วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
โอ้...ตอนนี้รู้สัจจะธรรมอย่างหนึ่งเกี่ยวกับตัวท่านขึ้นมาบ้างแล้วค่ะ
บุรุษผู้มากับความสั้น...(แซวค่ะ)
:b9: :b9: :b9:


"...(แซวค่ะ)"
แล้วไป...ตกใจหมดเลย :b14: :b14: (รู้ได้ไง :b10: )

เอรากอน เขียน:
:b10: :b10: :b10:
เอ่อ...คือยังสงสัยค่ะ
ผู้ปฏิบัติธรรมต้องสำรวมแค่ไหนคะ
คือ ปกติเวลาไปวัด ก็จะเห็นแต่บุรุษและ สตรีต่างวางกิริยาสำรวม
สำรวมจน เรากระดากน่ะค่ะ

สำรวมแค่ไม่เป็นภาระครับ...ปฏิปทา...
เอรากอน เขียน:
ประหนึ่งเหมือนเราเป็นสตรีที่มีความอดกลั้นในการสำรวมได้น้อยมากค่ะ
นี่...แสดงว่า เรายังห่างไกลใช่มั๊ยค่ะ...ถึงสำรวมมารยาทไม่ค่อยได้
:b9: :b9: :b9:

อย่าไปคิดเรื่องไกลหรือใกล้เลยครับ....มันเศร้าหมองเปล่าๆ
เอาแค่ว่าเราอยู่บนเส้นทางแล้วก็ใช้ได้แล้ว...จะไกลหรือใกล้ก็ต้องถึงแน่นอน

การสำรวมถือเป็นวิธีการ หรือจะเรียกว่าอุบาย ในการปฏิบัติครับ
ส่วนจะได้มากหรือน้อย มันก็ขึ้นอยู่ที่ความเพียร.... :b16:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การจะกระทำให้ได้ผลสำเร็จคือ นิพพาน จึงต้องปฏิบัติด้วยการบ่มเพาะพรหมจรรย์
ให้มีความบริสุทธิ์ มาตามลำดับ จนกว่าจะสามารถบ่มเพาะพรหมจรรย์ให้
มีความบริสุทธิ์ บริบูรณ์อย่างสิ้นเชิง การถึงฐานะของนิพพานจึงมีได้



ขอถามคุณบัวศกลอีกนิดนะครับ มีคนพูดก่อนหน้าคุณคนหนึ่งแล้ว คือ “บ่มเพาะ”
เค้าบ่มเพาะสติปัฏฐาน ถามแล้ววิธีบ่มวิธีเพาะ แต่ยังไม่มีคำตอบ อยากรู้วิธีครับ :b1:

ส่วนคุณ บ่มเพาะพรหมจรรย์ ก็ใกล้เคียงกัน
จึงเรียนถามวิธี บ่มเพาะ จากคุณ คุณบ่มเพาะพรหมจรรย์ อย่างไรครับ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นด้วยกับหลายกระทู้ค่ะ ว่า ความรักกับธรรมะไปด้วยกันได้ค่ะ สามารถปฏิบัติ ควบคู่ไปกันได้ในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าต้องการบรรลุมรรคผล คือ หนทางแห่งการหลุดพ้น หรือนิพพาน ก็ต้องตัดจากความรัก ความห่วงใย คือตัดจากทางโลกนั่นเอง และประพฤติพรหมจรรย์ค่ะ

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2008, 14:07
โพสต์: 285

อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบง่ายๆ สั้นๆ นะครับ
การปฎิบัติธรรม เพื่อ ละ ปล่อย
ความรัก เพื่อ ผูก แสวงหา
จุดหมายมันคนละทางกันนะครับ ตอนแรกๆ มันก็ยังเดินไปพร้อมกันได้ครับ
แต่ถ้าเรามุ่งไปทางใดทางหนึ่ง มันก็เริ่มห่างๆ กันไปครับ

.....................................................
"ใครเกิดมา ไม่พบพระพุทธศาสนา ไม่เลื่อมใส ไม่ปฎิบัติ ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เป็นโมฆะตลอด ตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย"

"ให้พากันหมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา"

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
http://www.luangta.com/

"ทำสมาธิมากเนิ่นช้า คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน หัวใจของการปฏิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน"
หลวงปู่มั่น

"ดูจิต...ด้วยความรู้สึกตัว"
หลวงพ่อปราโมทย์ สวนสันติธรรม ชลบุรี
http://www.wimutti.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยินดีกับการปุจฉาครับ คุณกรัชกาย

คำว่าบ่มเพาะ เป็นคำที่ผมเลือกที่จะนำมาใช้สื่อ เพราะรู้สึกต่อคำนี้ว่า

สามารถแทนความหมาย ของการเข้าไปลงมือกระทำ เพื่อให้เกิดความมีขึ้น
เป็นขึ้นของสภาวะธรรม ภายในตนเอง

คำว่าบ่มเพาะ
มันเป็นลักษณะของการลงมือกระทำลงไป ไม่ใช่เพียงแค่ศึกษา รึอ่านท่อง
แต่เป็นการนำชีวิต เข้าไปเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อให้ก่อเกิดสิ่งที่ดีงามยิ่งขึ้น
และเหมือนดั่งการนำตัวชีวิต ไปชะล้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้มีพัฒนาการสูงขึ้น
ประณีตขึ้น บริสุทธิ์ขึ้นสะอาดขึ้น

ส่วนวิธี ในการบ่มเพาะ พรหมจรรย์ของผม ตามที่คุณถาม

สร้างความดำริแห่งใจในทางที่จะเอาชนะกาม และบาปอกุศลทั้งหลาย
วางชีวิตตนเองไว้ในกรอบของศีล และถือเป็นความรับผิดชอบสำคัญในการต้องรักษา
และสังวรระวัง ศึกษาในส่วนของสมาธิ ด้วยเป้าหมายเพื่อนำมาเป็นเครื่องสบาย
แก่ชีวิต และเพื่อปรับรากฐานของกระแสจิต ให้อ่อนโยนสะอาด และมีพลัง

และหัวใจหลักที่สำคัญของการปฏิบัติ คือการสร้างญาณทัสสนะให้เกิด

กว่าที่ปัญญาความรู้จะมีความบริสุทธิ์ เทียบเท่าญาณทัสสนะ
ก็ต้องหมั่นสร้างปัญญาให้เกิดทุกวิถีทางที่ทำได้ และกระทำอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า
โดยมีแก่นแนวทางของการพิจารณา ให้น้อมลงสู่ไตรลักษณ์ทั้งหมด

โดยกำหนดถือเอาโลก และขันธ์ห้า เป็นที่หมายของการเพ่งศึกษา

ส่วนวิธีสำหรับใช้สร้างปัญญาให้เกิด ก็เริ่มตั้งแต่ คิดพิจารณา ด้วยจิต
ตามธรรมชาติ

พิจารณาด้วยจิตที่มีสมาธิแฝง และหล่อเลี้ยงระบบการพิจารณา ให้รู้สึกถึงการ
พิจารณาที่คงทน เรียบ ลึก ไม่หมดพลัง และมีท้ายที่สุดคือความนิ่งสงบ
ที่แนบแน่น เมื่อหยุดการพิจารณา

การสร้างปัญญา อีกลักษณะคือ ตามดูของจริงที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้า
บางครั้งก็ดู แล้วซึมซับการเรียนรู้อยู่เฉยๆ อย่างเงียบสงบ

บางครั้งก็ดูไป พร้อมกับการพิจารณาไป สลับคละเคล้ากัน

บางครั้งเมื่อออกจากสมาธิใหม่ๆ หรือเมื่อจิตยังมีสมาธิทรงอยู่และอ่อนโยนดี
อย่างเป็นธรรมชาติ ก็นั่งพิจารณา ด้วยการดึงสัญญามาทบทวน
เพื่อขยายขอบเขตของความรู้ออกไป

ผมใช้ทุกวิธีในการสร้างความรู้ให้เกิด ไม่ตายตัวอยู่กับวิธีใด แล้วแต่ความเหมาะสม
ของอารมณ์จิต ว่ากำลังอยู่ในภาวะที่ต้องการกระทำอย่างไร จิตอยากทำอย่างไร
ก็ใช้วิธีอย่างนั้นให้สอดรับกับปัจจุบันของจิต

ผมใช้แนวทางวิธีอย่างนี้มา เป็นเบื้องต้นของการปฏิบัติ แต่ก็มีปลีกย่อยอีกมาก
และมีระบบวิธีที่ประณีตขึ้นไปอีก แต่ก็คงพอสมควรในการบอกให้รู้แนวทางส่วนตัว
คร่าวๆ

เมื่อผมได้ อธิบายความเข้าใจส่วนตัวไปแล้ว ก็หวังว่าท่านกรัชกาย
จะช่วยอธิบายแนวทางการปฏิบัติ เพื่อถึง ความบริสุทธิ์สูงสุดของท่านให้ทราบบ้าง

ขอบคุณครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมาย คำว่า “พรหมจรรย์”


คำว่า พรหมจรรย์ มีความหมายหลายนัย ดังที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้
ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ ดังเช่น พระศาสนาทั้งหมด
การประพฤติปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด
พรหมวิหาร
ทาน
ความสันโดษด้วยภรรยาของตน
การงดเว้นจากเมถุนธรรม
ธรรมเทศนา เป็นต้น เหล่านี้ก็เรียกว่า พรหมจรรย์



แต่มีชาวพุทธไม่น้อยมักเข้าใจในความหมายแคบๆ เพียงแค่การครองเพศบรรพชิต และการงดเว้นจาก
เมถุนธรรม อันเป็นความหมายนัยหนึ่งเท่านั้น

ความจริงพระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า พรหมจรรย์ หมายถึงระบบการครองชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
ทั้งหมด หรือ หมายถึงตัวพระพุทธศาสนาทั้งหมดทีเดียว

ดังจะเห็นได้จากพุทธพจน์ส่งพระสาวกออกไปประกาศพระศาสนาก็ว่า ประกาศพรหมจรรย์

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลายเธอทั้งหลายจงแสดงธรรม...จงประกาศพรหมจรรย์...”



และอีกแห่งหนึ่งตรัสว่า พรหมจรรย์ จะชื่อว่ารุ่งเรือง ก็ต่อเมื่อบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งฝ่ายพรหมจารี และฝ่ายกามโภคี รู้ธรรมและปฏิบัติธรรมกันด้วยดี


คำว่า พรหมจรรย์ แปลจากบาลีว่า “พฺรหฺมจริย” ซึ่งประกอบด้วย พฺรหฺม+จริย
พรหม แปลว่า ประเสริฐ เลิศล้ำ สูงสุด บริสุทธิ์

ส่วน จริยะ มาจากรากศัพท์ว่า “ จร” ซึ่งในความหมายเชิงรูปธรรม แปลว่า เที่ยวไป
ดำเนินไป จาริกไป

ในเชิงนามธรรม แปลว่า ประพฤติ, ดำเนินชีวิต, ครองชีวิต, เป็นอยู่
ในที่นี้มีความหมายเชิงนามธรรม
จริย หรือ จริยะ เมื่อเขียนเป็นไทย แปลงตามรูปสันสกฤต เป็นจรรย์ ก็มี
ถือตามรูปบาลีอีกรูปหนึ่งเป็น จริยา ก็ได้

(จรรย์ ในคำนี้ คือ ศัพท์เดียวกันกับ จริยา หรือ จริยะ ที่ใช้ในคำว่า จริยศึกษา และ จริยธรรม)
รวมความว่า พรหมจรรย์ มาจาก พรหมจริยะ แปลว่า จริยะอันประเสริฐ
ความประพฤติอันประเสริฐ หรือ ประพฤติบริสุทธิ์อย่างพรหม
การดำเนินชีวิตอันประเสริฐ
การครองชีพอย่างประเสริฐ หรือ ความเป็นอยู่อย่างประเสริฐ



(เคยลงไว้เต็มๆที่ลิงค์นี้)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14354

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 พ.ค. 2009, 20:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายคำว่า นิพพาน พึงพิจารณาตามบาลี ดังนี้

“ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยปริยาย ฯลฯ ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยนิปปริยาย (นิพพานโดยตรง)”
(องฺ.นวก.23/237/,251,255/425,475,476)

ผู้ที่มองเห็นขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว หมดความหวาดสะดุ้งอยู่เป็นสุข ท่านก็เรียกว่า
เป็นผู้ตทังคนิพพาน
(สํ.ข.17/88/54)


ตทังคนิพพาน - นิพพาน คู่ปรับ หรือ นิพพานชั่วคราว
ทิฏฐธรรมนิพพาน - นิพพานเห็นทันตา
สันทิฏฐิกนิพพาน – นิพพานที่ผู้บรรลุจะเห็นได้เอง (หมายถึงผู้ละราคะ โทสะ โมหะได้แล้ว ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสทางใจ)
เมื่อใด บุคคลผู้นี้เสวยภาวะปลอดราคะสิ้นเชิง ภาวะปลอดโทสะสิ้นเชิง ภาวะปลอดโมหะสิ้นเชิง
(ราคักชัย โทสักขัย โมหักขัย)อย่างนี้แล คือ นิพพานที่เป็น สันทิฏฐิกะ - ซึ่งผู้บรรลุเห็นได้เอง
อกาลิกะ – ไม่ขึ้นกับกาล
เอหิปัสสิกะ - เชิญให้มาพิสูจน์ดูได้
โอปนยิกะ - ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ
ปัจจัตตัง เวทิตัพพัง วิญูญูหิ - ซึ่งวิญญูชน พึงทราบจำเพาะตน
(องฺ.ติก.20/495/202)


ลักษณะสำคัญของนิพพานสืบเนื่องมาจากคำว่า ดับ คือ

ดับอวิชชา - หมายถึงการเกิดญาณทัศนะอันสูงสุด หยั่งรู้สัจธรรม
ดับกิเลส - หมายถึงกำจัดความชั่วร้าย และของเสียต่าง ๆ ภายในจิตใจ หมดเหตุที่จะก่อปัญหาความเดือดร้อนวุ่นวายต่างๆ แก่ชีวิต
และดับทุกข์ - หมายถึง หมดความทุกข์ บรรลุความสุขอันสูงสุด


ส่วนมรรคผล ไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นเพียงขั้นตอน หรือ ระดับแห่งการเข้าถึงนิพพาน

และมีข้อที่ควรทราบอีกอย่างหนึ่งว่า มรรคข้อแรก (โสดาปัตติมรรค)มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทัสสนะ (การเห็น) เพราะเป็นการเห็นนิพพานครั้งแรก
ส่วนมรรคเบื้องสูงอีก ๓ ที่เหลือ มีชื่อเรียกรวมกันอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวนา (การเจริญ) เพราะเป็นการเจริญใน
ธรรมที่มรรคข้อแรกเห็นไว้แล้ว
(ม.อ.1/102 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุกับความหมาย กว้างๆของคำว่าพรหมจรรย์ ที่คุณอธิบาย

และนิพพาน ที่พิศดารหลายหลากนัย
ผมคิดว่าไม่จำเป็นที่ผมจะนำนิพพานมาสาธยายทำไมให้ใครต่อใคร
พาลเข้าใจผมว่า รู้มากเกินจำเป็น ผมจึงขี้เกียจขยายความยาว
การจะนำนิพพานมากางตำราตอบอย่างที่คุณตอบ ผมก็อ่านมาแล้ว
และคิดว่าหลายคนก็คงเคยอ่านเล่มเดียวกันนี้มาแล้ว ถึงคุณจะตอบมา
มันก็ไม่ได้รู้สึกว่า มีความรู้ใหม่ๆอะไรเกิดขึ้น หากจะกล่าวถึงนิพพาน
คุณเอาสภาพสภาวะ ที่คุณเข้าถึง และเคยรู้ซึ้งแล้วด้วยตัวคุณเอง
มานำเสนอคงดีกว่า เพราะยังรู้สึกได้ว่า มีอะไรแปลกใหม่ไปบ้าง

และอีกอย่างคุณถามผมว่าปฏิบัติยังไง และผมก็ตอบตามที่เป็นจริง
ในสิ่งที่ผมเคยปฏิบัติ คุณถามผม และคุณก็ตอบกลับมายืดยาว

แต่ผมก็ยังไม่ทราบเลยว่าคุณมีระบบวิธีการปฏิบัติยังไง เพราะอ่านดูยังไงก็ไม่เจอ
จึงอยากขอคำตอบที่เป็น สภาพการปฏิบัติจริง ที่คุณใช้อยู่จริง
ขอไม่เอาคำตอบแบบกางตำรานะครับ


ที่สำคัญ คุณจะขี้เหนียวอนุโมทนาอะไรนักหนาครับ
อุตส่าห์ตอบซะเมื่อยนิ้ว จะเห็นน้ำใจของคุณกรัชกายสักนิดก็ไม่มี

และอย่าเข้าใจว่าผมต้องการ การอนุโมทนาจากคุณ แค่ผมเกิดความสงสัย
ว่าคนที่ประกาศความเป็นผู้รู้ในทางปฏิบัติ ทำไมถึงใจแคบนักหนา

สู้หลวงจีนใหญ่ของผมก็ไม่ได้ ท่านไม่ต้องโฆษณาในสิ่งที่ลุ่มลึก
แต่น้ำใจนั้นกว้างประเสริฐเหลือประมาณ


:b7: :b7: :b7: :b7: :b7: :b7: :b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:

สู้หลวงจีนใหญ่ของผมก็ไม่ได้ ท่านไม่ต้องโฆษณาในสิ่งที่ลุ่มลึก
แต่น้ำใจนั้นกว้างประเสริฐเหลือประมาณ


:b7: :b7: :b7: :b7: :b7: :b7: :b7:


ไหนครับ หลวงจีนใหญ่อยู่ไหนครับ
ผมจะเอาไปกิน เขาว่ากินหลวงจีนท่านนี้แล้วจะได้กลายเป็นเซียน
.....
:b21: :b21: :b21:
:b2: :b2: :b2:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมคิดว่าไม่จำเป็นที่ผมจะนำนิพพานมาสาธยายทำไมให้ใครต่อใคร
พาลเข้าใจผมว่า รู้มากเกินจำเป็น ผมจึงขี้เกียจขยายความยาว
การจะนำนิพพานมากางตำราตอบอย่างที่คุณตอบ ผมก็อ่านมาแล้ว
และคิดว่าหลายคนก็คงเคยอ่านเล่มเดียวกันนี้มาแล้ว ถึงคุณจะตอบมา
มันก็ไม่ได้รู้สึกว่า มีความรู้ใหม่ๆอะไรเกิดขึ้น หากจะกล่าวถึงนิพพาน
คุณเอาสภาพสภาวะ ที่คุณเข้าถึง และเคยรู้ซึ้งแล้วด้วยตัวคุณเอง
มานำเสนอคงดีกว่า เพราะยังรู้สึกได้ว่า มีอะไรแปลกใหม่ไปบ้าง



คุณบัวศกลพึงย้อนกลับไปดูคำกล่าวเบื้องต้นของคุณที่ว่า


(หากการปฏิบัตินั้น ไม่ได้มุ่งผลเพื่อสร้างความบริสุทธิ์ของ พรหมจรรย์ให้ยิ่งขึ้นและไม่ได้มีเป้าหมายโดยตรง ต่อมรรคผลนิพพาน การปฏิบัติอย่างนั้นก็ยังผูกพันธ์กับความรักอยู่ เช่นการปฏิบัติ ที่อยู่ในระดับศีลธรรมและโลกียธรรม)



คุณกล่าวถึงศัพท์ พรหมจรรย์ กับ มรรคผลนิพพาน เมื่อคุณกล่าวไว้เช่นนั้น จึงถามคุณว่า

(ขออนุญาตถามคุณบัวศกลหน่อยนะครับ กรัชกายเห็นเค้าพูดถึงกันบ่อยๆ คือ คำว่า
พรหมจรรย์
กับ
นิพพาน
ช่วยขยายความหน่อยครับ
พรหมจรรย์ ได้แก่อะไร ?
นิพพานได้แก่อะไร ?
)


สุดท้ายจึงถามเกี่ยวกับการบ่มเพาะพรหมจรรย์ คุณตอบแล้วข้างต้น

ส่วน คำว่า นิพพาน ที่คุณกล่าวถึง กรัชกายหยิบมาถาม คุณไม่ตอบก็ไม่เป็นไร ไม่เสียหายอะไรประเด็นนี้
ไม่ต้องวิตกว่า ใครจะว่าคุณไม่รู้ เพราะกรัชกายก็ว่าไปตามคัมภีร์เช่นกัน เปิดคัมภีร์ทางศาสนาลงไว้เป็นหลักฐานเพื่อว่า ในอนาคตใครจะพูดถึงศัพท์นี้กันอีก จะได้พูดให้อยู่ในแนวเดียวกันตามความหมายจากคัมภีร์ทางศาสนานั้น

ส่วนเรื่องกดปุ่มอนุโมทนา กรัชกายไม่ค่อยได้นึกคิดหรือติดใจในประเด็นนี้เท่าไหร่ เลยไม่ได้สนใจนึกถึง
เมื่อคุณติดใจ กรัชกายก็ขอโทษด้วยขอรับ คราวต่อไปจะกำหนดจดจำไว้กดให้ในภายหลัง

ส่วนหลวงจีนที่คุณอ้างถึง กรัชกายไม่รู้จริงๆว่าเขาคือใคร จึงไม่เคยวัดความกว้างความแคบน้ำใจกัน
ข้อนี้ต้องขอโทษด้วยขอรับ :b8:
คุณบัวศกลช่วยบอกหน่อยครับ ว่าหลวงจีนของคุณใช้นามว่า กระไร :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 พ.ค. 2009, 19:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
เอรากอน เขียน:
หรือว่ายิ่งสูง...ยิ่งสั้น :b10: :b10: :b10:
แล้วนี่...ถ้าสูงสุด ๆ ...มิกุดไปเลยหรือคะ... :b14: :b14: :b14:

สูงที่สุดก็ไม่มีอะไรจะต้องอธิบาย เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมาบอก...มันไม่มีอะไรเลย...ไม่มีจริงๆ


คุณบัวศกล
ข้อความที่ถูกลบมันแฝงอยู่ในข้อความนี้ล่ะครับ
มันสั้นเกินไปครับ...
ผมแค่เอามาพูดให้สั้นขึ้น...ก็เลยโดนครับ
:b13: :b13: :b13:
เพราะฉะนัน...ผมไม่พูดแล้วครับ...

และอีกข้อความคือข้อความที่ผมโต้ความเห็นของคุณ คามินธรรม ครับ
:b9: :b9: :b9:

admin เขาทำถูกแล้วครับที่ลบ
เพราะถ้าไม่ลบ ผมก็กำลังกลับเข้าไปแก้ไขอยู่แล้ว...
:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
และอีกอย่างคุณถามผมว่าปฏิบัติยังไง และผมก็ตอบตามที่เป็นจริง
ในสิ่งที่ผมเคยปฏิบัติ คุณถามผม และคุณก็ตอบกลับมายืดยาว

แต่ผมก็ยังไม่ทราบเลยว่าคุณมีระบบวิธีการปฏิบัติยังไง เพราะอ่านดูยังไงก็ไม่เจอ
จึงอยากขอคำตอบที่เป็น สภาพการปฏิบัติจริง ที่คุณใช้อยู่จริง
ขอไม่เอาคำตอบแบบกางตำรานะครับ



วิธีปฏิบัติที่กรัชกายใช้อยู่หรือครับ ไม่มีปัญหาครับ คุณไม่เสียเปรียบแน่นอน จะเล่าแลกเปลี่ยนกัน แต่ไม่ใช่วันนี้นะครับ :b1: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติไม่เฉลยว่าหลวงจีนใหญ่คือใคร

เพราะเดี๋ยวแกจะเขิน แล้วจากหลวงจีนใหญ่ก็จะกลายเป็นหลวงจีนเล็ก
เพราะน้ำหนักลด ยิ่งพักนี้เห็นแกไปเรียนรู้อยู่แถวโรงครัวประจำ
แต่วันนี้ยังไม่ได้เห็นแม้แต่ชายจีวร

ขอโทษด้วยที่ใช้คำตรงๆกับคุณ ซึ่งคุณก็ตอบกลับมาได้เยือกเย็นน่าเลื่อมใส

ผมแค่อยากรู้จักตัวตนจริงๆของคุณให้ลึกขึ้นเท่าน้นเองครับ
คุณไม่ต้องตอบผมก็ได้ว่าคุณปฏิบัติมาอย่างไร

เพราะคุณได้ตอบมามากแล้วในหลายๆกระทู้ที่อ่านเจอ

ขอบคุณและขอให้ เป็นกำลังของพุทธศาสนาไปอีกนานเท่านานครับ

:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขออนุญาติไม่เฉลยว่าหลวงจีนใหญ่คือใคร

เพราะเดี๋ยวแกจะเขิน แล้วจากหลวงจีนใหญ่ก็จะกลายเป็นหลวงจีนเล็ก
เพราะน้ำหนักลด ยิ่งพักนี้เห็นแกไปป้วนเ*ยนอยู่แถวโรงครัวประจำ
แต่วันนี้ยังไม่ได้เห็นแม้แต่ชายจีวร



กรุณาเฉลยหน่อยครับ หลวงจีนที่มีน้ำใจกว้างขวางท่านนั้น คือใคร ในลานธรรมจักรนี้
กรัชกายเป็นคนบาปหนา จะได้เกาะชายจีวรไปสวรรค์ด้วย
และจะได้ติดตามวัดรอยเท้า เอ้ย วัดน้ำใจด้วย :b3:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




559802.gif
559802.gif [ 57.14 KiB | เปิดดู 3271 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
คุณไม่ต้องตอบผมก็ได้ว่าคุณปฏิบัติมาอย่างไร
เพราะคุณได้ตอบมามากแล้วในหลายๆกระทู้ที่อ่านเจอ


ขอบคุณนะครับที่ติดตามอ่าน กรัชกายก็พอรู้จักนามบัวศกลบ้างเหมือนกัน เพราะที่ลานธรรมเสวนามีคนถามถึงคุณ
พวกเขาสรรเสริญคุณว่า คุณบัวศกลได้ฌานด้วย :b8:
กรัชกายขอฝากตัวด้วยนะขอรับ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร