วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรม กับความรัก...มันเดินไปด้วยกันไม่ได้จริง ๆ หรือคะ


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
การปฏิบัติธรรม กับความรัก...มันเดินไปด้วยกันไม่ได้จริง ๆ หรือคะ



ใครบอกคุณเอรากอนครับ เขาบอกรายละเอียดว่าไงครับ
แต่เท่าที่รู้ว่า ในครั้งพุทธกาลอริยบุคคลที่เป็นคฤหัสถ์มีมากมาย เช่น วิสาขามหาอุบาสิกา ท่านอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี พระเจ้าปเสนทิโกศล หมอชีวกโกมารภัจจ์ ฯลฯ และที่มีคุณูปการต่อพระศาสนาอย่างมากหลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ประวัติไม่แน่ใจว่าเป็นอริยบุคคลหรือไม่

แล้วใครสมัยนี้หรือครับที่กล่าวเช่นนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ได้มีใครบอกค่ะ
เพียงแต่เฝ้ามองดูจากผู้ปฏิบัติหลาย ๆ ท่านน่ะค่ะ
เวลาไปวัดก็จะสังเกตจากผู้คนที่นั่งคุยกันน่ะค่ะ
ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติปกติ ส่วนหนึ่ง ok ค่ะ ยังมีเรื่องความรัก เพราะไปเป็นคู่
และบางทีก็ไปเพื่อหาคู่... :b10: :b10: :b10:
แต่จะมีผู้ปฏิบัติบางส่วน ที่ดูเขาไม่ค่อยสุงสิงกับเรื่องพวกนี้น่ะค่ะ
และก็มีบางกลุ่ม ก็ดูจะเป็นการตั้งข้อรังเกียจ
:b10: :b10: :b10:
คือ...จากมุมมอง แสดงว่าผู้ปฏิบัติแต่ละกลุ่มย่อมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน
ก็เลย งง งง นิด ๆ ค่ะ ว่าจริง ๆ แล้ว
การวางใจที่เหมาะสมกับเรื่องความรัก กับการปฏิบัติธรรม เป็นอย่างไรกันแน่ค่ะ
:b1: :b1: :b1:


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
การปฏิบัติธรรม กับความรัก...มันเดินไปด้วยกันไม่ได้จริง ๆ หรือคะ

ไม่จริงครับ

ธรรมมะ กับความรัก เป็นอันเดียวกัน.... :b6:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรักก็สามารถเกื้อหนุนการปฏิบัติธรรมได้ครับ ลองอ่านเรื่องนี้ดูครับ..

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=21887

ส่วนผู้ปฏิบัติถึงระดับสูงสุด ความเกี่ยวข้องด้วยกามจะหมดไป ท่านย่อมไม่ติดข้องในเรื่องรักอันเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อแห่งวัฏฏะของท่านครับ

ผู้ที่มีคนรักที่มีศีลและปัญญาเสมอกันย่อมเกื้อกูลกันได้ในทางธรรม ส่วนผู้ที่ไม่มีศีล ไม่มีปัญญา การที่จะชักชวนกันให้มาทางธรรมก็ไม่ใชฐานะที่จะเป็นได้ครับ ดังนั้นจึงต้องดูอุปนิสสัยปัจจัยของคนรักว่าเป็นไปในทางใด ในบางครั้ง เหตุปัจจัยถึงพร้อม แม้เขาอาจไม่เคยสนในธรรมะมาก่อน แต่เมื่อถูกกระตุ้นก็กลับคิดได้เกิดโยนิโสมนัสสิการ พาตนเข้าหาที่พึ่งอันเกษมนี้ได้ก็มี ..ใครๆจะปฏิบัติธรรมหรือไม่ ไม่ใช่ความสำคัญสำหรับเรา แต่เราพึงปฏิบัติธรรม นี่สำคัญที่สุดครับเพราะธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเสมอครับ

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
เอรากอน เขียน:
การปฏิบัติธรรม กับความรัก...มันเดินไปด้วยกันไม่ได้จริง ๆ หรือคะ

ไม่จริงครับ

ธรรมมะ กับความรัก เป็นอันเดียวกัน.... :b6:


มันเป็น อันเดียวกัน ยังไงคะ
คุณทิ้งข้อความไว้สั้นจน
คิดอะไรที่จะยาวออกไปจากข้อความสั้น ๆ นี้ไม่ออกเลยค่ะ
ช่วยอธิบายความนัยได้รึเปล่าคะ...
:b1: :b1: :b1:

หรือว่ายิ่งสูง...ยิ่งสั้น :b10: :b10: :b10:
แล้วนี่...ถ้าสูงสุด ๆ ...มิกุดไปเลยหรือคะ... :b14: :b14: :b14:


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขั้นแรกพึงทำเข้าใจคำว่า “ปฏิบัติธรรม” ให้ตรงกันก่อน

คำว่า “ปฏิบัติธรรม” ความหมายเดิม ได้แก่ การนำเอาธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต
หรือ การดำเนินชีวิตตามธรรม



แต่ปัจจุบันเข้าใจเลื่อนกลายแคบกว่าของเดิม คือเช้าใจ “ปฏิบัติธรรม” ในความหมายว่า
เป็นการฝึกอบรมทางจิตปัญญาขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ และทำไปตามแบบแผนที่ได้กำหนดวางไว้



หากเข้าใจ ปฏิบัติธรรม ตามความหมายเดิม ปัญหาคาใจจะหลุดทันที เพราะทุกผู้ทุกคนสามารถนำเอาธรรมะไปใช้ดำเนินชีวิตได้ตามฐานานุรูป


แต่เมื่อต้องการบีบให้เข้าความหมายข้อหลัง การมีครอบครัวก็มิใช่อุปสรรคอันใด ดังตัวอย่างอริยบุคคลดังกล่าวข้างต้น
ตัวอย่าง นางวิสาขามีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง ในตำราบันทึกไว้ว่า มีลูกหลานเหลนทั้งหมดรวมแล้วถึง 45 คน (หากจำตัวเลขไม่ผิด) เป็นตระกูลใหญ่ ในตำรายังเล่าต่ออีกว่า นางมีอายุยืนถึง 120 ปี แต่ยังดูสาว เวลาไปวัดฟังธรรมกับหลานๆ เหลนๆ ผู้คนยังทักยังถามกันว่า วิสาขาแม่เจ้าคนไหน ฯลฯ แสดงว่าการมีครอบครัวไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงธรรม


ส่วนภาพที่คุณเอรากอนเห็นมา น่าจะยังเป็นเพียงผู้แสวงหาทางแสวงหาธรรม ตามความหมายที่สอง

อย่าเพิ่งงงเลยขอรับ เมื่อปฏิบัติจนถึงธรรมแล้ว จิตใจจะมีมัชฌิมามีความพอเหมาะพอดีของมันเองครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากการปฏิบัตินั้น ไม่ได้มุ่งผลเพื่อสร้างความบริสุทธิ์ของพรหมจรรย์ให้ยิ่งขึ้น
และไม่ได้มีเป้าหมายโดยตรง ต่อมรรคผลนิพพาน การปฏิบัติอย่างนั้น
ก็ยังผูกพันธ์กับความรักอยู่ เช่นการปฏิบัติ ที่อยู่ในระดับศีลธรรมและโลกียธรรม

แต่ถ้ามีเป้าหมาย เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน และการลุถึงฐานะ
ของอริยบุคคล การปฏิบัติจะต้องมีทิศทางที่น้อมไปสู่การแยกขาดจากความรัก
และสลายความรักให้ จางลง ไปตามลำดับ จนสามารถถอนรักได้ขาดกระทั่งราก

การถอนความรักให้สิ้น เป็นเป้าหมายที่สำคัญของการปฏิบัติด้วยซ้ำ
เพราะราคะที่แฝงอาการออกมาอยู่ในรูปความรัก เป็นยางเหนียวอันสำคัญ
ที่ผูกชีวิตไว้ให้ติดอยู่ในห้วงสังสารวัฏ ต้องเวียนเกิดตายไม่จบสิ้น

ในครั้งพุทธกาล มีอยู่มากที่เป็นอริยบุคคล ทั้งที่ยังอยู่กับการครองเรือน

แต่ไม่ใช่หมายถึงว่า อริยบุคคลเหล่านั้นท่าน ยังผูกพันธ์กับความรัก
เช่นเดิมๆเหมือนฆราวาสวิสัยโดยทั่วไป ชีวิตของพวกท่านถึงแม้ยังอยู่
ในการครองเรือน แต่จิตที่ไหลเข้าสู่กระแสแห่งนิพพานแล้ว ย่อมมีระดับ
การเจือจางความรักออกไป ตามสัดส่วนของการเข้าใกล้นิพพาน

สิ่งสำคัญที่สุดคือทุกชีวิตที่ก้าวถึงความเป็นอริยบุคคล ตั้งแต่เบื้องต้นถึงที่สุด
วิถีจิต วิถีความคิด และวิถีชีวิต ล้วนกลับขั้วไปสู่การทวนกระแสวิสัยโลก
อย่างเดิมๆแล้วทั้งสิ้น

ขนาดพระโสดาบัน ถึงไม่มีพลังพอจะถอนความรักได้ แต่ก็สามารถ
ควบคุมความรักได้ และไม่มัวเมาในความรัก ถึงยังมีรักที่ยังทำลาย
ไม่ได้ แต่ก็สามารถ คลายความมัวเมาที่ฝังลึกได้ จึงเหลือรักที่เจือจาง
ที่คงอยู่พร้อมกับความรู้ทั่วถึงและเท่าทัน

แต่เมื่้อก้าวถึง สกทาคามี ความรักของท่านยิ่งบางไปอีก พอถึงความเป็น
อนาคามีก็สิ้นรัก เพราะสิ้นรักจึงไม่วนกลับมาสู่โลกนี้อีก ถึงแม้ว่าจะมี
พระอริยบุคคลในระดับอนาคามี ครองเรือนอยู่ในเพศฆราวาส ก็ไม่ได้หมาย
ความว่าท่านยังมีรัก เพราะถึงกายท่านจะอยู่ในเรือน แต่จิตของท่าน
พ้นไปจากวิสัยแห่งเรือนแล้ว พ้นไปจากเยื่อใยความรักแล้ว

การปฏิบัติธรรมที่ไม่มีทิศทางนำไปสู่การถอนความรักให้สิ้น
การปฏิบัติอย่างนั้น ไม่ใช่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน

ถ้าคิดแค่ปฏิบัติเพื่อสร้างบารมี เพื่อความสบายใจในชาตินี้
และอยากเกิดอีกหลายๆชาติที่ดีกว่าชาติเดิม จะปฏิบัติไป รักกันไป ก็ไม่มีใครว่า

:b30: :b30: :b30: :b30: :b30: :b30:


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ค. 2009, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
การถอนความรักให้สิ้น เป็นเป้าหมายที่สำคัญของการปฏิบัติด้วยซ้ำ
เพราะราคะที่แฝงอาการออกมาอยู่ในรูปความรัก เป็นยางเหนียวอันสำคัญ
ที่ผูกชีวิตไว้ให้ติดอยู่ในห้วงสังสารวัฏ ต้องเวียนเกิดตายไม่จบสิ้น


:b30: :b30: :b30: :b30: :b30: :b30:


โอ้โห...พูดซะเห็นภาพเลยค่ะ...ท่าน
ไม่ทราบท่านไปเรียนสำนวนนี้มาจากสำนักไหนคะ
จากสำนวน...ส่อให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่ยากจริง ๆ เลยนะนี่
:b32: :b32: :b32:

เคยได้ยินเพื่อนคนหนึ่งเปรย ๆ ในเรื่องความรัก
มันบอกว่า...
"ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะก้าวไปข้างหน้า
แต่ก็ไม่สามารถถอยกลับไปได้แล้ว..."
:b1: :b1: :b1:
...เป็นอะไรที่เข้าใจยากจริง ๆ ...
นี่ถ้าเราดันไปรักเขา คือเราต้องทำใจใช่รึเปล่าคะ
...เพื่อนเราคนนี้เขาใจแข็งมากค่ะ...
เขาก็เป็น ฆาราวาส ค่ะ แต่เหมือนลืมพกยีนส์ที่สำแดงความรักมาด้วย...
คือเขาก็บอกว่า เขารู้จักรัก แต่เขาไม่อยากไปสัมผัสมันอีก
...นั่นคือเขา...กะตัดรักให้สิ้นซากเลยใช่รึเปล่าคะ...
:b5: :b5: :b5:


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หากการปฏิบัตินั้น ไม่ได้มุ่งผลเพื่อสร้างความบริสุทธิ์ของ พรหมจรรย์ให้ยิ่งขึ้นและไม่ได้มีเป้าหมายโดยตรง ต่อมรรคผล นิพพาน การปฏิบัติอย่างนั้นก็ยังผูกพันธ์กับความรักอยู่ เช่นการปฏิบัติ ที่อยู่ในระดับศีลธรรมและโลกียธรรม



ขออนุญาตถามคุณบัวศกลหน่อยนะครับ กรัชกายเห็นเค้าพูดถึงกันบ่อยๆ คือ คำว่า
พรหมจรรย์
กับ
นิพพาน

ช่วยขยายความหน่อยครับ
พรหมจรรย์ ได้แก่อะไร ?
นิพพานได้แก่อะไร ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรม ช่วยให้มนุษย์เราไม่ประมาทมัวเมาตกเป็นทาสของโลกและชีวิต อย่างที่เรียกได้ว่า หลงโลก เมาชีวิต ก็เพราะมีสติ รู้จักมอง รู้จักพิจารณา รู้จักวางตัววางใจต่อความจริงต่างๆ อันมีอยู่ประจำโลกและชีวิตเป็นคติธรรมดา
1.ได้ลาภ เสื่อมลาภ
2.ได้ยศ เสื่อมยศ
3. สรรเสริญ มีนินทา
4.มีสุข มีทุกข์


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ สำหรับคำถามครับ คุณกรัชกาย
ก่อนอื่นผมต้องขออภัยด้วยหากการแสดงความคิดเห็นของผม อาจมีบางส่วน
ที่ไปค้านแย้ง หรือไม่ตรงกับความเข้าใจของคุณ ซึ่งผมไม่เคยมีความคิด
ที่จะค้านแย้ง หรืออวดดีอวดเด่นอะไรเลย เพียงแต่รู้ยังไง ก็ว่าไปอย่างนั้น

สำหรับคำถามของคุณ คำว่าพรหมจรรย์ ในความหมายที่ผมต้องการจะสื่อ
คือ ชีวิตที่บริสุทธิ์จากบาปธรรมและการ เกี่ยวข้องเกลือกกลั้วกับกาม ชีวิตอย่างนี้
เป็นชีวิตที่ มีความเป็นพรหมจรรย์ เพียงแต่ว่าพรหมจรรย์นี้จะกระทำให้บริสุทธิ์
ได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่า เว้นขาดจากกามและบาปธรรมทั้งหลายได้มากหรือได้น้อย

เว้นได้มากพรหมจรรย์นี้ก็มีความบริสุทธิ์ บริบูรณ์มาก เว้นได้น้อยพรหมจรรย์
ก็ยังคงด่างพร้อยอยู่ หากไม่มีความคิดเพื่อเว้นขาดจากกาม และเว้นจากบาปธรรมทั้งหลาย
ชีวิตอย่างนี้ก็ยังไม่ได้นำตนเข้าไปวางในกรอบของพรหมจรรย์ และไม่อยู่ในวิถีทาง
ที่จะสร้างพรหมจรรย์ให้เกิดขึ้น หรือทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ขึ้น


นิพพาน คือ บรมธรรมอันสูงสุด ที่จะถึงได้เมื่อจิตมีความบริสุทธิ์สมบูรณ์
อย่างสูงสุดแล้ว

การจะกระทำให้ได้ผลสำเร็จคือนิพพาน จึงต้องปฏิบัติด้วยการบ่มเพาะพรหมจรรย์
ให้มีความบริสุทธิ์ มาตามลำดับ จนกว่าจะสามารถบ่มเพาะพรหมจรรย์ให้
มีความบริสุทธิ์ บริบูรณ์อย่างสิ้นเชิง การถึงฐานะของนิพพานจึงมีได้


ผมมีความเข้าใจส่วนตัวตามนี้ หากท่านกรัชกาย เห็นว่าตรงไหน
ควรต้องแก้ไขบอกกล่าว ก็ขอเชิญแนะนำด้วยครับ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
มันเป็น อันเดียวกัน ยังไงคะ
คุณทิ้งข้อความไว้สั้นจน
คิดอะไรที่จะยาวออกไปจากข้อความสั้น ๆ นี้ไม่ออกเลยค่ะ
ช่วยอธิบายความนัยได้รึเปล่าคะ...
:b1: :b1: :b1:

:b13: :b13: .....ท่านกรัชกายขยายให้แล้ว...ไม่รู้ว่ามากไปรึป่าว :b32:
สรุปก็คือ...."รู้โลกก็รู้ธรรม...รู้ธรรมก็รู้โลก...ถ้าวางโลกก็เห็นธรรมทันที"...เป็นประโยคที่พระอาจารย์ที่กระผมนับถือมักสอนอยู่เสมอๆ

เอรากอน เขียน:
หรือว่ายิ่งสูง...ยิ่งสั้น :b10: :b10: :b10:
แล้วนี่...ถ้าสูงสุด ๆ ...มิกุดไปเลยหรือคะ... :b14: :b14: :b14:

สูงที่สุดก็ไม่มีอะไรจะต้องอธิบาย เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมาบอก...มันไม่มีอะไรเลย...ไม่มีจริงๆ :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ขออนุญาตถามคุณบัวศกลหน่อยนะครับ กรัชกายเห็นเค้าพูดถึงกันบ่อยๆ คือ คำว่า
พรหมจรรย์
กับ
นิพพาน

ช่วยขยายความหน่อยครับ
พรหมจรรย์ ได้แก่อะไร ?
นิพพานได้แก่อะไร ?


คำถามน่าสนใจมากครับ :b1: :b1:
ขออนุญาติตอบให้ท่านแนะนำสักนิดนะครับ

พรหมจรรย์ กับ นิพพาน เป็นความต่อเนื่องกันครับ คือเป็นเหตุ เป็นผล
พรหมจรรย์ก็คือ ความบริสุทธิ์ หมดจด เป็นเหตุของ นิพพาน
นิพพานคือ ผลของความบริสุทธิ์นั้น

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสต์ เมื่อ: 19 พ.ค. 2009, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
:b13: :b13: .....ท่านกรัชกายขยายให้แล้ว...ไม่รู้ว่ามากไปรึป่าว :b32:
สรุปก็คือ...."รู้โลกก็รู้ธรรม...รู้ธรรมก็รู้โลก...ถ้าวางโลกก็เห็นธรรมทันที"...เป็นประโยคที่พระอาจารย์ที่กระผมนับถือมักสอนอยู่เสมอๆ
สูงที่สุดก็ไม่มีอะไรจะต้องอธิบาย เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมาบอก...มันไม่มีอะไรเลย...ไม่มีจริงๆ :b32:


โอ้...ตอนนี้รู้สัจจะธรรมอย่างหนึ่งเกี่ยวกับตัวท่านขึ้นมาบ้างแล้วค่ะ
บุรุษผู้มากับความสั้น...(แซวค่ะ)
:b9: :b9: :b9:
ช่วยไม่ได้...ใครใช้ให้ท่านทำตัวน่าแซวล่ะคะ
:b4: :b4: :b4:

:b10: :b10: :b10:
เอ่อ...คือยังสงสัยค่ะ
ผู้ปฏิบัติธรรมต้องสำรวมแค่ไหนคะ
คือ ปกติเวลาไปวัด ก็จะเห็นแต่บุรุษและ สตรีต่างวางกิริยาสำรวม
สำรวมจน เรากระดากน่ะค่ะ
ประหนึ่งเหมือนเราเป็นสตรีที่มีความอดกลั้นในการสำรวมได้น้อยมากค่ะ
นี่...แสดงว่า เรายังห่างไกลใช่มั๊ยค่ะ...ถึงสำรวมมารยาทไม่ค่อยได้
:b9: :b9: :b9:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร