัติอีก :b1:

คำว่า บุญ ตามที่คนขวางโลกเข้าใจต้องยังไงครับ บุญ ขอคำจำกัดความครับ บุญคืออะไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มันรู้ได้เฉพาะตนครับ

เมื่อท่านทำอย่างถูกต้องท่านก็จะรู้เองแหละครับ และไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นมายืนยันมาบอกมาให้ความหมายอะไรให้วุ่นวาย เพียงแค่ว่า เออ คุณก็คิดแค่นี้เหรอ ผมคิดได้มากกว่าคุณนะ

สุดท้ายมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหละ มันรู้ได้เฉพาะตนอย่างว่าแหละครับท่านกรัชกาย

แล้วคุณเข้าใจว่าไงบ้างกับข้อความนี้หละ

คุณเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าจริงหรือ ถ้าเป็นแล้วคุณทำหรือยัง

1.มีพุทธ ธรรม สงฆ์ เป็นที่พึ่งหรือยัง มากน้อยแค่ไหน แล้วประเมินตนเองได้ว่า ควรต้องศึกษาพระพุทธศาสนาในเรื่องอะไร จึงจะเหมาะสมกับตนเอง

2.มีการให้ทานประเภทต่างๆ บริบูรณ์มากน้อยเพียงใด มีความตระหนี่หลงเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด แล้วประเมินตนเองได้ว่า ควรต้องศึกษาพระพุทธศาสนาในเรื่องอะไร จึงจะเหมาะสมกับตนเอง

3.มีศิลบริบูรณ์แล้วหรือไม่ อย่างไร บกพร่องมากน้อยแค่ไหน แล้วประเมินตนเองได้ว่า ควรต้องศึกษาพระพุทธศาสนาในเรื่องอะไร จึงจะเหมาะสมกับตนเอง

4.มีความกังวลเรื่องอะไรบ้าง แต่ละเรื่องมีความกังวลอยู่มากน้อยแค่ไหน ระดับไหน มีวิธีการแก้ไขความกังวลอย่างไร แล้วประเมินตนเองได้ว่า ควรต้องศึกษาพระพุทธศาสนาในเรื่องอะไร จึงจะเหมาะสมกับตนเอง

5.มีความรู้เรื่องกรรมฐาน ดีหรือยัง มากน้อยแค่ไหน รู้หรือหรือไม่ว่า กรรมฐานใดเหมาะสมกับตนเอง แล้วประเมินตนเองได้ว่า ควรต้องศึกษาพระพุทธศาสนาในเรื่องอะไร จึงจะเหมาะสมกับตนเอง

ได้ทำตามนี้หรือยัง หรือทำลัดหน้าลัดหลังไปทั่ว ท่านกรัชกาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 10:12
โพสต์: 27


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านทุกความคิดเห็นแล้วก็ได้แต่หัวเราะอย่างสังเวชใจ

จากคนไม่มีศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนกินขี้(เหล็ก) มาดูคนกิน ข้าว มันก็ น่าสังเวชอย่างนี้แหละท่านเพราะว่า

ชอบกินอะไรก็ว่าของตัวเองดีกว่าคนอื่นอยู่แล้ว มันเป็นธรรมดาครับท่าน pride ก็ต้องทนเอาหน่อยครับ

เพื่อสุขภาพ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 16:38
โพสต์: 81

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จะไม่ถามเลยหรอกครับ ขั้นแรกดูๆว่า สำนักนั้นมี พระพุทธรูปไหม หากไม่มีผ่านขั้นที่หนึ่ง


:b8: ท่านกรัชกายค่ะดิฉันอ่านพระไตรปิฎกแล้วมีพระสูตรต่าง ๆ นี้น่ะค่ะ ที่สงสัยเกี่ยวกับคำที่อ้างถึงท่านกรัชกายช่วยขยายความให้ด้วยค่ะว่าที่ทำอยู่กัน"อันเล็กอันน้อยอันใหญ่" และปลุกเสก เบิกเนตร โฆษณาว่าทำจากแร่ธาตุ ดิน ทราย ทอง เงิน และที่เรียกกันว่าวัตถุอะไรที่ดีสุดยอดทั้งหมดในโลกใบนี้เอาทำปั้นกันขึ้นมาสมมติแทนพระพุทธองค์นั้น ดิฉันพิจารณาจากพระสูตรนี้แล้ว รู้สึกเหมือนขัดคำตรัสของพระพุทธองค์อย่างไรไม่ทราบค่ะ


เล่ม 32 หน้า 214

อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพ ( ความเป็นตัวตน ) เรียกว่ารูปเปรียบ
ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพของท่านไม่มี
อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น
ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่าผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทราย (แม้เพียงนิ๊ดนึง)
ให้เหมือนอัตภาพของพระตถาคต ย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดยประการทั้งปวง.

อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียบ
เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต นั้นไม่มี


เล่ม 11 หน้า 66

….ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตดำรงอยู่
ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต......

เล่ม 13 หน้า 121

...ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษทรงปลื้มพระทัยนักแล
เมื่อผลกรรมปรากฏ ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดยาว อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่ยาว ทรงงดงาม
เพราะอวัยวะส่วนใดสั้นอวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่สั้น ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดล่ำ
อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่ล่ำ ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดเรียว อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่เรียว
ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดกว้าง อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กว้าง
ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดกลม อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กลมดังนี้
อัตตภาพของพระมหาบุรุษสะสมไว้ด้วยทานจิต บุญจิต
ตระเตรียมไว้ด้วยบารมี ๑๐ ด้วยประการฉะนี้.
ศิลปินทั้งปวงหรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงในโลก ไม่สามารถสร้างรูปเปรียบได้.....

เล่ม 13 หน้า 320

....ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์)
มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ
ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา......


เล่ม 60 หน้า 267

...พระอานนทเถระรับว่า ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจดีย์มีกี่อย่าง.
พระศาสดาตรัสตอบว่า มีสามอย่างอานนท์.
พระอานนทเถระทูลถามว่า สามอย่างอะไรบ้าง พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า ธาตุเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑.
พระอานนทเถระทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป
ข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์ได้หรือ.
พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้ เพราะธาตุเจดีย์นั้น
จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
สำหรับอุทเทสิกเจดีย์ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น...



เล่ม 21 หน้า 202

ครั้งนั้นแล มื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปแล้วไม่นาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้
ตรัสธรรมเจดีย์ คือพระวาจาเคารพธรรม ทรงลุกจากที่ประทับนั่งแล้วเสด็จหลีกไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้ จงทรงจำธรรมเจดีย์นี้ไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นอาทิพรหมจรรย์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

เล่ม 30 หน้า 444

...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในกาลที่ล่วงไปแล้วก็ดี
จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่านี้นั้นเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ.

เล่ม 33 หน้า 327

ชื่อว่า พุทธ เพราะกำจัดภัยของเหล่าสัตว์ ด้วยให้สิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไป
ให้ออกจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ หรืออีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าชื่อว่าเป็นสรณะ
เพราะกำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลายด้วยการให้หันเข้าหาประโยชน์
และให้หันเหออกจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ทรงเป็นที่ดำเนินไปในเบื้องหน้า
ทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยว ทรงเป็นผู้ทำลายทุกข์

ชื่อว่า ธรรม เพราะยกสัตว์ให้ข้ามจากกันดารคือภพ และเพราะทำความเบาใจแก่สัตว์โลก

ชื่อว่า สงฆ์ เพราะทำสักการะแม้มีประมาณน้อย กลับได้ผลไพบูลย์.

ฉะนั้น พระรัตนตรัยจึงเป็นสรณะ โดยปริยายแม้นี้

เล่ม 39 หน้า 19

บัดนี้ จะกล่าวอธิบายคำที่ว่าจะประกาศพระสรณตรัยนั้น ด้วยข้ออุปมา (ข้อเปรียบเทียบ) ทั้งหลาย ก็ในคำนั้น

พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน พระจันทร์เพ็ญ
พระธรรมเปรียบเหมือนกลุ่ม รัศมีของพระจันทร์
พระสงฆ์เปรียบเหมือน โลกที่เอิบอิ่มด้วยรัศมีของพระจันทร์เพ็ญที่ทำให้เกิดขึ้น
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อน ๆ
พระธรรมดังกล่าวเปรียบเหมือน ข่ายรัศมีของดวงอาทิตย์นั้น
พระสงฆ์เปรียบเหมือน โลกที่ดวงอาทิตย์นั้นกำจัดมืดแล้ว.
พระพุทธเจ้าเปรียบ เหมือนคนเผาป่า
พระธรรมเครื่องเผาป่าคือกิเลสเปรียบเหมือน ไฟเผาป่า
พระสงฆ์ที่เป็นบุญเขต เพราะเผากิเลสได้แล้ว เปรียบเหมือนภูมิภาคที่เป็นเขตนา เพราะเผาป่าเสียแล้ว.
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน เมฆฝนใหญ่
พระธรรมเปรียบเหมือน น้ำฝน
พระสงฆ์ผู้ระงับละอองกิเลสเปรียบเหมือน ชนบทที่ระงับละอองฝุ่นเพราะฝนตก.
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน สารถีที่ดี
พระธรรมเปรียบเหมือน อุบายฝึกม้าอาชาไนย
พระสงฆ์เปรียบเหมือน ฝูงม้าอาชาไนยที่ฝึกมาดีแล้ว.
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ศัลยแพทย์ [หมอผ่าตัด] เพราะทรงถอนลูกศรคือ ทิฏฐิได้หมด
พระธรรมเปรียบเหมือน อุบายที่ถอนลูกศรออกได้
พระสงฆ์ผู้ถอนลูกศรคือทิฏฐิออกแล้ว เปรียบเหมือน ชนที่ถูกถอนลูกศรออกแล้ว.

อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน จักษุแพทย์ เพราะทรงลอกพื้นชั้นโมหะออกได้แล้ว
พระธรรมเปรียบเหมือน อุบายเครื่องลอกพื้น [ตา]
พระสงฆ์ผู้มีพื้นชั้นตาอันลอกแล้ว ผู้มีดวงตาคือญาณอันสดใส เปรียบเหมือนชนที่ลอกพื้นตาแล้ว มีดวงตาสดใส.
อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนแพทย์ผู้ฉลาด เพราะทรงสามารถกำจัดพยาธิคือ กิเลสพร้อมทั้งอนุสัยออกได้
พระธรรมเปรียบเหมือน เภสัชยาที่ทรงปรุงถูกต้องแล้ว
พระสงฆ์ผู้มีพยาธิคือกิเลสและอนุสัยอันระงับแล้วเปรียบเหมือน
หมู่ชนที่พยาธิ(ความเจ็บป่วย) ระงับแล้ว เพราะการประกอบยา.

อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ผู้ชี้ทาง
พระธรรมเปรียบเหมือน ทางดี หรือ พื้นที่ที่ปลอดภัย
พระสงฆ์เปรียบเหมือน ผู้เดินทางถึงที่ที่ปลอดภัย
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน นายเรือที่ดี
พระธรรมเปรียบเหมือน เรือ
พระสงฆ์เปรียบเหมือน ชนผู้เดินทางถึงฝั่ง.
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ป่าหิมพานต์
พระธรรมเปรียบเหมือน โอสถยาที่เกิดแต่ป่าหิมพานต์นั้น
พระสงฆ์เปรียบเหมือน ชนผู้ไม่มีโรคเพราะใช้ยา.
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ผู้ประทานทรัพย์
พระธรรมเปรียบเหมือน ทรัพย์
พระสงฆ์ผู้ได้อริยทรัพย์มาโดยชอบเปรียบเหมือน ชนผู้ได้ทรัพย์ตามที่ประสงค์.
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ผู้ชี้ขุมทรัพย์
พระธรรมเปรียบเหมือน ขุมทรัพย์
พระสงฆ์เปรียบเหมือน ชนผู้ได้ขุมทรัพย์.

อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้เป็นวีรบุรุษเปรียบเหมือน ผู้ประทานความไม่มีภัย
พระธรรมเปรียบเหมือน ไม่มีภัย
พระสงฆ์ผู้ล่วงภัยทุกอย่างเปรียบเหมือน ชนผู้ถึงความไม่มีภัย
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ผู้ปลอบ
พระธรรมเปรียบเหมือน การปลอบ
พระสงฆ์เปรียบเหมือน ชนผู้ถูกปลอบ
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน มิตรดี
พระธรรมเปรียบเหมือน คำสอนที่เป็นหิตประโยชน์
พระสงฆ์เปรียบเหมือนชน ผู้ประสบประโยชน์ตน เพราะประกอบหิตประโยชน์ (ประโยชน์เกื้อกูล)
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน บ่อเกิดทรัพย์
พระธรรมเปรียบเหมือน ทรัพย์ที่เป็นสาระ
พระสงฆ์เปรียบเหมือน ชนผู้ใช้ทรัพย์ที่เป็นสาระ
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ผู้ทรงสรงสนานพระราชกุมาร
พระธรรมเปรียบเหมือน น้ำที่สนานตลอดพระเศียร
พระสงฆ์ผู้สรงสนานดีแล้วด้วยน้ำคือพระสัทธรรม เปรียบเหมือน หมู่พระราชกุมารที่สรงสนานดีแล้ว.
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ช่างผู้ทำเครื่องประดับ
พระธรรมเปรียบเหมือน เครื่องประดับ
พระสงฆ์ผู้ประดับด้วยพระสัทธรรมเปรียบเหมือน หมู่พระราชโอรสที่ทรงประดับแล้ว.
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ต้นจันทน์
พระธรรมเปรียบเหมือน กลิ่นอันเกิดแต่ต้นจันทน์นั้น
พระสงฆ์ผู้ระงับความเร่าร้อนได้สิ้นเชิงเพราะอุปโภคใช้พระสัทธรรมเปรียบเหมือน ชนผู้ระงับความร้อนเพราะใช้จันทน์
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน บิดามอบมฤดกโดยธรรม
พระธรรมเปรียบเหมือน มฤดก
พระสงฆ์ผู้สืบมฤดกดือพระสัทธรรม เปรียบเหมือน พวกบุตรผู้สืบมฤดก.
พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน ดอกปทุมที่ปาน
พระธรรมเปรียบเหมือน น้ำอ้อยที่เกิดจากดอกปทุมที่บานนั้น
พระสงฆ์เปรียบเหมือน หมู่ภมรที่ดูดกินน้ำอ้อยนั้น.
พึงประกาศพระสรณตรัยนั้น ด้วยข้ออุปมาทั้งหลายดังกล่าวมาฉะนี้.

ต้องขอโทษท่านกรัชกายที่นำพระสูตรมายกมาไปหน่อยทนอ่านหน่อยนะค่ะเพราะสงสัยจริง ๆ ว่าที่เอาอันนี้เป็นที่พึ่งกันแบบทั่วไปน่ะค่ะ ....อ้อลืมพระสูตรนี้อีกค่ะเพราะปั้นมาแล้วก็ปลุกเสก เบิกเนตร ลงยันต์ ฯลฯสารพัดจะทำกันน่ะค่ะ แต่เห็นว่าคำว่า "พุทธะ" แปลว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ที่ทำขึ้นนั้น เห็นพระพุทธองค์หลับอยู่หรืออย่างไรค่ะ

เล่ม 11 หน้า 315

มหาศีล

1. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา ( วิชาที่ขัดกับพระนิพพาน )
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะ ( อาหาร ) ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ทายอวัยวะ ทายนิมิต ( เครื่องหมาย ) ทายฟ้าผ่า เป็นต้น ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า
ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ
ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ
ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก
เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง
เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ
เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.......

....6. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง
ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง
ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ไห้มือสั่น ร่ายมนต์ให้หูไม่ได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก
เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม
ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

7. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน
ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือนทำกะเทยให้กลับเป็นชาย
ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือนทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์
ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน
ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่างปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์
ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ชะแผล
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง....

คงได้รับคำอธิบายนะคะ เพราะสงสัยแล้วไม่รู้จะถามผู้ใดให้ได้รับความรู้อย่างจริงจัง หนักแน่นสักครั้ง เคยได้รับคำตอบเหมือนกันว่า ปั้นเป็นตุ๊กตาหลอกเด็ก หลอกให้ผู้คนมานับถือศรัทธาในพระศาสนา มาก ๆ เห็นท่านกรัชกายกล่าวมาอย่างนี้เลย อยากถามเป็นความรู้ค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ่านทุกความคิดเห็นแล้วก็ได้แต่หัวเราะอย่างสังเวชใจ

จากคนไม่มีศาสนา
ผมอ่านทุกความเห็น แล้วผมคิดว่าเป็นเรื่องธรรมชาติที่กระทู้นึงจะ
มีเรื่องที่คิดเห็นตรงกัน และไม่ตรงกัน ก็เหมือนฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลนั่นแหละ คงจะเห็นด้วยหมด
ก็คงไม่ หรือจะไม่เห็นด้วยหมดก็ไม่ช่าย การที่ถกเถียงโดยอาศัยเหตุผลที่เป็นบรรทัดฐานจากภูมิรู้ภูมิเข้าใจคงตัวเอง ก็ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้ว ผมว่าไม่น่าสังเวชใจอย่างที่บอกสักเท่าไรนะ
เอาเป็นว่าเรียกว่า .."การระดมความคิดเห็นในหัวข้อตักบาตรใหญ่ของรัฐบาลจะดีกว่า" ส่วนที่มันยาว
หลายๆโพสท์ก็เพราะว่าทุกคนย่อมมีเหตุผลของตัวเองและต้องการมาสรุปให้หัวข้อที่เกี่ยวข้องหรือพูดถึง
ให้ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ และแน่ละต้องอ้างอิงพระสูตร พระอภิธรรม พระวินัยทั้งหลายเพื่อย้ำความเชื่อมั่นของตน ซึ่งก็เป็นสิทธิและความเหมาะสมที่ผู้นั้นสามารถทำได้ ไม่แปลกแต่ประการใดทั้งปวง
แม้แต่คุณได้อ่านแล้วหัวเราะ ก็เพราะได้ผลหรือคุณค่าด้านใดด้านหนึ่งจากการอ่าน กระทู้ที่อาจเป็น+ หรือ - ทำให้คุณเกิดความสังเวชใจ แต่สำหรับผมแล้วเห็นเป็นเรื่องธรรมดาของโลกนี้จริงๆที่มีมานานนมนานแล้ว จะเรียกว่า "โลกธรรม" ก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ตอบคนขวางโลก)

อ้อ ความหมาย บุญ คือ รู้ได้เฉพาะตน :b6:

แล้วคนที่เขาทำบุญกับสมมุติสงฆ์เขาก็ได้บุญ คือ เขาก็รู้ได้เฉพาะตน เฉพาตัวเขา แล้วคุณจะว่าอย่างไร

-พุทธ – มนุษย์ (ชี้ถึงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่ในมนุษย์แต่ละบุคคล)

-ธรรม- ธรรมชาติ (ธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย ที่รู้แล้วจะลุธรรมที่เหนือเหตุปัจจัย)

-สงฆ์-สังคม (สังคมมนุษย์อุดมคติแห่งอริยชน ผู้ดำเนินอยู่ในชั้นต่างๆ แห่งการรู้ธรรมและก้าวตามวิถี
แห่งพุทธะ)


อ้างคำพูด:
5.มีความรู้เรื่องกรรมฐาน ดีหรือยัง มากน้อยแค่ไหน รู้หรือหรือไม่ว่า กรรมฐานใดเหมาะสมกับตนเอง แล้วประเมินตนเองได้ว่า ควรต้องศึกษาพระพุทธศาสนาในเรื่องอะไร จึงจะเหมาะสมกับตนเอง

ได้ทำตามนี้หรือยัง หรือทำลัดหน้าลัดหลังไปทั่ว ท่านกรัชกาย


ได้ทำตามนี้หรือยัง หรือทำลัดหน้าลัดหลังไปทั่ว ท่านกรัชกาย

ยังขอรับ ท่านคนขวางโลก :b8:
เพราะ
ด้วยประเด็นกรรมฐานกรัชกายเคยถามคุณก่อนหน้าแล้ว แต่ คนขวางโลก ก็บ่ายเบี่ยง บอกว่าเดี๋ยวมั่ว

รู้ไหมว่า กรัชกายจะเดินตามแนวทางคุณ จะเดินตามรอยอาจารย์ของคุณ

ถึงเวลาแล้วครับที่ คนขวางโลก จะเผยแผ่แนวทางกรรมฐานของสำนักคุณ ให้ชาวโลกได้รับรู้

เชิญขอรับ คุณปฏิบัติอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ตอบคุณไม่สายเกินไป)



อ้างคำพูด:
ท่านกรัชกายค่ะ ดิฉันอ่านพระไตรปิฎกแล้วมีพระสูตรต่าง ๆ นี้น่ะค่ะ ที่สงสัยเกี่ยวกับคำที่อ้างถึงท่านกรัชกายช่วยขยายความให้ด้วยค่ะว่า ที่ทำอยู่กัน "อันเล็กอันน้อยอันใหญ่" และปลุกเสก
เบิกเนตร โฆษณาว่าทำจากแร่ธาตุ ดิน ทราย ทอง เงิน และที่เรียกกันว่าวัตถุอะไรที่ดีสุดยอดทั้งหมด
ในโลกใบนี้ เอาทำปั้นกันขึ้นมาสมมติแทนพระพุทธองค์นั้น
ดิฉันพิจารณาจากพระสูตรนี้แล้ว รู้สึกเหมือนขัดคำตรัสของพระพุทธองค์อย่างไรไม่ทราบค่ะ



คุณไม่สายเกินไป ไหนคุณนำพระพุทธองค์มาให้ดูหน่อยดิ อยู่ไหน :b12:
เห็นมีแต่ตัวหนังสือเต็มไปหมด ไม่เห็นพระพุทธองค์ดังว่าเลย :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถึงเวลาแล้วครับที่ คนขวางโลก จะเผยแผ่แนวทางกรรมฐานของสำนักคุณ ให้ชาวโลกได้รับรู้
เชิญขอรับ คุณปฏิบัติอย่างไร


ผมทำตามแนวทางของพระพุทธองค์ที่ให้ไว้ครับ(ในพระไตรปิฎกนั่นแหละท่านกรัชกาย) ผมก็เลือกทำเฉพาะส่วนที่มันตรงกับจริตของผมครับท่าน แล้วก็ช่วยประกาศให้ชาวโลกได้รับรู้ด้วยนะครับ
ว่าผมทำตามพระพุทธเจ้าครับ ไม่ได้ทำตามเกจิอาจารย์ท่านไหนหรือองค์ใดทั้งสิ้นขอรับท่านกระผม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมทำตามแนวทางของพระพุทธองค์ที่ให้ไว้ครับ(ในพระไตรปิฎกนั่นแหละท่านกรัชกาย) ผมก็เลือกทำเฉพาะส่วนที่มันตรงกับจริตของผมครับท่าน แล้วก็ช่วยประกาศให้ชาวโลกได้รับรู้ด้วยนะครับ
ว่าผมทำตามพระพุทธเจ้าครับ ไม่ได้ทำตามเกจิอาจารย์ท่านไหนหรือองค์ใดทั้งสิ้นขอรับท่านกระผม



เขาว่ากันว่า คำสอนของพระพุทธเจ้ามีมากมากถึงแปดหมื่นสี่พันหัวข้อ

แต่เท่าที่คุณพูดมายังไม่เห็นคำตอบเลย

ยกตัวอย่างมาให้ดูพอเห็นเค้าสิขอรับ คุณทำตามแนวทางข้อไหน


หรือที่คุณพูดก่อนหน้า จะเป็นจริงตามนั้น :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกรัชกายนี่ก็ ทำไมเข้าใจอะไรยากจังเลยละท่าน :b20:

ทำเป็นพูดต้อนพูดไล่อยู่นั่นแหละ คนเก่งทำตัวโง่นี่เขาว่าฉลาดนะครับ แต่ทำโง่บ่อยๆ นี่มันน่า :b4: จะเป็นจักรยานนะครับผมว่านะ :b4: เพราะจะได้เอาไปทำให้โซ่มันตึงขึ้นเพราะมันยานเกินไปแล้วมั้งเนี่ย

สรุปนะท่านกรัชกาย

1.มีพุทธ ธรรม สงฆ์ เป็นที่พึ่ง

2.มีการให้ทานประเภทต่างๆ อย่างบริบูรณ์

3.มีศิลให้บริบูรณ์

4.ละความกังวลทุกเรื่อง อะไรบ้างนั้นก็มีบอกไว้แล้ว

5.ศึกษาหาความรู้เรื่องกรรมฐาน ให้ดี กรรมฐานใดเหมาะสมกับตนเองก็ค่อยไปทำ

ผมทำตามนี้แหละ ไปทีละขั้นตอน จะ แปดหมื่นหรือแปดแสน อะไรก็ตามแต่ มันก็เริ่มจากตรงนี้ทั้งหมดแหละท่าน หรือว่าไงขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไหนคุณนำพระพุทธองค์มาให้ดูหน่อยดิ อยู่ไหน
เห็นมีแต่ตัวหนังสือเต็มไปหมด ไม่เห็นพระพุทธองค์ดังว่าเลย


เจ้าคารม ชั่งยอกย้อนดีจริงนะท่านกรัชกายก็ อ่านมามากหละสิท่่า เลยหยอกกันเล่นหละสิ

อ่านดีๆ นะท่านกรัชกาย ช้าๆๆๆๆๆๆๆๆ ด้วยนะครับ

"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว

พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น

ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ

ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
"

เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐


หรือท่านกรัชกายจะว่า วัตถุที่เขาทำขึ้นแล้วนั้นจะเป็นศาสดาแห่งเธอ ชาวพุทธทั้งหลาย :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 185.56 KiB | เปิดดู 4613 ครั้ง ]
หรือจะให้ชัดเจนนะครับท่านกรัชกายว่าผมทำแบบไหนนะท่าน แต่อย่าไปยึดกับรูปภาพที่ผมนำมาให้ดูนะครับ มันก็แค่รูปเพื่อบรรยายให้เห็นสิ่งที่ผมทำก้เท่านั้นแหละ

โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชมรับนะครับ เหมาะสำหรับผู้ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งเท่านั้นครับ หรือคนไม่มีศาสนาควรได้รับคำชี้แจงจากคนที่มีศาสนานะครับ จะได้ไม่......ตัวเองเกินไป :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
.มีพุทธ ธรรม สงฆ์ เป็นที่พึ่ง

2.มีการให้ทานประเภทต่างๆ อย่างบริบูรณ์

3.มีศิลให้บริบูรณ์

4.ละความกังวลทุกเรื่อง อะไรบ้างนั้นก็มีบอกไว้แล้ว

5.ศึกษาหาความรู้เรื่องกรรมฐาน ให้ดี กรรมฐานใดเหมาะสมกับตนเองก็ค่อยไปทำ



เออ ...ก็บอกสะงี้ก็สิ้นเรื่องมัวหยักยักๆ อยู่นั่น จะได้รู้ว่า คนขวางโลกทำตามนั้น คือ ไล่ๆไต่ๆไปตามนั้น :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2009, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วใช้คำบริกรรมหรือเปล่าครับ หรือนั่งนึกๆเอา อยากได้อะไรก็นึกเอา หรือ ไงครับ เช่นอยากได้โสดาบัน ก็

นึกถึงคุณธรรมโสดาบัน ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 187 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร