วันเวลาปัจจุบัน 09 ก.ย. 2024, 06:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


เชิญประชาสัมพันธ์สถานที่ปฏิบัติ โดยการลงชื่อ-ที่อยู่ กำหนดการ-ระเบียบการ และเว็บไซต์ (ถ้ามี)
ของสถานที่ปฏิบัติธรรม จังหวัดนครสวรรค์ ได้เลยครับ


เว็บไซต์จังหวัดนครสวรรค์
http://nakhonsawan.ect.go.th

.......

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่กระดานสนทนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=1


:b8:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ (วัดเขาโคกเผ่น)
เลขที่ 99 หมู่ 2 บ้านเขาโคกเผ่น
ต.ทำนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ 60160
โทรศัพท์ 081-834-7881


พระครูวิจิตรสีลาภรณ์ รักษาการเจ้าอาวาส

ทางวัดมีการจัดบวชปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อฝึกวิปัสสนากรรมฐาน เจริญเมตตาภาวนา
อันจะมีผลทำให้จิตใจเยือกเย็น สงบสุข โดยมีวิปัสสนาจารย์เป็นผู้สอนการปฏิบัติธรรม

วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ตั้งอยู่ ณ บ้านเขาโคกเผ่น ต.ทำนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เป็นพุทธสถานที่คณะสงฆ์และคณะศิษย์วัดราชผาติการามร่วมใจกันสร้างถวายแด่ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร ป.ธ.9) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม กทม. โดยการนำพาของ พระเทพโมลี (สุนทร สุนฺทราโภ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม เจ้าคณะเขตดุสิต (ธรรมยุติ) ด้วยสำนึกในความกตัญญูกตเวที ในโอกาสเจริญชนมายุศม์ครบ 80 ปี เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2529 วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ให้ใช้สถานที่จำนวน 96 ไร่ 2 งาน 58 ตารางวา เพื่อสร้างวัดขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา และได้รับพระราชทานวิสุงคามเสมาในปี พ.ศ. 2548

ชื่อ “วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์” นี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม ได้ประทานชื่อวัดว่า “วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์” เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (ม.จ.ภุชงค์ ชมพูนุช) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ส่วน “สิริวัฒนวิสุทธิ์ (วิ.)” เป็นพระราชทินนามที่พระราชทานชื่อสมณศักดิ์แด่พระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (พัดขาว) พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์ (สุนทร สุนฺทราโภ เปรียญ 3 ประโยค) ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อนี้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ซึ่งปัจจุบันเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี

รูปภาพ

บนเนื้อที่ 96 ไร่ 2 งาน 58 ตารางวา ของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์นั้น ได้รับการรังสรรค์ขึ้นอย่างงดงามเป็นรูปเรือหลวง มีความหมายถึงพาหนะที่จะช่วยขนสัตว์ที่ตกอยู่ในห้วงแห่งสังสารวัฎ (ทะเลวน) ให้พ้นจากโอฆะสงสาร ห้วงน้ำคือกิเลส เรือที่ตั้งอยู่บนเกาะหรือภูเขา หมายถึง เป็นสถานที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงหรือท่วมทับแก่บุคคลที่มีปัญญาไม่ได้ ผู้มีปัญญา มีความขยัน ไม่ประมาทตามกิเลส มีความสำรวมระวังดี ก็จะอยู่บนเรือลำนี้ได้โดยปลอดภัย เรือหลวงอันเป็นที่ตั้งของวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ มีชื่อเรือว่า “ราชญาณนาวาทีฆายุมงคล” เพราะสร้างขึ้นในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เรือหลวงนี้มีความกว้าง 30 เมตร ยาวประมาณ 6 ไร่เศษ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่สร้างขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงสถาบันแห่งชาติทั้งสิ้น

ภายในศาสนสถานแห่งนี้ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างอันเป็นมงคลมากมาย อาทิ

ธุดงคเจดีย์ มณฑปเรือนแก้ว ซึ่งเป็นอุโบสถของวัดแห่งนี้ เป็นสถาปัตยกรรมประยุกต์ไทยอินเดีย มุงและกั้นด้วยกระจกสีชาทั้งหมด อนุสรณ์ระลึกถึงพระมหากัสสปะเถระ เป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธบาททั้งคู่” เนื้อสำริดสามกษัตริย์ ประกอบด้วยทองคำ เงิน และนาค รวม 108 บาท และ “พระพุทธรัชมงคลอุบลบพิตร” พระประธานของวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทองปางสมาธิ ซึ่งทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จมาถวายไว้ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ได้ถวายพระนามพระประธานองค์นี้ อันมีความหมายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคลผู้สร้างแห่งความเป็นพระราชา

ศาลาเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ในฐานะทรงเป็นพระบิดาแห่งราชนาวีไทย และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่เรือราชญาณนาวาฑีฆายุมงคล ซึ่งจากการรวบรวมของกองทัพเรือ ศาลาเสด็จในกรมหลวงชมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ นับเป็นศาลาลำดับที่ 116 ที่มีการสร้างขึ้นในประเทศไทย

ลานพระธรรมจักร เป็นลานกว้างขนาด 7x7 เมตร บนลานแห่งนี้ประดิษฐานแท่นพระธรรมจักร มีหินทรายแกะสลักเป็นรูปกวาง และแท่นหิน 8 เหลี่ยม ที่แกะจากหินทรายสลักเป็นรูปมงคลต่างๆ ตั้งไว้ด้านหน้า เป็นนิมิตหมายว่า พระพุทธเจ้าได้ประกาศพระธรรมคำสอนอันยอดเยี่ยมให้เป็นไปในโลกทั้ง 2 อันใครจะปฏิวัติ ปรับปรุง เปลี่ยนเปลี่ยนไม่ได้ เพราะมีความสมบูรณ์ บริบูรณ์ ยุติธรรม ในการวางแนวทางไว้อย่างประเสริฐแก่เหล่าเทพยาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระพุทธเอกนพรัตน์ ประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณหัวเรือราชญาณฑีฆายุมงคล ซึ่งสร้างขึ้นในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เป็นปีกาญจนาภิเษก พระเทพโมลี ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ได้คิดรวบควมพระพุทธจริยาปางต่างๆ ที่ประจำวันของเทพนพเคราะห์ทั้ง 9 พระองค์ มี อาทิตยเทพ จันทรเทพ เป็นต้น และคนทั้งหลาย

รูปภาพ
พระภควัมบดี (พระอยู่เย็นเป็นสุข พระไม่มีหน้า)


พระภควัมบดี (พระอยู่เย็นเป็นสุข พระไม่มีหน้า) เป็นพระพุทธรูปที่มีรูปลักษณ์เหมือนพระสังกัจจายน์ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ปางขัดสมาธิเพชร บนกลีบบัว 3 ชั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา พระองค์นี้มีลักษณ์เหมือนกันทั้งสองด้าน คือ ไม่มีหน้า ไม่มีหลัง และไม่มีหน้าตา หมายถึง ปริศนาธรรม พระองค์นี้ประดิษฐานอยู่กลางเขาโพธิสัตว์ หน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 10 เมตร ประกอบด้วยรัศมีประภามงคล ฉัตรทอง 9 ชั้น สูงราว 4 เทคี ภายในองค์พระบรรจุแม่พิมพ์ของพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ รวม 1,250 องค์ ตามจำนวนของวิสุทธิสงฆ์จาตุรงคสันนิบาต หรือพระสงฆ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้อุปสมบท มารวมตัวกันในวันมาฆบูชานั่นเอง

เจดีย์ศรีมหาราช สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นราชสักการะปูชนียานุสรณ์ในปีกาญจนาภิเษก แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความสูง 45 เมตร กว้าง 12 เมตร ภายในเจดีย์มี 3 ชั้น จัดแบ่งเป็นห้องต่างๆ

ชั้นที่ 1 มีชื่อว่า “ห้องมหาราช” เป็นที่ประทับของพระบรมรูปหล่อของมหาราชทั้ง 8 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระนารายณ์มหาราช, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชการที่ 1), พระมหาเจษฎาราชเจ้า (รัชกาลที่ 3), พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5), พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลปัจจุบัน) และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ในฐานทรงเป็นพระบรมชนกนาถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย อีกทั้งวีรกษัตริย์ วีรกษัตรี และครูอาจารย์ผู้ทรงคุณูปการแห่งแผ่นดินไทย

ชั้นที่ 2 จัดแบ่งเป็นห้องสำคัญทางประวัติศาสตร์ อาทิ ห้องพระนางจามเทวี ห้องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ห้องสมเด็จพระสุริโยทัย ซุ้มเทิดพระเกียรติสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (รัชกาลที่ 6) และภาพสีน้ำพระสาทิสลักษณ์ของพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระสุริโยทัย พระราชธิดา ห้องสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรังสี) ห้องนี้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ประกอบด้วยพระสมเด็จโตเนื้อผงมากมายหลายขนาด เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ศึกษาและพิจรณาถึงปฏิปทาของพระอริยสงฆ์เจ้าพระองค์นี้ ห้องพระไตรปิฎก เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก และมีรูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แสดงธรรม รูปหล่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร) หลวงพ่อทวด และหลวงปู่โง่น โสรโย

ชั้นที่ 3 ชั้นบนสุดของเจดีย์องค์นี้ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และวัตถุมงคลต่างๆ

นอกจากนั้น ภายในวัดยังประดิษฐานวิหารพระนาคปรก วิหารเทพสถิต พระพุทธกุมารปางประสูติ พระอวโลกิเตศวรกวนอิมโพธิสัตว์ปางลีลา มหาจุติพระพิฆเนศวร นาคปริวัตนโพธิสัตว์นิมิตปุมุมาตย์สถิตเทวฤทธิ์อนุรักษ์ ท้าวเวสสุวรรณ และต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร) ได้นำเมล็ดพันธุ์มาจากประเทศอินเดีย บริเวณวัดนั้นกรมป่าไม้ได้ประกาศให้เป็นสถานที่อนุรักษ์ป่าธรรมชาติได้ดีที่สุดแห่งหนึ่ง

รูปภาพ
“เจดีย์ศรีพุทธคยา เฉลิมพระเกียรติ”


ขณะนี้วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ดำเนินการสร้าง “เจดีย์ศรีพุทธคยา เฉลิมพระเกียรติ” ซึ่งมีความโดดเด่นและงดงามมาก อันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ จำลองแบบสถาปัตยกรรมและงานพุทธศิลป์มาจากเจดีย์พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ทุกประการ มาสร้างไว้ ณ ยอดเขาโพธิสัตว์ วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ โดยย่อส่วนลงให้เหมาะสมกับพื้นที่ให้มีความสูง 28 เมตร เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ความกว้าง 16x20 เมตร ประดับลวดลายปูนปั้น ทางเข้าสู่เจดีย์จะเป็น ‘โตรณะ’ หรือซุ้มประตูปราสาทพร เป็นเสาสลักลวดลายแบบอินเดีย เมื่อเข้าถึงเจดีย์จะผ่านประตูชั้นล่าง ซึ่งมีซุ้มพระพุทธรูปประทับยืนศิลปะอินเดียทั้งสองข้าง มีหน้าบันใหญ่อยู่ด้านบนประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งและรอบๆ เป็นซุ้มพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์

ส่วนบริเวณรอบฐานเจดีย์ก็มีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งเช่นกัน ส่วนชั้นที่สอง มีลักษณะเป็นมุขเด็จทั้งซ้ายขวา มีการตกแต่งแผงกลาง 4 ทิศ รายรอบด้วยมุมพระพุทธรูป ส่วนเหนือขึ้นไปตรงกลางจะเป็นหน้าบันประดิษฐานพระพุทธรูปตามมุม แกะลวดลายปูนปั้นหน้ากาล องค์พระเจดีย์แต่ละด้านประดับด้วยหน้าบัน ซุ้มพระ และหน้ากาลลดหลั่นกันไปถึงยอด ภายในองค์เจดีย์มี 4 ชั้นดังนี้คือ ชั้นที่ 1 เป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธเมตตาสันติภาพ” เนื้อสำริด สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2550, ชั้นที่ 2 เป็นที่ประดิษฐาน “พระศรีอริยเมตไตรยศรีศากยสิงห์” สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ และชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐาน “พระคันธกุฎีจำลอง” ที่ได้จำลองพระคันธกุฎีที่ประทับของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อินเดียมาไว้ในรูปลักษณ์เดิม

บริเวณยอดเจดีย์ชั้นสูงสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีห้องปฏิบัติธรรม และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเนื้อศิลา ชื่อ “สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพ่อดำ”

รูปภาพ
เสาอโศก ณ เจดีย์ศรีพุทธคยา


สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงมีพระกรุณาคุณบริจาคทุนทรัพย์ร่วมทำบุญพื้นที่สร้างเจดีย์ศรีพุทธคยา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งนำความความปลื้มปิติโสมนัสยินดีแก่คณะกรรมการโครงการฯ เป็นที่ยิ่ง และนับเป็นพระกรุณาคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เมื่อทรงรับเป็นองค์ประธานงานสร้างเจดีย์ศรีพุทธคยา เฉลิมพระเกียรติฯ ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และได้พระราชทานพระราชทรัพย์ประดับองค์ผ้าป่าพระราชทาน 1 ล้านบาท ไปทอดถวายที่วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ฯ ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยมีประชาชนทุกหมู่เหล่าจากทั่วประเทศได้ร่วมเป็นเจ้าภาพกองผ้าป่าพระราชทาน เพื่อนำไปสมทบทุนในการจัดสร้างเจดีย์ศรีพุทธคยา เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นางสุมนา อภินรเศรษฐ์ เป็นผู้แทนพระองค์ไปประกอบพิธีสมโภชเฉลิมฉลองเจดีย์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และบัดนี้เปิดให้ประชาชนรวมถึงพุทธศาสนิกชนทั่วไปสามารถขึ้นสักการะได้แล้ว

เสาอโศก ณ เจดีย์ศรีพุทธคยา เป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับเจดีย์ศรีพุทธคยา สร้างด้วยหินทรายสีเหลืองสูง 9 เมตร พร้อมแกะสลักหินภาพพุทธประวัติทั้ง 4 ด้าน ด้านบนของเสาอโศกเป็นรูปสิงห์ในท่านั่ง แกะสลักจากหินทราย และที่ฐานสิงห์บนยอดเสาอโศก เพิ่มหน้าสิงห์เข้าไปอีก 4 หน้า 4 ทิศ จึงมีสิงห์บนยอดเสาอโศกรวม 5 สิงห์

สำหรับ รอยพระจริยวัตรของพระเจ้าอโศกมหาราชในการสร้างเสาอโศกนั้น ความว่า พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างแท่งหินกลมทรงกระบอก ปลายสอบ เพื่อเป็นเครื่องบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครื่องแสดงถึงการหยุดทำสงครามทางโลก แต่มาทำสงครามทางธรรมของพระเจ้าอโศกมหาราชแทน เสาอโศกจารึกหลักฐานทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับพระจริยวัตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และตำแหน่งของสังเวชนียสถาน อาทิ สวนลุมพินีวัน สถานที่ประสูติ แม่น้ำเนรัญชรา สถานที่ตรัสรู้ และเมืองกุสินารา สถานที่นิพพาน

รูปภาพ
งานพิธีสมโภชเฉลิมฉลองเจดีย์ศรีพุทธคยา


ในปี พ.ศ. 2550 คณะสงฆ์วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายวัดแห่งนี้เป็นวัดในพระองค์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ 84 พรรษา เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ เป็นวัดในพระองค์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550

พระครูวิจิตรสีลาภรณ์ รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงมีพระกรุณาธิคุณแก่วัดเป็นอย่างมาก นอกจากจะรับไว้ในอุปถัมภ์แล้ว ยังทรงสนับสนุนกิจกรรมทางวัดเรื่อยมา อาทิ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 อันเป็นวันประสูติของพระองค์ ครบ 7 รอบ 84 พรรษา ได้รับพระเมตตาให้จัดโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ 85 รูป สามเณร 11 รูป รวม 96 รูป, วันที่ 6-11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ได้อาราธนาพระสงฆ์ สามเณรเปรียญธรรมรวม 85 รูปจากวัดต่างๆ มาสาธยายพระไตรปิฎก ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับวัดเป็นวัดในพระองค์ฯ และทรงรับเป็นองค์ประธานงานก่อสร้างเจดีย์พุทธคยา กับทั้งพระราชทานพระอนุญาตให้ตั้งศูนย์เด็กเล็กในบริเวณหน้าวัดมีชื่อว่า “ศูนย์เด็กเล็กราชนครินทร์” ที่สำคัญพระองค์ทรงพระราชทานคำว่า “ราชนครินทร์” ไว้ใช้ในกิจกรรมที่สมควร กับอาคารอื่นๆ ในวัดอีกด้วย นับเป็นพระมหากรุณาอย่างหาที่สุดมิได้ เมื่อพระองค์จะสิ้นพระชนม์ไปแล้วทางวัดจะขอทำงานสานปณิธานที่พระองค์ให้ไว้ทุกกิจกรรมต่อไป

ทั้งนี้ คณะสงฆ์และคณะกรรมการโครงการจัดสร้างเจดีย์ศรีพุทธคยา เฉลิมพระเกียรติฯ ได้ร่วมประกอบพิธีสมโภชวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในพระองค์ฯ และฉลองตราสัญลักษณ์วัดที่ได้รับพระราชทานให้เป็นสิริสวัสดิ์แก่พุทธศาสนิกชน เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ความหมายตราสัญลักษณ์วัดในพระองค์ฯ

พระนามย่อ “กว.” ประดิษฐานด้านบนตราสัญลักษณ์ อันหมายถึง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ดอกบัว สื่อถึงพระพุทธศาสนา ซึ่งมีดอกบัวสีเงินและสีทอง

พระพุทธรูปตรงกลางดอกบัว อันเกิดจากลวดลายไทยของดอกบัว หมายถึง พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์ กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของพระพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วประเทศ

พระสงฆ์ 2 รูปนั่งพนมมือหันหน้าเข้าหากัน สื่อถึงพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

ตัวเลข ๘๔ หมายถึง การเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา ซึ่งตัวเลข “๘” และ “๔” เกี่ยวประสานกันเพื่อสื่อถึงพลังแห่งการประสานใจรวมใจเป็นหนึ่งเดียว เพื่อการเทิดพระเกียรติที่ยิ่งใหญ่ โดยตัวเลขดังกล่าวนี้ ใช้สีเหลือง 2 เฉด แทนสีจีวรพระสงฆ์ 2 นิกาย คือ ธรรมยุตินิกาย และมหานิกาย และรวมความหมายถึงเปลวพลังแห่งพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ทุกนิกาย เป็นพลังศรัทธาที่โชติช่วง เป็นพลังที่ทำให้จิตใจเป็นสุข สงบนิ่ง

รูปภาพ
ตราสัญลักษณ์วัด


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ (วัดเขาโคกเผ่น) จ.นครสวรรค์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19743

ประมวลภาพวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ (วัดเขาโคกเผ่น)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19742

แผนที่วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19741

เว็บไซต์วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์
http://www.watpasiri.com/
http://www.sribuddhakaya.com/kanlaya.php

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระจุฬามณีเจดีย์ ณ วัดคีรีวงศ์
............................................................................



วัดคีรีวงศ์
ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์ 056-222-009, 056-226-199
โทรสาร 056-312-175


พระวิกรมมุนี (บุญรอด ปญฺญาวโร ป.ธ.๕) เจ้าอาวาส

รูปภาพ
อุโบสถวัดคีรีวงศ์
............................................................................



วัดคีรีวงศ์ มีนโยบายหลักอยู่ 4 ประการคือ

1. ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร
2. ส่งเสริมการปฎิบัติกรรมฐานของพระภิกษุสามเณร และประชาชน
3. ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และ
4. ส่งเสริมการพัฒนาวัดให้สะอาด ร่มรื่นสวยงาม

วัดคีรีวงศ์ เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


รูปภาพ
พระวิกรมมุนี (บุญรอด ปญฺญาวโร ป.ธ.๕) เจ้าอาวาส

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์วัดคีรีวงศ์
http://www.kiriwong.net/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ศูนย์ปฏิบัติธรรม สวนธรรมหาดเสลา
ศูนย์ปฏิบัติธรรม ธาราศัย
บ้านหาดเสลา ต.เขาดิน อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ 60230
โทรศัพท์ 056-223-051-60, 081-886-8521,
081-283-6972 โทรสาร 056-223-054


ศูนย์ปฏิบัติธรรม “สวนธรรมหาดเสลา” เป็นเรือนไทยโบราณ บรรยากาศสวนร่มรื่น สงบเย็น สัปปายะ เหมาะสำหรับคนที่ชอบปฏิบัติปลีกวิเวก พร้อมทั้งมีครูบาอาจารย์ ผู้รู้ มาแสดงธรรมและนำพาปฏิบัติธรรม ทั้งนี้ จะมีการจัดอบรมปฏิบัติวิปัสสนาอยู่สม่ำเสมอ

ส่วน ศูนย์ปฏิบัติธรรม “ธาราศัย” อยู่ติดริมแม่น้ำ ลมพัดเย็น บรรยากาศสงบสบาย น่าอยู่น่าปฏิบัติมาก

รูปภาพ

ท่านพุทธศาสนิกชนที่สนใจจะเข้าร่วมประพฤติปฏิบัติธรรมในบรรยากาศริมแม่น้ำ สัมผัสกับธรรมชาติที่สงบร่มเย็น
ขอเชิญเข้าร่วมสำรวมธรรมกันได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติธรรม “สวนธรรมหาดเสลา” และ “ธาราศัย”

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณต่อศักดิ์ บางเหลือง โทร. 081-9734534 ครับ
.....สาธุ.....แด่ผู้ที่เจริญในธรรม.....ธรรมะสวัสดี.....


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ


นำข้อมูลมาจาก : คุณต่อศักดิ์ บางเหลือง

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สำนักสงฆ์รอยพระพุทธบาทเขากะลา
ต.เขากะลา อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 60130


สำนักสงฆ์รอยพระพุทธบาทเขากะลา เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่สัปปายะ เงียบสงบ ร่มรื่น และเย็นใจ
มีแนวปฏิบัติแบบนั่ง เดิน นอน ยืน ภาวนาพุทโธ ฝึกสติ เหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมทั่วๆ ไป

รูปภาพ
พระพุทธรูปภายในสำนักสงฆ์ฯ

รูปภาพ
สำนักสงฆ์ฯ อยู่ติดเขา บรรยากาศดีมาก

รูปภาพ
รอยพระพุทธบาท (รอยเล็ก)

รูปภาพ
รอยพระพุทธบาท (รอยใหญ่)


นำข้อมูล-รูปภาพของสำนักสงฆ์รอยพระพุทธบาทเขากะลา มาจากคุณเด่นชัย

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดหนองโพ (วัดหลวงพ่อเดิม)
หมู่ 1 บ้านหนองโพ ต.หนองโพ
อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ 60140
โทรศัพท์ 056-338-222,
056-338-256, 081-324-6171


พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร)
และพระครูนิวาสธรรมโกวิท (หลวงพ่อประเทือง อินฺทวีโร)
อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองโพ (วัดหลวงพ่อเดิม)


วัดหนองโพ เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองตาคลี จ.นครสวรรค์ พระวิปัสสนาจารย์คือ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร) ดวงประทีปแห่งหนองโพ ท่านเป็นพระมหาเถระที่รูปร่างสูงใหญ่ ผิวค่อนข้างขาว ศรีษะของท่านยาวและเป็นสง่า ไม่ว่าท่านจะนั่ง ยืน เดิน ดูแล้วน่าเคารพเลื่อมใส เจรจาพาทีมีแต่คำหวานหู ไม่แช่งด่าใคร มีความเมตตาปราณี แววตาของท่านฉายแววสันติ และเปี่ยมด้วยความกรุณาต่อสัตว์ผู้ยากทุกตัวตน ลักษณะพิเศษของท่านคือ นั่งยืดตัว ลำตัวตรง ไม่ค้อมเอียงไปด้านใด หรือหลังค่อม ยิ้มแย้มแจ่มใส่เป็นนิจ ไม่เคยเห็นท่านหน้าบึ้งเลยแม้ว่าจะมีอารมณ์โกรธ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติหลวงพ่อประเทือง อินฺทวีโร โดยสังเขป

“หลวงพ่อประเทือง อินฺทวีโร” หรือ “พระครูนิวาสธรรมโกวิท” อดีตเจ้าคณะตำบลหนองโพ เขต 1 และอดีตเจ้าอาวาสวัดหนองโพ ต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นพระสงฆ์ที่เพียบพร้อมด้วยจริยาวัตรที่งดงาม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเสมอต้นเสมอปลาย มักน้อย ถือสันโดษ มีเมตตาธรรมสูง จนเป็นที่เลื่อมใสอยู่ในศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวนครสวรรค์มาโดยตลอด

อัตโนประวัติ เกิดในสกุล สังข์ทิพย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม 2481 ณ บ้านเลขที่ 232 หมู่ 1 ต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดหนองโพ (นิวาสานุสรณ์) แล้วออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ

จนเมื่ออายุผ่านวัยเกณฑ์ทหาร ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2502 ณ พัทธสีมาวัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ โดยมีพระครูนิพนธ์ธรรมคุต (หลวงพ่อน้อย เตชปุญโญ) เจ้าอาวาสวัดหนองโพ (ในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูนิพัทธสีลคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ฉอ้อน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายา “อินฺทวีโร”

อยู่จำพรรษาวัดหนองโพ 1 พรรษา และสอบได้นักธรรมชั้นตรี

พ.ศ.2503 ย้ายไปศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่วัดนครสวรรค์ สอบได้นักธรรมชั้นโท-เอก ตามลำดับ และสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค

พ.ศ.2510 ได้เข้าไปเรียนต่อที่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ ประจำอยู่ที่คณะ 24 เป็นเวลา 5 พรรษา สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค

พ.ศ.2515 ย้ายกลับมาเป็นครูสอนนักธรรมและบาลีที่วัดนครสวรรค์

ช่วงปี พ.ศ.2517 พระครูนิพนธ์ธรรมคุต (หลวงพ่อน้อย เตชปุญโญ) เจ้าอาวาสวัดหนองโพ ไม่มีพระคอยช่วยดูแลความสงบเรียบร้อยภายในวัด

คณะกรรมการวัดและชาวบ้านหนองโพเล็งเห็นว่า พระมหาประเทือง อินฺทวีโร เป็นพระที่มีความเหมาะสม ควรที่จะสืบทอดเป็นผู้บริหารดูแลวัดหนองโพต่อไป จึงได้นิมนต์ท่านมาเป็นรองเจ้าอาวาสวัดหนองโพ แต่ท่านปฏิเสธยังไม่รับนิมนต์จากชาวบ้านในครั้งนั้น

พ.ศ.2518 ชาวบ้านไม่ละความพยายาม ได้ไปนิมนต์ท่านอีกครั้ง ด้วยความจริงใจของชาวบ้าน จึงยอมรับนิมนต์มาจำพรรษา ณ วัดหนองโพ

พระมหาประเทืองได้คอยรับใช้ใกล้ชิด ช่วยแบ่งเบาภาระงานของหลวงพ่อน้อยในทุกด้านตลอดมา หลวงพ่อน้อยได้มีเมตตารับพระมหาประเทืองเป็นศิษย์ถ่ายทอดวิชาอาคม เมตตามหานิยมต่างๆ ตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาจากหลวงพ่อเดิมทุกประการ

พ.ศ.2520 พระมหาประเทืองได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดหนองโพ พ.ศ.2524 เป็นเจ้าคณะตำบลหนองโพ เขต 1 และพ.ศ.2526 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2527 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูนิวาสธรรมโกวิท

พ.ศ.2533 หลวงพ่อน้อยได้มรณภาพลง ทำให้พระครูนิวาสธรรมโกวิท (หลวงพ่อประเทือง อินฺทวีโร) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองโพสืบแทน

ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปี ชาวบ้านมักกล่าวขวัญว่า หลวงพ่อประเทืองเป็นศิษย์ของหลวงพ่อน้อย เตชปุญโญ สายหลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร อย่างแท้จริง เพราะหลวงพ่อประเทืองเป็นพระเถระที่ชาวบ้านหนองโพให้ความเลื่อมใสศรัทธา ข้อเสนอแนะที่ผ่านการพิจารณาจากหลวงพ่อประเทือง ชาวบ้านหนองโพจะยึดถือและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจและศรัทธาเป็นยิ่งนัก

สำหรับงานด้านการพัฒนาวัดนั้น ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุและสถานที่สำคัญของวัดมาโดยตลอด อาทิ สร้างโรงครัวใหม่ 1 หลัง ซ่อมอุโบสถหลังเก่า ซ่อมแซมกำแพงเจดีย์ 3 องค์ เทพื้นคอนกรีตรอบอุโบสถและเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กรอบศาลา บูรณะสระบัว ติดกระจกศาลาประชาสามัคคี สร้างรูปปั้นช้างหลวงพ่อเดิม สร้างห้องสุขา 8 แห่ง สร้างรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กรอบวัด และเป็นประธานจัดตั้งมูลนิธิหลวงพ่อเดิม เพื่อส่งเสริมการศึกษาบุตร-ธิดา ของชาวบ้านหนองโพด้วย

ด้วยสังขารไม่เที่ยง พระครูนิวาสธรรมโกวิท (หลวงพ่อประเทือง อินฺทวีโร) เกิดอาพาธอาการหายใจไม่สะดวกเฉียบพลัน ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสวรรค์ จ.นครสวรรค์ และได้มรณภาพลงด้วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง เมื่อเวลา 05.15 น. ของวันที่ 17 ธันวาคม 2550 สิริอายุรวมได้ 69 ปี 11 เดือน 17 วัน พรรษา 48

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ หีบเพลิงพระราชทาน เพื่อประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2552 เวลา 16.00 น. ณ จิตกาธาน (เมรุชั่วคราว) วัดหนองโพ โดยมีพระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต ป.ธ.9) วัดสุทัศนเทพวราราม รองเจ้าคณะภาค 4 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนายศุภกิจ บุญฤทธิพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์

หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน หน้า 31
คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6 โดย สุธน พันธุเมฆ
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6659


รูปภาพ
หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร

รูปภาพ
หลวงพ่อประเทือง อินฺทวีโร


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14444

ประมวลภาพพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=19652

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


สำนักปฏิบัติธรรมวัดสระโบสถ์
หมู่ 13 บ้านสระโบสถ์ ต.ดอนคา
อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ 60160


สำนักปฏิบัติธรรมวัดสระโบสถ์ มีโครงการจัดฝึกอบรม บวชปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนา ให้แก่สาธุชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรตามสถานศึกษาทั่วไป ตลอดจน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ เป็นต้น

วัดสระโบสถ์ เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ



-----------------------------------------------------

รูปภาพ

วัดเขาพรหมวิหาร
หมู่ 4 บ้านถังแดง ต.แม่วงก์
อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ 60150


บรรยากาศภายในวัดเขาพรหมวิหาร สงบเงียบ สงบเย็นมาก เป็นวัดเขาจริงๆ อยู่ห่างจากปากทาง 40 กว่ากิโลเมตร สองข้างทางมีแต่ท้องทุ่งนา เหมาะสำหรับไปปลีกวิเวกปฏิบัติธรรม ทางวัดมีการจัดงานปริวาสกรรมและบวชศีลจาริณีเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

หมายเหตุ : นำรูปภาพมาจาก
http://gibgive.multiply.com/photos/album/7

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร