วันเวลาปัจจุบัน 14 ก.ย. 2024, 05:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2015, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

คุณานุภาพแห่งขันติธรรม

สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ
สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต


“ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น”


:b44: :b44:

ขันติ ความอดทน คือ ทนลำบาก ทนตรากตรำ ทนเจ็บใจ,
ความหนักเอาเบาสู้เพื่อบรรลุจุดหมายที่ดีงาม


ขันติ เป็น ๑ ในบารมี ๑๐ ประการ
ซึ่งเป็นคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด
เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง มี ๑๐ คือ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ,
ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา

ในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์
ผู้บำเพ็ญความดีเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
ก็ทรงได้บำเพ็ญขันติบารมีมาอย่างยิ่งยวดโดยตลอด


:b46:

ขันติ เป็นธรรมที่ท่านสรรเสริญอย่างยิ่งว่าบุคคลควรเจริญให้มีในตน
เพราะจะยังคุณธรรมอื่นๆ และประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้อีกมาก
ดังปรากฏเป็นภาษิต ได้แก่

ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน : ความอดทน เป็นตปะ (ตบะ) ของผู้พากเพียร

ขนฺติ หิตสุขาวหา : ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข

ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร : ความอดทน เป็นเครื่องประดับ ของนักปราชญ์

ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา : ขันติ คือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง

ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ : ความอดทนเป็นกำลังของนักพรต

ขนฺติ สาหสวารณา : ความอดทนห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน

ขนฺติพลา สมณพราหมณา : สมณพรามหณ์ มีความอดทนเป็นกำลัง

มนาโป โหติ ขนฺติโก : ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุคคลอื่น

กวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก :
ความอดทนย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น, ผู้มีขันติ ชื่อว่า
ย่อมขุดรากแห่งความติเตียน และการทะเลาะกันได้ เป็นต้น

ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก :
ผู้มีความอดทน นับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และ มีสุขเสมอ,
ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่รัก ชอบใจของเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย


:b46:

ขันติในพระโอวาทปาฏิโมกข์

หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป
ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม
ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่า วันมาฆบูชา

คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้

สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ


แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑
การทำจิตต์ของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง,
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม,
ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,
ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑
ความเพียรในอธิจิตต์ ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ คาถาแรกที่ว่า
“ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส”


:b46:

ขันติเป็นธรรมอันทำให้บุคคลงาม

ธรรมทำให้งาม ๒ ประการ คือ
๑.) ขันติ ความอดทน
๒.) โสรัจจะ ความเสงี่ยมหรือความมีอัธยาศัยประณีต


:b46:

ขันตินำมาซึ่งความสังวร สำรวม

การระวังปิดกั้นบาปอกุศล มี ๕ อย่าง คือ

๑.) ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในปาฏิโมกข์
(บางแห่งเรียก สีลสังวร สำรวมในศีล)
๒.) สติสังวร สำรวมด้วยสติ
๓.) ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ
๔.) ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ
๕.) วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร


:b46:

ขันติ ๑ ในราชธรรม ธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน

คุณสมบัติของนักปกครองที่ดี สามารถปกครองแผ่นดินโดยธรรม
และยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี
มี ๑๐ ประการ (นิยมเรียกว่า ทศพิธราชธรรม) คือ

๑.) ทาน การให้ทรัพย์สินสิ่งของ
๒.) ศีล ประพฤติดีงาม
๓.) ปริจจาคะ ความเสียสละ
๔.) อาชชวะ ความซื่อตรง
๕.) มัททวะ ความอ่อนโยน
๖.) ตบะ ความทรงเผากิเลสตัณหา ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ
๗.) อักโกธะ ความไม่กริ้วโกรธ
๘.) อวิหิงสา ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน
๙.) ขันติ ความอดทนเข็มแข็งไม่ท้อถอย
๑๐.) อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม


:b46:

ขันติ ๑ ใน ๔ คุณธรรมของผู้ครองเรือน
เรียกว่า ฆราวาสธรรม
ได้แก่

๑.) สัจจะ ความจริง เช่น ซื่อสัตย์ต่อกัน
๒.) ทมะ ความฝึกฝน ปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์
๓.) ขันติ ความอดทน
๔.) จาคะ ความเสียสละ เผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ


:b46:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2015, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



สตฺถุโน วจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก
ปรมาย ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก


ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำทรงสอนของพระศาสดา
และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้า ด้วยบูชาอันยิ่ง


ขันติ หมายถึงความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่เป็นที่ชอบใจ
อดทนอดกลั้นคืออย่างไร ดูเหมือนแทบทุกคนจะเข้าใจความหมายของคำว่าขันติดี
เพราะแทบทุกคนจะพูดถึงขันติอยู่เสมอ ไม่เว้นแต่ละวันก็ว่าได้
มีขันติบ้าง ไม่มีขันติบ้าง หรือบางทีก็ขันติแตกบ้าง

พูดกันจนเคยปากเคยหู แต่มิได้ให้ความสนใจแก่ขันติเพียงพอ
จึงมิได้มีบุญได้ทำบูชาสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง
อีกนัยหนึ่งก็คือมีขันติอยู่เพียงที่ปาก มิได้มีขันติที่ใจ ที่ความประพฤติปฏิบัติ
อาจจะเป็นเพราะไม่เข้าใจคำว่าขันติเพียงพอ จึงมิได้ปฏิบัติให้จริงจัง

ถ้าเข้าใจเพียงพออาจจะปฏิบัติจริงจัง จนได้ชื่อว่าเป็นผู้มีขันติ
ได้ชื่อว่าเป็นผู้บูชาสมเด็จพระบรมศาสดา ซึ่งควรเป็นความภูมิใจที่ชื่นใจที่สุด
สำหรับผู้ได้ความรับรู้ความประจักษ์ในคุณค่าสูงส่งแห่งจิตใจตน
ที่ได้เป็นผู้บูชาสมเด็จพระบรมศาสดาด้วยบูชาอันสูงส่งยิ่ง


:b44:

ผู้ที่ปฏิบัติขันติ ฝึกจิตใจให้มีความอดทนต่ออารมณ์ทั้งหลาย ต่อกิเลสทั้งหลาย
ย่อมสามารถเผากิเลสทั้งหลายได้ ดับกิเลสทั้งหลายได้

เช่นเมื่อความโลภบังเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของความโลภ
หรือราคะความติดใจยินดีบังเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของราคะ ก็มีความอดทน
ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของโลภะหรือราคะ
เมื่อความอดทนนี้มีกำลังที่แรงกว่ากำลังของกิเลส
ก็ชนะกิเลสได้ กิเลสก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาไป


เมื่อโทสะบังเกิดขึ้นก็เช่นเดียวกันมีความอดทนต่อโทสะ ต่ออารมณ์ของโทสะ
ไม่ยอมแพ้อำนาจของโทสะ และเมื่อความอดทนนี้มีกำลังกว่า
โทสะกับอารมณ์ของโทสะก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาสิ้นไป
โมหะก็เช่นเดียวกัน ความหลงถือเอาผิด หลงติดอยู่ในวัตถุอันเป็นที่ตั้งของความหลง
มีความอดทนต่อความหลง ความติด และอารมณ์ของความหลงนั้น
เมื่อความอดทนมีกำลังก็เอาชนะโมหะได้ โมหะก็ดับหายไป เหมือนอย่างถูกเผาไป


:b44:

ในการปฏิบัตินั้นก็จะต้องปฏิบัติตั้งแต่ขันติคือความอดทน
มีน้ำอดน้ำทน มีความอดกลั้นทนทาน ต่ออารมณ์และกิเลสทั้งหลาย
ซึ่งอาจจะทนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ว่าเมื่อฝึกอยู่บ่อยๆ แล้ว
ก็จะทำให้ความอดทนนี้มีพลังยิ่งขึ้น
สามารถอดทนต่ออารมณ์และกิเลสได้มากขึ้น


:b44:

ที่จริงคุณของขันตินั้น พระพุทธศาสนาแสดงไว้มาก
ล้วนแสดงถึงความสำคัญของขันติที่ควรสนใจด้วยกันทุกถ้วนหน้า
เพราะความสำคัญของขันติธรรมนั้นล้วนเป็นประโยชน์แก่ผู้มีธรรมข้อสำคัญนี้อย่างยิ่ง
ตัวอย่างเช่น “ผู้มีขันติชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตน ทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์ และนิพพาน”


:b44:

ขันติเป็นอลังการวิเศษ อำนวยผลแก่ผู้ที่มีอยู่ทุกคน
เพราะผู้ที่มีจิตใจเข็มแข็งอดทนสงบอยู่เป็นปกติ
ทนทานได้ทุกสถานการณ์ ย่อมชื่อว่าได้ที่ตั้งรับอันมั่นคง
เป็นผู้ชนะในขั้นที่ตั้งรับแล้ว ทำให้สามารถปฎิบัติกิจหน้าที่ให้สำเร็จ



:b45: :b45:

รวมกระทู้พระนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องขันติ
ของสมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)


แสงส่องใจ ว่าด้วยขันติ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14380

ขันติ ขันแตก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13774

ขันติ คือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=5279

ขันติเป็นอลังการวิเศษ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=49933

อนุโลมิกขันติ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=43075

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2015, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์หลุย จันทสาโร
วัดถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย



ความอดทนสู้กิเลส

หลวงปู่หลุย เล่าไว้ในประวัติของท่าน
ถึงเรื่องการบำเพ็ญเพียรอย่างอดทนอาจหาญไว้ช่วงหนึ่ง
ซึ่งเป็นการจำพรรษาใน ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ว่า

“จำพรรษาในปีนี้ ท่านได้แยกอยู่ห่างจากหมู่เพื่อน
มาอยู่คนเดียวอีกด้านหนึ่งของบริเวณถ้ำกลองเพล
มานั่งคิดนึกถึงตนแล้ว ก็ให้นึกสะท้อนใจ
ท่านรู้องค์ว่าท่านได้พยายามปฏิบัติ
บำเพ็ญเพียรภาวนามาอย่างเด็ดเดี่ยว
สิ่งใดที่ครูบาอาจารย์พูดว่าให้กล้า ให้ทำความเพียร
ก็ได้พยายามทำตามคำที่ท่านแนะนำ
หรือได้ยินได้ฟังท่านพูดท่านอบรมให้ฟัง
อย่างเช่น การอดนอน ผ่อนอาหาร ผ่อนข้าว ผ่อนน้ำ
อาหารเคยฉันเต็มอิ่ม ก็ลดละให้เหลือเพียงวันละ ๒๐ คำ
ผ่อนเหลือ ๑๐ คำ ๕ คำ หรือไม่ฉันเลยก็มี ไม่ฉันเป็นวันๆ
หรือเป็นอาทิตย์ก็มี อดข้าวเพื่อจะดูกำลังความเพียรของตน
ว่าจะสามารถอดทนได้เพียงใด

ส่วนน้ำนั้นก็แสนจะประหยัดมัธยัสถ์ ใช้วันละกา ครึ่งกา
เป็นที่กล่าวขวัญกันมานานแล้ว เคยพูดกันว่า
อดข้าวนั้นอดได้ แต่อดน้ำนั้นลำบาก
แต่ท่านเองก็พยายามแม้แต่การอดน้ำ

ท่านเคยได้รับคำทักจากครูบาอาจารย์ว่า ท่านนั้นเป็นคนราคะจริต
คือ เป็นคนรักสวยรักงาม ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย
เห็นสิ่งไม่งดงามจะทนไม่ได้ ท่านก็พยายามทรมานตนเอง

ให้เห็นเป็นอสุภะ ความไม่สวยไม่งามของกาย
แม้แต่เครื่องนุ่งห่ม จีวร ก็ต้องเย็บปะชุนจนแทบจะหาเนื้อเดิมไม่ได้
เอาผ้าบังสุกุลหรือที่เขาเรียกว่า ผ้าเกลือกฝุ่น ที่ทิ้งไว้ตามทุ่งนา
เอามาปะเย็บเป็นของตน หากมีใครถวายจีวรใหม่ สบงใหม่
ก็จะถวายให้พระองค์อื่นไป แต่ตัวเองนั้นจะต้องใช้ของเก่า
ซอมซ่อดูสกปรกเพราะปะซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แต่ความจริงก็ต้องซักให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ

ท่านทรมานตนเพื่อที่จะไม่ให้เป็นคนราคะจริต
รักสวยรักงาม อดทนทุกอย่างเพราะว่าจิตเดิมเคยรักความงาม
เคยเกิดมาในบ้านในตระกูลที่ร่ำรวยมีอันจะกิน
เคยกับของงามของสูง ก็ดัดสันดานจิตของตน
ให้ไปเคยชินชากับความไม่สวย คิดขึ้นมาได้ว่า
แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดในปราสาทราชวัง
เกิดเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ มีนางสนมกำนัลห้อมล้อม
มีความสุขความสบาย แต่กระนั้นท่านก็ยังกล้า
สละความสำราญความสบายเหล่านั้น ออกมาแสวงหาโมกขธรรม
ตัวเรานั้นเทียบไม่ได้เลยกับองค์พระบรมศาสดา
ไฉนทำไมเราจะทำเป็นคนทุกข์คนยาก ลำบากเช่นนั้นไม่ได้”



:b45: :b45:

:b48: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่หลุย จันทสาโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26088

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2015, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู



อดทนต่อความลำบากขาดแคลนเพื่อธรรม

ปีท่านจำพรรษาที่นั้น (บ้านดงหม้อทอง) อุบายต่างๆ เกิดขึ้นโดยสม่ำเสมอ
และต้องคอยเตือนพระเสมอไม่ให้ประมาทในการรักษาธุดงควัตร
เพราะอยู่ในท่ามกลางสิ่งที่ควรระวังหลายอย่างต่างๆ กัน
โดยอาศัยธุดงควัตรเป็นเส้นชีวิตจิตใจ มีธรรมวินัยเป็นที่ฝากเป็นฝากตาย
ใจจึงอยู่เป็นสุข ไม่หวาดเสียวสะดุ้งกลัวต่างๆ

การขบฉันก็น้อยเพียงเยียวยาธาตุขันธ์ไปวันๆ เท่านั้น
เพราะศรัทธาญาติโยมมีน้อยและเป็นบ้านเพิ่งตั้งใหม่มีไม่กี่หลังคาเรือน
ยังไม่เป็นหลักฐานมั่นคง และเป็นความมุ่งหมายของท่านผู้หนักแน่นในธรรมะ
จึงพึงฝึกฝนอดทนเพื่อธรรมความอยู่สบายทางภายใน
จึงไม่กังวลที่อยู่อาศัย อาหารบิณฑบาตให้มากไป
อันจะเป็นอุปสรรคต่อความเพียร

ยาแก้ไข้ก็คือ ความอดทน ต่อสู้ด้วยความเพียรทางสมาธิภาวนา
โดยถือเอาสัตว์ป่าชนิดต่างๆ เป็นเพื่อน และสักขีพยานว่า
เขาก็มิได้เกิดมากับหยูกยาชนิดต่างๆ และคลอดที่โรงพยาบาล
มีหมอและนางพยาบาลคอยรักษาผดุงครรภ์
แต่เขายังเป็นสัตว์ชนิดต่างๆ สืบต่อกันมาได้เต็มป่าเต็มเขา
โดยไม่แสดงความโศกเศร้าเสียใจ ว่าตนขาดการบำรุงรักษา
ด้วยหมอ ด้วยยา และนางพยาบาลตลอดเครื่องบำรุงต่างๆ



:b45: :b45:

:b48: ประวัติและปฏิปทาของ “หลวงปู่ขาว อนาลโย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22390

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2015, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่



อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายอย่างเด็ดเดี่ยว

ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านจำพรรษาที่วัดบ้านปง
อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
เกิดอาพาธแผลที่ขาอักเสบทรมานมาก
ท่านจำพรรษาอยู่รูปเดียว ชาวบ้านไม่เอาใจใส่
ได้ท่านพระอาจารย์หนู สุจิตฺโต วัดดอยแม่ปั๋ง
อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พาหมอมาจี้
มาทำการผ่าตัดโดยไม่ต้องฉีดยาชา ใช้มีดผ่าตัดเพียงเล่มเดียว
ท่านมีความอดทนให้กระทำจนสำเร็จและหายได้ในที่สุด


อีกหลายปีต่อมา พระอาจารย์หนูเห็นว่า หลวงปู่แก่มากแล้ว
ไม่มีผู้อุปัฏฐาก จึงได้ชักชวนญาติโยมไปนิมนต์
ให้ท่านมาจำพรรษาที่ วัดดอยแม่ปั๋ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕
ในฐานะพระผู้เฒ่าทำหน้าที่ปฏิบัติธรรมอย่างเดียว
ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับภาระหน้าที่อื่นใด และท่านก็ได้ตั้งสัจจะว่า
จะไม่รับนิมนต์ ไม่ขึ้นรถ ไม่ลงเรือ แม้ที่สุดจะเกิดอาพาธหนักเพียงใด
ก็จะไม่ยอมเข้านอนโรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้
ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ แล้วท่านก็ได้ปฏิบัติตามที่ตั้งใจไว้ได้



:b45: :b45:

:b48: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่แหวน สุจิณโณ”
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6702

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2015, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) จ.บึงกาฬ



ความอดทน...เป็นสมบัติของนักสู้
ความรู้...เป็นสมบัติของนักปราชญ์
ความสามารถ...เป็นสมบัติของผู้กอปรกิจ
ระเบียบทุกชนิด...เป็นสมบัติของคนดี


รูปภาพ


:b45: :b45:

:b48: ประวัติและปฏิปทา “พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=23167

:b48: ป้ายธรรมะสอนใจบนภูทอก วัดเจติยาคิรีวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=47341

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2015, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร
วัดถ้ำผาปล่อง
อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่



ทุกข์ไม่ต้องบ่น...อดทนเอา

อะไรๆ ทั้งหมดนั้นมันไม่เที่ยง
หมายถึง รูป นาม กาย ใจ ตัว ตน สัตว์ บุคคล
ทั้งหมดทั้งมวลนี้แหละมีความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เมื่อมันปรากฏการณ์ถึงความไม่เที่ยงขึ้นมาเมื่อใด เวลาใด
ให้มีสติ อย่าไปบ่นเพ้อรำไร
เมื่อเกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนอันใดขึ้นมา
ทุกข์เกิดขึ้นท่านก็ไม่ให้บ่น อดทนเอา
ให้มีความอดทนเป็นพื้นฐานอยู่ในจิตใจของผู้ปฏิบัติ


:b44:

อดทนในการทำความเพียร

“การนั่งขัดสมาธิเพชรนั้น
เป็นการฝึกฝนคนเราให้เกิดความตั้งใจมั่น

ดูเมื่อพระพุทธเจ้าเราจะได้ตรัสรู้นั้น
พระองค์นั่งขัดสมาธิเพชรใต้ร่มไม้โพธิ์
จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า..”

“..นั่งสมาธิเพชร ใจของเราต้องเป็นเพชร
ไม่ใช่เป็นพลอย..พลอยตามกิเลส
เป็นเพชร คือว่า ถ้าเหล็กเพชร ก็เรียกว่า ตัดเหล็กต่างๆ ได้
เพชรนิลจินดา มนุษย์สมมติกันว่ามีราคาแพง
แต่ยังสู้ใจเพชรของพระพุทธเจ้าไม่ได้
ใจเพชรพระพุทธเจ้านั้น
นั่งขัดสมาธิเพชรทางร่างกายได้
เจ็บปวด ทุกขเวทนาอะไรๆ ทั้งหมดพระองค์สละตายลงไป”



:b45: :b45:

:b48: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่สิม พุทธาจาโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=21573

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2015, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์ชา สุภัทโท
วัดหนองป่าพง
อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี



นิสัยอดทนเป็นเลิศ

“ความอดทนนี้เป็นแม่บทของการปฏิบัติ”
คำนี้หลวงพ่อท่านย้ำเสมอ


ในประวัติการปฏิบัติของท่าน
จะเห็นได้ว่าหลวงพ่ออยู่อย่างอุกฤษฏ์เป็นเวลาหลายปี
ชนิดที่ว่าคงเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับคนที่ไม่มีน้ำอดน้ำทนถึงขนาด

สมัยที่ยังหนุ่มและกามราคะกลุ้มรุม
ท่านก็ได้อาศัยความอดทนนี่เอง
ช่วยให้ผ่านพ้นอุปสรรคสำคัญของวัยหนุ่มมาได้ตลอดรอดฝั่ง

ถึงตอนที่มาตั้งวัดหนองป่าพงในสมัยแรกๆ
ท่านก็ต้องอดทนต่อการขาดแคลนปัจจัย ๔
ทนต่อการต่อต้านขัดขวางของผู้ไม่หวังดีทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายคฤหัสถ์
ท้ายที่สุดก็ทนต่อโรคาพยาธิในตอนปลายของชีวิต

หลวงพ่อเคยปรารภให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า

“คนปฏิบัติธรรมได้นี่ ผมว่าทนทานจริงๆ
เพราะมันไม่ใช่เบาๆ มันหนัก เอาชีวิตเข้าแลกก็ว่าได้”


แม้ในการทำความเพียรของลูกศิษย์
ท่านก็สนับสนุนและให้กำลังใจในข้อปฏิบัติที่ทำได้ยาก
แต่ไม่ให้หักโหมหรือตึงเครียดเกินไป จนเป็นการทรมานตัวเปล่าๆ

หลวงพ่อประจำอยู่ที่วัดหนองป่าพงเกือบ ๔๐ ปี
ตลอดช่วงเวลาอันยาวนานนี้ ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่บุคลิกนิสัยของท่าน
จะเปลี่ยนแปลงตามอายุสังขารบ้าง
ดังที่ทราบว่า เมื่อหลวงพ่อตั้งวัดหนองป่าพงนั้นท่านอายุ ๓๖ ปี
อายุพรรษา ๑๗ วัยกำลังฉกรรจ์ และท่านกำลังเร่งการปฏิบัติอยู่อย่างเต็มที่
ภาพของหลวงพ่อที่คนสมัยนั้นรู้จัก
จึงเป็นภาพพระภิกษุหนุ่มผู้เคร่งขรึม เอาจริงเอาจัง
พูดน้อยทำงานหนัก ผอมคล้ำ กระฉับกระเฉงว่องไว
และอดทนอย่างยิ่งต่ออุปสรรคนานาชนิด
ที่แผ้วพานเข้ามาในระยะแรกของการบุกเบิกสร้างวัด


:b44:

อดทนสู้กามราคะ

เนื่องด้วยเรื่องการต่อสู้กับกามราคะนี้
หลวงพ่อชาเห็นว่าเป็นคติธรรมที่ดี โดยเฉพาะแก่พระหนุ่มวัยฉกรรจ์
เมื่อลูกศิษย์ทำการรวบรวมชีวประวัติของท่าน
ก็รู้สึกไม่แน่ใจว่าสมควรจะเผยแผ่ต่อสาธารณชนหรือไม่ แต่หลวงพ่อก็ได้กำชับว่า
“ต้องเอาลง ถ้าไม่เอาตอนนี้ในหนังสือด้วย ก็ไม่ต้องพิมพ์ประวัติเลย”

โดยในพรรษาที่อยู่กับพระอาจารย์กินรีนั้น
ขณะที่มีความเพียรปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด
วาระหนึ่งได้เกิดการต่อสู้กับราคะธรรมอย่างแรง
ไม่ว่าจะเดินจงกรมนั่งสมาธิหรืออยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม
ปรากฏว่ามีอวัยวะเพศหญิงของผู้หญิงแบบต่างๆ ลอยปรากฏเต็มไปหมด
เกิดราคะขึ้นจนทำความเพียรเกือบไม่ได้
ต้องทนต่อสู้กับความรู้สึกและนิมิตเหล่านั้นอย่างลำบากยากเย็นจริงๆ
มีความรุนแรงพอๆกับความกลัวที่เกิดขึ้นในคราวที่ไปอยู่ป่าช้า


เดินจงกรมไม่ได้เพราะองค์กำเนิดถูกผ้าเข้าก็จะเกิดการไหวตัว
ต้องให้ทำที่เดินจงกรมในป่าทึบและเดินได้เฉพาะในที่มืดๆ
เวลาเดินต้องถลกสบงขึ้นพันเอวไว้จึงจะเดินจงกรมต่อไปได้
การต่อสู้กับกิเลสเป็นไปอย่างทรหดอดทน
ได้ทำความเพียรต่อสู้กันอยู่นานเป็นเวลา ๑๐ วัน
ความรู้สึกและนิมิตเหล่านั้นจึงจะสงบลงและหายไป


:b44:

ป่วยกายไม่ป่วยใจด้วยธรรมโอสถ

หลวงพ่อป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับฟันเหงือก
มีอาการบวมทั้งข้างบนและข้างล่าง บวมมาก
โรคปวดฟันนี้มีรสชาติเป็นอย่างไรนั้นใครเคยเป็นแล้วไม่อยากเป็นอีก
แต่ก็หนีไม่พ้นจึงต้องจำยอม...
ขณะนั้น หลวงพ่อชาท่านหายามารักษาตามมีตามได้
มี ตบะธรรมและขันติธรรม เป็นที่ตั้ง
พร้อมทั้งพิจารณาว่า พยาธิง ธัมโมมหิ พยาธิง อะนะ ตีโต
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา หนีความเจ็บไข้ไปไม่พ้น
รู้เท่าทันสภาวธรรมนั้นๆ มีความอดทนอดกลั้น
แยกโรคทางกายกับโรค ทางใจออกเป็นคนละส่วน
เมื่อกายป่วยก็ป่วยไปไม่ยอมให้ใจป่วยด้วย

แต่ถ้ายอมให้ใจป่วยด้วยก็เลยกลายเป็นป่วยด้วยโรคสองชั้น
ความทุกข์เป็นสองชั้นเช่นเดียวกัน
โรคปวดฟันมันทรมานหลวงพ่อมาก กว่าจะสงบลงได้ต้องใช้เวลาถึง ๗ วัน


:b44:

พระพุทธศาสนาไม่มีอำนาจอะไรเลย แม้ก้อนทองคำก็ไม่มีราคา
ถ้าเราไม่มารวมกันว่าเป็นโลหะที่ดีมีราคา
ทองคำมันก็ถูกทอดทิ้งเหมือนก้อนตะกั่วเท่านั้นแหละ

พระพุทธศาสนาตั้งไว้มีอยู่ แต่ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ..
จะไปมีอำนาจอะไรเล่า? อย่างธรรมะเรื่องขันติมีอยู่
แต่ถ้าเราไม่อดทนกัน..มันจะมีอำนาจอะไรไหม


:b44:

เราจะต้องอดทน อดทนต่ออารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา
อย่าไปหมายมั่น อย่าไปยึดมั่นจับมาดูแล้วรู้เรื่อง
เราก็ปล่อยมันไปเสีย


:b44:

ความอดทนเป็นสิ่งจำเป็น

การสำรวมอินทรีย์นั้นเป็นการปฏิบัติถูกต้องแล้ว
เราจะต้องมีสติในการฝึกเช่นนั้นตลอดทั้งวัน
แต่อย่าควบคุมให้มากเกินไป เดินฉัน และปฏิบัติตนให้เป็นธรรมชาติ
ให้มีสติระลึกรู้ตามธรรมชาติ ถึงสิ่งที่กำลังเป็นไปในต้วท่าน

อย่าบีบบังคับการทำสมาธิภาวนาของท่าน
และอย่าบีบบังคับตนเองไปจนดูน่าขัน
ซึ่งก็เป็นตัณหาอีกอย่างหนึ่ง
จงอดทน ความอดทนและความทนได้เป็นสิ่งจำเป็น
ถ้าท่านปฏิบัติตนเป็นปกติตามธรรมชาติ
และมีสติระลึกรู้อยู่เสมอปัญญาที่แท้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติด้วย


:b44:

อดทนทวนกระแสกิเลส

เหมือนน้ำนั่นแหละ
มันก็ไหลไปตามเรื่องของมัน
ถ้าปล่อยให้ไหลไปตามน้ำก็สบาย
แต่ว่า...นั่นไม่ใช่ลักษณะการปฏิบัติ
ลักษณะการปฏิบัติ..ต้องฝืน
ต้องฝืน 'กิเลส'...ฝืน 'ใจ' ตนเอง
ข่มจิตเจ้าของ ทำความอดทนให้มากขึ้น
มันจึงจะเป็น...'การปฏิบัติทวนกระแสน้ำ'


:b44:

อดทนต่อความหิวเพื่อช่วยชีวิตสัตว์

เช้าวันหนึ่งก่อนจะออกบิณฑบาต
หลวงพ่อจึงเดินไปดูปลาเพื่อช่วยชีวิตมันทุกเช้า
แต่วันนั้นไม่ทราบใครเอาเบ็ดมาตกไว้ตามริมแอ่งน้ำ
เห็นเบ็ดทุกคันมีปลาติดอยู่ หลวงพ่อจึงรำพึงว่า
เพราะมันกินเหยื่อเข้าไป เหยื่อนั้นมีเบ็ดด้วย
ปลาจึงติดเบ็ดสมองดูปลาติดเบ็ดสงสารก็สงสาร
แต่ช่วยมันไม่ได้เพราะเบ็ดมีเจ้าของ

ท่านจึงมองเห็นด้วยความสลดใจเพราะความหิวแท้ๆ
เจ้าจึงหลงกินเหยื่อที่เขาล่อไว้ ดิ้นเท่าไรๆ ก็ไม่หลุด
เป็นกรรมของเจ้าเองเพราะความไม่พิจารณา

เป็นเหตุให้เตือนตนว่า ฉันอาหารไม่พิจารณา
จะเป็นเหมือนปลากินเหยื่อย่อมติดเบ็ด...
ได้เวลาจึงกลับออกไปเที่ยวภิกขาจาร
ครั้นกลับจากบิณฑบาตเห็นอาหารพิเศษ
มองดูเห็นต้มปลาดุกตัวโตๆ ทั้งนั้น หลวงพ่อนึกรู้ทันที
ว่าต้องเป็นปลาติดเบ็ดที่เราเห็นนั้นแน่ๆ
บางทีอาจจะเป็นพวกที่เราเคยช่วยชีวิตเอามันลงน้ำก็ได้
ความจริงก็อยู่ใกล้ๆ แอ่งน้ำนี้เท่านั้น...

และโดยปกติแล้วอาหารจะฉันก็ไม่ค่อยจะมีอยู่แล้ว
แต่หลวงพ่อเกิดความรังเกียจขึ้นมาถึงเขาจะเอามาประเคน
ก็รับวางไว้ตรงหน้าไม่ยอมฉัน ถึงแม้จะอดอาหารมานานก็ตาม
เพราะท่านคิดว่าถ้าเราฉันของเขาในวันนี้ วันต่อๆ ไป
ปลาในแอ่งน้ำนั้นก็จะถูกฆ่าหมด เพราะเขาจะทำเป็นอาหารนำมาถวายเรา


ปลาตัวใดที่อุตส่าห์ตะเกียกตะกายขึ้นมาพบแอ่งน้ำแล้ว
ก็ยังจะต้องพากันมาตายกลายเป็นอาหารของเราไปหมด
ดังนั้นหลวงพ่อจึงไม่ยอมฉัน จึงส่งให้พระทองดีซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ
พระทองดีเห็นหลวงพ่อไม่ฉัน ก็ไม่ยอมฉันเหมือนกัน
มีอะไรที่ไปบิณฑบาตได้มาก็แบ่งกันฉันตามมีตามได้

ส่วนโยมที่เขาต้มปลามาถวายนั่งสังเกตอยู่ตั้งนาน
เมื่อเห็นพระไม่ฉันจึงเรียนถามว่า ท่านอาจารย์ไม่ฉันต้มปลาหรือครับ
...หลวงพ่อจึงตอบว่า สงสารมัน
เท่านี้เอง ทำเอาโยมผู้นำมาถวายถึงกับนิ่งอึ้ง...
แล้วจึงพูดว่า ถ้าเป็นผมหิวอย่างนี้คงอดไม่ได้แน่ๆ


ตั้งแต่นั้นมาปลาในแอ่งน้ำนั้นจึงไม่ถูกรบกวน
พวกโยมก็พากัน เข้าใจว่าปลาของวัด


:b44:

อดทนจึงจะเห็นธรรม

วันหนึ่งมีพระอยู่ด้วยกันมาเล่าให้อาตมาฟัง
ท่านเล่าว่า ปีนี้มันทุกข์เหลือเกิน อาตมาก็ว่า
ก็ให้มันทุกข์เสียก่อนสิมันถึงจะอดทน
ถ้าไม่มีความอดทนมันจะเห็นธรรมะไหม



:b45: :b45:

ประวัติและปฏิปทา “หลวงพ่อชา สุภัทโท”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=39086

แนวทางการปฏิบัติธรรม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=35508

อดทนต่ออารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=27929

คุณธรรมในการดูแลคนในครอบครัว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=47774

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2015, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม
วัดป่าสัมมานุสรณ์
อ.วังสะพุง จ.เลย



อดทนต่อความลำบากแม้เยาว์วัย

สำหรับหลวงปู่เมื่อครั้งเยาว์วัยด้วยวัย ๗ ปี
ได้ทำให้เป็นผู้ใหญ่เกินตัว ท่านเล่าว่า
ใจของท่านคิดจะขอมีส่วนช่วยบิดามารดาหารายได้
ถึงอาสาหาบขี้ครั้งไปขาย โดยเดินทางร่วมขบวนไปกับหมู่พวก
ที่เตรียมสินค้าไปขายที่จังหวัดอุดร ไม่มีใครบังคับ
ไม่มีใครใช้สอยไหว้วาน แต่อยากไปเอง

ด้วยปรารถนาจะให้บิดามารดาชื่นใจในความมีน้ำใจของบุตรชายคนโต
ท่านจำได้ว่า ขี้ครั่งนั้นหนักมาก หนักถึงกว่า ๑๐ กิโลกรัม
ซึ่งเป็นน้ำหนักที่มากมิใช่น้อย สำหรับเด็กชายวัย ๗ ขวบ
เมื่อต้องรอนแรมเดินทางจากบ้านโคกมนไปถึง ๙ วัน ๙ คืน
กว่าจะถึงอุดรฯ บ่าสองข้างจึงระบมแตกเป็นแผลหมด

ท่านเล่าว่า เดินทางไปขายขี้ครั่งนี้ ร่วมปี เก็บเงินได้ถึง ๖ บาท
เด็กชายน้อยภูมิอกภูมิใจมาก ที่สามารถช่วยหารายได้
ให้ครอบครัวได้ด้วยเงิน ๖ บาทนี้ ท่านสามารถซื้อควาย
ให้ทางบ้านได้ถึง ๕ ตัว ด้วยในสมัยที่ท่านเป็นเด็กนั้น
ควายทางอีสานราคาถูกมาก ตัวละ ๕๐ สตางค์ ถึง ๑ บาท เท่านั้น

บางทีสินค้าขี้ครั่งมีคนแย่งขายล้นตลาด ท่านก็เลือกหาสินค้าชนิดอื่นมาแทน
เช่น ยาสูบ ไม่ขีด หรือขี้ไต้ บางโอกาสไปไม่ถึงตัวจังหวัดด้วยเหนื่อยหนัก
พักขายได้แค่หนองบัวลำภูก็พอแล้ว ท่านรู้ซึ้งถึงใจว่า เงินทองนั้นหายากแท้
ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ อดทนกัดฟันสู้ตลอดมา


:b47:

นิสัยทรหดอดทนตั้งแต่เป็นผ้าขาว

หลวงปู่เล่าว่า ท่านเป็นตาปะขาว หรือผ้าขาวน้อย
ถือศีลแปดอยู่กับอาจารย์ ๔ ปีเต็ม รับการฝึกอบรม
ทั้งด้านข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เช่น การปรนนิบัติรับใช้ครูบาอาจารย์
หัดล้างเท้าเช็ดเท้าในเวลาท่านกลับจากบิณฑบาต
หัดพับผ้าจีวรและสังฆาฏิ และปูผ้านิสีทนะ
หัดตักน้ำ กรองน้ำ ถวายท่าน
ทั้งการท่องบ่นสวดมนต์บริกรรมภาวนา และเดินจงกรม

ท่านได้ออกเดินรุกขมูลติดตามพระอาจารย์ไปอย่างทรหดอดทน
ไม่ว่าจะเป็นการบุกน้ำลุยโคลน บุกป่าฝ่าดง ขึ้นเขาลงห้วย
ผ้าขาวน้อยก็มิได้ย่อท้อ โดยสภาพป่าดงพงไพร
อันลำบากลำเค็ญในเวลากลางวัน โดยสภาพป่าเขารกชัฏอันสงัดเงียบ
น่าสยองกลัวในเวลากลางคืน...ท่านก็ได้ผ่านการทดสอบมาโดยตลอด


ท่านสารภาพว่าสำหรับความลำบาก ความหวาดกลัว แรกเริ่มก็มีบ้าง
แต่ก็ต้องพยายามอดทน ด้วยความเคารพเชื่อฟัง เห็นตัวอย่างจากท่านอาจารย์

ความลำบาก...ท่านทนได้ ทำไมเราจะทนไม่ได้ !
ความน่าหวาดกลัว...ท่านอยู่ได้ ทำไมเราจะอยู่มิได้อย่างท่าน !


ท่านจะนึกข่มใจอยู่เช่นนี้เสมอ


:b47:

ใครไม่เด็ดเดี่ยวอดทนอยู่กับท่านไม่ได้

ท่านเล่าว่า เฉพาะที่จำพรรษาบนยอดดอยนั้น มี ๓๐ ดอย
รวมทั้งในเมืองไทยและพม่า โดยเฉพาะที่พม่า
ตลอดเวลาที่เดินทางไป ๒ ครั้ง รวม ๕ ปีเศษนั้น
ได้จำพรรษาบนยอดดอยทั้ง ๕ พรรษา

ครั้นล่วงเข้าสู่มัชฌิมวัย การไปคนเดียว อยู่คนเดียวของท่าน ก็ลดละลงบ้าง
ด้วยได้มีพระเณรผู้มุ่งต่ออรรถต่อธรรมใคร่ขอติดตามเป็นศิษย์มากขึ้น
แต่ท่านก็ยังเลือกรับเฉพาะผู้มีนิสัยเช่นท่าน คือ
เด็ดเดี่ยว อดทน...ทนอด ทนยาก ทนลำบาก
ตั้งใจมั่นคงต่อการบำเพ็ญเพียรภาวนา
ตั้งใจมั่นคงเจริญรอยตามแนวทางที่ครูบาอาจารย์พาดำเนิน...
ครูบาอาจารย์ของท่านพาดำเนินมา ท่านก็พาศิษยานุศิษย์ดำเนินต่อไป


:b47:

ท่านไม่บ่นเลย

ในช่วงปัจฉิมวัยที่หลวงปู่มีอายุ ๙๐ พรรษากว่าแล้ว
ยังมีความอดทนเป็นยอด ท่านจะไม่เคยบ่นให้ได้ยินเลยว่า
ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ เป็นหวัด นอกจากพระผู้ปฏิบัติจะต้องสังเกตเอง
กราบเรียนถามเอง บางครั้งท่านปวดหัวอยู่ตั้ง ๓ เดือน
มีพระไปถามขึ้น ท่านจึงยอมบอก


เวลานั่งรถ ท่านกลั้นปัสสาวะครั้งละนานๆ เช่น ตั้งแต่กรุงเทพฯ
ตลอดถึง เมืองเลย พิษณุโลกตลอดเชียงใหม่ ก็มี...
นานเท่านาน ไม่ว่ากี่ชั่วโมง จะไม่ปริปากบ่น
จากเมืองเลย - กรุงเทพฯ, เมืองเลย - เชียงใหม่, เชียงใหม่ - พะเยา,
พะเยา - เชียงราย, เชียงราย - เชียงใหม่, หาดใหญ่ - ปีนัง,
หาดใหญ่ - ภูเก็ต, เมืองเลย - ศรีสะเกษ, เมืองเลย - บ้านแพง,
บ้านแพง - นครพนม, นครพนม - มุกดาหาร, กรุงเทพฯ - จันทบุรี ฯลฯ

ท่านนั่งอยู่ท่าเดิม ไม่ขยับเขยื้อน
พระเณรผู้ติดตามไม่พาพัก ท่านก็ไม่พัก


:b47:

อดทนฝึกตนให้เข้มแข็ง

เอะอะขึ้นมาพออากาศหนาวนิดๆ หน่อยๆ
มันก็จะพากันเตรียมก่อไฟผิงอย่างเดียว
มัวแต่ห่วงร้อนห่วงหนาวอยู่อย่างนี้
เวลาไปอยู่ในป่าในเขาเจออากาศที่มันเย็นหนาวมหาโหดแล้ว
มันจะไม่พากันแข็งกระด้างค้างตายกันหรือ
ต้องฝึกฝนตนเองให้อยู่ได้กับทุกสภาพอากาศซิ
ฝึกตนเองให้อยู่กับร้อนให้เป็นอยู่กับเย็นให้ได้
ถ้าอยากอยู่สบายจริงต้องอยู่กับทุกข์ให้เป็น
เอาทุกข์เวทนานั้นแหละมาฝึกฝนจิตใจของตนเองให้เข้มแข็ง



:b45: :b45:

:b48: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่ชอบ ฐานสโม”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=24649

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2015, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์



ความอดทนในเยาว์วัย

ชีวิตของหลวงปู่เมื่อแรกรุ่นเจริญวัยนั้นก็เป็นไปตามสังคมในสมัยนั้น
แม้ท่านจะเป็นลูกคนที่สอง แต่ก็เป็นบุตรชายคนโต
ดังนั้นท่านจึงต้องมีภารกิจมากกว่าเป็นธรรมดา
โดยต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน งานในบ้าน
เช่น ตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร และเลี้ยงดูน้องๆ ซึ่งมีหลายคน
งานนอกบ้าน เช่น ช่วยแบ่งเบาภาระของบิดา
ในการดูแลบำรุงเรือสวนไร่นาและเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็นต้น


:b40:

อดทนต่ออาพาธ เร่งความเพียร

พรรษาแรกที่ท่านออกธุดงค์ คณะหลวงปู่ดูลย์ได้แยกจากท่านพระอาจารย์มั่น
เดินธุดงค์ผ่านไปทางอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ครั้นถึงป่าท่าคันโท
ก็สมมุติทำเป็นสำนักวัดป่าเข้าพรรษาด้วยกัน ๕ รูป คือ
พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านพระอาจารย์บุญ พระอาจารย์สีทา
ท่านพระอาจารย์หนู ท่านพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล (องค์หลวงปู่เอง)
ครั้งนั้นบริเวณแห่งนั้นเป็นสถานที่ทุรกันดาร เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ป่าที่ดุร้าย
ไข้ป่าก็ชุกชุมมาก ยากที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นยังไม่ทันถึงครึ่งพรรษา
ก็ปรากฏว่าอาพาธเป็นไข้ป่ากันหมด ยกเว้นท่านอาจารย์หนูองค์เดียว
ต่างก็ได้ช่วยรับใช้พยาบาลกันตามมีตามเกิด หยูกยาที่จะนำมาเยียวยารักษากันก็ไม่มี
ความป่วยไข้เล่าก็ไม่ยอมลดละเห็นแก่หน้ากันบ้างเลย
จนกระทั่งองค์หนึ่งถึงแก่มรณภาพลงในกลางพรรษานั้น
ต่อหน้าต่อตาเพื่อนสหธรรมมิกอย่างน่าเวทนา

สำหรับท่านหลวงปู่ดูลย์ รู้ว่า มรณภัยใกล้เข้ามา
ทั้งหยูกยาที่จะนำมารักษาพยาบาลก็ไม่มี แต่ท่านก็ไม่ถอยความเพียร
ยิ่งเร่งการภาวนาแข่งกับมรณภัยอย่างไม่หวั่นไหว


:b40:

แค่นี้อดทนไม่ได้หรือ

เท่าที่อยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่ตลอดเวลาอันยาวนาน
ไม่เคยเห็นท่านแสดงอากัปกิริยาใดๆ ให้เห็นว่าท่านอึดอัด
หรือรำคาญจนทนไม่ได้ถึงต้องบ่นอุบอิบอู้อี้กับกรณีใดๆ ทั้งสิ้น

เช่น ไปเป็นประธานในงานสถานที่ใดๆ ไม่เคยเป็นเจ้ากี้เจ้าการ
รื้อฟื้น หรือให้เขาจัดแจงดัดแปลงใหม่ หรือไปในสถานที่ที่เป็นกิจนิมนต์
แม้จะต้องนั่งนานหรืออากาศอบอ้าวอย่างไรก็ไม่เคยบ่น

เวลาเจ็บไข้ไม่สบาย หรือเวลาเผอิญอาหารมาไม่ตรงต่อเวลา
แม้จะหิวกระหายแค่ไหน ก็ไม่เคยบ่นหรือสำออย
หรือแม้รสชาติอาหารจะจืดจางอย่างไร
ก็ไม่เคยเรียกหาเครื่องปรุงเพิ่มเติมอะไรเลย

ตรงกันข้าม ถ้าเห็นพระเถระไหนชอบเป็นเจ้ากี้เจ้าการ ขี้บ่น
หรือทำสำออยให้คนอื่นเอาใจ เป็นต้น หลวงปู่มักปรารภให้ฟังว่า

“แค่นี้อดทนไม่ได้หรือ ถ้าแค่นี้อดทนไม่ได้
จะเอาชนะกิเลสตัณหาได้อย่างไร”



:b45: :b45:

:b48: ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6703

:b48: หนังสือ หลวงปู่ฝากไว้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=20364

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2015, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย



ขันติธรรมของพระพุทธเจ้า

(พระพุทธเจ้า) ทรงสร้าง "ขันติบารมี" เพราะว่าคนเรานี่
ขาดความอดทนนั่นแหล่ะถึงลุอำนาจแก่กิเลส

ลุอำนาจแก่ความโลภ ไปเบียดเบียน
ฉ้อโกงหลอกลวงลักเอาสมบัติผู้อื่นมาเป็นของตน
เพราะว่าอดทนต่อความอยากไม่ได้นั่นแหละ
แล้วก็มีใครเขามาด่าว่าติเตียนพาลทะเลาะ
อดทนต่อความโกรธไม่ได้ ก็ต้องทะเลาะวิวาทกับคนอื่นไป
เบียดเบียนกันไป เป็นกรรมเป็นเวรผูกพันกันไป

นี่ผู้มีความอดทนแล้วย่อมอดกลั้นทนทาน
ต่ออำนาจของกิเลสบาปอธรรมทั้งหลายเหล่านี้ได้
อดทนต่อการกระทำคุณงามความดีต่างๆ
ทำให้บุญบารมีแก่กล้าขึ้นได้เพราะความอดทน


:b46:


พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า "ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร"
..ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์..
ลองฟังเอาซิพุทธภาษิตนี้ ดังนั้นแสดงว่า ผู้ใดที่เป็นนักปราชญ์
นี้ต้องมีความอดทนเป็นเครื่องประดับ จึงเป็นนักปราชญ์ได้


:b46:

อดกลั้นต่อกิเลสได้เป็นบุญใหญ่

เราเป็นนักบวชอย่างนี้
ไม่มีเงินทองข้าวของอะไรให้ทานเลย
..อดกลั้นทนทานต่ออำนาจของกิเลส..
นี่ให้มันได้ในขั้นต้น..นี่แหละ "บุญใหญ่"


อดกลั้นทนทานต่อความรักความใคร่
อย่าให้มาครอบงำจิตใจ
อดกลั้นต่อความโกรธ โมโหโทโสต่างๆ
อดกลั้นต่อความหลงความเมา ความอยากเพลิดเพลิน
ไปในรูปเสียงกลิ่นรสเครื่องสัมผัสต่างๆ นานา
หมู่นี้มันไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์..เตือนตนเข้าไว้เสมอ
อด..ไม่ส่งเสริมความคิดอย่างนั้น


ผู้ใดอดต่อเรื่องต่างๆ ดังกล่าวมาหมู่นี้นะได้แล้ว
จิตใจมันก็ต้องหันเข้ามาสู่กุศลคุณงามความดีได้

ทำข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ได้ เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา
เพราะว่าถ้าผู้ที่มีความอดทนต่อกิเลสดังกล่าวมานั้นน่ะ
แสดงว่าผู้นั้นต้องการความสงบ ไม่ต้องการความวุ่นวาย


:b46:

ปัญญาประกอบด้วยขันติ

อันผู้ที่ปฏิบัติได้นี่หมายความว่า
เวลามีเรื่องไม่ดีไม่งามกระทบกระทั่งมา
มันก็หวั่นไหวเป็นธรรมดาแหละ
แต่เมื่อ "รู้ตัว" แล้วก็ "อดกลั้น"
จะไม่ยอมให้มันหวั่นไหวอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป

ข่มใจ..ละมัน เมื่อทำอย่างนี้บ่อยๆ เข้านี่
กิเลสเหล่านั้นมันก็เกิดขึ้นในใจไม่ได้
มีแต่อ่อนกำลังลงไปเรื่อยๆ มันเป็นอย่างนั้น

ถ้าหากไปปล่อยใจให้หวั่นไหวไปตามอย่างนั้นแล้ว
ถึงแม้มี "ปัญญา" อยู่อย่างไรมันก็ยังสอนจิตไม่ได้
นี่มันต้องมี "ขันติธรรม" เป็นเครื่องประกอบ

กับการปฏิบัติทางจิตใจดังกล่าวมานี้


:b46:

อดทนไม่คิด ใจจึงสงบ

ใจมันจะสงบลงได้เพราะความเพียร
ความอดทน ความอดไม่คิด อย่างนี้นะ

มันอยากคิดเราจะไม่คิด เตือนตนเข้าไปอย่างนั้น
กิเลสมันชวนให้คิดเราจะไม่เอาไม่คิด
ความคิดมันก่อให้เกิดกิเลสนานาประการ


:b46:

อดกลั้นได้ศีลไม่เศร้าหมอง

ถ้าไปโกรธอยู่อย่างนี้..ศีลมันจะขาด
ถ้าไม่ขาดเด็ดก็เรียกว่า ศีลก็เศร้าหมอง
เพราะกลัวศีลจะเศร้าหมองเลย "อดกลั้น" เอา
อยากโกรธก็ไม่โกรธ
อยากทะเลาะวิวาทกับใครก็ไม่ทะเลาะ
เพราะกลัวศีลจะเศร้าหมอง กลัวศีลจะขาด


ใครจะมีสติปัญญาอย่างไรก็ตาม
แต่ถ้าขาดความอดทนแล้วไปไม่รอด

นี่พูดสำหรับบุคคลผู้ยังมีกิเลสอยู่นะ
ถ้าขาดความอดทนแล้วถึงมีปัญญาก็ละกิเลสไม่ได้
อันความอดทนนี่ได้ชื่อเป็นฐานเป็นพื้นฐานของดวงจิต
จิตที่ฝักใฝ่หากุศล ยินดีในบุญในกุศลแล้ว
ต้องมีความอดทนเป็นพื้นฐาน


:b46:

ผู้ไม่อดทนเป็นคนพาล

เมื่อผู้ใดอดกลั้นทนทานต่ออำนาจกิเลสดังกล่าวมานั้นไม่ได้
อดกลั้นทนทานต่อความกระทบกระทั่งเสียดสีไม่ได้
เช่นนี้แล้วมันจะไปทำดีได้ยังไงบัดนี้..มันก็ต้องทำชั่ว
คนเราเป็นอย่างนั้น เมื่อเขาด่ามาก็ด่าตอบอย่างนี้
ใครเขาไม่ได้ว่าเป็น "นักปราชญ์" เลย เขาว่าเป็น "คนพาล"


ในเมื่อตนยังละมันให้ขาดเด็ดออกไปไม่ได้ด้วยปัญญา
ปัญญาตนยังอ่อนอยู่ก็ต้องใช้ความอดทนเข้าสู้เอาเลย
มันต้องเป็นอย่างนั้น อะไรๆ มันก็สู้ความอดทนไม่ได้หรอก


ความอดทนนี่ท่านจึงว่า เป็นมูลเหตุแห่งกุศลธรรม
นั่นแหล่ะ..บรรดากุศลธรรมทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นได้
ก็เพราะอาศัยจิตใจนี่ "อดกลั้นทนทานต่ออกุศลทั้งหลาย"
ไม่ยอมให้อกุศลเกิดขึ้นในจิตใจ สิ่งใดที่จะเป็นบาปเป็นโทษแล้ว
ไม่ส่งเสริมมัน..อดกลั้นทนทาน ไม่ใช้กายทำ ไม่ใช้วาจาพูดไป


:b46:

ขันติตัดกำลังกิเลสอย่างหยาบให้อ่อนลง

เพราะฉะนั้นการที่บุญกุศลมันจะงอกงามไปได้
เพราะจิตใจไม่ส่งเสริมกิเลสดังกล่าวมานั้น
เมื่อมันเกิดขึ้นมาในสันดานด้วยความพลั้งเผลอ
เวลาใดรู้ตัวแล้วกำหนดละมันเลย ไม่ต้องเลี้ยงมันไว้
นั่นล่ะมันเผลอตัว มันเกิดขึ้นเวลาไหน..กำหนดละมันไปเรื่อยๆ
อย่างนั้นมันจะทนไหวรึ มันก็ต้องอ่อนกำลังลงซี่
..เราไม่ส่งเสริมมันน่ะ พร้อมกันก็ทั้งอดกลั้นทนทานด้วย
ตัดกำลังกันลงทุกทางเลยอย่างนี้ มันก็อ่อนกำลังลงไป

นั่นแหล่ะกว่าว่าใจมันจะสงบลงได้ ปัญญามันจะเกิดขึ้นได้
มันต้องอาศัย "ขันติธรรม" อาศัย "สติสัมปชัญญะ"นี่
ถากถางไปก่อนเช่นนั้นแหละ ถากถางกิเลสอันหยาบๆ
ให้มันอ่อนกำลังลงก่อน ใจมันถึงสงบลงได้


:b46:

ขันตี ตโป ตปัสสิโน

บุคคลผู้ที่ท้อถอยต่อข้อวัตรปฏิบัติ เช่นอย่างว่า
บวชเข้ามาแล้วก็อยู่ไม่ได้..สึก ก็เพราะเหตุดังกล่าวมานี้แหละ..
ไม่มีความอดทนเป็นพื้นฐานรองรับดวงจิตไว้
เหตุนั้นกิเลสจึงปั่นจิตให้วอกแวกให้หวั่นไหวไปมาได้อย่างง่ายดาย
ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ทรงตรัสไว้ว่า "ขันตี ตโป ตปัสสิโน"
ความอดทนเป็นตปะเครื่องแผดเผากิเลสความชั่วทั้งหลายให้เร่าร้อน


ผู้เริ่มลงมือปฏิบัติทีแรกนี่ มันก็ต้องได้ออกแรง
เหมือนเขาถางไร่อย่างว่านั้นแหละ เป็นอย่างนั้น
ต้องอดกลั้นทนทานนะ เอาความอดเข้าว่าเลย

อดตาหลับขับตานอน ไม่เห็นแก่หลับแก่นอน
อดทนในการอยู่การกิน เอ้าได้กินยังไงก็กินไปอย่างนั้นแหละ



:b45: :b45:

:b44: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20708

:b44: รวมคำสอนและประมวลภาพ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43689

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2015, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท
วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม
อ.สามโคก จ.ปทุมธานี



เดิมจริงๆ ชื่อว่า โอวเจี๊ยะ แปลว่า หินดำ
จริงๆ แล้ว คำว่า “โอวเจี้ยะ” มีความหมายในทางธรรมอีกอย่างหนึ่ง
คนที่มีปานประเภทนี้ จะต้องเป็นคนมีจิตใจแข็งแกร่งดุจศิลาแลง
ทนร้อน ทนหนาว ทนทุกข์ ทนสุข อดทนได้ รับได้
แก้ไขได้ทุกสภาวการณ์ เหมือนจะเป็นธรรมะเตือนเราว่า
จงทำจิตใจให้เข้มแข็งดุจแผ่นหิน
ใครจะนำเอาของสกปรกมาเทใส่แผ่นหินก็คงนิ่งอยู่อย่างนั้น

ใครจะนำเอาน้ำหอมมาเทใส่แผ่นหินนี้
ก็คงอยู่อย่างนั้นเหมือนเดิม ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน
หรือโอนเอนไปกับอารมณ์ตางๆ ที่มายั่วเย้า หลอกลวง


:b44:

อดทนในหน้าที่การงานทุกรูปแบบ

ท่านเล่าถึงอุปนิสัยของท่านสมัยวัยหนุ่มก่อนบวชว่า
ท่านเป็นคนแข็งแรง สู้ทุกรูปแบบ จริงจัง ยอมหักไม่ยอมงอ
ทำอะไรต้องทำให้ได้ดั่งใจและมีความเพียรเป็นเลิศในการประกอบการงาน
พูดจาโฮกฮาก ตรงไปตรงมา ไม่กลัวคน ท่านไม่ยอมแพ้ใครเรื่องการงาน
ไม่ว่าจะเป็นงานหนัก เช่น แจวเรือ แบกหามสิ่งของ
เรียกว่า มีความอดทนบึกบึนเป็นอันมาก


:b44:

อดทนเพื่อรักษาสัจจะ

พรรษาที่ ๒ แห่งการบวช ถือธุดงค์ปฏิบัติว่าด้วยการไม่นอนในกาลเข้าพรรษา
ไม่นอนตลอดพรรษาเลยในเวลากลางคืน แต่ก่อนนั่งสมาธิต้องเดินจงกรมก่อน
แล้วค่อยมานั่งสมาธิ ทำอย่างนี้วันละ ๓ หน เพื่อถวายพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระอริยสงฆ์ และเพื่อเป็นอุบายในการภาวนา ด้วยการตั้งสัจจะว่า

“ข้าพเจ้าจะถือเนสัชชิตลอดทั้งพรรษา ในเวลาค่ำคืนไม่นอน
ด้วยพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ
ถ้าแม้นว่าข้าพเจ้าไม่ทำตามสัจจะอันนั้น
๑. ขอให้ฟ้าผ่าตาย
๒. ขอให้แผ่นดินสูบตาย
๓. ขอให้ไฟไหม้ตาย
๔. ขอให้น้ำท่วมตาย

พุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ
ถ้าทำอย่างนั้นไม่ได้...เอ้า!...ให้สิ่งนั้นมันเกิดขึ้นมาเลย”


ตัวสัจจะนี้แหละ ถือเป็นตัวสำคัญเลยนะ ผ่านก็ผ่าน
ถ้าไม่ผ่านก็แสดงว่าวาสนาเรามีเพียงแค่นั้น

๗ วันแรกที่เราเริ่มปฏิบัติด้วยการไม่นอน มันก็แย่เหมือนกัน
เพราะตั้งแต่เกิดมานอนตลอดจนเป็นนิสัย แต่อยู่มาวันหนึ่งมาหยุดนอนเอาดื้อๆ ร่างกายก็แย่
ทำท่าหงุดหงิด จนถึงกับอุทานในใจว่า “ว้า! ไม่ไหว...ไม่ไหว...ไม่ไหวแล้วโว๊ย”

แต่ก็ยังดีที่ก่อนจะทำสมาธิก็ได้เข้าไปตั้งสัจจะบังคับเอาไว้ เพราะความเป็นผู้ที่รักษาสัจจะ
สัจจะนั้นจึงเป็นเหมือนโซ่ตรวนคอยรึงรัดกายจิตของเราเอาไว้

“ตายเป็นตาย แต่จะให้สัจจะที่ตั้งไว้ขาดไม่ได้ ไม่ยอม
ในร่างกายนี้อะไรจะเสียผุพังไปก็ตาม แต่จะให้สัจจะเสียไปไม่ได้
เพราะแม้สัจจะที่เราให้ไว้กับตัวเรา เรายังรักษามันไม่ได้
แล้วเราจะหวังพบธรรมะอันประเสริฐซึ่งอยู่เหนือสัจจะ
แล้วเราจะพบพานธรรมนั้นได้อย่างไรกัน”


:b44:

อดทนทำเพียรแต่ไม่อดทนให้กิเลสมาเผาตัว

การปฏิบัติ หัวใจก็ต้องมีความเข้มแข็ง ความอุตสาหะ ความพยายาม
ความพากเพียรอย่างนี้ เหมือนไฟที่มันไหม้ติดอยู่กับศีรษะของเราอย่างนี้

เพราะหัวใจอันนั้นไม่เห็นภัย ไม่เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์เดือดร้อน
เหมือนอย่างที่ไฟที่ติดอยู่ในหัวเราอย่างนั้นเหมือนกัน
บางคนก็ทนอยู่อย่างนั้น ไม่รู้จักวิธีแก้ไขดับไฟ ปล่อยให้มันไหม้อยู่ในหัวเรา
ก็มีแต่วันที่จะตายจมลงไปอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้

ถ้าเรามาเห็นว่าการใส่ใจในการปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ เราไม่หักไม่ฟาดมันลงไปแล้ว
มีแต่มันจะหมักหมม เผาหัวตัวเองอยู่ตลอดกาล จนกระทั่งตายเปล่า
แบบนี้ใครทนได้ก็ทนไป เราไม่ทน เราจะเผากิเลส ไม่ให้กิเลสมันมาเผาเรา


:b44:

อดทนต่อความลำบากเพื่อธรรม

สมัยอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นลำบากเหลือเกิน
อาหารการกินไม่บริบูรณ์เหมือนทุกวันนี้
กินพริกกินเกลือ เพียงแค่นี้ก็อยู่ปฏิบัติธรรมได้แล้ว
เดี๋ยวนี้อาหารมากมายกองทับหัวพระแล้ว จึงทำให้พากันนิสัยเสียไปหมด
อยู่กับท่านเรื่องกินจึงไม่กังวลภาวนาอย่างเดียว


:b44:

ในสมัยที่ผมอยู่กับหลวงปู่มั่น ผมต้องอดทนมาก
ผมเป็นคนกินยาก แสลงเรื่องอาหาร
ผมอยู่กับท่านสามปี สี่แล้ง กินแต่ข้าวเหนียวกับกล้วย

อาหารอย่างอื่นมี แต่ผมกินไม่ได้
ถ้าไม่มีกล้วยผมต้องกินแต่ข้าวเปล่าๆ ทำให้ท้องอืด ไม่ถ่าย
อากาศก็หนาวเหน็บถึงกระดูก ตามแขนตามขาผิวแห้งไปหมด
ไปขอยากับหลวงปู่มั่นก็ไม่มี เมื่อไม่มียาท้องอืดจะตาย
ผมใช้นิ้วล้วงลงไปในลำคอลึกๆ เพื่อให้อาเจียนออกมา จะได้สบายท้อง
นิ้วมือนี้แหละเป็นยา ผมยังไม่เคยบ่น
เรื่องนี้มีแต่ท่านอาจารย์มหาบัวรู้ คนอื่นไม่รู้ ผมยังไม่เห็นตายเลย


:b44:

อดทนต่ออาพาธ

ในปัจฉิมวัย ไม่ว่าในคราใดท่านประสบอาพาธหนัก
นอนเป็นอัมพาตอยู่บนเตียง
ท่านไม่แสดงความหวั่นไหว บ่งบอกความแข็งแกร่งนิสัยอาชาไนย

อีกทั้งยังแสดงธรรมสอนลูกศิษย์ที่ไปเยี่ยม
ด้วยการเอาร่างกายของท่านเป็นเครื่องเปรียบเสมอว่า

“ตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว มีค่าเป็นร้อยเป็นชั่ง
พอเดี๋ยวนี้ ๕๐ สตางค์ก็ไม่มีใครเอา”


:b44:

แต่ก่อนเมื่อเรายังหนาแน่นไปด้วยกิเลส
ย่อมปฏิบัติตามพระธรรมวินัยด้วยความยากลำบาก
ต้องมีสติสัมปชัญญะคอยควบคุม ต้องมีปัญญาคอยชี้ขาด
แม้กระนั้นก็ยังผิดพลาด ย่อมงกเงิ่นในธรรมะสมาคม

แต่สำหรับผู้ฝึกจิตใจจนถึงที่สุดแล้ว ผ่านแล้ว บรรลุถึงจุดหมายแล้ว
การปฏิบัติตามพระธรรมวินัยกลายเป็นปกตินิสัย
เป็นเครื่องอยู่อันสบายๆ ปฏิบัติอย่างสบายโดยไม่ต้องตั้งใจ
เพราะการปฏิบัติเรื่องศีลาจารวัตรไม่ใช่เรื่องหนัก
แต่เป็นธรรมเครื่องอยู่อันแสนสบาย ความอดทน ความเพียร
ตลอดจนคุณธรรมข้ออื่นจึงเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
นี้คือผลแห่งการพากเพียรปฏิบัติ ด้วยการเอาชีวิตเข้าแลก



:b45: :b45:

:b47: ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=38764

:b47: รวมคำสอนและประมวลภาพ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38692

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2015, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม
วัดป่าอรัญญวิเวก
อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม



หลวงปู่ตื้อเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านได้ไปทำความเพียร
ที่เชิงภูเขาควายอยู่ ๔ เดือนเต็ม คืนแรกที่ไปถึงภูเขาควาย
ได้ไปนั่งภาวนาภายในถ้ำเล็กๆ แห่งหนึ่ง เมื่อเริ่มนั่งสมาธิไปได้หนึ่งชั่วโมงเศษ
ก็ได้ยินเสียงดังอู้ๆ มาแต่ไกล คล้ายเสียงลมพัดอย่างแรง
เมื่อลืมตาดูก็ไม่เห็นอะไร ท่านก็หลับตาทำสมาธิต่อ
ปรากฏว่ามีผึ้งเป็นหมื่นๆ แสนๆ ตัวมาบินวนเวียนเหนือศีรษะท่าน
เสียงคล้ายกับเครื่องบิน และอย่างไม่คาดคิด
ฝูงผึ้งก็บินลงมาเกาะตามผ้าจีวรของท่านเต็มไปหมด

ท่านต้องเปลื้องจีวรออก ถอดผ้าอังสะออก เหลือนุ่งผ้าสบงผืนเดียว
รวบชายสบงด้านหน้า เอาลอดหว่างขาแล้วมาเหน็บไว้ที่ขอบเอวด้านหลัง
คล้ายนุ่งผ้าโจงกระเบน รัดขอบขาให้ตึงเพื่อกันไม่ให้ผึ้งชอนไชเข้าไปในผ้าได้

ในบันทึกไม่ได้กล่าวว่า ท่านนั่งสมาธิต่อ หรือทำประการใด
บอกแต่เพียงว่าฝูงผึ้งตอมไต่ยั้วเยี้ยไปตามเนื้อตัวของท่านเต็มไปหมด
ไม่มีตัวใดต่อยเนื้อตัวท่านเลย ท่านสงบนิ่งไม่เคลื่อนไหว
ใช้ความอดทนรอดูมัน ประมาณ ๒๐ นาที ฝูงผึ้งก็พากันบินจากไป


:b46:

อุปนิสัยอดทนบึกบึนเป็นที่ไว้ใจของครูอาจารย์

ช่วงที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้พาคณะศิษย์ออกธุดงค์ไปทางเหนือของจังหวัดเชียงใหม่
ไปถึงเขตอำเภอเชียงดาว ได้พำนักปฏิบัติอยู่ที่ถ้ำเชียงดาวระยะหนึ่ง
หลวงปู่มั่นได้นิมิตเห็นถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า อยู่บนดอยเชียงดาวสูงขึ้นไป
เป็นถ้ำที่สวยงาม กว้างขวาง สะอาด อากาศโปร่ง เหมาะที่จะเป็นที่พักบำเพ็ญเพียรภาวนามาก

ถ้ำนั้นอยู่บนดอยที่สูงมาก ยากที่ใครจะขึ้นไปถึงได้ ต้องใช้ความอดทนพยายามที่สูงมาก
รวมทั้งมีพลังใจที่กล้าแข็งจริงๆ จึงจะขึ้นไปได้ หลวงปู่มั่นท่านต้องการให้พระลูกศิษย์
ขึ้นไปสำรวจถ้ำแห่งนั้น เมื่อพิจารณาดูแล้วเห็นว่า นอกจาก "หลวงปู่ตื้อ" แล้ว
ยังไม่เห็นใครเหมาะสมที่จะขึ้นไปได้ จึงได้บอกให้หลวงปู่ตื้อเดินทางขึ้นไปสำรวจดูถ้ำแห่งนั้น


หลวงปู่ตื้อพร้อมกับพระอีก ๓ รูป ได้พากันออกเดินทางขึ้นสู่ยอดดอยเชียงดาว
เพื่อสำรวจดูถ้ำตามภาระที่ได้รับมอบหมาย หนทางขึ้นสู่ยอดดอยสุดแสนจะลำบาก
เพราะต้องปีนเขาสูง ไม่มีทางอื่นที่จะเดินลัดหรือเลาะเลี้ยวไปตามเชิงเขา
ต้องปีนป่ายเหนี่ยวเกาะไปตามแง่หิน รั้งตัวขึ้นไป ซึ่งเสี่ยงอันตรายมาก

หลวงปู่ตื้อ เล่าให้สานุศิษย์ฟังว่า ยิ่งสายก็ยิ่งเหนื่อย บางแห่งทางแคบมากจริงๆ
ต้องเดินเอี้ยวหลบเข้าไปได้ทีละคนเท่านั้น บางช่วงต้องปีนป่าย
และห้อยโหนเพราะไม่มีทางเลี่ยงอื่น ต้องเสี่ยงชีวิตเอา


:b46:

อดทนเพื่ออรรถธรรมอย่างเดียว

ขณะที่หลวงปู่ตื้ออยู่ปฏิบัติภาวนาในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ตามดอยตามป่าต่างๆ นั้น ท่านมักจะเจอกับพวกกายทิพย์
และมีเหตุการณ์แปลกๆ มารบกวนการบำเพ็ญภาวนาของท่านเสมอ

หลวงปู่ได้ใช้ความอดทนอดกลั้นเอาชนะด้วยการบำเพ็ญภาวนาไปทุกครั้ง

พวกวิญญาณหรือกายทิพย์ทั้งหลายเหล่านี้ ส่วนมากมักจะเป็นพวกที่อยู่เฝ้าสมบัติมีค่าต่างๆ
เมื่อได้ทดสอบความมั่นคงทางจิตใจของหลวงปู่แล้ว วิญญาณเหล่านั้น
ก็จะบอกถวายสมบัติที่พวกเขารักษานั้นให้ แต่หลวงปู่ก็ไม่เคยสนใจ
คงมุ่งหน้าแต่การปฏิบัติพระธรรมกรรมฐานเพียงอย่างเดียว


:b46:

อดทนต่อความขาดแคลน

คืนหนึ่งมีเทพองค์หนึ่ง นามว่า ฑีฆาวุโส ได้ประกาศตนว่า
ชาติก่อนเป็นเจ้านครเวียงจันทน์ ได้เข้ามาหาท่าน

ท่านฑีฆาวุโสได้พูดกับหลวงปู่ตื้อว่า

“เจ้าหัวลูก มาจากไหน?
เจ้าปู่ได้เฝ้าดูเห็นว่าท่านเคร่งครัดในการปฏิบัติธรรมมาก น่าเลื่อมใส
สมัยนครเวียงจันทน์ครั้งก่อนนั้น ชาวเมืองได้ตั้งใจบำเพ็ญกุศลกันดีมาก
เจ้าเมืองก็ใส่บาตรทุกวันด้วย เจ้าปู่เห็นท่านไปบิณฑบาตแล้ว
ไม่ค่อยจะมีคนใส่บาตรเลย นับว่าท่านมีความอดทน
น่ายกย่องสรรเสริญท่านมาก ที่ไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร ไม่เห็นแก่ได้

บางวัน เจ้าหัวลูกไม่ได้ฉันอาหารบิณฑบาตเลย
น่านับถือในความอดทนและความตั้งใจของท่านจริงๆ...”


:b46:

ลำบากเพียงใดก็อดทนได้หมด

ช่วงที่หลวงปู่ท่านออกธุดงค์ นับตั้งแต่ออกจากพระบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี
มาพักจำพรรษาอยู่ที่บริเวณเวียงจันทน์จากนั้นก็เดินทางแบบพระธุดงค์กรรมฐาน
ต่อไปยังเมืองหลวงพระบาง หนทางเดินลำบากที่สุด สภาพทั่วไปเป็นภูเขา
บางวัดเดินขึ้นภูเขาสูงๆ แล้วเดินลงจากหลังเขา
ถ้าคิดระยะทางการเดินทางธรรมดาจะต้องเดินไปไกลกว่านั้น
เพราะเดินตลอดวันก็กลับลงมาที่เดิม ตกเย็นมืดค่ำล ก็กางกลดพักผ่อน
ทำความเพียรภาวนา รุ่งอรุณก็ตื่นเดินทางต่อไป
บางวันไม่ได้บิณฑบาตเลยเพราะไม่มีบ้านคน

ท่านเล่าว่า เดินไปด้วยกันคราวนี้รวมแล้ว ๖ รูป แต่ต่างคนต่างไปไม่พบกันตั้งหลายวันก็มี
บางทีก็พบพระซึ่งเป็นชาวพม่าซึ่งท่านก็เดินธุดงค์เช่นกัน นานๆ พบกันทีหนึ่ง
พบกันแล้วก็แยกทางกันเดินต่อไป ท่านบอกว่าถนนหนทางลำบากที่สุด
รถยนต์ไม่มีโอกาสจะไปได้เลย แม้แต่คนจะเดินไปก็ยังยากและสมัยนั้นรถยังไม่เคยมีในถิ่นนั้นเลย



:b45: :b45:

:b48: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26069

:b48: รวมคำสอนและประมวลภาพ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43511

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2015, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย



อดทนต่อการทำความเพียรสมัยออกปฏิบัติแรกๆ

เมื่อหลวงปู่อายุได้ ๑๖ ปี ท่านได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม
ซึ่งเดินรุกขมูลมาวัดบ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่อุปัฏฐากอยู่ เมื่อออกพรรษาแล้วพระอาจารย์สิงห์ได้กลับเมืองอุบลราชธานี
ซึ่งเป็นถิ่นเดิมของท่าน หลวงปู่ก็ได้ติดตามท่านไป รอนแรมไปในป่าและบ้านเล็กบ้านน้อย
บางครั้งผจญกับไข้ป่าซึ่งเมื่อเป็นไข้ก็พักนอนตามร่มไม้ ไข้สร่างแล้วก็เดินทางต่อไป
พร้อมกันนั้นก็ทำความเพียรภาวนาไปในตัว เป็นเวลาเดือนกว่าจึงถึงเมืองอุบลราชธานี
หลวงปู่จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร

ภายหลังเมื่อหลวงปู่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว เรื่องความเพียรมีแต่ยิ่งเร่งขึ้น
โดยท่านได้ทำความเพียรอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว มีการทำความเพียรภาวนาตลอดวันค่ำคืนรุ่ง
พร้อมกันนั้นก็ผ่อนอาหาร ฉันน้อยที่สุดคือ ทำคำข้าวเหนียวเป็นคำๆ แต่ ๖๐ คำ
ถอยลงมาโดยลำดับถึง ๓ คำ ฉันอยู่ ๓ วัน แล้วก็เพิ่มขึ้นโดยลำดับถึง ๕ คำ ฉันอยู่ได้ ๕ วัน
๑๐ คำ ฉันอยู่ได้ ๑๐ วัน ๑๕ คำ ฉันอยู่ได้ ๓ เดือน กับข้าวก็มีแต่พริกกับเกลือเท่านั้น
ตลอดเวลา ๓ เดือน กิจวัตรเป็นต้นว่า บิณฑบาต ปัดกวาดลานวัดและหาบน้ำ
ตลอดถึงอาจาริยวัตร ไม่ขาดสักวันจนกระทั่งออกพรรษา


:b47:

กติกาในการร่วมทางกับท่าน

พรรษา ๑๑ จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี ท่าบ่อ หนองคาย พ.ศ. ๒๔๗๖
เมื่อออกพรรษาท่านจึงปรารภกับหลวงปู่อ่อนสี (พระครูสีลขันธ์สังวร) ว่า
ท่านจะไปตามท่านอาจารย์มั่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่อ่อนสีจะไปด้วยท่านไหม
ถ้าจะไปด้วยท่านขอกติกาไว้ก่อนว่า

(๑) การไปอย่าได้บ่นถึงความทุกข์ลำบากต่างๆ
เป็นต้นว่า การเดินทาง อาหาร ที่อยู่อาศัย แม้ที่สุดถ้าอาพาธ
เราสงเคราะห์กันจนสุดความสามารถแล้วตายเป็นตายกัน

(๒) เมื่อคิดถึงบ้าน หรือหมู่คณะ มีบิดามารดา เป็นต้น จะไม่ยอมนำส่ง

(๓) ต้องเป็นผู้ยอมสละตายในที่ทุกสถาน ไม่ว่าจะเพราะกรณีใด


โดยหลวงปู่ท่านกำชับว่าหากปฏิบัติตามกติกานี้ไม่ได้ก็ไม่ให้ไปกับท่านเพราะจะลำบาก
การเดินทางครั้งนี้ปรากฏว่า ท่านผ้าขาวที่ร่วมทางเกิดป่วยไม่มีไข้แต่เมื่อยอ่อนเพลีย
น้ำปัสสาวะข้นแดงคล้ายน้ำล้างเนื้อ ด้วยว่าห่างไกลหมอ จึงใช้ยาพระพุทธเจ้ารักษากันเอง
กล่าวคือให้ฉันน้ำมูตรของตนเอง ทั้งๆ ที่มีสีแดงร่าๆ นั้น พอถ่ายออกมาอุ่นๆ ก็ดื่มเข้าไปเลย
และวิเศษสมจริง คือ ดื่มอยู่ไม่ถึง ๑๐ วันหายเป็นปกติ


:b47:

- ผู้มีปัญญา แต่ขาดศรัทธา ความเพียร แลความอดทนกล้าหาญ
ก็ไม่สามารถจะค้นคว้าจับเอาตัวของมันออกมาประจันหน้าได้

- ผู้มีศรัทธา มีความเพียรกล้าหาญแต่ขาดปัญญา
ก็ไม่สามารถจะประหารมันได้เหมือนกัน

- ผู้มีศรัทธา มีความเพียรด้วย และมีความอดทนกล้าหาญประกอบด้วยปัญญา
ประกอบความเพียรรักษาความดีนั้นๆ ไว้ติดต่อกันอย่าให้ขาด
นั่นแลจึงสามารถขจัดกิเลสานุสัยให้หมดสิ้นไปได้


:b47:

เล่าถึงความอดทนของ “ท่านเกต” พี่ชายของท่าน

วันนั้นพอดีเป็นวันพระ องค์หลวงปู่ท่านลงเทศน์ไม่ได้เนื่องจากอาพาธหนัก
จึงได้นิมนต์ให้ “ท่านเกต” ลงเทศน์แทนท่าน ท่านเกตได้เทศน์อยู่ชั่วโมงครึ่งจึงจบ
ญาติโยมได้ยินแล้วพากันแปลกใจมาก ไม่นึกว่าท่านเกตจะเทศน์ได้ถึงขนาดนั้น
พอดีรุ่งเช้าขึ้นหลวงปู่หายอาพาธ เขาก็นิมนต์ท่านไปประชุม และราว ๑๑ โมงเช้า
มีคนไปบอกว่าท่านเกตปวดท้อง หลวงปู่จึงกลับมา เมื่อมาแล้วก็มองดูอยู่เฉยๆ
ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร เพราะไม่มียา

อนึ่ง โรคนี้ท่านเคยเป็นมาสิบกว่าปีแล้ว บางทีฉันยาตามมีตามได้ก็หาย
บางทีไม่มียาฉันมันก็หายเอง มีครั้งหนึ่งไปป่วยอยู่บ้านนาสีดา (บ้านเดิม) ๕ วัน ๕ คืน
นอนไม่ได้ ฉันไม่ได้ เวลาจะหายเอานิ้วมือล้วงเข้าที่ทวารหนัก
มีอะไรไม่ทราบออกมาเป็นก้อนเล็กๆ สามสี่ก้อนจากนั้นก็หายเลย

ในสมัยนั้นการแพทย์แผนปัจจุบันยังเจริญไม่ทั่วถึง ปวดท้องก็หายาแก้ปวดท้องมากิน
ไม่ทราบว่าไส้ติ่งเป็นอย่างไร ถ้าปวดท้องเพราะอาหารเป็นพิษหรือของแสลง
หรือท้องมีลมก็หายไป ถ้าเป็นไส้ติ่งอย่างนี้ก็ไม่หาย คนตายเพราะไส้ติ่งนี้นับไม่ถ้วน
ท่านเกตปวดท้องครั้งนี้เป็นเรื่องไส้ติ่งโดยแท้และไม่มียา เจ็บเอาเหลือจะทน ดิ้นคลั่กๆ
แต่ไม่เคยได้ยินเสียงร้อง ในที่สุดพูดหลุดปากออกมาประโยคหนึ่งว่า อดทนไม่ไหวแน่
คิดว่าเดินจงกรมมันจะสบายบ้าง ให้พยุงขึ้นเดินจงกรม
เดินไปได้ประมาณ ๔-๕ ก้าวเลยอ่อนพับลง


พระเณรที่เอาไปเดินเห็นอาการดังนั้นจึงเอามานอนลงที่เดิม
เวลานั้นเราอ่อนเพลียมากเพราะดูกันเป็นเวลานานแล้ว
จึงขออนุญาตจากเพื่อนไปพักผ่อน พอดีมีเณรไปเรียกว่า
ท่านเกตอ่อนเพลียมากสลบลงเราจึงรีบมาดู เห็นนอนนิ่งเฉยๆ ไม่พูดอะไร
เราเตือนสติอยู่ใกล้ๆ บอกว่าได้ยินไหม พูดว่าได้ยิน จนเวลาราว ๒ ทุ่มจึงมรณภาพไป

ท่านเกตเป็นคนอดทนอย่างยิ่ง ทั้งที่ยามปกติและยามโรคกำเริบ
โรคมิใช่อย่างเดียว โรคไส้ติ่ง โรคนิ่ว และโรคมาลาเรีย
โดยเฉพาะโรคไส้ติ่งนี้ เวลามันอักเสบเป็นตั้งหลายๆ วันจึงจะหาย
แต่ไม่เคยทำความเดือดร้อนให้ใครเลย เวลาเป็นมาก็นอนนิ่งอยู่คนเดียว
อาหารฉันได้ก็ฉัน ฉันไม่ได้นอนนิ่งอยู่อย่างนั้น ปกติท่านก็ฉันน้อยอยู่แล้ว
ฉันง่ายด้วย ฉันข้าวกับเกลือก็อยู่ได้ตั้งเป็น ๑๐ วันกว่าๆ
ได้รับความยกย่องจากครูบาอาจารย์ทุกองค์ว่ามีความอดทนดีมาก


:b47:

คนเราเกิดมาในโลกนี้ ไม่ว่าใครจะทำอะไร ไม่ว่าดีหรือชั่ว
จะเป็นไปเพื่อความเสื่อมหรือเจริญก็ตาม จำต้องมีอุปสรรคด้วยกันทั้งนั้น
ที่จะสำเร็จตามเป้าหมายได้ อยู่ที่ความรอบคอบอดทน

หาเหตุผลมาแก้ไข ถ้าหาไม่แล้วก็จะไม่บรรลุได้เลย
แล้วก็เป็นกำลังใจในอันที่จะทำสิ่งนั้นๆ ให้บรรลุผลรวดเร็วเข้าอีกด้วย


:b47:

ความอดทนเป็นตะปะอันยิ่งใหญ่

ความอดทนเป็นตะปะอันยิ่งใหญ่ เพราะเหตุที่นิสัยจิตใจของคนมันมีต่างกัน
ท่านจึงสอนให้มีความอดทน แต่อยู่ด้วยกันแล้วจงหาความดีต่อกัน

ไม่อิจฉาพยาบาทไม่จองล้างจองผลาญ ไม่โกรธเกลียดกัน
ไม่มีทิฏฐิมานะ มีอะไรก็ควรที่จะปรึกษาหารือเข้าหากันได้
การมุ่งหน้าเข้าหากันได้เป็นการดีมาก


:b47:

ขอให้อดทนทำดี

เราเป็นคนทุกข์ คนจนไม่มีสติปัญญา
เลยไม่คิดจะทำสมาธิภาวนา คุณงามความดีอะไรทั้งหมด
เลยหมดหนทางที่จะทำคุณงามความดีต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ทางที่ถูกคือ ควรจะหัดสมาธิภาวนาทำสมาธิแล้วไม่มีทางอื่นใดที่จะช่วยแก้ได้
ขอให้มีความอดทนพยายามอย่างเต็มที่ ก็จะสำเร็จตามความประสงค์


:b47:

อดทนให้ได้ อย่าเอาตนเป็นใหญ่

เราควรอดควรทนต่อเหตุการณ์ เมื่อมีจิตใจต่างกัน
มีกิริยาอาการต่างกัน จึงควรอดอย่างยิ่ง
อย่าเอาอารมณ์ของตนควรคิดถึงอกเราอกเขาบ้าง ถ้าหากเราเอาแต่อารมณ์ของตนแล้ว
จะแสดงความเหลวไหลเลวทรามของตนแก่หมู่คณะเป็นเหตุให้เสียคน
เพราะชื่อเสียงยังกระจายออกไปทั่วทุกทิศ เสียหายหลายอย่างหลายประการ
สิ่งใดที่ไม่สบอารมณ์ของเรา อย่าผลุนผลันหันแล่น จงยับยั้งตั้งสติตั้งจิต


:b47:

ความอดทนทำลายกิเลสให้เป็นจุล

เบื้องต้นให้ตั้งสติกำหนดคำว่า “อด” คำเดียวเท่านั้นเสียก่อน
จึงคิดจึงนึกและจึงทำจึงจะไม่พลาดพลั้งและจะไม่เสียคน
อดที่ไหน อดที่ใจของเรา


“อด” คำนี้กินความกว้างและลึกซึ้งด้วย เมื่อเราพิจารณาถึงความอดทนแล้ว
ก็จะเห็นว่า สรรพกิเลสทั้งปวงที่จะล้นมาท่วมทับมนุษย์สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้
แหลกละเอียดเป็นจุลวิจุลไปก็เพราะความอดนี้ทั้งนั้น


:b47:

ความอดทนนำให้ละความชั่วได้ทุกประการ

- โกรธจะฆ่ากัน แต่มีสติอดทนอยู่ได้จึงไม่ฆ่า

- เห็นสิ่งของเขา คิดอยากจะลักขโมยของเขา มีสติอดทนยับยั้งไว้
เพราะกลัวเขาจะเห็นหรือกลัวโทษ จึงไม่ขโมย

- เห็นบุตรภรรยาสามีคนอื่นสวยงาม เกิดความกำหนัดรักใคร่
คิดอยากจะประพฤติผิดในกาม มีสติขึ้นมาแล้วอดทนต่อความกำหนัด
หรือกลัวว่าเขาจะมาเห็น กลัวต่อโทษในปัจจุบันและอนาคต
แล้วอดทนต่อความกำหนัดนั้น

- การที่จะพูดเท็จ พูดคำไม่จริง หรือดื่มสุราเมรัยก็เช่นกัน
เมื่อมีสติขึ้นมาแล้วก็อดทนต่อความชั่วนั้นๆ ได้ แล้วไม่ทำความชั่วนั้นเสีย

ความอดทนเป็นคุณธรรมที่จะนำบุคคลในอันที่จะละความชั่วได้ทุกประการ
และเป็นเหตุให้สมานมิตรกันทั้งโลกได้อีกด้วย ถ้าเราไม่มีการอดทน
ปล่อยให้ประกอบกรรมชั่วดังกล่าวมาแล้ว โลกวันนี้ก็จะอยู่ไม่ได้ แตกสลายไปเลย


:b47:

คนเราอยู่เฉยๆดีเองไม่ได้ ต้องอดทนฝึกตน

ความอดทนมีคุณอานิสงส์อันใหญ่หลวงเป็นเหตุให้
แผดเผากิเลสน้อยใหญ่ทั้งปวงซึ่งเกิดจากใจของมนุษย์คนเรา
เมื่อมันเกิดที่ใจของคนเรา คนเราคุมสติไม่อยู่ปล่อยให้มันลุกลาม
ไปเผาผลาญคนอื่น จึงรีบดับด้วยสติตัวเดียวเท่านั้น
ก็อยู่เย็นเป็นสุขทั้งแก่ตนและผู้อื่น

ผู้ที่ทำความเพียรภาวนาทั้งหลาย
ล้วนแล้วแต่ใช้ความอดทนนี้ทั้งนั้น
คนเราอยู่เฉยๆ จะดีเองไม่ได้ ต้องอดทน

ต่อความเจ็บหลังปวดเอวในการนั่งสมาธิภาวนา
อดทนต่อการรักษาศีลตามสิกขาบทนั้นๆ ที่พระองค์บัญญัติไว้
จะเอาตามใจชอบของตนไม่ได้
ถ้าเอาตามใจชอบของตนถ้ามันดีแล้ว
มนุษย์ชาวโลกดีกันหมดแล้วแต่นาน

เหตุที่มันดีนั่นแหละจึงหันมาอดทนทำตามพระพุทธเจ้า



:b45: :b45:

:b44: หลวงปู่เล่าว่า (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=35963

:b44: รวมคำสอนและประมวลภาพ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43000

:b44: ความสามัคคี
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=150

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2015, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ



“ขนฺตี” นี้ก็คือ พระองค์ได้ประทาน “น้อต” ให้พวกเราไว้ตัวหนึ่ง
สำหรับขันตรึงไม้ให้ติดกับเสา

เพื่อไม่ให้เรือนของเราโยกคลอน (หมายถึงจิตใจของเรา)

ขันตีอันนี้เป็นเหล็กกล้าที่ไม่มีสนิม
เป็นตปะ ความเพียรที่เผากิเลสให้แห้งไปได้ดียิ่งกว่าสิ่งอื่น


พวกเรานั้นมีแต่ตะปูขี้สนิม
เช่น ขี้เกียจ ขี้คร้าน ขี้โลภ ขี้โกรธ ขี้หลง ขี้ปวด ขี้เมื่อย อะไรต่างๆ เหล่านี้
ซึ่งพอจะทำความดีให้ตัวเองก็ทำไม่ได้ เพราะขาด “ขนฺตี”


:b44:

เปรียบกับการขุดบ่อน้ำบาดาลกับการภาวนา

การขุดบ่อชนิดนี้ ต้องใช้เหล็กที่แข็งแรงมั่นคง
และท่อก็ต้องใช้ท่อเหล็กเจาะลงไปจึงจะถึงน้ำบาดาลนี้
ท่านเปรียบบ่อนี้เท่ากับ “การภาวนา”
คือต้องใช้สติปัญญาและความวิริยะขันติอย่างมากจึงจะขุดน้ำบ่อนี้สำเร็จ

“สติ” ก็คือ ความแน่นเหนียว
“วิริยะ” ก็คือ เหล็กแข็ง
เมื่อใช้ “ขันติ” เจาะลงไปถึงพื้นบาดาลแล้ว
ผลที่ได้รับก็คือ “บุญกุศล” ซึ่งจะไหลซึมซาบ
อาบมาไม่ขาดสายเหมือนน้ำอมฤต
ที่ยังความชุ่มชื่นให้เกิดแก่จิตใจอยู่เสมอทุกกาลเวลา


:b44:

ความเพียรต้องมีขันติคู่กัน

ถ้าเป็นผู้มีความพากเพียร
ขันติมันก็มีในตัว เพราะเหตุใด?


คนผู้มีความพากเพียร
ต้องมีอันตรายมากีดขวางเป็นธรรมดา
แต่ถ้าเพียรจริงๆ สิ่งนั้นมันก็ดับ
ทีนี้เพียรจริงๆ มันสำเร็จมาจากความอดทนเหมือนกัน
ถ้าไม่มีความอดความทน..เพียรมันก็ไปไม่รอด

ถ้ามีความเพียรประจำจิต มันครอบไปถึงตัวขันติด้วย


:b44:

ข้อสำคัญของผู้ปฏิบัติที่ต้องการจะพ้นทุกข์นั้น ก็คือ ความเพียรและอดทน
เพราะการกระทำความดีทุกอย่างย่อมจะต้องมีอุปสรรคมาคอยทำลาย

แม้แต่พระพุทธองค์เมื่อทรงกระทำความเพียรอยู่
ก็ยังมีพวกพญามารตามมารบกวนเพื่อจะมิให้พระองค์ได้สำเร็จบรรลุในธรรม
แต่พระองค์ก็มิได้ทรงหวั่นไหวหรือท้อถอยละเลิกการกระทำของพระองค์เสีย
ทรงใช้สัจจบารมีของพระองค์ขับไล่กิเลสมารต่างๆ เหล่านั้นจนพ่ายแพ้ไปสิ้น

:b44:

อดทน ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม

“ความอดทน” คือ กำลังกายเรามีเท่าไร
เราต้องทำไปให้เต็มที่
กำลังวาจามีเท่าไรกล่าวไปให้เต็มที่
อย่าหวั่นไหวในคำติชมของคนทั้งหลาย


เราทำดีเขาว่าดีก็มี
เราทำชั่วเขาว่าดีก็มี
เราทำดีเขาว่าชั่วก็มี
ทั้ง ๓ อย่างนี้ล้วนเป็นเครื่องหวั่นไหวทั้งสิ้น
ฉะนั้น ให้ยึดเอาการกระทำดี กระทำถูกของตนเองเป็นสำคัญ


:b44:

ให้ทุกคนทำตัวเป็นประโยชน์เหมือนต้นไม้
ยึด “พุทธานุสติ” เป็นราก
“เมตตา” เป็นลำต้น
และ “ขันติ” เป็นยอด

“พุทธคุณ” ฝังไว้ในจิตใจ
“เมตตา” ฝังไว้ในกายวาจา
“ขันติ” เป็นแม่เหล็กอย่างแข็งแกร่ง



:b45: :b45:

:b47: ประวัติและปฏิปทา “ท่านพ่อลี ธมฺมธโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=21381

:b47: รวมคำสอนและประมวลภาพ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38679

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร