วันเวลาปัจจุบัน 20 พ.ค. 2025, 15:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบันนี้มีผู้กล่าวตามกันมากว่าการใช้ความคิดช่วยในการพิจารณานั้นไม่ใช่การเจริญวิปัสสนา เช่น เห็นรถยนต์คันหนึ่งก็ใช้ความคิดช่วยไปว่ารถคันนี้จะต้องมีอันผุพัง เสียหายไปเป็นธรรมดา", "ผู้หญิงคนนี้ มีอันต้องแก่ เหี่ยวย่นไปเป็นธรรมดา" เป็นต้น และบอกว่าการทำอย่างนั้นจะเป็นการปิดบังไตรลักษณ์ อาจมีคำศัพท์ว่า "วิปัสสนึก" ดังนั้น ณ ที่นี้จะขอวิเคราะห์ แจกแจงไปทีละขั้นให้ทราบว่าจริงเท็จเป็นประการใดตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเอาไว้ หากตั้งใจอ่านจนจบแล้วพิจารณาอย่างเปิดใจ มีใจเป็นกลาง ประกอบด้วยกาลามสูตรและปราศจากอคติเพราะรักหรือชังคง จะไม่เสียใจที่ได้อ่านเลย จะเกิดสัมมาทิฐิ และจะปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้องไม่เนิ่นช้า เป็นสามารถเป็นแนวร่วมสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าสูญหาย บิดเบือนไป และเป็นการสืบต่อคำสอนของพระพุทธศาสนาเอาไว้ได้ทางหนึ่งดังนี้

ทำความเข้าใจขั้นที่ ๑. : ตอนไหนจัดว่ากำลังเจริญวิปัสสนาอยู่

ซึ่งหากสังเกตจะมีคำว่า ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ความวิจัยธรรม สัมมาทิฐิ*

[๗๐] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =598&Z=847

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำความเข้าใจขั้นที่ ๒ : สัมมาทิฐิเกิดขึ้นจากองค์ธรรมอะไรเป็นอุปการะสำคัญ

ซึ่งหากสังเกตจะพบว่า สัมมาทิฐิ จะเกิดขึ้นได้จากการเจริญโยนิโสมนสิการ คือ หมั่นกระทำในใจโดยแยบคาย

[๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนการทำในใจโดยแยบคายนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคาย สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญยิ่งขึ้น ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =867&Z=883

ทำความเข้าใจขั้นที่ ๓ : โยนิโสมนสิการคืออะไร

๑) จากพระไตรปิฏก
โยนิโสมนสิการ [การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย]


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 501&Z=7015

๒) จากอรรถกถา

โยนิโสมนสิการกับอโยนิโสมนสิการทั้ง ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่การทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย= การทำไว้ในใจโดยถูกทาง= การนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทำไว้ในใจ ซึ่งจิตในอนิจจลักษณะเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง หรือโดยสัจจานุโลมิก-ญาณ นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ที่ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ ได้แก่การทำไว้ในใจโดยไม่ถูกอุบาย ได้แก่การทำไว้ในใจโดยไม่ถูกทาง คือการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย= การทำไว้ในใจโดยผิดทาง ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา หรือคือการนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทำไว้ในใจซึ่งจิตโดยการกลับกันกับสัจจะ นี้เรียกว่าอโยนิโสมนสิการ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ เพื่อยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น และแก่ภิกษุผู้เห็นอยู่ โดยประการที่อโยนิโสมนสิการจะไม่เกิดขึ้น ดังที่พรรณนามานี้.
ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 2&i=10&p=1

๓) จาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

โยนิโสมนสิการ : การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง โดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุแยกแยะองค์ประกอบ จนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่วยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี;
ทียบ อโยนิโสมนสิการ


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โยนิโสมนสิการ

ทำความเข้าใจขั้นที่ ๔ : อโยนิโสมนสิการคืออะไร

๑) จากพระไตรปิฏก

[๙๖๐] อโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเป็นไฉน
ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาตัวตนว่าเป็นอัตตาตัวตน ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม หรือความนึก ความนึกเนืองๆ ความคิด ความพิจารณาความทำไว้ในใจ แห่งจิต โดยผิดจากความจริง นี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... A=12774&w=[๙๖๐]_อโยนิโสมนสิการ

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำความเข้าใจขั้นที่ ๕ : โยนิโสมนสิการเป็นองค์ธรรมอันมีอุปการมากประการเดียวที่จะทำให้บรรลุอรหันต์ได้

[๑๙๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ เราไม่พิจารณาเห็นแม้เหตุอันหนึ่งอย่างอื่น กระทำเหตุที่มี ณ ภายในว่ามีอุปการะมาก เหมือนโยนิโสมนสิการนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมนสิการโดยแยบคาย ย่อมละอกุศลเสียได้ ย่อมเจริญกุศลให้เกิดมี ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ธรรมอย่างอื่นอันมีอุปการะมาก เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุดแห่งภิกษุผู้เป็นพระเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ไม่มีเลย ภิกษุเริ่มตั้งไว้ซึ่งมนสิการโดยแยบคาย พึงบรรลุนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งทุกข์ได้ ฯ เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 644&Z=4660

ทำความเข้าใจขั้นที่ ๖ : โยนิโสมนสิการเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค และเป็นองค์คุณแห่งการบรรลุโสดาบัน

๑) โยนิโสมนสิการเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๗๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 9&A=943&w=โยนิโสมนสิการเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

๒) โยนิโสมนสิการเป็นองค์คุณแห่งการบรรลุโสดาบัน

สาริปุตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา
[๑๔๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ ๑-ๆ ดังนี้ โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน?
[๑๔๒๘] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการกระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.
[๑๔๒๙] พ. ถูกละๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรมสวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=8317&w=ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำความเข้าใจขั้นที่ ๗ : ตัวอย่างการเจริญโยนิโสมนสิการ

๑) จากพระไตรปิฏก

๑.๑) ตัวอย่างการใช้ในตอนพิจารณาอาหาร : ปัจจุบันยังมีอยู่ตอนก่อนฉันอาหารของพระ แต่ตามจริงใช้การนึกในใจก็ได้ไม่แตกต่างกัน

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ
พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไปเพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่าจะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วยจะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เราฉะนี้
พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัดหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีกออกเร้นอยู่
พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือ ยาอันเป็นปัจจัยบำบัดไข้ เพียงเพื่อกำจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ.


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 2&A=317&w=ว่าด้วยละอาสวะได้เพราะการพิจารณา

๑.๒) ตัวอย่างการใช้อุบายพิจารณาอสุภนิมิตเพื่อสิ้นราคะ, เมตตาเจโตวิมุตเพื่อสิ้นโทสะ, ใช้โยนิโสมนสิการ(ทุกแบบ) เพื่อไม่ให้โมหะสิ้นโมหะ

ถ้าเขาถามอีกว่า ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า อสุภนิมิต คือ ความกำหนดหมายว่าไม่งาม เมื่อบุคคลทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงอสุภนิมิต ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ถ้าเขาถามต่อไปว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า เมตตาเจโตวิมุติ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงเมตตาเจโตวิมุติโทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลายข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า โยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้
ผู้มีอายุทั้งหลายข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ฯ


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 268&Z=5319

๑.๓) การสิ้นสังโยชน์ด้วยการนึกธรรมตามที่ได้ยินได้ฟังมา

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ดูกรอานนท์ นี้ เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ฯ

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=8948&w=๒._ผัคคุณสูตร

๒) จากอรรถกถา

เหตุเกิดพยาบาท

ส่วนพยาบาท ย่อมเกิด เพราะอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิต. ปฏิฆะ(ความขุ่นใจ) ก็ดี อารมณ์อันช่วยให้เกิดปฏิฆะก็ดี ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต ในคำว่าปฏิฆนิมิต เป็นต้นนั้น. อโยนิโสมนสิการ มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน ในธรรมทั้งปวง. เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมาก ๆ ใน (ปฏิฆะ) นิมิตนั้นพยาบาทย่อมเกิด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การไม่ทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทำให้พยาบาทที่เกิดแล้ว กำเริบเสิบสานขึ้นดังนี้.

เหตุละพยาบาท

แต่พยาบาทนั้น จะละได้ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย ในเมตตาเจโตวิมุตติ. ในคำว่า เมตตาเจโตวิมุตินั้น เมื่อพูดกันถึงเมตตา ย่อมควรทั้งอัปปนาทั้งอุปจาระ. บทว่า เมตตาเจโตวิมุตติ ได้แก่อัปปนาโยนิโสมนสิการมีลักษณะดังกล่าวแล้ว. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมาก ๆ ในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ย่อมละพยาบาทได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ (ในสังยุตกายมหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละพยาบาทที่เกิดแล้วดังนี้.


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=273&p=4

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป : ทั้งหมดทั้งสิ้นที่ได้กล่าวไป พอสรุปอย่างสั้นๆ ได้ว่า

วิปัสสนา = สัมมาทิฐิ <= โยนิโสมนสิการ (การทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย= การทำไว้ในใจโดยถูกทาง = การนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทำไว้ในใจ ซึ่งจิตในอนิจจลักษณะเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง)

ดังนั้นเมื่อเจริญโยนิโสมนสิการไปแล้วจะทำให้เห็นไตรลักษณ์ได้จริงหรือไม่ ทำให้สำเร็จอรหันต์ได้หรือเปล่า กรุณาลองพิจารณา ว่าหากคุณจะเลือกเชื่อแล้วคุณจะเลือกเชื่อใครระหว่างพระสูตรที่ยกมาอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า กับความเห็น ความจำที่คุณมีอยู่เดิมที่ไม่ตรงกับพระสูตรเหล่านี้ แต่ถ้าคุณไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร ขอให้ไปลองพิสูจน์ แต่หากไม่เชื่อและไม่พิสูจน์ด้วย พิจารณาเห็นว่าคงจะช่วยอะไรไม่ได้แล้ว เพราะเป็นเพียงผู้ชี้ทางเท่านั้น....

"ดูกรมาเถิด ถึงเวลาสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาแล้ว..."

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b8:
ขอบคุณมากครับ พระสูตรดีๆทั้งนั้น
วิธีที่คุณอ้างมาก็นับว่าจริงครับ
เพียงแต่....ถ้ามัวเดิน นั่ง นอน ยืน พิจารณาไปวันๆนึง กิเลสเอาไปกินมากครับ
จะบรรลุหรือผ่านยาก เพราะฉนั้น ท่านจึงได้ตรัสวิธีการต่างๆมากมาย
ที่คุณหาพระสูตรมา ชอบแล้ว ความเห็นผมเพียงว่า ที่หามานั้น ตรงกับ
การตรัสถึงวิธีทางสมถะ และ วิปัสสนา เพราะคนมากจึงจริตมาก
เพราะเห็นมาต่างกันจึงมากด้วยจริต เพราะสั่งสมกรรมมาไม่เหมือนกัน
จริตก็เลยมาก วิธีเลยมาก การตรัสพระสูตรแต่ละครั้งเลยมุ่งสอนเป็นคนๆ
เป็นหมู่ๆ

:b8:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 13:10
โพสต์: 43


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนา สาธุครับ ผมก็ปฏิบัติแบบนี้อยู่ครับ ดูจิตดูกายบ้าง พิจารณาบ้าง ให้เห็นไปตามธรรมที่มันเป็นอยู่ พอทำบ่อยๆ มันจะมีปัญญาออกมาพอมองอะไรไปก็จะเห็นเป็นก้อนธาตุทั้งนั้น จะเห็นทุกอย่างเป็นธรรมชาติไปหมด ไม่ว่าคน สัตว์ สิ่ิงของ เป็นสิ่งที่ถูกรู้และเกิดจากการปรุงแต่งของจิตทั้งนั้น แต่จิตมันก็ยังไม่นิ่ง มันยังดิ้นล้นหาทุกข์หาสุขอยู่ เพราะว่ามันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันบังคับบัญชาไม่ได้ ก็ต้องพิจารณาช่วยบ้างยามมีสมาธิ ก็ช่วยให้สว่างได้ครับ ปฏิบัติแบบนี้แล้วแต่บุคคลน่ะครับ อาจจะใช้ไดบ้าง้และอาจใช้ไม่ได้บ้าง ผมเขียนตามความรู้สึกของผมน่ะครับ บ้างคนอาจจะปกฺบัติแตกต่างกันไปได้ แต่อาจได้รับความรู้สึกที่เป็นจริงเหมือนอย่างผมก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณกามโภคี และคุณ Tboon ครับ

จุดมุ่งหมายของกระทู้นี้ ก็เพื่อให้รู้ว่าจริงๆ แล้วการนึกคิดตามเป็นจริง ก็จัดว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาได้ สามารถทำให้เห็นไตรลักษณ์ได้เช่นเดียวกัน เป็นองค์ธรรมสำคัญเรียกว่า "โยนิโสมนสิการ"

แนะนำสำหรับผู้ที่อ่าน เวลานำไปประพฤติปฏิบัติ จะนำไปใช้แบบที่คุณ Tboon บอกมา คือ เราจะใช้ตลอดเวลาเลยก็ได้ คือ เวลารับรู้อะไรทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็ตาม ก็ให้พิจารณาถึงลักษณะไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง เช่น เห็นผู้หญิงก็ให้พิจารณาไป ใคร่ครวญไปให้เห็นถึงว่าไม่เที่ยงอย่างไร หรือประกอบไปด้วยสิ่งสกปรกอะไร เป็นต้น หรือนำไปใช้เป็นเหมือนกรรมฐานหลักตลอดเวลาเลยก็ได้ เช่น ให้เห็นอนิจลักษณะอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น

หากจะนำไปใช้สลับช่วงกับการฝึกสมถะ เช่น เราฝึกสติสัปมชัญญะด้วยการดูจิตอยู่, ภาวนาพุทโธ, ภาวนาอานาปานสติอยู่ เป็นต้น เวลาอื่นๆ เราก็สลับไปใช้โยนิโสมนสิการอย่างนี้ไปก็ได้เช่นเดียวกัน

ขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติเสริมด้วยคำแนะนำจากพระสุปฏิปัณโนดังนี้ครับ :b8: :b8: :b8:

วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 1
วิปัสสนาภูมิ 6 คืออะไร
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)


ตาม ธรรมดาการกระทำงานใดๆ ก็ต้องมีสถานที่ที่ทำงาน หรือ การจะเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารใดๆ นั้น ก็ต้องมีพื้นที่เพาะปลูก เช่น การปลูกข้าวเจ้าก็ต้องมีพื้นที่นา ปลูกข้าวโพด, มัน ก็ต้องมีพื้นที่ไร่ เป็นต้น ฉันใดก็ดี การเจริญวิปัสสนาก็ต้องมีที่ทำงาน หรือมีที่เพาะปลูกเหมือนกัน ภูมิพื้นที่เพาะปลูกให้ วิปัสสนาเจริญขึ้นนั้นเรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ฉะนั้น วิปัสสนาภูมิ ก็หมายถึง พื้นที่กระทำวิปัสสนา หรือกรรมฐานของวิปัสสนา หรือ อารมณ์ของวิปัสสนา หมายความว่า การเจริญวิปัสสนานั้นต้องกำหนดรู้อยู่ที่วิปัสสนาภูมิ

วิปัสสนาภูมิที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น มีอยู่ 6 ภูมิด้วยกัน เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ 6 แต่เมื่อย่อวิปัสสนาภูมิลงแล้ว คงได้ 2 อย่างคือ รูปธรรม กับ นามธรรม กล่าวสั้นๆ ว่า รูป-นาม

การเจริญวิปัสสนานั้น จะต้องมีเฉพาะรูปนามเท่านั้นเป็นอารมณ์หรือเป็นกรรมฐาน หรือเป็นที่ตั้งของวิปัสสนา เรียกว่า ทางเดินของวิปัสสนาคือ รูปนามเท่านั้น

เฉพาะคำว่า วิปัสสนา แปลว่าเห็นแจ้ง, เห็นวิเศษ ซึ่งได้แก่ ตัวปัญญานั่นเอง แต่ปัญญาในที่นี้ เป็นความรู้เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หมายถึงว่าเป็นความรู้เห็นของจริง ตามเป็นจริง ของจริงก็คือรูปนาม ตามความเป็นจริงก็คือ รูปนามมีสภาพ อนิจจัง คือไม่เที่ยง ทุกขัง คือเป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อนัตตา คือบังคับบัญชาไม่ได้ ดังนั้นการเจริญวิปัสสนา ก็ต้องกำหนดรู้อยู่ที่รูปนาม ตามเป็นจริงว่า มีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และบังคับบัญชาไม่ได้

แผนผังแสดงวิปัสสนาภูมิ 6
วิปัสสนาภูมิ 6 คืออะไร

1) ขันธ์ 5 คือ กองทั้ง 5

2) อายตนะ 12 คือสะพานเครื่องเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ มี 12

3) ธาตุ 18 คือ สิ่งที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน มี 18

4) อินทรีย์ 22 คือ ความเป็นใหญ่ มี 22

5) อริยสัจจะ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ มี 4

6) ปฏิจจสมุปบาท 12 คือ ความประชุมพร้อมด้วยเหตุผล มี 12


1. ขันธ์ มี 5 คือ

1) รูปขันธ์ กองรูป องค์ธรรม ได้แก่ รูป 28

2) เวทนาขันธ์ กองเวทนา องค์ธรรม ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในจิต 89 หรือ 121

3) สัญญาขันธ์ กองสัญญา องค์ธรรม ได้แก่ สัญญาเจตสิกที่ในจิต 89 หรือ 121

4) สังขารขันธ์ กองสังขาร องค์ธรรม ได้แก่ เจตสิก 50 (เว้นเวทนา, สัญญา) ที่ในจิต 89 หรือ 121 ตามสมควร

5) วิญญานขันธ์ กองจิต องค์ธรรม ได้แก่ จิต 89 หรือ 121


2. อายตนะ มี 12 คือ

1) จักขายตนะ จักขุ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท

2) โสตายตนะ โสตะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท

3) ฆานายตนะ ฆานะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท

4) ชิวหายตนะ ชิวหา ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท

5) กายายตนะ กายะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรม ได้แก่ กายปสาท

6) รูปายตนะ รูปารมณ์ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ สีต่างๆ

7) สัททายตนะ สัททารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ เสียงต่างๆ

8) คันธายตนะ คันธารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ

9) รสายตนะ รสารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ รสต่างๆ

10) โผฏฐัพพายตนะ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่างๆ

11) มนายตนะ จิต ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด

12) ธัมมายตนะ สภาพธรรมต่างๆ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ เจตสิก 52 สุขุมรูป 16 นิพพาน


3. ธาตุ มี 18 คือ

1) จักขุธาตุ จักขุ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่รูปารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ จักขุประสาท

2) โสตธาตุ โสตะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่สัททารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท

3) ฆานธาตุ ฆานะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่คันธารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท

4) ชิวหาธาตุ ชิวหา ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่รสารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท

5) กายธาตุ กายะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่โผฏฐัพพารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท

6) รูปธาตุ รูปารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับจักขุปสาทได้องค์ธรรม ได้แก่ สีต่างๆ

7) สัททธาตุ สัททารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับโสตปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ เสียงต่างๆ

8) คันธธาตุ คันธารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับฆานปสาท ได้องค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ

9) รสธาตุ รสารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับชิวหาปสาทได้องค์ธรรม ได้แก่ รสต่างๆ

10) โผฏฐัพพธาตุ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับกายปสาท ได้องค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่างๆ

11) จักขุวิญญาณธาตุ จักขุวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราทรงไว้ซึ่งการเห็นองค์ธรรม ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต 2

12) โสตวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ ทรงไว้ซึ่งการได้ยิน องค์ธรรมได้แก่ โสตวิญญาณจิต 2

13) ฆานวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้กลิ่นองค์ธรรม ได้แก่ ฆานวิญญาณจิต 2

14) ชิวหาวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้รสองค์ธรรมิ ได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต 2

15) กายวิญญาณธาตุ กายวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้สัมผัสองค์ธรรม ได้แก่ กายวิญญาณจิต 2

16) มโนธาตุ จิต 3 ดวง ชื่อว่ามโนธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้ปัญจารมณ์อย่างสามัญ องค์ธรรมได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต 1 สัมปฏิจฉันจิต 2

17) มโนวิญญาณธาตุ จิต 76 ดวง ชื่อว่ามโนวิญญาณธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้ อารมณ์เป็นพิเศษองค์ธรรมได้แก่ จิต 76 (เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต 10 มโนธาตุ 3)

18) ธัมมธาตุ สถาพธรรม 69 ชื่อว่าธัมมธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวลักษณะของตนๆ องค์ธรรมได้แก่ เจตสิก 52 สุขุมรูป 16 นิพพาน


4. อินทรีย์ มี 22 คือ

1) จักขุนทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเห็นองค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท

2) โสตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการได้ยินองค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท

3) ฆานินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้กลิ่นองค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท

4) ชิวหินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้รสองค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท

5) กายินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการสัมผัสองค์ธรรมได้แก่ กายปสาท

6) อิตถินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเป็นหญิงองค์ธรรมได้แก่ อิตถีภาวรูป

7) ปุริสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเป็นชายองค์ธรรมได้แก่ ปุริสภาวรูป

8) ชีวิตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปและนามองค์ธรรมได้แก่ ชีวิตรูป และชีวิตินทรีย์เจตสิก

9) มนินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรับอารมณ์องค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด

10 ) สุขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขกายองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในสุขสหคตกายวิญญาณจิต 1

11) ทุกขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความทุกข์กายองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในทุกขสหคตกายวิญญาณจิต 1

12) โสมนัสสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขใจองค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในโสมนัสสหคตจิต 62

13) โทมนัสสินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยความทุกข์ใจองค์ธรรม ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต 2

14) อุเปกขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการเสวยอารมณ์ที่เป็นกลาง องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในอุเบกขาสหคตจิต 55

15) สัทธินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเชื่อต่อสิ่งที่ควรเชื่อองค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิกที่ในโสภณจิต 91

16) วิริยินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในความเพียรองค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิกที่ในวิริยสัมปยุตตจิต 105

17) สตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการระลึกชอบองค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในโสภณเจตสิก 91

18) สมาธินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการตั้งมั่นในอารมณ์อันเดียวองค์ธรรมได้แก่ เอกัตคตาเจตสิกที่ในจิต 72 (เว้นอวิริยจิต 16 วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต 1)

19) ปัญญินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้ตามความเป็นจริงองค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในญาณสัมปยุตตจิต 47 หรือ 79

20) อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4 ที่ตนไม่เคยรู้องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในโสดาปัตติมรรคจิต 1

21) อัญญินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4 ที่ตนเคยรู้องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในมรรคจิตเบื้องบน 3 และผลจิตเบื้องต่ำ 3

22 ) อัญญาตาวินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจ์ 4 สิ้นสุดแล้วองค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ในอรหัตตผลจิต 1


5. อริยสัจจะ มี 4 คือ

1) ทุกขสัจจะ ธรรมชาติที่เป็นทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ โลกียจิต 81, เจตสิก 51 (เว้น โลภะ), รูป 28

2) สมุทยสัจจะ ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก

3) นิโรธสัจจะ ธรรมที่เป็นเครื่องดับทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ นิพพาน

4) มรรคสัจจะ หนทางที่เป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ เป็นความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย องค์ธรรม ได้แก่ มัคคังคเจตสิก 8 ดวง มีปัญญาเจตสิก เป็นต้น ที่ในมรรคจิต 4


6. ปฏิจจสมุปบาท 12

1) อวิชชา ธรรมชาติที่เป็นไปตรงกันข้ามกับปัญญาคือ การไม่รู้ตามความเป็นจริง ที่ควรรู้ รู้แต่สิ่งที่ไม่เป็นไปตามความเป็นจริงที่ควรรู้ ได้แก่ โมหเจตสิก

2) สังขาร ธรรมชาติที่ปรุงแต่งสังขตธรรมที่เป็นผลโดยตรง ได้แก่ เจตนาที่ในอกุศล และโลกียกุศล

3) วิญญาณ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์เป็นพิเศษ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ คือปฏิสนธิจิต 19 และปวัตติวิญญาณ คือ โลกิยวิปากจิต 32

4) นามรูป ธรรมชาติที่น้อมไปในอารมณ์ ชื่อว่า นาม ได้แก่ เจตสิก 35 ที่ประกอบกับ โลกิยวิบากจิต 32 ธรรมชาติที่สลายไป เพราะปัจจัยเป็นปฏิปักษ์ ชื่อว่า รูป ได้แก่ ปฏิสนธิกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป, จิตตชรูป

5) สฬายตนะ ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งวัฏฏสงสารที่ยืนยาว ได้แก่ อัชฌัติกายตนะ 6

6) ผัสสะ ธรรมชาติที่กระทบซึ่งอารมณ์ ได้แก่ ผัสสเจตสิก ที่ประกอบกับโลกิยวิบากจิต 32

7) เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ ได้แก่ เวทนา 6 ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัมผัสสะ มีจักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นต้น

8) ตัณหา ธรรมชาติที่ติดใจซึ่งวัตถุกาม ได้แก่ โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต 8

9) อุปาทาน ธรรมชาติที่เข้าไปยึดมั่น ได้แก่ ตัณหาและทิฏฐิที่มีกำลังมาก

10) ภวะ (กัมมภวะ,อุปัตติภวะ) ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ผลเกิดขึ้น ชื่อว่า กัมมภาวะ ได้แก่ อกุศลเจตนา 12 โลกิยกุศลเจตนา 17 ธรรมชาติที่เข้าไปเกิดในภพใหม่ด้วย ได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยกรรมด้วย ชื่อว่า อุปัตติภวะ ได้แก่ โลกิยวิปากจิต 32 เจตสิก 35, กัมมชรูป 20

11) ชาติ ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการปรากฏเกิดขึ้นของสังขารธรรมได้แก่ปฏิสนธิชาติ (การเกิดขึ้นครั้งแรกในภพใหม่)

12) ชรา มรณะ และ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส

ชรา ความเก่าแก่ของวิบากนามขันธ์ 4 และนิปผันนรูป ชื่อว่า ชรา

มรณะ ความตาย คืออาการที่กำลังดับของ โลกิยวิบาก และกัมมชรูป ชื่อว่า มรณะ โสกะ ความเศร้าโศก ชื่อว่า โสกะ ได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับ โทสมูลจิต 2 ซึ่งเกิดจากพยสนะ 5 อย่าง

ปริเทวะ การร้องไห้รำพัน ชื่อว่า ปริเทวะ ได้แก่ จิตตชวิปปลาสสัททะที่เกิดขึ้นโดยมีการร้องไห้รำพัน เพราะอาศัยพยสนะ 5 อย่างๆ ใดอย่างหนึ่งเป็นเหตุ ทุกขะ เวทนาที่อดทนได้ยาก ชื่อว่า

ทุกข์ ได้แก่ กายิกทุกขเวทนา
โทมนัส สภาพที่เป็นเหตุให้เป็นผู้มีใจคอไม่ดี ได้แก่ เจตสิกทุกข์คือ ทุกข์ใจ
อุปายาส ความลำบากใจอย่างหนัก ชื่อว่า อุปายาส ได้แก่ โทสเจตสิกที่เกิดขึ้นโดยอาศัยพยสนะอย่างใดอย่างหนึ่ง


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7063

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้สึกแปลกๆ มันขัดๆยังไงไม่รู้นะ

โยนิโสมนสิการเนียะคับ

สติ ก้เป้นการวางใจไว้โดยแยบคาย
แยบคายสุดๆเลยล่ะ

แต่มันคนละแยบคายกับการน้อมคิด
เช่น มองคนหน้าตาดีภายในเป้นก้อนเนื้อ มีกระดูก
หรือไปดูอสุภะ พวกนี้ก็แยบคาย แต่คนละแยบคายกันกับสติ

ผมคิดว่า โยนิโสเนียะมันเป้นหลักการ
แต่"ความคิด"หรือ"น้อมไปคิด" มันก็เป้นวิธีการหนึ่งของหลักการ

เปรียบง่ายๆว่ามันเป้นการบวกลบคูนหาร
4 อย่างนี้เป้นหลักการ

แตว่าถ้าไปใช้กับ ป1. เราก้บวกลบคูนหารอย่างนึง
แต่มหาลัยก็ต้องมาอินทิเกรดอะไรวุ่นวายไปหมด แต่ยังไงก้อยู่ในหลักการ 4 อย่างนั้น


สรุปว่า โยนิโส น่าจะมีความลึกซึ้งตามลำดับภูมิจิตภุมิใจ
ไม่ควรเหมาว่า "ความคิด" = "โยนิโสมนสิการ"
แล้วไปเอาพุทธพจนืที่ท่านว่า โยนิโสมนสิการแล้วเข้านิพพานได้


ถ้าพูดว่า "โยนิโสมนสิการ คือ ความคิด" อันนี้ผมเห้นว่าโอเคระดับหนึ่ง
แต่ถ้ากลับกัน "ความคิด คือ โยนิโสมนสิการ" อันนี้ผมเห้นว่าผิด
ที่จริงต้องใช้คำว่า "ความคิด เป้นส่วนหนึ่งของโยนิโสมนสิการ"
แปลไทยเป้นไทยอีกทีว่า "โยนิโสมนสิการ มีความคิด เป้นต้น"
ซึ่งไปตรงกับพุทธพจน์ที่ยกมา ท่านจารไนยไว้ตั้งหลายอย่าง ไม่ใช่มีแต่ความคิด


ผมไม่เคยได้ยินว่า "ลำพังคิดอย่างแยบคายแล้วนิพพาน"ได้นะ
มีแต่ "มีสติรู้ความนึกคิด " อันนี้ได้ยินบ่อยๆ และเข้านิพพานได้

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:10
โพสต์: 66


 ข้อมูลส่วนตัว


งง หนัก :b23: ยิ่งอ่านยิ่ง งงงงง ทำไมมันยากจั๋งซิ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 13:10
โพสต์: 43


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเสริมน่ะครับ เราต้องรู้สึกในสิ่งที่เรารู้แบบนั้นมันเกิดแล้วก็ดับ มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้จริงๆ ตามธรรมของพระพุทธเจ้า ใช้คิดเอาก็ไม่เห็นน่ะครับ ผมก็ปฏิบัติหลงทางบ้าง ตรงทางบ้าง จนความรู้สึกนี้เกิดขื้นมาก็คือปัญญาที่แจ้งครับแต่ก็แค่ระดับหนึ่งเท่านั้นยังไม่พ้นทุกข์ครับ ในชีวิตประจำวันผมก็ดูใจบ้างว่ามีอะไรโผล่ขึ้นมาในใจถ้าโกรธผมก็รู้ว่าโกรธแล้วผมก็ไม่คิดปรุงแต่งแก้อาการที่ผมรู้ปล่อยมันไปจนมันดับไป ไม่ว่าสภาวใดที่เกิดขึ้นทุกข์ สุข หยาก มีราคะ โกรธ ก็ดูอยู่อย่างนี้ จะเห็นมันเกิดแล้วก็ดับ ส่วนกายผมก็รู้อย่างเดียว เดินก็รู้ว่าเดิน นั่งก็รู้ว่านั่ง ยืนก็รู้ว่ายืน เจ็บก็รู้ว่าเจ็ย วิปัสนาเหมือนมันอยู่ในชีวิตอยู่แล้วตั้งแต่ตื่นจนหลับ ต้องมีสติที่จะระลึกรู้ โดยการรู้บล่อยๆ เมื่อเราเผลอสติมันจะมาเองครับอย่างเช่นเวลาเดินผมก็รู้ว่าเดิน แล้าก็ไปทำอะไรไป พอก้าวเดินอีกทีสติมันมาเองเลยครับ ถ้านั่งสมาธิจนสงบแล้วผมก็ใช้(คิด) สุขเกิดแล้วก็ดับมันเป็นทุกข์บังคับบัญชาไม่ได้จะวนอยู่อย่างนี้ครับ ถ้านั่งแล้วจิตคิดไปเองก็เฝ้าตามรู้ไปจนมันดับ หรือพอเผลอไปคิดก็รู้ว่าเผลอไปคิด เผลอไปคิดมันก็ดับไป จนวันนี้ผมรู้สึกเห็นเป็นจริงตามที่พระครูอาจารย์ต่างๆที่ท่านสอนมามันจะเกิดความรู้สึกเหมือนกะทู้แลกน่ะครับ สุข ทุกข์มันเหมือนจะอยู่ห่างจากเราไปทุกที(เขียนตามความรู้สึก)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณผู้การเรือเร่ครับ

ข้อที่คุณกล่าวมาว่า "ความคิด คือ โยนิโสมนสิการ อันนี้ผมเห็นว่าผิด" ตรงนี้คุณกล่าวถูกแล้วครับเพราะโยนิโสมนสิการไม่ใช่ตัวความคิด แต่เป็นกริยาอาการที่น้อมเข้าไปคิด การเข้าไปคิด การนึก หากจะให้สรุปสั้นๆ จะเหมือนกับเป็นโยนิโสมนสิการเป็นเหตุ ความคิดเป็นผลครับ

และโยนิโสมนสิการก็ไม่ใช่มีแต่กริยาอาการคิดอย่างเดียว ยังมีอย่างอื่นด้วย ลองดูความหมายอีกทีนะครับแต่จะบอกการน้อมเข้าไปใช้ความคิดช่วยไม่ใช่โยนิโสมนสิการ หรือไม่ใช่การเจริญวิปัสสนาไม่ได้ พึงเทียบตัวอย่างต่อไปนี้เพิ่มเติมนะครับ

ให้ลองเจริญโยนิโสมนสิการเพื่อให้เห็นความไม่เที่ยงกัน ลองทำดูเลยนะครับ ให้คุณลองพิจารณาร่างกายของคุณนี้แหละเพื่อให้เห็นว่าเป็นไตรลักษณ์อย่างไรบ้าง โดยตอบคำถามที่ผมถามต่อไปนี้ทีละข้อนะครับ

๑) "ร่างกายนี้เที่ยง หรือไม่เที่ยง?" ให้ตอบครับ
๒) "ที่ว่าไม่เที่ยง ไม่เที่ยงอย่างไรบ้าง" นึกให้ละเอียด ให้ลองคิดจับผิดดูก็ได้ว่ามีอะไรเที่ยงหรือไม่ อยู่ส่วนไหน อวัยวะไหนเที่ยงบ้าง
๓) "เมื่อร่างกายนี้ไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า?"
๔) "ที่ว่าเป็นทุกข์ เป็นทุกข์อย่างไรได้บ้าง"
๕) "เมื่อร่างกายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันแปรไปดับไปเป็นธรรมดา ร่างกายนี้จึงใช่เรา จึงใช่ของเราหรือเปล่า?"

นี่เป็นตัวอย่างในการใช้โยนิโสมนสิการเพื่อตั้งคำถาม แล้วตอบ เพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งหากคุณหมั่นเห็น หมั่นรู้อยู่บ่อยๆ ทำไปอย่างแยบคาย ละเอียดละออแล้ว ความปล่อยวางในร่างกายจะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งเวลาคุณไปปฏิบัติจริงๆ คุณอาจจะไม่ต้องตั้งคำถามมากอย่างนี้ก็ได้ คุณอาจจะใช้คำตอบของคุณไปเลย เช่น เมื่อเห็นหน้าเรา หรือเห็นหน้าคนอื่น เราก็ใช้โยนิโสมนสิการไปว่า "ผิวหน้านี้ไม่เที่ยง มีอันต้องเหี่ยวย่น พุพังไปเป็นธรรมดา (ไปพร้อมกับนึกถึงภาพใบหน้าคนที่เหี่ยวอันเราเคยเห็นก่อนไปพร้อมกัน)" เป็นต้น อย่างนี้ก็ได้ และก็ใช้กับทุกสิ่งที่คุณได้รับรู้เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็ได้ จะพิจารณาเฉพาะแง่ไม่เที่ยง พิจารณาเฉพาะแง่ทุกข์ เฉพาะแง่อนัตตา หรือแง่ความจริงอื่นๆ ก็ได้ ที่สำคัญพิจารณาแง่ใด แง่นั้นจะต้องเป็นความจริง ที่อาจจะเกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนี้หรือจะเกิดขึ้นต่อไป หรือเคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้งโดยตรง หรือโดยอ้อมก็ได้

มากล่าวถึงสมัยพุทธกาล มีคำถามทำนองนี้ที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งคำถามและทรงแสดงขึ้นมาทำให้คนบรรลุธรรมกันก็ไม่น้อย เคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่าทำไมบางคนถึงฟังธรรมเพียงครั้งเดียวแล้วบรรลุเลย อาจจะมีคนตอบว่าเพราะสั่งสมบารมีมามาก ซึ่งก็เป็นส่วนถูกอยู่ แต่มีส่วนที่ถูกอีกอย่างหนึ่ง คือ ไม่ว่าใครจะบรรลุได้นั้นจะต้องผ่านการเจริญวิปัสสนาก่อนทั้งสิ้น และวิธีอะไรเล่าที่พวกเขาใช้เจริญวิปัสสนากันตอนขณะฟังธรรมแล้วทำให้บรรลุทันทีเลย หากพิจารณาต่อไปดีๆ แล้ว พวกเขาเหล่านี้ล้วนยังไม่รู้จักวิธีการดูจิต หรือวิธีเจริญวิปัสสนาอะไรๆ ในพุทธศาสนามาก่อนเลย ตรงนี้คงยากจะหาคำตอบได้จริงๆ แต่หากเรานำหลักการของโยนิโสมนสิการดังกล่าวมาข้างต้นมาเทียบเคียงแล้วจะทำให้เห็นถึงความเป็นไปได้มากกว่า เขาได้ใช้การเจริญวิปัสสนาอย่างเรียบง่ายอันไม่ใช่อะไรไหนไกล คือ การคิดพิจารณาตามไป คิดพิจารณาเพื่อจะตอบคำถามอย่างที่เราได้คิดหาคำตอบเมื่อใครตั้งโจทย์คณิตศาสตร์อะไรสักอย่างหนึ่งขึ้นมานั่นแหละ หมายถึง เมื่อเขาได้ฟังคำถามจากพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ใช่ว่าเขาจะเชื่อเลย หรือตอบได้ทันทีเลยเหมือนกับพวกเราที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะพวกเขาเหล่านั้นทั้งหมดนับถือศาสนาพราห์ม หรือนิกายอื่น ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือนับถือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เขาย่อมต้องคิดใคร่ครวญก่อนไม่มากก็น้อย หรือบางท่านเรียกว่าคิดเพื่อจ้องจับผิดในคำถามที่พระพุทธเจ้าถามก็มี ว่าที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่เที่ยงนั้นจริงหรือไม่เป็นทุกข์จริงหรือไม่ไม่ใช่ตัวตนจริงหรือไม่ ซึ่งเมื่อเขายิ่งคิด ยิ่งพิจารณาไปไม่ว่าอะไรใดๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคตก็ตาม ล้วนเป็นอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสทั้งสิ้น ระหว่างที่เขาคิดอยู่นี้ สติของเขาก็จะจดจ่อ สมาธิของเขาก็เกิดขึ้นตามมา มรรคจะเกิดขึ้นครบถ้วนไปพร้อมกันได้ ในที่สุดก็เกิดปัญญารู้เชื่อมั่นไม่หวั่นไหวว่าไม่มีอะไรเลยที่ไม่เป็นดังพระพุทธเจ้าว่า ด้วยสภาวะดังกล่าวข้างต้น ผลจึงเกิดขึ้นตามมา เกิดดวงตาเห็นธรรม

มีอยู่สิ่งหนึ่งที่สำคัญ ควรจะทราบเอาไว้ คือ เพราะอะไรเราถึงสามารถได้คำตอบในแต่ละคำถามมาได้ เราเอาคำตอบมาจากไหน เราเอาคำตอบมาจากสัญญาเก่าๆ นั่นเอง เรานำเอาสัญญา คือ ความจำที่เราได้เคยเรียนรู้มา ที่เคยเห็นได้รู้ได้ทราบมาตอบ เช่น ลักษณะที่ว่าไม่เที่ยง เราก็รู้ว่าไม่เที่ยงเพราะเราเคยเห็นเส้นผมมันหลุดร่วง ฟันเราก็เคยเห็นมาว่าไม่เที่ยงต้องหลุดไป เรารู้ว่าต้องตายเพราะเราเคยเห็นคนอื่นตายมา ฯลฯ ความจำต่างๆ เหล่านี้ถูกคัดสรรค์ขึ้นมาระหว่างหาคำตอบ เฉพาะที่ตรงกับคำถาม ซึ่งความจำเหล่านี้เป็นเหตุให้เห็นความจริง เห็นไตรลักษณ์ เป็นเหตุทำให้บรรลุธรรม หลุดพ้นได้ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "สัญญาอบรมวิมุติ"

[๓๐๓] สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง
๑. อนิจจสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง]
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง]
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์]
๔. ปหานสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าควรละเสีย]
๕. วิราคสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความคลายเสียซึ่งความกำหนัด]


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 501&Z=7015

***************

สัญญาสูตรที่ ๒

[๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิฉิททกสัญญา ๑ อุทธุมาตกสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๑๐ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ฯ

จบสูตรที่ ๗


****************
สภาวะที่เกิดสืบเนื่องเมื่อพิจารณาอย่างข้างต้นแล้ว
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=2229&w=การหลีกออก_๒_วิธี

ศึกษาตัวอย่างของภิกษุณีที่บรรลุด้วยการหมั่นเจริญอสุภสัญญาเพิ่มเติมได้ที่ : -
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=6484&w=ว่าด้วยบุพจริยาของพระอภิรูปนันทาเถรี

ธรรม ๕ ประการที่มีเจโตวิมุต และปัญญาวิมุติเป็นผล : -
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=1959&w=โยธาชีววรรคที่_๓


ดังนั้นหากเราหมั่นนำสัญญาเหล่านั้นมานึกถึงบ่อยๆ มาเทียบเคียงบ่อยๆ อยู่เนื่อง ชื่อว่าย่อมเจริญสัญญาอบรมวิมุติประการต่างๆ ยิ่งทำบ่อยๆ หมั่นรู้ หมั่นเห็นบ่อยๆ ย่อมจะทำให้หลุดพ้นในที่สุดครับ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการ คือ ความคิด แต่เป็นความคิดแบบมีสติ สัมปชัญญะ ไม่ใช่คิดแบบทั่วๆไปค่ะ :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2009, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความเห็นของคุณ walaiporn ครับ

ต่อไปขอแสดงให้ทราบว่าการเจริญโยนิโสมนสิการ ด้วยวิธีการคิดแบบที่ได้แนะนำบอกไปข้างต้นนั้น ท่านพระพรหมคุณาพร (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้อธิบายว่าอย่างไร ยกมาให้แต่เพียงบางส่วนดังนี้

๓. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือ วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือ มองอย่างรู้เท่าทันความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของมันเอง ในฐานะที่มันเป็นสิ่งซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่งขึ้น จะต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย ธรรมดาที่ว่านั้น ได้แก่อาการที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องดับไป ไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ไม่ยั่งยืน ไม่คงอยู่ตลอดไปเป็นอนิจจัง ปัจจัยทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกทุกอย่างต่างก็เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเสมอเหมือนกัน เมื่อเข้ามาสัมพันธ์กันจึงเกิดความขัดแย้ง ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีสภาวะถูกบีบคั้นกดดันไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ จะต้องมีความแปรปรวนเปลี่ยนสลาย เป็นทุกข์ ในเมื่อต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยมันก็ไม่อาจเป็นของของใคร เช่นเดียวกับที่ไม่อาจเป็นตัวตนของมันเอง และไม่อาจมีอยู่โดยตัวของมันเอง มันไม่อาจเป็นไปตามความปรารถนาของใคร ไม่มีใครคิดอยากบังคับมันได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองมันได้จริงเพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เป็นไปตามใจอยากของใคร เป็นอนัตตา รวมความว่า รู้เท่าทันว่าสิ่งทั้งหลายเป็นธรรมชาติ มีลักษณะความเป็นไปโดยทั่วไปเสมอเหมือนกันตามธรรมดาของมันในฐานะที่เป็นของปรุงแต่งเกิดจากเหตุปัจจัยและขึ้นต่อเหตุปัจจัยทั้งหลายเช่นเดียวกัน

วิธีคิดแบบสามัญลักษณะนี้แบ่งได้เป็น ๒ ขั้นตอน

ขั้นที่หนึ่ง คือ รู้เท่าทันและยอมรับความจริง เป็นขั้นวางใจว่าท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นท่าทีแห่งปัญญา ท่าทีแห่งความเป็นอิสระ ไม่ถูกมัดตัว แม้เมื่อประสบสถานการณ์ที่ไม่ปรารถนาหรือมีเรื่องราวไม่น่าพึงพอใจเกิดขึ้นแล้ว คิดขึ้นได้ ว่าสิ่งนั้นๆ เหตุการณ์นั้นๆ เป็นไปตามคติธรรมดา เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน คิดได้อย่างนี้ก็เป็นท่าทีแห่งการปลงตกถอนตัวขึ้นได้ หายจากความทุกข์ หรืออย่างน้อยก็ทำให้ทุกข์นั้นบรรเทาลง หรือเมื่อประสบสถานการณ์มีเรื่องราวเช่นนั้นเกิดขึ้น เพียงตั้งจิตสำนึกขึ้นได้ในเวลานั้นว่า เราจะมองตามความเป็นจริง ไม่มองตามความอยากให้เป็นหรือไม่ให้เป็น การที่จะเป็นทุกข์ก็ผ่อนคลายลงได้ทันที เพราะเปลื้องตัวเป็นอิสระได้ ไม่เอาตัวเข้าไปให้ถูกกดถูกบีบ (ความจริงคือไม่สร้างตัวตนขึ้นให้ถูกกดถูกบีบ)

ขั้นที่สอง คือ แก้ไขทำการไปตามเหตุปัจจัย เป็นขั้นปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นการปฏิบัติด้วยปัญญา ด้วยความรู้เท่าทัน เป็นอิสระ ไมม่ถูกมัดตัว กล่าวคือเมื่อรู้อยู่แล้วว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยขึ้นต่อเหตุปัจจัย เราต้องการให้มันเป็นอย่างไร ก็ศึกษาให้รู้เข้าใจเหตุปัจจัยทั้งหลายที่จะทำให้มันเป็นไปอย่างนั้น แล้วแก้ไข ทำการจัดการที่ตัวเหตุปัจจัยเหล่านั้น เมื่อทำเหตุปัจจัยพร้อมบริบูรณ์ที่จะให้มันเป็นอย่างนั้นแล้ว ถึงเราจะอยากหรือไม่อยาก มันก็จะต้องเป็นไปอย่างนั้น เมื่อเหตุปัจจัยไม่พร้อมที่จะให้เป็น ถึงเราจะอยากหรือไม่อยาก มันก็จะไม่เป็นอย่างนั้น กล่าวสั้น คือ แก้ไขด้วยความรู้และแก้ที่ตัวเหตุปัจจัย ไม่ใช่แก้ด้วยความอยาก เพียงแต่กำหนดรู้ความอยากของตน และความกำหนดรู้เหตุปัจจัย แล้วแก้ไข กระทำการที่เหตุปัจจัย เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ก็ถอนตัวเป็นอิสระได้ ไม่ถูกความอยากพาตัว (ความจริงคือสร้างตัว) เข้าไปให้ถูกกดถูกบีบ เป็นการปฏิบัติอย่างไม่ถูกมัดตัว เป็นอันว่าทั้งทำการ และทั้งปล่อยให้สิ่งทั้งหลายมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นวิธีปฏิบัติที่ทั้งได้ผลดีที่สุด และตนเองก็ไม่เป็นทุกข์ การปฏิบัติตามวิธีแบบที่ ๓ ในขั้นที่สองนี้ สัมพันธ์กับวิธีคิดแบบที่ ๔ ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า กล่าวคิดวิธีคิดแบบที่มารับช่วงต่อไป

ศึกษาต่อได้ที่ : หนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ

ขอให้เจริญในธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร