วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


yahoo เขียน:
บัวศกล เขียน:

สู้หลวงจีนใหญ่ของผมก็ไม่ได้ ท่านไม่ต้องโฆษณาในสิ่งที่ลุ่มลึก
แต่น้ำใจนั้นกว้างประเสริฐเหลือประมาณ


:b7: :b7: :b7: :b7: :b7: :b7: :b7:


ไหนครับ หลวงจีนใหญ่อยู่ไหนครับ
ผมจะเอาไปกิน เขาว่ากินหลวงจีนท่านนี้แล้วจะได้กลายเป็นเซียน
.....
:b21: :b21: :b21:
:b2: :b2: :b2:

ลับมีดรอจนสนิมขึ้นแล้ว..... :b6: :b6:
ไม่รู้เมื่อไหร่สหายเราจะจับหลวงจีนได้ซะที...หิวนะเนี่ยยยย :b23: :b23:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขอร่วมตอบคำถามด้วยคนครับ
ผมอยู่ที่วัดบ้านนอก(ต่างจังหวัด)
ไม่เห็นมีใครสำรวมถึงขนาดนั้นเลยครับ
ผมว่าคุณทำตัวให้เป็นปกติดีที่สุดครับ
ไม่ต้องคิดมากเรื่องสำรวม ไม่สำรวมหรอกครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท. หายไปเลยนะครับ เป็นอะไรไปหรือเปล่า :b1: :b16:

กรณีปฏิบัติธรรมตามชื่อกระทู้นี้ยังไม่จบ ครั้นจะหยุดจะกลั้นเพียงเท่านั้นรู้สึกขัดๆเหมือนฉี่ไม่สุด :b3:
ดังนั้น จึงขออนุญาตคุณเอรากอนลงต่ออีกหน่อยนะครับ


การปฏิบัติธรรมจะเปรียบไปก็เหมือนการเดินทาง จะต้องรู้ว่าทางไหนที่จะไป อย่างน้อยต้องรู้ว่า
จะตั้งต้นที่ไหน
ถ้ายังตั้งต้นไม่ได้ การเดินทางต่อๆไปก็ยังไม่อาจมีขึ้นได้ การเดินทางเป็นฉันใด
ในการปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น เริ่มแรกทีเดียว จะต้องมีความเห็นมีความเข้าใจ หรืออย่างน้อยเชื่อถือ
ถูกต้องตามแนวทางที่จะปฏิบัติเสียก่อน จึงจะดำริคิดการต่อไปและประพฤติปฏิบัติให้ถูกทางได้
การปฏิบัติธรรมจึงต้องอาศัยพื้นฐานความเข้าใจที่เป็นต้นทุนไว้ก่อน
เมื่อสัมมาทิฏฐิเบิกช่องทาง หรือ ตั้งต้นให้แล้ว องค์มรรคข้ออื่นๆ ก็เกิดตามได้เป็นลำดับไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักธรรมพัฒนาปัญญา หรือ คุณสมบัติที่ทำให้เป็นโสดาบัน ๔ ประการ


“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา กล่าวคือ
การเสวนาสัตบุรุษ การฟังสัทธรรม โยนิโสมนสิการ ธรรมานุธรรมปฏิบัติ”
(องฺ.จตุกฺก.21/249/332 ฯลฯ)


โยนิโสมนสิการ = การคิดหาเหตุผลโดยถูกวิธี
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ = การปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยแก่หลักใหญ่

ธรรม ๓ ข้อแรก (การเสวนาสัตบุรุษ การฟังสัทธรรม โยนิโสมนสิการ) ก็คือปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็น
หลักธรรมสำคัญ (เสวนาสัตบุรุษ = กัลยาณมิตตตา ฟังธรรมของสัตบุรุษ = ปรโตโฆสะฝ่ายดี)

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ หมายถึงการปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย คือ หลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่ หลักเบื้องต้นเอื้อ หรือ เป็นไปเพื่อหลักเบื้องปลาย เช่น ปฏิบัติศีลถูกหลัก เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน มิใช่ปฏิบัติงมงาย ไร้หลักการ หรือ
ทำให้เขวไปด้วยตัณหาและทิฏฐิ

คัมภีร์จูฬนิทเทส (ขุ.จู.30/797/417) แสดงตัวอย่างธรรม หรือ ธรรมหลักใหญ่ เช่น สติปัฏฐานสี่ มรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น (คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ นั่นเอง)

และอนุธรรม หรือ ธรรมหลักย่อย เช่น การบำเพ็ญศีล การสำรวมอินทรีย์ ความรู้ประมาณในอาหาร ชาคริยานุโยค (การประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น) และสติสัมปชัญญะ เป็นต้น
พึงปฏิบัติธรรมหลักย่อย เช่น ศีล และการสำรวมอินทรีย์ อย่างมีจุดหมาย ให้สอดคล้องและอุดหนุน
แก่ธรรมหลักใหญ่ เช่น สติปัฏฐานสี่ เป็นต้นนั้น


ธรรม ๔ อย่างนั้น เป็นไปเพื่อประจักษ์สกทาคามิผล จนถึงอรหัตผล และเป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางปัญญาอีกมากมายหลายอย่าง เช่น เพื่อความเจริญงอกงามแห่งปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความมีปัญญาแหลมคม เพื่อความมีนิพเพธิกปัญญา คือ ปัญญาที่จะทำลายกิเลสได้ ฯลฯ โดยเฉพาะที่ว่า เป็นไปเพื่อความเจริญงอกงามแห่งปัญญานั้น และเป็นธรรมมีอุปการมากแก่ผู้เป็นมนุษย์
ซึ่งอาจเรียกง่ายๆว่า พหุการธรรม


อินทรีย์สังวร = ความสำรวมอินทรีย์ ไม่ได้หมายถึงการปิดหู ปิดตาไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยิน เป็นต้น

ในขั้นต้น หมายถึง การควบคุมจิตใจ ควบคุมความรู้สึกได้ ในเมื่อเกิดความรับรู้ทางตา ทางหู เป็นต้น
ไม่ให้ถูกชักจูงไปในทางที่ถูกกิเลสครอบงำ

ในขั้นสูง เมื่อกลายเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว มีความหมายถึงขั้นเป็นนายเหนือความรู้สึกต่างๆ ที่จะเกิดจากการ
รับรู้ เหล่านั้น สามารถบังคับให้เกิดความรู้สึกต่างๆได้ตามต้องการ

(ดู อินทรีย์ภาวนาสูตร ม.อุ.14/853/541)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
จขกท. หายไปเลยนะครับ เป็นอะไรไปหรือเปล่า :b1: :b16:



ไม่ได้หายหรอกค่ะ ก็แอบดูอยู่ตลอดค่ะ
เพียงแต่เห็นแต่ละคนต่างก็กำลังเพลินอยู่กับการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กัน
ก็เลยไม่อยากเข้ามาขัด...น่ะค่ะ
กลัวท่านผู้รู้ทั้งหลายจะต๊กกะใจ
เสียสมาธิในการบรรยายน่ะค่ะ...
ท่านกรัชกาย ยังอยากเสริม ได้ค่ะ...
ตามสบายเลย...คอยตามอ่านอยู่ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก (ทางเดียว) เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ สติปัฏฐานสี่”


(ที.ม.10/273/325 ; ม.มู.12131/103 สติปัฏฐานมาใน อภิ.วิ.35/431-464/257-279ด้วย)

สติปัฏฐานสี่ มีชื่อเรียกสั้นๆ ดังนี้

1) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย
2) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา
3) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต
4) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ, การตามดูรู้ทันธรรม


(แทรกลิงค์สำหรับศึกษาสติปัฏฐาน)

viewtopic.php?f=2&t=21861

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 พ.ค. 2009, 19:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางแปลนเสร็จแล้ว ทีนี้ใครมีหลักหรือวิธีที่ใช้ปฏิบัติ (อนุธรรม)อะไร ๆ ก็ควักออกมาทำกันได้ตามอัธยาศัย แต่ให้ลงกับหลักธรรมใหญ่คือสติปัฏฐานทั้งสี่ จึงจะชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
หรือ ปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยหลักหลักใหญ่ (ธรรมานุธรรมปฏิบัติ) คือ สติปัฏฐานทั้งสี่

ใครใช้พอง-ยุบ เป็นกรรมฐาน ก็ใช้ทำไป แต่ให้ลงกับหลักธรรมใหญ่ คือ สติปัฏฐานทั้งสี่

ใครใช้พุทโธก็ใช้ไป แต่ทำให้สอดคล้องกับหลักธรรมใหญ่คือสติปัฏฐานทั้งสี่

ใครใช้วิธีดูจิตก็ดูไป แต่ให้สอดคล้องกับหลักธรรมใหญ่ คือ สติปัฏฐานทั้งสี่
ฯลฯ
แล้วผลจึงจะเป็นอย่างพุทธพจน์ (...เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน)


หากปฏิบัติแย้งกันสวนทางกัน ผลก็ไม่เป็นไปตามนั้น :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาล่ะค่ะ ท่านบัวศกลค่ะ
ท่านกรัชกายมารอท่านอยู่หน้าประตูแล้วค่ะ
วางมือเรื่องของ "เธอ" เอาไว้ก่อนได้รึเปล่าคะ
:b1: :b1: :b1:

ไม่รู้ "เธอ" ไหน...
:b16: :b16: :b16:
หลวงจีนก็มีแล้ว จอมยุทธก็ปรากฎตัวแล้ว
ผู้ปฏิบัติธรรมก็ช่างสร้างบรรยากาศกันได้ดีจริง ๆ
:b1: :b1: :b1:
แสดงว่าต้องมีจอมยุทธสาวด้วย.. ใช่รึเปล่าคะ
ใช่อยู่แถวโรงครัวรึเปล่าค่ะ เห็นกล่าวถึงโรงครัว...ด้วย
มาใหม่ ๆ ยังค่อนข้างงง...ค่ะ
แต่...ยุทธจักรนี้ ดูครื้นเครงดีจังเลยค่ะ

:b1: :b1: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 20 พ.ค. 2009, 16:42, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ไปเห็นคำถามจากบอร์ดหนึ่ง เห็นตรงกับเรื่องที่กล่าวไว้ คห. ข้างบนพอดิบพอดี
จึงนำมาให้ทัศนาเชิญครับ) :b12:



กระผม ได้ปฎิบัติ โดยการนั่งสมาธิมาได้ในระยะหนึ่ง หลายคืนที่ผ่านมา กระผมนั่งสมาธิเช่นทุกวันที่เคยทำ
แต่ในคืนนั่น มันเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ผม ไม่รู้หนทางว่าจะปฎิบัติ หรือกำหนดจิตอย่างไรต่อไป
จึงขอโปรดผู้รู้ ที่เคยปฎิบัติมาแล้ว โปรด ให้คำแนะนำด้วยครับ

ในวันนั่น ผมนั่งสมาธิโดยการกำหนด ยุบหนอ-พอง หนอ โดยกำหนดจิตรับรู้การเคลื่อนของกระเพาะอาหาร
เวลาลมหายใจเข้าไปและออกมาครับ กระผม คิดเอาเองว่าคงนั่งได้ประมาณ 2 ชม.ได้แล้ว และผมก็ได้รู้สึก
ว่า ร่างกายของผมเหมือนไม่มี เหมือนจิตผมหยุดนิ่งอยู่ที่ ใดที่หนึ่งโดยไม่รู้ว่า สิ่งที่ผมกำหนดตอนแรก
หายไปไหน ลมหายใจของผมประหนึ่งกับดับไป ผมพยายาม กำหนดต่อไป แต่คราวนี้มันกำหนด ยุบหนอ
พองหนอ ไม่ได้เสียแล้วเพราะ เหมือนกับว่า ร่างกายนี้ไม่มีอยู่ครับ
ผมเลย ใช้การกำหนดดูจิต ที่ยังพอรู้สึกได้อย่างเลือนลางนั่นต่อไป จน ผมเริ่มเกิดความรู้สึกขึ้นมาอีกครั้ง คือ
ผมไม่ได้หายใจ แต่ ใจผม ยังคงหยุดอยู่ที่ สิ่งแรกอยู่ แต่รู้สึก สิ่งนั่น ที่ใจนึกถึงนั่น มันเด่นชัดมากขึ้น

ผมนั่งต่อไปอีกสักระยะ หนึ่งครับ แต่ไม่รู้ว่าจะกำหนดอะไรต่อไปแล้ว เพราะ เหมือนรู้สึกว่า ไม่มีอะไรเลยครับ เหมือนทุกสิ่งทุกอย่าง หายไปหมด คือ เหมือนร่างกายก็ไม่มี และสิ่งรอบข้าง ก็หายไปหมด เหมือนกับว่า
ไม่มีอะไรอยู่ข้างกาย แบบนี้อ่ะครับ
ผมเลย นึกในใจอยากออกจากสมาธิ ก็เริ่มรู้สึกถึงร่างกายของผมเองขึ้นมาที่ละนิด ๆๆ แล้วก็รู้สึกว่า มีสิ่งแวดล้อมรอบตัว กลับมาอีกครั้ง รู้สึกถึงการหายใจขึ้นมาอีกครั้ง ผมค่อย ๆๆถอดออกจากสมาธิ แล้วลืมตา ในตอนนั้น ในตอนที่รู้สึกถึงร่างกายอ่ะครับ ผมกลับมีความรู้สึกอีกอย่าง เข้ามาในใจอย่างรุนแรงมาก คือ เหมือนว่าร่างกายผมอ่ะครับมันสกปกรกมาก เหมือนกับซากศพอะไรซักอย่าง (ไม่ได้กิล่นนะครับ แต่เป็นความรู้สึกในตอนนั้น) และผมก็เกิดความกลัวไปหมด กลัวจะผิดศีล 5 กลัวภัยในแต่ละวัน เหมือนจิตจะฟุ้งซ่านมากในขณะนั่นเลยครับ

หลังจากคืนนั่น ในคืนต่อ ๆๆมา ผมก็นั่งสมาธิตามปกติ และก็ได้รับรู้ความรู้สึกเช่นที่เป็นมา ทุกคืนติดต่อกัน แต่ ทุก ๆๆคืน จนถึงวันนี้ ผมเหมือนกับเบื่อหน่าย ที่จะทำงาน ไม่อยาก เจอหน้าภรรยา ไม่อยากเจอหน้าพ่อแม่ ไม่อยากเจอหน้าลูก เหมือนเบื่อหน่ายทุกสิ่งในโลก อาหาร แม้แต่ตัวเองครับ วัน ๆๆอยากนั่งทำสมาธิ เพราะ ในช่วงที่ เล่าให้ฟังอ่ะครับ มันมีความสุขมาก เหมือนผมลืมทุกอย่างไปเลย

--ในสิ่งที่ผมถามและอยากรู้นะครับ คือ
1. ผมปฎิบัติผิดตรงไหนหรอเปล่าครับ
2. ถ้าไม่ผิด ผมจะปฎิบัติยังไงต่อครับ
3. สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมในขณะนั่นมันคืออะไรกันแนะครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 พ.ค. 2009, 17:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(เอาอีกตัวอย่างหนึ่งก็ได้ เชิญทัศนา) :b1: :b1:


หลงนานๆแก้ไขได้อย่างไรบ้างค่ะ

ทำไมเราถึงหลงไม่มีสตินานๆค่ะ ทั้งๆที่พยายามจะตามดูทีหลัง แต่กว่าจะรู้ทีนึงก็นานหลงไปนานแล้วค่ะ
แต่ก็เห็นอารมณ์ที่ไม่พอใจกับการหลงไปนานค่ะ

ควรมีวิหารธรรม หรือ ทำอย่างไรจึงจะมีสติบ่อยๆกว่านี้ค่ะ


(พิจารณาวิธีแก้ปัญหาผู้แนะด้วย กระทู้นำมาจาก) =>

http://larndham.net/index.php?showtopic=34252&st=0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 พ.ค. 2009, 18:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(คำถามของคนๆเดียวกันกับ คห.บน ที่ใช้วิธีดูจิต) :b1:




- เหตุที่กิเลสเกิดขณะดูจิตและควรทำอย่างไรต่อไป

ขณะที่พยายามตามดูความเผลอระหว่างวันนั้น และเกิดกิเลสขึ้นไม่ว่าจะ โมหะ โทสะ ราคะ การที่เกิดกิเลสได้ แสดงว่าเราไม่มีสติที่จะรู้ทัน ณ ขญะที่จะเกิดกิเลสใช่ไหมค่ะ

และควรทำอย่างไรกับกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วนั้น
บางท่านว่า ควรปล่อยให้จิตได้คลุกกับกิเลส แต่พอปล่อยกลายเป็นเรายิ่งหลง และทุกข์ไปเลยกับกิเลสนั้นค่ะ

ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

http://larndham.net/index.php?showtopic=34233&st=0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออภัยคุณกรัชกายด้วยครับ ที่ล่าช้าในการตอบกระทู้
เผอิญวันนี้ผม มีเรื่องราวยุ่งๆที่ต้องรีบจัดการให้เสร็จ จึงไม่สะดวก
กับการตอบกระทู้ และเรื่องยุ่งของผมก็ยังไม่จบ เดี๋ยวคงต้องไป
จัดการต่อ คงได้แค่ผ่านเข้ามา ซาบซึ้ง ขอบคุณ และขออภัยครับ

ผมไม่กล้ารับการฝากตัวจากคุณกรัชกายหรอกครับ และชาวลานธรรม
เขาคิดกันเอาเอง ว่าผมได้นั่น ได้นี่ ตามความเข้าใจของพวกเขาที่หวังดี


ทุกวันนี้ ผมก็มีโรคเกียจคร้านเข้าสิง เรื่องราวการปฏิบัติมากมาย
ล้วนเป็นเพียงอดีตที่จำกลับมาเล่า

ปัจจุบัน ก็เป็นแค่เพียง คนเกียจคร้านคนหนึ่ง ที่หาเรื่องขำไปวันๆ

การเผยแพร่หลักธรรม อย่างไรเสีย การอธิบาย โดยอิงหลักฐานทางตำรา
ย่อมดีกว่า แสดงออกมา อย่างไร้ร่องรอย

คุณทำถูกแล้วหละครับ ที่ถือหลักตามตำรามาประกอบ เพราะทำให้รู้
ที่มาที่ไป และช่วยรักษา หลักปฏิบัติให้ยังอยู่ในกรอบของไตรปิฎก

สาธุครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2009, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



(เห็นคุณบัวศกลพูดถึงความเกียจคร้าน จึงนำกุศลธรรมซึ่งเป็นคู่ปรับกันมาลงให้อีก เพื่อเป็นอุบายใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าแต่ละขณะๆ)



คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค แสดงอกุศลธรรมฝ่ายตรงข้ามที่อินทรีย์ ๕ จะกำจัดเป็น คู่ๆ จะยกมากล่าวพร้อม
ทั้งหน้าที่หรือกิจของอินทรีย์เหล่านั้น (ดู ขุ.ปฏิ.31/425/302 ; 452/332)

๑. ศรัทธา (เรียกเต็มว่า สัทธินทรีย์) เป็นใหญ่ในหน้าที่น้อมใจดิ่ง หรือ มุ่งไปเด็ดเดี่ยว กำจัด
อกุศล คือ ความไม่เชื่อถือ

๒. วิริยะ (เรียกเต็มว่า วิริยินทรีย์) เป็นใหญ่ในหน้าที่ประคองหรือยกจิตไว้ กำจัดอกุศลคือความเกียจ
คร้าน (โกสัชชะ)

๓. สติ (เรียกเต็มว่า สตินทรีย์) เป็นใหญ่ในหน้าที่คอยคุ้มหรือดูแลจิต กำจัดอกุศล คือ ความประมาท

๔. สมาธิ (เรียกเต็มว่า สมาธินทรีย์) เป็นใหญ่ในหน้าที่ทำจิตไม่ให้ซัดส่าย กำจัดอกุศล คือ
ความเกียจคร้าน (อุทธัจจะ)

๕.ปัญญา (เรียกเต็มว่า ปัญญินทรีย์) เป็นใหญ่ในหน้าที่ดูเห็นตามสภาวะ กำจัดอกุศล คืออวิชชา
(ความไม่รู้นามรูปตามที่มันเป็น)


(ลิงค์อุบายจงกรม)

viewtopic.php?f=2&t=20691


มีพุทธพจน์รับรองคำกล่าวของพระสารีบุตรว่า อินทรีย์ ๕ อย่างนี้ส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ
ศรัทธาทำให้เกิดความเพียร (วิริยะ)
ความเพียรช่วยให้สติมั่นคง
เมื่อสติมั่นคงแล้ว กำหนดอารมณ์ก็จะได้สมาธิ
เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจมองเห็นซึ้งถึงโทษของอวิชชาตัณหาที่เป็นเหตุแห่งสังสารวัฏ
มองเห็นคุณค่าของนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะปราศจากความมืดแห่งอวิชชา และความทุรนทุรายแห่งตัณหา สงบประณีตดีเยี่ยม
ครั้นเมื่อรู้ชัด เข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว ก็จะเกิดมีศรัทธาที่เป็นศรัทธาอย่างยิ่งหรือยิ่งกว่าศรัทธา
หมุนเวียนกลับเป็นสัทธินทรีย์อีก (= อรรถธรรมสัมพันธ์)

ดังพุทธพจน์ว่า

“ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั้นแล เพียรพยายามอย่างนี้
ครั้นเพียรพยายามแล้ว ก็ระลึกอย่างนี้
ครั้นระลึกแล้ว ก็ตั้งจิตมั่นอย่างนี้
ครั้นตั้งจิตมั่นแล้ว ก็รู้ชัดอย่างนี้
ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็เชื่อยิ่งอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลายที่แต่ก่อนนี้ เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น
ย่อมเป็นดังนี้แล ดังเราสัมผัสอยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาอยู่ในบัดนี้


(สํ.ม.19/1010-1022/297-300)

.......

เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้แล้ว ก็เรียกได้ว่า รู้เห็นเอง ซึ่งเมื่อแต่ก่อนตนเพียงแค่อ่านๆ แล้วคาดเดาเอา
ครั้นเมื่อปฏิบัติจนได้สัมผัสสภาวธรรมเช่นนั้นแล้ว จะเข้าใจซาบซึ้งธรรมมีความรู้สึกเช่นว่า (ธรรมทั้งหลายที่
แต่ก่อนนี้ เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น ย่อมเป็นดังนี้แล ดังเราสัมผัสอยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาอยู่ ในบัดนี้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



กรัชกายรอคอยคนคำแนะนำประจำบอร์ดว่า เค้าจะแนะวิธีโยคีท่านนี้อย่างไร แล้วจะนำลิงค์มาลง
แต่ก็คาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้วว่า เค้าจะว่าอย่างไร ที่นั่นวิธีนั้น จะแนะผู้ปฏิบัติภาวนาแบบนี้ ๒ แนวทาง คือ
๑. มันเป็นสมถะ :b1:
๒. เลิกเถอะมาทำวิปัสสนาดีกว่า :b16:
วันนี้เจ้าของคำถามมาเล่าถึงอารมณ์ตนเองต่ออีก ดังนี้ =>


http://larndham.net/index.php?showtopic=34254&st=2

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำมากครับ

เมื่อวานนี้ ได้นั่งพิจารณา อารมณ์และตามดูจิต ยืน เดิน นั่ง นอน ได้แทบทั้งวัน รู้สึกถึงความเย็น สงบ ใครนินทา กล่าวร้าย ไม่รู้สึกเสียใจอะไรเลย มันนิ่งได้ทั้งวันจริง ๆ

พอตกดึก มาเจริญสติอีกครั้ง คราวนี้ มีอาการเช่นเดิม คือ เหมือนสภาพร่างกายหายไปแบบตอนแรก
แต่ครั้งนี้ เกิด นิมิตเป็นลูกแก้วใสสว่าง ขึ้นมา จากลูกเล็ก ๆๆก ลายเป็นลูกใหญ่ แล้ว คือเวลาเราหลับตา
อ่ะครับ มันจะดำ ๆๆใช่ไหมครับ

แต่พอ ลูกแก้วขนาดจนเต็มความรู้สึกเหมือนสว่างไสวไปหมด เป็นสี ขาว มีประกายทั่วที่หลับตาอยู่นั่นเอง
และพอ กำหนดให้มันเล็กลง มันก็เล็กได้ดังใจ เหมือนกับว่า ในขณะนั่นจิตจะสั่งการอะไร ได้หมด ความรู้สึกเบื่อหน่ายเริ่มหายไปแล้วครับ แต่รู้สึก กายนี้มีแต่ทุกข์ จิตนี้ก็มีแต่ทุกข์ สิ่งใด ๆๆ ก็ทุกข์ เกิดแล้วดับ วนเวียนไปไม่หมดสิ้น พิจารณาอยู่นาน เหมือนกัน

ตอนนั่นไม่รู้สึกอะไรแล้ว ลมหายใจขาดหายไป ความรู้สึกรอบตัว อาการเย็น ร้อน อ่อน แข็งรอบ ๆๆตัว หายไป หลังจากกำหนด ลูกแก้ว ให้เล็กจนหายไป ภาพกลับมาเหมือนตอนหลับตาปกติ

คราวนี้ เกิดนิมิตใหม่ คือ ได้เห็น ช่วงเวลาตอนบ่าย ตอนเช้า ทุก ๆๆขณะที่กระทำสิ่งใดไปในแต่ล่ะวัน ค่อย ๆๆปรากฎเป็นภาพอย่างเห็นได้ชัดเหมือนกับว่าได้กลับไปอยู่ในสภานการณ์นั่น ๆๆ อีกครั้งหนึ่ง ได้เห็น สิ่งที่ทำไป ในอดีต ค่อย ๆๆผุดขึ้นมาที่ละนิด ๆ จนได้รู้สึกถึงตอนวัยรุ่น ตอนเด็ก ๆๆ ได้ทำอะไรลงไปบ้าง
บางขณะ ได้ทำอะไรดีดี จิตก็ รู้สึกดี ก็ตามพิจารณารู้ว่า รู้สึกดีตลอด
บางขณะ ได้ทำอะไรชั่ว ก็ได้ตามพิจารณาว่าทำชั่ว
สภาพจิตเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง รู้ถึงตอนที่ พ่อมาเยี่ยมที่โรงพยาบาล
พอถึงตอนนี้ ในความรู้สึกเหมือนน้ำตาไหล ที่เห็น พ่อแม่ อยู่ด้วยกัน (ความเป็นจริงไม่อยู่แล้ว) เลยอธิฐาน
ขอออกจากสมาธิ ภาพเหล่านั่นก็หายไป แล้วความรู้สึก ถึงสภาวรอบตัว และร่างกายกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
แล้วก็ออกจากสมาธิครับ

---สิ่งที่ผมเห็น ผมคิดไปเองหรือเปล่าครับ หรือว่าผมปฎิบัติอะไรผิดอีกแล้วคราวนี้---
++ความรู้สึกหลาย ๆๆอย่าง ไม่เคยจำได้ แต่เห็นเป็นภาพอย่างชัดแจ้ง เมื่อเช้าได้ถามแม่ ในหลายๆเรื่องที่จำไมได้ แต่เห็นในนิมิตนั่น แม่ก็บอกว่าจริงทุกเรื่อง และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตของผมจริง ๆ++

ช่วยแนะนำการปฎิบัติต่อไป ให้ผู้โง่เขลาในธรรมด้วยครับ ไม่อยากยึดตึดกับอะไร ให้เป็นทุกข์อีกต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2009, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ผู้ปฏิบัติกรรมฐานเมื่อภาวนาหลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่ คือ สติปัฏฐานดังกล่าวก่อนหน้าแล้ว
โพธิปักขิยธรรมกก็ดี สมถะ (สมาธิ) กับวิปัสสนาก็ดี เกิดเจริญไปด้วยกันเสริมส่งกันและกัน
เพราะธรรมทั้งหมด เมื่อย่อแล้วมี ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาเท่านั้น
พิจารณาหลักดังนี้



“เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้ แม้สติปัฏฐาน ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ แม้สัมปปธาน ๔ ...แม้อิทธิบาท ๔ ...แม้อินทรีย์ ๕ ...แม้พละ ๕ แม้โพชฌงค์ ๗
ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เขาย่อมมีธรรม ๒ อย่างนี้คือ สมถะและวิปัสสนาเข้าเคียงคู่กันเป็นไป ธรรมเหล่าใด พึงกำหนดรู้ (ปริญญากิจ)ด้วยอภิญญา เขาก็กำหนดรู้ด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด พึงละด้วยอภิญญา เขาก็ละด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด พึงให้เกิดมีด้วยอภิญญา เขาก็ทำให้เกิดมีด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด พึงประจักษ์แจ้ง
ด้วยอภิญญา เขาก็ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น”


“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าไหน พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา ได้แก่ สิ่งที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ฯลฯ ”
“ธรรมเหล่าไหน พึงละด้วยอภิญญา ได้แก่ อวิชชา และภวตัณหา..
“ธรรมเหล่าไหน พึงทำให้เกิดมีด้วยอภิญญา ได้แก่ สมถะ และวิปัสสนา”
“ธรรมเหล่าไหน พึงทำให้ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา ได้แก่ วิชชา และวิมุตติ”

(ม.อุ.14/828-831/523-6 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร