วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2007, 00:08
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พวกท่านคิดว่าอะไรคือหัวใจของศาสนาพุทธ เมื่อต่างฝ่ายต่างบอกว่า อริยสัจ ๔ เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าบรรลุ และเป็นเรื่องหลักของการดับทุกข์ ซึ่งก็ตรงที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น

หรือ อิทัปปัจยตาปฏิจสมุปาโท ซึ่งเป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าเห็นก่อนจะประมวลออกมาเป็น อริยสัจ 4 หากไม่อันนี้เกิดขึ้นในจิต ก็จะไม่มี อริยสัจหรือธรรมมะอันอื่นๆ

หรือ โอวาทปาฏิโมกข์ ที่หัวข้อก็บอกอยู่ว่าเป็น หัวใจของศาสนา ในหลักของการเป็นคนดี ถ้าเป็นคนดีไม่ได้ก่อนแล้วจะรู้จักอย่างอื่นได้อย่างไร

หรือ พระรัตนตรัย ที่ท่านพุทธเทาสเกล่าว่าเป็น ตัวพุทธศาสนาที่แท้ อันเป็นเครื่องยึดสำหรับผู้ไม่มีที่ยึด และเป็นสิ่งที่ต้องยึด เพื่อเป็นการเปิดประตูศรัทธาและกุยทางสู่ธรรมด้านอื่นๆ

หากมีคนเห็นไม่ตรงกันแบบนี้จะมองอย่างไรให้เข้าใจว่าอันไหนคือ ส่วนหัวใจของศาสนาพุทธที่แท้กัน

สำหรับตัวผมก็มีความเห็นอยู่ แต่ยังไม่กล่าวถึง ทุกท่านว่าอย่างไรกันบ้าง

May the Dhamma be with you ขอธรรมจงสถิตอยู่กับท่าน

.....................................................
ทำวันนี้ให้ดีและต้องรู้ไว้ว่า ทำดีเพื่อดี ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อุปสรรคไม่มี บารมีไม่เกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2008, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนี้ นักปราชญ์อย่างท่านประยุทธ์ ปยุตโต ได้ให้คำตอบ อย่างแจ่มแจ้งแล้ว

เชิญหาอ่านจากหนังสือ เรื่อง ทุกข์สำหรับเห็น สุขสำหรับเป็น

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


หัวใจของพระพุทธศาสนาคือ


อริยสัจสี่

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมว่าศาสนาประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ ศาสดา คำสอนของศาสดา และ สาวก หากขาดสิ่งใดก็มิอาจจะเรียก
ว่าศาสนา ซึ่งศาสนาพุทธก็เช่นกัน

ส่วนแก่นของศาสนาพุทธ กระผมคิดว่าเป็นพระธรรมที่พระศาสดาทรงประกาศไว้ อริยสัจ 4 รวมไว้แล้วทุกอย่าง
ทั้ง อิทัปปัจยตาปฏิจสมุปาโท หรือ โอวาทปาฏิโมกข์ ฯลฯ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มันเป็นเรื่อง SET มังคับ

ผมคิดว่า "ผลไม้" คือ "หัวใจของศาสนา"

มะมว่ง....คือ..ผลไม้ .........
แต่ผลไม้...ไม่ใช่...มะม่วง (อย่างเดียว)

ผลไม้ ไม่ได้มีแค่มะม่วงอย่างเดียว
มันยังมี ฟักแฟง แตงโ มะกรู มะนาว พร้าง ส้มโอ ฯลฯ

---------------------------
เอาอีกสักตัวอย่างนึง

อย่างบ้านที่เรานั่งอยู่
จะว่าเสาคือหัวใจก็ได้
จะว่าคนในบ้านคือหัวใจก็ยังได้
จะชี้ไปตรงไหนทั้งรูปและนามก็เรียกว่าบ้านได้ทั้งนั้น

หัวใจของบ้านมันคือทุกๆอย่างรวมกันอยู่
หัวใจของศาสนาพุทธมันคือทุกๆอย่างรวมกันอยู่
แต่หัวใจของศาสนามันก้คือหัวใจของศาสนา
แต่ถ้าเราจะกล่าวว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป้นหัวใจศาสนานั้น จะผิดทันที

ถ้าผมพูดว่า จิต คือหัวใจของศาสนาพุทธ นี่ดูเผินๆก็ไม่ผิด

แต่ท่านคงทราบว่าไม่ถูกซะทีเดียว กล่าวคือ ถ้ามีจิต
แต่ไม่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ หรือมาอุบัติแต่เป้นปัจเจกพระพุทธเจ้าซะแล้ว
ศาสนาก็ไม่เกิด

หากปราศจากจิต ก็ไม่มีพระพุทธเจ้า และไม่มีศาสนาพุทธ

..
..
โอย งง

สรุปว่าทั้งหมดนั่นแหละคือหัวใจพระพุทธศาสนา
แต่จะระบุลงไปเลยนั้น ไม่มี
เป็นอนัตตา คือมีอยู่ แต่ไม่มีตัว
ความเป้นบ้านนั้นมีอยู่จริง แต่ตัวของบ้านไม่มีอยู่

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การหลุดพ้นทุกขครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สพฺพปาปสฺส อกรณํ ....กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ...เอตํ พุทฺธานสาสนํ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ทุกอย่างย่อมรวมอยู่ในอริยสัจสี่ทั้งสิ้นได้แก่

ทุกข์ : สังขตธรรมทุกอย่างที่ประกอบกันย่อมเป็นทุกข์ แปรปรวนไป เสื่อมสลายไปในที่สุด

สมุทัย : ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา

นิโรธ : ความหลุดพ้นทุกข์

มรรค : การไม่ทำชั่ว ทำความดีให้ถึงพร้อม ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ (ศีล สมาธิ ปัญญา)

:b12:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 10:07 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


1.การไม่ทำความชั่วทั้งปวง......การทำความดีให้ถึงพร้อม......การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์......นี่เป็นคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย......
2.ทุกข์และหนทางแห่งการดับทุกข์
อริยสัจ4
ไตรลักษณ์
ปฏิจจสมุทบาท
วิมุตติ
3. ศีลสมาธิปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2008, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 23:07
โพสต์: 151

ที่อยู่: BKK.

 ข้อมูลส่วนตัว


"นิพพาน"เป็นคำตอบสุดท้ายเสมอ

.....................................................
จงระมัดระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ไปทำร้ายใคร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2009, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
k ลูกโป่ง เขียน:
[ วันพุธ ที่ 17 สิงหาคม 2548 เวลา 01:27 น. ]
กรรมฐาน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง :b39:

ศีล แปลว่า ปรกติ
ไม่ต้องไปรับกับพระวัดไหนเลย
ปรกติเอามาจากไหน
ได้จากมีสติระลึกก่อน ระลึกถึงงาน ทำอะไรมีสติ

หายใจเข้ามีสติ หายใจออกมีสติ
จะพูดจาพาทีอะไรก็มีสติเข้าไปก่อน
และรู้ตัวขณะที่พูดนั้นว่า พูดดี หรือพูดไม่ดี
พูดเสียดสีเขาหรือเปล่า
พูดร้ายกับใคร พูดแล้วเป็นพิษเป็นภัยกับใครหรือไม่
นี่คือ ศีล

ไม่ต้องไป ปาณา…ถึงสุรา…หรอก
อันนั้นเป็นองค์ศีล
แต่ศีลที่ถูกต้อง เรามีมาแล้วทุกคน
ถ้าโยมไม่มีศีลมาแล้ว…เกิดมาเป็นมนุษย์ไม่ได้
มนุษย์เกิดขึ้น ๑ คน สัตว์เดรัจฉานเกิดขึ้นล้านตัว
พระไตรปิฎกบออกเอาไว้ชัด
ขอฝากญาติโยมไปตั้งสติสัมปชัญญะเจริญพระกรรมฐาน

สมาธิ แปลว่าอะไร
มันเชื่อมโยงมาจากศีล
ถ้าคนไหนทำงานด้วยสติ นั่นแหละมีสมาธิหล่ะ
ถ้าทำงานจับอะไรไม่มีสติเลย สมาธิ ไม่มีหรอก
ปัญญาก็ไม่เกิดด้วย นี่ตีความให้โยมเข้าใจ

ถ้าทำงานอะไรมีสติระลึกไว้ก่อน
ว่าทำอะไร อะไรเป็นอย่างนี้
มีสัปปชัญญะรู้ตัวขณะทำถูกผิดประการใด
จะเชื่อมโยงไปหาปัญญา

ปัญญา จะบอกว่ารอบรู้ในกองสังขาร
จะได้อ่านตัวออก บอกตัวได้ ใช้ตัวเป็น
และเราจะทำงานด้วยความไม่ประมาท
คือ มีสมาธิ
เราจะมีประโยชน์ในการพัฒนาบุคคลิกภาพดีที่สุด
...
กรรมฐาน ทำให้ชีวิตดีมาก
งานชีวิต ฝึกตนไว้ดี
ได้งานได้การ ไม่ประมาท ฉลาดในงาน
และทำให้ท่านมีปัญญา
ปัญญาตัวนี้ไม่ใช่ปัญญาโลกียะนะ
ปัญญาโลกุตตระ ต้องการแก้ปัญหา

ปัญญา คือ มีวิชา :b40:
ตัวเรานั้นต้องฉลาด
มีวิชาความรู้ ใครๆต้องการบุคคลผู้มีคุณธรรม
จะมีคุณภาพชีวิตดี มีความก้าวหน้าในชีวิต
อย่างเป็นระเบียบไม่เสื่อมคลาย
เพราะชีวิตมีวินัย มีศีลปกครองตนให้ระวัง
สิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเรามากที่สุด
อย่าติด อย่ายึด อย่ามัวเมา
หยุดได้ อย่ายึดติดในโลกธรรมให้หวั่นไหวแต่ประการใด

ขอสรุปใจความว่า :b39:
เจริญกรรมฐาน ให้มีศีล มีสติ ติดตัวเองตลอด
เกิดสมาธิมีสัมปชัญญะ ทำให้เกิดรู้ตัว รู้ทั่ว
ทำงานไม่มีโทษ และมีประโยชน์
ต่อไปก็จะได้รับผลสมความมุ่งมาดปรารถนาทุกประการ

คัดลอกจากเรื่อง
การสร้างบารมีในการปฏิบัติธรรม
โดยหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

ลูกโป่ง


K ฐิตฯ เขียน:
[ 17 ส.ค. 2548 เวลา 09:03 น. ]
ครับ ..! ใช่ครับ...!
ต้องตามพระพุทธดำรัส...อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา..ที่ว่า.. :b40:

สัพพะปาปัสสะ อะกะระนัง...กุสะระสู ปะสัมปะทา..
สะจิตตะปะริโย ทะปะนัง.....เอตัง พุทธานะสาสะนัง..

การเว้นจากความชั่ว...การทำความดีให้ถึงพร้อม...การทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
.....(ศีล)........................(สมาธิ)..........................(ปัญญา)............
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย...!

ก็คือไตรสิกขา คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง..ที่จะนำพาชีวิตนี้ไปที่สุง
จนถึงสูงสุด พ้นทุกข์ได้น้อยบ้าง ได้มากบ้าง ถึงที่สุดพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง.. :b44:
ฐิตฯ


:b8: :b8: --ขออนุโมทนาสาธุการ กับทุกหลักธรรมในคห.ทุกๆท่านครับ :b4:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2009, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
ข้าพเจ้าคิดว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ

ความปรารถนาที่จะให้ตนเองและผู้อื่นพ้นทุกข์ คือ เมตตากรุณา

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2009, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยปัญญาเล็กน้อยค่ะ

สิ่งเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคต (พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสเหตุของสิ่งเหล่านั้น
รวมทั้งความดับของสิ่งเหล่านั้นด้วย
พระมหาสมณะได้ตรัสไว้อย่างนี้

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2009, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ดีทุกคำตอบเลยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2009, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่มีหัวใจ ก็คือผู้ปฏิบัติ
ที่จะน้อมใจลงไปใส่ใจในองค์ประกอบที่เป็นรากฐานสำคัญของศาสนา....ที่ตนนับถือ
ทำให้สิ่งที่เราน้อมใจลงไปใส่นั้น.....มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติ
ถ้าเราน้อมใจไปใส่แต่พระพุทธ พระพุทธก็เป็นหัวใจ
ถ้าเราน้อมใจไปใส่แต่พระธรรม พระธรรมก็เป็นหัวใจ
ถ้าเราน้อมใจไปใส่แต่พระสงฆ์ พระสงฆ์ก็เป็นหัวใจ
ทั้งสามสิ่งนี้ล้วนไม่ได้เป็นองค์เพื่อประโยชน์ต่อตัวมันเองเลย
ทั้งสามสิ่งล้วนเป็นองค์ที่เกื้อกูลกันเพื่อประโยชน์ ต่อผู้ปฏิบัติเอง
และคนทุกผู้ทุกนามที่ยังคงเวียนว่าย
หัวใจ ยังไง ก็ยังอยู่ที่ใจของผู้ปฏิบัติ
แต่หัวใจนี้ล่ะ จะมอบใส่พานถวายให้กับองค์ใด หรือทุกองค์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร