วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 11:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กำลังแนะนำคุณกาม...ให้รู้จักวิธีหาปลา

มันก็ต้องอาศัยเวลาหน่อยถึงจะได้ปลากินด้วยความสามารถของตนเองและแบบถาวรด้วย

จะให้ผมป้อนหนะ มันง่ายไป เดี๋ยวไม่รู้จักวิธีคิดเอง ให้รอบคอบ รอบด้าน ก็ใบ้ให้แล้วไง คิดหน่อย ศีลหนะเข้าใจไหมท่าน ไม่ได้อ้อมนะเนี่ยใบ้แบบตรงๆ เลยท่าน

การขอขมายังไงมันถึงเกิดโทษ การให้ขามยังไงมันจะเกิดโทษ เอ้า....คิดๆๆๆๆๆๆๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 00:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่อ..รู้แล้ว..ว่า..มันไม่รู้นี้หว่า..555 :b19: :b19:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 05:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตาคุณคนขวางโลก ผมถามตรงๆ ก็ควรที่จะตอบตรงๆ ไม่ไช่มัวมาขี่ม้ารอบค่าย
มี ๒ อย่างที่คนไม่กล้าตอบปัญหาต่างๆ คือ ๑.ไม่รู้ และ ๒.กลัวจะผิด
กล้าๆหน่อย ตอบมาก็ไม่ไช่เหมือนหาปลามาให้ผมหรอก ไม่ต้องมาพูดเลย
อ้างโน่นอ้างนี่ พูดซะทำตัวเหมือนว่ามีความรู้ความเข้าใจเหนือคนอื่น แค่ชื่อคุณ
ที่ตั้งมา มันก็แสดงอีโก้(มานะ)ของคุณอย่างชัดเจนแล้ว รู้ป่าว ลีลากระยาบวช
ของคุณมันเกินวิสัยพระพุทธเจ้าไปแล้ว ใครถามพระพุทธองค์ไม่ว่าแนวไหน เช่น
จะลองดี หรือต้อนพระองค์ พระองค์ยังไม่ลีลาขนาดคุณเลย สาวกทำวิสัยเกินพระ
พุทธองค์ไม่ไช่เรื่องดี ไม่รู้ หรือกลัวเขาวิจารณ์คำตอบก็บอกมาตรงๆ ผมไม่ได้ถือ
สาหาความหรอก ขนาดนี้ผมประเมินแล้วว่า คนแบบนี้คงถือสาหาความไม่ได้แน่
สาระคงมีแค่ลีลาที่ทำให้ดูว่าเหนือชาวบ้านเขาแค่นั้นเอง
ฝากไว้นิดนึง นักทำนะครับ อย่าเป็นนักคิดแล้วสักว่ามานักเขียน อายชาวบ้านเขา :b12: :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกสิ่งที่ท่านว่ามา ก็ลองมองย้อนเข้าหาตัวท่านมั่งนะครับท่านกาม...
ผมไม่ได้มีความรู้เลิศเลอ สูงส่งกว่าใครหรอก อาจจะแย่กว่าท่านมากๆๆๆๆๆๆ ด้วยซ้ำ เพียงแต่ผมมันชอบ
มองอะไรต่างจากชาวบ้านเขาหนะครับ ไม่ได้เหนือกว่านะแต่เห็นต่างเฉยๆ เห็นชาวบ้านว่า ดีๆๆๆๆๆๆ ผมก็แค่คิดว่า แล้วถ้ามันไม่ดีหละมันจะยังไง ทำไมเขาถึง ชอบให้มองแต่ด้านดีๆๆๆ โดยไม่บอกด้านที่ไม่ดีด้วยหละ มันไม่เป็นธรรมนะ ก็แค่นั้น
เช่น มอร์ฟีน ใครๆ ก็ว่ามันเป็นสิ่งเสพติดให้โทษร้ายแรงอย่าไปเกี่ยวข้องกับมัน แต่ในวงการแพทย์กลับใช้มอร์ฟีนมาเป็นตัวช่วยในการบำบัดรักษาผู้ป่วย นั่นแสดงว่า สิ่งที่คิดว่าเลวๆๆๆๆๆ มันก็ยังมีดีอยู่บ้างถ้าใช้เป็น
แล้วสิ่งดีๆๆๆๆๆ หละ ถ้าใช้ไม่เป็นมันจะเกิดผลไม่ไดีได้ไหม ผมก็คิดอย่างนี้ ถึงได้ ขวางท่านอยู่นี่ไง

เอาทีละเปราะนะคุณกาม...เดี๋ยวไม่ทัน เพราะท่านเร็วไป มันเกี่ยวกับศีลนั่นแหละ การผิดศีลมันไม่เกิดโทษหรือไง แม้ความผิดเล็กน้อยก็อย่าประมาทเชียวนะ

การขอขมายังไงมันถึงเกิดโทษ
การขอขมาแบบมั่วๆ ที่พวกท่านและผมเคยทำๆ กันนั่นแหละ ยังไงนั้นเหรอ ท่านเคยกล่าวขอขมาใครอย่างนี้ไหมหละ
1.ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมทำไปแล้วขอให้คุณ อโหสิกรรมให้ผมด้วยผมสำนึกผิดแล้ว หรือ
2.ผมขอขมาท่านในทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมได้เคยทำไม่ดีกับท่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ขอท่านจงอโหสิกรรมให้ผมด้วยอย่าถือโทษโกรธเคืองกันอีกเลย หรือ...
3.....
4.....
อะไรก็แล้วแต่ที่จะกล่าวไป.......

อ่านให้ดีนะท่านกาม....การขอขมาที่ถูกต้องนั้น ผู้ขอ จะต้องรู้ว่าตนเองผิดอะไรพร้อมทั้งสำนึกผิดอย่างจริงจังและจริงใจแล้วจะไม่ขอทำผิดอย่างนั้นอีกต่อไปและที่สำคัญคือ จะต้องขอเป็นเรื่องๆ ไป เท่าที่จำได้แน่ชัดเท่านั้น ถ้าจำไม่ได้อย่าขอ เพราะไม่อย่างนั้นจะเข้าข่ายการพูดปด พูดเพ้อเจ้อ พูดพอผ่านๆ ไป นั่นก็จะทำให้ศีลข้อ มุสาวาท ของท่าน ด่างพล้อย อันเป็นเหตุให้ ศีลของท่านไม่บริบูรณ์ เมื่อศีลไม่บริบูรณ์ การบำเพ็ญเพื่อมรรคผลนิพพานก็จะไม่บริบูรณ์อย่างแน่นอน(เหมือนหลายๆ ท่าน ที่อ่านมาก รู้มากแต่ไม่ก้าวหน้าสักทีเพราะชอบมองข้ามจุดเล็กๆ อย่างนี้อยู่เรื่อยๆ การตักน้ำใส่โอ่งรั้วถึงแม้จะรั่วเล็กน้อยก็ทำให้น้ำไม่เต็มได้นะครับ) นี่แหละคือโทษของการ ขอขมา ที่ไม่ถูกต้อง
ขอแบบมั่วๆ ขอแบบทึกทักเอาเองโดยไม่ศึกษาให้รอบด้าน
แทนที่จะไปสุขคติแต่กลับสร้างทุกข์คติโดยไม่รู้ตัว

ย้อนกลับไปดูข้อความข้างบนสิท่านหรือที่ผ่านๆ มา ท่านเคยเห็นเขาแนะนำกันยังไงบ้าง
ได้บอก สรรพคุณของการขอขมาและโทษของการขอขมาไหม
เมื่อใครๆ ก็ต่างบอกแต่สรรพคุณของการขอขมา ว่าดีอย่างโน้นอย่างนี้ ผู้มาอ่านก็ไม่คิดพิจารณาหละทีนี้ก็ไปขอกันตะพึด สุดท้ายก็เป็นอันว่า ขอแล้วขออีกๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ไม่พ้นซะที บาปกรรมที่ก่อก็ส่งผลไปเรื่อยๆๆๆๆๆ
แล้วปรารถนานิพพานเหรอ ฝันเอายังไม่ได้เลย

การให้ขมายังไงมันจะเกิดโทษ

ก็เหมือนๆ กับผู้ขอนั่นแหละ คือ ต้องให้เป็นอย่างๆ เป็นเรื่องๆ เท่าที่ตนเองจำได้อย่างแน่นอน ไม่ใช่ให้แบบมั่วๆ เมื่อให้มั่วๆ มันก็จะไม่สามารถปลดเปลื้องลงไปได้ เพราะไม่รู้ว่าได้ให้ ตรงไหน นานๆ ไปก็ลืมอีก สุดท้ายก็จำไม่ได้ว่าเคยให้แล้ว และทีนี้ก็เกิดเรื่องว่า จำไม่ได้ว่าูเคยให้อภัยมัน แต่ดันจำได้ว่ามันเคยทำกับจะนั้นจะตามจองล้างจองผลาญมัน ก็เกิดการสร้างเวรต่อกันไปอีก เพราะการให้แบบมั่วๆ นั่นแหละเป็นเหตุ (อันนี้เห็นจากประสบการณ์ตรงของผมเอง ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ไม่เกี่ยวเพราะมันเกิดจริงๆ)

ลองไปถามพระอาจารย์ที่ท่านกาม...เคารพนักหนานะครับว่า เป็นจริงอย่างที่ผมว่ามาไหม เอาพระอรหันต์องค์ไหนก็ได้ที่ท่านเชื่อถือศรัทธาสุดๆ เลยนะ ไปถามท่านดู ว่าจริงไหม

ถ้าคิดไม่ออก ผมแนะนำท่าน ไปถาม หลวงตามหาบัว หรือ หลวงพ่อจรัญ ก็ได้นะ ท่านกามโภคี :b8:

ทีนี้แล้ว.....จะได้ให้คำแนะนำใครๆ เขาอย่างรอบคอบ รอบด้าน ถ้าเขาไม่พร้อมอย่าให้เขาทำอย่าสักแต่ว่า..ให้ไปเรื่อย

ก็ตามชื่อของผมแหละครับ คนขวางโลก ในเมื่อโลกเขามองแต่ด้านดีสอนให้เห็นแต่ด้านดี ซึ่งมันดูจะลำเอียงไปหน่อยที่จะไม่กล่าวถึงด้านไม่ดีเลย ธรรมะ ใช้เป็นก็ดีมีประโยชน์ ใช้ไม่เป็นก็เสียและมีโทษ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


การสวดมนต์ ในสมัยพุทธกาล หามีไม่ การสวดมนต์ เริ่มมามีในภายหลัง ส่วนเริ่มในสมัยใดนั้นเรามิทราบได้
การสวดมนต์ หากเราไม่รู้จุดประสงค์ บุญย่อมไม่เกิด ประโยชน์หามีไม่
เช่น การสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ เป็นการระลึกถึง ความดีของพระพุทธองค์ ความมีเมตตา ความกรุณา ในการเผยแพร่ คำสอนที่แสนวิเศษ ลึกซึ้ก ประณีต เมื่อเราระลึกถึงคุณพระพุทธองค์ แม้ไม่ต้องสวด กุศลย่อมจะมีได้ กลับกัน หากเราสวด โดยไม่ระลึก กุศลย่อมหามีไม่

การสวดลดบาปต่อเจ้ากรรมนายเวร เราหาเห็นชอบด้วยไม่ ดังจะยกคำนี้มาเช่น
บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
คำนี้ คงจะพอแย้งในเรื่อง การสวดลดหย่อนโทษเช่นกัน

การขอขมา
เมื่อมีผู้ขอขมา ต้องมีผู้ให้ขมา การที่เราสวดขอขมา ต่อเจ้ากรรมนายเวร หาถูกต้องไม่
เพราะสิ่งที่ส่งผลต่อเราจริงๆ หามีผู้ใดกระทำไม่ แต่เป็นผลของกรรมที่เรากระทำไว้เอง
แม้ที่สุดแห่งพระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นเลิศในโลก ยังมิสามารถหลีกหนีจากบุพพกรรม ในปางก่อนได้เลย

หากเรายึดติดการสวดอ้อนวอนลดหย่อนโทษ เราก็หาได้ต่างจาก ลัทธิเทวนิยมไม่
สิ่งที่เราต้องทำคือ เมื่อเราได้ทำกรรมไว้เสียแล้ว เราก็ต้องยินดีรับกรรมนั้น
การที่เราบอกว่า เราขอขมา ต่อเจ้ากรรมนายเวร เพราะเราสำนึกผิดในบาป หาเป็นจริงไม่
เมื่อเราสำนึกผิดในบาป เหตุไฉน เราต้องขอลดโทษด้วยเล่า? ดั่งจะยกตัวอย่าง

เมื่อเราขับรถไปชนผู้อื่น ได้รับบาดเจ็บ เราก็ขอโทษเสียแล้ว บอกว่าตัวเราสำนึกในความผิดแล้ว
ขอให้อดโทษต่อตัวเราด้วย แต่ตัวเราขอไม่ชดใช้ค่าเสียหาย ในเหตุนี้
เช่นนี้ จักได้ชื่อว่า สำนึกผิดจริงหรือ?
ฉันใด ฉันนั้นแล
เมื่อเราสำนึกผิด เราก็ต้องยอมรับในผลที่เราจะต้องได้รับ เพราะฉะนั้นการสวดลดหย่อนโทษ
ลดหย่อนบาปกรรม หามีจริงไม่

ถามว่า การขอขมา มีผลต่อโทษของเราหรือไม่ ย่อมต้องตอบว่า มีแท้ แน่นอน
เพราะการที่เราต้องการ ขอขมา ก็เนื่องมากจาก จิตที่สำนึกผิด รู้ตัวว่าทำผิด ต้องการจะให้เขาอดโทษ

เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า การทำกุศล หรือ อกุศล ก็ตาม จิต ในการทำจะมี 3 ช่วงด้วยกัน
หนึ่ง ก่อนกระทำ
สอง ขณะกระทำ
สาม หลังกระทำ

สามช่วงเวลานี้ ย่อมมีผลต่อบุญ บาป ทั้งสิ้น ดั่งเช่นว่า เรากล่าวมุสา

จังหว่ะหนึ่ง ก่อนทำ เรามีจิตคิดจะมุสา นี้เป็นบาปในระดับหนึ่งแล้ว
จังหว่ะสอง ขณะทำ เรายังไม่คิดจะยกเลิก ที่จะมุสา นี้ก็ได้บาปอีกระดับ
จังหว่ะสาม หลังทำ เราไม่มีจิตคิดจะกล่าวความจริง โดยการไปบอกความจริงแก่คนที่เรามุสา
เมื่อจังหว่ะกรรม ครบเช่นนี้ เราย่อมต้องเสวยผลกรรม เต็มที่
แต่ถ้าหากว่า ในจังหว่ะใดที่เรา ยกเลิกโดยการบอกความจริงเสีย ผลกรรมย่อมน้อยลง แต่ผลกรรมใดที่เกิดขึ้นแล้ว เราย่อมต้องเสวยผลกรรมนั้น
ด้วยเหตุนั้น การที่เรามาสวด อดโทษต่อเจ้ากรรมนายเวร หาใช้ได้ไม่
บุคคลที่ทำบาป แล้วมาระลึกถึงบาปที่ตนเคยกระทำ แล้วเศร้าโศกเสียใจ กับสิ่งที่กระทำไป ก็หาได้ลดหย่อนโทษที่ทำไว้ไม่ หากเราทำบาปเสียแล้ว สิ่งที่เราต้องทำคือ ยินยอมรับผลของบาปนั้น
ตัวอย่างเช่น เราทำผิดกฎหมาย แต่เรามานั่งสำนึกผิดว่า เราทำผิดๆ เช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ ย่อมเป็นการกระทำที่ประเสริฐหรือไม่?
กลับกัน หากเรารู้ว่าทำผิด เราย่อมต้องยินดีรับผลของกรรมนั้น คือไปมอบตัวกับตำรวจเสีย เช่นนี้ควรกว่าหรือไม่?
ฉันใด ฉันนั้นแล เมื่อเราสำนึกผิด แต่ไม่ไปยอมรับผิด เมื่อตำรวจจับได้ เราต้องรับผลนั้นครบเต็มจำนวน
แต่หากเรามอบตัวด้วยสำนึกผิด เราย่อมได้ลดหย่อนโทษ แต่ว่าเราก็ต้องรับโทษ หาใช่พ้นโทษไม่
นอกเสียว่า กรรมที่เราทำนั้น มันเบาบางเสียเหลือเกิน

ดั่งเช่น พระพุทธภาษิต ว่า

กรรมชั่ว ย่อมไม่เผล็ดผลเพียงไร คนชั่วย่อมเห็นกรรมชั่ว ว่าเป็นกรรมงาม
เมื่อใด ที่กรรมชั่วเผล็ดผล คนชั่วย่อมเห็นกรรมชั่ว ว่าเป็นกรรมชั่ว
เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ด้วยผลกรรมอันเขากระทำแล้ว
ขุ. ธรรมบท

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านขวางโลก

การขอขมา ต้องประกอบด้วย
ผู้ขอ และ ผู้ให้

การขอขมาที่เกิดประโยชน์
ผู้ขอ ขอด้วยจิตที่สำนึกผิด หาใช่การขอโดยเพราะกลัวความผิดไม่ หากเธอขอด้วยจิตทีไม่สำนึกผิดโทษย่อมตกแก่เธอ
ผู้ให้ ยกโทษนั้นด้วยจิต ที่คิดจะยกโทษ หาได้ยกโทษ ด้วยจิตที่ยกด้วยคำพูดไม่ เมื่อเธอไม่ยกโทษและทำความอาฆาตต่อผู้ขอขมา โทษย่อมตกแก่เธอ

เมื่อการขอขมา และการให้ขมา ครบองค์เช่นนี้ ย่อมยังโทษในจังหว่ะแห่งจิตที่ 3 ให้ระงับเสียได้แต่หามีผลกับ ผลกรรม ทั้ง 2 ระยะที่ผ่านมาไม่ เธอยังต้องรับผลกรรม อีก 2 ส่วนที่เธอได้กระทำไปแล้ว

นี้แลชื่อว่า การขอขมาให้เกิดประโยชน์

การขอขมาที่เกิดโทษ
ผู้ขอขมา ขอด้วยจิตที่ไม่สำนึกผิด แต่ขอไปด้วยจิตที่กลัวความผิด เมื่อเธอขอขมาด้วยจิตเช่นนี้ ผลกรรมของเธอย่อมบริบูรณ์ ทั้ง 3 ระดับ เธอย่อมต้องเสวยผลกรรมที่เธอกระทำแล้วนั้น
ผู้ให้ ไม่ยกโทษต่อผู้ขมา หรือ ยกโทษด้วยลมปาก เธอผูกใจเจ็บ ผูกอาฆาต ต่อผู้ขอขมานั้น จิตของเธอย่อมประกอบด้วยโทสะ จิตอันประกอบด้วยโทสะ ย่อมเกิดโทษ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

เช่นนี้แล ชื่อว่าการขอขมา ที่เกิดโทษ

การกล่าวเท็จ ย่อมสมบูรณ์ เมื่อ
มีผู้กล่าว
มีผู้ฟัง
และผู้ฟัง เชื่อคำพูดนั้นๆของเธอ เช่นนี้แล โทษแห่งมุสาย่อมเกิด

หากมีแต่ผู้กล่าว ไม่มีผู้ฟัง หรือผู้ฟัง ไม่เชื่อ โทษของเธอย่อมไม่มี

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อเราขับรถไปชนผู้อื่น ได้รับบาดเจ็บ เราก็ขอโทษเสียแล้ว บอกว่าตัวเราสำนึกในความผิดแล้ว
ขอให้อดโทษต่อตัวเราด้วย แต่ตัวเราขอไม่ชดใช้ค่าเสียหาย ในเหตุนี้ เช่นนี้ จักได้ชื่อว่า สำนึกผิดจริงหรือ?
ฉันใด ฉันนั้นแล
เมื่อเราสำนึกผิด เราก็ต้องยอมรับในผลที่เราจะต้องได้รับ เพราะฉะนั้นการสวดลดหย่อนโทษ
ลดหย่อนบาปกรรม หามีจริงไม่


ท่าน sanooktou ครับ ก็อย่างที่ว่านั่นแหละ มีผู้ขอและต้องมีผู้ให้
กรณีที่ ผู้ขอขมากับผู้ให้ขมายังมีชีวิตอยู่ ดีที่สุดได้ผลแน่นอนที่สุด คือ ทำต่อหน้าซึ่งกันและกัน
กรณีผู้ ขอขมามีชีวิตอยู่แต่ผู้ที่จะให้ตายไปแล้ว คือ.....(มันมีวิธีที่ดีที่สุดอยู่เหมือนกัน)
การขอขมาและการให้ขมา
กรณีที่ 1 เมื่อขับรถชนเขาแล้ว เราแสดงความจริงใจให้เขาได้รับรู้ คือ เรารีบจอดรถลงมาดู ลงมาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ พร้อมกับขอโทษขอขมาว่า เราสำนึกผิดในความประมาท ความผิดพลาดของเราจนทำให้เขาได้รับบาดเจ็บขอให้เขาอภัยให้ด้วย จากนั้นแสดงความจริงจังด้วยการ พาเขานำส่งโรงพยายาลและรับผิดชอบทุกอย่างตามที่เขาเรียกร้อง โดยไม่ลังเล ผู้ที่โดนรถชนได้เห็นถึงความสำนึกผิดและความจริงใจแล้ว ลองพิจารณานะครับ คนโดนรถชนจะคิดยังไง
ในเหตุการณ์นี้ มีผู้กระทำก็ต้องมีผู้ถูกกระทำ ก็ในเมื่อผู้ถูกกระทำไม่ถือเอาโทษอีกต่อไปแล้วจะหาโทษอะไรอีก
กรณีที่ 2 ขับรถชนแล้ว ขับรถหนีเลย แล้วไปบ่นอยู่ที่บ้านว่า ขอโทษด้วย ยกโทษให้ด้วย สำนึกผิดแล้วอย่าจองเวรกันเลย บ่นทุกวัน สวดทุกวัน ลองพิจารณานะครับ คนโดนรถชนจะคิดยังไง
ในเหตุการณ์นี้ มีผู้กระทำก็ต้องมีผู้ถูกกระทำ ก็ในเมื่อผู้ถูกกระทำถือโทษโกรธแค้น แล้วจะหลีกพ้นโทษไปได้อย่างไร
ท่าน sanooktou คิดว่าไง ต่อ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


คนขวางโลก เขียน:
อ้างคำพูด:
เมื่อเราขับรถไปชนผู้อื่น ได้รับบาดเจ็บ เราก็ขอโทษเสียแล้ว บอกว่าตัวเราสำนึกในความผิดแล้ว
ขอให้อดโทษต่อตัวเราด้วย แต่ตัวเราขอไม่ชดใช้ค่าเสียหาย ในเหตุนี้ เช่นนี้ จักได้ชื่อว่า สำนึกผิดจริงหรือ?
ฉันใด ฉันนั้นแล
เมื่อเราสำนึกผิด เราก็ต้องยอมรับในผลที่เราจะต้องได้รับ เพราะฉะนั้นการสวดลดหย่อนโทษ
ลดหย่อนบาปกรรม หามีจริงไม่


ท่าน sanooktou ครับ ก็อย่างที่ว่านั่นแหละ มีผู้ขอและต้องมีผู้ให้
กรณีที่ ผู้ขอขมากับผู้ให้ขมายังมีชีวิตอยู่ ดีที่สุดได้ผลแน่นอนที่สุด คือ ทำต่อหน้าซึ่งกันและกัน
กรณีผู้ ขอขมามีชีวิตอยู่แต่ผู้ที่จะให้ตายไปแล้ว คือ.....(มันมีวิธีที่ดีที่สุดอยู่เหมือนกัน)
การขอขมาและการให้ขมา
กรณีที่ 1 เมื่อขับรถชนเขาแล้ว เราแสดงความจริงใจให้เขาได้รับรู้ คือ เรารีบจอดรถลงมาดู ลงมาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ พร้อมกับขอโทษขอขมาว่า เราสำนึกผิดในความประมาท ความผิดพลาดของเราจนทำให้เขาได้รับบาดเจ็บขอให้เขาอภัยให้ด้วย จากนั้นแสดงความจริงจังด้วยการ พาเขานำส่งโรงพยายาลและรับผิดชอบทุกอย่างตามที่เขาเรียกร้อง โดยไม่ลังเล ผู้ที่โดนรถชนได้เห็นถึงความสำนึกผิดและความจริงใจแล้ว ลองพิจารณานะครับ คนโดนรถชนจะคิดยังไง
ในเหตุการณ์นี้ มีผู้กระทำก็ต้องมีผู้ถูกกระทำ ก็ในเมื่อผู้ถูกกระทำไม่ถือเอาโทษอีกต่อไปแล้วจะหาโทษอะไรอีก
กรณีที่ 2 ขับรถชนแล้ว ขับรถหนีเลย แล้วไปบ่นอยู่ที่บ้านว่า ขอโทษด้วย ยกโทษให้ด้วย สำนึกผิดแล้วอย่าจองเวรกันเลย บ่นทุกวัน สวดทุกวัน ลองพิจารณานะครับ คนโดนรถชนจะคิดยังไง
ในเหตุการณ์นี้ มีผู้กระทำก็ต้องมีผู้ถูกกระทำ ก็ในเมื่อผู้ถูกกระทำถือโทษโกรธแค้น แล้วจะหลีกพ้นโทษไปได้อย่างไร
ท่าน sanooktou คิดว่าไง ต่อ...

การกระทำบาป ย่อมต้องประกอบด้วย จิตที่คิดจะกระทำ เหตุการณ์ที่ยกขึ้นจัดเป็นแค่อุปมา
ด้วยเหตุว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยมิได้เจตนา แต่ด้วยถึงแม้เรามิได้มีเจตนา แต่เรากระทำความเดือดร้อน
ให้เกิดแก่ผู้อื่น เราก็ควรรับผิดชอบในสิ่งที่เราได้กระทำลงไป ด้วยจิตที่สำนึกต่อสิ่งที่เรากระทำ
เมื่อเราได้กระทำเช่นเหตุการณ์ที่หนึ่งแล้ว โทษของเราย่อมไม่มี บาปของเราก็ย่อมไม่มี
หากแม้นว่าเขายังผูกโทสะต่อเราไซร้ เขานั่นเองแลย่อมได้รับโทษ ดังพุทธภาษิตว่า
บุคคลใด ประทุษร้ายต่อบุคคลไม่ประทุษร้ายแล้ว
บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งโทนัสอันไม่น้อย
ขุ.ธรรมบท

เหตุการณ์ที่สอง หากชนด้วยไม่มีความเจตนา สิ่งนี้ย่อมมาจากวิบาก ไม่จากทางคนชน ก็คนถูกชน
หากเราหนีไม่ยอมรับผลแห่งวิบาก ผลนั้นย่อมเพิ่มพูนทวี ดั่งเช่นเงินกู้ที่เพิ่มจำนวนดอกเบี้ยแล
หากเราหนีไป เราก็ย่อมไม่สามารถจะคาดเดาได้ว่า ผลกรรมจักสนองในรูปแบบไหนอีก
เพราะเหตุว่า เรื่องเกียวกับผลกรรม มิใช่วิสัยที่มนุษย์อย่างเราจะเข้าใจ หรือทำความเข้าใจได้

เมื่อเราชน แต่ไม่ประกอบด้วยเจตนา หรือไม่ใช่เพราะความประมาทแล้ว โทษของเราย่อมไม่มี
แม้แต่ในทางกฎหมาย หากเราไม่มีเจตนาและยอมชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด โทษของเราก็หมดไป
เช่นกัน เมื่อเหตุการณ์นี้เกิด เราไม่มีเจตนา โทษของเราย่อมไม่มี แต่หากเราหนี ก็ย่อมไม่ถูกต้อง
เพราะความเสียหายที่เราทำยังคงมีอยู่ หากจะให้โทษเราหมดจดไซร้ เราพึงขจัดความเสียหายนั้น
โดยการชดใช้ และขอขมา ต่อผู้ถูกชน แม้เราจะไม่เจตนา แต่เราก็ทำให้เขาได้รับความเสียหาย
เรื่องกรรมละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง ซับซ้อนเกินที่จะเข้าใจได้ เราควรคิดแต่เพียงว่า ทำเช่นไรควร
ทำเช่นไรไม่ควร แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว หากเรามัวแต่คิดว่า ทำเช่นนี้จะต้องได้รับผลเช่นไร
และที่เราเป็นเช่นนี้เพราะเราทำสิ่งใดไว้ เราย่อมนอนทุกข์ ดังเช่นท่านอุปมาย่อมกล่าวถูก
ว่าเปรียบเช่นแผลเกิดขึ้นแล้ว เราควรจะปล่อยให้มันหาย โดยยอมทนเจ็บกับแผลที่เกิดขึ้น
และไม่ควรไปเกาให้มันเจ็บยิ่งขึ้นอีก เพราะยิ่งเราเกาแผลก็มีแต่เจ็บยิ่งขึ้น สิ่งที่เราควรทำคือปล่อยมันไป เพราะสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เราย่อมไม่สามารถจะย้อนคืนไปได้อีก
หากสิ่งที่เรากล่าวไปแล้วไซร้ มีข้อทักท้วงใด จงทักท้วงเถิด เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นต่อไปอีก :b42:

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2009, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สิ่งที่เราควรทำคือปล่อยมันไป เพราะสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เราย่อมไม่สามารถจะย้อนคืนไปได้อีก
หากสิ่งที่เรากล่าวไปแล้วไซร้ มีข้อทักท้วงใด จงทักท้วงเถิด เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นต่อไปอีก


เท่าที่ผมประสบพบเจอมา คือ
เมื่อเขาขับรถชนคนตายโดยไม่มีเจตนา วิบากต่อไปคือ ชาติต่อไปเขาจะต้องโดนคนขับรถมาชนเขาตายโดยที่ไม่มีเจตนากลับคืนเช่นกัน นั่นเป็นวิบากที่ไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง นั่นคือ อย่างที่ท่านว่ามา เมื่อมันผ่านไปแล้ว เขาตายไปแล้ว เราไม่สามารถทำให้เขาฟื้นคืนมาได้เราก็ต้องปล่อยมันไปตามนั้น

แต่เหตุต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นนั้น เขาทั้งสองคนอาจจะผลัดกันตายมาแล้วไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ เพราะความโง่ของเขาทั้งสองที่มีอยู่ คือ ต่างจองเวรจองกรรมกันไปเรื่อยๆ ไม่ยอมปล่อยวางกันสักที มึงทำกูตายกูก็ต้องทำมึงตายตอบแทนกันไป

สิ่งที่ผมจะทักท้วงท่านคือ เราสามารถป้องกันสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าได้ ด้วยการแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักธรรม คำสอนของพระพุทธองค์ อย่าสักแต่ว่าปล่อยไปเฉยๆ ก็เท่านั้น(เพราะ อโหสิกรรม มีอยู่)

แม้ว่าสิ่งที่ล่วงไปแล้วย่อมเอากลับคืมมาไม่ได้และเปล่าประโยชน์ที่จะไปพิรี้พิไรรำพึงรำพัน แต่เราสามารถทำปัจจุบันให้ดีเพื่ออนาคตที่ดีต่อไปได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2009, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


sanooktou เขียน:
การกระทำบาป ย่อมต้องประกอบด้วย จิตที่คิดจะกระทำ เหตุการณ์ที่ยกขึ้นจัดเป็นแค่อุปมา
ด้วยเหตุว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยมิได้เจตนา แต่ด้วยถึงแม้เรามิได้มีเจตนา แต่เรากระทำความเดือดร้อน
ให้เกิดแก่ผู้อื่น เราก็ควรรับผิดชอบในสิ่งที่เราได้กระทำลงไป ด้วยจิตที่สำนึกต่อสิ่งที่เรากระทำ
เมื่อเราได้กระทำเช่นเหตุการณ์ที่หนึ่งแล้ว โทษของเราย่อมไม่มี บาปของเราก็ย่อมไม่มี
หากแม้นว่าเขายังผูกโทสะต่อเราไซร้ เขานั่นเองแลย่อมได้รับโทษ ดังพุทธภาษิตว่า
บุคคลใด ประทุษร้ายต่อบุคคลไม่ประทุษร้ายแล้ว
บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งโทนัสอันไม่น้อย
ขุ.ธรรมบท

:b42:

สิ่งที่ผ่านไปแล้ว คือเราแก้ไขไม่ได้ แต่เราทำสิ่งที่ควรทำในปัจจุบันชาติ ให้ดีที่สุด แล้วไม่ต้องกังวลถึงอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร บทแรกเราอธิบายให้เธอแล้ว เมื่อเธอทำเช่นเหตุการณ์ที่หนึ่ง บาปย่อมไม่มีต่อเธอ ด้วยเหตุว่า ที่เขาโดนชนนั้นอาจเพราะวิบากของเขาเอง เมื่อเราไม่มีเจตนา และช่วยเหลือ และขอขมาด้วยจิตที่จริงใจแล้วไซร้ จงอย่ากังวลไปเลย เวรมิใช่เกิดได้ง่ายเช่นนั้นดอก
เวรจะเกิดได้ต่อเมื่อ คนที่กระทำจงใจกระทำกรรมนั้น มีจิตที่จะทำกรรมนั้น และทำสำเร็จ และผู้ถูกกระทำตั้งจิตอาฆาตไว้ วิบากของเขาย่อมจะส่งผลตามจิตอธิฐานของผู้จองเวร

เรื่องเคยมีมาแล้ว
ในกาลก่อนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ มีแม่ลูกคู่หนึ่ง ลูกชายเป็นคนกตัญญูมาก ขยันทำงานเลี้ยงดูมารดาเป็นอย่างดี มารดาคิดสงสารลูก จึงอยากจะหาหญิงมาให้ครองคู่ จึงได้บอกกับลูกชาย
แต่ลูกก็ห้ามเสีย แต่มารดารบเร้าจนลูกยอมรับ แต่ขอให้ไปขอในตระกูลที่ตนชอบใจ มารดาก็ไปขอ
ตามคำของลูกชาย แต่ปรากฏว่าหญิงนั้นเป็นหมัน หามีลูกได้ไม่ มารดาจึงต่อว่าลูกชายว่า "หญิงของเจ้าไม่มีผู้สืบสกุล ขึ้นชื่อว่าตระกูลที่ไม่มีผู้สืบสกุล ย่อมฉิบหาย แม่จะหาหญิงคนใหม่มาให้เจ้า"
แต่ลูกชายก็ห้ามเสีย ส่วนหญิงนั้น ได้ยินเช่นนั้นจึงคิดว่า หากมารดารบเร้าบ่อยๆ ลูกชายต้องจำยอมแน่แท้ จึงคิดว่าไฉนเราขอหญิงมาให้สามีเองเสียดีกว่า จึงไปขอกับตระกูลหนึ่ง อ้อนวอนจน
ได้หญิงมาให้สามี เมื่อได้หญิงนั้นมาแล้ว หญิงหมันคิดว่า "ถ้าหญิงนี้คลอดบุตร เธอจักได้ครองสมบัติทั้งหมด และใช้งานเราเยี่ยงทาส เราจักไม่ให้หญิงนี้ได้คลอดบุตร" เช่นนี้แล้ว จึงบอกแก่หญิงนั้นว่า "ถ้าเธอเริ่มตั้งครรภ์ จงบอกแก่เราเถิด" หญิงนั้นก็ตอบรับ เมื่อหญิงนั้นเริ่มตั้งครรภ์
หญิงหมันก็นำอาหารบำรุงมาให้ และก็ลักลอบใส่ยาแท้งให้หญิงนั้นกินเข้าไป หญิงนั้นก็แท้งลูก
ครั้งที่สอง หญิงหมันก็ทำเช่นเดิม พอครั้งที่สาม สหายของหญิงมีลูก ก็ท้วงว่า "เจ้ามันคนโง่ เจ้าไม่รู้ดอกหรือ หญิงนั้นทำให้เจ้าแท้ง เพราะกลัวเจ้าจะครองสมบัติ" เช่นนั้นแล้ว หญิงนั้นจึงไม่บอกแก่หญิงหมัน เมื่อหญิงหมันเห็นครรภ์ของหญิงนั้นโต จึงกล่าวว่า " เหตุไฉน เจ้าไม่บอกว่าเจ้าตั้งครรภ์แก่เราเล่า" หญิงนั้นตอบว่า "เราจักบอกท่านเพื่อเหตุอะไร ในเมื่อท่านจะทำให้เราแท้ง" หญิงหมันกลัวว่า
หญิงนั้นจะคลอดลูก แล้วตน จะตกทุกข์ จึงหาโอกาสวางยาใส่ให้หญิงนั้นกินจนได้ แต่ว่า
เด็กโตเกินไปจึงทำให้หญิงนั้นเสียชีวิตไปด้วย แต่ก่อนจะสิ้นใจ หญิงนั้นตั้งปณิธานว่า
" หญิงนี้ฆ่าลูกของเราแล้วสองครั้ง และครั้งที่สามย่อมฆ่าแม้ซึ่งเรา ในอัตตภาพหน้าขอเราเกิดเป็นผู้สามารถเพื่ออันฆ่าหญิงนี้พร้อมทั้งลูกของเธอ"
เสร็จแล้วหญิงนั้นก็สิ้นใจ ส่วนหญิงหมัน เมื่อสามีรู้ ก็โกรธมากจึงทำร้ายด้วยประการต่างๆ
จนเสียชีวิตไปอีกคน เมื่อทั้งสองตายแล้ว หญิงหมันได้เกิดเป็นแมว ส่วหญิงอีกคนได้เกิดเป็นแม่ไก่
แม่ไก่ตกไข่กี่ครั้ง แมวก็จะมากินทุกครั้ง จนครั้งที่สาม แม่ไก่ก็ตั้งปณิธานว่า
"แมวนี้กินไข่ของเราสิ้นสองครั้ง แม้ครั้งที่สามก็จักกินเราด้วย ในอัตตภาพต่อไปขอเราจงเป็นผู้สามารถเพื่อเคี้ยวกินแมวนี้พร้อมทั้งลูกๆ"
เมื่อทั้งสองตายแล้ว แม่ไก่ก็เกิดเป็นเสือเหลือง แมวเกิดเป็นแม่เนื้อ
แม่เนื้อตกลูกกี่ครั้ง เสือเหลือง ก็มากินไปทุกครั้ง จนครั้งที่สาม แม่เนื้อก็ครั้งปณิธานว่า
"แม่เสือนี้ กินลูกเราแล้วสองครั้ง แม้ครั้งที่สามก็จักเคี้ยวกินเราด้วย ในอัตตภาพหน้า ขอเราเป็นผู้สามารถเพื่อเคี้ยวกินแม่เสือนี้ ผู้เป็นไปกับด้วยบุตร"
แม่เนื้อเมื่อตายแล้ว ก็มาเกิดเป็นยักษิณี เเม่เสือมาเกิดเป็นมนุษย์ ในกาลเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้านี้
เมื่อหญิงนั้นคลอดบุตร นางยักษ์ก็ปลอมตัวเป็นสหายของหญิงนั้น ขอดูลูกเสร็จแล้วก็เคี้ยวกินแล้วจากไป ทำเช่นนี้สองครั้ง ในครั้งที่สาม หญิงนั้นกล่าวกะสามีว่า "ข้าแต่นาย ดิฉันต้องการไปคลอดบุตรที่เรือนของดิฉัน เพราะในที่นี้มีนางยักษ์มากินลูกของเรา"
สามีก็รับและพากันไปคลอดที่เรือนของหญิงนั้น ฝ่ายนางยักษ์ เมื่อรับใช้ท้าวเวสสุวรรณเสร็จแล้ว
ก็รีบมาหวังจะกินลูกของหญิงนั้น แต่เมื่อไม่เห็นจึงถามกับมนุษย์ในบ้านนั้น
มนุษย์ก็กล่าวกับยักษ์ว่า "เจ้ามาทีไร ยักษ์ก็มาจับกินลูกของหญิงนี้ทุกครั้ง ตอนนี้หญิงนี้ไปคลอดที่เรื่อนแล้ว" นางยักษ์ก็คิดว่า "ไม่ว่าเจ้าจักหนีไปที่ใด เราก็จักตามเจ้าไปจนได้"
ด้วยกำลังแห่งเวร ทำให้นางยักษ์รีบตามหญิงนั้นไป
ฝ่ายหญิงนั้น เมื่อคลอดบุตรแล้ว ก็เดินทางกลับบ้านสามี ในระหว่างทาง ก็แวะอาบน้ำที่ใกล้ๆ
เชตวันมหาวิหาร เมื่ออาบแล้วก็ให้สามีอาบต่อ แล้วก็ให้นมลูก ระหว่างนั้นนางยักษ์ก็มา
หญิงนั้นจำได้ ร้องบอกกับสามีว่า "ข้าแต่นาย หญิงนี้ล่ะ ที่เป็นยักษ์ที่มากินลูกเรา"
ฝ่ายสามียังคงอยู่ในสระน้ำ เมื่อนางยักษ์ใกล้เข้ามา หญิงนั้นไม่เห็นที่พึ่งอื่น จึงวิ่งเข้าไปในวิหาร
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่พุทธบริษัทอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วก็เอาลูกวางไว้ที่พระบาทของพระพุทธองค์ แล้วกล่าวว่า " ดิฉันขอมอบลูกดิฉัน แก่พระองค์ ขอพระองค์ประทานชีวิตแก่ลูกหม่อมฉันด้วยเถิด"
พระพุทธองค์ ตรัสว่า "เธอจงนิ่งเถิด เธออย่าส่งเสียง"
เมื่อนางยักษ์จะตามเข้ามา เทพผู้คุ้มกันวิหารก็ไม่ให้นางยักษ์เข้าไปได้ พระพุทธองค์ทรงตรัสกับพระอานนท์ ให้ไปเรียกนางยักษ์เข้ามา เมื่อนางยักษ์เข้ามา หญิงนั้นก็เกิดอาการกลัว จึงบอกกับพระพุทธองค์ว่า "นางมาแล้ว เพค่ะ นางมาแล้ว เพค่ะ " พระพุทธองค์ จึงตรัสให้นางเงียบเสีย
เมื่อนางยักษ์เดินเข้ามาถึง พระพุทธองค์ จึงตรัสกับนางยักษ์ว่า
"ดูก่อนยักษิณี เธอย่อมเที่ยวกระทำเวรและเวรตอบ เพราะเหตุไร หากว่าพวกเธอไม่มาพบพระพุทธเจ้า
ผู้เช่นกับด้วยเราไซร้ เวรของเธอย่อมไม่ระงับ เป็นเวรตั้งอยู่ตลอดกัป เปรียบเช่นเวรของ หมีและไม้สะคร้อ และเวรของ กาและนกฮูก และเวรของงูเห่าและพังพอน เธอย่อมเที่ยวกระทำเวรและเวรตอบเพราะเหตุไร" เช่นนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
ดังนี้เป็นต้น

เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเช่นนี้ นางยักษ์ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
พระพุทธองค์ก็ทรงบอกให้หญิงนั้น มอบลูกให้แก่นางยักษ์ แต่หญิงนั้นบอกกลัว
พระพุทธองค์ก็ทรงบอกไม่ต้องกลัว หญิงนั้นจึงมอบลูกให้นางยักษ์ นางยักษ์ก็สวมกอดและจูบเด็ก
แล้วส่งคืนให้มารดา ฯลฯ

เรื่องนางกาลียักษิณี นี้ เป็นตัวอย่างแห่งการจองเวร

ส่วนเรื่อง ดาบสนารทะ และเกวละ ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวแห่งบุคคลผู้ผูกเวร ต่อผู้ไม่มีโทษ
ซึ่งพระพุทธองค์ ตรัสชาดกนี้ เพราะปรารภพระติสสะ
ในอดีตกาล พระพุทธองค์ ทรงบังเกิดในดาบสชื่อว่านารทะ พระติสสะบังเกิดเป็นดาบสชื่อเกวละ
ดาบสชื่อเกวละ ออกจากป่าหิมพานต์ มาสู่เมืองเพื่ออยู่ในช่วงฤดูฝน แล้วก็ได้พักในโรงของบุคคล
ผู้ทำหม้อ ฝ่ายดาบสนารทะ ก็ออกจากป่ามาเช่นกัน และก็ได้มาอยู่กับดาบสเกวละ
เมื่อทั้งสองปราศัย กันพอสมควรแล้ว ดาบสนารทะ ก็กำหนดทิศทางที่ดาบสเกวละนอน และประตู
เมื่อกลางคืน ดาบสเกวละไม่นอนในที่ของตน แต่กลับนอนขวางประตู
เมื่อดาบสนารทะออกไปตอนกลางคืน ก็เหยียบเข้าที่ชฎาของดาบสเกวละ ดาบสเกวละ ก็ถามว่า
"นั่นใคร" ดาบสนารทะ ตอบว่า "ผมเอง ขอรับ"
ดาบสเกวละ กล่าวอีกว่า "แนะชฏิลโกง ท่านมาทีหลัง แล้วทำไมมาเหยียบชฎาของเรา"
ดาบสนารทะ "ผมไม่รู้ว่าท่านนอนที่ตรงนี้ กระผมจำว่าท่านนอนอยู่ตรงนั้น ขอท่านจงอดโทษต่อกระผมเถิดขอรับ " ฝ่ายดาบสเกวละ ก็ยังคงโวยวายอยู่ ดาบสนารทะก็ออกไปข้างนอก
ฝ่ายดาบสเกวละ คิดว่า "ชฏิลนั่น ต้องเข้ามาตรงนี้ " แล้วเอาตัวเองนอนขวางประตู
ฝ่ายดาบสนารทะ คิดว่า "เราผิดต่อท่านครั้งหนึ่งแล้ว" จึงตั้งใจจะเลี่ยงหลบมาทางปลายเท้า
แล้วก็เลยเหยียบที่คอของดาบสเกวละ
ดาบสเกวละ "นั่นใคร"
ดาบสนารทะ "ผมเอง ขอรับ"
ดาบสเกวละ "แนะชฎิลโกง ครั้งแรก เจ้าเหยีบที่ชฎาของเรา ครั้งนี้เจ้าเหยียบที่คอของเรา
เราจักแช่งเจ้า"
ดาบสนารทะ "ข้าแต่อาจารย์ กระผมไม่รู้ว่าท่านนอนอยู่แบบนี้ ผมไม่มีเจตนา ขอท่านจงอดโทษต่อ กระผมเถิด ขอรับ"
ดาบสเกวละไม่ฟังเสียง แช่งดาบสนารทะทันที
พระอาทิตย์มีฤทธิ์อันบัณฑิตกำหนดแล้วด้วยร้อย มีเดชอันกำหนดแล้วด้วยพัน
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปอยู่ ศรีษะของเจ้าจงแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง
ฝ่ายดาบสนารทะ กล่าวว่า "ข้าแต่อาจารย์ กระผมไม่ได้มีเจตนา กระผมไม่รู้ว่าท่านนอนแบบนี้
หากเช่นนั้น โทษของใครมีอยู่ ศรีษะของผู้นั้นจงแตกเป็นเจ็ดเสี่ยงเถิด"
แล้วจึงแช่งกลับด้วยคาถาเดียวกัน
ดาบสนารทะ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สามารถระลึกชาติได้แสนชาติ ทั้งอดีตและอนาคต
เมื่อแช่งแล้ว ก็ตรวจว่าใครศรีษะจักแตก ก็เห็นว่า ศรีษะของดาบสเกวละจักแตก ฯลฯ

ผู้ที่ต้องการความเต็มแห่งชาดก จงไปค้นคว้าใน ขุ.ธรรมบท เถิด

เช่นนี้เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าหากเราไม่ประกอบด้วยเจตนา โทษของเราย่อมไม่มี
ดั่งจะยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาเธอขับรถในเวลากลางคืน ไปต่างจังหวัด เธอเห็นหรือไม่ว่า
จะมีแมลงนับไม่ถ้วนตายด้วยรถของเธอ หรืออาจเหยียบงู หนู และสัตว์ต่างๆ ตาย
หากเป็นเช่นเธอเข้าใจแล้ว เรามิต้องไปเกิดเป็นงูให้งูตัวนั้นมาเหยียบดอกหรือ
แล้วงูตัวนั้นแค่โดนเหยียบก็ได้กลายมาเป็นมนุษย์เลยหรือ? เช่นนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
แล้วพวกสัตว์ต่างๆ ที่เราชนไป เราต้องไปเกิดเป็นสัตว์นั้นๆ ทั้งหมดแล้วต้องถูกชนทั้งหมดเลยหรือ?
หาเป็นเช่นนั้นไม่เลย ทุกอย่างหากใจเราบริสุทธิ์เสียแล้ว เรามิมีเจตนา โทษของเธอย่อมไม่มี
ดั่งพระพุทธภาษิตว่า
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นสภาพถึงก่อน มีใจเป็นสภาพประเสริฐสุด
สำเร็จแล้วแต่ใจ หากว่า บุคคลมีใจ อันโทษประทุษร้ายแล้ว
กล่าวอยู่หรือว่ากระทำอยู่ไซร้ ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น
เพียงดังเกวียนไปตามอยู่ของโคตัวนำไปอยู่
เพียงดังเงาติดตามตัว
ดังยกมาเช่นนี้ เธอจงใคร่ครวญดูเถิด :b42:

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2009, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 17:52
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดั่งจะยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาเธอขับรถในเวลากลางคืน ไปต่างจังหวัด เธอเห็นหรือไม่ว่า
จะมีแมลงนับไม่ถ้วนตายด้วยรถของเธอ หรืออาจเหยียบงู หนู และสัตว์ต่างๆ ตาย
หากเป็นเช่นเธอเข้าใจแล้ว เรามิต้องไปเกิดเป็นงูให้งูตัวนั้นมาเหยียบดอกหรือ
แล้วงูตัวนั้นแค่โดนเหยียบก็ได้กลายมาเป็นมนุษย์เลยหรือ? เช่นนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
แล้วพวกสัตว์ต่างๆ ที่เราชนไป เราต้องไปเกิดเป็นสัตว์นั้นๆ ทั้งหมดแล้วต้องถูกชนทั้งหมดเลยหรือ?
หาเป็นเช่นนั้นไม่เลย ทุกอย่างหากใจเราบริสุทธิ์เสียแล้ว เรามิมีเจตนา โทษของเธอย่อมไม่มี


ตามที่ท่าน sanooktou ว่านะครับ มันไม่สมเหตุสมผลหรอกครับ เพียงแต่กล่าวเปรียบเทียบและก็เป็นจริงแค่บางส่วนจึงไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นดังเช่นนั้นทั้งหมด

เท่าที่เห็นก็จะเป็นแค่พวกสัตว์ที่ตายนั้นมันโกรธแค้น และตามจองเวรผู้ที่ทำให้เขาตายก็เท่านั้น เมื่อพวกเขาจองเวรซึ่งมีจำนวนไม่น้อยเลย บางครั้งคนอาจไม่ถึงตายแต่ก็ทรมานแสนสาหัสไปเหมือนกัน

เราไม่มีความสามารถจะระลึกชาติได้ขนาดนั้นจึงไม่รู้ต้นสายปลายเหตุของเรื่อง(มันเป็นอจิณฺตโย) ถึงแม้จะรู้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรถ้ารู้แล้วไม่แก้ไข และการแก้ไขดีที่สุดคือ หยุด การจะหยุดได้ก็ต้องรู้และเข้าใจความเป็นมาและจะเป็นไปอย่างดีพอสมควร อยู่ๆ จะให้หยุดเลยมันก็ยากอยู่นะเพราะความโง่มันยังมีมากอยู่

ถ้าเช่นเหตุการณ์ที่ 1 โทษย่อมหมดไปแก่ผู้ก่อ เพราะการไม่มีเจตนาเป็นเหตุ ถ้าผู้ถูกกระทำยังจองเวรอยู่ย่อมเกิดโทษแน่นอนสืบไป

บาป บุญ มันเป็นรูปแบบที่ตายตัว เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผล จะให้เกิดเหตุแล้วไม่ต้องเกิดผลหรือจะเอาผลเลยโดยไม่ทำเหตุ ไม่มีแน่นอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2009, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


คนขวางโลก เขียน:
อ่านให้ดีนะท่านกาม....การขอขมาที่ถูกต้องนั้น ผู้ขอ จะต้องรู้ว่าตนเองผิดอะไรพร้อมทั้งสำนึกผิดอย่างจริงจังและจริงใจแล้วจะไม่ขอทำผิดอย่างนั้นอีกต่อไปและที่สำคัญคือ จะต้องขอเป็นเรื่องๆ ไป เท่าที่จำได้แน่ชัดเท่านั้น ถ้าจำไม่ได้อย่าขอ เพราะไม่อย่างนั้นจะเข้าข่ายการพูดปด พูดเพ้อเจ้อ พูดพอผ่านๆ ไป นั่นก็จะทำให้ศีลข้อ มุสาวาท ของท่าน ด่างพล้อย อันเป็นเหตุให้ ศีลของท่านไม่บริบูรณ์ เมื่อศีลไม่บริบูรณ์ การบำเพ็ญเพื่อมรรคผลนิพพานก็จะไม่บริบูรณ์อย่างแน่นอน(เหมือนหลายๆ ท่าน ที่อ่านมาก รู้มากแต่ไม่ก้าวหน้าสักทีเพราะชอบมองข้ามจุดเล็กๆ อย่างนี้อยู่เรื่อยๆ การตักน้ำใส่โอ่งรั้วถึงแม้จะรั่วเล็กน้อยก็ทำให้น้ำไม่เต็มได้นะครับ) นี่แหละคือโทษของการ ขอขมา ที่ไม่ถูกต้อง
ขอแบบมั่วๆ ขอแบบทึกทักเอาเองโดยไม่ศึกษาให้รอบด้าน
แทนที่จะไปสุขคติแต่กลับสร้างทุกข์คติโดยไม่รู้ตัว

ย้อนกลับไปดูข้อความข้างบนสิท่านหรือที่ผ่านๆ มา ท่านเคยเห็นเขาแนะนำกันยังไงบ้าง
ได้บอก สรรพคุณของการขอขมาและโทษของการขอขมาไหม
เมื่อใครๆ ก็ต่างบอกแต่สรรพคุณของการขอขมา ว่าดีอย่างโน้นอย่างนี้ ผู้มาอ่านก็ไม่คิดพิจารณาหละทีนี้ก็ไปขอกันตะพึด สุดท้ายก็เป็นอันว่า ขอแล้วขออีกๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ไม่พ้นซะที บาปกรรมที่ก่อก็ส่งผลไปเรื่อยๆๆๆๆๆ
แล้วปรารถนานิพพานเหรอ ฝันเอายังไม่ได้เลย

การให้ขมายังไงมันจะเกิดโทษ

ก็เหมือนๆ กับผู้ขอนั่นแหละ คือ ต้องให้เป็นอย่างๆ เป็นเรื่องๆ เท่าที่ตนเองจำได้อย่างแน่นอน ไม่ใช่ให้แบบมั่วๆ เมื่อให้มั่วๆ มันก็จะไม่สามารถปลดเปลื้องลงไปได้ เพราะไม่รู้ว่าได้ให้ ตรงไหน นานๆ ไปก็ลืมอีก สุดท้ายก็จำไม่ได้ว่าเคยให้แล้ว และทีนี้ก็เกิดเรื่องว่า จำไม่ได้ว่าูเคยให้อภัยมัน แต่ดันจำได้ว่ามันเคยทำกับจะนั้นจะตามจองล้างจองผลาญมัน ก็เกิดการสร้างเวรต่อกันไปอีก เพราะการให้แบบมั่วๆ นั่นแหละเป็นเหตุ (อันนี้เห็นจากประสบการณ์ตรงของผมเอง ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ไม่เกี่ยวเพราะมันเกิดจริงๆ)

ลองไปถามพระอาจารย์ที่ท่านกาม...เคารพนักหนานะครับว่า เป็นจริงอย่างที่ผมว่ามาไหม เอาพระอรหันต์องค์ไหนก็ได้ที่ท่านเชื่อถือศรัทธาสุดๆ เลยนะ ไปถามท่านดู ว่าจริงไหม

ถ้าคิดไม่ออก ผมแนะนำท่าน ไปถาม หลวงตามหาบัว หรือ หลวงพ่อจรัญ ก็ได้นะ ท่านกามโภคี :b8:

ทีนี้แล้ว.....จะได้ให้คำแนะนำใครๆ เขาอย่างรอบคอบ รอบด้าน ถ้าเขาไม่พร้อมอย่าให้เขาทำอย่าสักแต่ว่า..ให้ไปเรื่อย

ก็ตามชื่อของผมแหละครับ คนขวางโลก ในเมื่อโลกเขามองแต่ด้านดีสอนให้เห็นแต่ด้านดี ซึ่งมันดูจะลำเอียงไปหน่อยที่จะไม่กล่าวถึงด้านไม่ดีเลย ธรรมะ ใช้เป็นก็ดีมีประโยชน์ ใช้ไม่เป็นก็เสียและมีโทษ :b8:


โหว พูดซะยืดยาว สรุปว่าคุณขวางเชื่อว่าต้องมีผู้ขอกับผู้ให้ แล้วที่อุทิศส่วนกุศลละครับ ทำๆกันอยู่
อุทิศให้มารดาบิดา เขาก็ไม่รู้ด้วยว่าลูกให้ ตายไปแล้วอยู่ในสภาวะที่รับได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ ก็ยังสรรเสริญ
ให้ทำกัน แม้แต่หลวงพ่อจรัญเอง ด้วยความเคารพในท่านอย่างมาก(ผมเรียนกรรมฐานกับท่านตั้งแต่
สมัยท่านยังไม่ดังขนาดนี้เลย สมัยท่านเป็นพระครูธรรมดา,ผมพยายามไม่กล่าวถึงท่านในทุกเรื่อง)
ท่านยังสอนให้สวดอิติปิโสเลย พรรณาอานิสงส์ถึงขนาดคนที่เราอุทิศให้หายป่วยได้ ลูกกลับใจ อันนี้
เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผู้รับไม่ต้องอยู่ด้วย และคำที่ท่านพูดจนคล้องจองเลย สวดมนต์เป็นนิจ อธิฐานจิตเป็นประจำอโหสิกรรมเสียก่อน และเราก็แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย
สรุปว่า ผมจะอโหสิกรรมคนที่ผมจะอโหสิด้วยต้องรู้ด้วยป่าว

อนึ่งการกราบไหวพระอาจารย์ต่างๆก็นัยนี้ ท่านล่วงลับไป ท่านจะรู้หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่รุ่นหลังก็กราบกัน
อยู่ การที่บุคคลสำนึกไม่ว่าจะรู้หมดหรือไม่รู้หมด ก็จะมีเจตนาจูงใจให้ทำความระวังต่อไป เป็นเรื่อง
ดีไม่ไช่หรือ นัยอื่นก็คล้ายๆกัน
ไหวครูก็นัยเดียวกัน กราบระลึกก็ไม่เห็นครูต้องมารับรู้ ในบททำวัตรเย็นก็มี แปลให้ฟัง

ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ ขอพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อการสำรวมระวังของข้าพเจ้า
ในการต่อไป


ไม่เห็นพระสงฆ์ต้องมารับรู้เลย ทำวัตรอยู่ที่บ้าน

ในอรรถกถานั้นเองก็อธิบายให้สงฆ์รับการขมากรรมแทนได้ ในกรณีผู้ที่ล่วงเกินต้องการขมากรรมโดย
ไม่สามารถพบเจอผู้ล่วงเกินได้ ก็คือให้สงฆ์รับรู้การสำนึกไว้ และที่เขาลดกรรมนั้น ไม่ไช่ลดผลกรรม
หรือวิบากกรรม คุณเข้าใจไปเองกระมังว่าจะลดพวกนี้ได้ เพียงแต่เขาลดอปรเจตนา เจตนาหลังทำ
ให้เบาบางลงด้วยจิตที่เป็นกุศลคือการสำนึก เพราะกรรมต่างๆสะสมอยู่ที่จิตของผู้ทำ การขมาก็ผู้ทำ
กรรมนั้นสำนึกเอง ไม่จำต้องหาผู้ที่ถูกละเมิด ลดภาระ ลดความกังวลของจิตตัวเองก่อน

อย่าได้จำเอาคำสอนของอาจารย์ต่างๆมาอ้างเลยครับ พระไตรปิฎกยังมีบันทึกไว้ หาในนั้นก่อน เมื่อไม่
มีแล้วค่อยเอาคำสอนอาจารย์ต่างๆมาอ้าง เพราะเสี่ยงที่จะปรามาส เราทุกท่านไม่รู้เจตนาที่แท้จริงของ
ท่านได้หรอก บางครั้งที่ท่านพูดเหมาะกับอีกที่ ไม่เหมาะกับอีกที่ เหมาะกับบุคคลกลุ่มนี้แต่ไม่เหมาะกับ
บุคคลอีกกลุ่ม

บางครั้งเราล่วงเกินคนอื่นโดยที่เราไม่รู้ เช่น นั่งดูหนังอยู่ บังคนข้างหลังแบบไม่รู้ตัว เจตนาให้เขาเดือด
ร้อนเราไม่มีหรอกครับ แต่ก็ไม่เป็นการผิดที่เราจะมาขอขมาในทุกเรื่อง เหมือนเราไปรวมกลุ่มกิจกรรม
เมื่อกลับเราก็พูดว่า ผมต้องขออภัยด้วยนะครับ หากทำสิ่งใดไม่ควรลงไป (ทั้งที่เราไม่รู้ว่าทำอะไรผิด
ไปหรือเปล่า)

ส่วนการที่พูดไปนั้นจะเป็นการพูดเพ้อเจ้อหรือเปล่า ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณตั้งใจแค่ไหน เพราะการขอขมา
ก็มีวิธีคล้ายอธิฐานจิตหรือตั้งใจนั่นเอง อยู่ที่ว่าขออย่างไรเท่านั้น อย่าเหมาว่าเพ้อเจ้อทุกเรื่อง เช่น
หลังจากถวายทาน ก็อธิฐานขอทานนี้เป็นปัจจัยเพื่อพระนิพพาน ก็นัยเดียวกัน จะได้หรือเปล่าก็ไม่รู้
ขอสวรรคสมบัติ จะมีจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ ก็ทำกันไป ถือว่าป็นกุศลจิต

อ่านดูที่คุณขวางพูด เหมือนว่าการขมาบ่อยๆจะเป็นจองล้างจองผลาญ ถ้าการที่คุณเข้าใจแบบนั้นก็
ตามสบายเถิด ทำไงเป็นจองล้างจองผลาญไปได้ ถ้าเจตนาบริสุทธิ์ การกระทำดี ไม่มีจองล้างจอง
ผลาญได้แน่ ผมไปปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มา ก่อนรับกรรมฐาน ท่านก็กล่าวนำให้ผมขอขมากรรม
ก็นัยๆที่ผมตัวอย่างไปนั่นแหละ และท่านก็ไม่เคยติงที่ผมกล่าวคำขอขมาบ่อยๆ เพราะไม่ไช่กล่าวด้วย
ความเป็นประเพณีหรือด้วยการแก้เอาตัวรอดไปวันๆแล้วไปทำเรื่องให้ต้องมาขอขมาอีก

การขอขมาจะเป็นการพูดปดหรือไม่ คุณขวางโปรดย้อนไปดูว่าศีลข้อนี้มีนัยอย่างไร ข้อคิดก็คือ ถ้าเรา
ทำบุญอธิฐานว่าขอให้ได้นิพพาน แล้วชาตินี้หรือต่อๆไปยังไม่ได้ คุณขวางคิดว่าเป็นการพูดปดหรือไม่
ในเรื่อขมาก็เช่นเดียว รู้หรือไม่ไม่ไช่เหตุให้การขอขมาเป็นการพูดปดไปได้ คนละเรื่อง

ขอบคุณที่แนะอาจารย์ดีๆให้ผม ผมคงไปหาพระอาจารย์เมื่อผมมีปัญหาในการปฏิบัติแล้วติด
แก้ไม่ได้ ผมไปหาท่านเอง โทรไปส่งอารมณ์ท่านก็ยังอนุญาตได้ อย่าให้ผมเอ่ยนามเลย ในบอร์ดนี้
ยังมีอาจารย์ผมเลย แนะนำเรื่องอารมณ์วิปัสสนาผมดีมากเสียด้วย ส่วนอาจารย์ที่เป็นภิกษุ ก็ต้นกำเหนิด
ยุบหนอพองหนอในประเทศไทยนั่นหละ ท่านเหล่านี้แนะนำผมจนเห็นไตรลักษณ์โดยปัจจักษ์แล้วไม่ไช่
สอนแบบอนุมานเลยซักนิด ผมจึงเชื่อมั่นท่านเหล่านั้น

เมื่อเหตุดี ผลก็ต้องดี ถ้ามีผลเสียจากการขอขมา แสดงว่า เหตุไม่ดี หรือทำไม่ถูกต้อง พึงเข้าใจอย่างนี้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2009, 23:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนากับคุณกามโภคี ด้วยครับ
เขาให้กดโมทนาได้ครั้งเดียว..อยากจะกดหลาย ๆ ทีแบบยกกำลังไปเลย..


โมทนาในความขยัน..เพราะผมมันขี้เกียจ
ยิ่งท้าให้ไปถามพระอรหันต์อีกนี้..ผมยิ่งทั้งขี้เกียจทั้งขี้กลัว..ไปเลย
คือที่ขี้เกียจก็ขี้เกียจการเดินทาง
และที่ขี้กลัวคือกลัวว่าถามท่านแล้ว..จะหงายท้องกลับมานะซี..กลัวจะถูกดุเอา..ก็แนวทางปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ท่านวางใว้ให้แล้ว..จะมาถามหาอะไร..(กำลังนึกถึงเสียงของหลวงตา แบบเสียงในฟิลม์)

หมายเหตุ...ใช้คอนเซ็ปว่า มีดี ต้อง มีไม่ดี มันใช้ไม่ได้ไปซะทุกเรื่องหรอกมั้ง...อย่าถือศีลยังงี้..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนคุณ กบนอกกะลา ทราบ
ผมขอเล่าประสบการณ์นิดหน่อย เมื่อก่อนผมเคยปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ผมปฏิบัติอยู่นานหลายปีเลย
ทั้งสำนักของสายวัดมหาธาตุ สายวัดอัมพวัน ฯลฯ วิปัสสนาญาณผมไม่เกินการมองเห็นเหตุรูปนามเลย
วนๆอยู่แค่นี้เอง มีวันหนึ่งผมได้อ่านเจอในอรรถกถาคัมภีร์ ท่านบอกว่า การปรามาสพระอริยบุคคลไม่ว่า
พระอริยบุคคลนั้นจะเป็นพระหรือฆราวาสก็ตาม ตั้งแต่ชั้นโสดาบันขึ้นไป ก็เป็นเหตุให้ไม่สามารถบรรลุธรรม
ได้ ผมมานั่งตรึกตรองว่า ผมเคยทำกรรมแบบนี้หรือไม่ ปรากฏว่าผมไม่ทราบแน่ชัด แต่ที่รู้ๆคือผมชอบ
ว่าพระเกจิอาจารย์ต่างๆที่ท่านชอบออกพระสร้างวัตถุมงคล ผมสงสัยเลยว่าท่านเหล่านั้นอาจมีบางรูปเป็น
พระอริยะบุคคล และการที่ท่านสร้างวัตถุมงคล เจตนาท่านอาจเป็นพุทธานุสติเท่านั้น เราไปตำหนิท่าน
ก็เท่ากับปรามาส ผมก็ทำตามคัมภีร์เลย ท่านให้ขอขมาเพื่อเป็นการบรรเทาเจตนาหลังทำกรรม(อปรเจตนา)
และตั้งแต่บัดนั้นมา วิปัสสนาญาณก็ดำเนินตามปกติสมควรแก่การปฏิบัติอย่างน่าพิศวง ภายหลังผมระวัง
มากเรื่องวิจารย์พระวิจารย์เจ้า ถ้าคุณสังเกตคุณจะเห็นว่าผมจะใช้คำว่า ด้วยความเคารพ เสมอๆถ้าต้อง
วิจารย์หรืออธิบายคำสอนที่บุคคลอื่นนำมาอ้างอิง และผมเองก็ไม่นำคำสอนพระทั้งหลายมาอ้างอิงเท่าไร
เลย คือผมกลัวมากๆเพราะรู้ผลร้ายที่ตามมาแล้ว รอดได้อีกคราวก็การขอขมานี่ล่ะ

อนึ่ง ถ้าคุณรักการปฏิบัติ ในขณะที่ก่อนจะลงมือปฏิบัติ(เน้นวิปัสสนา) ถ้ามีวิตกหรือไม่สบายใจในพฤติ
กรรมที่เคยทำมา ก็ขอขมาซักคราวหนึ่งก็ดี เมื่อวิตกคลายลงบ้างจะช่วยการเจริญสติได้ดีระดับหนึ่ง และถ้า
กังวลว่าจำไม่ได้ว่าทำไม่ดีกับใครไว้บ้าง ถ้าหลายภพหลายชาติผมไม่ยืนยันครับ แต่ถ้าภพนี้ชาตินี้คุณรู้
แน่ถ้าคุณปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างถูกวิธี เมื่อถึงสภาวะวิปัสสนาญาณหนึ่ง มันโผล่มาให้รู้เองทั้งทางนิมิต ทั้งทางสัญญาความจำ กลับมาฉายให้ดูเป็นฉากๆๆ แล้วอย่าดูเพลินละ ละซะเมื่อรู้แล้ว

ผมเคยไปปฏิบัติที่วัดหนึ่งทางชลบุรี ก่อนรับกรรมฐานพระวิปัสสนาจารย์ก็บอกให้ผมขอขมาพระรัตนตรัย
เป็นต้น ก่อน เมื่อลากลับ ท่านก็นำกล่าวคำขอขมาอีกครั้ง ไม่เห็นว่าท่านจะสั่งว่าอย่าขอขมามากนะ
แต่ว่า ความเข้าใจผม เราทำให้พอดีพองาม ไม่มากจนงมงาย ไม่น้อยจนไม่ทำ กำลังดีครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


การขอขมาโดยไม่เจาะจง ไม่จัดเป็นการโกหก

มีตัวอย่างเยอะ ในพุทธกาล

เช่นพระสารีบุตร โดนภิกษุรูปหนึ่งกล่าวตู่ ว่าพระสารีบุตร ทำร้ายตัวเอง จึงไปฟ้องพระพุทธเจ้า
เมื่อทุกอย่างกระจ่างแล้ว ภิกษุนั้นก็สำนึกผิดและนั่งลงกระโหย่ง อัญชลีกล่าวขอให้พระสารีบุตรอดโทษ
พระสารีบุตร ก็กล่าวว่า "เราย่อมอดโทษต่อท่าน และท่านจงอดโทษต่อเรา หากว่าโทษของเรามีอยู่ไซร้"
มีอีกหลายตัวอย่าง อนาถบิณฑิกเสฏฐี ก็กล่าวนัยเดียวกัน

เพียงแต่เรื่องที่ถกเถียงคือการขอขมา เพื่อลดกรรม อันนี้ถ้าไม่มีผู้รับขมา โทษก็หาลดไม่
เพราะโทษจะลดต่อเมื่อ ผู้ที่จะให้ขมา กล่าวยกโทษให้
นอกเสียว่า สิ่งที่เราล่วงเกิน เป็นสิ่งไม่มีตัวตน เช่นนั้นเราก็สามารถกล่าวขอขมาที่ใดก็ได้ กับใครก็ได้
แต่ถ้าหากบอกว่า กล่าวขอขมา เพื่อลดกรรมที่ทำแล้วในชาติก่อน เป็นไปได้ยาก มิใช่ฐานะจะมีได้
เพราะตัวที่ส่งผล คือกรรมของเราเอง

คราวนี้มากล่าวถึงการอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร
ซึ่งจุดนี้ก็เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะผู้ที่สามารรับส่วนบุญได้ มีประเภทเดียวคือ
ปรทัตชีวิตเปรต คือพวกเปรตที่อยู่ได้เพราะผลบุญ ( เป็นอาหารของพวกนี้ )
สัตว์ชนิดอื่นรับผลบุญไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา เปรต อสุรกาย แต่ว่ามีข้อยกเว้นด้วยที่จะได้รับผลบุญ
คือการอนุโมทนา ในบุญที่เราทำก็จะได้รับผลบุญ แต่จะไม่ได้เป็นอาหารหรือเครื่องนุ่งห่ม เหมือนพวก
ปรทัตชีวิตเปรต แต่เป็นผลบุญอันเกิดจากการอนุโมทนา

ซึ่งเรื่องกรรม มันเป็นเรื่องอจิณไตย
เพราะเราเองก็ยังหาคำตอบไม่ได้ ในเรื่องกรรม เช่น
พระมหาโมคคัลลานะ กรรมเก่าคือทุบตีพ่อแม่ในกาลก่อน มาในชาตินี้เลยต้องมาโดนโจรทุบตีจนตาย
แล้วถามว่าโจร ได้รับกรรมมั้ย? ในเมื่อโจรทุบเพราะอำนาจแห่งกรรมเก่า ของพระเถระ?
แล้วไฉน โจรจึงได้รับผลกรรม ? แล้วทำไมโจรจักไม่ได้รับผลกรรม ในเมื่อเป็นผู้ทุบ?

นี้แลพระพุทธองค์จึงตรัสว่า มันเป็นอจิณไตย ผู้คิดอาจจะบ้าเสียได้

สิ่งที่เราต้องทำคือ เรามีโชคอย่างใหญ่หลวงที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา
ตัวผมเคยลองปฏิบัติมาเยอะเหมือนกัน ทั้งลองอ้อนวอนพระเจ้า อ้อนวอนแทบตายไม่เห็นมีผล
เปลี่ยนๆ ไปอ้อนวอนพระอัลเลาะห์ต่อ เหมือนเดิม
ไปลองไหว้ภูติผีต่อ ไม่เห็นเกิดอะไรขึ้น
ปฏิบัติตามหลักธรรมของพุทธองค์ดีกว่า ได้ผลเกินคาด

เช่นนี้แล พระพุทธองค์ไม่สอนให้โดยงมงาย แต่ให้ลองศึกษาลองปฏิบัติ
ถ้าใครบอกว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนี้ สิ่งนี้เป็นอย่างนั้น
ถ้าเชื่อในทันที พระพุทธองค์ทรงติเตียน
ถ้าไม่เชื่อในทันที พระพุทธองค์ก็ทรงติเตียน
แต่ถ้าลองศึกษา ลองปฏิบัติ นี้แลพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ

จงใคร่ครวญดูเถิด :b42:

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร