วันเวลาปัจจุบัน 21 พ.ค. 2025, 18:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


จากข้อมูลต่างๆ ที่นำมาแสดงเอาไว้ ทำให้หลายๆ ท่านที่เคยเห็นคลาดเคลื่อนไป คงจะพอมองเห็นบ้างแล้วว่า การใช้ความคิดช่วยพิจารณานั้นจัดว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาอย่างหนึ่ง เป็นโยนิโสมนสิการที่เป็นองค์ธรรมสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญญาตรัสรู้ได้ในการต่อไป และทำให้เห็นว่าการสอนแบบล้มกระดาษ หรือเหมารวมว่าการคิดช่วยพิจารณานั้นไม่ใช่การเจริญวิปัสสนาของบางแห่งนั้น เป็นคำสอนที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างไร และหากเชื่ออย่างนั้นต่อไป ไม่ช่วยกันปรับความเห็นให้ถูกต้องจะมีผลเสียต่อพระพุทธศาสนาอย่างไรจะสาปสูญไปหรือไม่หากไม่ช่วยกันรักษา

ต่อไปขอนำคำอธิบายเรื่อง การคิดแบบสามัญลักษณ์มาให้ทราบต่อไป จากที่ได้แสดงมาบ้างแล้ว ในส่วนที่ท่านพระพรหมคุณาพร (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ประมวลวิธีเจริญวิปัสสนาจากอรรถกถาจารย์ (ผู้แปลพระไตรปิฏก) อันสามารถนำไปปฏิบัติได้ตั้งแต่แรกเลยก็ได้ หรือหลังจากฝึกสมาธิดีแล้วก็ได้ เป็นวิธีที่ได้แสดงถึงการใช้ความคิดช่วยพิจารณาอย่างเป็นระบบว่าทำอย่างไร ผู้สนใจพึงเทียบเคียงดูว่า ที่เรียกว่า การเพ่งลักษณะ ของการเจริญวิปัสสนาเป็นอย่างไร แตกต่างจากวิปัสสนาที่ท่านเข้าใจอยู่หรือปฏิบัติอยู่หรือไม่ประการใด แตกต่างจากที่เจ้าของกระทู้แนะนำหรือไม่ประการใด ดังนี้

***************************

ในการเจริญวิปัสสนา ตามประเพณีปฏิบัติซึ่งได้วางกันเป็นแบบแผนดังบรรยายไว้ในขั้นอรรถกถา ท่านถือหมวดธรรมคือวิสุทธิ ๗ เป็นแม่บท เอาลำดับญาณที่แสดงไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์เป็นมาตรฐาน และยึดวิธีจำแนกปรากฏการณ์โดยนามรูปเป็นข้อพิจารณาขั้นพื้นฐาน ตามหลักการนี้ท่านได้จัดวางข้อปฏิบัติ คือ การเจริญวิปัสสนานั้นเป็นระบบที่มีขั้นตอนแน่นอนต่อเนื่องเป็นลำดับ และสำหรับวิธีคิด ๓ แบบที่กล่าวมาแล้วนี้ (๑. คิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย, ๒. คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ, ๓. คิดแบบสามัญลักษณ์) ท่านก็นำเอาไปจัดเข้าเป็นขั้นตอนอยู่ในลำดับด้วย โดยจัดให้เป็นวิธีคิดพิจารณาที่ต่อเนื่องเป็นชุดเดียวกัน แต่ลำดับของท่านนั้นไม่ตรงกับลำดับข้อในที่นี้ทีเดียวนัก กล่าวคือ

ลำดับที่ ๑ ใช้วิธีคิดแบบแยกแยะหรือวิเคราะห์องค์ประกอบ (วิธีที่ ๒) กำหนดแยกปรากฏการณ์ต่างๆ เป็นนามธรรมกับรูปธรรม ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม จำพวกรูปมีอะไรบ้าง จำพวกนามมีอะไรบ้าง มีลักษณะ มีคุณสมบัติเป็นอย่างไรๆ เรียกว่าขั้น “นามรูปปริเคราะห์” บ้าง นามรูปวัตถานบ้าง นามรูปปริจเฉท หรือสังขารปริจเฉท หรือสังขารปริจเฉทบ้าง และจัดเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ (วิสุทธิ์ที่ ๓) อย่างไรก็ตาม ความประสงค์ของท่านมุ่งเน้นให้กำหนดจับและรู้จักสภาวะหรือองค์ประกอบตามที่พบเห็น ตามที่เป็นอยู่ ว่าอย่างไหนเป็นนาม อย่างไหนเป็นรูป มากกว่าจะมุ่งเน้นในแง่ของการพยายามแจกแจง


ลำดับที่ ๒ ใช้วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย (วิธีที่ ๑) พิจารณาค้นเหตุปัจจัยของนามและรูปนั้นในแง่ต่างๆ เช่น พิจารณาตามแนวปฏิจสมุปบาท พิจารณาตามแนวอวิชชาตัณหาอุปทานกรรมและอาหาร พิจารณาตามแนวกระบวนการรับรู้ (เช่น จักขุวิญญาณอาศัยจักขุกับรูปารมณ์เป็นต้น) พิจารณาตามแนวกรรมวัฏฏ์วิปากวัฏฏ์ เป็นต้น แต่รวมความแล้วก็อยู่ในขอบเขตของปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง เป็นแต่แยกบางแง่ออกไปเน้นพิเศษ ขั้นนี้เรียกว่า “นามรูปปัจจัยปริคคหะ” หรือเรียกสั้นๆ ว่า ปัจจัยปริคคะ (ปัจจัยปริเคราะห์) เมื่อทำสำเร็จเกิดความรู้เข้าใจก็เป็น ธรรมฐิติญาณ หรือยถาภูตญาณ หรือสัมมาทัสสนะ จัดเป็น “กังขาวิตรณวิสุทธิ” (วิสุทธิที่ ๔)

ลำดับที่ ๓ ใช้วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา หรือวิธีคิดโดยสามัญลักษณ์ (วิธีที่ ๓) นำเอานามรูปหรือสังขารนั้นมาพิจารณาตามหลักแห่งคติธรรมดาของไตรลักษณ์ ให้เห็นสภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง ถูกปัจจัยขัดแย้งบีบคั้น เป็นทุกข์ ไม่มีไม่เป็นโดยตัวของมันเอง ใครๆ เข้ายึดเป็นเจ้าของครอบครองบังคับด้วยความอยากไม่ได้ เป็นอนัตตา ขั้นนี้เรียกว่า “สัมมสนญาณ” เป็นตอนเบื้องต้นของ “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” (วิสุทธิข้อที่ ๕)


ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : หนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนตัวผม ยังเห็นว่า ความครุ่นคิด ไม่ว่าจะคิดไปในทางใดๆ น้อมไปในทางใดๆ
มันยังคงเป้นความปรุงแต่งด้วยสัญญา ยังเป้นบัญญัติ
ถ้าจะให้ผลอะไรก้ตาม ก็เรียกว่าเสริม น้อมไปในทางที่ควร อะไรทำนองนั้น
เช่น การดุรูปศพแล้วเกิดความหน่าย
แต่หน่ายแบบนี้ไม่ใช่หน่ายเพราะกำลังปัญญาที่รู้เห้นตามเป้นจริงจนยอมรับความจริงอันนั้น


เรื่องว่า ตรงไหนเริ่มเรียกว่าวิปัสนา ตรงไหนเริ่มเรียกว่าสมถะนี้ ผมก็ไม่ทราบจริงๆ
ไม่รู้จะไปคุยด้วยยังไง เพราะเป็นเรื่องของนิยาม แล้วแต่จะว่ากันไป


แต่ทฤษฏีที่ท่านเสนอมานี้ เราทำอย่างนี้กันมานานแล้ว
คือแค่คิดบวก น้อมคิดไปในทางประโยชน์
เช่นว่า การมองโลกในแง่ดี ย่อมมีความสุข
ผมคิดว่ามันเป้นแค่ส่วนประกอบ มันแค่เป้นส่วนเสริม
แต่ไม่ได้เป็นอย่างที่ท่านเข้าใจว่าเป็นใจความหลักของการถึงแจ้งพระนิพพาน


หรือไม่ใช่เป็นการค้นพบใหม่ว่า
โยนิโสมนสิการ คืออีกทางหนึ่งในการแจ้งซึ่งพระนิพพาน


พระพุทธเจ้าท่านพูดว่า สติปัฏฐานเป็นทางเอก (เอกายนมรรค)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ ชินเอม่อนซัง ครับ

ผมขอแสดงให้ทราบถึงว่าเมื่อเจริญโยนิโสมนสิการ เช่น พิจารณาให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ นั้นไม่เที่ยงอย่างไร หรือว่าเป็นทุกข์โดยประการใด หรือว่าให้เห็นเป็นอนัตตาได้อย่างไร เป็นต้น รวมแล้วในที่นี้มี ๙ ประการจะทำให้เกิดลำดับขั้นตอนให้ตรัสรู้อริยสัจจ์ได้อย่างไรดังนี้

[๑๘๓] ธรรมมีโยนิโสมนนิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระ
โยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปิติ เมื่อใจมีปิติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ
ย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ... เมื่อมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนัตตา
ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความ
เป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย
โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมีโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น ๙
ประการนี้ ฯ


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=2091&w=ธรรมมีโยนิโสมนนิการเป็นเบื้องต้น_๙_ประการ

ซึ่งเรื่องนี้จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย ต้องเรียกว่าเป็นเรื่องที่กำลังจะสาปสูญ และพยายามรื้อฟื้นขึ้นมาน่าจะใกล้เคียงกว่าครับ หากเราได้ทำการศึกษาค้นคว้าไปแล้ว เราจะเห็นว่า โยนิโสมนสิการนี้แหละที่ถูกนำมาใช้เพื่อเจริญสติปัฏฐานสี่ให้สมบูรณ์ได้

สติปัฏฐานสี่เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจวิธีปฏิบัติอย่างละเอียดด้วยการอ่านเพียงพระสูตรหลัก เช่น สติปัฏฐานสูตร เป็นต้น เพียงพระสูตรเดียวแล้วนำไปปฏิบัติเลยได้ เพราะจริงๆ พระสูตรนั้นพระพุทธเจ้าจะตรัสในระดับภาพรวมไม่ใช่รายละเอียด รายละเอียดปลีกย่อยไม่ได้ตรัสเอาไว้ เพราะผู้ฟังเป็นผู้มีปัญญามากไม่ต้องขยายก็สามารถปฏิบัติได้ถูก แต่เราไม่ใช่เป็นอย่างนั้น ดังนั้นจะต้องนำไปศึกษารายละเอียดจริงๆ ว่ามีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไรถึงจะถูกต้องด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะปฏิบัติไปตามความเข้าใจ ทำให้การปฏิบัติไม่ครบถ้วน ปฏิบัติผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป จนในที่สุดไปเข้าใจว่านั่นแหละเป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องแล้วแทน ขอยกตัวอย่างวิธีเจริญสติปัฏฐานสี่ในระดับรายละเอียด ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเอาไว้ ขอให้นำมาเทียบเคียงกับโยนิโสมนสิการ ๙ ข้างต้น และวิธีเจริญวิปัสสนาจากอรรถกถาจารย์ และที่วิธีเจริญสติปัฏฐานสี่ตามที่คุณเข้าใจ หรือที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่ ดังต่อไปนี้

*****************

[๗๒๗] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดิน โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็น
ทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำจัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์
ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญา
ได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัด
ได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณา
เห็นกายโดยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการ
พิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ

. . . . . . . . . .

[๗๒๙] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือ
มั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ
เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้
จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต
นั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิต
ว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... A=10710&w=ปัญญาวรรค_สติปัฏฐานกถา

จากรายละเอียดสติปัฏฐานข้างต้นที่ยกมาเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ก็แสดงให้เห็นว่าการเจริญสติปัฏฐานสี่ที่ทำกันสอนกันในพระไตรปิฏก จะไม่ได้ใช้เพียงระลึกรู้เท่านั้น คือ เมื่อเห็นหรือรับรู้อะไร เช่น ธาตุดิน เป็นต้น ก็จะทำการเจริญโยนิโสมนสิการพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงแบบสามัญลักษณ์ประการต่างๆ สืบต่อไปอีกขั้นหนึ่งด้วยเสมอ หรือว่าหากเป็นด้านจิตตานุปัสสนา เมื่อเกิดราคะขึ้น ก็ไม่ได้เพียงรู้เฉยๆ แต่ยังต่อด้วยการเจริญโยนิโสมนสิการเพื่อให้เห็นความจริงแบบสามัญลักษณ์ เช่น ไม่เที่ยงอย่างไร เป็นทุกข์อย่างไร เป็นอนัตตาอย่างไร เป็นต้น สืบต่อเนื่องไปอีกขั้นหนึ่งเสมอ ตรงนี้และที่จึงทำให้เกิดความ "รู้ชัด" กันจริงๆ เพราะคำว่า "รู้ชัด เพราะอรรถ(ความหมาย) คือ ปัญญา" ซึ่งจะเห็นว่าโยนิโสมนสิการทำให้บรรลุได้อย่างไร สติปัฏฐานใช้โยนิโสมนสิการอย่างไร

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณศิรัสพลครับ

ชื่อกระทู้อย่างหนึ่ง ประเด้นอย่างหนึ่ง แต่เวลายกพระสูตรมาสนับสนนุนก็อีกอย่างหนึ่ง

ลองอ่านพระสุตรใหม่ แล้วลำดับดีๆ จะพบว่า
พระพุทธเจ้าท่านบอกให้ "ทำจิตให้ตั้งมั่นเสียก่อน"
...จิตตั้งมั่นจึงรู้เห้นตามจริง
...แล้วจึงมนสิการ


อ้างคำพูด:
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปิติ เมื่อใจมีปิติปิติ เมื่อใจมีปิติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ
ย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง

นี่ท่านชี้ให้เห้นว่าต้องเข้าสมาธิไปถึงไหนต่อไหนแล้ว จิตรวมเป้นหนึ่งเดียว ตั้งมั่น แล้ว
เกิดกระบวนการรู้เห็นตามเป้นจริง ท่านถึงเริ่มพูดคำว่า "มนสิการ"
แค่ประโยคที่ผมยกมาก้นั่งทำกันป็นปีๆ หลายสิบปีแล้วครับ ยังไม่ได้มนสิการจริงๆสักที

โยนิโสมนสิการที่ท่านพูด
ท่านเองต้องเอาให้แน่ว่าท่านกำลังพูดโยนิโสแบบไหน ระหว่าง
แบบธรรมดาๆทั่วๆไป ไตร่ตรองไปตามสัญญา ตามภาษาโลกเขาเข้าใจกัน
หรือ
แบบจิตตั้งมั่นแล้วรู้เห้นความเป้นจริงจึงเกิดธัมวิจัยเกิดโยนิโสมนสิการ

เอาให้แน่นะ


ถ้าแบบแรกผมยังยืนยันว่าไม่เคยได้ยิน ไม่เคยมีครูบาร์อาจารย์องค์ไหนพูดไปทำนองว่า
คิดให้แยบคายแล้วจะถอดถอนอุปทานได้

แต่ถ้าเป็นแบบหลัง จิตตั้งมั่นแล้วจึงรู้กายรู้ใจไปตามจริง
อันนี้ถึงจะเรียกว่าสามารถถอดทอนอุปาทานต่างๆได้ในที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
ซึ่งจะเห็นว่าโยนิโสมนสิการทำให้บรรลุได้อย่างไร สติปัฏฐานใช้โยนิโสมนสิการอย่างไร
ขอให้เจริญในธรรม



โยนิโสมนสิการ และสติปัฏฐาน ก็ล้วนเป้นอาการของจิต กริยาของจิตทั้งคู่ เป้นเครื่องมือของจิตทั้งคู่
ผู้ใช้คือจิต ผุ้บรรลุคือจิต

ไม่ใช่ว่าสติปัฏฐานใช้โยนิโสมนสิการ
หรือโยนิโสมนสิการทำให้บรรลุ

อีกคำถามนึง ธาตุดิน ที่ท่านหมายถึงนี้ ท่านหมายถึงอะไร
อ้างคำพูด:
จากรายละเอียดสติปัฏฐานข้างต้นที่ยกมาเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ก็แสดงให้เห็นว่าการเจริญสติปัฏฐานสี่ที่ทำกันสอนกันในพระไตรปิฏก จะไม่ได้ใช้เพียงระลึกรู้เท่านั้น คือ เมื่อเห็นหรือรับรู้อะไร เช่น ธาตุดิน เป็นต้น ก็จะทำการเจริญโยนิโสมนสิการพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงแบบสามัญลักษณ์ประการต่างๆ สืบต่อไปอีกขั้นหนึ่งด้วยเสมอ


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณชินเอม่อนซังครับ

ขอให้ลองอ่านดูพระสูตรต่อไปนี้นะครับ ว่าจิตสงบลงไปก่อนค่อยไปการพิจารณา หรือพิจารณาไปก่อนแล้วจึงทำให้จิตสงบทีหลังจากการพิจารณา คงทำให้เข้าใจพระสูตรเรื่องโยนิโสมนสิการ ๙ ประการข้างต้นได้มากขึ้นครับ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

การหลีกออก ๒ วิธี
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
สมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไป
นั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี แต่ละอย่างๆ
เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว
ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ หลีกออกด้วยกาย ๑ หลีกออกด้วยจิต ๑ เธอหลีกออกอยู่
อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.
[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง
ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญ
สติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อม
เลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.
[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภ
แล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์ เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อ
หย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.
@๑ หมายถึงนิมิตแห่งจิตที่มีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน
[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณา
ธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง
ความเจริญบริบูรณ์ ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.
[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความ
เพียร สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ
ย่อมสงบระงับ.
[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ
ย่อมสงบระงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ จิตของภิกษุผู้มี
กายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.
[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อม
ตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น
ด้วยดี.
[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้น
ด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มาก
แล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

[๓๘๒] คือ (๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน (๒) ในปัจจุบันไม่ได้
บรรลุ ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย (๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้
บรรลุ ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๔)
ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปริ-
*นิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอานาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ทีนั้น
จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๖) ถ้าในปัจจุบัน
ก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็น
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น จะได้เป็น
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้
บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระ-
*อนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคา
มีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ สิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.

จบ สูตรที่ ๓


ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


คิดว่าใช่นะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มันทั้งสองอย่างนั่นแหละครับ

ถ้าไม่โยนิโสมนสิการ (1) แล้วจะเกิดจิตตั้งมั่นได้อย่างไร
ถ้าจิตตั้งมั่นแล้วไมโยนิโสมนสิการ(2) จะเกิดปัญญาได้อย่างไร

ประเด็นคือคุณกำลังพูดถึง โยนิโสตัวที่ 1ว่าเป้นวิปัสนา
แต่เอาพระสุตรที่เป้นของโยนิโสมนสิการ2ตัวที่สองมาอธิบายแทนตัวแรก


เลข 1/2 น ี้ผมสมมุติขึ้นมาเพื่ออธิบายประเด้นเฉยๆนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับคำตอบของคุณชินเอม่อนซังครับ

ผมเห็นว่าเรื่องนี้คงไม่สามารถทำให้กระจ่างได้ด้วยการสนทนาโต้ตอบไป-มาหรอกครับ
ทางที่ดีอย่างที่ได้บอกไปแล้วตั้งแต่ต้นกระทู้ว่าหากไม่เชื่อ ให้ไปลองพิสูจน์ดูดีที่สุดครับ
หากไม่พิสูจน์ก็คงจะช่วยอะไรไม่ได้ ประเด็นของกระทู้ก็เพื่อนำหลักฐานต่างๆ มาแสดงให้
เห็นว่าการคิดช่วยพิจารณาจัดว่าเป็นวิปัสสนาหรือไม่ ซึ่งนำมาหมดไม่ว่าจากพระไตรปิฏก
จากอรรถกถา หรือจากที่ได้อธิบายเองหลังจากนำไปปฏิบัติมาแล้ว

สรุปว่าหากเราคิดเอาเองว่าควรจะเป็นอย่างนั้น ไม่น่าจะเป็นอย่างนี้ ก็รังแต่จะผิดพลาดได้
ต้องยอมรับว่าเรื่องที่ยกมานี้ จะค้านกับสัญญาของใครต่อใครหลายๆ คน ดังนั้นจึงควรไปพิสูจน์
ว่าหลักฐานต่างๆ ที่ยกมาข้างต้น คำสอนต่างๆ เหล่านั้นจริงเท็จประการใด...เชิญพิสูจน์ด้วยตนเองครับ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b35: :b35: :b35:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2009, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
ขอบคุณสำหรับคำตอบของคุณชินเอม่อนซังครับ

ผมเห็นว่าเรื่องนี้คงไม่สามารถทำให้กระจ่างได้ด้วยการสนทนาโต้ตอบไป-มาหรอกครับ
ทางที่ดีอย่างที่ได้บอกไปแล้วตั้งแต่ต้นกระทู้ว่าหากไม่เชื่อ ให้ไปลองพิสูจน์ดูดีที่สุดครับ
หากไม่พิสูจน์ก็คงจะช่วยอะไรไม่ได้ ประเด็นของกระทู้ก็เพื่อนำหลักฐานต่างๆ มาแสดงให้
เห็นว่าการคิดช่วยพิจารณาจัดว่าเป็นวิปัสสนาหรือไม่ ซึ่งนำมาหมดไม่ว่าจากพระไตรปิฏก
จากอรรถกถา หรือจากที่ได้อธิบายเองหลังจากนำไปปฏิบัติมาแล้ว

สรุปว่าหากเราคิดเอาเองว่าควรจะเป็นอย่างนั้น ไม่น่าจะเป็นอย่างนี้ ก็รังแต่จะผิดพลาดได้
ต้องยอมรับว่าเรื่องที่ยกมานี้ จะค้านกับสัญญาของใครต่อใครหลายๆ คน ดังนั้นจึงควรไปพิสูจน์
ว่าหลักฐานต่างๆ ที่ยกมาข้างต้น คำสอนต่างๆ เหล่านั้นจริงเท็จประการใด...เชิญพิสูจน์ด้วยตนเองครับ

ขอให้เจริญในธรรม



อุย คุณอย่าโม้เลย

อย่าไปบอกใครเลยว่าปฏิบัติมาแล้วได้ผล
เพราะมันเท่ากับคุณบอกว่า คุณ "คิด" แล้วถอดถอนอุปาทานได้
คุณกำลังพูดว่า "ความคิด" เป็นอุบายถอดถอนอุปาทานที่คูณทำได้ผล ซึ่งไม่จริง

พระแก่เตือนพระหนุ่มว่าให้ไปปลงอสุภะบ่อยๆ ดุศพบ่อยๆ
คิดพิจารณาให้เห้นว่าร่างกายหญิงสาวเป้นปฏิกูล
ใครบอกว่านี่เป้นวิปัสนาไม่ได้นะ นี่สมถะชัดๆ
เพราะกำลังข่มความหย่อนที่หย่อนให้ตึง
ข่มความตึงที่ตึงเกินไปให้หย่อน
เพราะต้องการปรับสู่ปกติ เป้นศีล เป็นอำนาจสมถะ

นั่งองคชาดโด่ ใครจะทำให้จิตตั้งมั่นได้ ฟุ๊งซะขนาดนั้น
ก้ต้องโยนิโสให้มันแฟ๊บลง ข่มให้มันลงมาเป้นปกติที่สุด
ก้คืออุบายความคิดทั้งหลาย

คนทั้งโลกนี้เขาโยนิโสกันทั้งนั้นแหละ
ไม่เชื่อไปร้านนหนังสือหมวดพัฒนาตนเอง เต็มเลย นี่เขารู้จักคิดแยบคาย คิดด้านดี
มีหมดเลยทั้งวิธีคิดด้านความรัก ด้านการงาน เต็มไปหมด
ถามว่านี่คือโยนิโสประเภทที่ถอดถอนอุปาทานหรือ
ทั้งหมดนั้นมันคือกามสุขัลนุโยคทั้งนั้น


จิตตั้งมั่น มองเห็นความกระเพื่อมที่มาสู่ใจ
เห็นความแตกต่างระหว่างจิตที่ตั้งมั่น กับสิ่งใดๆที่ปรากฏขึ้นมาทำให้ใจกระเพื่อม
ไม่ได้บงการ ไม่ได้ไปตั้งใจคิดอะไร
เพียงแต่รับรู้ความจริงทั้งหลายไปตามจริง

นี่แหละ โยนิโสมนสิการ ที่เรียกว่ากระทำไว้ในใจโดยแยบคาย แบบที่จะถอดถอนอุปาทาน

โยนิโสเพราะทำใจไว้แยบคาย จึงเกิดกระบวนการของวิปัสนา
รู้เห็นตามจริงว่าสิ่งกระกบอายตนะ 6 เป็นเพียงปรากฏการณ์ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดควรค่าจะยึดถือ
สั่งสมปัญญาจนถอดถอนอุปาทานตามลำดับในที่สุด


ไม่ใช่คิดว่าร่างกายเป้นอสุภแล้วเกิดหน่ายก็เหมาว่าเป้นวิปัสนา ทั้งๆที่บงการจิตใจอยู่แท้ๆ
หน่ายแบบนั้นมันหน่ายเพราะไปบงการบังคับบัญชาจิตใจ
ข่มได้ชั่วคราว เด๊่ยวเจอโคโยตี้มาเต้นข้างๆสะบัดปลายผมใส่ดูสิครับ
อยากจะรู้ว่าโยนิโสแบบที่คุณว่าได้ผล จะเอาอยู่ไหม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2009, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณชินเอม่อนซัง

ตอนแรกเห็นว่ากระทู้นี้น่าจะจบลงไปเสียแล้ว คิดว่าคุณจะลองไปฝึกไปพิสูจน์ดูก่อน แต่คุณยังมากล่าวแบบนี้ แสดงว่ายังไม่ได้นำไปพิสูจน์ แต่คิดเอาจากสัญญาเก่าแล้วนำมาตอบอีกใช่หรือเปล่าครับ...หากผมคาดผิดต้องขออภัยด้วยนะครับ

ผลที่ได้ปรากฏกับผม บอกไปคุณจะเชื่อหรือครับ เรื่องนี้เป็นปัจจัตตัง เป็นสิ่งที่รู้ได้ด้วยตนเอง บอกไปรังแต่จะทำให้หาว่ากล่าวมุสาเสียเปล่าๆ? แต่ขอให้รู้เอาไว้อย่างหนึ่งว่า หากไม่ได้ปฏิบัติจนบังเกิดผลแล้ว จะไม่นำข้อมูลต่างๆ มาให้อ่านกัน และไม่กล้าที่จะปรับวาทะของใครต่อใครครับ

เรื่อง การเจริญอสุภกรรมฐาน หรือเจริญอสุภสัญญา ไม่รู้ว่าคุณเคยได้ฝึกฝนมาก่อนหรือเปล่า เพราะพระพุทธเจ้าท่านก็ได้ตรัสถึงอานิสงค์ของอสุภกรรมฐาน หรืออสุภสัญญาเอาไว้แล้วว่า เป็นกรรมฐานที่ทำให้สิ้นราคะ หรือทำให้สำเร็จซึ่งวิมุตติได้ (ซึ่งจริงๆ มีหลายอย่าง เช่น อนิจจสัญญา เป็นต้น) เป็นสมาธิอย่างหนึ่งที่ทำแล้วให้หมดสิ้นอาสวะ แต่เราทั่วไปมักจะรู้จักกันว่าเป็นเพียงแต่สมถะเท่านั้น มีพระอรหันต์หลายต่อหลายท่านที่บรรลุอรหัตตผลด้วยอสุภกรรมฐาน เช่น พระมหากัสสปะเถระ เป็นต้น หากคุณสงสัยในการบรรลุมรรคผลของผู้เจริญอสุภกรรมฐานว่าทำได้จริงหรือไม่ ลองไปศึกษาประวัติพระมหากัสสปะดูก็ได้ครับ

จริงๆ เวลาเราฝึกอสุภกรรมฐาน หรือเจริญอสุภสัญญา ไม่ใช่ว่าเราจะไปนึกๆ เอาว่าเป็นซากศพ โดยที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน แต่การปฏิบัติจะต้องผ่านมาหรือควบคู่มาจาก ที่เราจะหมั่นนำศพ หรือซากศพ หรือภาพซากศพ หรือสิ่งปฏิกูลเน่าเหม็น เช่น อุจจาระ, ปัสสาวะ, เสมหะ, น้ำลาย, เลือด, น้ำเหลือง, น้ำหนอง เป็นต้น มาดูแล้วใช้โยนิโสมนสิการ พิจารณา เทียบเคียงให้เห็นว่าแม้เราก็ต้องเป็นซากศพอย่างนั้นสักวันหนึ่ง และในร่างกายแท้จริงก็ไม่ได้สวยงามมีสิ่งสกปรกน่าเกลียดอย่างนั้นอยู่ซ่อนไว้ภายใน การฝึกจะเริ่มฝึกจากการหมั่นจำ หมั่นเพ่งพินิจพิจารณาแบบนี้ ซึ่งเป็นการสะสมอสุภสัญญา ปฏิกูลสัญญาเอาไว้ในจิต ทีนี้ต่อไป เมื่อเราทำได้แล้ว แม้จิตยังไม่รวมลงเป็นฌานก็ตาม หรือยังไม่บรรลุมรรคผลก็ตาม แต่ถือว่าวิปัสสนาได้เกิดขึ้นแล้ว คือ อารมณ์อันเห็นไตรลักษณ์นั้นเองได้เกิดขึ้นแล้ว เริ่มรู้จักทุกข์ เห็นทุกข์ เห็นโทษของร่างกาย เห็นว่าไม่ใช่สิ่งน่าสวยงามน่าใคร่ และพอทำไประยะหนึ่งจะเกิดความเบื่อหน่ายขึ้น แม้จะยังไม่เกิดถาวร แต่จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เห็น ทุกครั้งที่เจริญ หรือทุกครั้งที่พิจารณา นึกถึง

ทีนี้พอเราดำรงชีวิตปกติไป หากเราเกิดเห็นผู้หญิงสวยๆ จิตเราเกิดจักษุวิญญาณ(เห็นรูป) ขึ้น เราก็เพ่งพินิจนำอสุภกรรมฐาน หรืออสุภสัญญาที่เราเคยฝึกอยู่มาระลึก มาเปรียบเทียบไป ว่าเป็นทำนองว่า "ผู้หญิงคนนี้ เป็นเพียงรูป ไม่เที่ยง มีอันเน่าเปื่อย ผุพังเป็นธรรมดา ประกอบขึ้นมาจากสิ่งปฏิกูลสกปรกต่างๆ เป็นต้นว่า อุจาระ ปัสสาวะ เสมหะ ขี้หัว ขี้มูก ขี้ตา ขี้ใคร ขี้เล็บ" หรือจะพิจารณาให้เห็นว่าไม่ต่างจากซากศพที่เราพิจารณาก็ได้ เป็นต้น เมื่อเราพิจารณาด้วยการนึกช่วยอย่างนี้ ภาพสัญญาที่เราเคยเพ่งเอาไว้จะปรากฏขึ้นมาขณะนึกคำพูดไปด้วยโดยอัตโนมัติได้ ก็จะทำให้ลักษณะความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์เป็นโทษ ปรากฏออกมาให้เห็น ซึ่งโดยปกติหากไม่พิจารณาโดยแยบคายอย่างนี้ลักษณะดังกล่าวจะไม่ปรากฏออกมาให้เห็น นี้เรียกว่า สัมมาทิฐิเกิดขึ้น จากโยนิโสมนสิการ จิตจะเกิดปัญญาตัดขาด ป้องกันอกุศลไม่ให้เกิดขึ้นก่อนมาได้ หรือแม้แต่หากอกุศลได้เกิดขึ้นมาแล้วก็ถูกละได้

ทีนี้หากเราหมั่นฝึกจากการเพ่งพิจารณาของจริงอยู่เนื่องๆ ประกอบกับหมั่นนำมาใช้พิจารณากายในกายภายใน คือตัวเรา และกายในกายภายนอกคือผู้อื่นอยู่เนื่องๆ แล้ว อวิชชา ย่อมจะถูกถอนออกไป เพราะจิตได้เกิดวิชชาขึ้นมาแทน เพราะได้รู้ว่าสิ่งต่างๆ นี้ล้วนเป็นเพียงอนิจจัง เป็นเพียงอนัตตาประกอบขึ้นมาจากส่วนประกอบย่อยๆ ต่างๆ เป็นชั้นๆ ไม่ใช่เห็นเฉพาะแต่ในเรื่องของร่างกายที่เป็นรูปธรรม จิตจะรู้ครอบคลุมไปถึงนามธรรมได้ ไม่ว่าจะเป็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าไม่เที่ยงไปด้วยได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนอาศัยกายนี้เองที่ไม่เที่ยงจะต้องตายเป็นซากศพไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเที่ยงได้อย่างไรเล่า พอเราฝึกไปดีๆ มากขึ้นเรื่อยๆ อารมณ์กรรมฐานเกิด ญาณเริ่มเกิด เพียงเรามองไปที่ใครก็ตามย่อมจะให้เป็นซากศพ หรือปฏิกูลได้ทันที จิตวางเฉยได้เอง หรือจะไม่ให้เห็นเป็นปฏิกูลก็ได้ แต่จิตก็ยังวางเฉยได้เองต่อไปเช่นเดียวกัน แต่ตรงนี้ยังไม่ได้เกิดต่อเนื่องตลอดเวลา เกิดมากน้อยแล้วแต่ญาณและมรรคผลของแต่ละบุคคลว่าขั้นใด หากเป็นอรหันต์จะเกิดได้ตลอดเป็นธรรมดา อย่างนี้เรียกว่าสังโยชน์ต่างๆ ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถูกละได้ ทำไปในที่สุดอย่างนี้ย่อมหมดสิ้นสังโยชน์

ไม่เชื่อลองง่ายๆ เลยนะครับ ให้คุณลองดูของเน่าเหม็นของตัวเอง เป็นต้นว่า เวลาถ่ายอุจาระก็ดูอุจาระตัวเองว่าเป็นอย่างไร ดูไป พิจารณาไปว่าเราเองนี้แท้จริงไม่ได้สะอาดอะไรเลย มีสิ่งสกปรกที่น่าเกลียดต้องคอยระบายออกอยู่ ทีนี้ต่อไป เวลาคุณเห็นก้นผู้หญิงที่คุณเห็นว่าสวยงาม หรือเกิดราคะขึ้น ลองพิจารณาว่า "ก้นนี้แท้จริงมีสิ่งสกปรกอยู่ มีรูก้น มีขนตรงรู้ก้น มีอุจาระ พร้อมกันนำภาพอุจาระของคุณที่เคยเห็นมานึกควบคู่ไว้" การทำอย่างนี้ราคะจะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็จะถูกละได้ เป็นสมถะด้วยเป็นวิปัสสนาด้วย เป็นกิจอันเดียวกันครับ

ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้ต้องการให้เชื่อ แต่ต้องการให้ไปปฏิบัติตามดูแล้วจะรู้ว่าเป็นดั่งที่กล่าวไปหรือไม่ประการใด

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2009, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อเสริมความมั่นใจและความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติว่าการเจริญโยนิโสมนสิการอันมีอสุภะเป็นอารมณ์นั้น สามารถทำให้สำเร็จอรหัตตผลได้หรือไม่ จึงขอนำตัวอย่างพระสูตรพระอภิรูปนันทาเถรีมาให้เป็นตัวอย่างดังนี้

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอภิรูปนันทาเถรี

ครั้งนั้น พระพิชิตมารทรง
ให้ดิฉันเข้าไปสู่สำนักของพระองค์ด้วยอุบาย พระองค์ทรงฉลาดใน
ทางอุบาย ทรงแสดงหญิง ๓ ชนิด ด้วยฤทธิ์ คือ หญิงสาวสวย
เหมือนรูปเทพอัปสร หญิงแก่ หญิงตายแล้ว ดิฉันเห็นหญิงทั้ง ๓
แล้ว มีความสลดใจ ไม่ยินดีในซากศพหญิงที่ตายแล้ว มีความ
เบื่อหน่ายในภพเฉยอยู่ ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคนายกของโลก
ตรัสกะดิฉันว่า ดูกรนันทาท่านจงดูร่างกายที่ทุรนทุราย ไม่สะอาด
โสโครก ไหลเข้าถ่ายออกอยู่ ที่พวกพลาชนปรารถนากัน ท่านจง
อบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์อย่างเดียวด้วยอสุภเถิด รูปนี้เป็นฉัน
ใด รูปท่านนั้นก็เป็นฉันนั้น รูปท่านนั้นเป็นฉันใด รูปนี้ก็เป็นฉัน
นั้น เมื่อท่านพิจารณาเห็นรูปนั้น อย่างนี้ มิได้เกียจคร้านทั้งกลาง
คืนกลางวัน แต่นั้นก็จะเบื่อหน่ายอยู่ด้วยปัญญาของตน ดิฉันผู้ไม่
ประมาท พิจารณาในร่างกายนี้อยู่โดยแยบคาย ก็เห็นกายนี้ทั้งกาย
ในภายนอกตามความเป็นจริง
เมื่อเป็นเช่นนั้น ดิฉันจึงเบื่อหน่าย
ในกาย และไม่ยินดีเป็นภายใน ไม่ประมาท ไม่เกาะเกี่ยว เป็น
ผู้สงบเย็นแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญ
ในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณ
และทิพจักษุอันหมดจดวิเศษ หม่อมฉันสิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว
บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันมีญาณในอรรถะ
ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ เกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนา ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=6484&w=

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2009, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
เพื่อเสริมความมั่นใจและความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติว่าการเจริญโยนิโสมนสิการอันมีอสุภะเป็นอารมณ์นั้น สามารถทำให้สำเร็จอรหัตตผลได้หรือไม่ จึงขอนำตัวอย่างพระสูตรพระอภิรูปนันทาเถรีมาให้เป็นตัวอย่างดังนี้

ว่าด้วยบุพจริยาของพระอภิรูปนันทาเถรี

ครั้งนั้น พระพิชิตมารทรง
ให้ดิฉันเข้าไปสู่สำนักของพระองค์ด้วยอุบาย พระองค์ทรงฉลาดใน
ทางอุบาย ทรงแสดงหญิง ๓ ชนิด ด้วยฤทธิ์ คือ หญิงสาวสวย
เหมือนรูปเทพอัปสร หญิงแก่ หญิงตายแล้ว ดิฉันเห็นหญิงทั้ง ๓
แล้ว มีความสลดใจ ไม่ยินดีในซากศพหญิงที่ตายแล้ว มีความ
เบื่อหน่ายในภพเฉยอยู่ ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคนายกของโลก
ตรัสกะดิฉันว่า ดูกรนันทาท่านจงดูร่างกายที่ทุรนทุราย ไม่สะอาด
โสโครก ไหลเข้าถ่ายออกอยู่ ที่พวกพลาชนปรารถนากัน ท่านจง
อบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์อย่างเดียวด้วยอสุภเถิด
รูปนี้เป็นฉัน
ใด รูปท่านนั้นก็เป็นฉันนั้น รูปท่านนั้นเป็นฉันใด รูปนี้ก็เป็นฉัน
นั้น เมื่อท่านพิจารณาเห็นรูปนั้น อย่างนี้ มิได้เกียจคร้านทั้งกลาง
คืนกลางวัน แต่นั้นก็จะเบื่อหน่ายอยู่ด้วยปัญญาของตน ดิฉันผู้ไม่
ประมาท พิจารณาในร่างกายนี้อยู่โดยแยบคาย ก็เห็นกายนี้ทั้งกาย
ในภายนอกตามความเป็นจริง
เมื่อเป็นเช่นนั้น ดิฉันจึงเบื่อหน่าย
ในกาย และไม่ยินดีเป็นภายใน ไม่ประมาท ไม่เกาะเกี่ยว เป็น
ผู้สงบเย็นแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญ
ในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ และในเจโตปริยญาณ รู้ปุพเพนิวาสญาณ
และทิพจักษุอันหมดจดวิเศษ หม่อมฉันสิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว
บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันมีญาณในอรรถะ
ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ เกิดขึ้นแล้วในสำนักของพระองค์
ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนา ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=6484&w=

ขอให้เจริญในธรรม


คุณศิรัสพล
พิจารณาตรงสีแดงที่ผมขีดเส้นใต้ด้วยนะครับ

ยังไงๆพระพุทธเจ้าก็พูดซำแล้วซ้ำอีกว่า มีจิตตั้งมั่นก่อน
แล้วนำจิตตั้งมั่นนั้นไปพิจารณาความจริง


เพียงแค่คุณศิรัสพลพยามจะพิจารณาความจริง โดยไม่สนใจจิตตั้งมั่น ไม่พยามจะพูดถึงจิตตั้งมั่น พยามเพิกเฉยต่อพุทธพจน์บางส่วน

จัดว่าปฏิรูปพระสัทธรรม

ไม่ว่าคุณจะยกพระสุตรมาอย่างไรก็ตาม
สังเกตุให้ดี พระพุทธเจ้าจะให้ทำสมาธิจนจิตตั้งมั่นเสมอ
แล้วจึงพิจารณาโดยแยบคาย


มันคู่กันเสมอครับ


อ้างคำพูด:
พิจารณาในร่างกายนี้อยู่โดยแยบคาย ก็เห็นกายนี้ทั้งกาย
ในภายนอกตามความเป็นจริง

ประโยคนี้แปลว่าเจริญสติปัฏฐานจนแจ้งว่ารูปและนามแยกกัน
มีจิตผู้รู้ที่ตั้งมั่น มองเห็นกายอยู่ต่างหาก จิตรู้กายอยู่ต่างหาก
...รู้เห็นตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2009, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณชินเอม่อนซัง

ตอนแรกเห็นว่ากระทู้นี้น่าจะจบลงไปเสียแล้ว คิดว่าคุณจะลองไปฝึกไปพิสูจน์ดูก่อน แต่คุณยังมากล่าวแบบนี้ แสดงว่ายังไม่ได้นำไปพิสูจน์ แต่คิดเอาจากสัญญาเก่าแล้วนำมาตอบอีกใช่หรือเปล่าครับ...หากผมคาดผิดต้องขออภัยด้วยนะครับ

ผลที่ได้ปรากฏกับผม บอกไปคุณจะเชื่อหรือครับ เรื่องนี้เป็นปัจจัตตัง เป็นสิ่งที่รู้ได้ด้วยตนเอง บอกไปรังแต่จะทำให้หาว่ากล่าวมุสาเสียเปล่าๆ? แต่ขอให้รู้เอาไว้อย่างหนึ่งว่า หากไม่ได้ปฏิบัติจนบังเกิดผลแล้ว จะไม่นำข้อมูลต่างๆ มาให้อ่านกัน และไม่กล้าที่จะปรับวาทะของใครต่อใครครับ

เรื่อง การเจริญอสุภกรรมฐาน หรือเจริญอสุภสัญญา ไม่รู้ว่าคุณเคยได้ฝึกฝนมาก่อนหรือเปล่า เพราะพระพุทธเจ้าท่านก็ได้ตรัสถึงอานิสงค์ของอสุภกรรมฐาน หรืออสุภสัญญาเอาไว้แล้วว่า เป็นกรรมฐานที่ทำให้สิ้นราคะ หรือทำให้สำเร็จซึ่งวิมุตติได้ (ซึ่งจริงๆ มีหลายอย่าง เช่น อนิจจสัญญา เป็นต้น) เป็นสมาธิอย่างหนึ่งที่ทำแล้วให้หมดสิ้นอาสวะ แต่เราทั่วไปมักจะรู้จักกันว่าเป็นเพียงแต่สมถะเท่านั้น มีพระอรหันต์หลายต่อหลายท่านที่บรรลุอรหัตตผลด้วยอสุภกรรมฐาน เช่น พระมหากัสสปะเถระ เป็นต้น หากคุณสงสัยในการบรรลุมรรคผลของผู้เจริญอสุภกรรมฐานว่าทำได้จริงหรือไม่ ลองไปศึกษาประวัติพระมหากัสสปะดูก็ได้ครับ

จริงๆ เวลาเราฝึกอสุภกรรมฐาน หรือเจริญอสุภสัญญา ไม่ใช่ว่าเราจะไปนึกๆ เอาว่าเป็นซากศพ โดยที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน แต่การปฏิบัติจะต้องผ่านมาหรือควบคู่มาจาก ที่เราจะหมั่นนำศพ หรือซากศพ หรือภาพซากศพ หรือสิ่งปฏิกูลเน่าเหม็น เช่น อุจจาระ, ปัสสาวะ, เสมหะ, น้ำลาย, เลือด, น้ำเหลือง, น้ำหนอง เป็นต้น มาดูแล้วใช้โยนิโสมนสิการ พิจารณา เทียบเคียงให้เห็นว่าแม้เราก็ต้องเป็นซากศพอย่างนั้นสักวันหนึ่ง และในร่างกายแท้จริงก็ไม่ได้สวยงามมีสิ่งสกปรกน่าเกลียดอย่างนั้นอยู่ซ่อนไว้ภายใน การฝึกจะเริ่มฝึกจากการหมั่นจำ หมั่นเพ่งพินิจพิจารณาแบบนี้ ซึ่งเป็นการสะสมอสุภสัญญา ปฏิกูลสัญญาเอาไว้ในจิต ทีนี้ต่อไป เมื่อเราทำได้แล้ว แม้จิตยังไม่รวมลงเป็นฌานก็ตาม หรือยังไม่บรรลุมรรคผลก็ตาม แต่ถือว่าวิปัสสนาได้เกิดขึ้นแล้ว คือ อารมณ์อันเห็นไตรลักษณ์นั้นเองได้เกิดขึ้นแล้ว เริ่มรู้จักทุกข์ เห็นทุกข์ เห็นโทษของร่างกาย เห็นว่าไม่ใช่สิ่งน่าสวยงามน่าใคร่ และพอทำไประยะหนึ่งจะเกิดความเบื่อหน่ายขึ้น แม้จะยังไม่เกิดถาวร แต่จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เห็น ทุกครั้งที่เจริญ หรือทุกครั้งที่พิจารณา นึกถึง

ทีนี้พอเราดำรงชีวิตปกติไป หากเราเกิดเห็นผู้หญิงสวยๆ จิตเราเกิดจักษุวิญญาณ(เห็นรูป) ขึ้น เราก็เพ่งพินิจนำอสุภกรรมฐาน หรืออสุภสัญญาที่เราเคยฝึกอยู่มาระลึก มาเปรียบเทียบไป ว่าเป็นทำนองว่า "ผู้หญิงคนนี้ เป็นเพียงรูป ไม่เที่ยง มีอันเน่าเปื่อย ผุพังเป็นธรรมดา ประกอบขึ้นมาจากสิ่งปฏิกูลสกปรกต่างๆ เป็นต้นว่า อุจาระ ปัสสาวะ เสมหะ ขี้หัว ขี้มูก ขี้ตา ขี้ใคร ขี้เล็บ" หรือจะพิจารณาให้เห็นว่าไม่ต่างจากซากศพที่เราพิจารณาก็ได้ เป็นต้น เมื่อเราพิจารณาด้วยการนึกช่วยอย่างนี้ ภาพสัญญาที่เราเคยเพ่งเอาไว้จะปรากฏขึ้นมาขณะนึกคำพูดไปด้วยโดยอัตโนมัติได้ ก็จะทำให้ลักษณะความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์เป็นโทษ ปรากฏออกมาให้เห็น ซึ่งโดยปกติหากไม่พิจารณาโดยแยบคายอย่างนี้ลักษณะดังกล่าวจะไม่ปรากฏออกมาให้เห็น นี้เรียกว่า สัมมาทิฐิเกิดขึ้น จากโยนิโสมนสิการ จิตจะเกิดปัญญาตัดขาด ป้องกันอกุศลไม่ให้เกิดขึ้นก่อนมาได้ หรือแม้แต่หากอกุศลได้เกิดขึ้นมาแล้วก็ถูกละได้

ทีนี้หากเราหมั่นฝึกจากการเพ่งพิจารณาของจริงอยู่เนื่องๆ ประกอบกับหมั่นนำมาใช้พิจารณากายในกายภายใน คือตัวเรา และกายในกายภายนอกคือผู้อื่นอยู่เนื่องๆ แล้ว อวิชชา ย่อมจะถูกถอนออกไป เพราะจิตได้เกิดวิชชาขึ้นมาแทน เพราะได้รู้ว่าสิ่งต่างๆ นี้ล้วนเป็นเพียงอนิจจัง เป็นเพียงอนัตตาประกอบขึ้นมาจากส่วนประกอบย่อยๆ ต่างๆ เป็นชั้นๆ ไม่ใช่เห็นเฉพาะแต่ในเรื่องของร่างกายที่เป็นรูปธรรม จิตจะรู้ครอบคลุมไปถึงนามธรรมได้ ไม่ว่าจะเป็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าไม่เที่ยงไปด้วยได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนอาศัยกายนี้เองที่ไม่เที่ยงจะต้องตายเป็นซากศพไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเที่ยงได้อย่างไรเล่า พอเราฝึกไปดีๆ มากขึ้นเรื่อยๆ อารมณ์กรรมฐานเกิด ญาณเริ่มเกิด เพียงเรามองไปที่ใครก็ตามย่อมจะให้เป็นซากศพ หรือปฏิกูลได้ทันที จิตวางเฉยได้เอง หรือจะไม่ให้เห็นเป็นปฏิกูลก็ได้ แต่จิตก็ยังวางเฉยได้เองต่อไปเช่นเดียวกัน แต่ตรงนี้ยังไม่ได้เกิดต่อเนื่องตลอดเวลา เกิดมากน้อยแล้วแต่ญาณและมรรคผลของแต่ละบุคคลว่าขั้นใด หากเป็นอรหันต์จะเกิดได้ตลอดเป็นธรรมดา อย่างนี้เรียกว่าสังโยชน์ต่างๆ ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถูกละได้ ทำไปในที่สุดอย่างนี้ย่อมหมดสิ้นสังโยชน์

ไม่เชื่อลองง่ายๆ เลยนะครับ ให้คุณลองดูของเน่าเหม็นของตัวเอง เป็นต้นว่า เวลาถ่ายอุจาระก็ดูอุจาระตัวเองว่าเป็นอย่างไร ดูไป พิจารณาไปว่าเราเองนี้แท้จริงไม่ได้สะอาดอะไรเลย มีสิ่งสกปรกที่น่าเกลียดต้องคอยระบายออกอยู่ ทีนี้ต่อไป เวลาคุณเห็นก้นผู้หญิงที่คุณเห็นว่าสวยงาม หรือเกิดราคะขึ้น ลองพิจารณาว่า "ก้นนี้แท้จริงมีสิ่งสกปรกอยู่ มีรูก้น มีขนตรงรู้ก้น มีอุจาระ พร้อมกันนำภาพอุจาระของคุณที่เคยเห็นมานึกควบคู่ไว้" การทำอย่างนี้ราคะจะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็จะถูกละได้ เป็นสมถะด้วยเป็นวิปัสสนาด้วย เป็นกิจอันเดียวกันครับ

ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ได้ต้องการให้เชื่อ แต่ต้องการให้ไปปฏิบัติตามดูแล้วจะรู้ว่าเป็นดั่งที่กล่าวไปหรือไม่ประการใด

ขอให้เจริญในธรรม


กรรมฐานคุณนี่นะ ประหลาดมาก
สับสนวุ่นวาย ลัดกระแสความเป้นจริงมาก
ผมไม่พูดแล้วล่ะ

แต่ผมอยากจะฝากอะไรให้คิดนิดนึง
ในฐานะเพื่อนมุ่งนิพพานด้วยกัน

คือให้ลดทิฐิลง ให้ไปหาครูบาร์อาจารย์
ไปให้ท่านสอน ให้ท่านชี้แนะ
อย่าคิดว่าเราพึ่งตัวเองได้ เราก้ทำไป เสียเวลาทั้งชีวิตนะ
อุตส่าห์ได้เกิดเป็นคน มันยากนะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร