วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2024, 10:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2024, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1718190249816.jpg
FB_IMG_1718190249816.jpg [ 32.64 KiB | เปิดดู 854 ครั้ง ]
ภาวนาจิตย่อมสั่นคลอนเพราะแสงสว่าง ญาณ ปัญญาที่เฉียบแหลม
ความอิ่มเอิบใจ ความสงบแห่งกายและใจ ความสุขกายสุขใจ ความศรัทธา
ควา พากเพียร ความมีสติสมปชัญญะ วิปัสสนูเปกขาอันเป็นไปกับอาวัชชนุเปกขา
และเพราะตัณหาความยินดีในวิปัสสนา

๑. โอภาส

โอภาส คือ แสงสว่างนั้นอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เกิดจากสมาธิล้วนๆบ้าง
จากวิปัสสนาญาณบ้าง ส่วนบุคคลผู้กำลังเจริญสมถภาวนามีพุทธานุสสติ เป็นต้น
หรือนักปฏิบัติผู้ที่ยังไม่สามารถกำหนดรู้ความเกิด-ดับของนามรูปย่อมเห็นแสงสว่าง
ต่างๆได้ด้วยอำนาจของสมาธิล้วนๆ เช่น ในเรื่องของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ซึ่งมีเรื่อง
เล่าว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อตอนที่ท่านอนาถบิณทิกเศรษฐีไปธุระที่เมืองราชคฤห์ พอท่าน
ได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก็เกิดปิติ และคิดอยากจะไปสักการะ
บูชา แต่เนื่องจากตอนนั้นเป็นเวลาที่มืดค่ำแล้ว ท่านเศรษฐีจึงคิดว่าพรุ่งนี้ค่อยไป
ดีกว่า และก่อนที่จะเข้านอนท่านได้น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธคุณ และด้วยอำนาจ
ของพระพุทธคุณที่ท่านกำลังเจริญอยู่ จึงก่อให้เกิดแสงสว่าง ทำให้ท่านเศรษฐี
สะดุ้งตื่นจากภวังค์(การหลับ)เพราะนึกว่าฟ้าสางแล้ว และเมื่อลุกขึ้นมาดูก็ปรากฎ
ว่าท้องฟ้ายังมืดอยู่ ท่านเป็นอยู่อย่างนั้นหลายต่อหลายครั้ง จนในที่สุดต้องตื่นขึ้น
มาด้วยคิดว่าสว่างแล้วจริงๆ จึงได้เดินไปเฝ้าพระบรมศาสดาตามลำพัง และเมื่อ
เดินผ่านป่าช้าผีดิบ ได้เดินไปสะดุดชากศพเข้า ทำให้เกิดความกลัว เมื่อจิตกลัวจึง
ทำให้เกิดความฟุ้งช่าน ทำให้อารมณ์คือพุทธานสุสติอ่อนกำลังลง และเป็นสาเหตุ
ให้แสงสว่างหายไป เมื่อแสงสว่างในตัวหายไปก็ทำให้มองไม่เห็น ท่านเศรษฐีจึงคิด
จะกลับที่พัก แต่เทวดาผู้ให้การอารักขาสุสานได้กล่าวเตือนสติด้วยคาถาดังนี้ว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2024, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


สตํ ทตฺถี สตํ อสฺสา สตํ อสฺสตรึรถา
สตํ กญฺญาสหสฺสานิ อามุตฺตมปิกุณฺฑลา
เอกสฺส ปทวีติหารสฺสกลํ นาคฺฆนฺติ โสฬสี


ช้างแสนเชือก ม้าแสนตัว รถเทียมม้าอัสดรแสนคัน หญิงสาวผู้ประดับด้วย
เครื่องประดับล้ำค่า มีตุ้มหูเพชรเป็นต้นแสนคน ทั้งหมดนี้ถึงจะมีค่ามหาศาล
ปานใด แต่ก็ไม่สามารถทียบเท่าครึ่งเสี้ยวที่ ๑๖ ของท่านผู้กำลังก้าวไปเพื่อบูชา
พระพุทธเจ้าได้เลย

เมื่อได้รับกำลังใจจากเทวดาเช่นนี้ ทำให้ท่านเศรษฐีเกิดความกล้าขึ้นมาทันที
แลัวได้น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธคุณอีกครั้ง ทำให้อารมณ์ค่อยๆตั้งมั่นขึ้นเรื่อยๆ
จนในที่สุดเมื่อพุทธานุสสติมีพลังสูงขึ้น ทำให้ท่านเครษฐีงสามารถเห็นแสงสว่างอีก
ครั้งหนึ่ง และกว่าจะถึงที่ประทับของพระพุทธองค์ได้ ก็ทำให้แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
หายไปอยู่อย่างนี้ถึง ๓ ครั้งแต่เพราะได้รับการให้กำลังใจจากเทวดาจึงให้ท่านเศรษฐี
ไม่ย่อท้อ และในที่สุคก็ไปถึงที่ประทับโดยราบรื่น เรื่องนี้ชี้ไห้เห็นว่า แสงสว่างนั้น
เกิดขึ้นเพราะอาศัยสมาธิล้วนๆ

อนึ่ง บางท่านเมื่อได้ผ่านนามรูปปริจเฉทญาณแล้วก็เริ่มเห็นแสงสว่างแวบๆ
แวมๆ บางคนเริ่มเห็นตั้งแต่ ปัจจยปริคคหญาณ ก็สามารถเห็นแสงสีต่างๆ เช่น
สีเขียว สีแดง สีน้ำเงิน และสีเหลืองเป็นต้นได้ หรือบางทีอาจเห็นเป็นแสงที่สว่าง
ไสวดั่งไฟพะเนียงแสงสว่างต่างๆเหล่านี้พึงทราบว่าเกิดขึ้นมาได้เพราะอำนาจสมาธิ
ทั้งนั้น และนอกจากจะเห็นแสงสว่างแล้วยังสามารถเห็นอย่างอื่นด้วย เช่นเมื่อได้
เข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณแล้ว ญาณนี้ก็จะแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถ
มองเห็นรูปทรงสัณฐานต่างๆนาๆ เช่น เห็นเป็นรูปทรงพระพุทธเจ้า รูปทรงพระ
อรหันต์ เป็นต้น แล้วแต่ประสิทธิภาพของสมาธินั้นๆ และจะเห็นนิมิตเหล่านี้ได้
อย่างหลากหลายในช่วงแห่งสัมมสนญาณ แม้ในขณะที่อุทยัพพยญาณยังมีกำลังน้อย
ก็อาจเห็นนิมิตเหล่านี้ใด้ แต่จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้างเล็กน้อย คือ ในนามรูป
ปริจเฉทญาณไม่สามารถห็นความเกิดและความดับของรูปทรงสัณฐาณเหล่านั้น
ได้ชัดเจน ส่วนในปัจจยปริคคหญาณ เห็นความเกิดได้ชัด แต่เห็นความดับของรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2024, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


ทรงสัณฐานเหล่านั้นไม่ชัดเพราะเนื่องจากจะต้องตามกำหนดอารมณ์ใหม่ๆอยู่เนืองๆ
จึงไม่สามารถกำหนดอารมณ์ได้ตลอด สำหรับในส้มมสนญาณนั้น สามารถ
มองเห็นรูปทรงสัณฐานเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน คือเห็นสัณฐานเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว
ก็ตั้งอยู่ได้อย่างชัดเจน แล้วก็ค่อยๆเลื่อนไป หรือค่อยๆจางหายไป ดุจเมฆสลายไป
ฉะนั้น ส่วนในอุทยัพพยญาณนั้น ถ้ากำหนดหนึ่งครั้ง อารมณ์ก็หายไปหนึ่งครั้ง
อย่างนี้ตลอด บางครั้งแม้จะไมได้กำหนด แต่มีสติ อารมณ์ก็หายไปได้เช่นกัน
และไม่มีการเลื่อนจุดตำแหน่งออกไปแต่อย่างใด อารมณ์นิมิตนั้น มิใช่ว่า จะค่อยๆ
เลือนจางหายไปเป็นลำดับ แต่จะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปในชั่วพริบตา ณ ที่นั้นนั่นเอง
ไม่อาจเห็นรูปของนิมิตเหล่านั้นนานๆได้ นี้แหละเป็นความแตกต่างในการเห็นนิมิต
หรืออารมณ์ของแต่ละญาณ

ในช่วงที่ได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณและสัมมสนญาณทั้ง ๓
นี้ พึงทราบว่า ปีติ ปัสสัทธิ สุข และศรัทธาอาจเกิดได้ตามสมควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ประสิทธิภาพของสมาธิจิตของแต่ละบุคคล

เมื่อโยคีสามารถกำหนดได้เร็วทันความเกิด-ดับของนามรูปซึ่งกำลังเกิด-ดับ
อยู่อย่างรวดเร็วได้แล้ว ย่อมสามารถเห็นแสงสว่างที่เกิดขึ้น ชื่งจัดเป็น โอภาส
ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณบางท่านอาจเห็นเพียงแสงริบหรี่ซึ่งจะตั้งอยู่
เพียงชั่วครู่ บางท่านอาจเห็นแสงซึ่งเหมือนกับแสงไฟฉาย บางท่านอาจเห็นเป็น
ดวงไฟกลมๆดังรูปบาตร บางท่านอาจเห็นเป็นเหมือนจานบินหมุนไปรอบๆ บางท่าน
อาจเห็นแสงสว่างทั่วทั้งห้องหรือแสงสว่างชั่งมีรัศมีกว้างมาก เป็นแสงสว่างชนิดที่
ตั้งอยู่นาน ถึงจะกำหนดให้หายก็ไม่หาย บางทีอาจเห็นเป็นเหมือนกับถูกส่องด้วย
ไฟรถยนต์ บางทีเหมือนกับถูกส่องด้วยไฟฉาย หรืออาจเห็นเป็นรูปทรงพระจันทร์
รูปทรงพระอาทิตย์ ส่องสว่างอยู่ก็มี เราอาจคิดว่าแสงสว่างเหล่านี้ มาจากด้านหน้า
หรือด้านข้างของตัวเราบ้าง มาจากข้างบนบ้าง ข้างล่างบ้าง ในขณะที่มีแสงสว่าง
อยู่นั้น ถึงแม้จะเป็นกลางคืนแต่ก็สว่างดุจกลางวัน และหากเป็นกลางวัน แต่แสง
เหล่านี้ก็ยังปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะไม่ใช่วิสัยที่จะเห็นได้ด้วยดาธรรมดา
แต่ก็จะปรากฏดุจได้เห็นแสงสว่างด้วยตาธรรมดาของตนจริงๆ

สมมุติหากมีคำถามขึ้นมาว่า"การที่เห็นแสงสว่างเป็นตันเหล่านี้นั้นเป็นการเห็น
ด้วยปกติจักษุ(ตาเนื้อ)ใช่หรือไม่ หรือเป็นการเห็นโดยจินตนาการกันแน่" ตอบว่า
"ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมหาฎีกา ท่านกล่าวว่า เป็นเหมือนกับเห็นด้วยจินตนาการ
กล่าวคือมโนวิญญาณ ดุจเห็นด้วยทิพยจักษุนั่นเอง" แต่ในบางกรณีที่ปรากฎเหมือน
กับเห็นด้วยปกติจักษุ เราก็จะรู้สึกว่าเหมือนกับได้เห็นด้วยปกติจักษุจริงๆ สภาวะ
อย่างนี้จะต้องลงมือปฏิบัติเอง ถึงจะรู้ซึ้งถึงภาวะเช่นนั้นได้

อนึ่ง เมื่อแสงสว่างเกิดขึ้น บางท่านอาจคิดว่า เป็นแสงสว่างที่เกิดขึ้นเพราะ
ตนเองได้เข้าถึงมรรคผลหรืออาจคิดว่ แสงสว่างนั้นแหละคือพระนิพพานที่
เรียกว่าคุณธรรมพิเศษ(อุตตริมนุสสธรรม) และจะเกิดความพอใจติดอยู่ในสิ่งนั้น
และเมื่อเกิดความหลงใหลในสิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้ลืมกำหนดหรือทำให้กำหนดได้
ไม่ชัดเจน เพราะสังชารที่เป็นอารมณ์ ซึ่งตนกำลังกำหนดอยู่จะเลอะเลือน ไม่เด่น
ชัดเหมือนเมื่อก่อน ดังนั้นท่านจึงเรียกแสงสว่างว่า อุปกิเลส เครื่องทำให้วิปัสสนา
ภาวนาเศร้าหมองอย่างหนึ่ง แต่ว่าโดยตรงแล้ว ปกิเลสตัวจริงคือ ตัณหา
ความหลงติดในแสงสว่างที่เกิดขึ้น มานะ ความสำคัญ ความภูมิใจ ทิฏฐิ
ความเห็นผิด ทั้ง ๓ อย่างเหล่านี้ ซึ่งเป็นธรรมที่เลวทราม (อกุศล) เป็นอันตราย
เครื่องทำให้วิปัสสนาเศร้าหมองอย่างแท้จริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2024, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ญาณ

การรู้แจ้งนามรูปที่เกิด-ดับ อย่างรวดเร็วในทวารทั้ง ๖ นั้นแหละ คือ ญาณ
ซึ่งเป็นการรู้ได้อย่างเฉียบคมดุจเอามีดตัดลูกฟักหรือหั่นมะเขือขาดในครั้งเดียว
ญาณนี้จะเป็นตัวรู้แจ้งนามรูปที่เกิดขึ้นตามที่กำหนดคือหมายความว่าขณะที่กำหนด
ไปก็จะรู้ซึ้งถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาของนามรูปที่กำลังเกิด-ดับอยู่
และในการรู้นี้จะไม่รู้สึกว่าเป็นการพิจาวณา แต่จะรู้สึกว่าเป็นการรู้โดยธรรมชาติ
และอาจทำให้โยคีหลงยินดีในญาณนี้นึกว่าเป็นคุณธรรมวิเศษ หรือไม่ก็อาจเห็นว่า
ตนได้บรรลุคุณธรรมวิเศษแล้ว ถึงได้รู้อย่างแจ้งชัดแบบนี้ ถ้าไปยินดีเช่นนี้เข้า
วิปัสสนาที่ตนกำหนดอยู่ก็จะเสีย เพราะฉะนั้นท่านจึงจัดญาณที่รู้อย่างนี้ว่า
วิปัสสนูปกิเลส แต่ถึงกระนั้น ญาณก็ยังไม่ถือว่าเป็นวิปัสสนูปกิเลสตัวจริง
เพราะอุปกิเลสตัวจริงคือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ ที่ไปหลงใหลกับญาณดังกล่าว
แม้ในวิปัสสนูปกิเลสที่เหลือก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2024, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ปิติ

ปิติ มี ๕ ประเภท คือ
(๑) ขุททิกาปิติ (๒) ขณิกาปิติ
(๓) โอกกันติกาปืติ (๔) อุเพงคาปิติ (๕) ผราณาปิติ

ปิติทั้ง ๕ นี้อาจเกิดขึ้นได้ในขนะที่กำหนดวิปัสสนา เกี่ยวกับเรื่องนี้
ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาท่านกล่าวไว้ว่าผรณาปิติเท่านั้นที่จะสามารถเกิดขึ้นหลังจาก
ที่ได้อุทยัพพยญาณ และจะค่อยๆพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งญาณแก่กล้า

ส่วนสักษณะของแต่ละปิตินั้น พึงทราบดังนี้

ขุททิกาปิติ มีสักษณะเกิดอาการขนลุก เนื้อหนังสั่นเล็กน้อย น้ำตาไหล
มีความอิ่มอกอิ่มใจมีร่างกายสดชื่น เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็หายไป เป็นความอิ่มเอิบ
ใจเล็กๆน้อยๆเท่านั้น

ขณิกาบิติ มีลักษณะคล้ายกับขุททิกาปิติ แต่มีความชัดเจนดีกว่าและบ่อยกว่า
เป็นความอิ่มใจในทุกๆขณะจิตเลยทีเดียว ในคัมภีร์ต่างๆ เช่น อรรถกถา ธรรมบท
ได้กล่าวถึงลักษณะของปีตินี้ไว้ว่า
ยา ปเนสา ธมฺมํ กเถนฺตสฺส วา สุณนฺตสฺส วา วาเจนฺตสฺส วา อนุโต
อุปฺปชฺชมาบา ปีติ อุทคฺลภาวํ ชเนติ. อสฺสูนิ ปวตฺเตติ, โลมหํสํ ชเนติ, สายํ
สํสารวฎฺฏกสฺส อนุตํ. กตฺวา อรหฺตตปริโยตานา โหติ ตสฺมา สพฺพรดีนํ เอวรูปา
ธมฺมรติเยว เสฏฐา.
(ธมฺม อฏ ๘/๔๒)

ภนฺเต นาคเสน โย จ มาตริ มตาย โรทติ, โย จ ธมฺมเปเมน โรทติ, อุภินฺนํ
เตสํ โรทนุตานํ กสฺสุ อสุสุ เภสชฺชํ กสุส อสฺสุ น เภสชฺชนฺติ ?
เอกตุส โข มหาราช อสฺสุ ราคโทเสหิ สมลํ อุณฺหํ, เอกสฺส ปีติโสมนสฺเสน
วิมลํ สีตลํ. ยํ โข มหาราช สีตลํ, ตํ เภสชฺชํ. ยํ อุณฺหํ, ตํ น เภสชฺชนฺติ.
(มิลินท ๒/๖/๖)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2024, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


ปีติที่บังเกิดภายในใจของบุคคลผู้ฟังธรรม แสดงธรรม หรือสอนธรรม
ให้เกิดความอิมเอิบใจ ทำให้น้ำตาไหล เกิดขนลุกซู่ อย่างนี้เป็นปิติที่สามนรถ
ทำที่สุดแห่งสั่งสารวัฏ มีนิพพานเป็นจุดหมาย เพราะฉะนั้น จึงเป็นปิติเยี่ยมยอด
กว่าปิติทั่วๆไป เพราะเป็นปีติที่ยินดีในธรรมนั่นเอง

"ท่านนาคเสน ผู้ที่ร้องไห้เพระมารดาเสียชีวิต กับผู้ที่ร้องไห้เพราะเกิด
ความรักในพระธรรมนั้น ต่างกันอย่างไรหรือ ? และน้ำตาของใครเป็นยา ของใคร
ไม่เป็นยา ขอรับ"

มหาพิตร น้ำตาของคนที่ร้องไห้เพราะเสียใจ เนื่องด้วยมารดาของตน
เสียชีวิตนั้น เป็นน้ำตาที่ไม่สะอาด ร้อนระอุไปด้วยราคะและโทสะ ไม่เป็นยา
ส่วนน้ำตาซองคนที่ร้องให้เพราะซึ้งในธรรมนั้นเป็นน้ำตาที่สะอาด มีความเย็น
มีความอิ่มเอิบโสมนัส เป็นน้ำตาที่จัดเป็นยา"

ด้วยหลักฐานจากบาลีและอรรถกถาดังที่ยกมานี้ ชี้ให้เห็นว่า แม้ปิติก็สามารถ
ทำให้คนร้องไห้น้ำตาไทลได้เช่นกัน

โอกกันติกาปิติ มีลักษณะอิ่มเอิบใจที่ท่วมทับจิตใจดุจคลื่นที่ชัดเข้าฝั่งมหา-
สมุทร คือทำท่จะลันไปทั่วร่างกายแต่ก็ไม่ลัน เกิดขึ้นในกายอย่างรวดเร็วและ
รุนแรงมาก

อุเพงคาปีติ มีลักษณะทำให้ร่างกายลอยขึ้น อาจจะเป็นบางส่วน หรือทั้ง
ร่างเลย ก็แล้วแต่แรงปิติ อุทาหรณ์ของบุคคลผู้เคยเกิดปิติเช่นนี้มาแล้วก็มี เช่น
พระเถระรูปหนึ่งในเกาะลังกา กำลังทำใจให้เลื่อมใสพระเจดีย์อยู่ ณ ที่ไกล ก็ปรากฏ
ว่าเกิดปิติแล้วตัวเองก็ลอยขึ้นสู่อากาศ ถูกพัดไปที่เจตีย์ด้วยอำนาจของอุเพงคาปิตินี้
นอกจากนี้ ยังมีสตรีอีกท่านหนึ่งก็เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งเรื่องนี้มี
กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถาต่างๆ แม้ในสมัยปัจจุบันนี้ ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานแล้วเกิด
บิติเช่นนี้ก็มี ในบางราย กายส่วนใดส่วนหนึ่งลอยขึ้นก็มี และบางรายในเวลาเกิด
ปิติเช่นนี้ นิ้วมือหรือนิ้วเท้าไหวเองโดยธรรมชาติก็มี มีอยู่ท่านหนึ่งขณะที่นั่งกำหนด
อยู่นั้นปรากฏว่าตัวลอยขึ้นประมาณหนึ่งสุตได้ มิใช่เป็นเพียงครั้งเดียว แต่เป็นอยู่
หลายครั้งทีเดียว ปรากฏการณ์ เช่นนี้เป็นเพราะอำนาจของอุเพงคาบิตินั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2024, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


ผรณาปิติมีลักษณะอิ่มเอิบไปทั่วสรรพางค์กาย เป็นปีติที่เยือกเย็นมาก ทำให้
ร่างกายมีความสบายมากๆ ทำให้ปีติชรูปปรากฎไปทั่วทั้งกาย และในขณะที่เกิด
ผรณาปีตินี้ จะรู้สึกเหมือนกับลูกพุตบอลที่อัดลมเข้าไปเต็มที่ คือไม่มีอาการแฟบ
ในช่วงที่ปีตินี้เกิดจะมีความสงบมากอาการทางกายหรือวาจาจะสงบไปโดยอัตโนมัติ
บางครั้งถึงกับไม่ต้องการแม้กระทั่งจะกระพริบตาเลยทีเดียว เพราะต้องการแต่จะ
รับรสของปีติอย่างเดียวเท่านั้น

โยคีผู้เกิดปีติทั้ง ๕ อย่างรุนแรง อาจจะเป็นเหมือนกับลืมสติหรือสลบไป
ชั่ววูบก็เป็นได้ ตัวอย่างของบุคคลสำคัญฯที่เกิดปีติอย่างรุนแรงก็มี เช่นสุเมธดาบส
ซึ่งได้ยินข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกก็เกิดปีติแม้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
และท่าน พระมหากัปปีนะเป็นต้นก็เกิดอาการเช่นเดียวกัน

ปีติทั้ง ๕ นี้นอกจากจะเกิดในอุทยัพพยญาณแล้ว ยังเกิดได้แม้ในภังคญาณ
เป็นต้นซึ่งเป็นญาณชั้นสูง และหลังจากที่เกิดปีติเป็นช่วงๆแล้ว ญาณหรือสติจะมี
พลังสูงกว่าเดิม มีความวิเศษขึ้นกว่าเดิม ยิ่งถ้าเป็นผู้ที่มีปัสสัทธิอย่างลึกซึ้งอยู่แล้ว
ดูเหมือนจะกำหนดแบบสบายๆ บางครั้งเหมือนกับไม่ได้กำหนดอะไรเลย มีอาการ
เหมือนกับเหม่อลอยอยู่ แต่พอตั้งสติได้ก็กลับกำหนดได้เหมือนเดิม บางคนนั้น
ไม่ต้องถึงกับลงแรงอะไรมาก เพียงแต่กำหนดแบบสบายๆไปเรื่อยๆ แต่สติก็ยัง
มั่นคงเหมือนเดิม บางครั้งอาจเผลอสติมกำหนดไปบ้าง แต่พอกลับมาก็สามารถ
กำหนดได้ดีเหมือนอย่างเดิม ข้อนี้พึงทราบว่าเป็นเพราะอำนาจของ ตัตรมัชฌัตตตา-
อุเบกขา ในบางราย ขณะที่กำลังกำหนดอยู่ดีๆ อารมณ์ก็ค่อยๆหายไป เหมือนกับ
ขาดสติไปชั่วขณะ บางครั้งถึงกับนอนหลับไปเลยก็มี ครั้นได้สติก็รีบกลับมา
กำหนดต่อ แต่ก็สามารถกำหนดได้ดีเหมือนเดิม และก็ไม่ปรากฏว่าจะเกิดความง่วง
เหมือนแต่ก่อนอีกเลยสาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากความเพียรในการตั้งใจกำหนด
นั้นลดลง ทำให้สมาธิมีกำลังมากจนทำให้เกิด ถิ่นมิทธะ ทำให้ไม่สามารถกำหนด
อารมณ์ได้ แต่เมื่อมีสติกลับมากำหนดอีกหรือมีใจจดจ่อกับการกำหนดอย่างต่อเนื่อง
ก็สามารถที่จะข้ามพันความเผลอสติที่เกิดขึ้นเพราะปัสสัทธิ อุเบกขาและถีนมิทธะ
เหล่านี้ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2024, 04:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัสสัทธิ
ความสงบกายและจิตซึ่งเกิดขึ้นเพราะดับความฟุ้งซ่านและความเร่าร้อนต่างๆ
ท่ได้นั้นท่านเรียกว่า

ปัสสัทธิ เหมือนกับเวลาที่บุคคลตากแดดร้อนแล้วได้เข้าไปในที่
ที่เย๊นสบาย หรือเหมือนกับบุคคลซึ่งทำงานเหนื่อยล้าแล้วได้พักผ่อนจนทายเหนื่อย
เมื่อปัสสัทธิเกิด ธรรมเหล่านี้ คือ ลหูตา(ความเบา) มุทุตา(ความอ่อนโยน)
กัมมัญญตา(ความกระฉับกระเฉง) ปาคุญญตา(ความคล่องแคล่ว) อุซุกตา(ความ
ซื่อตรง) ก็ย่อมปรากฏ ดังนั้น ทั้งร่างกายและจิตใจของโยในช่วงนี้จะมีแต่
ความเบาสบาย การกำหนดกัมมัฏฐานก็เป็นไปโดยเบาสบายและคล่องตัว
ความนึกคิดจินตนาการก็จะเป็นไปได้อย่างรวดเร็วฉับพลัน เวลาเดินไปไหนก็จะ
รู้สึกเบาหวิวเหมือนกับไม่ได้เดินด้วยเท้าฉะนั้น แม้ในอิริยาบถอื่นๆ ก็เกิดขึ้นโดย
ลักษณะเช่นเดียวกันนี้ แม้เดินทางไกลก็ปรากฏเหมือนกับเดินทางเพียงชั่วอึดใจ
เดียวก็ถึง และบางครั้งดูเหมือนจิตนั้นอยากแล่นไปไหนมาไหนอย่างรวดเร็ว
เพราะฉะนั้น จงสำรวมระวังอย่าปล่อยให้เป็นไปตามอำนาจของจิต

อนึ่ง ในช่วงที่ปัสสัทธิเกิดขึ้นนี้ ความแข็งกระด้างทั้งในจิตใจและร่างกายจะ
ไม่มี ตรงกันข้ามจะมีก็แต่ความอ่อนโยน พร้อมที่จะเชื่อฟัง โยคีสามารถบังคับจิด
ได้ตามต้องการ เพราะในช่วงนี้จิตจะไม่ต้องการเห็นอารมณ์ที่หยาบๆ แต่จะพอใจ
อยู่กับการกำหนดแบบสบายๆ ทั้งจิตใจและร่างกายล้วนมีความสามารถพร้อมที่
จะกำหนดทันที แม้จะนั่งกำหนดนานเป็นชั่วโมงๆ ก็จะไม่รู้สึกว่าเหน็ดเหนื่อย
เมื่อยล้าแต่อย่างใด สภาพยังเป็นเหมือนเดิมทุกประการ ไม่มีอาการที่ว่าจิตจะ
ฟุ้งช่านหรือเกิดอาการใจลอย ทั้งจิตใจและร่างกายล้วนอยู่ในฐานะที่มีขีดความ
สามารถสูงร่างกายนั้นไม่มีอาการที่จะหมดเรี่ยวหมดแรง ส่วนจิตก็จะกำหนด
ได้จังหวะอย่างดีเยี่ยม ทำให้การกำหนดเป็น ไปโดยต่อเนื่อง ไม่มีการหยุดชะงักเลย
ไม่มีความสนใจในบาปอกุศล ไม่มีการปกปิดความผิดของตน ไม่มีการอวดตนหรือ
เสแสรังต่างๆนานา จิตใจตอนนี้จะมีสภาพที่ตรงมาก และดูเหมือนอยากจะอยู่ใน
สภาพเช่นนี้ตลอดชีวิตด้วยซ้ำ ก็ด้วยอำนาจแห่งหมู่ธรรมทั้ง ๖ มีปีสสัทธิเป็นต้นนี้
ทำให้รู้สึกว่าไม่ว่าจะกำหนดอิริยาบถไหนก็ตาม เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะ
กำหนดได้ดีเป็นพิเศษ รู้สึกว่าทั้งจิตใจและร่างกายล้วนแต่มีความสุขสบายด้วยกัน
เป็นอย่างยิ่ง
ในคัมภีวิสุทธิมรรคมหาฎีกา ท่านแสดงเกี่ยวกับองค์ธรรมของปัสสัทธิไว้ว่า
ตตุถ กายคุคเณน รูปกายสุสาปิ คหณํ เวทิตพฺพํ, น เวทนาทิชนุธดตยสุเสว
กายปสุสทฺธิอาทโย ทิ รูปาทรถาทินิมุมทุทิกาติ.

พึงทราบว่า ความสงบสุขของรูปกายนั้นเกิดขึ้น เพราะอำนาจของหมู่ธรรม
มีปัสสัทธิเป็นต้น ได้เช่นกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2024, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. สุข

ความสุขสดชื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตที่กำหนดอยู่นั้น จะมีกำลังแรงขึ้นเป็น
ทวีคูณ ความสุขดังกล่าวนี้จะเป็นเหตุให้เกิดความสุขกายอย่างมาก ดังนั้น ในช่วงนี้
จะปรากฏว่าไม่มีโรคใดๆมาเบียดเบียนกล้ำกรายเลยแม้สักนิด จะนึกคิดอะไรก็มีแต่
ความสุขสดชื่นตลอด เพราะฉะนั้นจึงทำให้โยคือยากจะเล่าสภาวะที่เกิดขึ้นกับตน
ให้บุคคลอื่นฟังเป็นกำลัง คีออดไม่ได้ที่จะไม่พูดให้ผู้อื่นฟัง โดยเฉพาะโยคีผู้
เพียบพร้อมด้วยสุข ปีติ ปัสสัทธิ เป็นต้นดังกล่าวนี้ ย่อมได้รับความสุขยิ่งถว่ามนุษย์
หรือเทวดาทั่วไป ดังที่พระอรรถกถาจารย์ กล่าวเป็นคาถาไว้ว่า

สุญญาคารํ ปวิฏฺรสุส สนุตจิตฺตสุส ภิกุขุโน
อมานุสี รติ โหติ สมุมา ธมฺมํ วิปสุสโต.
ยโต ยโต สมุมสติ ขนุธานํ อุทยพุพยํ
ลภเต ปีติปามุชฺชํ อมตํ ตํ วิชานตํ.

(ขุ.ธ. ๒๕/๓๗๓-๔/๔๒)

ความยินดีอันหมายถึงวิปัสสนา ปีติ และสุขซึ่งมีปัสสัทธิเป็นปัจจัย อันมนุษย์
และเทวดาทั่วไปมิอาจที่จะเข้าถึงได้ ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้อยู่ในสุญญาคาร(เรือนว่าง)
ผู้มีจิตสงบนิ่ง เห็นแจ้งธรรมโดยถูกต้องตามสภาพความเป็นจริง

อนึ่ง ภิกษุนั้นย่อมกำหนดความเกิดดับของขันธ์ ๕ โดยส่วนที่เป็นนามและ
ส่วนที่เป็นรูปใดๆย่อมได้ปีติ กล่าวคือความพอใจอย่างมากและปราโมทย์กล่าวคือ
ความพอใจเล็กน้อย

ปีติและปามุชชะ (ปราโมทย์)นั้นเป็นเสมือนอมตนิพพานของโยคีผู้เห็นแจ้ง
ความเกิดดับ (การวางศัพท์ที่เข้าทวันทสมาสนั้น ศัพท์ไหนมีสระ(คำน้อยกว่าก็ให้

ศัพท์นั้นไว้ข้างหน้า เพราะณะนั้นในที่นี้จึงวางปิติศัพท์ไว้ข้างหน้า ปามุชชะ
แต่มิได้หมายความว่า ติเกิดก่อนปามุขชะ เพราะตามความเป็นจริงปามุชชะ
จะต้องเกิดก่อนปีติ)

๖. อธิโมกข์

ศรัทธาที่มีความผ่องใสชัดเจนเกิดขึ้นกับจิตซึ่งกำลังกำหนดวิปัสสนาอยู่ซีอว่า
อธิโมกข์ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างชัดเจน เป็นศรัทธาที่มีพลังมาก ทำให้จิตไม่เบื่อหน่ายหรือ
ท้อแท้ในการกำหนด มีแต่จะผ่องใสขึ้นเรื่อยๆ และถึงแม้ว่าจะไม่ได้กำหนด จิตก็
ยังผ่องใสอยู่เหมือนเดิม จะเป็นด้วยอำนาจของโอภาสหรือญาณเป็นต้นก็ตาม
หรือด้วยอำนาจศรัทธาที่กิดขึ้นในวิปัสสนาจิตก็ตาม ทำให้มีความศรัทธาเชื่อกรรม
ผลของกรรม และคุณของพระรัตนตรัยอย่างลึกซึ้ง เป็นเหตุให้โยคีมีกำลังใจที่จะ
ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทั้งอยากจะชักชวนผู้อื่นให้มาปฏิบัติด้วยพร้อมทั้งยังเกิดความ
เลื่อมใสในพระกัมมัฏฐานาจารย์หรือนักปฏิบัติรายอื่นๆเป็นทวีคูณ

๗. ปัคคทะ

ความเพียรพยายามในการกำหนดนามรูปอย่างสม่ำเสมอ ไม่ตีงไม่หย่อนจน
เกินไป ท่านเรียกว่า ปัคคหะ เวลาที่ปัคคหะนี้เกิดขึ้น จะปรากฎว่าความเพียรนั้น
จะสม่ำเสมอ ไม่มีอาการขึ้นๆลงๆ ดังนั้น โยคีผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องจดจ้องมาก
ก็สามารถที่จะกำหนดได้ตามธรรมชาติของตนทีเดียว

๘. อุปัฏฐานะ

อุปัฏฐานะ หมายถึงสติที่ปรากฎเกิดขึ้นเหมือนกับ ว่านามรูปทั้งหลายที่
เกิดขึ้นนั้นได้แล่นเข้ามาสู่ภายในจิตใจ หรือเหมือนกับว่าจิตดวงที่กำหนดนั่นแหละ
แล่นเข้าไปหานามรูปเหล่านั้น ด้วยอำนาจของสติที่เรียกว่า อุปัฏฐานะ นี้แหละ
ที่สามารถกำหนดอาการของนามรูปทั้งหลายได้แม้จะละเอียดอ่อนเพียงไรก็ตาม
อารมณ์และการกำหนด จะปรากฏเป็นจังหวะเข้ากันได้ดีมาก (ถ้าคิดถึงเรื่องอดีตที่
ผ่านมา อารมณ์นั้นก็จะปรากฎชัดมาก แต่ก็ไม่ควรคิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2024, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. อุเบกขา

วิปัสสนุเปกขาและอาวัพชนุเปกขาทีเกิดขึ้นก่อนวิปัสสนุเปกขา นั้น ท่าน
เรียกว่า อุเบกขา หมายความว่า ก่อนที่จิตอย่างใดอย่างหนึ่งชื่งอายจะเป็นจักขุ
วิญญาณที่เห็นรูป โสตวิญญาณได้ยินเสียง เป็นต้น หรือจิตที่กำทนดอารมณ์
อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นนั้นอาวัชชนจิตซึ่งเป็นจิตที่ไตร่ตรองอารมณ์ก็จะเกิดขึ้นก่อน
อนึ่ง ถ้าอาวัชชนจิตไตร่ตรองดี จิตตวงหลังๆก็จะตีไปด้วย ถ้าไตร่ตรองไม่ดี จิดดวง
หลังๆก็จะไม่ดีไปด้วย แต่สำหรับโยคีบางคนก็ได้ตัดสินใจแล้วว่า จะต้องกำทนด
นามรูปตามที่เกิดตับ แต่บางคนก็กำหนดบ่อยๆ จนเกิดความเคยชินไป เพราะฉะนั้น
เมื่อได้พิจารณานามรูปในขณะเกิดดับตามสภาพความเป็นจริงแล้ว อาวัชชนจิต
ยอมเกิดขึ้นเป็นอันตับแรกแล้วจึงเกิดจิตที่กำหนดรู้ กล่าวคือ วิปัสสนาชวนจิตซึ่ง
จะทำหน้าที่รู้ความเกิด ดับตามที่อาวัชชนจิตได้พิจารณา แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้นผู้ใหม่
ในวิปัสสนาจะต้องให้ความสนใจการกำหนดอารมณ์ที่ควรกำหนดเป็นพิเศษบางครั้ง
อาจพิจารณาไปถูกอารมณ์อื่นก็มีบางครั้งจิตของเราจะรู้สึกคล้ายกับท้อถอยไม่อยาก
ก้าวเข้าไปหาอารมณ์ บางครั้งจะรู้สึกเหมือนกับเฉื่อยชา หนักอึ้ง ไม่อยากเคลื่อนไหว
หรือไม่อยากกำหนดอะไรๆ แต่เมื่อได้อุทยัพพยญาณแล้ว ทุกอย่างก็จะดีไปเอง
จิตที่เคยเชื่องช้าจะดูเหมือนแล่นเข้าใส่อารมณ์เลยทีเดียว ซึ่งอาวัชชนจิตที่เกิดขึ้น
นี้ท่านเรียกว่า อาวัชชนุเปกขา ส่วนวิปัสสนาญาณซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น ต้องจดๆ
จ้องๆเป็นพิเศษ เพียงแต่ให้กำหนดรู้อารมณ์นามรูปตามที่เกิด-ตับนั้น ท่านเรียกว่า
วิปัสสนุเปกขา ไม่จำเป็นต้องใสใจ เพราะอุเบกขาตังกล่าวจะเกิดขึ้นเองโดย
อัตโนมัติ ท่านกล่าวว่า อุเบกขาทั้ง ที่กล่าวมานี้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญวิปัสสนา

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมหาฎีกา ท่านอธิบายองค์ธรรมของอุเบกขานี้ว่าเป็น
ตัตรมัชฌัตตตา ซึ่งเป็นการอธิบายเพื่อให้แตกต่างกับองค์ธรรมของญ
อุปกิเลสนั่นเอง

ส่วนในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ท่านถือเอา สมาธิ เป็นองค์ธรรม
ในปฏิสัมภิทามรรคคัณฐี ท่านถือเอาญาณเป็นองค์ธรรม ซึ่งตรงกับคัมภีร์
วิสุทธิมรรค และยังบอกว่า ถ้าว่ากันโดยกิจแล้ว วิปัสสนุเปกขาจะพิเศษกว่าญาณ
ที่เป็นอุปกิเลส เพราะไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมใดๆ
ข้าพเจ้าเองก็เห็นด้วยกับคำพูดของคัณฐีบท ฉะนั้น จึงถือเอา ญาณ มาเป็น
องค์ธรรมของวิปัสสนุเปกขา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2024, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. นิกันติ

ตัณหาที่เกิดขึ้นในขณะที่วิปัสสนาเห็นนิมิตมีแสงสว่างเป็นต้นนั้นท่านเรียกว่า
นิกันติ ซึ่งเป็นความเพลิดเพลินยินดีในนิมิตดังกล่าวทั้งมีความละเอียดมาก
จนทำให้นึกไม่ถึงว่าเป็นกิเลสโยคีส่วนมากคิดว่าเป็นภาวนารติ(ความยินดีในภาวนา)
จึงทำให้หลงผิดว่าความยินดีนั่นแหละคือคุณธรรมวิเศษ แต่แท้ที่จริงแล้วนิกันดินี้
เป็นตัวอุปกิเลสโดยแท้ ดังนั้น เพียงแต่นิกันติเกิดขึ้น วิปัสสนาก็อาจตกต่ำได้ ยิ่งถ้า
ไปยึดมั่นด้วยตัณหา ทิฏฐิ มานะแล้วก็ยิ่งทำให้วิปัสสนาเสื่อมเร็ว

อุปกิเลสทั้งหลายยกเว้นนิกันติอาจเกิดขึ้นทีละอย่างๆ ในแต่ละขณะของจิต
ดวงหนึ่งๆ หรืออาจเกิดหลายๆอย่าง พร้อมๆกันก็ได้ ดังนั้น พึงทราบว่าอุปกิเลส
ที่เหลือ ๙ อย่าง สามารถเกิดพร้อมกันได้ในขณะเดียวกันทั้งหมด ส่วนนิกันตินั้น
เนื่องจากเป็นสภาวะที่หลงยินดีในอุปกิเลส ๙ อย่างเหล่านั้นจึงเกิดได้ในเฉพาะ
ขณะจิตแต่ละขณะโดยเอกเทศ ดังนั้น ลำดับของอุปกิเลสที่แสดงมานี้มิใช่เป็น
การแสดงตามลำดับการเกิดขึ้นของสภาวธรรม
แต่เป็นการแสดงโดยลำดับเทศนา

ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา อธิบายไว้ว่า :

น วาปี หิ อุปกฺกิเลสา เอกกฺขเณปิ อุปฺปชฺชนฺติ, ปจฺจเวกขณา ปน วิสุํ วิสุํ โหติ
(วิสุทธิ.ฎี.๒/๔๗๗)

จริงอยู่ อุปกิเลสนอกจากนิกันติ แม้ทั้ง ๙ ย่อมเกิดขึ้นได้แม้ในขณะเดียวกัน
ส่วนการพิจารณานั้นแยกกันพิจารณา

(อปีศัพท์ในที่นี้เป็น อวยวสมุจจย รวบรวมส่วนที่ไม่ได้กล่าวถึงโดยตรง เช่น
ปกิเลส แม้ ๘ แม้ " ดังนี้เป็นต้น หมายความว่า อุปกิเลสนี้สามาร
พร้อมกันเท่าไรก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม)

ถ้าบุคคลที่นั่งภาวนาแล้วเห็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ตนยังไม่เคยเห็นมาก่อน เช่น
และปิติเกิดขึ้นในขันธสันดานของตนแล้วเกิดติดใจคิดว่าเป็นคุณธรรมพิเศษ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2024, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


จริงๆ ไม่พยายามที่จะภ
าวนาให้ได้ญาณเบื้องสูงหรือคุณธรรมวิเศษต่อไป เอาแต่
ติดอยู่กับอุปกิเลสเหล่านั้นอยู่แล้วละก็วิปัสลนาของเขาย่อมผิดพลาดคลาดเคลือนได้
และเมื่อเกิดความชอบใจยินดีในสิ่งเหล่านั้นก็จะเป็นปัจจัยแก่ตัณหา มานะ และทิฏฐิ
ซึ่งเรียกว่า คาหะ (ความยึดมัน) โดยจะเกิดขึ้นในอุปกิเลสแต่ละอย่างๆ
นับอุปกิเลสโดยคาทะแล้ว ก็จะได้อุปกิเลส ๓๐ (๑๐x๓ = ๓๐) แต่ถ้านับโดยกาาร
รวมคาทะ ๓ อย่างในแต่ละอุปกิเลส ให้เหลือเป็นคาทะธรรมดา อุปกิเลสก็ยังเป็น
๑๐ เหมือนเดิม ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า

เอตุถ จ โอภาสาทโย อุปกุกิเลสวตุถุตาย อุปกุกิเลสาติ วุตฺตา, น
อกุสลดุตา.
นิกนฺติ ปน อุปกุกิเลโส เจว อุปกุกิเลสวตุถุ จ ทส, คาหวเสน ปน
สมตฺติส โหนฺติ.
(วิสุทธิ ๒/๓๐๙)
อนึ่ง ในบรรดาอุปกิเลส ๑๐
อย่างนี้ ตั้งแต่โอภาสถึงอุเบกขา ท่านเรียกว่า
อุปกิเลส เพราะเป็นที่ตั้งของตัณหา มานะ และทิฏฐิ อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง ไม่ได้
เรียกว่าอุปกิเลส เพราะเป็นอกุศล ส่วนนิกันติเป็นทั้งอุปกิเลสตัวจริง และที่ตั้งแห่ง
อุปกิเลส จริงอยู่ โดยวัตถุแล้ว อุปกิเลสมื ๑๐ อย่าง แต่โดยคาทะ
กล่าวคือตัณหา
มานะ และทิฏฐิ แล้วมี ๓๐

หมายความว่า อุปกิเลสวัตถุ ๕ มีโอภาสเป็นต้น จนถึงอุเบกขา นั้นจะเรียกว่า
อุปกิเลส ได้ก็ต่อเมื่อถูกตัณหา มานะ และทิฏฐิเข้าครอบงำแล้วเท่านั้น เพราะฉะนั้น
จึงไม่ควรเรียกโพชฌงค์มีสติเป็นต้นที่ปรากฏในภังคญาณและสังขารุเปกขาญาณ
ว่าอุปกิเลส และก็ไม่ควรเรียกความสุข และศรัทธาที่เกิดขึ้นโดยคล้อยตามโพชฌงค์
เหล่านั้นว่าอุปกิเลสเช่นกัน

แม้โอภาสที่เกิดขึ้นในขณะแห่งอุทยัพพยญาณของพระอริยะบุคคลซึ่งเพิ่ง
เริ่มต้นปฏิบัติ ก็ไม่ควรเรียกว่าอุปกิเลส

อนึ่ง สำหรับโยคีผู้ที่ได้รับการชี้แนะจากอาจารย์ผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานโดย
ถูกต้องนั้น เวลาที่โอภาส ปีติ ญาณ เป็นต้นเกิดขึ้น ก็จะสามารถตัดสินได้ทันทีว่า
นี้เพียงสิ่งล่อลวงให้จิตเราหลงเท่านั้นหากสนใจแล้วจะเป็นอันตรายต่อวิปัสสนา
เป็นอย่างยิ่ง นี้มีใช่ทางดำเนินที่ถูกต้อง สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสภาวธรรมที่เกิดขึ้น
ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนแต่อย่างใด เป็นธรรมที่บุคคลจะ
ต้องก้ำหนดให้ฟัน อย่าได้หลงใหลเป็นอันขาด เพราะจะไม่ทำให้คุณธรรมวิเศษใด
เกิดขึ้น

ครั้นพิจารณาตัดสินได้อย่างนี้แล้ว ก็จะสามารถกำหนดอาการของนามรูป
ทุกอย่างที่เกิดขึ้นได้ ถ้าสามารถกำหนดได้อย่างนี้โดยต่อเนื่อง ก็จะเห็นความเกิด
ดับของนามรูปได้อย่างชัดเจน และไตรลักษณ์ก็จะปรากฎชัดเจน ที่เป็นเช่นนี้
เพราะอุทยัพพยญาณนั้นได้หลุดพันจากอุปกิเลสแล้วนั่นเอง
อุทยัพพยญาณ จบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร