วันเวลาปัจจุบัน 12 ต.ค. 2024, 03:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


เชิญประชาสัมพันธ์สถานที่ปฏิบัติ โดยการลงชื่อ-ที่อยู่ กำหนดการ-ระเบียบการ และเว็บไซต์ (ถ้ามี)
ของสถานที่ปฏิบัติธรรม จังหวัดกาญจนบุรี ได้เลยครับ


เว็บไซต์จังหวัดกาญจนบุรี
http://kanchanaburi.ect.go.th

.......

สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่กระดานสนทนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=1


:b8:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วัดสุนันทวนาราม
เลขที่ 110 หมู่ 8 บ้านท่าเตียน
ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150
โทรศัพท์ 087-045-7232, 034-546-635
E-mail Address :
watsunan@hotmail.com
Website : http://www.watpahsunan.org/


พระอาจารย์หนูพรม สุชาโต เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก (Mitsuo Gavesako) อดีตเจ้าอาวาส


วัดสุนันทวนาราม เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงพ่อชา สุภัทโท โดยเป็นวัดสาขาลำดับที่ 117
ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี มีจัดอบรมการเจริญอานาปานสติอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

สาธุชนท่านผู้มีจิตศรัทธาที่มีความประสงค์จะบริจาคเงินและสิ่งของ
หรือติดต่อขอรับหนังสือธรรมะของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
หรือติดต่อสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมของวัดสุนันทวนาราม สามารถติดต่อได้ที่

มูลนิธิมายา โคตมี
และมูลนิธิพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
เลขที่ 3 ถนนกรุงเทพกรีฑา 20 แยก 7
แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10250
โทรศัพท์ 02-368-3991, 085-662-5490
โทรสาร 02-368-3575


---> มูลนิธิมายา โคตมี
E-mail Address :
mayagotami@gmail.com
Website : http://www.mayagotami.org/
---> มูลนิธิพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
E-mail Address :
pamgfoundation@gmail.com
Website : http://www.praajahn-mitsuo.org/


วัดสุนันทวนาราม เป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


รูปภาพ

• เส้นทางไปวัดสุนันทวนาราม •

(1) ทางรถไฟ จากสถานีหัวลำโพง ไปลงสถานีน้ำตกไทรโยค ต่อรถเมล์สายกาญจนบุรี-สังขระบุรี (สายสุท้าย 6 โมงเย็น) ควรไปถึงวัดก่อน 5 โมงเย็น ลงปากทางขึ้นวัด สังเกตุป้ายหรือหลักกิโลเมตรที่ 90 เดินทางขึ้นวัด 3 กิโลเมตร หรือจ้างมอเตอร์ไซด์ชาวบ้านบริเวณปากทางไปส่งที่วัด

(2) ทางรถเมล์ จากตลาดหมอชิต สายทองผาภูมิ-ด่านเจดีย์สามองค์ ลงปากทางขึ้นวัด สังเกตุป้ายหรือหลักกิโลเมตรที่ 90 เดินทางขึ้นวัด 3 กิโลเมตร หรือจ้างมอเตอร์ไซด์ชาวบ้านบริเวณปากทางไปส่งที่วัด

(3) ทางรถเมล์ จากสายใต้ ไปลงสถานีขนส่งเมืองกาญจนบุรี ต่อรถเมล์สายทองผาภูมิ-ด่านเจดีย์สามองค์ ลงปากทางขึ้นวัด สังเกตุป้ายหรือหลักกิโลเมตรที่ 90 เดินทางขึ้นวัด 3 กิโลเมตร หรือจ้างมอเตอร์ไซด์ชาวบ้านบริเวณปากทางไปส่งที่วัด

(4) ทางรถตู้ จากสนามหลวง ไปลงสถานีขนส่งเมืองกาญจนบุรี ต่อรถตู้สายสังขระบุรี ลงปากทางขึ้นวัด สังเกตุป้ายหรือหลักกิโลเมตรที่ 90 เดินทางขึ้นวัด 3 กิโลเมตร หรือจ้างมอเตอร์ไซด์ชาวบ้านบริเวณปากทางไปส่งที่วัด

(5) ทางรถตู้ จากอนุเสาวรีย์ชัยฯ ไปลงเมืองกาญจนบุรี ต่อรถตู้สายสังขระบุรี ลงปากทางขึ้นวัดสังเกตุป้ายหรือหลักกิโลเมตรที่ 90 เดินทางขึ้นวัด 3 กิโลเมตร หรือจ้างมอเตอร์ไซด์ชาวบ้านบริเวณปากทางไปส่งที่วัด

(6) รถส่วนบุคคล

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติการสร้าง “วัดสุนันทวนาราม” พร้อมทั้งแผนที่
“มูลนิธิมายา โคตมี” และ “มูลนิธิพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก”

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=20076

ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20086

รวมคำสอน “พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=38514

ประมวลภาพ “พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=39056

เว็บไซต์วัดสุนันทวนาราม
http://www.praajahn-mitsuo.org/

เว็บไซต์มูลนิธิมายา โคตมี
http://www.mayagotami.org/

เว็บไซต์มูลนิธิพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
http://www.praajahn-mitsuo.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รูปภาพ
อุโบสถ วัดสุนันทวนาราม

รูปภาพ
ศูนย์เยาวชน วัดสุนันทวนาราม

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา
เลขที่ 20/6 หมู่ 2 บ้านวังขยาย
ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 71240
โทรศัพท์ 034-531-209,
08-1811-6447, 08-1811-6196


ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนาแห่งนี้ อยู่ในความดูแลของสำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สอนตามแนวปฏิบัติของ “ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า” (S.N. Goenka) วิปัสสนาจารย์ชาวอินเดียที่ถือกำเนิดในประเทศพม่า ซึ่งท่านจึงได้ก่อตั้งและเป็นประธานสถาบันวิปัสสนานานาชาติศูนย์แรกชื่อ “ธรรมคีรี” ขึ้นที่เมืองอิกัตปุรี ใกล้ๆ กับเมืองบอมเบย์ รัฐมหาราษฎร์ ประเทศอินเดีย มีการจัดอบรมวิปัสสนาในประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศทั่วโลก

มีการจัดการอบรมวิปัสสนา (หลักสูตรสติปัฏฐาน) หลักสูตร 10 วัน
สำหรับพระภิกษุ สามเณร และฆาราวาสทั่วไป รวมทั้งเด็กและเยาวชน
เริ่มต้นในเย็นวันแรก และสิ้นสุดในตอนเช้าของวันสุดท้าย ตลอดทั้งปี


คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ

วิปัสสนาเป็นวิธีการปฏิบัติกรรมฐานที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่งของอินเดีย ซึ่งได้สาบสูญไปจากมนุษยชาติมาเป็นเวลานาน แต่ก็ได้กลับมาค้นพบอีกครั้งโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว วิปัสสนาหมายถึง “การมองดูสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง” อันเป็นกระบวนการในการทำจิตให้บริสุทธิ์โดยการเฝ้าดูตนเอง

เราจะเริ่มต้นด้วยการเฝ้าสังเกตดูลมหายใจตามธรรมชาติ เพื่อทำให้จิตมีสมาธิ เมื่อมีสติที่มั่นคง เราก็จะก้าวไปสู่การเฝ้าสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของกายและจิต ซึ่งจะทำให้ได้พบกับสัจธรรมที่เป็นสากลคือ ได้เห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) การที่ได้รู้เห็นถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงเหล่านี้จากประสบการณ์ของท่านเองโดยตรง จึงเป็นวิธีการในการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ธรรมะเป็นเรื่องสากล มีไว้สำหรับแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นสากล มิได้ผูกขาดเฉพาะศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือลัทธิใดลัทธิหนึ่ง ด้วยเหตุนี้บุคคลทุกคนจึงสามารถจะปฏิบัติได้อย่างเสรี โดยไม่มีข้อขัดแย้งในเรื่องของเชื้อชาติ ชั้นวรรณะ หรือศาสนา ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ และจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คนโดยทั่วถึงกัน

กฎระเบียบ

พื้นฐานในการปฏิบัติวิปัสสนา คือ ศีล ศีลจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมาธิ และกระบวนการทำจิตให้บริสุทธิ์นั้นจะเกิดขึ้นจากปัญญา คือการรู้แจ้งเห็นจริง

ตารางเวลา

04:00 น. ระฆังปลุก
04:30 น. - 06:30 น. นั่งปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักส่วนตัว
06:30 น. - 08:00 น. อาหารเช้า
08:00 น. - 09:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
09:00 น. - 11:00 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวม หรือในที่พักส่วนตัวตามที่อาจารย์กำหนด
11:00 น. - 12:00 น. อาหารกลางวัน
12:00 น. - 13:00 น. พักผ่อน
13:00 น. - 14:30 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักส่วนตัว
14:30 น. - 15:30 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
15:30 น. - 17:00 น. ปฏิบัติในห้องปฏิบัติรวมหรือในที่พักตามที่อาจารย์กำหนด
17:00 น. - 18:00 น. พักดื่มน้ำปานะ
18:00 น. - 19:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
19:00 น. - 20:15 น. ฟังธรรมบรรยายในห้องปฏิบัติรวม
20:15 น. - 21:00 น. ปฏิบัติร่วมกันในห้องปฏิบัติรวม
21:00 น. - 2130 น. สอบถามข้อสงสัยกับอาจารย์เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม
21:30 น. พักผ่อน

การเดินทาง

โดยรถที่จัดโดยฝ่ายจัดการอบรม

ออกจากวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน บริเวณหน้าพระเมรุ เวลา 09.00 น. ในวันที่มีการเริ่มปฏิบัติ

โดยรถโดยสาร

1. จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 นอกจากนี้ยังสามารถขึ้นรถตามจุดต่างๆ ได้อีกคือ หน้าบิ๊กคิงบางใหญ่, หน้าตลาดบางเลน, หน้าตลาดกำแพงแสน, บริเวณทางแยกพระแท่นดงรัง, ทางแยกพนมทวน, สถานีขนส่ง จ.กาญจนบุรี หรือบริเวณน้ำตกไทรโยคน้อย

ให้นั่งรถปรับอากาศหมอชิต-ด่านเจดีย์ (มีรถออกวันละ 4 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 05.00 น. , 06.00 น. , 09.30 น. และ 12.30 น. แต่ขอแนะนำให้ใช้รอบก่อนเที่ยง เพราะต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งหมอชิต โทร. 0-2936-2852-4 ต่อ 311 หรือ 442) โดยบอกกระเป๋ารถว่าลงที่สามแยกน้ำตกเกริงกระเวีย จากนั้นให้ต่อรถสองแถวสายทองผาภูมิ-จองอั่วเข้าไปยังศูนย์ฯ อีกประมาณ 6 กิโลเมตร (ค่ารถประมาณ 10 บาท รถหมดเวลาประมาณ 17.00 น. หรือจะต่อมอเตอร์ไซด์รับจ้างก็ได้ ถ้าไม่มีรถ ให้โทรติดต่อศูนย์ฯ มารับ)

2. จากสถานีขนส่งสายใต้ ไปลงปลายทางที่สถานีขนส่งจ.กาญจนบุรี

- รถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่ง (วิ่งสายใหม่ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) ออกทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-22.30 น. ส่วนรถปรับอากาศชั้นสอง (วิ่งสายเก่าเส้นเพชรเกษม-อ้อมใหญ่-นครชัยศรี) ออกทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.10-20.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (02) 435-5012, 435-1199

- รถโดยสารธรรมดาออกทุก 15 นาที (ให้นั่งสายใหม่ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) ตั้งแต่เวลา 04.00-20.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (02) 434-5557

เมื่อถึงสถานีขนส่ง จ.กาญจนบุรีแล้ว ให้ต่อรถโดยสารท้องถิ่นสีส้มหรือรถตู้สายทองผาภูมิ (อยู่ด้านในถัดจากที่รถทัวร์จอด โทร. 034- 511172) ไปลงที่ตลาดทองผาภูมิ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นให้ต่อรถสองแถวทองผาภูมิ-จองอั่ว (รถออกทุกชั่วโมง) โดยบอกให้ไปส่งที่ศูนย์ฯ ใกล้ๆ กับวัดวังขยาย ค่ารถประมาณ 35 บาท

โดยรถไฟ

มีรถไฟขบวนธรรมดาออกจากสถานีรถไฟบางกอกน้อย จ.ธนบุรี วันละ 2 เที่ยว เช้าและบ่าย (แต่ขอแนะนำให้ใช้เที่ยว 07.45 น. ถึงสถานีกาญจนบุรีประมาณ 10.30 น. หรือจะลงที่สถานีน้ำตก (ถึงประมาณ 12.30 น.) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีรถไฟบางกอกน้อย โทร. (02) 411-3102 จากนั้นให้ต่อรถโดยสารท้องถิ่นหรือรถตู้สายทองผาภูมิไปลงที่ตลาดทองผาภูมิ เพื่อต่อรถสองแถวทองผาภูมิ-จองอั่ว เข้าศูนย์ฯ

โดยรถยนต์ส่วนตัว

1. เริ่มจากสะพานพระปิ่นเกล้าไปนครชัยศรี ผ่านนครปฐม บ้านโป่ง จนถึงเมืองกาญจนบุรี ผ่านแยกแก่งเสี้ยน ผ่านไทรโยคน้อย ทองผาภูมิ (ใช้ทางหลวงหมายเลข 323) ไปทางสังขละบุรี จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายตรงสามแยกน้ำตกเกริงกระเวียเข้าไปประมาณ 5 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายตรงทางแยกบ้านวังขยายไปอีกประมาณ 1 กม. จึงถึงศูนย์ฯ

2. จากถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ให้ไปตามทางหลวงหมายเลข 340 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 346 จนถึงกำแพงแสน จึงเลี้ยวขวาไปประมาณ 200 เมตร จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายตรงสามแยก ไปทาง อ.พนมทวน (ทางหลวงหมายเลข 324) จนถึงเมืองกาญจนบุรี จึงใช้ทางหลวงหมายเลข 323 ไปตามแผนที่ด้านล่างนี้

รายละเอียดเพิ่มเติมนอกจากนี้ สามารถสอบถามได้ที่
สำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์
โทร. 0-2993-2711
โทรสาร 0-2993-2700 (ในเวลาราชการ)

ศึกษาตารางการอบรมและการเดินทางจากเว็บไซต์

http://www.thai.dhamma.org/

ใบสมัคร
http://www.thai.dhamma.org/application/lay.rtf

คำแนะนำ
http://www.thai.dhamma.org/ns/code%20.html
http://www.thai.dhamma.org/d-kanchana.html

มีศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ทั้งหมด 5 ศูนย์ ดังนี้
1. ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
2. ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
3. ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
4. ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
5. ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ

ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา จ.ปราจีนบุรี และศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา จ.พิษณุโลก เป็นศูนย์ใหญ่ที่สุด ใครติดสบายหน่อยก็ลองไปดู มีความสะดวกเหมือนอยู่โรงแรมชั้นดี

ถ้าคนกรุงเทพฯ ไป ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี กรุงเทพฯ ก็จะใกล้ สะดวกดี ที่พักสบาย แต่ถ้าชอบเดินเหิน สูดอากาศธรรมชาติหน่อยก็อาจจะอึดอัดได้เพราะสถานที่ปฏิบัติอยู่ในตึก เปิดแอร์เกือบตลอด ศูนย์นี้จะสงบเงียบที่สุดเพราะตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร

ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา จ.ขอนแก่น และศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา จ.กาญจนบุรี ก็เหมาะสำหรับคนที่ชอบธรรมชาติ บรรยากาศดี แต่ที่ จ.ขอนแก่น จะเป็นศูนย์ที่เล็กที่สุด รับผู้ปฏิบัติได้ไม่เกิน 50 คน ความหรูอาจจะสู้ศูนย์อื่นไม่ได้ แต่ก็สะดวกและสงบทีเดียว ชาวต่างชาติชอบมาปฏิบัติกัน

แต่อย่างไรก็ตาม ทุกศูนย์วิปัสสนาฯ ก็มีการจัดการ มีระเบียบ ข้อปฏิบัติ และคำสอนอย่างเดียวกัน ท่านจะเข้าศูนย์ไหนท่านก็จะได้ธรรมะเช่นกัน อยู่ที่ความตั้งใจจริงในการปฏิบัติของแต่ละบุคคลเป็นหลักสำคัญ ถ้าคนที่มีความเข้าใจหลักธรรมะแล้วมักจะไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องสถานที่เท่าไหร่ ดังนั้น ขอให้พิจารณาจากศูนย์ไหนเดินทางใกล้สะดวก หรือตารางปฏิบัติตรงกับที่เราว่างเป็นหลักในการเข้าไปปฏิบัติ


รูปภาพ
ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22204

แผนที่ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2232

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
............................................................................



วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน (วัดเสือ)
หมู่ 5 บ้านพุไม้แดง ต.สิงห์
อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150


พระวิสุทธิสารเถร วิ.
หรือพระอาจารย์มหาภูสิต (จันทร์) ขันติธโร เจ้าอาวาส


เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดป่าสาขาหลวงตามหาบัว ปฏิบัติตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

• ประวัติวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน •

วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ นอกจากจะเป็นวันอันเป็นศิริมงคลยิ่งของปวงชนชาวไทย ด้วยเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และเป็นวันคล้ายวันเกิดของ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ แห่งวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

ในวันนั้นหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เมตตารับถวายที่ดิน ๑๐๐ ไร่เศษ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีราว ๓๗ กิโลเมตร ริมถนนสายกาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ หลักกิโลเมตรที่ ๒๑ แยกเข้าไป ๒ กิโลเมตร ณ หมู่ที่ ๕ บ้านพุไม้แดง ต.สิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เพื่อสร้างเป็นวัดป่าสถานที่ปฏิบัติธรรมตามปฏิปทาพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ผู้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินคือ คุณดวงใจ ศรีทอง ด้วยดำริศรัทธาจากการฟังเทปคำเทศนาของหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน ที่วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี จากความตอนหนึ่งที่ว่า “เดี๋ยวนี้ไปที่ไหนก็มีแต่กิเลสเข้าไปครอบครอง จะหาที่สร้างวัดก็ไม่มี” คุณดวงใจจึงได้ปรึกษากับคุณแม่สำลี ซึ่งขณะนั้นกำลังปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดป่าตาดด้วยกัน คุณแม่ก็สนับสนุนว่าเหมาะสมดีจะได้เป็นประโยชน์ในการจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป ภายหลังได้ถวายเพิ่มเติมจนเป็นเนื้อที่ปัจจุบัน ๒๓๔ ไร่เศษ ในอาณาเขตล้อมรั้ว ๒,๒๕๖ ตารางเมตร และทางวัดไห้ซื้อที่ดินเพิ่มเติม จนเป็นเนื้อที่ในปัจจุบันรวม ๖๘๘ ไร่

กาลต่อมาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จึงได้มีบัญชาให้พระอาจารย์มหาภูสิต (จันทร์) ขันติธโร ไปดูสถานที่ว่ามีความเหมาะสมในการสร้างวัดหรือไม่อย่างไร

วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗ พระอาจารย์มหาภูสิต (จันทร์) ขันติธโร ได้เข้าไปกราบนมัสการหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน ที่สำนักสงฆ์สวนแสงธรรม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เพื่อพาคณะศิษย์อันประกอบด้วย ผู้พิพากษา ทนายความ แพทย์ วิศวกร ตำรวจตระเวนชายแดน ราษฎรในพื้นที่พร้อมด้วยเจ้าของที่ดิน ไปดูสถานที่ที่ได้รับการถวายเป็นครั้งแรก และได้เข้าไปสำรวจอีกหลายครั้ง ซึ่งการเดินทางครั้งนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากยังไม่มีเส้นทางถนนเข้าสู่พื้นที่โดยเฉพาะ ประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝน แต่ทางคณะฯ ได้ร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ จัดทำผัง ถ่ายรูป และหาข้อมูลที่ต้องการ

วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ คุณดวงใจ ศรีทอง ได้เข้ากราบเรียนหลวงตาฯ ณ สวนแสงธรรม ถึงความคืบหน้าในการสร้างวัดฯ หลวงตา จึงให้ชื่อวัดโดยสมบูรณ์ว่า “วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน”

หลวงตาฯ ได้มีเมตตาเดินทางมาเยี่ยม วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน เป็นครั้งแรก และได้ปลูกต้นโพธิ์ไว้ที่วัด ๑ ต้น เป็นปฐมฤกษ์ ท่านได้ปรารภว่า “นี่สร้างวัดนี้แล้ว มันก็เป็นประโยชน์กว้างขวางเป็นหัวใจคน คือ วัดเป็นหัวใจชาวพุทธเรา ที่นี่เป็นที่เหมาะสมด้วยการเข้าออก ไม่ลำบากลำบน ภาวนาสบายๆ”

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์ (พระมหาภูสิต ขนฺติธโร) เจ้าอาวาสวัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน จ.กาญจนบุรี เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายธรรมยุต ในราชทินนามที่ พระวิสุทธิสารเถร วิ.

รูปภาพ
พระวิสุทธิสารเถร วิ. หรือพระอาจารย์มหาภูสิต (จันทร์) ขันติธโร


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24738

เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ ๙๐ รูป วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40176

แผนที่วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3070

เว็บไซต์วัดป่าหลวงตาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.tigertemple.org/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำแก้วสวรรค์บันดาล
ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี 71240


หลวงพ่อวิเชียร เจ้าอาวาส

ถ้ำแก้วสวรรค์บันดาล ดินแดนศักดิ์สิทธิ์แหล่งสถิตพระธาตุ เป็นสำนักปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ที่บริเวณชายแดนไทยพม่าบริเวณ 3 กม. ก่อนถึงด่านเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี บริเวณถ้ำจะเป็นภูเขาสูงชัน มีถ้ำน้อยใหญ่อยู่มากมาย ใต้ภูเขาจะมีธารน้ำลอดใสเย็นไหลผุดมาจากใต้ดินฝั่งพม่า อากาศถ่ายเทและเย็นสบาย เหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา

บริเวณภายนอกมีศาลาและกุฏิที่พักสะดวกสบาย มีโรงครัวสำหรับญาติโยมทำอาหารรับประทานเอง มีห้องน้ำสะอาดและสะดวกสบาย น้ำที่ใช้อาบก็ใสและเย็นสบาย เวลากลางวันควรไปปฏิบัติธรรมในถ้ำ กลางคืนสวดมนต์ทำวัตรเย็นร่วมกับพระสงฆ์ที่ศาลาใหญ่ หลวงพ่อวิเชียร เจ้าอาวาสท่านจะสอนนั่งกรรมฐานหลังจากทำวัตรเสร็จเป็นเวลา 1-2 ช.ม. จากนั้นก็กลับศาลาที่พัก หรือจะขึ้นไปปฏิบัติธรรมในถ้ำอีกก็ได้ตามอัธยาศัย

ประวัติความเป็นมาของถ้ำฯ ได้รับการบอกเล่าจากหลวงพ่อวิเชียร เจ้าอาวาส ว่า เมื่อ พ.ศ.2534 ท่านได้เดินธุดงค์มาพบถ้ำนี้ เห็นว่าเป็นถ้ำที่เหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา จึงได้ปักกลดและพำนักอยู่ในถ้ำตั้งแต่นั้นมา ต่อมาท่านชราภาพลง จึงได้ลงมาปลูกกุฏิอาศัยอยู่ด้านล่างหน้าถ้ำ ซึ่งขณะนั้นบริเวณรอบๆ ถ้ำเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าชุกชุม โดยเฉพาะงูจงอางและงูเห่าดง

และท่านยังเล่าให้ฟังอีกว่า มีเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นคือ ในวันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังสวดมนต์ทำวัตรเย็นอยู่ในศาลาไม้หลังเล็กๆ ที่ท่านกับเณรซึ่งเป็นหลานของท่านเองช่วยกันสร้างขึ้นมา เพื่อใช้เป็นที่สวดมนต์ทำวัตร มองออกไปข้างนอกเห็นกลุ่มแสงคล้ายฝูงหิ่งห้อยลอยอยู่ สามเณรสงสัยว่าเป็นแสงอะไรจึงวิ่งออกไปดู ปรากฏว่ากลุ่มแสงนั้นลอยไปหากุฏิหลังเล็กๆ ของสามเณรเอง แล้วแสงนั้นก็ลอยวนกุฏิจำนวนสามรอบ แล้วลอยหายเข้าไปในกุฏิ สามเณรจึงตามเข้าไปดู เห็นกลุ่มแสงนั้นลอยวูบหายเข้าไปในสถูปไม้ที่อยู่บนหิ้งพระ จึงเปิดดูเห็นเป็นวัถตุมีลักษณะคล้ายลูกแก้วใสเล็กๆ กลมบ้างรีบ้าง ส่งแสงวูบวาบอยู่ภายในสถูป จึงวิ่งออกมาเรียกหลวงพ่อให้ไปดู จึงทราบว่าเป็นพระบรมสารีรีกธาตุเสด็จมาเป็นจำนวนมาก

รูปภาพ

หลังจากนั้นต่อมาปรากฏว่า มีวัตถุคล้ายลูกหินสีน้ำตาล มีผิวมันเรียบ เหมือนลูกกวาด ลอยมาตกให้คณะสวดมนต์ทำวัตรเป็นจำนวนมาก จึงรู้ว่าเป็นพระธาตุเสด็จมา นับระยะเวลาที่พระธาตุเสด็จมาทุกวันนั้นเป็นเดือนๆ และหลังจากนั้นก็มีเหตุอัศจรรย์ มีคนมาสร้างเจดีย์ใหญ่บรรจุให้โดยไม่ได้บอกกล่าวให้ทำบุญ อีกทั้งต่อมา ปรากฏว่าตรงบริเวณกุฏิของสามเณร ที่พระบรมสารีริกธาตุเสด็จเข้าไปนั้น มีคณะศิษย์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง มาสร้างโบสถ์ประดิษฐาน พระพุทธรูปสมเด็จองค์พระปฐม ทับลงตรงบริเวณนั้นพอดี นับว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์มากสำหรับสถานที่แห่งนี้

ดังนั้นผมคิดว่าสถานที่แห่งนี้ คงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญของประเทศชาติและพุทธศาสนาของเราในอนาคต พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุจึงเสด็จมามากมายเช่นนี้ โดยเฉพาะภายในถ้ำต่างๆ ก็เป็นที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม เพราะมีอากาศถ่ายเทดีมาก จึงขอแนะนำกัลยาณมิตรผู้สนใจในการแสวงหาสถานที่วิเวกสำหรับปฏิบัติธรรม และช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระศาสนาต่อไป

อาณาเขตของถ้ำแก้วสวรรค์บันดาล กินบริเวณกว้าง เนื่องจากเป็นถ้ำที่อยู่ในภูเขทั้งลูก ภายในยังแบ่งเรียกเป็นถ้ำต่างๆ อีก 4 ถ้ำ คือ ถ้ำวังบาดาล ถ้ำมรกต ถ้ำแก้ว และถ้ำสวรรค์บันดาล แต่ละถ้ำมีความสลับซับซ้อน สามารถเดินเชื่อมทะลุถึงกันได้หมดทุกถ้ำ ภายในมีหินย้อยรูปทรงต่างๆ งดงามมาก เมื่อกระทบกับแสงไฟจะสะท้อนแสงแวววาวคล้ายถูกโรยไว้ด้วยกากเพชร การเข้าไปควรแต่งกายด้วยชุดที่รัดกุม เลือกสวมรองเท้าที่เหมาะสม และต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะบางถ้ำมีโขดหินที่สูงชัน บางถ้ำต้องใช้ วิธีการคลานและมุดไปตามซอกของช่องหิน และบางถ้ำที่มีระดับน้ำสูงประมาณหัวเข่า หากต้องการจะชมให้ครบหมดทุกถ้ำ จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป

การเดินทาง ใช้เส้นทางอำเภอสังขละบุรี-ด่านเจดีย์สามองค์ โดยเลี้ยวขวาบริเวณศาลาพักร้อนริมทาง ที่อยู่ก่อนด่านเจดีย์สามองค์ประมาณ 1 กิโลเมตร จากนั้นขับรถไปตามถนนดินอีกประมาณ 700 เมตร เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางอีก 200 เมตร จะถึงบริเวณสำนักสงฆ์ที่เป็นที่ตั้งของถ้ำแก้วสวรรค์บันดาล

รูปภาพ
พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาโปรดที่ถ้ำแก้วฯ
............................................................................



นำข้อมูลมาจาก : คุณวิชัย

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


วัดหนองขอนเทพพนม
หมู่ 8 บ้านหนองขอนเทพพนม
ต.หนองปลาไหล อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี 71220


สภาพโดยทั่วไป :

วัดหนองขอนเทพพนมตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ บนเนื้อที่ประมาณ ๔๐ ไร่ มีต้นไม้ร่มรื่นทั่วบริเวณวัดเหมาะสำหรับการฝึกฝนปฏิบัติธรรม การปฏิบัติจะเน้นการเดินจงกรมเป็นหลัก ผู้ที่มาปฏิบัติจะต้องถือศีล ๘ โดยพระคุณเจ้าจะจัดให้มีการรับศีลทุกๆ วันก่อนทำวัตรเย็น

กิจกรรมภายในวัด :

๐๔:๐๐ น. ทำวัตรเช้า
๐๗:๓๐ น. รับประทานอาหารเช้า
๑๐:๓๐ น. กิจกรรมช่วงเพล
๑๕:๓๐ น. เดินจงกรมรอบวัด (มีผู้นำกิจกรรม)
๑๘:๐๐ น. ทำวัตรเย็น

การติดต่อขอเข้าพัก :

ผู้ที่จะมาปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้ สามารถเข้าติดต่อที่วัดได้ทุกวัน ทางวัดมีที่พักสำหรับผ่ายหญิงและฝ่ายชาย สำหรับชุดขาว ผู้ที่สนใจสามารถนำมาเอง หรือจะยืมจากทางวัดก็ได้

การเดินทาง :

- โดยรถโดยสารประจำทาง

วัดหนองขอนเทพพนม มีรถโดยสารประจำทางผ่านเพียงวันละเที่ยว (ไป-กลับ) สายอู่ทอง-หนองปลาไหล โดยรถประจำทางจะผ่านหน้าวัด (จากหนองปลาไหล ไป อู่ทอง) ประมาณ ๗ โมงเช้า และออกจากอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (ตรงหอนาฬิกา) ประมาณ ๑๑.๐๐ น.

หรืออีกเส้นหนึ่ง (ไม่ผ่านวัด)

โดยรถโดยสารประจำทางสาย กาญจนบุรี-หนองปรือ โดยมาลงที่หนองปรือ แล้วนั่งเมล์เครื่อง (มอเตอร์ไซต์) จากหนองปรือมายังวัด

- โดยรถยนต์ส่วนตัว

1. เส้นทาง กาญจนบุรี-บ่อพลอย-หนองปรือ เลี้ยวขวาตรงสี่แยกก่อนถือหนองปรือ เข้าไปยังหนองปลาไหล และบ้านหนองขอนเทพพนม ตามลำดับ

2. เส้นทาง อู่ทอง-เลาขวัญ-หนองปลาไหล (สอบถามเส้นทางได้ตลอดเส้นทาง)


นำข้อมูลมาจาก : คุณพุทธณวัฒน์

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


สำนักสงฆ์เขาสามงา
ต.หนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี 71110


สภาพโดยทั่วไป :

สำนักสงฆ์เขาสามงา ตั้งอยู่บนเส้นทางกาญจนบุรี - อู่ทอง ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ภายในวัดมีสภาพเป็นป่าโปร่ง บนพื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ มีที่พักไม่มากนัก เนื่องจากทางวัดไม่ได้รับบวชชีพราหมณ์เป็นกิจลักษณ์ เพียงแต่ใครมาขอบงชก็บวชให้ (ถ้าเป็นฝ่ายหญิงแนะนำว่าควรมาหลายๆ คน)

กิจวัตรประจำวัน :

๐๔:๐๐ น. ทำวัตรเช้า
๐๘:๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า
๑๑:๐๐ น. รับประทานอาหารเพล
๑๘:๐๐ น. ทำวัตรเย็น
๑๙:๐๐ น. ฟังธรรม
๑๙:๐๐ น. นั่งสมาธิมีพระอาจารย์นำ

การเดินทาง :

- โดยรถโดยสารประจำทาง

ลงรถที่เมืองกาญจน์ฯ แล้วนั้งมอร์เตอร์ไซต์ หรือ รถเมล์ส้มรับเจ้างเข้าไป หรือจะนั่งรถสายกาญจนบุรี-สุพรรณบุรี มาลงที่หนองขาว แล้วนั่งมอร์เตอร์ไซต์รับจ้างเข้าไป

- โดยรถยนต์ส่วนตัว

จากตัวเมืองกาญจนบุรี เข้าสู่ถนนกาญจนบุรี-อู่ทอง ออกจากตัวเมืองมาจนถึงสถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑ เลี้ยวเข้าไปตามถนนข้างสถานี


นำข้อมูลมาจาก : คุณพุทธณวัฒน์

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
อุบาสิกาบงกช สิทธิผล ขณะรับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในปี 2549
จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศฯ
............................................................................



สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล (เกาะมหามงคล)
สถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติเพื่อสันติภาพ
เลขที่ 149 หมู่ 1 บ้านช่องแคบ ก่อนถึงน้ำตกไทรโยคน้อย
ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150
โทรศัพท์ 081-862-1757


อุบาสิกาบงกช สิทธิผล ประธานและผู้ก่อตั้ง

ทาง สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล (เกาะมหามงคล) มีการจัดโครงการทางพระพุทธศาสนาหลากหลายโครงการ สำหรับทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน โรงเรียน สถาบันการศึกษา และพุทธศาสนิกชนทั่วไป เช่น โครงการคุณธรรมนำชีวิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, กิจกรรมพัฒนาจิตบวชใจ, อบรมยอดบุญเนกขัมมะจิตตภาวนา, บำเพ็ญสมาธิ เจริญมหาสติ ปฏิบัติธรรม, จัดปลูกลูกชายให้ได้เป็นยอดกตัญญู, กิจกรรมรักชีวิต รักธรรมชาติ ป่าไม้สิ่งแวดล้อม ฯลฯ รวมทั้ง กิจกรรมเกี่ยวเนื่องด้วยวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำคัญของชาติ เป็นต้น

รูปภาพ
[พระมหาเจดีย์ 7 ชั้น]


สถานที่ของสำนักฯ มีความสัปปายะ สงบเงียบ ร่มรื่น งดงาม อากาศเย็น รอบล้อมด้วยต้นไม้ ป่า และภูเขา เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับนักปฏิบัติผู้หญิงเป็นยิ่งนัก มีอาหารมังสวิรัติให้รับประทานตอนมื้อเที่ยงทุกวัน สถานที่พักแยกชายหญิงชัดเจน เจ้าหน้าที่ทุกคนมีมิตรภาพมาก

สำหรับการเข้าไปกราบไหว้ สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระมหาเจดีย์ 7 ชั้น ที่มีความสูง 80 เมตรนั้น จะต้องเดินขึ้นยอดภูเขา ด้วยการเดินเท้า 1,000 กว่าขั้นบันได ใช้เวลาเดินขึ้น-ลงประมาณ 3 ชั่วโมง และทุกคนที่จะเข้าไปเยี่ยมชมข้างในสำนักฯ จะต้องใส่ชุดขาว หากใครไม่ได้เตรียมตัวมา ด้านหน้าจะมีชุดขาวให้เปลี่ยน

รูปภาพ
[ศาลาปฏิบัติธรรมเชิงเขา แดนมหามงคล จ.กาญจนบุรี]

รูปภาพ
[ศาลาที่พักเชิงเขา แดนมหามงคล จ.กาญจนบุรี]


การเดินทาง : สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล ตั้งอยู่บนพื้นที่ติดริมแม่น้ำแคว อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร เราสามารถเดินทางโดยขึ้นรถประจำทางหรือรถไฟ ดังนี้

- รถประจำทาง สาย 8203 จากสถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี ลงรถที่บ้านช่องแคบ จากนั้นโดยสารรถมอเตอร์ไซค์ต่อไปยังแดนมหามงคล รวมระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร

- รถไฟ จากสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) เที่ยว 07.45 น. หรือ 13.50 น. ลงรถที่สถานีบ้านช่องแคบ (สถานีเกาะมหามงคล) ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับแดนมหามงคล คือลงก่อนถึงสถานีน้ำตกไทรโยคน้อย ค่ารถไฟประมาณ 37 บาท

รูปภาพ

อุบาสิกาบงกช สิทธิผล

อุบาสิกาบงกช สิทธิผล เป็นชาวปราจีนบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2497 ก่อนสละชีวิตทางโลก ได้ศึกษาด้านความสวยงามที่ประเทศฝรั่งเศส กลับมาเปิดโรงเรียนเสริมสวย สมรสและมีบุตรชาย 3 คน

ด้วยความที่มีใจฝักไฝ่ในธรรม ปฏิบัติธรรมมา 10 ปี สุดท้ายครั้นเมื่ออายุ 29 ปี ได้ขออนุญาตครอบครัวและวงศ์ตระกูลออกบวชเนกขัมมะ เจริญจิตภาวนา ประพฤติพรหมจรรย์ ถือธุดงค์จาริกไปยังสถานที่ต่างๆ จนมาพบสถานที่ปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล (เกาะมหามงคล) แห่งนี้ จึงปักหลักปฏิบัติธรรมและพัฒนาสถานที่แห่งนี้ด้วยการปลูกต้นไม้นับแสนต้นเป็นที่รื่นรมย์ด้วยธรรมชาติ เหมาะแก่การภาวนาเป็นอย่างยิ่ง

ท่านได้รับการประกาศเกียรติคุณจากองค์กรและรัฐบาลของหลายประเทศ ทั้งจากประเทศอินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา และสหภาพเมียนมาร์ เป็นต้น รวมถึง ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนาแห่งโลก ประจำปี พ.ศ. 2547 จากองค์การสหประชาชาติ (The United Nations)

ผลงานและเกียรติคุณดีเด่น

1. ท่านได้สอนวิปัสสนากรรมฐานไม่ให้ยึดวัตถุเป็นตัวตั้ง มีลูกศิษย์ทั้งคนไทยและต่างชาติจำนวนมาก โดยใช้สถานที่ปฏิบัติธรรมแดนมหามงคลเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอุบาสิกาบงกช ได้สร้างผลงานจนเป็นที่รู้จักกันในนานาประเทศ โดยเคยรับเชิญไปแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่องเกี่ยวกับสันติภาพโลก ที่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2548

รูปภาพ

2. ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในปี 2549 เพราะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถกอปรด้วยคุณงามความดี ได้บำเพ็ญคุณูปการแก่การศึกษา พระพุทธศาสนา สังคม และประเทศชาติ เป็นอเนกประการ ควรแก่การยกย่องประกาศเกียรติคุณ ดังนี้

ด้านพุทธศาสนา ได้ตั้งสถาบันเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ชื่อสถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติเพื่อสันติภาพ ณ แดนมหามงคล บ้านช่องแคบ ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และแดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งโครงการสมทบทุนสร้าง บูรณปฏิสังขรณ์ วัด สำนักปฏิบัติธรรม มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมทั้ง มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก และพระพุทธศาสนานานาชาติ

ด้านบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สนับสนุนอุปถัมภ์สถานีอนามัย โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี และอีกหลายแห่งในจังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี สมทบทุนกับโรงพยาบาลต่างๆ เช่น ร.พ.ศิริราช ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ร.พ.ศรีธัญญา ร.พ.อำเภอไทรโยค และ ร.พ.พหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

รูปภาพ

งานด้านสังคม มอบสถานที่สถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติ สำหรับฝึกอบรมประชาชน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ละผู้สนใจทุกชาติ ทุกภาษา ทุกศาสนา

เกียรติคุณพิเศษ รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนาแห่งโลก จากองค์การสหประชาชาติ รับไตรปิฏกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเทศอินเดีย รับรางวัล “ดร. อัมเบดการ์นานาชาติเพื่อสันติภาพ” รับเกียรติคุณสูงสุดในพระพุทธศาสนาฝ่ายสตรี “อัครมหาศิริสุธรรมาสินกิ” สหภาพเมียนมาร์ รับเกียรติคุณมหาอุบาสิกาผู้ทรงเกียรติคุณสูงสุดในพุทธจักรจากประเทศศรีลังกา และรับมหาอิสริยยศเหรียญทองเกียรตินิยมสูงสุดจากประเทศกัมพูชา

3. เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา ซึ่งปี 2549 เป็นปีที่ครบ 2550 ปีแห่งอายุพระพุทธศาสนา คณะสงฆ์ประเทศศรีลังกา ได้มีมติเป็นเอกฉันท์มอบรางวัล “วิศวะกีรติศรีศาสนภิมณีมโหบาสิกา” The Most Eminent Mahopashika of the Buddhist World หรือรางวัล “มหาอุบาสิกาผู้ทรงเกียรติคุณงามเด่นสูงสุดในพุทธจักร” แก่มหาอุบาสิกา ดร.บงกช สิทธิพล จากประเทศไทย โดยประธานาธิบดี มหินทะ ราชปักษา แห่งศรีลังกา เป็นผู้มอบ

รูปภาพ

โดยคณะสงฆ์ประเทศศรีลังกาเห็นว่า มหาอุบาสิกา ดร.บงกช ได้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด มีความวิริยะอุตสาหะในการอุทิศเสียสละเพื่อพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้ามาโดยตลอด พร้อมทั้งได้ก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคล” ที่ จ.กาญจนบุรี ประเทศไทย และ “แดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก” ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เพื่อเผยแผ่พุทธธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งนี้ มหาอุบาสิกา ดร.บงกช ยังได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว สหภาพเมียนมาร์ กัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น โดยตลอด ซึ่งคุณงามความดีของมหาอุบาสิกา ดร.บงกช เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนในหลายประเทศ จึงทำให้รัฐบาลและคณะสงฆ์ประเทศศรีลังกา ประกาศเกียรติคุณดังกล่าว

รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล จ.กาญจนบุรี
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3073

แดนมหามงคล อีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่ผิดหวัง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19925

แดนมหามงคล (เกาะมหามงคล) จ.กาญจนบุรี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=32256

พลิกฟื้นประวัติศาสตร์...ที่สาวัตถี : ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39323

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ยังมีสำนักปฏิบัติธรรมแห่งประเทศอินเดีย
ที่อุบาสิกาบงกช สิทธิผล เป็นประธานและผู้ก่อตั้งคือ


สำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก”
ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย


รูปภาพ
[สำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก”
ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย]

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แก้ไขล่าสุดโดย webmaster เมื่อ 13 มิ.ย. 2010, 06:15, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ
............................................................................



วัดเวฬุวันวนาราม (วัดเวฬุวัน)
เลขที่ 313 หมู่ 1 ต.ท่าขนุน
อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี 71180
โทรศัพท์ 081-375-7222


พระครูภาวนาสุทธาจาร (พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ) เจ้าอาวาส

วัดเวฬุวัน เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดตั้งอยู่ใกล้ที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิ

การเดินทาง : จากกรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าไปจังหวัดนครปฐม ถึงนครปฐมไม่ต้องเข้าเมือง ใช้สายเลี่ยงเมืองตรงไปทางป้ายราชบุรี ทางขวามือมีองค์พระปฐมเจดีย์ (แต่อาจมองไม่เห็น) แต่เห็นอาคารตึกห้างเทสโก้โลตัส หรือห้างบิ๊กซี ให้ตรงไปตามป้ายราชบุรี-กาญจนบุรี

พอถึงป้ายราชบุรีตรงไปกาญจนบุรีเลี้ยวซ้ายขึ้นสะพาน ให้เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพาน นับจากลงสะพานตัวนี้นับทางรถไฟที่ตัดผ่านหน้าให้ได้ 2 ทางรถไฟ พอผ่านตัวที่ 2 ให้ดูป้ายกาญจนบุรี แล้วเลี้ยวขวา

จากที่เลี้ยวขวามาตามป้ายกาญจนบุรี วิ่งตรงไปเรื่อยๆ หลายสิบกิโลเมตร มาถึงตัวเมืองกาญจนบุรี ผ่านตัวเมือง เห็นศาลากลางจังหวัดอยู่ขวามือ และสุสานทหารสหพันธมิตรอยู่ซ้ายมือ ตรงไปอีกระยะหนึ่งจะมีป้าย “สะพานแม่น้ำแคว” อยู่ซ้ายมือเขื่อนศรีนครินทร์-เขื่อนเขาแหลม ตรงไปจะเห็นสี่แยกใหญ่อยู่ข้างหน้าเตรียมชิดซ้าย ชื่อแยกแก่งเสี้ยน มีป้ายบอกซ้ายมือไปไทรโยค ตรงไปบ่อพลอย-สุพรรณบุรี-นครปฐม เลี้ยวขวา ให้เลือกไปซ้ายมือทางไทรโยค ให้มองป้ายไทรโยคแล้วตามป้ายไทรโยคไปเรื่อยๆ ระยะทางตรงนี้หลายสิบกิโลเมตร วิ่งไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเริ่มเห็นป้ายที่บอกว่าทองผาภูมิ อีกกี่กิโลเมตรวิ่งไปตามทางทองผาภูมิเรื่อยๆ จนกว่าจะเห็นป้ายขนาดใหญ่เขียนขวางหน้าว่า “วัดเวฬุวันวนาราม” อยู่ซ้ายมือ พอเห็นป้ายให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร ก็จะพบวัดเวฬุวันวนาราม (วัดเวฬุวัน)

ระยะทางจากกรุงเทพฯ ถ้าตั้งเลขหลักกิโลเมตร น่าจะวัดได้ประมาณ 270-290 กิโลเมตรโดยประมาณ ควรออกเดินทางตั้งแต่ตอนเช้าจะได้ถึงวัดก่อนเย็น เพราะถ้ามืดแล้วไม่มีไฟฟ้าใช้ จะมองอะไรไม่เห็น ควรปรับตัวกับสภาพแวดล้อมหน่อยนึงก่อน ขอให้เตรียมไฟฉายพร้อมหยิบได้ทุกเมื่อด้วย

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดเวฬุวันวนาราม (วัดเวฬุวัน)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1100

ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20794

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระครูวิสุทธิกาญจนคุณ (ปริญญา ญาณวิสุทฺโธ)
............................................................................



วัดมโนธรรมาราม (วัดนางโน)
หมู่ 3 ต.ม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี 71110
โทรศัพท์ 034-504-547, 034-655-403
โทรสาร 034-504-547


พระครูวิสุทธิกาญจนคุณ (ปริญญา ญาณวิสุทฺโธ) เจ้าอาวาส

พระครูวิสุทธิกาญจนคุณ (เจ้าอาวาส) 081-736-2303
พระอดุลย์ อตุโล (กองเลขานุการ) 086-165-0092, 086-337-1931


วัดมโนธรรมาราม (วัดนางโน) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกาญจนบุรี แห่งที่ 4 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนา ประจำปี พ.ศ.2537 วัดตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร ทางวัดมีการจัดโครงการประชุมปฏิบัติธรรมบวชเนกขัมมะถือธุดงควัตร, โครงการอบรมปฏิบัติธรรมสำหรับข้าราชการและสาธุชนทั่วไป และโครงการปฏิบัติธรรมในงานประจำปีของวัด ฯลฯ เป็นประจำอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

รูปภาพ

ประวัติวัดมโนธรรมาราม (วัดนางโน)

เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วหลายร้อยปี แต่หลักฐานการก่อสร้างไม่ปรากฏชัดว่าสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. ใด หากมีศิลปกรรมภายในวัดคือพระปรางค์ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น วัดนางโนมีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ด้านฝั่งตะวันตกของวัดติดลำน้ำแม่กลอง ต.ม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี สันนิษฐานกันว่าเดิมทีวัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน แต่ครั้งเกิดสงครามไทยกับพม่า ชาวบ้านจึงอพยพหลบหนีไปที่อื่น วัดจึงตกอยู่ในสภาพเป็นวัดร้างเช่นเดียวกับอีกหลายๆ วัดในเขตเมืองกาญจนบุรี

ครั้นสงครามสงบลง ชาวบ้านจึงได้กลับถิ่นฐานเดิมและบูรณะซ่อมแซมวัด แล้วจึงนิมนต์พระภิกษุให้มาจำพรรษา ในครั้งนั้นมีผู้หญิงท่านหนึ่งชื่อ “โน” เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบูรณปฏิสังขรณ์วัด เมื่อทุกอย่างสำเร็จลงแล้ว ชาวบ้านจึงได้เรียกวัดนี้ว่า “วัดนางโน” เรื่อยมาจนกระทั่งได้ชื่อเป็นทางการว่า “วัดมโนธรรมาราม” เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2502

วัดแห่งนี้เป็นแหล่งรวมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 9 อย่างในที่เดียวกัน ดังคำขวัญ “ชมวังมัจจฉา แม่ย่านางโน หลวงพ่อสมเด็จโต พระนอนโบราณ มนัสการหลวงพ่อแบนยึดแน่นวิปัสสนา ขอพรเมตตาพระแม่กวนอิม ได้บุญเต็มอิ่มพระสังกัจจายน์ สัพเคราะห์สูญหายพระพรหมประกาศิต ร่ำรวยในชีวิตขอพรแม่พระธรณี ล้มละลายเรื่องที่ขอพรพระประธาน”

ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุที่สำคัญที่ยังมีปรากฏอยู่ในปัจจุบัน มีดังนี้
1. พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน)
2. พระปรางค์
3. พระพุทธรูปศิลาแลง
4. พระอุโบสถหลังเก่า

รูปภาพ

จากหนังสือวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดกุมารทอง บุตรนางบัวคลี่ ตอนที่ว่า
“อุ้มเอาทารกยกจากท้อง กุมารทองมาเถิดไปกับพ่อ
หยิบเอาย่ามใหญ่ใส่สวมคอ เอาผ้าห่อลูกชายสะพายไป
เปิดประตูจู่ออกมานอกบ้าน รีบเดินผ่านป่าตัดเข้าวัดใต้
ปิดประตูวิหารลั่นดาลใน ลิ่มกลอนซ่อนใส่ไว้ตรึกตรา”

หนังสือสมุดราชบุรีของสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ พุทธศักราช 2468 กล่าวไว้ในตำนานเรื่องเมืองกาญจนบุรี เกี่ยวกับการการปกครองท้องที่ในระเบียบใหม่เมื่อ ร.ศ.114 ถึง ร.ศ.116 ได้แบ่งอาณาเขตเมืองกาญจนบุรีไว้เป็น 3 อำเภอ คือ (1) อำเภอเมืองกาญจน์ (2) อำเภอใต้ (3) อำเภอเหนือ

- อำเภอใต้ที่ว่านี้ ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ท่าไม้รวก ตำบลม่วงชุม ริมแม่น้ำแม่กลอง
- ร.ศ.120 ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่ตำบลท่าม่วงฝั่งซ้ายริมแม่น้ำแม่กลอง เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลวังขนาย
- พ.ศ.2490 ที่ว่าการอำเภอย้ายไปตั้งที่ริมถนนแสงชูโต ในเขตตำบลท่าม่วง เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอท่าม่วง จนถึงปัจจุบันนี้

ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า วัดใต้ ที่กล่าวในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน ก็คือ วัดนางโน นั่นเอง

รูปภาพ

กฎเกณฑ์สำหรับผู้เข้ามาพำนักปฏิบัติธรรม
ณ สำนักปฏิบัติธรรมวัดมโนธรรมาราม (วัดนางโน)


๑. เมื่อเข้ามาอยู่ภายในวัด ต้องปฏิบัติตามกิจวัตรและกฎเกณฑ์ของสำนัก
๒. ทางสำนักรับเฉพาะผู้ที่เชื่อฟังและให้ความเคารพในคณะสงฆ์ โดยมีครูอาจารย์เป็นประธาน
๓. ทางสำนักรับเฉพาะผู้ที่ต้องการฝึกฝนตนเองเพื่อความพ้นทุกข์
ตามแนวทางของสำนักด้วยความสอดคล้องในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า
๔. ทางสำนักไม่ต้องการรับบุคคลที่ดีแล้วเก่งแล้ว ไม่ยอมรับกฎเกณฑ์คำสั่งสอน
ขอนิมนต์หรือเรียนเชิญไปโปรดสัตวของท่านด้วยความสวัสดีเถิด
๕. ทางสำนักไม่รับผู้ที่แทรกแซงหน้าที่ผู้อื่น หรือกระทำปฏิกิริยาใดๆ
ที่แทรกแซงหรือทำลายผู้อื่นด้วยกายและวาจา
๖. ทางสำนักไม่รับผู้ที่ปฏิบัติอาการใดๆ ที่เป็นการลบหลู่ในพระรัตนตรัยและกฎเกณฑ์ของสำนัก
๗. ถ้าคณะสงฆ์มิได้แต่งตั้งให้ท่านทำหน้าที่เป็นครูอาจารย์ของสำนัก
ขอให้ท่านจงเก็บความรู้ของท่านเอาไว้ที่ท่านไม่ต้องแสดงแทรกแซงหน้าที่ของครูอาจารย์
๘. จะต้องทราบว่าวัดมโนธรรมาราม (วัดนางโน) แห่งนี้ เป็นสถานลานปฏิบัติธรรม
ไม่ใช่สถานที่เลี้ยงสุกรและงูเหลือม พร้อมทั้งไม่ใช่สถานที่พักตากอากาศ
เพราะฉะนั้นกลางวันไม่ใช่เวลานอน ๓ ทุ่ม ถึง ๔ ทุ่ม จึงเป็นเวลาพักผ่อนสำหรับเรา
๙. ห้ามกระทำการใดๆ ที่เป็นไปซึ่งความแตกแยกความสามัคคีของหมู่คณะ
๑๐. ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
ครั้งที่ ๑ ให้พระเจ้าหน้าที่หัวหน้าแม่ชีตักเตือน
ครั้งที่ ๒ ให้ลงโทษโดยอยู่ในขอบเขตพระธรรมวินัย
ครั้งที่ ๓ ให้นิมนต์หรือเรียนเชิญออกจากพื้นที่การปฏิบัติธรรมของสำนัก
๑๑. ถ้าหากมีความจำเป็นที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ไม่ได้ในวาระใด
ให้แจ้งเหตุผลต่อพระเจ้าหน้าที่หัวหน้าแม่ชีทุกครั้ง
๑๒. กฎเกณฑ์ทุกข้อเป็นหน้าที่ของทุกท่านที่ต้องปฏิบัติตาม
ยกเว้นเฉพาะบุคคลที่คณะสงฆ์พิจารณาแล้วสั่งยกไว้

สภาพโดยทั่วไป :

วัดตั้งอยู่ห่างจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนแม่กลอง) ประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่บริเวณริมแม่น้ำ เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ทางวัดรับบวชพรามหณ์ทั้งชายและหญิง การปฏิบัติธรรมในวัดไม่เคร่งเครียดมากนัก เหมาะสำหรับการบวชแก้บน หรือบวชหาความสงบในระยะสั้นๆ (อยู่ระยะยาวต้องคุยกับเจ้าอาวาส) สำหรับชุดขาวต้องนำมาเอง หรือซื้อได้จากร้านค้าสหกรณ์ของทางวัด สามารถบริจาคเงินช่วยทางวัดได้ตามความเหมาะสมของแต่ละท่าน

รูปภาพ

กิจวัตรประจำวัน :

๐๔:๐๐ น. ฝึกกรรมฐานนั่งสมาธิ และทำวัตรเช้า
๐๘:๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า
๑๑:๐๐ น. รับประทานอาหารเพล
๑๘:๐๐ น. ฝึกกรรมฐานนั่งสมาธิ และทำวัตรเย็น

ในวันพระจะต่างไปเล็กน้อย

- รับประทานอาหารเช้าเวลาประมาณ ๐๖:๓๐ น.
- ร่วมทำบุญและฟังธรรมประมาณ ๐๙:๐๐ น. (ผู้ที่บวชพราหมณ์จะรับพัตรเตรียมไว้สำหรับเพล)

การติดต่อขอเข้าบวชพราหมณ์ :

ติดต่อที่วิหารหลวงปู่แบน (ถ่ายสำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการมาด้วย) ทำพิธีบวชและลาศีลที่กุฎิเจ้าอาวาสทุกวัน ห้ามนำโทรศัพท์มือถือติดตัวมา (หรือปิดโทรศัพท์)

การเดินทาง :

- โดยรถโดยสารประจำทาง

รถโดยสารประจำทางผ่านทางเข้าอย่างน้อย 2 สาย คือ สายกรุงเทพฯ<->กาญจนบุรี และสายราชบุรี<->กาญจนบุรี ลงรถที่หน้าทางเข้าเขื่อนแม่กลอง (หอนาฬิกา) ที่ท่าม่วง แล้วนั่งเมล์เครื่อง (มอร์เตอร์ไซต์รับจ้าง) เข้าไป

- โดยรถยนต์ส่วนตัว

เข้าทางเขื่อนแม่กลอง เลยเขื่อนแล้วตรงไป จะมีป้ายบอกทางเป็นระยะๆ

รูปภาพ
พระแม่ธรณี ณ วัดมโนธรรมาราม (วัดนางโน)


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดมโนธรรมาราม (วัดนางโน)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3090

เว็บไซต์วัดมโนธรรมาราม (วัดนางโน)
http://www.watnangno.com/

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2004, 01:20
โพสต์: 1785


 ข้อมูลส่วนตัว www


องุ่น มีพระอาจารย์รูปหนึ่ง ท่านเป็นผู้ที่บุกเบิกสถานธรรม ที่หน้าถ้ำลิเจีย ท่านเล่าว่าท่านเคยเห็นคนที่ไปขุดทองในถ้ำนั้น แต่ออกมาไม่ได้ ผลอาจเป็นไปได้คือเสียชีวิต และอาจารย์ท่านนี้ ยังมีสำนักวิปัสสนาอีกหลายที่ มีทั้งที่ อ.เซกา ก็จะมีลูกศิษย์ท่านอยู่เป็นประจำ และท่านพระอาจารย์ยังได้บุกเบิกอีกหลายแห่ง เช่น ที่ จ.เชียงใหม่, จ.อุตรดิตถ์, จ.ลำปาง, จ.ประจวบคีรีขันธ์ หากท่านใดประสงค์ที่จะไปปฏิบัติสำนักวิปัสสนาต่างๆ ดังที่กล่าวมา โทรศัพท์ถามได้ที่ 089-272-4138 องุ่น อาจพอจะช่วยเป็นแนวทางได้บ้าง


นำข้อมูลมาจาก : คุณองุ่น

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 10:52
โพสต์: 15


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูรายละเอียดการปฏิบัติแนวทาง อ.โกเอ็นก้า ได้ที่

ไทย http://www.thai.dhamma.org

ต่างประเทศ http://www.dhamma.org

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมวิปัสสนา

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=21043
http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=1727.0

วิปัสสนาในเรือนจำ

http://www.dhammabrothers.com/letters.html
http://www.youtube.com/watch?v=zA8XFEyeMi8

อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สัมภาษณ์ อ.โกเอ็นก้า นิตยสาร Shambhala
http://www.shambhalasun.com/index.php?option=content&task=view&id=1739

ประวัติท่าน อ.โกเอ็นก้า
http://www.dhamma.org/en/goenka.shtml

เหมียว-วรัตดา ในรายการเจาะใจ
http://www.meowwarattada.com/interview.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2009, 00:58
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 86.85 KiB | เปิดดู 33110 ครั้ง ]
วัดป่าญาณรังษี
ต.ท่ากระดาษ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี 71250


วัดป่าญาณรังษี เป็นวัดป่าปฏิบัติสายหลวงพ่อชา สุภัทโท โดยอดีตรองเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร เป็นผู้สืบทอดสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) จากพระครูสังวรสมาธวัตร (หลวงปู่แป๊ะ) ปัจจุบันมี พระอาคม ญาณโสภโณ (อาจารย์วี ญาณโสภโณ) รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าญาณรังษี

เข้าเยี่ยมชมได้ที่
http://watpayannarancsi.igetweb.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2009, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาบุญครับสาธุ

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron