วันเวลาปัจจุบัน 14 พ.ย. 2024, 02:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


เชิญประชาสัมพันธ์สถานที่ปฏิบัติ โดยการลงชื่อ-ที่อยู่ กำหนดการ-ระเบียบการ และเว็บไซต์ (ถ้ามี)
ของสถานที่ปฏิบัติธรรม จังหวัดพัทลุง ได้เลยครับ


เว็บไซต์จังหวัดพัทลุง
http://phatthalung.ect.go.th

.......

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่กระดานสนทนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=1


:b8:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดถ้ำสุมะโน (วิปัสสนา)
ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง 93000
โทรศัพท์ 074-619616-7, 087-289-8211


พระอาจารย์เดช สุมโน (พระคูรภาวนาสุมณฑ์) ประธานสงฆ์

พระอาจารย์จำลอง ติกฺขวีโร เจ้าอาวาส


วัดถ้ำสุมะโน เป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


กฎระเบียบผู้ที่มาถือบวช (เนกขัมมะฯ)

๑. ลงทะเบียนเก็บบัตรประชาชนไว้ทุกครั้ง
๒. ซ้อมพิธีการบวชและคำขอบวชให้ได้เสียก่อน
๓. โทรศัพท์ที่นำติดตัวมาต้องทำหลักฐานมอบให้เจ้าหน้าที่เก็บรักษาไว้
๔. แจ้งให้ทางบ้าน หน่วยงาน หรือต้นสังกัดให้ทราบ
เมื่อมีธุระด่วนให้ติดต่อมาที่หมายเลข ๐๘๗-๒๘๙-๘๒๑๑
๕. การถือบวชให้มีกำหนด ๓ วัน, ๗ วัน
๖. กรณีที่มีความประสงค์ในการถือบวชมากกว่า ๗ วัน
ต้องมาปรึกษากับเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาส โดยตรงเท่านั้น
๗. วันที่มาถือบวชได้คือ วันศุกร์, เสาร์, อาทิตย์, วันพระ
(ยกเว้นงานประจำปี,วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา)
๘. การถือบวชแต่ละครั้ง ต้องถือบวชกับเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสโดยตรง
(เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาส)
๙. หลังจากบวชแล้ว ต้องถือปฏิบัติตามกฎระเบียบของอุบาสิกาอุบาสก
ตลอดจนกฎระเบียบของทางวัดอย่างเคร่งครัด
๑๐. กฎระเบียบนี้มีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในมติสงฆ์ของวัดถ้ำสุมะโน

รูปภาพ

ประวัติวัดถ้ำสุมะโน

สถานที่สร้างวัดถ้ำสุมะโน ภูเขาที่เป็นถ้ำสองลูกนี้ เดิมเป็นสถานที่ว่างเป็นป่าปกคลุม มีดินกลบอยู่ จนไม่มีใครสงสัยว่าเป็นถ้ำ แต่เนื่องด้วยได้ถูกค้นพบโดย พระอาจารย์เดช สุมโน ท่านเป็นพระที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ทางภาคอีสาน อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เมื่อบวชแล้วออกธุดงค์อยู่ ๕ พรรษา แล้วเข้ามาศึกษาปริยัติธรรมที่กรุงเทพมหานคร

และหลังจากออกพรรษาแล้วก็ไปเยี่ยมพระอาจารย์ท่านหนึ่งทางแถบภาคอีสานและเมื่อได้โอกาศกราบท่านแล้ว พระอาจารย์ท่านได้ปรารภขึ้นว่า “ท่านเดชเอ๋ย หลวงพ่ออยู่ในถ้ำ ร้อนก็ไม่ร้อน หนาวก็ไม่หนาว”

คำพูดสั้นๆ ประโยคนี้เป็นที่ประทับใจของอาจารย์เดชมาก ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๕ คิดจะออกจากการเรียนปริยัติธรรมที่กรุงเทพมหานคร แล้วกลับไปสู่ป่าตามเดิม จึงนึกคำพูดสั้นๆ วันนั้น ก็ได้ไปตั้งจิตอธิฐานที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ว่าขอให้พบถ้ำที่ถูกใจและหลังจากอธิฐานแล้วก็ได้แสวงหาถ้ำมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้ธุดงค์ไปทางภาคเหนือ จึงจำพรรษาที่วัดถ้ำเชียงดาว และในพรรษานั้นเองก็รู้จุดถ้ำที่ตัวเองต้องการว่าอยู่ทางภาคใต้ ระยะทางจากจังหวัดพัทลุงไปทางจังหวัดตรัง มาตามถนนเพชรเกษม ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร

จนกระทั่งออกพรรษาก็ธุดงค์ลงมาทางภาคใต้ มาพักที่จังหวัดภูเก็ต เพราะคุ้นเคยกับญาติธรรมชาวจังหวัดภูเก็ต เพราะเคยจำพรรษาที่นั่น แล้วก็เดินทางต่อมาพักที่ถ้ำน้ำใต้บ่อ วันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๓o ได้มาถึงจุดหมายที่กำหนดไว้ วันรุ่งขึ้นก็ค้นหาถ้ำที่ตนเองต้องการ จนพบภูเขาลูกเล็กๆ ซึ่งถูกปกคลุมไปด้วยป่า จึงแหวกป่าเข้าไปในภูเขาก็เห็นถ้ำ เปล่งวาจาตั้งสัจจะอธิฐานในถ้ำแห่งนี้ว่า “ข้าพเจ้าจะพัฒนาถ้ำแห่งนี้ให้เป็นที่รวมญาติสายโลหิตแห่งธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

วันปฐมแห่งการพัฒนาถ้ำครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓o ตรงกับวันอังคารขึ้น ๒ ค่ำ เดือน๖ ปีเถาะ ข่าวนี้ได้รู้ไปถึงญาติธรรมชาวจังหวัดภูเก็ต ก็ได้เดินทางมาช่วยพัฒนาวัดถ้ำแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓o ถ้ำแห่งนี้ไม่มีชื่อมาก่อน คณะญาติธรรมจึงได้ตั้งชื่อว่า “ถ้ำสุมะโน” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยตั้งชื่อตามฉายาของผู้ค้นพบถ้ำเป็นคนแรก คณะชาวภูเก็ต ๒o คน โดยการนำของคุณณรงค์ นพดารา พระอาจารย์เดช สุมโน ค้นพบถ้ำแห่งนี้ครั้งแรกมีอายุเพียง ๓๖ ปี พรรษา ๑๔ ต่อมาคุณบัญชา นำศรีรัตน์ ถวายที่ดินรอบภูเขา ๘ ไร่ที่มีเอกสาร น.ส.๓ ก. ให้สร้างวัดมีนามว่า วัดถ้ำสุมะโน และมีผู้ศรัทธาซื้อที่ดินถวายเพิ่มเติมรอบภูเขาสองลูก ๗๘ ไร่ รวมทั้งภูเขาด้วยประมาณ ๕oo ไร่

วัดถ้ำสุมะโนมีถ้ำอยู่ภายใน ๑๘ ถ้ำ ๑. ถ้ำพระอุโบสถ ๒. ถ้ำหอฉันบรรจบ ๓. ถ้ำนพดารา ๔. ถ้ำอรทัย ๕. ถ้ำสุพัฒชนะ (ฤาษี) ๖. ถ้ำพุทธบัณฑิต ๗. ถ้ำนกคุ้ม ๘. ถ้ำแก้ว ๙. ถ้ำแม่มหามงคล ๑๐. ถ้ำน้ำลอด ๑๑. ถ้ำพญานาค ๑๒. ถ้ำพ่อมหาราช ๑๓. ถ้ำหลวงพ่อทราย ๑๔. ถ้ำพระธาตุสิวลี (น้ำตก) ๑๕. ถ้ำพระนอน ๑๖. ถ้ำมาฆะ ๑๗. ถ้ำลับแล ๑๘. ถ้ำค้างคาว

รูปภาพ

งานปฏิบัติธรรมของวัดถ้ำสุมะโน

๑. การปฏิบัติธรรมบวชเนกขัมมะชีพราหมณ์ตลอดทั้งปี

๒. ปฏิบัติธรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลให้กับตัวเองทุกปี

๓. ปฏิบัติธรรมวันมาฆะบูชา (วันเพ็ญเดือน ๓) ทุกๆ ปี

๔. อบรมพัฒนาจิตหลักสูตรคุณแม่ดร.สิริ กรินชัย ระหว่างวันที่ ๗-๑๔ เมษายน โดยมีคุณอำพัน-คุณสุมารัตน์ วิประกษิต และครอบครัว เป็นผู้อุปถัมภ์ เปิดรับผู้อบรมไม่จำกัดจำนวน เป็นประเพณีทุกปี

๕. ฉลองครบรอบพัฒนาวัดถ้ำประจำปี ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๙ เมษายน เป็นประจำทุกปีมีการปฏิบัติธรรม และทำบุญตักบาตรพระอยู่ธุดงค์ปฏิบัติธรรมเข้าปริวาสกรรม

๖. ปฏิบัติธรรม และเวียนเทียนรอบภูเขา วันวิสาขบูชา (วันเพ็ญเดือน ๖)

๗. ประเพณีการทอดกฐินสามัคคี และปฏิบัติธรรม ในวันอาทิตย์ที่หลังจากออกพรรษาของทุกปี

วัดถ้ำสุมโนตั้งอยู่บนภูเขา มีถ้ำหลายถ้ำ สามารถไปปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลา ที่พักสะดวกมาก ไม่รับประทานเนื้อสัตว์

รูปภาพ

ประวัติพระอาจารย์เดช สุมโน

นามเดิม เดช หอกกิ่ง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ตรงกับขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๒ ปีเถาะ พ่อชื่อทราย (หลวงพ่อทราย สุภาจาโร) แม่ชื่อสิน หอกกิ่ง ตาชื่อจันทร์ ยายชื่อแก้ว อาบกิ่ง ปู่ชื่อบุญ ย่าชื่อก้อน หอกกิ่ง เกิดที่บ้านปอแดง ตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๖ ณ พัทธสีมาวัดห้วยสะแกราช โดยมีพระครูสาทรคณารักษ์ (หลวงปูก้อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดวัดปอแดง ตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา พระอาจารย์วิชัย นิรามโย เป็นเจ้าอาวาส มีศักดิ์เป็นหลวงน้า หลวงพ่อมหาธนิต ปัญญาปสุโต ป.ธ.๙ เป็นพระสอนกัมฐาน

วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดตามกฎหมาย

วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่งตั้งเป็นวัดถ้ำสุมะโนตามกฎหมาย

วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอธิการเดช สุมโน เจ้าอาวาส

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์วัดถ้ำสุมะโน (วิปัสสนา)
http://www.watthamsumano.net/
http://www.watthamsumano.net/watthamsum ... _tham.html
http://chanlowfat.multiply.com/photos/album/13

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดป่าลิไลย์
หมู่ 7 ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง 93000
โทรศัพท์ 074-613-735


พระครูกิตติวราภรณ์ (พระอาจารย์ ดร.ทวี กิตติญาโณ) เจ้าอาวาส

วัดป่าลิไลย์ เป็นวัดที่มีสภาพภูมิทัศน์ที่ร่มรื่นมาก มีสวนป่าที่สงบเงียบ สงบเย็น สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม เจริญจิตภาวนา เป็นวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเล มีสถานที่พักผ่อน และมีที่พักสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเดินทางมาพักปฏิบัติธรรม ทางวัดมีเรือนรับรอง และให้บริการแก่ผู้มาเยือนเป็นอย่างดีเยี่ยม

วัดป่าลิไลย์ เป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต
............................................................................



วัดบางแก้วผดุงธรรม
(วัดหลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต)
หมู่ 1 ต.ท่ามะเดื่อ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง 93140


พระครูอดิศัยศิลวัฒน์ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระครูวิจิตรกิตติคุณ (หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต) อดีตเจ้าอาวาส



* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

สังเขปประวัติหลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต
วัดบางแก้วผดุงธรรม อ.บางแก้ว จ.พัทลุง


“หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต” หรือ “พระครูวิจิตรกิตติคุณ” มีนามเดิมว่า เปลื้อง มุสิกอุปถัมภ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2446 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง ณ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายอ้น และนางเอี่ยม มุสิกอุปถัมภ์

ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุครั้งแรกเมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ แล้วลาสิกขาออกมามีครอบครัว แต่ในขณะเป็นฆราวาสท่านก็ปฏิบัติอยู่จนภรรยาของท่านถึงแก่กรรม และท่านก็รอให้ลูกๆ ของท่านโตก่อนจึงได้อุปสมบทอีกครั้งเมื่ออายุได้ 60 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2506 ในช่วงอุปสมบทครั้งที่ 2 ท่านเล่าไว้ว่า

“อาตมาบวชเมื่ออายุล่วงกาลผ่านวัยมามาก เมื่อบวชแล้วได้เพียรพยายามประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังไม่ท้อถอย มีความตั้งใจมั่นคงในชีวิตพรหมจรรย์อย่างที่ท่านกล่าวว่า อุรํ ทตฺวา ถวายกายตั้งสัจจาอธิฐานเป็นเดิมพันเพื่อพิสูจน์หลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เมื่อปฏิบัติไปก็ได้ผลจริง...”

โดยการปฏิบัติของท่านอย่างหนึ่งก็คือท่านจะถือเนสัชชิกธุดงค์ คือการถือไม่นอนเป็นวัตร อันมีมูลเหตุที่ว่า เมื่อบวช 10 ปี มีอยู่วันหนึ่งท่านง่วงนอนมากจึงคิดว่า

“เมื่อไม่นอนกลางวัน แต่มันอยากนอนมากนัก ก็ไม่นอนกลางคืนด้วยเสียเลย”

ท่านจึงตั้งสัจจะไว้ไม่นอน 3 เดือน เมื่อตั้งสัจจะได้เพียง 7 วัน ท่านป่วยกระทันหัน มีอาการเส้นท้องตึงแข็ง และมีโรคแทรกซ้อนสารพัด หมอ พระเณรต้องขอให้ท่านนอนถึงจะหาย ท่านบอกว่าได้อธิฐานไว้แล้วจะไม่นอน ถ้าชาตินี้ไม่จริง ชาติหน้าก็ไม่จริง ถ้าจะตายก็ให้ตายไปเลย ท่านจึงไม่ยอมนอนต้องนั้งรักษากันไป อาการป่วยก็เป็นมากขึ้น ท่านต้องคลานไปคลานมาในกุฏิ ทรมาน 2 เดือนกว่า มีหมอนวดมานวดเส้นจนถูกเส้นท่านเข้า ท้องหย่อนนิ้มลง หายเป็นปกติรวมถึงโรคสารพัดที่ท่านเคยเป็นอยู่ หลังจากนั้นท่านก็ตั้งสัจจะจะไม่นอนตลอดชีวิต

ดังที่ท่านได้เขียนไว้เป็นคำกลอนว่า

ถือธุดงค์ ข้อสิบสาม ตามคำสอน
ตัดการนอน ผมทนนั้ง จนหลังแข็ง
วันที่แปด ธันวา ผมแสดง
พ.ศ.แจ้ง สองห้าหนึ่งสี่ ตอนปีปลาย
หลักการสอน ตัดการนอน คือตัวทุกข์
ของเป็นสุข ยังตัดได้ ไม่ขัดขืน
สละสุข ทุกข์ดับ สุขกลับคืน
จิตชุ่มชื่น อยู่ในธรรม ประจำวัน
ผมผู้เขียน ขอแนะนำ ทำมาแล้ว
จิตผ่องแผ้ว สุขสบาย ไม่ใช่ฝัน
ยังปฏิบัติ ฝึกหัดตน จนทุกวัน
จิตตั้งมั่น อดทน จนวันตาย
เว้นไว้แต่ ประสบยาม ความอาพาธ
พญามัจจุราช สั่งงด หมดความหมาย
ถึงหมดแรง หมดฤทธิ์ จิตไม่คลาย
รักษาไว้ ซึ่งความสัตย์ ปฏิญาณ

ท่านพูดเป็นคำคมว่า “คนทั่วไปนอนแล้วสบาย พระปฏิบัติไม่นอนแล้วสบาย”

คำกลอนหลวงปู่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการปฏิบัติ เมื่อธรรมะเกิดขึ้นท่านจะเขียนจดไว้ตามเศษกระดาษหรือสมุดใกล้ตัวท่าน แล้วศิษย์จึงรวบรวมพิมพ์เป็นเล่มขึ้นมา ปัจจุบันองค์ท่านหลวงปู่ได้มรณะภาพแล้วเมื่อไม่นานมานี้ เกศาของท่านกลายเป็นพระธาตุมีลักษณะเป็นทองคำ

จาก...หนังสือประวัติและธรรมะของหลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต
ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ โดยเรือเอกประมาณ ตาทฤศโธรัยห์


รูปภาพ
หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต


หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต
อริยสงฆ์ผู้อธิษฐานไม่นอนตลอดชีวิต


“เหนือลิขิต ประกาศิตฟ้าดิน” ฉบับนี้จะพาท่านผู้อ่านไปพบพระเถระผู้อยู่เหนือธรรมชาติ คือ ไม่นอนตลอดชีวิต เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นได้แต่ก็เป็นไปแล้ว และปรากฏเป็นจริงจนเป็นที่กล่าวขวัญกันตลอดมา

นาวาอากาศเอกอภิชัย ศักดิ์สุภา แห่งกองทัพอากาศเล่าว่า เมื่อครั้งที่ไปรับตำแหน่งผู้บังคับกองทัพทหารอากาศโยธินกองบิน ๕๖ กองพลบินที่ ๔ จังหวัดสงขลา ได้พบพระเถระผู้ทรงศีลเป็นเลิศท่านหนึ่ง ชื่อ “หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต” ท่านเป็นพระเถระที่อธิษฐานจิตไม่นอนตลอดชีวิตมุ่งนั่งบำเพ็ญเพียรภาวนาตลอดเวลาจนบรรลุธรรมชั้นสูง มีอยู่ครั้งหนึ่ง นาวาอากาศเอกอภิชัย ศักดิ์สุภา เล่าว่า

เรื่องที่ผมประสบด้วยตัวเองก็คือ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ผมได้พาภรรยากับน้องชายของภรรยาไปกราบ หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต ที่วัดบางแก้วผดุงธรรม เนื่องจากเมื่อวานผมได้ไปงานทอดกฐินสามัคคีที่วัดนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ก็ได้ถ่ายรูปไว้จำนวนหนึ่ง คาดว่าคงจะถ่ายได้อีกสัก ๑๒ รูป ซึ่งผมก็ได้ถ่ายรูปอิริยาบถต่างๆ ของหลวงปู่เปลื้องไว้ ก็ไม่เห็นท่านว่าอะไร

พอผมเข้าไปขออนุญาตให้ภรรยากับน้องชาย นั่งด้านล่างที่พื้นข้างหน้าท่านเพื่อถ่ายรูป ท่านกลับทักผมว่า “มันจะติดหรือ? มันไม่มีไอ้นั่นน่ะ” ผมก็เข้าใจว่าไอ้นั่นที่พูดถึงคือแฟลช ผมจึงตอบท่านว่า “ติดครับ แต่อาจจะไม่ชัดนัก” แล้วผมก็ถ่ายรูปไว้ ๑ รูป จากนั้นผมก็ให้ภรรยามาเป็นคนถ่ายรูปให้ผมบ้าง ซึ่งท่านก็ทักอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “มันจะติดหรือ?” ผมกับภรรยาก็ยืนยันว่าติดแน่นอน ภรรยาของผมจึงถ่ายรูปไว้อีก ๑ รูป

หลังจากที่ออกจากวัดบางแก้วผดุงธรรมแล้ว ผมได้พาภรรยากับน้องชายไปเที่ยวน้ำตกโตนงาช้าง โดยผมให้กล้องถ่ายรูปไปด้วย พร้อมบอกว่าให้ถ่ายรูปให้ฟิล์มหมดม้วนไปเลย ส่วนผมของีบในรถ ครึ่งชั่วโมงต่อมาภรรยากับน้องชายก็กลับมา และบอกว่าถ่ายไปประมาณ ๑๐ รูป แล้วฟิล์มยังไม่หมดสักที

ผมรับกล้องมาด้วยความสงสัย จึงเปิดฝาหลังกล้องดู ปรากฏว่าไม่มีฟิล์มอยู่ในกล้อง! ผมกับภรรยาถึงกับหัวเราะกันยกใหญ่ หัวเราะที่ว่าหลวงปู่ท่านก็ทักแล้วถึง ๒ ครั้ง ผมยังดันทุรังถ่ายรูปอยู่ได้

นาวาอากาศเอกอภิชัย เล่าว่า เป็นเรื่องที่หลวงปู่ล่วงรู้ได้เหมือนตาเห็น และอีกเรื่องหนึ่งคือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ทอ. ได้ย้ายเครื่องบิน T-๓๓ ทั้งหมดมาประจำการที่ กองบิน ๕๖ฯ จังหวัดสงขลา เนื่องจากเครื่องบิน T-๓๓ มีอายุการใช้งานมานาน สภาพและสมรรถนะของเครื่องยนต์ก็เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ถึงแม้ว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างฯ จะทำการบำรุงรักษาและซ่อมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม ยังปรากฏว่าเครื่องบิน T-๓๓ มักจะประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ ทำให้นักบินต้องเจ็บ-ตายไปหลายคน

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ทางกองบิน ๕๖ฯ จึงได้นิมนต์หลวงปู่เปลื้องจากวัดบางแก้วผดุงธรรม มาทำพิธีและพรมน้ำมนต์ให้กับเครื่องบิน T-๓๓ นอกจากนี้ทางกองบิน ๕๖ฯ ยังขอเส้นเกศาของหลวงปู่เปลื้องมาติดไว้ในห้องนักบินทุกเครื่อง เพื่อเป็นสิริมงคลและรอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง และที่น่าทึ่งเป็นที่สุดก็คือ หลังจากหลวงปู่เปลื้องไปทำพิธีและติดเส้นเกศาของท่านในเครื่องบิน T-๓๓ แล้ว ไม่เคยปรากฏว่ามีเครื่องบิน T-๓๓ ประสบอุบัติเหตุตกอีกเลย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ทอ. จึงได้ปลดประจำการเครื่องบิน T-๓๓ นี้จนหมดสิ้น รวมอายุการใช้งานใน ทอ. ไทยก็ ๔๐ ปี พอดี

หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต หรือพระครูวิจิตรกิตติคุณ นามเดิมท่านชื่อ เปลื้อง มุสิกอุปถัมภ์ บิดาชื่อ นายอ้น มุสิกอุปถัมภ์ มารดาชื่อ นางเอี่ยม มุสิกอุปถัมภ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

เมื่ออายุ ๕-๖ ขวบ ได้เรียนหนังสือที่วัดห้วยลึก อำเภอปากพะยูน เรียนอยู่ปีเศษก็สามารถอ่านและเขียนได้หมด ตอนเด็กๆ ท่านลำบากมาก ตัวเล็กและขี้โรค พอท่านโตขึ้นมาก็ยังเจ็บป่วยบ่อยๆ เป็นโรคนานาชนิด ไม่คิดว่าจะอายุยืนถึง ๓๐ ปี แต่เวลาเจ็บป่วยครั้งใด จะมีเทวดามาบอกยาให้ไปทำกิน แล้วจะหายทุกครั้ง ยาที่เทวดาบอกมี ๒-๓ ขนาน (ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรมีพิษ)

เมื่ออายุ ๑๙ ปี ได้บวชเป็นสามเณรที่วัดโตนด อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และเมื่ออายุ ๒๐ ปี ก็ได้ญัตติเป็นพระภิกษุ โดยมีพระธรรมจักรราม เป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่วัดประดู่หอม ท่านบวชอยู่ ๒ พรรษา สอบได้นักธรรมตรี แต่ไม่ได้ปฏิบัติ ท่านขยันเรียนมาก แต่ไม่มีที่เรียนต่อใกล้ๆ ต้องไปเรียนกรุงเทพฯ จึงได้สึกออกมา เมื่ออายุ ๒๔ ปี มารดาจัดให้แต่งงาน มีบุตร ๓ คน

ขณะที่เป็นฆราวาสท่านชอบถือศีล ๘ เป็นคนใจบุญสุนทาน ชอบไปวัดไปช่วยงานสัปเหร่อเผาศพ คอยพลิกศพ สมัยนั้นเขาจะพลิกศพบนกองฟอน ต้องมีคนคอยพลิกศพไปมา ศพจะได้ไหม้ทั่วๆ จนหมด

ท่านฝึกพูดแต่คำจริงอยู่ ๒๐ ปี ถึงจะสมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คือทุกอย่างที่พูดออกมาเป็นเรื่องจริงทั้งสิ้น ดั่งภาษิตที่ท่านบอกว่า ของดีหาได้ยากในโลกมี ๔ อย่าง คือ

“ช้างเผือกในป่า สมณะนอกวัฏ”

“ผู้สมบูรณ์คุณสมบัติ คฤหัสถ์พูดจริง”

เมื่อภรรยาอายุ ๕๒ ปี ได้ถึงแก่กรรมลง ท่านจึงออกบวชครั้งที่สองที่วัดท่ามะเดื่อ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ โดยมีพระราชธรรมมุนี (เปลื้อง จัตตาวิโล) เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต (ในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านได้มาพำนักอยู่ที่วัดบางแก้วผดุงธรรม และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่ พระครูวิจิตรกิตติคุณ

ในช่วงที่ท่านบวชครั้งที่สอง ท่านเล่าให้ฟังว่า “อาตมาบวชเมื่ออายุล่วงกาลผ่านวัยมามาก เมื่อบวชแล้วได้เพียรพยายามประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังไม่ท้อถอย มีความตั้งใจมั่นคงในชีวิตพรหมจรรย์” อย่างที่ท่านกล่าวว่า อุรทตวา ถวายกายตั้งสัจจาธิษฐานเอาชีวิตเป็นเดิมพัน

เมื่อท่านบวชได้ ๕ ปี ท่านได้เดินทางไปยังวัดเสนหา จังหวัดนครปฐม ท่านไปพักอยู่กับพระครูวิบูลย์ศีลขันธ์ (เทศน์ นิเทสโก) ในตอนกลางคืนท่านเฝ้าสังเกตอยู่ว่า เวลาท่านตื่นขึ้นมาทีไรก็จะเห็นท่านพระครูวิบูลย์ศีลขันธ์นั่งสมาธิอยู่ทุกครั้ง ด้วยความสงสัยจึงได้ถามท่านพระครูถึงเหตุที่ท่านนั่งสมาธิอยู่ทุกคืน โดยที่ท่านพระครูไม่นอน ท่านพระครูจึงบอกว่า “ผู้ปฏิบัติต้องนอนน้อย” ท่านจึงคิดว่าการนอนน้อยทำความเพียรคงเป็นสิ่งที่ดี และท่านรู้สึกประทับใจในพระครู จึงเป็นมูลเหตุให้ท่านถือเนสัชชิกธุดงค์ในภายหลัง

เมื่อบวช ๑๐ ปี มีอยู่วันหนึ่งท่านง่วงนอนมาก จึงคิดว่า “เมื่อไม่นอนกลางวัน แต่มันอยากจะนอนมากนัก ก็ไม่นอนกลางคืนด้วยเสียเลย” ท่านบอกว่าได้อธิษฐานไว้แล้วว่าจะไม่นอน ถ้าชาตินี้ไม่จริง ชาติหน้าก็ไม่จริง ถ้าจะตายก็ให้ตายไปเลย ท่านจึงไม่ยอมนอน

หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต มรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ รวมอายุได้ ๙๔ พรรษา ในวันฌาปนกิจศพท่านมีผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสมาร่วมงานอย่างคับคั่ง หลังจากไฟมอดแล้ว พวกเจ้าหน้าที่ที่เป็นศิษย์ของท่านก็ทำการเก็บอัฐิและเถ้าอัฐิจนหมดเกลี้ยง สำหรับผู้ที่ต้องการไปกราบและชมอัฐิของหลวงปู่เปลื้อง ขอเชิญได้ที่ วัดบางแก้วผดุงธรรม อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
วันที่ 21 มิถุนายน 2551


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20767

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2012, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


สำนักวิปัสสนาวังสันติบรรพต (วังเนียง)
ถ.ทัณฑ์บำรุง ต.คูหาสวรรค์
อ.เมือง จ.พัทลุง 93000


สำนักวิปัสสนาวังสันติบรรพต (วังเนียง) เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง มีบันไดที่ทำด้วยซีเมนต์ลาดชันขึ้นชั้นบนที่เป็นที่พักของเจ้าอาวาส ในพิธีตักบาตรเทโวในงานพิธีแข่งโพน-ลากพระ จังหวัดพัทลุง พระสงฆ์จำนวนกว่าร้อยรูปจะเดินลงมาตามบันไดตามลำดับ มองภาพเหมือนกับลงมาจากชั้นสวรรค์ดาวดึงส์เหมือนกับพุทธประวัติ

ภายในสำนักวิปัสสนาวังสันติบรรพต จะมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ สูงประมาณ 4 เมตร มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เล็กหลายรูปแบบ และเมื่อเดินไปตามทางซีเมนต์ซึ่งลาดขึ้นไปยังบริเวณวัดด้านบนแล้ว จะพบกับรรยากาศร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพรรณ หากเดินเลยไปบริเวณหลังวัดจะมีจุดชมวิว สามารถมองเห็นตัวเมืองพัทลุง นอกจากนี้ภายในวัดยังมีรอยพระพุทธบาทจำลองอีกด้วย

การเดินทาง :

สำนักวิปัสสนาฯ ตั้งอยู่ที่ถนนทัณฑ์บำรุง ห่างจากศาลากลางจังหวัดพัทลุงประมาณ 1.5 กิโลเมตร

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2012, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สำนักสงฆ์วังสุขคติธรรมสันตินคร (เขาอกทะลุ)
ต.คูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง 93000


พระอาจารย์สารศิลป์ ขันติพโล เจ้าอาวาส

สำนักสงฆ์วังสุขคติธรรมสันตินคร (เขาอกทะลุ) ตั้งอยู่กลางเทือกเขาอกทะลุ ๑ ใน ๙ ลูกที่ตั้งเด่นอยู่ใจกลางเมือง จังหวัดพัทลุง ซึ่งจะเห็นเขาอกทะลุเป็นสัญลักษณ์ประจำเมือง และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดไปแล้ว แต่น้อยคนที่จะรู้จักสำนักสงฆ์แห่งนี้

จุดประสงค์ของสำนักสงฆ์ฯ : สำนักสงฆ์วังสุขคติธรรมสันตินคร ได้ก่อตั้งมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อให้เป็นสถานที่อบรมจิตใจ สติปัญญา เป็นอันดับแรก รองลงมาคือการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อวัดความศรัทธาและความอดทน เป็นเนื้อนาบุญของการกระทำที่ดีงาม นักปฏิบัติธรรม ไม่ว่าพระภิกษุ หรือแม่ชี ผู้ถือศีล มาจากผู้ที่มีจิตศรัทธา มีความรู้ มีการศึกษา ใช่งมงาย ต่างมาหาวิธีบรรเทาทุกข์และดับทุกข์ที่ถูกต้อง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เว็บไซต์สำนักสงฆ์วังสุขคติธรรมสันตินคร
http://www.suntikon.co.cc/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

นำข้อมูลมาจาก : คุณกัณ แห่งลานธรรมจักร

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร