วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 19:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
กามโภคี เขียน:
เอาเป็นว่า ก่อนจะลงมือปฏิบัติธรรม อยากไปเลย อยากปฏิบัติไง
แต่เวลาเดินจงกรม นั่งสมาธิ อย่าไปอยาก
และถ้าจะให้ต่อเนื่อง มีสติตลอดในอิริยาบทต่างๆ ก่อนหรือหลังก็อย่าไปอยาก
ถึงจะฝ่ายดี แต่ก็กิเลสอย่างละเอียดเลย (บางแห่งเรียกว่า นิกันติตัณหา)
เอางี้ วางใจกลางๆในทุกอารมณ์ ไม่งั้น กิเลสทั้งหยาบทั้งละเอียด หลุดเข้ามาจนได้ เฮ่ออ
:b12: :b12: :b12: :b12: :b12:


แต่มันก็มีอยากอีแหละ... :b10: ...อยาก..วาง...นี่ซิละเอียดสุด :b32:


แหม๋ พออัพข้อความปั๊บ ก็อั๊พตอบมาเลย น่ารักจริงๆ
ผมคิดว่าคุณ natdanai เข้าใจอยู่แล้ว คงประสงค์แซวเล่นตามธรรมดา
แต่ขอขยายหน่อยหนึ่ง

จิตที่มีสติ วางเป็นกลางอยู่ รู้พร้อมอยู่ พออยากเดินจงกรม ก็รู้ว่าอยาก แล้วก็ไม่ได้ใส่ใจว่าอยากเดิน
อย่างไรเมื่อไร อยากเดินเพื่อบรรลุ อย่างนี้เป็นต้น จากนั้น สภาวะธรรมใดชัดเข้ามาทางกาย เวทนา
จิต หรือ สภาวะมาทางอารมณ์ ก็ไปรู้ว่ามีมาทางนั้นๆ ตามนัยมหาสติปัฏฐานสูตรข้อที่ว่า จิตมีราคะก็รู้
ว่าจิตมีราคะ......สักแต่ว่าเป็นที่รู้ ที่ระลึกรู้ ที่อาศัย(ของจิตที่ไปรู้) ดับอภิชาและ.....(ยาวมาก)

วางแบบนี้เปรียบเหมือนกำแพงที่สมัยเด็กๆชอบเอาดินเหนียวไปขว้างใส่ พอโดนกำแพงปุ๊บ ติดปั๊บเลย
กำแพงเฉย ดินเหนียวไม่กี่วันหลุด เพราะกำแพงเฉย หะๆๆ ผมก็ว่าไปเรื่อยเลย :b12: :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
วางแบบนี้เปรียบเหมือนกำแพงที่สมัยเด็กๆชอบเอาดินเหนียวไปขว้างใส่ พอโดนกำแพงปุ๊บ ติดปั๊บเลย
กำแพงเฉย ดินเหนียวไม่กี่วันหลุด เพราะกำแพงเฉย หะๆๆ ผมก็ว่าไปเรื่อยเลย


ตอนเด็กท่านคงซนน่าดูนะครับ... :b13:
ไม่รู้ว่าเคยโดนเจ้าของกำแพงเขาขว้างดินเหนียวใส่หัวบ้างป่าว :b32: :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


บางทีผู้ปฏิบัติก็ไม่ทันสังเกตสภาวะที่มีอยู่...

ผู้ปฏิบัติมักจะสังเกตเห็นได้แต่สภาวะความอยากทำ เช่น อยากทำชั่ว, อยากพูดชั่ว, อยากทำดี, อยากพูดดี, อยากเดินจงกรม, อยากนั่งสมาธิ เป็นต้น เท่านั้น

แต่....

ผู้ปฏิบัติมักจะไม่ทันสังเกตว่าสภาวะความอยากนี้แหละ มีอีกด้าน หนึ่ง คือ อยากได้ความ "ไม่อยาก" เช่น อยากปฏิบัติแบบไม่อยาก, อยากเดินจงกรมแบบไม่มีความอยากเดินจงกรม, อยากนั่งสมาธิแบบที่ไม่มีความอยากนั่งสมาธิ, อยากดูจิตแบบไม่มีความอยากดูจิต, อยากพิจารณาธรรมแบบไม่มีความอยากพิจารณาธรรม เป็นต้น

ซึ่งตรงนี้ เมื่อเราไม่รู้ว่าเรามีความอยากอย่างดังกล่าว พอเราปฏิบัติไป จนเริ่มชำนาญ เราก็คิดว่าเรานี้ได้ปฏิบัติแบบไม่อยากได้แล้ว แต่หารู้ไม่ว่านั่นยังมีความอยากอยู่ แต่มันละเอียด ปราณีตมากแล้ว แต่เรารู้ไม่เท่าทัน จึงคิดว่าไม่มีความอยากอยู่ภายใน

อุปมาเหมือนกับ คนตบยุงนั่นเอง คนที่โดนยุงกัดใหม่ๆ ไม่เคยตบยุง กว่าจะตบได้ตัดสินใจอยู่นาน จึงได้ตบให้มันตายไป พอต่อมา ยุงกัดคนนั้น คนนั้นก็ตบยุงได้ง่ายขึ้น ต่อไปเรื่อยอีก ชำนาญแล้ว กำลังคุยกับเพื่อนอยู่ ยุงกับปุ๊บตบยุงตายปั๊บ ไม่ทันรู้ตัวเลยว่าได้ตบยุงไปแต่ตอนไหน มารู้อีกทีก็ที่มีเลือดติดตรงแขนเราไปแล้วนั่นเอง จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าบางทีความอยากมันมีอยู่แต่เราไม่รู้มันว่องไวและละเอียดอ่อน....


"อยากที่จะไม่อยาก"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เวลากำหนด

อยากเดินหนอ อยากนั่งหนอ อยากดูหนอ พิจารณาหนอ

สติหยุดจิตให้รู้ว่าสภาวะอยากเกิดขึ้น สัมปชัญญะทำงานคือรู้อยู่ว่ากำลังมีอยากอยู่
หนอ ย้ำขณิกะสมาธิให้มีพลังตั้งมั่นเพื่อวางใจเป็นกลางได้ ไม่ปรุงแต่งต่อ

ส่วน ความไม่อยากมีไม่อยากเป็น เป็นส่วนหนึ่งของอาการตัณหา(วิภวะตัณหา)

เข้าใจว่า อยากปฏิบัติธรรมแบบไม่อยากนั้น ไม่น่ามาจากความอยาก เมื่อถึงสภาวะหนึ่งแล้ว องค์คุณ
ของวิริยินทรีย์ก็ดำเนินไปเอง น่าจะเป็นความเพียรที่ได้จากการปฏิบัติที่สมดุลย์ของอินทรีย์ทั้ง ๕
สภาวะอาจเหมือนอยากแบบไม่อยาก แต่ส่วนมากจะใช้คำว่า ปรารภความเพียร ไม่ใช้คำว่า อยากทำความ
เพียร
มีคำหนึ่งน่าสนใจปรากฎในขุทธกะนิกาย คำว่า อุฏฐานะสัมปะทา ถึงพร้อมด้วยความเพียรเป็นเหตุลุกขึ้น
หมายถึงมีความวิริยะที่จะทำ ไม่ไช่เพราะความอยาก

ความเห็นผมนั้น ยังไม่เข้าใจถี่ถ้วนถึงความอยากแบบไม่อยากที่คุณศิรัสพลอธิบายมาหรอกครับ
ก็เลยขอเสนอความเห็นมาแค่นี้ จะตรงประเด็นหรือเปล่าก็ยังไม่ทราบ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 15:21
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสหายเฒ่าอย่าคิดลึกมากก็ได้นะค๊ :b8: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงคุณกามโภคี

ผมว่าพระอานนท์ท่านกล่าวเอาไว้ชัดเจนแล้วนะครับ เพียงแต่เรายังไม่เข้าใจถ่องแท้ บางคนที่ยังไม่เข้าใจเป็นเพราะยังยึดความเชื่อ ความรู้ ยึดติดทิฐิเดิมๆ ของตนอยู่อย่างนั้น ว่าไม่ใช่ๆ คิดอย่างนี้น่าจะผิดๆ จึงถอนไม่ได้เสียที หรือเป็นเพราะไม่พยายามเข้าใจว่าถูกต้องอย่างไร แฝงนัยลึกซึ้งอย่างไรท่านจึงได้สอนอย่างนั้นเท่านั้นเองครับ ท่านบอกไว้ชัดเจนแล้ว ผมนำมาให้อ่านอีกทีนะครับ

"อาศัยตัณหาละตัณหา อาศัยมานะละมานะ"

****************************************
ดูกรน้องหญิงก็คำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหา อาศัยตัณหาแล้วพึงละตัณหาเสีย
ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรน้องหญิง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้ยินว่า ภิกษุชื่อนี้กระทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เธอคิดอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ แม้เราจักกระทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้ สมัยต่อมา เธออาศัยตัณหาแล้วละตัณหาเสียได้ ดูกรน้องหญิง
คำที่กล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหา อาศัยตัณหาแล้วพึงละเสีย ดังนี้เราอาศัยข้อนี้กล่าว


ดูกรน้องหญิง ก็คำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยมานะอาศัยมานะ แล้วพึงละมานะเสีย
ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรน้องหญิงภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ได้ยินว่า ภิกษุชื่อนี้กระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญา
อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ก็ท่านผู้มีอายุชื่อนั้น กระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ ไฉนเราจักกระทำไม่ได้ สมัยต่อมา เธออาศัย
มานะแล้วย่อมละมานะเสียเอง ดูกรน้องหญิงคำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยมานะ
อาศัยมานะแล้วพึงละมานะเสีย ดังนี้เราอาศัยข้อนี้กล่าว


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=3885&w=อินทรียวรรค


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
ถึงคุณกามโภคี

ผมว่าพระอานนท์ท่านกล่าวเอาไว้ชัดเจนแล้วนะครับ เพียงแต่เรายังไม่เข้าใจถ่องแท้ บางคนที่ยังไม่เข้าใจเป็นเพราะยังยึดความเชื่อ ความรู้ ยึดติดทิฐิเดิมๆ ของตนอยู่อย่างนั้น ว่าไม่ใช่ๆ คิดอย่างนี้น่าจะผิดๆ จึงถอนไม่ได้เสียที หรือเป็นเพราะไม่พยายามเข้าใจว่าถูกต้องอย่างไร แฝงนัยลึกซึ้งอย่างไรท่านจึงได้สอนอย่างนั้นเท่านั้นเองครับ ท่านบอกไว้ชัดเจนแล้ว ผมนำมาให้อ่านอีกทีนะครับ

"อาศัยตัณหาละตัณหา อาศัยมานะละมานะ"

****************************************
ดูกรน้องหญิงก็คำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหา อาศัยตัณหาแล้วพึงละตัณหาเสีย
ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรน้องหญิง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้ยินว่า ภิกษุชื่อนี้กระทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เธอคิดอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ แม้เราจักกระทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้ สมัยต่อมา เธออาศัยตัณหาแล้วละตัณหาเสียได้ ดูกรน้องหญิง
คำที่กล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยตัณหา อาศัยตัณหาแล้วพึงละเสีย ดังนี้เราอาศัยข้อนี้กล่าว


ดูกรน้องหญิง ก็คำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยมานะอาศัยมานะ แล้วพึงละมานะเสีย
ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรน้องหญิงภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ได้ยินว่า ภิกษุชื่อนี้กระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญา
อันยิ่งเองในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ก็ท่านผู้มีอายุชื่อนั้น กระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้ ไฉนเราจักกระทำไม่ได้ สมัยต่อมา เธออาศัย
มานะแล้วย่อมละมานะเสียเอง ดูกรน้องหญิงคำที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดขึ้นด้วยมานะ
อาศัยมานะแล้วพึงละมานะเสีย ดังนี้เราอาศัยข้อนี้กล่าว


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=3885&w=อินทรียวรรค



อาศัยตัณหาละตัณหา น่าจะหมายถึง ถือเอาการที่ตัณหาเป็นเหตุที่ทำให้เราเกิดมา แล้วได้ปฏิบัติ
เพื่อหาทางละตัณหามากกว่า ตามนัยของปฏิจสมุปบาทหรือตามนัยอริยสัจที่กล่าวตัณหาเป็นเหตุให้
เกิดทุกข์ มีพระพุทธพจน์ว่า ตัณหา ชะเนติ ปุริสัง ตัณหาทำให้คนเกิด ที่มาของพระพุทธพจน์บทนี้คือ
พระพุทธองค์กล่าวเป็นโวหารเทศนาว่า ฆ่าพ่อแม่จึงเป็นพระอรหันต์ แล้วพระองค์ทรงอธิบายว่า
พ่อคือทิฏฐิ ๖๒ แม่คือ ตัณหา เป็นต้น ท่านอุปมาทิฏฐิและตัณหาว่าเป็นพ่อแม่ จึงทรงตรัสพระพุทธพจน์
นี้ไว้ ข้อนี้ถ้าคนไม่อ่านให้จบ หรือไม่เข้าใจ จับข้อความแข็งมาก็จะเข้าใจไม่ตรงตามประสงค์นัก
ก็จะเข้าใจว่า การฆ่าพ่อฆ่าแม่ทำให้บรรลุพระอรหันต์

ข้อที่พระอานนท์กล่าวก็เช่นกัน คงจะหมายถึงอย่างที่ผมยกตัวอย่างมา เพราะถ้าอาศัยตัณหาแล้ว
ปัญญาที่ไหนจักเกิดได้ อาศัยมานะแล้ว ปัญญาที่ไหนจักเกิดได้ สังเกตุที่ผมขีดไว้ เพราะอาสะวะทั้ง
หลายสิ้นไปด้วยปัญญา ถ้าอาศัยมานะหรือตัณหา เป็นฝ่ายที่ปรุงแต่งโลก ปัญญาที่ละอาสะวะกิเลสที่
เป็นธรรมฝ่ายไม่มีวิบาก(เพราะละอาสะวะทั้งหลายได้) คือไม่มีผลกลับมาเกิดอีก จะเป็นผลของมานะ
หรือตัณหาก็กระไรอยู่

การที่บอกว่าอาศัยมานะหรือตัณหาละมานะหรือตัณหานั้น อาศัยได้บ้างก็ต่อเมื่อยังไม่ลงมือปฏิบัติ
ถ้าลงมือปฏิบัติแล้ว ซักนิดเดียวเขาก็พยายามไม่ให้กิเลสเหล่านี้โผล่มาหรอก ไม่งั้นเขาจะทำฌานหรือ
วิปัสสนาเพื่อละกิเลสเหล่านี้ทำไม

การอยากที่จะหลุดพ้น หรืออยากปฏิบัตินั้น ยังห่างจากการปฏิบัติจริงๆ เพราะการปฏิบัติจริงๆ จุดประสงค์
เพื่อละกิเลสเหล่านี้ เขาก็จะทำกันแบบไม่อาศัย ไม่ยึดถือ ไม่เอามาเป็นเหตุให้ลุกขึ้นมาปฏิบัติกัน
แค่นิวรณ์ซึ่งทิ้งหรือละได้ง่ายในบางคราว เขายังขจัดเลยเวลาปฏิบัติ แล้วระดับประมุขกิเลสเขาจะยึดถือ
เอามาเป้นเหตุให้ละกิเลสได้อย่างไร

ถ้าเข้าใจว่า ความอยาก หรือ มานะ เอามาใช้ก่อนการลงมือปฏิบัติก็พอชอบอยู่ แต่ถ้าในระหว่างปฏิบัติ
จะกี่วันก็ตาม เมื่อสมาทานกรรมฐานแล้ว อาศัยกิเลสพวกนี้ คงไม่ได้แน่

จริงๆแล้ว แม้จะมีพระสูตรที่พระอานนท์ท่านกล่าว ผมก็ยังไม่เคยเจอสูตรไหนสรรเสริญคุณตัณหาหรือ
ความอยากว่าเป็นเครื่องอาศัยให้มรรคผลเกิดเลย มีแต่ประนามกิเลสเหล่านี้ แล้วก็ยังไม่เจอว่า ให้อาศัย
ความอยาก มานะ เพื่อเร่งทำความเพียรเลย มีแต่เข้าใจกันไปเอง

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณกามโภคีมากครับ

ให้อ่านศึกษาคำสอนและตัวอย่างของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ต่อไปนี้ให้ดีๆ นะครับ แล้วคุณจะเข้าใจมากยิ่งขึ้นแยกออกว่า "ความอยาก" แบบฉันทะเป็นอย่างไร สำคัญและทำไมถึงควรจะมีความอยากอย่างนี้ และจะไม่ก่อทุกข์ แต่ก่อให้ประสบผลสำเร็จรวดเร็วเลยหากเราทำฉันทะให้ถูกต้อง อยากแบบฉันทะจริงๆ ไม่ให้ตัณหามาสอดแทรกได้ครับ

************************
ตอนที่ ๗

- ในเมื่อการกระทำกับสิ่งที่ตัณหาต้องการไม่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันโดยตรง ตัณหาจึงรังเกียจการกระทำ คือ ไม่ต้องการกระทำ ตัณหาพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำ โดยพยายามให้ได้โดยไม่ต้องทำ และเมื่อจำเป็นต้องทำ ก็ทำโดยจำใจ ดังกล่าวแล้ว ผู้กระทำด้วยตัณหา (ตามระบบเงื่อนไข) จึงย่อมไม่ได้รับความสุข ความพึงพอใจในการกระทำนั้น และแม้ในผลสำเร็จของการกระทำที่เกิดมีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับการกระทำ มองอีกแง่หนึ่งว่าสิ่งที่ตัณหาต้องการคือเสพเสวยนั้น ตั้งอยู่ลอยๆ ไม่สัมพันธ์ต่อเนื่องกันกับการกระทำ ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้สิ่งเสพเสวย ความกระหายอยากต่อสิ่งนั้นก็ไม่เปลี่ยนแปลง ยิ่งกว่านั้น ความเป็นไประหว่างกระทำตามเงื่อนไขนั้นแหละอาจกลายเป็นตัวเร่งเร้าหรือกดดันให้ตัณหาตื่นเต้นหวั่นไหวหรือหวั่นหวาดยิ่งขึ้น โดยนัยนี้ ภาวะทางจิตของผู้เป็นอยู่หรือกระทำด้วยตัณหา จึงได้แก่ความร้อนรน กระวนกระวาย ความฟุ้งซ่าน ความเครียด ความกระสับกระส่าย พ่วงด้วยอกุศลธรรมอื่นๆ อันอาจเกิดตามมา เช่น ความหวาดกลัว ความระแวง ความริษยา เป็นต้น ความไม่สมคาดในระหว่างก็ดี การไม่ได้สมหวังในบั้นปลายก็ดี ล้วนนำไปสู่ผลร้ายทางจิตใจที่รุนแรง ให้เกิดความข้องคับใจ ตลอดถึงโรคทางจิต ผลร้ายทางจิตข้อนี้ เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะเป็นสิ่งก่อปมปัญหาทางจิตใจที่ระบายขยายออกไปเป็นปัญหาชีวิต ปัญหาสังคมที่กว้างขวาง พึงเทียบกับผลดีของฉันทะด้วยเพื่อความชัดเจนเพิ่มขึ้นในบางแง่

ส่วนบุคคลผู้มีฉันทะเป็นแรงจูงใจ ต้องการภาวะเป็นผลของการกระทำโดยตรง อันเป็นเหตุให้เข้ามีความต้องการทำ ดังได้กล่าวแล้ว ดังนั้น ผลที่ติดตามมาจึงปรากฏในทางตรงข้ามกับตัณหา ซึ่งเห็นได้โดยพิจารณาเทียบเอาจากเหตุผลที่แสดงไว้แล้วในตอนว่าด้วยตัณหาข้างต้น ในที่นี้ จะกล่าวไว้เพียงโดยย่อ กล่าวคือ

- ไม่ทำให้เกิดการทุจริต แต่ทำให้เกิดความสุจริต ความขยัน อดทน ความซื่อตรงต่องาน และแม้แต่ความซื่อตรงต่อเหตุผลที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติ

- ทำให้ตั้งใจทำงาน นำไปสู่ความประณีต ความดีเลิศของงาน เพาะนิสัยใฝ่สัมฤทธิ์ ทำจริงจัง เอางาน และสู้งาน

- ตรงข้ามกับความสับสนซับซ้อนในระบบ และการคอยจ้องจับผิดกัน จะมีความร่วมมือร่วมใจการประสานงาน และการมีส่วนร่วม เพราะต่างมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มิใช่มุ่งสิ่งเสพเสวยเพื่อตน ที่จะต้องคอยฉกฉวยเกี่ยวแย่งชิงกัน

- เนื่องด้วยการกระทำเป็นไปเพื่อผลของมันเอง ผลจึงเป็นตัวกำหนดหรือชี้บ่งปริมาณและคุณภาพของงานที่เป็นเหตุของมัน ดังนั้น จึงย่อมเกิดความพอเหมาะพอดีระหว่างการกระทำกับผลที่พึงประสงค์ คือ ทำเท่าที่ภาวะซึ่งเป็นผลดีจะเกิดขึ้น เช่น กินอาหารพอดีที่จะสนองความต้องการของร่างกายให้มีสุขภาพดี โดยไม่ตกเป็นทางของการเสพรส

- เนื่องด้วยผู้ทำด้วยฉันทะ ต้องการผลของการกระทำโดยตรง และต้องการทำให้ผลนั้นเกิดขึ้นอีกทั้งเขาย่อมได้ประจักษ์ผลที่เกิดต่อเนื่องไปกับการกระทำ เพราะการกระทำคือการก่อผลซึ่งเขาต้องการ ความต้องการทำก็ดี การประจักษ์ผลต่อเนื่องไปกับการกระทำทุกขั้นตอนก็ดี ทำให้เขาได้รับความพึงพอใจ ความอิ่มใจ ปีติปราโมทย์ ความสุข และความสงบตั้งมั่นของจิตใจด้วยเหตุนี้ ในทางธรรมจึงจัดฉันทะเข้าเป็นอิทธิบาทอย่างหนึ่ง อิทธิบาทเป็นหลักสำคัญในการสร้างสมาธิ ฉันทะทำให้เกิดสมาธิ ซึ่งท่านให้ชื่อเฉพาะว่า ฉันทสมาธิ และจึงเป็นเครื่องส่งเสริมสุขภาพจิต ตรงข้ามกับตัณหาที่ทำให้เกิดโรคจิต แม้ในกรณีที่ทำไม่สำเร็จ คือไม่สามารถทำให้ผลของการกระทำนั้นเกิดมีจนลุล่วงถึงที่สุด ฉันทะก็ไม่ก่อให้เกิดทุกข์ ไม่ทำให้เกิดปมปัญหาในใจ ทั้งนี้ เพราะการกระทำที่สำเร็จผลหรือไม่เป็นความเป็นไปตามเหตุผล เหตุเท่าใดผลก็เท่านั้น หรือเหตุเท่านี้ ปัจจัยขัดขวางเท่านั้น ผลก็มีเท่านี้ เป็นต้น ผู้ทำการด้วยฉันทะ ได้เริ่มต้นการกระทำมาจากความคิดและความเข้าใจเหตุผล และได้ประจักษ์ผลควบมากับการกระทำที่เป็นเหตุ จึงไม่เกิดทุกข์ หรือปมในใจเพราะฉันทะ ถ้าทุกข์หรือปมนั้นจะเกิดขึ้น ก็เป็นเพราะเปิดช่องให้ตัณหาสอดแทรกเข้ามา (เช่นเกิดความห่วงกังวลเกี่ยวกับตัวคนขึ้นว่า คนนั้น คนนี้จะว่าเราทำไม่สำเร็จ หรือว่า ทำไมเขาทำได้ เราทำไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น)


แก้ไขล่าสุดโดย ศิรัสพล เมื่อ 24 มิ.ย. 2009, 17:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนที่ ๘

เพื่อความเข้าใจในด้านหลักการต่อไปอีก พึงพิจารณาด้วยตัวอย่างดังต่อไปนี้

เมื่อร่างกายขาดอาหาร ย่อมต้องการอาหารมาบำรุงเลี้ยงร่างกายเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ต่อไป ความต้องการอาหารนี้ แสดงออกเป็นอาการอย่างหนึ่ง เรียกว่า ความหิว คือ ต้องการกิน เมื่อกระบวนธรรมดำเนินมาถึงตอนนี้ ถือว่าตัดตอนออกไปได้เป็นช่วงที่หนึ่งของพฤติกรรมในการกิน ช่วงนี้ทางธรรมถือว่าเป็นกระบวนการทำงานของร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนวิบาก เป็นกลางในทางจริยธรรม คือไม่ดีไม่ชั่ว ไม่เป็นกุศลไม่เป็นอกุศล แม้แต่พระอรหันต์ก็มีความหิว

ความหิวเป็นแรงเร้า ทำให้เกิดการกระทำคือการกิน และเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมในการกิน เช่น หิวมากทำให้กินมาก หิวน้อยทำให้กินน้อย แต่ความหิวไม่ใช่สิ่งเดียวที่กำหนดหรือบ่งชี้พฤติกรรมในการกิน พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ความหิวอย่างเดียวไม่อาจอธิบายพฤติกรรมทั้งหมดของการกิน หรือว่า คนไม่ใช่กินเพราะหิวอย่างเดียว ดังนั้น จึงได้กล่าวว่าเมื่อความหิวเกิดขึ้นแล้ว เมื่อความต้องการกินเกิดขึ้นแล้วถือเป็นจบช่วงที่หนึ่งของพฤติกรรมในการกิน ทีนี้ พอเข้าสู่ช่วงที่สอง ตามปกติสำหรับมนุษย์ปุถุชน ก็จะมีแรงเร้าหรือแรงจูงใจอีกอย่างหนึ่ง เข้ามากำหนดพฤติกรรมในการกินร่วมกับความหิวด้วย ตัวควบนี้ก็คือตัณหา ตัณหาที่เข้ามาในตอนนี้มีได้ทั้งสองอย่าง อย่างแรกคือ ความรนในการปกป้องความมั่นคงถาวรของตัวตน หรือภวตัณหา

ซึ่งจะเห็นได้ชัดในกรณีที่หิวมาก คือร่างกายขาดอาหารมากและตกอยู่ในภาวะที่อยากจะได้อาหารมากิน ตัณหานี้จะก่อให้เกิดความรู้สึกกลัวตาย ความวิตกกังวล ความกระวนกระวาย ความทุรนทุรายเพิ่มเติมเข้ามาผนวกกับความทุกข์ตามปกติจากการอดอาหาร ยิ่งตัณหาแรงเท่าใดอาการก็ยิ่งเป็นไปมากตามอัตรา จากนั้นก็จะมีการแสวงหาอาหาร พฤติกรรมในการแสวงหาที่ตัณหาเป็นผู้บัญชานั้นย่อมดำเนินไปได้อย่างรุนแรงและไม่ต้องคำนึงถึงความชอบธรรม อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมขั้นแสวงหานี้จะขอข้ามไปก่อน เพื่อจะได้เน้นเรื่องซึ่งกำลังพิจารณาคือขั้นการกิน

ตัณหาอย่างที่สองที่จะเข้ามาก็คือ กามตัณหา หรือความกระหายอยากในการเสพเวทนาอันอร่อยกามตัณหาจะเข้ามาร่วมกับความหิวในการกำหนดพฤติกรรมในการกิน การร่วมกำหนดนี้ อาจเป็นไปในทางเสริมกันได้ บั่นทอนกันก็ได้ เหมือนกับผู้ได้รับผลประโยชน์สองฝ่ายเข้ามาชิงผลประโยชน์กัน ถ้าต่างได้ผลประโยชน์ก็ช่วยกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งได้ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ ก็ขัดกัน ถ้าความหิวกำหนดฝ่ายเดียวพฤติกรรมก็จะเป็นไปในรูปที่ว่าหิวมาก ก็กินมาก หิวน้อยก็กินน้อย ถ้าตัณหากำหนดฝ่ายเดียว พฤติกรรก็จะเป็นไปในรูปว่า อร่อยมากก็กินมาก อร่อยน้อยก็กินน้อย แต่นั่นเป็นเพียงข้อเสนอ ตามปกติตัณหาไม่เคยยอมปล่อยให้ความหิวกำหนดพฤติกรรมฝ่ายเดียว ตัณหาจะต้องแทรกเข้ามาเสมอ และเมื่อความหิวกับตัณหาเข้ามาร่วมกันกำหนด ความหิวจะเอาอกเอาใจตัณหา โดยช่วยเหลือว่าถ้าหิวมากก็ช่วยให้อร่อยมากขึ้น แต่ก็ช่วยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่อาจให้หิวกับอร่อยเท่ากันได้เสมอไป ผลในทางพฤติกรรมจึงปรากฏว่าบางทีหิวมากแต่ไม่อร่อย กินน้อยเกินไป บางทีหิวไม่มาก แต่อร่อย กินมากเกินไปจนท้องแน่นอืด บางทีหิวน้อยไม่อร่อย ไม่ยอมกินเสียเลย ดังนี้เป็นต้น จุดที่เป็นปัญหาก็คือ ตามปกติ ความหิวเป็นสัญญาณบอกความต้องการของร่างกาย เมื่อกินพอดีกับความหิวก็พอดีกับความต้องการของร่างกาย เมื่อกินด้วยตัณหาตามความอร่อย บางคราวก็น้อยไป บางคราวก็มากเกินไป เกิดเป็นโทษแก่ร่างกาย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าการกินเป็นการกระทำ และการได้สนองความต้องการของร่างกาย เป็นผลโดยตรงของการกระทำคือการกินนั้น ส่วนในกรณีของตัณหา การกินเป็นการกระทำ การได้เสพรสอร่อยต้องอาศัยการกินแต่ไม่ใช่ผลโดยตรงของการกินนั้น พูดตามหลักข้างต้นว่า การกินเป็นเหตุให้ร่างกายได้รับอาหารสนองความต้องการ แต่เป็นเงื่อนไขให้ตัณหาได้เสพรสอร่อยสนองความอยาก โดยนัยนี้ ตัณหามิได้ต้องการการกระทำคือการกินและตัณหาก็มิได้ต้องการภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารซึ่งเป็นผลของการกระทำนั้น ตัณหาต้องการเสพรสอร่อยอย่างเดียว แต่การกินเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นที่จะให้ตัณหาได้เสพรสอร่อย ไม่มีทางเลือกอย่างอื่นจึงต้องกิน ถ้ายิ่งอร่อยก็ยิ่งกิน ไม่คำนึงว่าจะเกินความต้องการของร่างกายหรือไม่ แต่ถ้าไม่อร่อยก็จะไม่ยอมกิน ไม่คำนึงว่าร่างกายจะได้รับอาหารน้อยเกินไปหรือไม่ ซ้ำยังรู้สึกว่าการเคี้ยวการกลืนกินล้วนเป็นการกระทำที่ยากลำบากฝืนน่าเหน็ดเหนื่อยไปหมด ร่ายกายจึงเป็นเพียงผู้พลอยได้รับผลโดยเขาไม่ได้ตั้งใจให้เลย ถ้าจะพูดเป็นภาพพจน์ก็เหมือนดังว่า กายที่ต้องการอาหารเป็นฝ่ายหนึ่ง คนที่กินด้วยตัณหาเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อกายขาดอาหาร ก็ต้องการเอาอาหารเข้ามาเพิ่มเติมซึ่งทำได้โดยการกิน กายต้องการกินแต่กายกินเองไม่ได้ ต้องอาศัยคนช่วยกินให้ ภาวะเช่นนี้ทำให้กายลำบากมาก เพราะคนไม่ค่อยเอาใจใส่ที่จะช่วยและช่วยอย่าเสียมิได้ กายจึงได้อาหารพอบ้างไม่พอบ้าง บางคราวขาดแคลนมากต้องร่ำร้องโอดครวญ คนจึงช่วยกินให้ กายจึงหาวิธีหลอกล่อให้คนชอบกิน โดยให้รางวัลว่าในเวลากินให้คนได้รสอร่อยปรากฏว่าคราวนี้ได้ผล พอกายส่งสัญญาณนิดเดียว คนก็ขมีขมันขวนขวายกิน บางทีกายไม่หิวเลยไม่ส่งสัญญาณสักนิด คนเจออร่อยเข้าก็กินเสียมากมายจนเกินที่กายต้องการ เป็นอันว่าคราวนี้การกินมีความหมายสำหรับสองฝ่าย คือสำหรับกาย การกินหมายถึงการได้อาหารมาเพิ่มเติมเสริมซ่อมส่วนขาดแคลนสำหรับคน การกินหมายถึงการได้เสพรสอร่อย คราวนี้ไม่แต่กายเท่านั้นที่อยากกิน คนก็อยากกินด้วย (ความจริงคนไม่ใช่อยากกิน เขาไม่ได้ต้องการเอาอาหารใส่ผ่านลงไปหรอก เขาอยากเสพรสอร่อยเท่านั้นเอง ขอให้ลองนึกสมมุติดูว่า ถ้าคนต้องกินอาหารสัก ๒ จาน โดยไม่มีรสชาติใดเลย การเคี้ยวและการกล้ำกลืนจะกลายเป็นสิ่งที่ต้องฝืนทน ยากลำบากหรือทุกข์ทรมานเพียงใด แต่ถ้าอร่อยอาจรู้สึกแต่เพียงรสไม่ได้นึกถึงการเคี้ยวกลืน จนแม้แต่จานที่ ๓ ก็แทบจะมาไม่ทัน) เมื่อทำให้คนอยากกินได้แล้ว กายก็ค่อยสบายขึ้นเพียงแต่คอยนอนรออยู่ คนเข้ากระตือรือร้นกินของเขาเอง พอคนกินอร่อยของเขาไป กายก็พลอยได้รับอาหารที่ต้องการไปด้วย อย่างไรก็ตาม วิธีสร้างเงื่อนไขหลอกคนอย่างนี้มิใช่จะได้ผลดีมากมายนัก บางครั้งก็กลับทำให้กายประสบผลร้ายอย่างหนัก ถ้าคนนั้นเป็นคนชนิดไม่มีสำนึก ไม่รู้จักคิดคำนึงถึงอะไรๆ เสียเลย ถูกหลอกเสียเต็มที่ จะเอาแต่เสพรสอย่างเดียว ความเดือดร้อนก็หวนกลับมาตกแก่กาย บางคราวกินไม่พอที่กายต้องการเพราะไม่อร่อย บางคราวอร่อย กินไม่ใช่แค่กินเกินต้องการเท่านั้น แต่กินถึงขนาดที่กายรับไม่ไหวป่วยไข้ไปเลย เป็นอันว่าการกระทำที่เป็นเหตุคือการกิน ไม่พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผลคือการแก้ไขความขาดแคลนที่ร่างกายต้องการ ยิ่งกว่านั้น ยังมีบ่อยครั้งที่คนผู้ถูกหลอกนั้นไปเที่ยวก่อเรื่องวุ่นวายต่างๆ ข้างนอก พาคนอื่นตลอดจนสังคมเดือดร้อนกันไปหมด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


kae เขียน:
คุณสหายเฒ่าอย่าคิดลึกมากก็ได้นะค๊ :b8: :b32: :b32:


ไอ้ สหายเฒ่านี่คุณหมายถึงใครครับ
ผมอ่านแล้ว อดที่จะสะดุดไม่ได้
เพราะในแถว ๆ นี้ ก็มีแต่เพื่อนของผมที่ชอบเอามาเรียกผม
แต่คุณ...ผมยังไม่รู้จักเลยครับ
และอยู่ดี ๆ คุณก็ post ลอย ๆ ขึ้นมาอย่างนี้
ผมก็เลยต้องถาม
เพราะต่อไปถ้าคุณเกิดใช้คำนี้อีก
ผมจะได้ไม่หลงคิดว่าคุณพยายามจะคุยกับผม
แต่ถ้าเป็นคำที่คุณชอบใช้ก็บอก
ผมจะได้ไปบอกให้เพื่อน ๆ ให้เลิกเรียกผมอย่างนี้

:b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2009, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


kae เขียน:
คุณสหายเฒ่าอย่าคิดลึกมากก็ได้นะค๊ :b8: :b32: :b32:

:b14: :b14: :b14:
:b32: :b32: :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2009, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณศิรัสพลมากครับ ที่อุตสาหะพิมพ์ข้อความของท่าน ปอ. มา นับว่าได้ประโยชน์กับ
ผู้อื่นที่ยังไม่ได้อ่านด้วย
ด้วยความเคารพในท่าน ปอ. ผมก็ชอบอ่านหนังสือท่าน และก็พอมีบ้าง

แต่อย่างไรก็ตาม ท่านอธิบายตรงนี้ไม่ตรงกับการปฏิบัติจริงนัก บางอย่างก็ไม่ค่อยถูกต้อง เช่นข้อความ

" ตัณหาจึงรังเกียจการกระทำ คือ ไม่ต้องการกระทำ ตัณหาพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำ โดยพยายามให้ได้โดยไม่ต้องทำ และเมื่อจำเป็นต้องทำ ก็ทำโดยจำใจ "

ตัณหานั้น ไม่ได้รักเกียจการกระทำเสมอไป บิลเกตเอง ชอบคอมพ์มาตั้งแต่เรียนมัธยม เขาก็มีตัณหาใน
เรื่องนั้น เขากลับพยายามแสวงหาความรู้เรื่องเหล่านี้แบบไม่ต้องจำใจเลย เท่าที่พิจารณา ทั้งฉันทะและ
ตัณหาเลยที่เขามีในสภาวะนั้น จะว่าเขามีฉันทะอย่างเดียวก็ไม่ไช่ เขากระหายอยากมีความรู้ อยากเป็น
ผู้ที่คนอื่นยกย่องทางด้านความรู้คอมพ์ และไม่อยากเรียนในสิ่งที่พ่อแม่เขายัดเยียดให้ในขณะนั้นและ
เขาพอใจในการหาความรู้เรื่องคอมพ์ กามตัณหา ภวะตัณหา วิภวะตัณหา และฉันทะ พร้อมเลย แล้วจะ
กล่าวว่าตัณหาพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำได้อย่างไร
อนึ่ง ถ้าตามที่คุณยกตัวอย่างคำพูดของพระอานนท์มานั้น แสดงว่าพระอานนท์ก็อาศันตัณหาไม่ได้แล้ว
ละครับ เพราะข้อความจากท่าน ปอ. ท่านบอกไว้แล้วว่าตัณหาจึงรังเกียจการกระทำ คือ ไม่ต้องการกระทำ ตัณหาพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำ โดยพยายามให้ได้โดยไม่ต้องทำ และเมื่อจำเป็นต้องทำ ก็ทำโดยจำใจ

" ส่วนบุคคลผู้มีฉันทะเป็นแรงจูงใจ ต้องการภาวะเป็นผลของการกระทำโดยตรง อันเป็นเหตุให้เข้ามีความต้องการทำ ดังได้กล่าวแล้ว ดังนั้น ผลที่ติดตามมาจึงปรากฏในทางตรงข้ามกับตัณหา ซึ่งเห็นได้โดยพิจารณาเทียบเอาจากเหตุผลที่แสดงไว้แล้วในตอนว่าด้วยตัณหา ข้างต้น ในที่นี้ จะกล่าวไว้เพียงโดยย่อ กล่าวคือ

- ไม่ทำให้เกิดการทุจริต แต่ทำให้เกิดความสุจริต ความขยัน อดทน ความซื่อตรงต่องาน และแม้แต่ความซื่อตรงต่อเหตุผลที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติ "


ข้อความนี้แสดงว่าคนที่ทำอะไรด้วยตัณหาอาจมีการทุจริตเป็นต้น
ธรรมดาแล้ว ตัณหาเองก็ไม่แน่เสมอไปที่จะทำให้คนทุจริต เพียงแต่เสี่ยงที่จะทุจริตง่าย พระอริยะบุคคล
ระดับโสดาบัน สกทาคามี ยังละตัณหาไม่ได้ แต่ก็ไม่มีเหตุที่ท่านจะทำทุจริตเลย

ด้วยความเคารพในท่าน ปอ. ผมไม่ได้กล่าวค้านท่าน ตามที่ท่านอธิบายมาก็ชอบด้วยลักษณะนิสัย
ของตัณหานั่นแหละ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เวลาเราปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เราปฏิบัติเพื่อละตัณหา
คงยอมให้มีแค่ธัมมะฉันทะเท่านั้นในเวลาปฏิบัติ เพราะถ้าอาศัยตัณหามาเร่งหรือช่วยในการปฏิบัติ ก็
พยายามเพิ่มธัมมโมหะ ดุจคนที่ทำบุญแบบหลงบุญนั่นเอง

ประเด็นที่ผมนำมาอธิบาย ผมก็นำนัยต่างๆมาจากในคัมภีร์ชั้นต้นๆของพระพุทธศาสนาเรานั่นแหละ
ผ่านการอธิบายโดยท่านอรรถกถาจารย์บ้าง พระผู้เรียนปริยัติจนช่ำชองแล้วปฏิบัติจนเห็นประจักษ์
ท่านเหล่านี้ปรับบทปริยัติเข้ากับการปฏิบัติได้ดียิ่ง และเมื่อลองปฏิบัติตามแนวท่านแล้ว ตั้งใจไม่กี่วัน
ผลประจักตามที่ท่านเหล่านั้นอธิบายมาก็เห็นได้

อย่างไรก็ตาม ข้อนี้แล้วแต่บุคคลประสบมา บังคับกันไม่ได้ คนสนทนาธรรมะถ้าความเห็นไม่ต่างกัน
ก็เหมือนไม่ไช่สนทนาธรรมนั่นแหละ เป็นเรื่องธรรมดา ดุจการสนทนาการเมืองฉนั้น

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร