วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 06:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5327


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับการที่ ท่านพระอานนท์ บรรลุอรหัตตมัคค์ นั้น

เท่าที่ปรากฏ ในพระไตรปิฎก ..............มีข้อความ ว่า




ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ คิดว่า

พรุ่งนี้ เป็นวันประชุม

ข้อที่ เรา ยังเป็น เสกขบุคคล อยู่

จะพึง เข้าสู่ที่ประชุม นั้น

ไม่ควร แก่เรา.


จึงยังราตรี เป็นส่วนมาก ให้ล่วงไป ด้วย กายคตาสติ

ในเวลา ใกล้รุ่ง แห่งราตรี จึง เอนกาย

ด้วยตั้งใจ ว่า จักนอน.


แต่ ศรีษะ ยังไม่ทันถึงหมอน เท้า ยังไม่พ้นจากพื้น

ในระหว่างนั้น จิต ได้หลุดพ้น จากอาสวะ

เพราะ ไม่ถือมั่น.


ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์

ได้เป็น พระอรหันต์ ไปสู่ที่ประชุม ฯ




.




ตามปกติ.....ทุกท่าน ก็ต้องนอน

ท่านพระอานนท์ ก็เช่นเดียวกัน.




.




จากข้อความ............... ในพระไตรปิฎก


ท่านผู้ฟัง ก็จะเห็น "ความเป็นอนัตตา"


ของ อรหัตตมัคค์ ......ของ อรหัตตผล


คือ ความเป็นอนัตตา ของ สภาพธรรม


ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะไหน อย่างไร ก็ได้


เมื่อมี "เหตุปัจจัย" พร้อมที่จะให้เกิดขึ้น.




.




หมายความ ว่า......... เมื่อมี "เหตุปัจจัย" ถึงพร้อม

ที่จะทำให้สภาพธรรมใด เกิดขึ้นขณะใด....อย่างไร

ก็ต้องเกิดขึ้น และ เป็นไปอย่างนั้น.....ในขณะนั้น.




.




ท่านผู้ฟัง กล่าวว่า.......................................

การบรรลุคุณธรรม ถึงความเป็นพระอรหันต์

ของท่านพระอานนท์.....ฟังดู คล้าย ๆ กับว่า

ผุดขึ้นมาเอง.................โดยไม่ต้องทำอะไร

ไม่ต้องมนสิการ ไม่ต้องอบรมอะไร ทั้งนั้น.!




.




เป็นไปไม่ได้เลย ................................!

เพราะว่า ผู้ที่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

ย่อมทราบ "หนทาง" .......หรือ ข้อปฏิบัติ ว่า

"สติ" ต้อง "ระลึกรู้ลักษณะ" ของสภาพธรรม

ที่กำลังปรากฏ ในขณะใด...........................

"ปัญญา" จึงจะสามารถ "รู้ชัด" ในลักษณะ

ของสภาพธรรม........ที่ปรากฏในขณะนั้นได้.




.




เพราะฉะนั้น


ผู้ที่รู้ "หนทาง" ที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมแล้ว

ผู้นั้น ย่อมมีปัจจัยที่ สติ จะเกิด ระลึก รู้ ลักษณะ

ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ..........ในขณะนั้น

และ "ปัญญา" ก็ "รู้ชัด"..........ใน "เหตุปัจจัย"

ว่า....................... ไม่ใช่ ตัวตน สัตว์ บุคคล.




.




ผู้ที่ รู้แจ้ง อริยสัจจธรรม

เป็น พระอริยบุคคล แล้ว

(เช่น...ท่านพระอานนท์)



การที่ "สติ" จะไม่เกิด.......... ไม่ระลึกรู้

ลักษณ ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ

แล้วสามารถบรรลุ เป็นพระอรหันต์ ได้นั้น

เป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้

เป็นความเข้าใจผิด ของผู้ซึ่งไม่ทราบ ว่า

พระอริยเจ้าทั้งหลาย รู้แจ้งอริยสัจจธรรม.


(ดับความเห็นผิด ในสภาพธรรมทั้งหลาย ว่า เป็นตัวตน)


เพราะฉะนั้น

พระอริยเจ้า ไม่มีตัวตน ที่ทำ กายคตาสติ.




.




ถ้าบุคคลใด ยังมีความยึดถือ

สภาพธรรมทั้งหลาย..........ว่า เป็นเรา เป็นตัวตน

ก็คิดว่า ท่านพระอานนท์ ก็คงจะมีความพากเพียร

ด้วยความตั้งใจ ที่เป็นตัวตน ว่า..........................

"จะยังราตรีส่วนมาก ให้ล่วงไปด้วย กายคตาสติ"



นี่คือ ความเห็น ของผู้ที่ยังมีตัวตน.....ที่คิดว่า

ท่านพระอานนท์ มีตัวตน ที่ตั้งใจทำอย่างนั้น.



แต่ สำหรับผู้ที่เป็นพระอริยเจ้าแล้ว นั้น

ท่านรู้ว่า สภาพธรรมทั้งหมด ไม่ใช่ตัวตน.




.




เพราะฉะนั้น....การที่ "สติ" ของพระอริยบุคคล จะเกิดขึ้น

และน้อมไประลึกรู้ นามธรรม หรือ รูปธรรม ทางหนึ่งทางใด

เพราะเหตุว่า มีปัจจัย ที่จะให้ "สติ" เกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรม คือ นามธรรม หรือ รูปธรรม ที่กำลังปรากฏ

ขณะนั้น ตามปกติตามความเป็นจริง ตามที่ท่านได้สะสมมา.




ไม่ว่า จิต ของท่านพระอานนท์ จะน้อมไป

รู้ ลักษณะของนามธรรมใด หรือ รูปธรรมใด

ก็เป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ทั้งสิ้น

และ ท่านก็ทราบ ว่า ไม่ใช่ ตัวตน.




และการนอนพักผ่อน ก็เป็นเรื่องธรรมดา

เมื่อถึงกาล ที่ท่านจะพักผ่อน ท่านก็นอนพักผ่อน....ด้วยสติ

ซึ่งขณะนั้น...ถ้าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

ตามความเป็นจริง ท่านก็ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

และ บรรลุความเป็นพระอรหันต์ ได้.




เพราะฉะนั้น

อย่าเข้าใจผิด.........คิดว่า ท่านพระอานนท์

ยังมีตัวตน ที่พากเพียร แล้วมีความท้อถอย

เมื่อได้พากเพียรเป็นเวลานาน แล้วไม่บรรลุ

ท่านจึงเลิกความพากเพียร...แล้วก็นอนเสีย

ไม่ใช่อย่างนั้น !




.




การอบรม เ จริญมรรคมีองค์ ๘ นี้

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เป็น พระอริยเจ้า คือเป็น ปุถุชน

กับ พระอริยเจ้า ซึ่งเป็น เสกขบุคคล

คือ ผู้ที่ยังไม่ถึงความเป็นพระอรหันต์

ย่อมต่างกัน.!




สำหรับ ผู้ที่ยังไม่ใช่พระอริยเจ้า ก็ยังมี ความยึดถือ

ใน สภาพธรรม.....ว่า เป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล อยู่.

แม้ว่าบางครั้งที่ "สติ" เกิด....แต่ ไม่ระลึกรู้ ลักษณะ

ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏขณะนั้น.................

โดยทั่ว โดยละเอียด

ก็ย่อมมี การยึดถือ...........สติ ปัญญา สังขารขันธ์

เช่น เวทนา ความรู้สึกต่างๆ หรือ สัญญา ความจำ

ว่า เป็นเรา เป็นตัวตน.




.




ท่านพระอานนท์ ซึ่งเป็นพระอริยเจ้า เป็น เสกขบุคคล

เจริญสติ ระลึกรู้ ลักษณะของ นามธรรม และ รูปธรรม

ย่อมต่างกับการเจริญสติ ของผู้ที่ม่ใช่ พระอริยบุคคล.




เพราะฉะนั้น....................ไม่ว่า "สติ" ของ ท่านพระอานท์

จะน้อมไประลึกรู้ ลักษณะของนามธรรมใด หรือ รูปธรรมใด

ท่านก็ไม่มี "ความเห็นผิด" ที่ยึดถือ สภาพของนามธรรมนั้น

หรือ รูปธรรมนั้น ว่า เป็นตัวตน.




และเมื่อ "ปัญญา" ได้ประจักษ์..............ความไม่เที่ยง

ความเกิดดับ ของ นามธรรม และ รูปธรรม สมบูรณ์ขึ้น

ท่านก็บรรลุคุณธรรม ถึงความเป็นพระสกทาคามีบุคคล

พระอนาคามีบุคคล และ พระอรหันต์.........ตามลำดับ.




.




สำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่ "พระอริยเจ้า".............................

ก็อบรมเจริญสติปัฏฐาน เพื่อที่จะ "ดับความเห็นผิด"

ในการยึดถือ นามธรรม และ รูปธรรม ว่า เป็นตัวตน.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านหลายรอบ สงสัยสติปัญญา ข้าพเจ้ายังด้อยนัก
ม่ายรู้เรื่อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1854

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อ่านหลายรอบ สงสัยสติปัญญา ข้าพเจ้ายังด้อยนัก
ม่ายรู้เรื่อง


:b9: เช่นกัน ดีใจจัง มีเพื่อนแล้วเรา

:b8: แต่ก็อนุโมทนา กับท่านเจ้าของกระทู้ ด้วยจ้า

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ ค่อยรู้ เรื่อง เมหือนกัน
สงสัยจะ เพราะ "ช่อง ว่าง"
เยอะไป นิดนึง จึง ไม่เข้าใจ ว่าเข้า ใจหรือไม่ เข้าใจ
ยังไงก็ ขออ นุโม ทนาด้วยใน ที่ยกเรื่อง พระอานนท์บรร ลุธรรม ให้ฟังดัง นี้
เอง แล

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2009, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้งงเพราะสำนวนหรือเปล่า
เท่าที่เข้าใจ ท่านพระอานนท์เมื่อท่านจะหยุดพักผ่อน ท่านคงไม่ได้ละการปฏิบัติเสีย
แต่ท่านก็คงหยุดพักแบบยังมีสติสัมปชัญญะ กำหนดภาวะต่างๆไปตามที่ท่านทำ
ที่ท่านหยุดเพื่อพัก ก็พักกายสังขารท่านเท่านั้นกระมัง

อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ก่อนบรรลุพระอรหันต์ท่านยังจัดเป็นเสขะบุคคล(ผู้ยังต้องศึกษา)อยู่
ก่อนบรรลุธรรม(พระอรหันต์)ท่านเป็นเพียงพระโสดาบัน ถ้าผมจำไม่ผิดพระอรหันต์เท่านั้นจะเป็น
อเสขะบุคคล หรือผมจำมาไม่ดีก็ไม่รู้ ใครรู้บอกด้วยครับ :b13:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 00:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


อนิจจาจริงๆ!!! ผู้ไม่สามารถเข้าสู่กระแสพระนิพพาน ไปตีความการบรรลุธรรมของพระอรหันต์

พระอานนท์นั้นบรรลุอรหันต์ เพราะใจท่านไม่ติดยึดว่าท่านต้องเข้าร่วมสังคายนาให้ได้ ก่อนหน้านั้นท่านทำสมถะและวิปัสสนาเท่าไร ท่านก็ไม่บรรลุสักที เนื่องจากใจของท่านไม่ปล่อยวาง มีความคิดว่าจะต้องเข้าร่วมสังคายนาให้ได้ การไม่ปล่อยวางเช่นนี้ ทำให้ท่านไม่สำเร็จ พอปล่อยวางปลั๊ย สำเร็จเลย

พอพระอานนท์หัวจะถึงหมอน แต่ใจของท่านปล่อยวางแล้ว ไม่เหมือนแต่ก่อนที่ใจไม่ปล่อยวาง ครั้งนี้อะไรจะเกิด ก็ให้มันเกิด ไม่ต้องไปสนใจมัน เท่านั้นเอง ใจทานก็วาง ภาวะอรหันต์จึงเกิด

มนุษย์เราก็เหมือนกัน ไปยึดติดสิ่งทางโลกเอาไว้ ใจไม่ปล่อยวาง จึงไม่บรรลุ เป็นอรหันต์นั้นง่ายจริงหนอ แต่พวกเราไม่ยอมและไม่ต้องการเป็นจริงๆ เราจึงไม่สามารถเป็นพระอรหันต์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ธรรม เห็นธรรม

viewtopic.php?f=7&t=21512

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2009, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ....ธรรมที่จะให้บรรลุอรหันต์ก็เช่นกัน ต้องมีเหตุมีปัจจัยถึงพร้อมจึงเกิดขึ้น...สาธุครับกับท่านรสมน...ขอท่านสมปราถนาจากกุศลที่เกิดขึ้นจากกระทู้นี้ครับ :b8: :b8:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในคราวที่ท่านต้องการหลุดพ้น และตั้งใจจะหลุดพ้นให้ได้......ท่านกลับไม่หลุดพ้น

ในคราวที่ท่านหมดหวังแล้วที่จะหลุดพ้น คลายความหวังเรื่องการหลุดพ้น

ท่านก็ถึงความหลุดพ้น โดยไม่ตั้งใจ

ในยามที่ต้องการมันไม่มา แต่มันกลับมาตอนไม่ต้องการ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
ในคราวที่ท่านต้องการหลุดพ้น และตั้งใจจะหลุดพ้นให้ได้......ท่านกลับไม่หลุดพ้น

ในคราวที่ท่านหมดหวังแล้วที่จะหลุดพ้น คลายความหวังเรื่องการหลุดพ้น

ท่านก็ถึงความหลุดพ้น โดยไม่ตั้งใจ

ในยามที่ต้องการมันไม่มา แต่มันกลับมาตอนไม่ต้องการ


พระอานนต์ไม่ได้เลือกว่าต้องการ ไม่ต้องการนะครับ

ไม่ใช่ว่าต้องการ เลยไมได้ (ตันหา)
ไม่ต้องการ เลยได้ (วิภวตันหา)

เหตุมันเกิด ผลมันก็เลยเกิด
เหมือนคุณ natdanai ว่าไว้น่ะคับ

ถ้าพระอานนท์เปลี่้ยนจาก ความต้องการ ไปเป้น ไม่ต้องการ
เชื่อว่ายังไงก็ยังไม่บรรลุ

แต่เพราะท่านเข้าถึงความเป้นกลางอย่างแท้จริง
ไม่มีทั้ง"ความต้องการ" ไม่มีทั้ง"ความไม่ต้องการ"
เพียงแต่มีความเป็นกลางอย่างแท้จริงที่แหละที่เป็นอรหัตมรรค (เหตุ) จึงได้อรหัตผล (ผล)

คิดว่าอย่างนั้นนะคับ
:b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกพระสูตรเต็ม ๆ มาดีกว่าเพราะอันที่ยกกระทู้ขึ้นมานั้นใครเข้ามาอ่านก็จะเข้าใจยากและก็จะพิจารณาแบบผิด ๆ ไปกันใหญ่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

แล้วรับสั่งให้เผดียงแก่ภิกษุสงฆ์ว่าท่านผู้เจริญ !กิจของข้าพเจ้าสำเร็จแล้ว

ดังนี้.

[พวกภิกษุเตือนพระอานนท์มิให้ประมาท]

พวกภิกษุได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส ! การประชุมจะมีใน

วันพรุ่งนี้ แต่ท่านยังเป็นเสขะบุคคลอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านไม่ควรไปสู่

ที่ประชุม ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้.

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ดำริว่า การประชุมจะมีในวันพรุ่งนี้

ก็ข้อที่เรายังเป็นเสขะอยู่ จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้นไม่สมควรแก่เราแล แล้วได้

ยับยั้งอยู่ด้วยกายคตาสติตลอดราตรีเป็นอันมากทีเดียว ในเวลาราตรีใกล้รุ่ง

ลงจากที่จงกรมแล้ว เข้าไปยังวิหาร คิดว่า จักพักนอน ได้เอนกายลง. เท้า

ทั้งสองพ้นจากพื้น แต่ศีรษะไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะ

ทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ความจริง ท่านพระอานนท์นี้ยับยั้งอยู่แล้วใน

ภายนอกด้วยการจงกรม เมื่อไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ จึงคิดว่า

พระผู้มีพระเจ้าได้ตรัสคำนี้แก่เรามิใช่หรือว่า อานนท์ ! เธอเป็นผู้ได้ทำบุญ

ไว้แล้ว จงหมั่นประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้หาอาสวะมิได้โดยฉับพลัน*


อันธรรมดาว่าโทษแห่งพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มี เราปรารภ

ความเพียรมากเกินไป เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน

เอาเถิด ! เราจะประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ ดังนี้

จึงลงจากที่จงกรม

ยืนล้างเท้าในที่ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่วิหารนั่งบนเตียง ดำริว่า จักพักผ่อนสัก

หน่อยหนึ่ง ได้เอนกายลงบนเตียง. เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ถึงหมอน

ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.
ความเป็น

* ที. มหา. ๑๐ / ๑๖๗.



พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

พระอรหันต์ของพระเถระเว้นจากอิริยาบถ ๔. เพราะฉะนั้น เมื่อมีผู้ถามว่า

ในพระศาสนานี้ ภิกษุรูปไหน ไม่นอน ไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่จงกรม ได้บรรลุ

พระอรหัต จะตอบว่า พระอานนทเถระ ก็ควร.
[พระอานนท์ดำดินไปเข้าประชุมสงฆ์]

ครั้งนั้นในวันที่ ๒ ภิกษุเถระทั้งหลายทำภัตกิจเสร็จ เก็บบาตรและ

จีวรแล้ว ไปประชุมกันที่ธรรมสภา. ส่วนพระอานนทเถระมีความประสงค์จะ

ให้ผู้อื่นรู้การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ของตน มิได้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลายเมื่อจะนั่งบนอาสนะของตน ๆ ตามลำดับผู้แก่ ได้นั่งเว้นอาสนะ

ไว้สำหรับพระอานนท์เถระ. เมื่อภิกษุบางพวกในธรรมสภานั้นถามว่า นั่นอาสนะ

ใคร ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ของพระอานนท์ ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็ท่าน

พระอานนท์ไปไหนเล่า ? ในสมัยนั้น พระเถระคิดว่า บัดนี้เป็นเวลาที่เราจะไป

เมื่อจะแสดงอานุภาพของตน ในลำดับนั้น จึงดำลงในแผ่นดินแล้วแสดงตน

บนอาสนะของตนนั้นเอง. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มาทางอากาศแล้วนั่ง ก็มี.

[พรเถระเริ่มปรึกษาและสมมติตนเป็นผู้ปุจฉาวิสัชนา]

เมื่อพระอานนท์นั้นนั่งแล้วอย่างนั้น พระมหากัสสปเถระ จึงปรึกษา

ภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พวกเราจะสังคายนาอะไรก่อน พระธรรม

หรือพระวินัย ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ข้าแต่ท่านพระมหากัสสป ! ชื่อว่าพระวินัย

เป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยยังตั้งอยู่ พระพุทธศาสนาจัดว่ายัง

ดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น พวกเราจะสังคายนาพระวินัยก่อน .

พระมหากัสสป. จะให้ใครเป็นธุระ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เคย มีท่านผู้รู้ ชี้ให้ผมดู กรณีของท่านพระอานนท์

ที่สำคัญคือ ท่านพระอานนท์อยู่ด้วยกายคตาสติเป็นส่วนใหญ่ในคืนวันตรัสรู้

และ ท่านเคยชี้ให้ดูถึง การได้ดุลย์ของอินทรีย์๕ เป็นเหตุให้พระอานนท์ตรัสรู้



โพธิปักขิยธรรม จากหนังสือ "ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง" ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)


อินทรีย์ ๕ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่ในการทำหน้าที่เฉพาะแต่ละอย่าง หรือธรรมที่เป็นเจ้าการในการข่มกำราบอกุศลธรรมที่ตรงข้ามกับตน

หลักนี้หลายท่านเคยได้ยิน แต่หลายท่านก็ยังไม่เคยได้ยิน เช่น ในคำพูดที่ว่าต้องมีอินทรีย์สม่ำเสมอกัน ต้องปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ คนนี้มีอินทรีย์อ่อน คนนี้มีอินทรีย์แก่กล้า ดังนี้เป็นต้น อินทรีย์ ๕ นั้นได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน

ข้อ ๑ ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความที่จิตใจพุ่งแล่นไปหาและคล้อยไปตาม เข้าคู่กับข้อ ๕ ปัญญา ความพิจารณาไตร่ตรองมองหาความจริงให้รู้เข้าใจเข้าถึงสภาวะ ถ้าศรัทธาแรงไป ก็น้อมไปในทางที่จะเชื่อง่าย ยอมรับง่าย เชื่อดิ่งไป ตลอดจนงมงาย ถ้าเอาแต่ปัญญา ก็โน้มไปทางที่จะคิดมาก สงสัยเกินเหตุหรือด่วนปฏิเสธ ฟุ้งไปเรื่อย ไม่จับอะไรลงลึก ท่านจึงให้ปรับศรัทธากับปัญญาให้สม่ำเสมอสมดุลกัน

ข้อ ๒ วิริยะ คือ ความเพียร มีใจสู้ มุ่งหน้าจะทำให้ก้าวหน้าเรื่อยไป เข้าคู่กับข้อ ๔ สมาธิ คือ ความสงบของจิตใจที่แน่วแน่อยู่ที่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกอารมณ์ต่าง ๆ รบกวน ...ถ้าวิริยะแรงไปก็จะเครียดและฟุ้งซ่าน โน้มไปทางล้ำเลยเขต ถ้าเอาแต่สมาธิก็จะสงบสบาย ชวนให้ติดในความสุขจากความสงบนั้น ตลอดจนกลายเป็นเกียจคร้านเฉื่อยชาปลีกตัวออกหาความสบาย ปล่อยปละละเลยหรือไม่เผชิญภาระ ท่านจึงให้เสริมสร้างวิริยะและสมาธิอย่างสม่ำเสมอสมดุลกัน เพื่อจะได้ประคับประคองกันไป และเป็นเครื่องอุดหนุนกันให้ก้าวหน้าไปในการปฏิบัติ

ส่วนข้อ ๓ สติ นั้น เป็นตัวคุมตัวเตือน ต้องใช้ในทุกกรณี เช่นเป็นเหมือนยามที่คอยบอกว่า เวลานี้ศรัทธาจะแรงไปแล้ว ปัญญาจะหย่อนไปแล้ว เวลานี้ควรเร่งวิริยะขึ้นมา เพราะทำท่าจะติดในสุขจากสมาธิเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น




วิริยะ ที่ต้องถ่วงดุลย์กับ สมาธิ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีประโยชน์

วิริยะ คือ เพียร..ทั้งทางกาย(มุ่งเดินจงกรม นั่งสมาธิ) และ ใจ(มุ่งมั่นจะรู้ธรรมให้ได้ ).... วิริยะเป็นสิ่งจำเป็น แต่ ถ้ามากเกินไป ก็จะกลายเป็นทรมานร่างกาย หรือ เวลาเจริญภาวนาจะตั้งใจมากจนเกินไป เสียสภาพความเป็นธรรมชาติ-ความนุ่มนวลของจิตอย่างที่ควร.

จาก หนังสือ พุทธธรรม หน้า877

"เมื่อ อินทรีย์บางอย่างแรงไป บางอย่างอ่อนไป ตามปกติต้องแก้ด้วยการเจริญโพชฌงค์ ข้อที่ตรงเรื่องกัน

เช่น วิริยะแรงไป แก้ให้ลดลงด้วยการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น"


ท่านกล่าวถึง การใช้ ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์(ความผ่อนคลายกาย-ใจ เป็นส่วนแห่งสมาธิ) ปรับถ่วงดุลย์กับ วิริยะสัมโพฌชงค์.

กล่าว ง่ายๆ ก็คือ ถ้าตั้งใจมากจนเกินไป ก็ให้ผ่อนคลายใจลงบ้าง

ในทางกลับกัน ถ้าสมาธิ(หรือ ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์)มากไป ก็จะกลายเป็นติดสุขจากสมาธิ เป็นพระฤาษีไป... เพราะ สมาธิที่มากไป ความเกรียจคร้าน(โกสัชชะ)ก็จะเข้าครอบงำ... คือ เอะอะอะไร ก็จะทำจิตให้สงบฝ่ายเดียว โดยไม่ใช้อานิสงส์แห่งสมาธิมาพิจารณาสภาวธรรม



ส่วน สติ....นั้น ไม่มีคำว่ามากเกิน ยิ่งมากยิ่งดี

เพราะ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น ที่จะเป็นผู้มีสติสมบูรณ์พร้อม

จาก หนังสือพุทธธรรม

"ส่วนสติ เป็นข้อยกเว้น ....ท่านว่า ยิ่งสติมีกำลังก็ยิ่งดี มีแต่จะช่วยธรรมข้ออื่นๆได้ดียิ่งขึ้น..."



ปล...

มีประเด็น เรื่อง ภาษามาเสนอเพิ่มอีกจุดหนึ่ง

ในปัจจุบัน ภาษาที่ใช้เรียก การมุ่งมั่นตั้งใจที่จะรู้ธรรมมากจนเกินไป ว่า เผลอเพ่ง

ถ้า ใช้คำว่า "เผลอเพ่ง"แทนคำว่า "วิริยะมากเกินไป" อาจจะไม่ตรงกับความหมายดั้งเดิมในระดับพระสูตร
เพราะ การเพ่ง มันจะมีความหมายไปทางสมถะ.....

แต่ วิริยะที่มากเกินไปนี้ทำให้เครียด(ไปทางอุทธัจจะอันเป็นธรรมที่ตรงข้ามกับสมาธิ).... ซึ่งต้องถ่วงดุลย์ด้วยปัสสัทธิ(ผ่อนคลาย)อันเป็นธรรมในส่วนสมถะ เสียด้วยซ้ำ!!!


ในลักษณะ รู้ซื่อๆ รู้สบายๆ (สบาย คือ ปัสสัทธิ)


ดังนั้น ผมขอเสนอใช้คำว่า ตั้งใจหรือจงใจที่จะรู้มากเกินไป(วิริยะมากไป) มากกว่า เป็นคำว่า เผลอเพ่ง




ลองอ่าน คห ของ หลวงปู่ชา ตรงนี้น่ะครับ

http://mahamakuta.inet.co.th/practice/m ... ml#mk722_1

ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า

เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความ สงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
.....เราปรารภ

ความเพียรมากเกินไป เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน

เอาเถิด ! เราจะประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ ดังนี้......


สาธุ สาธุ สาธุ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2009, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ ครับ คุณแมวขาวมณี


ขอเสนอเพิ่มเติม

เรื่อง การสมดุลย์ระหว่าง ความเพียร(วิริยะ) กับ ความผ่อนคลาย(สมถะ)


จาก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ทุติยปัณณาสก์
มหาวรรคที่ ๑
๑. โสณสูตร

ดูกรโสณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ความเพียรที่ปรารภมากเกินไปย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน


ดูกรโสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ
จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอ



และ จาก อรรถกถา

บทว่า อจฺจารทฺธํ ได้แก่ ความเพียรที่ตึงเกินไป.
บทว่า อุทฺธจฺจาย สํวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน.

บทว่า อติลีนํ ได้แก่ หย่อนเกินไป.
บทว่า โกสชฺชาย ได้แก่ เพื่อความเป็นผู้เกียจคร้าน.

บทว่า วิริยสมตํ อธิฏฺฐาหิ ความว่า เธอจงดำรงสมถะที่สัมปยุตด้วยวิริยะไว้ให้มั่น. หมายความว่า จงประกอบวิริยะเข้ากับสมถะ.
บทว่า อินฺทฺริยานญฺจ สมตํ ปฏิวิชฺฌ ความว่า เธอจงดำรงสม่ำเสมอ คือภาวะที่เสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นไว้ให้มั่น.

ในข้อนั้น ภิกษุผู้ประกอบศรัทธาเข้ากับปัญญา ประกอบปัญญาเข้ากับศรัทธา ประกอบวิริยะเข้ากับสมาธิ และประกอบสมาธิเข้ากับวิริยะ ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงภาวะที่เสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้งหลายวันไว้มั่น. ส่วนสติมีประโยชน์ต่อธรรมทั้งปวง สตินั้นเฉพาะที่มีกำลังย่อมควรแม้ในกาลทุกเมื่อ.



ความจริงแล้ว ในสมัยพุทธกาล การตั้งใจที่จะรู้ธรรมมากจนเกินไป นั้น เรียกว่า วิริยะที่มากเกินไป และ ต้องถ่วงดุลย์ด้วยสมาธิ(สมถะ หรือ ปัสสัทธิ).... เป็น ลักษณะ รู้ซื่อๆ รู้สบายๆ

แต่ ปัจจุบัน เราจัดให้ การตั้งใจที่จะรู้ธรรมมากจนเกินไป ว่าเป็น สมถะ.... ???
และ ถ้าจัดว่า การตั้งใจที่จะรู้ธรรมมากจนเกินไป ว่าเป็น สมถะ คงต้องใช้วิริยะมาถ่วงดุลย์ คือ ตั้งใจที่จะรู้ ให้มากไปกว่านั้นอีกหรือ???


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร