วันเวลาปัจจุบัน 09 ก.ย. 2024, 11:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2016, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




พระพุทธเจ้า.jpg
พระพุทธเจ้า.jpg [ 8.71 KiB | เปิดดู 10531 ครั้ง ]

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
จากหนังสือปัญหาพยากรณะโชติกะ
ยมกะสรูปัตถนิสสยะ เล่ม ๒
รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะธัมมาจริยะ (อภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังโฆสิตาราม)
พิมพ์ครั้งที่สอง ๕๐๐ ฉบัับ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๐

อายตนยมกะ
อนุสนธิ


เมื่อพระองค์ทรงแสดงขันธยมกะจบแล้ว ทรงแสดงอายตนยมกะต่อไป

ในอายตนยมกะนี้ มีวาระ ๓ อย่าง คือ
ก. ปัณณัติวาระ
ข. ปวัตติวาระ
ค. ปริญญาวาระ

ในวาระ ๓ อย่างนี้ ทรงแสดงปัณณัติวาระก่อน แล้วทรงแสดงปวัตติวาระต่อไปตามลำดับ
ปัณณัติวาระ มี ๒ อย่างคือ
๑. อุทเทส
๒. นิทเทส
พระองค์ทรงแสดงอุทเทสก่อน แล้วทรงแสดงนิทเทสต่อไปตามลำดับ
อุทเทสจะไม่แสดงในที่นี้ เพราะอุทเทสนี้คล้ายๆ จะเป็นสารบาญของนิทเทส

เมื่อพระองค์ทรงแสดงปัณณัติวาระอุทเทสจบแล้ว ทรงแสดงปัณณัติวาระนิทเทสต่อไป

ในนิทเทสนี้ มีวาระ ๔ อย่าง คือ
๑. ปทโสธนวาระ
๒. ปทโสธนมูลจักกวาระ
๓. สุทธายตนวาระ
๔. สุทธายตนมูลจักกวาระ

ในวาระ ๔ อย่างนี้ พระองค์ทรงแสดงปทโสธนวาระก่อน แล้วทรงแสดงปทโสธนมูลจักกวาะต่อไปตามลำดับ
ในปทโสธนวาระนี้ มี ๒ อย่าง คือ
๑. อนุโลม
๒. ปัจจนิก
พระองค์ทรงแสดงอนุโลมก่อน แล้วทรงแสดงปัจจนิกต่อไปตามลำดับ

ในอนุโลมและปัจจนิกนี้มียมกะอย่างละ ๑๒ คือ จักขายตนยมกะ เป็นต้น จนถึง ธัมมายตนยมกะเป็นที่สุด
ยมกะทั้ง ๑๒ นี้ ในยมกะหนึ่งๆ แบ่งเป็น ๒ คือ อนุโลม และปฏิโลม
พระองค์ทรงแสดงอนุโลมก่อน แล้วทรงแสดงปฏิโลมต่อไป

อนุโลมและปฏิโลมแบ่งออกเป็นอย่าละ ๒ คือ ปุจฉา และ วิสัชนา
พระองค์ทรงแสดงปุจฉาก่อน แล้วทรงแสดงวิสัชนาต่อไป

ปุจฉามี ๒ อย่าง คือ สันนิฏฐานบท และ สังสยบท
พระองค์ทรงแสดงสันนิฏฐานบทก่อน แล้วทรงแสดงสังสยบทต่อไป

อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๑
อายตนยมก ปัณณัตติวารเป็นต้น
อรรถกถาอายตนยมก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=38&i=279

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2016, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัณณัติวาระนิทเทส อายตนยมกะ
อนุโลมนัย และ ปัจจนิกนัย


จะขอไม่แสดงรายละเอียดนะคะ เพราะนักศึกษาทุกท่านก็มีตำราอยู่ในมือกันแล้ว ก็เป็นที่ทราบกันแน่นอนแล้วว่า ท่านต้องท่ององค์ธรรม และเข้าใจวิธีการหา เมื่อเห็นคำถามก็หาคำตอบให้เป็น ด้วยการเรียนกันตามปกติจากพระอาจารย์และอาจารย์ของท่านมาแล้ว และถ้ามีเวลาว่างอาจจะมีเพิ่มเติมให้ค่ะ

การที่ทำกระทู้นี้เพื่อให้ท่านได้เข้าใจในประเด็นหลักย่อสุดเพื่อให้จำได้ง่ายๆ เป็นแนวทางในการจำเท่านั้น
แต่ความเข้าใจต่างๆ ท่านจะต้องทำความเข้าใจอย่างละเอียดด้วย ไม่เช่นนั้นท่านก็หาคำตอบไม่ได้และอีกทั้งยังไม่มีพื้นฐานความชำนาญในการตอบ ถึงแม้ท่านจะได้หลักสำคัญแล้วก็จริง ท่านไม่ท่ององค์ธรรม ท่านก็ไม่สามารถเขียนองค์ธรรมได้ และท่านไม่สามารถตอบองค์ธรรมด้วยปากเปล่าได้ สำคัญที่สุดคือต้องเรียนให้ละเอียดด้วยค่ะ

ก่อนอื่นต้องเรียง ให้ถูกต้องตามนี้นะคะ
แล้วท่ององค์ธรรมของทั้งหมดนี้ให้ได้ด้วยค่ะ ทั้งอนุโลมนัย และปัจจนิกนัย(มี น นำหน้า)
- จกฺขุ และ จกฺขายตนํ ( จักขุ จักขายตนะ )
- โสตํ และ โสตายตนํ (โสตะ โสตายตนะ)
- ฆานํ และ ฆานายตนํ ( ฆานะ ฆานายตนะ )
- ชิวฺหา และ ชิวฺหายตนํ( ชิวหา ชิวหายตนะ )
- กาโย และ กายายตนํ ( กายะ กายายตนะ )
- รูปํ และ รูปายตนํ ( รูปะ รูปายตนะ )
- สทฺโท และ สทฺทายตนํ ( สัททะ สัททายตนะ )
- คนฺโธ และ คนฺธายตนํ ( คันธะ คันธายตนะ )
- รโส และ รสายตนํ ( รสะ รสายตนะ )
- โผฏฺฐพฺโพ และ โผฏฺฐพฺพายตนํ ( โผฏฐัพพะ โผฏฐัพพายตนะ )
- มโน และ มนายตนํ ( มนะ มนายตนะ )
- ธมฺโม และ ธมฺมายตนํ ( ธัมมะ ธัมมายตนะ )
- อายตนา ( อายตนะ )

ในปัณณัตติวาระนี้ จะมีปัญหาอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจฉาปัญหา กับ ปริปุณณปัญหา ทั้งสองปัญหาจะมีวิสัชนา ๓ อย่าง (มีคำตอบ ๓ อย่างใน ๒ ปัญหา) คือ
๑. อามนฺตา (ปัจฉาปัญหา)
๒. โดยตรง (ปริปุณณปัญหา)
๓. โดยอ้อม (ปริปุณณปัญหา)

คำปุจฉาที่ในปัณณัติวาระนี้จะ คล้ายๆ กันจนท่านไม่สามารถแยกคำถามออก แม้ว่าท่านจะเรียนจนชำนาญ
แต่เมื่อเรียนเรื่องอื่นด้วยเข้าไปมากๆ จะย้อนมากลับมาจำลำบาก ถ้าไม่มีหลักให้เข้าใจได้ย่อยสุดไว้

หลักสำคัญคือ ให้จำปุจฉา ทั้ง ๔ ปุจฉานี้ให้ได้เป็นต้นแบบ ที่ต้องตอบเป็นปริปุณณปัญหา
แล้วท่านจะสามารถแยกออกว่า ท่านควรตอบในปัจฉาปัญหา ที่ต้องวิสัชนาว่า อามนฺตา ในรูปแบบคำถามที่เหลือค่ะ และจะต้องตอบโดยตรง หรือโดยอ้อม กับคำถามใด ต้นแบบ ๔ ปุจฉานี้คือ

๑.(อนุโลมนัย ) อนุ.ปุ.) จกฺขุ , จกฺขายตนนฺติ? วิ.)โดยตรง ๔(จกฺ โส คนฺ รโส) กับ ๓(กาโย รูปํ ธมฺ)

๒.(ปัจจนิกนัย) ปฏิ.ปุ) จกฺขายตนํ , จกฺขูติ? วิ.)โดยตรง ๔ กับ ๓ (เหมือนข้อ๑)

๓.(ปัจจนิกนัย) อนุ.ปุ.) จกฺขุ , ายตนนฺติ? วิ.) โดยตรง ๑๐ (ยกเว้น น กาโย และ น ธมฺโม)

๔.(อนุโลมนัย) ปฏิ.ปุ.) อายตนา , จกฺขายตนนฺติ? วิ.) โดยอ้อม ทั้งหมด ๑๒


ทำความเข้าใจกับคำอธิบายข้างล่างนี้ :b47: และคำปุจฉาที่นอกจากกฏเกณฑ์เหล่านี้ให้วิสัชนา อามนฺตา

:b47: ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ปุจฉาทั้ง ๔ นี้คือต้นแบบของคำถาม
ข้อ๑. ข้อนี้เป็นอนุโลมนัยและเป็นอนุโลมปุจฉา ในข้อนี้ เราแทนที่คำถามได้ ๗ คู่ คืือ จกฺขุ โสตํ คนฺโธ รโส กาโย รูปํ ธัมโม ...เช่น โสตํ ก็จะได้ปุจฉาว่า..... อนุ.ปุ.) โสตํ , โสตายตนนฺติ?
และคำตอบของ ปริปุณณฯโดยตรง ๔ กับโดยตรง ๓ นั้น แนวคำตอบจะคนละอย่่าง
แนวคำตอบคล้ายกันมี ๔ คือโดยตรง๔ ...และกับโดยตรง ๓ แนวคำตอบก็คล้ายกันมี๓
:b53: รูปแบบปุจฉาข้อ ๑ ถ้าไม่ใช่ ๗ คู่นี้ให้วิสัชนาว่า อามนฺตา เช่น อนุ.ปุ.) ฆานํ, ฆานายตนนฺติ? วิ.) อามนฺตา เพราะทั้ง ฆานํ, ฆานายตนํ มีองค์ธรรมคือ ฆานปสาท ...ดังนั้น ๕ คู่ที่เหลือจึงต้องวิสัชนาว่า อามนฺตา เพราะว่ามีองค์ธรรมเดียวกันนั่นเอง

ข้อ๒. ข้อนี้เป็นปัจจนิกนัยและเป็นปฏิโลมปุจฉา ในปุจฉานี้เหมือนสลับคำปุจฉาข้อ๑ แล้วใส่ น (อ่านว่า นะ) ข้างหน้า กติกาก็เหมือนกันอีก คือ ปริปุณณฯโดยตรง ๔ กับ ๓
วิธี่จำง่ายๆ คือจำคำปุจฉาข้อ๑.ให้ได้คล่องๆ ก่อน แล้วจับมาสลับที่กัน เติม น ข้างหน้าก็จะเป็นข้อ ๒

:b48: ข้อสอบส่วนมากจะออกใน ข้อ ๑ และ ๒

ข้อ๓. ข้อนี้เป็นปัจจนิกนัยและเป็นอนุโลมปุจฉา ก็เปลี่ยนส่วนหน้าของคำถามข้อจากจักขุ เปลี่ยนไปได้ ๑๐ ยกเว้น ๒ คือ กาโย กับ ธมฺโม
เช่น อนุ.ปุ.) น โสตํ, นายตนนฺติ?
:b53: อย่าลืมจำให้แม่นด้วยว่า ตัวที่ยกเว้น คือ น กาโย กับ น ธมฺโม ให้วิสัชนาว่า อามนฺตา
เช่น ปฏิ.ปุ.) น กาโย, นายตนนฺติ? วิ.) อามนฺตา
อายตนา เมื่อเป็นปัจจนิกนัย ก็เติม นะ ข้างหน้า อายตนา ก็จะเป็น นายตนา

ข้อ๔. ข้อนี้เป็นอนุโลมนัยและเป็นปฏิโลมปุจฉา ที่สำคัญคำว่านั้น อายตนา ในคำถามท่อนแรกจะยืนพื้นไม่เปลี่ยนในทุกคำถาม ตัวที่เปลี่ยนได้ในคำถามนี้ คือ จักขายตนะ คำถามท่อนสองนี้จะเปลี่ยนไปได้ทั้ง ๑๒ อายตนะทั้งหมด คือ จักขายตนะ ถึง ธัมมายตนะ เราก็เอาอายตนะอื่นมาแทนจักขายตนะได้ทั้งหมด เช่น
ปฏิ.ปุ.) อายตนา, โสตายตนนฺติ?
เป็นรูปแบบคำถามเดียวที่ตอบแบบปริปุณณฯโดยอ้อม คล้ายๆ กับคำวิสัชนาในมหาตรีที่ถามเกี่ยวกับขันธ์๕


:b47: วิธีจำคำถามทั้ง ๔ นี้ง่ายๆ คือ
หัดเขียนคำถามทั้ง ๔ นี้ไว้ในกระดาษให้คล่องๆ ไว้บ่อยๆ จนถึงวันสอบ

ในคำปุจฉานั้น อย่าปนเปตำแหน่งกัน
ถ้าเป็นจักขุ ก็ต้องไปในทำนองเดียวกันคือ โสตะ ฆานะ ชิวหา จนถึง ธัมมะ
ถ้าเป็นจักขายตนะ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันคือ โสตายตนะ ฆานายตนะ จนถึง ธัมมายตนะ

รับรองว่า ถ้าไม่สามารถแยกคำถามได้ เมื่อเข้าห้องสอบแล้วจะตาลาย ไม่สามารถตอบคำถามได้
เพราะคำปุจฉาสั้นๆ ก็จริงแต่จะคล้ายกันมากๆ จนสับสน แยกไม่ออก เพราะคำถามจะไม่ได้มีแค่ ๔ รูปแบบนี้เท่านั้น แต่จะมีคำถามรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย แต่ ๔ คำถามต้นแบบนี้จะทำให้สามารถคัดกรองได้ว่า เราควรตอบคำถามด้วยวิธีใด ถ้าไม่ฝึกจากคำถามง่ายๆ ที่ควรจะได้คะแนนก็จะกลายเป็นคำถามที่ยาก เมื่อเข้าห้องสอบให้เขียน ๔ คำถามนี้ไว้เทียบเคียงเลย ถ้าจำได้แม่นยำก็รับรองได้ว่าไม่พลาดค่ะ

ทดลองหาคำตอบดูนะคะ ถ้ามีคำถามนี้มา
ปฏิโลมปุจฉา) น รูปายตนํ, น รูปนฺติ? ปุจฉานี้ตรงตามหลักการจำที่ให้ไว้คือข้อ ๒. วิสัชนา โดยตรง
แน่ใจได้เลยว่าถ้าวิสัชนาว่า อามนฺตา ไปจะผิดแน่นอน
แต่ถ้าเป็นปฏิโลมปุจฉา) น ชิวหายตนํ , น ชิวหาติ? แบบต้องนี้วิสัชนาว่า อามนฺตา ใช่

ปุจฉา) จกฺขายตนํ, จกฺขูติ? ปุจฉานี้ วิสัชนาว่า อามนฺตา
ถ้าคนไม่แม่นนะจะรู้สึกว่าปุจฉานี้คล้ายๆ ข้อ.๑ ก็คล้าย และข้อ.๒ ก็คล้ายๆ ถ้าไปวิสัชนาโดยตรง ผิดแน่
ลองเช็ดดูกับปุจฉาต้นแบบทั้ง ๔ ข้อดูได้ว่า ไม่ลงฟอร์มเดียวกับข้อใดเลย ต้องวิสัชนาว่า อามนฺตา

ปุจฉา) คนฺโธ, คนฺธายตนนฺติ? (ปุจฉานี้ตรงตามหลักการจำข้อ ๑.นี้ วิสัชนา โดยตรง)
แปล ธรรมที่ชื่อว่าคันธะ, ชื่อว่าคันธายตนะใช่ไหม?
วิสัชนา) สีลคนฺโธ สมาธิคนฺโธ ปญฺญาคนฺโธ คนฺโธ น คนฺธายตนํ,
คนฺธายตนํ คนฺโธ เจว คนฺธายตนญฺจ.
แปล สีลคันธะ สมาธิคันธะ ปัญญาคันธะ ชื่อว่าคันธะ แต่ไม่ชื่อว่าคันธายตนะ,
คันธายตนะชื่อว่าคันธะก็ใช่ ชื่อว่าคันธายตนะก็ใช่

ปุจฉา) น คนฺโธ, น คนฺธายตนนฺติ?
แปล ธรรมที่ไม่ชื่อว่าคันธะ, ไม่ชื่อคันธายตนะใช่ไหม?
วิสัชนา อามนฺตา ใช่

ทำไมเราจึงต้องเรียนคัมภีร์ เพราะว่าเวลาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมนั้น จะทรงแสดงธรรมในคัมภีร์และแสดงแบบไม่ได้มาแจกแจงแบบที่เราเรียน ซึ่งมีเนื้อความลึกซึ้ง หากเราเรียนแค่ชั้นปริจเฉท ความเข้าใจของเราจะไม่กว้างขวาง และไม่สามารถฟังธรรมในคัมภีร์นั้นได้ เรียนปริจเฉทจบแล้วจึงต้องเรียนคัมภีร์ต่อ เพื่อเก็บบันทึกการเรียนนี้ไว้ในขันธสันดานของเรา จิตของเราจะบันทึกไว้ไม่หายไปไหนนะคะ แม้ว่าบางครั้งจะลืม แต่จิตได้บันทึกไว้แล้วค่ะ เมื่อใดที่บารมีเต็มเปี่ยมแล้วและได้มีโอกาสได้ฟังธรรม เมื่อนั้นก็ถึงวาระของเราที่จะได้เข้าถึงจุดหมายที่เราหวังไว้ แต่เราก็จะสามารถเข้าถึงเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่การสะสมมาของเราด้วยค่ะ

:b4: ลองฝึกทำแบบฝึกหัดกัน เอามาจากข้อสอบเก่าค่ะ

๑. จงวิสัชนา พร้อมคำแปล และแสดงองค์ธรรมในปุจฉาดังต่อไปนี้ (ไม่ต้องจำแนกโกฏฐาสะ)
ก. กาโย , กายายตนนฺติ?
ข. กายายตนํ , กาโยติ?
ค. น กายายตนํ , น กาโยติ?

๒. จงวิสัชนา คำแปล พร้อมทั้งแสดงองค์ธรรม ในข้อปุจฉาดังต่อไปนี้ (ไม่ต้องจำแนกโกฏฐาสะ)
ก. คนฺโธ , คนฺธายตนนฺติ?
ข. น ธมฺมายตนํ , น ธมฺโมติ?
ค. น รูปายตนํ , น รูปนฺติ?

๓. จงวิสัชนา พร้อมคำแปล และแสดงองค์ธรรมในปุจฉาดังต่อไปนี้ (ไม่ต้องจำแนกโกฏฐาสะ)
ก. จกฺขุ , จกฺขายตนนฺติ?
ข. น ชิวหายตนํ , น ชิวหาติ?
ค. น จกฺขุ , นายตนนฺติ?

๔. จงแสดงองค์ธรรม
ก. จกฺขุ
ข. กาโย
ค. คนฺโธ
ง. น มโน
จ. น ธมฺโม


:b8: :b8: :b8:

:b53: ดูรายละเอียด สำหรับติวสอบกระทู้นี้หน้า ๒ ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

อายตนยมกะ ปวัตติวาระ โอกาสวาระ


โอกาสวาระ ถ้าไม่เข้าใจ เข้าไปทบทวนในกระทู้ของมหาตรีได้ในห้องพระอภิธรรมนี้
การหาปัจจนิก ยังคงใช้แนวคิดการหาแบบเดิม ซึ่งถ้าใครยังงงๆ อยู่ ลองคิดตามแล้วจะเข้าใจค่ะ
ในชั้นมหาตรี เป็นเรื่อง ขันธ์ มีองค์ธรรม [26] [1] [4] ในชั้นมหาโทก็ยังใช้ได้อยู่ค่ะ
ในชั้นมหาโท เป็นเรื่อง อายตนะ มันจะมีปัญจโวการภูมิ 26 ที่ต้องแยกกันออกมา
เป็น กามภูมิ 11 กับ รูปภูมิ 15 (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) จะเป็นอีกชุดหนึ่งเพิ่มเติมเข้ามา
และมีการรวม รูปภูมิทั้งหมดไม่แยก คือใช้เต็ม ได้แก่ รูปภูมิ 16 ค่ะ

จะใช้ [11] [15] [1] [4] หาก็ต่อเมื่อ มี ฆานา ชิวหา กายา คันธา รสา โผฏ เข้ามาในปุจฉา
เพราะ อายตนะพวกนี้มีได้ในกามภูมิ๑๑ เท่านั้น

เพราะฉะนั้นจะมีข้อมูล ๓ ชุด คือ
๑. ใช้ [26] [1] [4] ............ปัญจะ ๒๖ , อสัญ ๑ , อรูป ๔
๒. ใช้ [11] [15] [1] [4]......กาม ๑๑ , รูป ๑๕(เว้นอสัญ๑) , อสัญ ๑ , อรูป ๔
๓. ใช้ [11] [16] [4] ...........กาม ๑๑ , รูป ๑๖ , อรูป ๔

( รูปภูมิ ๑๖ คือ รูป ๑๕ + อสัญ ๑ )


กาม 11..... อายตนะทั้ง ๑๑ เกิดได้
รูป 15 .......อายตนะ ๕ คือ จักขุ โสตะ รูปา มนา ธัมมา เกิดได้
อสัญ 1.......อายตนะ ๒ คือ รูปา ธัมมา เกิดได้
อรูป 4........อายตนะ ๒ คือ มนา ธัมมา เกิดได้

อายตนะที่เกิดได้ ดับได้ เฉพาะแต่ในกามภูมิ 11 มี ๖ อายตนะ คือ ฆา ชิว กาย คัน รสา โผฏ
และทั้ง ๖ อายตนะนี้ เกิดไม่ได้ใน ดับไม่ได้ ในรูปภูมิ 16 และ อรูปภูมิ 4

พระบาลีในคำวิสัชนา จะลงสระเอ ยังจำกันได้นะคะ ชั้นนี้มีตอบแยกปัญจะ เป็น
กามาวจเร กับ รูปาวจเร

ปวัตติวาระ อุ. นิ. อุ.+นิ. โอกาสวาระ(กาล ๑-๖)
อนุปุ) ยตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตตฺถ ฆานายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?

[11] / /
[15] / X

วิสัชนา) รูปาวจเร ตตฺถ จกฺขายตนํ(/) อุปฺปชฺชติ โน จ ตตฺถ ฆานายตนํ(X) อุปฺปชฺชติ ,
กามาวจเร ตตฺถ จกฺขายตนญฺจ(/) อุปฺปชฺชติ ฆานายตนญฺจ(/) อุปฺปชฺชติ.

ในอนุปุ. องค์ธรรมของสัน. ได้แก่ รูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ๑)
และ กามภูมิ ๑๑
องค์ธรรมของสัง. ได้แก่ กามภูมิ ๑๑ เท่านั้น (หรือ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น)

:b53: อธิบาย จักขุ โสตา เกิดได้ในปัญจโวการภูม ๒๖ (ในอสัญ อรูป เกิดไม่ได้ ไม่ต้องนำมาตั้ง)
ใช้ปัญจ. ๒๖ แยก เป็นกามภูมิ ๑๑ กับ รูปภูมิ ๑๕ ในการหาคำตอบเท่านั้น เพราะสังสยบทถามฆานา
และ ฆานา เกิดไม่ได้ในรูปภูมิ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อนุปุ) ยตฺถ ฆานายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตตฺถ ชิวหายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
ฆานายตนะไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด , ชิวหายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้นใช่ไหม?

[16] / /
[4] / /

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

ในอนุปุ. องค์ธรรมของสัน.และ สัง. ได้แก่ รูปภูมิ ๑๖ อรูปภูมิ ๔

:b53: เอาสันนิฏฐานบทมาเป็นหลักก่อนเลย ไม่ฆานะ คือ ปฏิเสธฆานะ .......ไม่ฆานะ =ไม่เอาภูมิที่มีฆานะเกิด ส่วนภูมิที่เหลือก็เอามาเป็นองค์ธรรมให้หมด
คือ รูปภูมิ16 และ อรูปภูมิ4
***** นี่คือวิธีคิดปัจจนิกที่ง่ายที่สุด และใช้ได้กับทุกกาลด้วยค่ะ*****
ปุจฉานี้ ทั้งฆานาและชิวหา เกิดไม่ได้ในรูปภูมิ16 และอรูปภูมิ4
ปุจฉานี้เป็นปัจจนิก

๑ ปุจฉา คือ ๑ พระธรรมขันธ์
๑ วิสัชนา คือ ๑ พระธรรมขันธ์

ในแต่ละคู่ปุจฉา วิสัชนา ก็คือ ๒ พระธรรมขันธ์

:b53: ถ้าไม่เข้าใจวิธีการหาปัจจนิก ให้ไปอ่านกระทู้ของชั้นมหาตรี โอกาสวาระ กาล๑-๖ได้ค่ะ
viewtopic.php?f=66&t=51902

:b10: มีคำถามให้ฝึกคิดกันค่ะ

๑. ภูมิที่จักขายตนะกำลังเกิด แต่ชิวหายตนะไม่ใช่กำลังเกิด มีกี่ภูมิ คือภูมิอะไรบ้าง?
๒. ภูมิที่มีรูปายตนะเคยเกิด แต่คันธายตนะจักไม่เกิด มีกี่ภูมิ คือภูมิอะไรบ้าง?
๓. ภูมิที่มนายตนะก็เคยเกิด ธัมมายตนะจักดับ มี่กี่ภูมิ คือภูมิอะไรบ้าง?
๔. ภูมิที่มนายตนะไม่เคยเกิด แต่ธัมมายตนะจักดับ มีกี่ภูมิ คือภูมิอะไรบ้าง?
๕. ภูมิที่จักขายตนะกำลังเกิด โสตายตนะเคยเกิด มีกี่ภูมิ คือภูมิอะไรบ้าง?
๖. ภูมิที่มีธัมมายตนะไม่ใช่กำลังเกิด มนายตนะไม่ใช่กำลังเกิด มีกี่ภูมิ คือภูมิอะไรบ้าง?

อ่านคำถามดีๆ นะคะ สำหรับมือใหม่หัดตอบ เพราะมีกับดักค่ะ
เป็นคำถามให้หัดคิด แต่ปุจฉา-วิสัชนา ที่เป็นบาลี คำแปลไทยและองค์ธรรม จะต้องตอบยาวกว่านี้เยอะ ฝึกตอบกันให้คล่องไว้บ้างแต่เนิ่นๆ นะคะ

ปริญญาวาระ
กาล ๑-๖

กลับไปทำความเข้าใจที่กระทู้มหาตรี หลักการคิดเดียวกันค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2016, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

:b8: แนวทางการคิดหาคำตอบนี้หลักการคิดใหญ่ๆ ได้นำมาจากพระอาจารย์ที่สอน
หากเกิดข้อผิดพลาดประการใดอย่างไร เกิดจากตัวข้าพเจ้าเองที่ไม่รอบครอบกระทำผิดพลาด
ขอกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

อายตนยมกะ ปวัตติวาระ
ปัจจุบันวาระ (กาล ๑)


ปุคคลวาระ (ละ) และ ปุคคโลกาสวาระ (โล)

อุปปาทวาระ ปัจจุบันวาระ อนุโลมนัย (อุ กาล ๑ นุ)
ปุคคลวาระ (ละ) จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส )

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จักขายตนะ กำลังเกิด( / ) ------------โสตายนตะไม่ใช่กำลังเกิด( X ) = บกพร่อง 1 2 3
-"-------------------------------------------โสตายตนะกำลังเกิด( / ) = ปัญจโวการภูมิ
- ปัญจโวการภูมิ

หรือ

จักขายตนะ กำลังเกิด( / )
------------โสตายนตะไม่ใช่กำลังเกิด( X ) = บกพร่อง 1 2 3
-"-------------------------------------------โสตายตนะกำลังเกิด( / ) = กาม , รูป
- บกพร่อง 1 2 3 ในการต่ำ ๖
- บุคคลปกติ กามภูมิ+รูปภูมิ



วัสัชนา) จกฺขุกานํ โสตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ โสตายตนํ อุปฺปชฺชติ,
จกฺขุกานํ โสตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ โสตายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ.

บุคคลทีี่มีจักขุเกิดได้ โสตะเกิดไม่ได้เหล่านั้นกำลังเกิด จักขายตนะกำลังเกิด แต่โสตายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น
บุคคลที่มีจักขุและโสตะเกิดได้เหล่านั้นกำลังเกิด จักขายตนะก็กำลังเกิด โสตายตนะก็กำลังเกิด

จะขอใช้เครื่องหมายแทนการยอมรับและปฏิเสธในแต่ละปุจฉา
/ เครื่องหมาย ถูก เป็นการยอมรับว่าใช่ ในปุจฉานี้ คือ กำลังเกิด
X เครื่องหมาย ผิด หมายถึงปฏิเสธว่าไม่ใช่ ในปุจฉานี้ คือ ไม่ใช่กำลังเกิด

:b53: อธิบาย
อายตนะ 12 คือ
1.จักขายตนะ เป็นมูละได้อย่างเดียว จับคู่กับ โสตายตนะ - ธัมมายตนมูลี ได้ทั้งหมด 10 คู่
2. โสตายตนะ เป็นมูละ จับคู่กับ ฆานยตนะ - ธัมมายตนมูลี ได้ 9 คู่
3. ฆานายตนะ (ได้ 8 คู่)
4. ชิวหายตนะ (ได้ 7 คู่)
5. กายายตนะ (6)
6. รูปายตนะ (5)
7. สัททายตนะ ไม่นำมาแสดงเพราะไม่เกิดไม่ดับในปฏิสนธิกาลและจุติกาล
8. คันธายตนะ (4)
9. รสายตนะ (3)
10. โผฏฐัพพายตนะ (2)
11. มนายตนะ (ได้ 1คู่)
12. ธัมมายตนะ เป็นมูลีได้อย่างเดียว ได้ 10 คู่

กามภูมิ ๑๑.... อายตนะเกิดได้ 11 (เว้นสัททายตนะ)
รูปภูมิ ๑๕ ..... อายตนะเกิดได้ 5 คือ จักขายตนะ โสตายตนะ รูปายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ
อรูปภูมิ ๔ ......อายตนะเกิดได้ 2 คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ
อสัญญสัตตภูมิ ๑.... อายตนะเกิดได้ 2 คือ รูปายตนะ ธัมมายตนะ

ปุจฉาถามว่า...จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?
วิธีทำคือจะต้องหา จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด หาองค์ธรรมของส่วนนี้มาให้หมดก่อน
องค์ธรรมก็จะได้แก่ จักขายตนะกำลังเกิดใน ปัญจโวการภูมิ ได้แก่ รายละเอียดดังนี้ที่ต้องนำไปคิด
- บกพร่องกลุ่ม 1 2 3 ได้บกพร่องทั้ง ๓ กลุ่มครบ
- บุคคลปกติที่กำลังเกิดในกามภูมิ
- บุคคลที่กำลังเกิดในรูปภูมิ

บกพร่อง
บกพร่อง 1 ได้แก่ ทุคติอเหตุกบุคคล๑ บกพร่อง จักขายตนะ โสตายตนะ ( อบายภูมิ ๔)

บกพร่อง 2 ได้แก่ ทุคติอเหตุกบุคคล๑ สุคติอเหตุกบุคคล๑ บกพร่อง จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ (กามภูมิเบื้องต่ำ ๕ เว้นนิรยภูมิ)

บกพร่อง 3 ได้แก่ ทุคติอเหตุกบุคคล๑ สุคติอเหตุกบุคคล๑ บกพร่อง จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ (กามภูมิเบื้องต่ำ ๕ เว้นนิรยภูมิ)
(รวมเป็นกามภูมิ เบื้องต่ำ ๖ มี อบายภูมิ ๔ มนุษย์ ๑ จาตุม.๑)

ขอแทนจักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ ย่อๆ ว่า ตา หู จมูก ลิ้น
บกพร่องกลุ่มที่ 1 นั้น ยกตัวอย่างให้เข้าใจตรงบกพร่อง 1 จะมีบุคคล ๓ คน
คนแรกตาบกพร่อง หูดี บกพร่อง ๑ อย่าง
คนที่สองตาดี หูบกพร่อง บกพร่อง ๑ อย่าง
คนที่สามตาบกพร่อง หูบกพร่อง บกพร่องครบทั้ง ๒ อย่าง
:b51: อย่าลืมเด็ดขาดว่า บกพร่องตา หูนั้น..... คนที่ตาดีก็มี และคนที่หูดีก็มี

บกพร่องกลุ่มที่ 2 และ 3 ก็จะคิดทำนองเดียวกันกับที่นำมากระจายให้ดูในบกพร่อง 1
ทั้งสามกลุ่มคือ บกพร่อง 1 2 3 นี้มีบกพร่องอย่างน้อยที่สุดคือ ๑ อย่าง
เพราะฉะนั้น บกพร่องกลุ่มที่ 2 ก็จะมีบกพร่องเต็มที่ ๓ อายตนะในคนๆเดียวคือ จักขุ โสตา ฆานา
ส่วนบกพร่องกลุ่มที่ 3 ก็จะมีบกพร่องเต็มที่ ๔ อายตนะในคนๆเดียว คือ จักขุ โสตา ฆานา ชิวหา
ดังนั้นในบกพร่องทั้ง ๓ กลุ่มนี้จะต้องมีคนหนึ่งที่มีอายตนะดีอย่างน้อย ๑ อายตนะ ดีอายตนะเดียวในหนึ่งคน
ตาดีอย่างเดียว หูดีอย่างเดียว จมูกดีอย่างเดียว ลิ้นดีอย่างเดียว แต่มีอายตนะอื่นบกพร่อง เช่น
บกพร่องกลุ่มที่ 2 ยกคนมาหนึ่งคน มี หูดีอย่างเดียว แต่มี ตาบกพร่อง จมูกบกพร่อง
หรือ มีดี ๒ อายตนะในคนบกพร่องกลุ่มที่ 2 เช่น ตาดี หูดี แต่จมูกบกพร่อง
หรือ มีดี ๒ อายตนะในคนบกพร่องกลุ่มที่ 3 เช่น
บกพร่องกลุ่มที่ 3 ยกมาหนึ่งคน มี ตาดี หูดีแต่มีจมูกบกพร่อง ลิ้นบกพร่อง เหล่านี้เป็นต้น

- ถามว่า ในบกพร่องทั้ง ๓ กลุ่มนี้ มีคนที่ฆานายตนะ คือฆานปสาทดีมีได้มั้ย ในทุกกลุ่ม
ก็ต้องตอบว่า มีฆานปสาทดีได้ในบกพร่องทั้ง ๓ กลุ่ม
คือเจาะจงถามดีแค่ตัวฆานปสาท แต่อายตนะอื่นไม่ได้ถาม ดังนั้นอายตนะอื่นก็อาจจะบกพร่องหมดหรือดีหมดก็ได้
- แล้วถ้าถามว่า ฆานปสาทบกพร่อง ทั้ง ๓ กลุ่มได้มั้ย
ก็ต้องตอบว่า ได้ก็มี ไม่ได้ก็มี
ฆานปสาทบกพร่องได้ มีบกพร่องกลุ่ม 2 กับกลุ่ม 3
ส่วนบกพร่องกลุ่มที่ 1 นั้น ฆานปสาทบกพร่องไม่ได้เพราะกลุ่มที่ 1 นี้บกพร่องแค่ จักขุปสาท กับ โสตปสาท แต่ฆานปสาทกลุ่มนี้ไม่ได้บกพร่อง

ดังนั้นเมื่อถามถึง ฆานปสาทเป็นมูละ และหาคนที่ฆานปสาทบกพร่อง พวกบกพร่องกลุ่มที่ 1 จะไม่มาเกี่ยวแล้ว

:b53: ข้อควรจำ ถ้าหาบุคคลที่ ปสาทตาบกพร่อง หรือ ปสาทหูบกพร่อง ก็จะได้บุคคลทั้ง ๓ กลุ่มทั้งหมด คือ กลุ่ม 1 , 2 , 3
ถ้าหาบุคคลที่ ฆานปสาทบกพร่อง ก็จะได้ ๒ กลุ่มคือ กลุ่มที่ 2 กับ 3
ถ้าหาบุคคลที่ ชิวหาปสาทบกพร่อง ก็จะได้เพียงกลุ่มเดียวคือ กลุ่มที่ 3

บกพร่องนั้น พิการแต่กำเนิด คือตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เช่น ถึงกำหนดเวลาที่ปสาทตาต้องเกิดขึ้น
แต่ไม่มีปสาทตาเกิดขึ้น คลอดออกมา หมอที่ไหนก็รักษาให้เห็นไม่ได้ ในอายตนะอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกัน
บกพร่องโดยกรรม จะเป็น พวกกลุ่มบกพร่อง 1 2 3
บกพร่องโดยภูมิ ก็เพราะเป็นภูมิที่ไม่มีอายตนะนั้น เช่น รูปภูมิ จะไม่มีฆานปสาท เป็นต้น

แล้วคนที่ปกติดีไม่บกพร่องอะไรเลยล่ะคือใคร คนที่ปกติดีไม่บกพร่องอะไรเลยจัดในกลุ่ม
ทวิเหตุกบุคคล 1 , ติเหตุกบุคคล 1 และ อริยผลบุคคล 4
บุคคลมี 8 บุคคล [ปุถุชน4.ผลบุคคล4] คือ ทุ.๑ , สุ.๑ , ทวิ.๑ , ติ.๑ และ อริยผล.4
กำลังเกิด ใน ๓๑ ภูมิ ได้ 4.3(เว้นพระอร.๑) , ส่วนกำลังตาย ใน ๓๑ ภูมิ ได้ 4.4
กำลังเกิด ในกามภูมิ๑๑ ได้ 4.ผลบุคคลเบื้องต่ำ2 , ส่วนกำลังตาย ในกามภูมิ๑๑ ได้ 4.4


จากปุจฉา-วิสัชนา ด้านบน

จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

ให้ตั้งตามนี้ไว้ก่อนเลยค่ะ
จัก / ----------------โส X
-"--------------------โส /

(เขียนเองที่บ้านใส่กระดาษ ใช้ < ปีกกาใหญ่แบบนี้เลยนะคะ แต่ตรงนี้พิมพ์ไม่สะดวกค่ะ
จัก /< แล้วปลายปีกกาบนใส่ โส X , ล่างใส่โส / )

------------------------------------------------------------------------------------------
กามภูมิ ๑๑.... อายตนะเกิดได้ 11 (เว้นสัททายตนะ)
รูปภูมิ ๑๕ ..... อายตนะเกิดได้ 5 คือ จักขายตนะ โสตายตนะ รูปายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ
อรูปภูมิ ๔ ......อายตนะเกิดได้ 2 คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ
อสัญญสัตตภูมิ ๑.... อายตนะเกิดได้ 2 คือ รูปายตนะ ธัมมายตนะ

บกพร่อง 1 2 3 บกพร่องโดยกรรม มีได้ในกามภูมิเบื้องต่ำ ๖ เท่านั้นคือ อบาย๔ มนุษ.๑ จาตุม.๑
------------------------------------------------------------------------------------------

สันนิฏฐานบทถามว่า จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด ถามบุคคลนะคะ
(ในกาล ๑ นั้น ปุคคโลกาสวาระ จะคิดเหมือน ปุคคลวาระ ทุกประการ)

เอาบุคคลเป็นใหญ่ในการคิด บุคคลที่จักขุเกิดได้ ก็ทุกบุคคลที่กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ 26
พวกบกพร่อง 1 2 3 ก็มีคนที่ตาไม่บกพร่องทั้งสามกลุ่มนี้ ก็รวมอยู่ในกามภูมินี้ด้วย
จะใส่เพียง ปัญจ. หรือ กาม, รูป .... หรือ กระจายออกมาหมดก็ได้ คือ บกพร่อง1 2 3, กาม ,รูป
ถ้าใส่ ปัญจะ คำเดียว จะต้องนึกให้ออกว่า ในปัญจโวการภูมินี้ มีบุคคลใดกำลังเกิดได้บ้าง และจะต้องนำบุคคลเหล่านั้นไปเป็นองค์ธรรมของทางด้านขวามือให้ครบทั้ง / และ X

จัก / ----------------โส X
-"--------------------โส /
- ปัญจะ

หรือ
...จะใส่ให้ละเอียดลงไปก็ได้ว่ามีใครกำลังเกิด
-บกพร่อง 1 2 3
-กาม
-รูป
จะขออธิบายต่อไปตรงนี้ แบบใส่รายละเอียด[/b]

----------------------------------------------------
สังสยบทถามว่า โสตายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

ต่อไป ก็นำ
-บกพร่อง 1 2 3
-กาม
-รูป
มาหาทางด้านขวามือ ที่เป็น --------------โส X
เราต้องการหาคนที่มีโสตายตนะบกพร่อง ในกลุ่ม 1 2 3 นี้ก่อน
บกพร่อง 1 2 3 ทั้งสามกลุ่มนี้ มีคนที่โสตายตนะบกพร่องได้ทั้งสามกลุ่มหรือไม่ ก็ต้องตอบว่ามี
ก็ใส่ 1 2 3 ไว้
ในกามภูมิ ตรงนี้เราเอาบกพร่องแยกออกมาต่างหากแล้ว ในกามภูมิจึงไม่มีพวกโสตายตนะบกพร่องแล้ว
ในรูปภูมิเป็นภูมิที่ไม่มีบุคคลที่โสตายตนะบกพร่อง
ทั้งกามภูมิและรูปภูมิจึงไม่ต้องนำมาใส่ จึงได้มาเป็นขั้นตอนข้างล่างนี้ค่ะ

จัก / ----------------โส X บกพร่อง 1 2 3
-"--------------------โส /
-บกพร่อง 1 2 3
-กาม
-รูป


-------------------------------------------------------

ต่อไป ก็นำ
-บกพร่อง 1 2 3 ถูกหยิบไปเป็นองค์ธรรมแล้ว จึงเหลือองค์ธรรมแค่ กามกับรูป (=ปัญจะ)
-กาม
-รูป
มาหาทางด้านขวามือ ที่เป็น -------------------โส /
ตรงนี้ เราตั้งไว้คือ โสตายตนะดี
เพราะฉะนั้น ก็คือ กาม และ รูป เพราะเราแยกพวกบกพร่องออกไปแล้ว จึงใส่ กาม รูป

จัก / ----------------โส X บกพร่อง 1 2 3
-"--------------------โส / กาม รูป
-บกพร่อง 1 2 3
-กาม
-รูป


จบการหาบุคคล จะเขียนองค์ธรรมได้ดังต่อไปนี้
เวลาเขียนองค์ธรรมไม่ต้องเขียน (/)(X)(//) ลงไปในเนื้อหานะคะ
ในที่นี้ใส่กำกับไว้ให้ได้เข้าใจค่ะ
ผู้ที่จะตายในระหว่าง คือ เด็กที่ตายในท้องแม่ พูดง่ายๆ คือ แท้ง

:b53: หรือใครเข้าใจดีแล้วควรจะฝึกเขียนแบบสั้นๆ แบบนี้ได้เลยนะคะ
จัก / ----------------โส X = บกพร่อง 1 2 3
-"--------------------โส / =ปัญจะ
- ปัญจะ


-----------------------------------------------------
อุปปาทวาระ ปัจจุบันวาระ อนุโลมนัย (กาล ๑ นุ)
ปุคคลวาระ (ละ) จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส )

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จัก / ----------------โส X =บกพร่อง 1 2 3
-"--------------------โส / =กาม รูป
-บกพร่อง 1 2 3
-กาม
-รูป


วัสัชนา) จกฺขุกานํ โสตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ โสตายตนํ อุปฺปชฺชติ,
จกฺขุกานํ โสตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ โสตายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ.

บุคคลทีี่มีจักขุเกิดได้ โสตะเกิดไม่ได้เหล่านั้นกำลังเกิด จักขายตนะกำลังเกิด แต่โสตายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น
บุคคลที่มีจักขุและโสตะเกิดได้เหล่านั้นกำลังเกิด จักขายตนะก็กำลังเกิด โสตายตนะก็กำลังเกิด

ในอนุโลมปุจฉา
องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันมีจักขุเกิดได้(/) โสตะเกิดไม่ได้(X) ซึ่งกำลังเกิดในอบายภูมิ ๔
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นสังเสทชะ และคัพภเสยยกะ อันมีจักขุเกิดได้(/) โสตะเกิดไม่ได้(X) ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นคัพภเสยกะผู้จะตายในระหว่างจักขุเกิดแล้ว(/)
แต่โสตะยังไม่เกิด(X) ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓
และ
- ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคล ๓ อันมีจักขุและโสตะเกิดได้( / / ) ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการปฏิสนธิจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔

องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:
กัมมชกลาป ๗ หัก โสตะ เหลือ
ปัญจโวการ = กามภูมิ + รูปภูมิ = บกพร่อง 1 2 3 + กามภูมิ + รูปภูมิ
ถ้าเวลาคิด ใส่รวบหมดเป็นปัญจโวการภูมิเลยก็ได้ แต่เวลาคิดต้องคิดให้ออกว่า ปัญจ.มีอะไรบ้าง
เพราะบกพร่อง 1 2 3 ก็รวมอยู่ในกามภูมิด้วย
จะจัดในรูปแบบการคิดนี้ก็ได้ ไม่ต้องกระจายออกมา เพราะเวลาเขียนองค์ธรรม ก็ต้องรวมอยู่ดี
รวม กาม กับ รูป เป็น ปัญจโวการภูมิ ๒๖(เว้นอสัญญ)
จะแยกคิดปัญจ ในกรณีที่อายตนะนั้นเกิดได้เฉพาะในกามเท่านั้น เช่น ฆานายตนะ เป็นต้น

จัก / ----------------โส X =(๒.)บกพร่อง 1 2 3
-"--------------------โส / =(๓.)ปัญจ.
(๑.)- ปัญจะ


:b48: สรุป การคิดกาล ๑ จากตัวอย่างข้างบนนี้

๑. ตั้งองค์ธรรมของสันนิฏฐานบทให้ได้ก่อน สำคัญมากคือ ต้องตั้งให้ได้ถูกต้อง ถ้าขั้นตอนนี้ผิด
ก็จะทำให้ผิดทั้งหมด จากปุจฉาจักขุกำลังเกิดได้แก่บุคคลที่กำลังเกิดในที่ใดบ้าง จักขุกำลังเกิดได้ในบุคคลที่กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ
๒. หาสังสยบท นำองค์ธรรมที่หามาได้ในข้อ๑ มาหาตรงกันข้ามของโสตะก่อน ก็คือโสตะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด(X) ก็ได้แก่กลุ่มที่ บกพร่อง 1 2 3 ในกามภูมิเบื้องต่ำ ๖ มีบุคคลที่โสตะบกพร่องกำลังเกิด ถ้าพูดรวมบรรทัดนี้ทั้งบรรทัด ก็จะพูดได้ว่าคนเหล่านี้เป็น คนที่ตาดี แต่หูไม่ดี(หูบกพร่อง)
๓. หาสังสยบท นำองค์ธรรมที่หามาได้ในข้อ๑(ที่เหลือทั้งหมด) มาหาโสตะกำลังเกิดได้( / )โสตะกำลังเกิดได้แก่บุคคลที่ตาปกติกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ก็จะพูดได้ว่า บุคคลเหล่านี้เป็น คนที่มีตาดี หูดี
ดังคำวิสัชนาบาลีและไทยดังต่อไปนี้
วัสัชนา) จกฺขุกานํ โสตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ โสตายตนํ อุปฺปชฺชติ,
จกฺขุกานํ โสตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ โสตายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ.
บุคคลทีี่มีจักขุเกิดได้ โสตะเกิดไม่ได้เหล่านั้นกำลังเกิด จักขายตนะกำลังเกิด แต่โสตายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น
บุคคลที่มีจักขุและโสตะเกิดได้เหล่านั้นกำลังเกิด จักขายตนะก็กำลังเกิด โสตายตนะก็กำลังเกิด

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b49: อุปปาทวาระ ปัจจุบันวาระ อนุโลมนัย (กาล ๑ นุ)
ปุคคลวาระ (ละ) จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส )

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

ปฎิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน โสตายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า โสตายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , จักขายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

โสตะ / ----------------จักขุ X =(๒.)บกพร่อง 1 2 3
-"--------------------จักขุ / =(๓.)ปัญจ.
(๑.)- ปัญจะ


วัสัชนา) โสตกานํ จกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ โสตายตนํ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ,
โสตกานํ อจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ โสตายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ.



การหาปฎิโลมปุจฉาก็หาในทำนองเดียวกันกับอนุโลมปุจฉา เพียงแค่สลับที่ จักขุ กับ โสตะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ที่จะยากสักหน่อยก็ตรง วิธีการหาปัจจนิกนัย

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จัก X ----------------โส / (๒.) 1 2 3
-"--------------------โส X (๓.) สํจ , 1 2 3 , อรูป , อสัญ
(๑.)
- สํจ
- บกพร่องโดยกรรม = 1 2 3
- บกพร่องโดยภูมิ = อสัญ อรูป


๑. ตั้งองค์ธรรมของสันนิฏฐานบทให้ได้ก่อน สำคัญมากคือ ต้องตั้งให้ได้ถูกต้อง ถ้าขั้นตอนนี้ผิด
ก็จะทำให้ผิดทั้งหมด จากปุจฉาจักขุไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด
- จักขุไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลที่กำลังตายทั้งหมดใน 31 ภูมิ (สํจ = สพฺเพสํ จวนฺตานํ)
- บุคคลที่กำลังเกิด แต่ไม่มีจักขุให้เกิด คือ พวกบกพร่อง 1 2 3 (บกพร่องโดยกรรม)
- บุคคลที่กำลังเกิดในภูมิที่จักขุเกิดไม่ได้ คือ อสัญญสัตตภูมิ ๑ และ อรูปภูมิ ๔ (บกพร่องโดยภูมิ)
:b53: สรุป คือจักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่คนที่กำลังตายและคนที่กำลังเกิดแต่ไม่มีจักขุให้เกิด
1.หาคนที่กำลังตาย
2.หาคนที่กำลังเกิด เอาเฉพาะพวกที่บกพร่อง (โดยกรรมและโดยภูมิ)

อธิบายให้เข้าใจอีกครั้งคือ จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่ บุคคลทั้งหมดที่กำลังตาย(ทุกภูมิ) และบุคคลที่กำลังเกิดแต่ไม่มีจักขุให้เกิด ก็ได้แก่พวกที่บกพร่องโดยกรรม กับ พวกที่บกพร่องโดยภูมิ

๒. หาสังสยบท นำองค์ธรรมที่หามาได้ในข้อ๑ มาหาตรงกันข้ามของสังสยบทก่อน โสตะกำลังเกิด / หาโสตะกำลังเกิดแก่บุคคลใดได้บ้าง ก็ได้แก่กลุ่มที่ บกพร่อง 1 2 3 ในกามภูมิเบื้องต่ำ ๖ .......จะเอาทางซ้ายมาคิดให้ดูทั้งหมด ว่าได้มาอย่างไร
- สํจ ได้แก่คนทั้งหมดที่กำลังตายใน 31 ภูมิ คนที่กำลังตาย ก็ไม่ใช่บุคคลที่กำลังเกิดเพราะฉะนั้นโสตะไม่ใช่กำลังเกิดแก่คนที่กำลังตาย (ก็ไม่ใช่)
- บุคคลที่กำลังเกิด แต่ไม่มีจักขุให้เกิด คือ พวกบกพร่อง 1 2 3 (บกพร่องโดยกรรม)
แต่ โสตะกำลังเกิดได้ โสตะก็สามารถกำลังเกิดแก่บุคคลทั้งสามกลุ่มนี้ได้ด้วย (1 2 3 ใช่)
- บุคคลที่กำลังเกิดในภูมิที่จักขุเกิดไม่ได้ คือ อสัญญสัตตภูมิ ๑ และ อรูปภูมิ ๔ (บกพร่องโดยภูมิ)
บุคคลที่กำลังเกิดในอสัญ.อรูป. จักขุโสตะไม่มีให้เกิดอยู่แล้วในภูมินี้เพราะบกพร่องโดยภูมิ (ก็ไม่ใช่)

๓. หาตามสังสยบทที่ถามมา หาโสตะไม่ใช่กำลังเกิด X
- โสตะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลที่กำลังตายทั้งหมดใน 31 ภูมิ (สํจ = สพฺเพสํ จวนฺตานํ)
- บุคคลที่กำลังเกิด แต่ไม่มีโสตะให้เกิด คือ พวกบกพร่อง 1 2 3 (บกพร่องโดยกรรม)
- บุคคลที่กำลังเกิดในภูมิที่โสตะเกิดไม่ได้ คือ อสัญญสัตตภูมิ ๑ และ อรูปภูมิ ๔ (บกพร่องโดยภูมิ)

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:
มาแสดงให้ครบเต็มๆ ดังนี้ค่ะ

อุปปาทวาระ ปัจจุบันวาระ ปัจจนิกนัย (กาล ๑ จ )
ปุคคลวาระ (ละ) จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส)

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จัก X ----------------โส / (๒.) 1 2 3
-"--------------------โส X (๓.) สํจ , 1 2 3 , อรูป , อสัญ
- สํจ
- บกพร่องโดยกรรม = 1 2 3
- บกพร่องโดยภูมิ = อสัญ อรูป
(๑.)


วิสัชนา) อจกฺขุกานํ สโสตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ โสตายตนํ นุปฺปชฺชติ,
สพฺเพสํ จวนฺตานํ อจกฺขุกานํ อโสตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนญฺจ นุปฺปชฺชติ โสตายตนญฺจ นุปฺปชฺชติ

บุคคลที่จักขุเกิดไม่ได้ โสตะเกิดได้เหล่านั้นกำลังเกิด จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิด แต่โสตายตนะกำลังเกิด แก่บุคคลเหล่านั้น
เมื่อบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดกำลังตายใน 31 ภูมิ ก็ดี บุคคลที่จักขุและโสตะเกิดไม่ได้กำลังเกิด ก็ดี
จักขายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิด โสตายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิด

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ โสตะเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในอบายภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นสังเสทชะและคัพภเสยยกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ โสตะเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผูู้จะตายในระหว่างโสตะเกิดแล้ว
แต่จักขุยังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒
เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ ๖....(๗ หัก จักขุ เหลือ ๖)
และ
- ปุถุชน ๔ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังตายใน ๓๑ ภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของจุติจิต ๑๙
เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันจักขุและโสตะเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในอบายภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นสังเสทชะและคัพภเสยยกะ อันจักขุและโสตะเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผูู้จะตายในระหว่างจักขุและโสตะยังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ ๕....(๗ หัก จักขุโสตะ เหลือ ๕)
- สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ติเหตุกปุถุชน ๑ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ และอรูปภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของ อรูปปฏิสนธิจิต ๔ เจตสิก ๓๐ ชีวิตนวกกลาปที่เกิดในขณะแรก
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

ข้อควรระวัง จะได้เขียนให้ถูกต้อง
- อันมีจักขุเกิดได้
- อันจักขุเกิดไม่ได้
- ผูู้จะตายในระหว่างโสตะเกิดแล้ว แต่จักขุยังไม่เกิด (แม้ปุจฉาจะขึ้นด้วยจักขุก่อนแต่จักขุไม่เกิด โสตะเกิด ....จะต้องพูดเอาโสตะเกิดได้ขึ้นก่อน แล้วค่อยบอกจักขุยังไม่เกิด)
- พูดรวม...ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒...ฯ ของบกพร่องทุกกลุ่มครั้งเดียว
- ถ้าบอกว่า กามภูมิ คือต้องมีอบายภูมิรวมอยู่ด้วย ส่วน กามสุคติภูมิ อันนี้ไม่มีอบายภูมิ
ตามที่เคยบอกไว้ บกพร่องกลุ่ม 1(อบายภูมิ๔) ส่วน กลุ่ม 2 และ 3 (กามภูมิ ๕เว้นนิรยภูมิ)
พวกบกพร่องทั้งสามกลุ่มนี้ อยู่ใน กามภูมิเบื้องต่ำ ๖ ในขณะที่กำลังเกิดมีกัมมชกลาปดังนี้
- ขณะที่กำลังเกิด โอปปาติกะและสังเสทชะ มีกัมมชกลาป ๗ = จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ ภาวะ๑ วัตถุ(หทยวัตถุ๑)
- ขณะที่กำลังเกิด คัพภเสยยกะ มีกัมมชกลาป ๓ = กายะ ภาวะ๑ วัตถุ(หทยวัตถุ๑)

- ขณะที่กำลังเกิด โอปปาติกะ ที่เป็นเทวดา ก็มี ๗ เหมือนกัน
ที่เป็นรูปพรหม มีกัมมชกลาป ๔ = จักขุ โสตะ วัตถุ ชีิวิต
(กลับไปทบทวนในหนังสือชั้นจูฬตรี)

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2016, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

ตอนนี้จะไม่กระจายละเอียดแล้ว จะกระจายเฉพาะอายตนะที่มีในกามเท่านั้น เพราะถ้าขึ้นว่า
กาม ....จะรวมหมด คือกามภูมิ ๑๑ จะรวมทั้งหมดมีบกพร่อง 1 2 3 ทุกกลุ่มรวมอยู่ในกามภูมิด้วย
บุคคลที่กำลังเกิดในกามภูมิ ๑๑ ได้ คือ 4.2 คือ ปุถุชน ๔ ผลบุคคลเบื้องต่ำ ๒
รูป.......รูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ๑)
ปัญจ.... คือปัญจโวการภูมิ ๒๖ จะรวม กามภูมิ ๑๑ และ รูปภูมิ ๑๕(เว้นอสัญญสัตตภูมิ๑)

:b49: อุปปาทวาระ ปัจจุบันวาระ อนุโลมนัย (กาล ๑ นุ)ปุคคลวาระ (ละ)

จักขายตนมูละ -ฆานายตนมูลียมกะ (จัก - ฆาน )

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส ฆานายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , ฆานายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จัก / ----------------ฆาน X บกพร่อง = 2 3...รูป
-"--------------------ฆาน / - กาม
-กาม
-รูป


วิสัชนา)

อธิบาย
๑. จัก / ...จักขุเกิดได้ในปัญจโวการภูมิ คือ บุคคลที่กำลังเกิดในกาม และ รูป จักขุกำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น (ส่วนพวกบกพร่องทั้งสามกลุ่มก็มีจักขุเกิดได้รวมอยู่ในกาม แล้ว)

๒. ฆาน X ...ส่วนฆานะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลที่กำลังเกิดในกาม เป็นพวกบกพร่อง 2 และ 3
จะเห็นได้ว่า บกพร่องกลุ่ม 1 จะไม่มาแล้ว เพราะกลุ่ม1 นี้บกพร่องแค่ จักขุ และ โสต ส่วนฆานะดี
ฆานะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลที่กำลังเกิดในรูปภูมิด้วย เพราะในรูปภูมิมีอายตนะเกิดได้ ๕ เท่านั้น
คือ จักขุ โสตะ รูปา มนา ธัมมา (ไม่มีฆานะ)

๓. ฆาน /...ฆานะกำลังเกิดแก่บุคคลที่กำลังเกิดในกาม รวมทั้งกลุ่มบกพร่องทั้ง ๓ กลุ่มด้วย
บกพร่องกลุ่ม 2 และ 3 ก็มีฆานะดีได้

มี ๖ อายตนะ ที่เกิดได้เฉพาะในกามภูมิ ๑๑ เท่านั้น
ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ
อายตนะพวกนี้ให้โทษมากกว่าให้คุณ แต่จักขุ โสตะ ถ้าใช้เป็นก็ให้คุณมากกว่าให้โทษ

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

จักขายตนะมูละ - ชิวหายตนมูลียมกะ

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส ชิวหายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , ชิวหายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จัก / ----------------ชิว X บกพร่อง = 3...รูป
-"--------------------ชิว / - กาม
-กาม
-รูป


วิสัชนา)

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ทุ๑ สุ๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะผู้จะตายในระหว่างจักขุเกิดแล้ว แต่ชิวหายังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
ที่เรียกว่า อุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓
- ติเหตุกปุถุชน ๑ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอรูปปฏิสนธิจิต ๔ เจตสิก ๓๐ กัมมชกลาป ๔
และ
-ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคลเบื้องต่ำ ๒ อันมีจักขุและชิวหาเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่า
อุปปาทักขณะสมังคีของกามาวจรปฏิสนธิจิต ๑๐ เจตสิก ๓๓ กัมมชกลาป ๓ ๗
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

ชิว X ชิวหาบกพร่องเฉพาะกลุ่ม ๓ เท่านั้นนะ
ชิว / คนที่มีชิวหาไม่บกพร่องก็มีในบกพร่องกลุ่ม 3 รวมอยู่ในกามแล้ว

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

จักขายตนะมูละ - มนายตนมูลียมกะ บอกเลยคู่นี้สำคัญทั้ง อนุปุ ปฏิปุ
อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส มนายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , มนายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จัก / ----------------มนา X ----
-"--------------------มนา / กาม , รูป
-กาม
-รูป


วิสัชนา อามนฺตา ใช่

ทำไม มนา X --- เว้นว่างไว้ เพราะว่าหาอะไรมาตอบไม่ได้เลย ถ้าหาตรงนี้ไม่ได้ปุ๊บ
คำวิสัชนา คือ อามนฺตา ใช่
มนายตนะไม่ใช่กำลังเกิดกับบุคคลที่กำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ ได้ภูมินี้ภูมิเดียวเท่านั้น
ใน กาม และ รูป ต่างก็ต้องมีมนายตนะเกิดด้วยกันทั้งนั้น จะไม่มีไม่ได้เลย

ลงมาดู มนา / ...ใช่กาม รูป แน่นอน เพราะกาม รูป มีมนายตนะ กำลังเกิด

:b47: ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
-

-------------------------
ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน มนายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า มนายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , จักขายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?


มนา / ----------------จัก X บกพร่อง = 1 2 3 , อรูป
-"---------------------จัก / ปัญจ.
- กาม
- รูป
- อรูป



มนา /...มีอรูปเข้ามาเกี่ยวแล้ว อรูปภูมิ ๔ มีอายตนะได้ ๒ คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ
มนายตนะ เกิดได้ใน 30 ภูมิ เว้น อสัญญสัตตภูมิ 1
ตรงนี้ 30 ภูมิ คือ กาม 11 + รูปภูมิ 15 + อรูปภูมิ 4

จัก X บกพร่อง 1 2 3 มาครบทุกกลุ่ม จักขุไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใคร ก็คือพวกบกพร่องทั้งหมด
สังเกตุมั้ยว่า ถ้าถามจักขุไม่ใช่กำลังเกิด ก็เอามาหมดทั้งสามกลุ่ม
และอรูปภูมิ เป็นภูมิที่จักขุเกิดไม่ได้
ถ้าถามจักขุกำลังเกิด จัก / ก็เอามาหมดทั้งสามกลุ่มด้วยเหมือนกันและในที่นี้ก็รวมอยู่ในปัญจ.แล้ว
เวลาพูดองค์ธรรมก็จะมีพวกบกพร่องรวมอยู่ในบุคคล คือปุถุชน4 นั่นเองค่ะ

:b53: เรื่องจะต้องจำมาอีกแล้วค่ะ
คำวิสัชนาในส่วนของปัจฉิมโกฏฐาสะนั้น พระบาลีจะไม่ได้ใช้คำฟุ่มเฟื่อย เพราะการที่มีจักขุเกิดได้
ก็บ่งบอกอยู่แล้วว่า มีจิตเกิดได้ มีมนายตนะ ก็ไม่ต้องพูดพระบาลีของ มนายตนะ / คือ สจิตฺตกานํ

วิธีจำ ง่ายๆ เอาไว้เช็คเวลาทำข้อสอบ ในห้องสอบว่า โลมน้อย นิกมาก
:b49: อนุโลมนัย เอาตัวที่น้อยมาใส่พระบาลี สั้นๆ ค่ะ.........โลมน้อย
:b50: ปัจจนิกนัย จะเอาตัวที่มากมาใส่พระบาลี สั้นๆ ค่ะ......นิกมาก

ตอนนี้เราทำอยู่ในส่วนของ อนุโลมนัย ดูจากจั่วหัวไว้ข้างบนนะคะ
ช่วงนี้ยังไม่ได้เอาปัจจนิกนัยมาเลย ทำอนุโลมนัยล้วนๆ ถ้าใครแยกอนุโลมนัย ปัจจนิกนัย ไม่ได้
ก็ลำบากในการจะจดจำเหมือนกันนะคะ

โลมน้อย ...อนุโลมนัย เอาตัวที่น้อยคือ
จักขุ เกิดได้ในปัญจ26 .............สจกฺขุกานํ
แต่ มนาเกิดได้ใน 30 ภูมิ................สจิตฺตกานํ
26 น้อยกว่า 30
ดังนั้นวิสัชนาในส่วนของปัจฉิมโกฏฐาสะเต็มๆว่า
สจกฺขุกานํ สจิตฺตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ มนายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ
ก็จะต้องตัด สจิตฺตกานํ ออกไป
จะต้องพูดพระบาลีแค่ สจกฺขุกานํ เท่านั้นพอ ดังนี้ค่ะ

วิสัชนา) สจิตฺตกานํ อจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ มนายตนํ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ,
สจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ มนายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ

:b47: ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบทได้แก่
-

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b50: : อุปปาทวาระ ปัจจุบันวาระ ปัจจนิกนัย (กาล ๑ จ )ปุคคลวาระ (ละ)
จักขายตนะมูละ - มนายตนมูลียมกะ

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตสฺส มนายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด , มนายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จัก X ------------มนา / - บกพร่องโดยกรรม = 1 2 3 , บกพร่องโดยภูม = อรูป
-"----------------มนา X - สํจ , บกพร่องโดยภูมิ = อสัญ
- สํจ (กำลังตาย)
- บกพร่องโดยกรรม 1 2 3 (กำลังเกิด)
- บกพร่องโดยภูมิ อสัญ , อรูป (กำลังเกิด)


วิสัชนา) อจกฺขุกานํ สจิตฺตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ มนายตนํ นุปฺปชฺชติ,
สพฺเพสํ จวนฺตานํ อจิตฺตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนญฺจ นุปฺปชฺชติ มนายตนญฺจ นุปฺปชฺชติ

ปัจจนิกนัยใช้พระบาลี ตัวที่มากกว่า คือ อจิตฺตกานํ ส่วน อจกฺขุกานํ มีแต่ไม่ต้องนำมาพูดแสดง
อจิตฺตกานํ เป็นพระบาลีที่หมายถึง อสัญญสัตตภูมิ ๑ โดยเฉพาะเลย เพราะเป็นภูมิที่ไม่มีจิตเกิดได้

อธิบาย ก็เหมือนปัจจนิกที่เคยอธิบายไว้
๑. ตั้งองค์ธรรมของสันนิฏฐานบทให้ได้ก่อน สำคัญมากคือ ต้องตั้งให้ได้ถูกต้อง ถ้าขั้นตอนนี้ผิด
ก็จะทำให้ผิดทั้งหมด จากปุจฉาจักขุไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด
- จักขุไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลที่กำลังตายทั้งหมดใน 31 ภูมิ (สํจ = สพฺเพสํ จวนฺตานํ)
- บุคคลที่กำลังเกิด แต่ไม่มีจักขุให้เกิด คือ พวกบกพร่อง 1 2 3 (บกพร่องโดยกรรม)
- บุคคลที่กำลังเกิดในภูมิที่จักขุเกิดไม่ได้ คือ อสัญญสัตตภูมิ ๑ และ อรูปภูมิ ๔ (บกพร่องโดยภูมิ)

๒. หาสังสยบท นำองค์ธรรมที่หามาได้ในข้อ๑ มาหาตรงกันข้ามของสังสยบทก่อน มนายตนะกำลังเกิด /
หา มนายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใดได้บ้าง ก็ได้แก่กลุ่มที่ บกพร่อง 1 2 3 ในกามภูมิเบื้องต่ำ ๖ และ อรูปภูมิ ๔ .......จะเอาทางซ้ายมาคิดให้ดูทั้งหมด ว่าได้มาอย่างไร
- สํจ ได้แก่คนทั้งหมดที่กำลังตายใน 31 ภูมิ คนที่กำลังตาย ก็ไม่ใช่บุคคลที่มนากำลังเกิด (ก็ไม่ใช่)
- บุคคลที่กำลังเกิด แต่ไม่มีจักขุให้เกิด คือ พวกบกพร่อง 1 2 3 (บกพร่องโดยกรรม)
แต่ มนากำลังเกิดได้ เพราะกำลังเกิดอยู่ในกามภูมิ มีจิตเกิดได้ (1 2 3 ใช่)
- บุคคลที่กำลังเกิดในภูมิที่จักขุเกิดไม่ได้ คือ อสัญญสัตตภูมิ ๑ และ อรูปภูมิ ๔ (บกพร่องโดยภูมิ)
บุคคลที่กำลังเกิดในอรูปภูมิ มนายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านี้ ( อรูป ใช่)

๓. หาตามสังสยบทที่ถามมา หา มนายตนะไม่ใช่กำลังเกิด X
- มนายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลที่กำลังตายทั้งหมดใน 31 ภูมิ (สํจ = สพฺเพสํ จวนฺตานํ)
- บุคคลที่กำลังเกิดในภูมิที่มนายตนะเกิดไม่ได้ คือ อสัญญสัตตภูมิ ๑ (บกพร่องโดยภูมิ)

ใน อนุปุ. อธ.สัน. ได้แก่
- ทุ.๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในอบายภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นสังเสทชะและคัพภเสยยกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผู้จะตายในระหว่างจักขุยังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ ๖
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอรูปปฏิสนธิจิต ๔
เจตสิก ๓๐
และ
- ปุ.๔ ผล.๔ ซึ่งกำลังตายใน 31 ภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของจุติจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕
กัมมชรูป ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย
- สุ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของชีวิตนวกกลาปที่เกิดในขณะแรก
อธ.สัง ได้แก่ อธ.หมวดหลังเท่านั้น
--------------------------------------------------------
ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน มนายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า มนายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด , จักขายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

มนา X ----------------จัก / ---
-"--------------------จัก X - สํจ , บกพร่องโดยภูมิ = อสัญ
- สํจ (กำลังตาย)
- บกพร่องโดยภูมิ = อสัญ (กำลังเกิด)


วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

ในปฏิปุ อธ.สัน และ สัง ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังของอนุโลมปุจฉา


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2016, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

กาล ๑ อุปปาทวาระ ปุคคลวาระ อนุโลมนัย ปจจนิกนัย
(ฆานา - มนา)
อนุโลมนัย
อนุปุ) ยสฺส ฆานายตนํ อุปฺปชฺชติ, ตสฺส มนายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
ฆานา / ----------------มนา X ----
-"---------------------มนา / กาม
- กาม

วิสัชนา) อามนฺตา
-----------------------------
ปฏิปุ) ยสฺส วา ปน มนายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส ฆานายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
มนา / ----------------ฆานา X บกพร่อง = 2 3 ,รูป ,อรูป
-"---------------------ฆานา / - กาม
- กาม
- รูป
- อรูป

วิสัชนา) สจิตฺตกานํ อฆานกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ฯ
สจิตฺตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ฯ

ในปฏิปุ อธ.ของสัน ได้แก่
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นสังเสทชะและคัพภเสยยกะ อันฆานะเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะผู้จะตายในระหว่างฆานะยังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่า
อุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ ๖
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ อรูปภูมิ ที่เรียกว่า อุปปาทักขณะสมังคีของมหัคคตปฏิสนธิจิต ๙ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป
และ
- ปุ.๔ ผลเสกข.เบื้องต่ำ ๒ อันมีฆานะเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
ที่เรียกว่า อุปปาทักขณะสมังคีของกามาวจรปฏิสนธิจิต ๑๐ เจตสิก ๓๓ กัมมชกลาป ๓ ๗
อธ.สัง ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

-------------------------------
ปัจจนิกนัย
อนุปุ) ยสฺส ฆานายตนํ นุปฺปชฺชติ, ตสฺส มนายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
ฆานา X ----------------มนา / - 2 3 , รูป, อรูป
-"--------------------มนา X - สํจ , บกพร่องโดยภูมิ = อสัญ
- สํจ
- บกพร่องโดยกรรม 2 3
- บกพร่องโดยภูมิ รูป อรูป อสัญ

วิสัชนา) อฆานกานํ สจิตฺตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ฯ
สพฺเพสํ จวนตานํ อจิตฺตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ฯ

--------------------------------
ปฏิปุ) ยสฺส วา ปน มนายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตสฺส ฆานายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
มนา X ----------------ฆานา / ---
-"--------------------ฆานา X - สํจ , บกพร่องโดยภูมิ = อสัญ
- สํจ
- บกพร่องโดยภูมิ = อสัญ

วิสัชนา) อามนฺตา

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

(มนา - ธัมมา )
:b53: ธัมมายตนะ จับคู่กับอายตนะใด เวลาวิสัชนา ไม่ต้องพูดแสดงพระบาลี
ธัมมายตนะ เกิดได้ในทุกภูมิ ไม่ต้องกล่าวพระบาลีเพราะรู้กันอยู่ว่าต้องมีธัมมายตนะเกิดอยู่แล้ว

อนุโลมนัย
อนุปุ) ยสฺส มนายตนํ อุปฺปชฺชติ, ตสฺส ธมฺมายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
มนา / ----------------ธัม X ----
-"---------------------ธัม / กาม , รูป ,อรูป
- กาม
- รูป
- อรูป

วิสัชนา) อามนฺตา
-----------------------------------
ปฏิปุ) ยสฺส วา ปน ธมฺมายตนํ อุปฺปชฺชติ, ตสฺส มนายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
ธัม / ----------------มนา X บกพร่องโดยภูมิ = อสัญ
-"---------------------มนา / 30 ภูมิ(เว้นอสัญ)
- 31 ภูมิ

วิสัชนา) อจิตฺตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ฯ
สจิตฺตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ฯ
ในปฏิปุ อธ.ของสัน ได้แก่
- สุ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิที่เรียกว่า อุปปาทักขณะสมังคีของชีวิตนวกกลาปที่เกิดขึ้นในขณะแรก
และ
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปฏิสนธิจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔
อธ.ของสัง ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

---------------------------------
ปัจจนิกนัย
อนุปุ) ยสฺส มนายตนํ นุปฺปชฺชติ, ตสฺส ธมฺมายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
มนา X ----------------ธัม / อสัญ
-"--------------------ธัม X - สํจ
- สํจ
- บกพร่องโดยภูมิ = อสัญ

วิสัชนา) อจิตฺตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ฯ
สพฺเพสํ จวนฺตานํ เตสํ ฯ
-----------------------------------
ปฏิปุ) ยสฺส วา ปน ธมฺมายตนํ นุปฺปชฺชติ, ตสฺส มนายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
ธัม X ----------------มนา / ---
-"--------------------มนา X - สํจ
- สํจ

วิสัชนา) อามนฺตา
:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:



:b53: สองปุจฉาสุดท้ายต่อไปนี้ ไม่ใช่ข้อสอบเก่า แต่เอามาให้อ่านกันเฉยๆ ค่ะ

ปวัตติวาระ นิโรธวาระ ปัจจุบันวาระ ปัจจนิกนัย (กาล ๑ จ )
ปุคคโลกาสวาระ (โล)

จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส )

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ น นิรุชฺฌติ , ตสฺส ตตฺถ โสตายตนํ น นิรุชฺฌตีติ?
จักขายตนะไม่ใช่กำลังดับแก่บุคคลใด ในภูมิใด,โสตายตนะก็ไม่ใช่กำลังดับแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้นใช่ไหม?
(จักX ..=จักขุ ไม่ใช่กำลังดับ )

จัก X ----------------โส / - 1 2 3 (ตาบกพร่อง แต่หูก็ดีได้)
-"--------------------โส X - สํอุ ,บกพร่อง 1 2 3 , อสัญ , อรูป (ทั้งตาและหูบกพร่อง)
- สํอุ (4.3กำลังเกิดใน31ภูมิ กำลังเกิดก็ไม่ใช่กำลังดับ)
- บกพร่องโดยกรรม = 1 2 3
....(1 2 3กำลังตายในกาม เพราะจักขุบกพร่องจึงไม่มีจักขุให้ดับ จักขุก็ไม่ใช่กำลังดับ)
- บกพร่องโดยภูมิ = อสัญ อรูป
.....(กำลังตายในอสัญ อรูปเป็นภูมิที่จักขุเกิดไม่ได้จึงไม่มีจักขุให้ดับ จักขุก็ไม่ใช่กำลังดับ)

วิสัชนา) อจกฺขุกานํ สโสตกานํ จวนฺตานํ เตสํ ตตฺถ จกฺขายตนํ น นิรุชฺฌติ โน จ เตสํ ตตฺถ โสตายตนํ น นิรุชฺฌติ,
สพฺเพสํ อุปปชฺชนฺตานํ อจกฺขุกานํ อโสตกานํ จวนฺตานํ เตสํ ตตฺถ จกฺขายตนญฺจ น นิรุชฺฌติ
โสตายตนญฺจ น นิรุชฺฌติ

บุคคลที่จักขุเกิดไม่ได้ โสตะเกิดได้เหล่านั้นกำลังตาย ในภูมินั้น จักขายตนะไม่ใช่กำลังดับ แต่โสตายตนะกำลังดับ แก่บุคคลเหล่านั้น ในภูมินั้น
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดกำลังเกิดก็ดี บุคคลที่จักขุและโสตะเกิดไม่ได้เหล่านั้นกำลังตายก็ดี ในภูมินั้น
จักขายตนะก็ไม่ใช่กำลังดับ โสตายตนะก็ไม่ใช่กำลังดับ

อธิบาย วิสัชนาแปล
(บุคคลที่ปสาทตาไม่มี แต่ปสาทหูดี บุคคลพวกนี้กำลังตายในภูมินั้นคือกามต่ำ ๖
ปสาทตาไม่ใช่กำลังดับเพราะขณะตอนเกิดมาก็ไม่มีปสาทตาเกิดตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เป็นต้น เพราะฉะนั้นปสาทตาก็ไม่ใช่กำลังดับในขณะที่บุคคลพวกนี้กำลังตาย เพราะไม่มีให้เกิดจึงไม่มีให้ดับ....แต่บุคคลพวกนี้ก็มีปสาทหูที่ดีได้ จึงเป็นบุคคลที่ปสาทตาไม่มีแต่ปสาทหูมี เพราะฉะนั้นขณะที่บุคคลพวกนี้กำลังตาย จึงมีปสาทหูกำลังดับได้ ในกามต่ำ๖)
(เมื่อบุคคลกำลังเกิดใน 31ภูมิ ขณะกำลังเกิด จึงไม่ใช่ขณะที่อายตนะใดๆกำลังตาย ขณะกำลังเกิดจึงไม่ใช่ขณะที่กำลังดับ ส่วนบุคคลที่มีทั้งปสาทตาและปสาทหูเกิดไม่ได้ ได้แก่พวกบกพร่องโดยกรรมและโดยภูมิ จึงไม่มีทั้งปสาทตาและปสาทหูให้ดับ เพราะไม่มีให้เกิดจึงไม่มีให้ดับ ในขณะที่บุคคลพวกนี้กำลังตาย ปสาทตาและหูจึงไม่ใช่กำลังดับในขณะที่กำลังตาย)

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ โสตะเกิดได้ ซึ่งกำลังตายในอบายภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นสังเสทชะและคัพภเสยยกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ โสตะเกิดได้ ซึ่งกำลังตายในกามภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผูู้จะตายในระหว่างโสตะเกิดแล้ว
แต่จักขุยังไม่เกิด ซึ่งกำลังตายในกามภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของอเหตุกจุติจิต ๒
เจตสิก ๑๐ กัมมชรูปที่ดับครั้งสุดท้าย กับ กามภูมิเบื้องต่ำ ๖
และ
- ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดใน ๓๑ ภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปฏิสนธิจิต ๑๙
เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔ ชีวิตนวกกลาปที่เกิดในขณะแรก กับ ๓๑ ภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันจักขุและโสตะเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังตายในอบายภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นสังเสทชะและคัพภเสยยกะ อันจักขุและโสตะเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังตายในกามภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผูู้จะตายในระหว่างจักขุและโสตะยังไม่เกิด ซึ่งกำลังตายในกามภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชรูปที่ดับครั้งสุดท้าย กับ กามภูมิเบื้องต่ำ ๖
- สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ติเหตุกปุถุชน ๑ ซึ่งกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ และอรูปภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของ อรูปจุติจิต ๔ เจตสิก ๓๐ ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย กับ อสัญญสัตตภูมิ ๑ อรูปภูมิ ๔
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

ปวัตติวาระ อุปปาทนิโรธวาระ ปัจจุบันวาระ ปัจจนิกนัย (กาล ๑ จ )
ปุคคลวาระ (ละ)

รูปายตนมูละ - คันธายตนมูลียมกะ (รูปา - คนธา)

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส รูปายตนํ นุปฺปชฺชติ, ตสฺส คนฺธายตนํ น นิิรุชฺฌตีติ?

รูปา X .................................คันธา / กำลังตายในกาม
-"--.....................................คันธา X กำลังเกิดในอรูป , กำลังตายในรูป อสัญ อรูป
- สํจ (กำลังตายใน 31ภูมิ)
- อรูป (กำลังเกิด)


วิสัชนา) สคนฺธกานํ จวนฺตานํ เตสํ รูปายตนํ นุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ คนฺธายตนํ น นิรุชฺฌติ ,
อรูปกานํ อุปปชฺชนฺตานํ อคนฺธกานํ จวนฺตานํ เตสํ รูปายตนญฺจ นุปฺปชฺชติ คนฺธายตนญฺจ น นิรุชฺฌติ

บุคคลที่มีคันธะเกิดได้เหล่านั้นกำลังตาย รูปายตนะไม่ใช่กำลังเกิด แต่คันธายตนะกำลังดับแก่บุคคลเหล่านั้น
บุคคลที่รูปะเกิดไม่ได้กำลังเกิด และบุคคลที่คันธะเกิดไม่ได้เหล่านั้นกำลังตาย รูปายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิด คันธายตนะก็ไม่ใช่กำลังดับ

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ปุถุชน 4 ผลบุคคล 4 ซึ่งกำลังตายในกามภูมิ
และ
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ ฯ
- สุ.๑ ติ.๑ ผล.๔ ซึ่งกำลังตายในรูปภูมิ อรูปภูมิ
(อสัญ รวมอยู่กับ รูปภูมิ)
องค์ธรรมของสังสัยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บุคคลที่คันธาเกิดได้เหล่านั้นกำลังตายในกามภูมิขณะกำลังตายก็ไม่ใช่กำลังเกิดเพราะฉะนั้นรูปายตนะไม่ใช่กำลังเกิด เป็นบุคคลที่มีีคันธายตนะเกิดได้ในกามภูมิ ขณะที่กำลังตายคันธายตนะจึงต้องกำลังดับไปด้วย
บุคคลที่รูปาเกิดไม่ได้กำลังเกิดก็ดี คือบุคคลที่กำลังเกิดในอรูปภูมิ เป็นภูมิที่ไม่มีรูปายตนะและคันธายตนะให้เกิด อรูปภูมิเป็นภูมิที่มีแต่นามไม่มีรูป จึงเป็นพวกบกพร่องโดยภูมิ
และบุคคลที่คันธาเกิดไม่ได้เหล่านั้นกำลังตายก็ดี คือบุคคลที่กำลังตายในรูป อสัญ อรูป คนที่กำลังตาย ไม่มีอายตนะใดๆกำลังเกิดอยู่แล้ว

เวลาแสดงองค์ธรรมของสันฯ แสดงบทเดียว /X ก่อน
ต่อมา แสดงขาเกิดก่อน // และแสดงขาดับสุดท้าย //
(แสดงตามสันนิฏฐานบทก่อนและตามด้วยสังสยบท)

ปัจจนิก ถ้าวิสัชนามีพระบาลี ๒ คำตอบ เวลาแปลอย่าลืมคำว่า ก็ดี เช่น อรูปกานํ อุปปชฺชนฺตานํ และ
อคนฺธกานํ จวนฺตานํ


:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:


:b53: ตอบ สะ อะ เช่น จกฺขุกานํ โสตกานํ เป็นต้นนั้นใช้ตอบที่เป็นกาล ๑
- ลดพระบาลีใน สองบท ที่เป็นปัจฉิมโกฏฐาสะเท่านั้น เมื่อลดพระบาลีแล้ว ก็ไม่มีการแปล ไม่มีการเขียนในองค์ธรรมด้วย ส่วนบทเดียวในปุริมฯไม่มีการลดพระบาลี
- อสัญญสัตตภูมิ = อจิตฺตกานํ , ส่วนอรูปภูมิ = อรูปกานํ
- อันมี...เกิดได้ และ อัน....เกิดไม่ได้ และ ผู้ที่จะตายในระหว่าง....เกิดแล้ว แต่.....ยังไม่เกิด
- กาล ๑ ปุคคละ = ปุคคโล และการหานิโรธะ(จวนฺตานํ)ก็เหมือนการหาอุปปาทะ(อุปปชฺชนฺตานํ)
อุปปาทนิโรธวาระ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน
- ท่ององค์ธรรมที่เกี่ยวข้องกับกาล ๑ ให้ได้ บกพร่องทั้งสามกลุ่ม หักกัมมชกลาปให้ถูกต้อง
- โอปปาติกะ สังเสทชะ.....กัมมชกลาป 7 มีการหักบกพร่องเฉพาะที่นี่เท่านั้น
- คัพภเสยยกะ...............กัมมชกลาป 3 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คงเป็น 3 ตลอดเพราะเกิดมาก็มีกายปสาท เพศ และหัวใจ
ภูมิ..........................ปฏิสนธิ...............................จุติ.....................มีอายตนะได้เต็มที่
กามภูมิ(บกพร่อง).......2 + 10 + [กํ3 7]................2 + 10 + กํ-ท้าย..........10
กามภูมิ...................10 + 33 + [กํ3 7]..............10 + 33 + กํ-ท้าย..........11
รูปภูมิ.....................5 + 35 + [กํ4]....................5 + 35 + กํ-ท้าย............5
อรูปภูมิ....................4 + 30.............................4 + 30........................2
อสัญญสัตตภูมิ............ชี-แรก................................ชี-ท้าย.......................2
รูปภูมิ อรูปภูมิ..........มหัคฯ9+ 35 + [กํ4]................9 + 35 + กํ-ท้าย
ปัญจโวการภูมิ..........ปัญจฯ 15+35+[กํ3 7 4]...........15+35+กํ-ท้าย
ปัญจ + อสัญ.......ปัญจฯ 15+35+[กํ3 7 4]+ชี-แรก......15+35+ กํ , ชี-ท้าย

- รูปภูมิ อรูปภูมิ รวมองค์ธรรมกันได้ ส่วนปัญจโวการภูมกับอสัญญสัตตภูมิจะรวม หรือแยกก็ได้
- อนุโลม เอาพระบาลีของอายตนะที่น้อยมากล่าววิสัชนาในส่วนของปุริมโกฏฐาสะ
- ปัจจนิก เอาพระบาลีของอายตนะที่มากมากล่าววิสัชนาในส่วนของปริมโกฏฐาสะ
- ธัมมายตนะ คู่กับอายตนะใด วิสัชนาไม่ต้องแสดงพระบาลีของธัมมายตนะ
- ปัจจนิก สํจ สํอุ มา
- อายตนะ แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่ม ๕ และ ๖
- กลุ่ม ๕ อายตนะ มี จักขุ โสตะ รูปา มนา ธัมมา กลุ่มนี้เป็นมูละ-มูลีกันเองในกลุ่มใช้ปัญจโวการภูมิ
- มนายตนะ เกิดได้ใน 30 ภูมิ ส่วน ธัมมายตนะ เกิดได้ในทุกภูมิ คือ 31 ภูมิ
- กลุ่ม ๖ อายตนะ มี ฆานะ ชิวหา กายะ คันธา รสา โผฏ เป็นมูละ-มูลีกันเองในกลุ่ม
หรือ กลุ่ม ๕ และ ๖ เป็นมูละ -มูลีกัน ให้แยกปัญจ=กาม รูป

ปุจฉาและวิสัชนา เหล่านี้เป็นพระพุทธพจน์ แต่ถ้าไม่มีพื้นฐาน ไม่มีใครสอนวิธีการคิด
เราก็ไม่สามารถจะเข้าถึงใจความสำคัญในปุจฉาและวิสัชนาเหล่านี้ได้เห็นประโยชน์ของการเรียนพระ
อภิธรรมหรือไม่? พระอรหันต์ท่านแนะนำวิธีการเรียนมาเพื่อให้เข้าถึงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
ปัญญาหางอึ่งของคนยุคนี้ก็พากันต่อต้านแนวทางการเรียนที่ทำให้เข้าถึงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
จงอย่าเอาปัญญาที่มีแค่หางอึ่งมาตัดสินปัญญาของพระอรหันตสาวก มันอันตรายค่ะ

กาล ๑ ถ้ามีเวลาว่างจะมาเพิ่มเติมให้ค่ะ
กาล ๑ ที่นำมาแสดงนี้ เมื่อมีความเข้าใจได้แล้ว ก็สามารถทำในมูละ มูลี ในอายตนะต่างๆ ได้ค่ะ
จะขอขึ้น กาล ๒ ต่อไปค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2016, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

อตีตวาระ (กาล ๒ )


ปุคคลวาระ
อนุโลมนัย
อุปปาทวาระ นิโรธวาระ อุปปาทนิโรธวาระ แสดงเหมือนกันหมด

ปัจจนิกนัย
อุปปาทวาระ นิโรธวาระ อุปปาทนิโรธวาระ แสดงเหมือนกันหมด

ปุคคลวาระ
ใน 31 ภูมิ [ปัญจ26] [อสัญ1] [อรูป4] ทุกอายตนะ เคยเกิด และ เคยดับ มาแล้วทั้งสิ้น
อายตนะที่ ไม่เคยเกิด และ ไม่เคยดับ นั้น..................ไม่มี
ตอนแรกทำใส่รายละเอียดลงไปหมดมองแล้วมันจะทำให้สับสน
เพราะกาล ๒ ในการหาต้องตั้งทั้งขาเกิดและขาดับ
จึงขอใส่เป็นสัญญลักษณ์แทน ในส่วนรายละเอียดก็อยู่ในองค์ธรรม
....[ .......แทนขาเกิด
....... ]........แทนขาดับหรือขาตาย
เช่น
[ปัญจ21](เว้นสุท5)
= ปุถุชน4 ผลบุคคล 4 ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในปัญจโวการภูมิ ๒๑ (เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อุปปาทวาระ อตีตวาระ อนุโลมนัย (กาล ๒ นุ)
ปุคคลวาระ (ละ) จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส)

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส โสตายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
จักขายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จัก เคยเกิด /.................................โส ไม่เคยเกิด X ----
-"--...........................................โส เคยเกิด / -[26] [1] [4]
- [26] [1] [4]...(ทุกคนที่กำลังเกิดและกำลังตายใน 31 ภูมิ)

วัสัชนา) อามนฺตา ใช่
ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และสังสยบท ได้แก่
- ปุถุชน ๔ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในใน ๓๑ ภูมิ

:b53: อธิบาย ทุกคนทั้งหมดที่กำลังเกิดและกำลังตายใน 31 ภูมิ ล้วนแล้วแต่ก็เคยมีจักขายตนะและโสตายตนะ เคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้นในอดีตชาติ
--------------------------------

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน โสตายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
หรือว่า โสตายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด , จักขายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

โส / .................................จัก X ----
-"-....................................จัก / - [26] [1] [4]
- [26] [1] [4] ...(ทุกคนที่กำลังเกิดและกำลังตายใน 31 ภูมิ)

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

ทุกบุคคลที่กำลังเกิดและกำลังตาย ล้วนแต่มีอายตนะต่างๆ เคยเกิดมาแล้วทั้งสิ้น
องค์ธรรมเหมือนอนุโลม

:b53: อุปปาทวาระ กาล ๒ ปุคคลวาระ อนุโลมนัย จะวิสัชนาว่า อามนฺตา ทุกคู่

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อุปปาทวาระ อตีตวาระ ปัจจนิกนัย (กาล ๒ จ)
ปุคคลวาระ (ละ) จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส)

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส โสตายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถาติ?
จักขายตนะไม่เคยเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

วิสัชนา) นตฺถิ ไม่มี
ในอนุปุ อธ.สัน และ สัง ไม่มี
---------------------------------------

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน โสตายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถาติ?
หรือว่า โสตายตนะไม่เคยเกิดแก่บุคคลใด , จักขายตนะก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

วิสัชนา) นตฺถิ ไม่มี
ในอนุปุ อธ.สัน และ สัง ไม่มี

เพราะว่า บุคคลที่อายตนะไม่เคยเกิดในภพต่างๆ นั้น ไม่มี
มีแต่บุคคลที่อายตนะเคยเกิดมาแล้วทั้งสิ้น


:b53: อุปปาทวาระ กาล ๒ ปุคคลวาระ ปัจจนิกนัย จะวิสัชนาว่า นตฺถิ ทุกคู่

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

- การวิสัชนา จะเป็นชื่อภูมิ ไม่ใช่ยกอายตนะมาตอบเหมือนกาล ๑
การวิสัชนาพระบาลีก็ทำนองเดียวกันกับชั้นมหาตรี
ปญฺจโวการานํ กามาวจรานํ รูปาวจรานํ อสญฺญสตฺตานํ อรูปานํ สุทฺธาวาสานํ

องค์ธรรมนั้นมีทั้งกำลังเกิด และกำลังตาย เพราะคนทั้งหมดเคยเกิดและเคยตายด้วยกันทั้งสิ้น

- ปุคคละ ใช้ปัญจโวการภูมิในกลุ่ม ๕ ที่จับคู่มูละ - มูลีกันเองในกลุ่ม
ปุคคละ มี ปัญจ.26 อรูป4 อสัญ1
- และ แยก ปัญจโวการภูมิ ในกลุ่ม ๖ ที่จับคู่มูละ - มูลีกับกลุ่ม ๕ หรือจับคู่กันเองในกลุ่ม ๖
กาม11 รูปภูมิ15 อรูป4 อสัญ1
กลุ่ม ๖ นี้เกิดในเฉพาะแต่ในกามภูมิเท่านั้น คือ ฆานะ ชิวหา กายะ คันธา รสา โผฏฐัพพา

- ปุคคโลกาสวาระ แยก สุทธาวาสภูมิ5 ออกจากปัญจ26 และรูปภูมิ15
แยกสุทธาวาสภูมิ5 ออกมาแล้ว
จะใช้ ปัญจ21(เว้นสุท5) หรือ กามภูมิ11 รูปภูมิ10(เว้นสุท5) ในการคิดในปุคคโลกาสวาะที่ซ้ำภูมิได้
เกิดซ้ำภูมิได้หมด ยกเว้นสุทธาวาสภูมิ 5 เท่านั้นที่เกิดซ้ำภูมิไม่ได้

- ปุคคโลกาสวาระ นั้นมีภูมิเป็นตัวกำหนด เอาภูมิเป็นใหญ่ ภูมิไหนมีอายตนะใดเกิดได้บ้าง เกิดซ้ำภูมิใดได้
ปัญจ21(เว้นสุท5) เกิดซ้ำภูมิได้ หรือ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 10(เว้นสุท5) เกิดซ้ำภูมิได้

- สุทธาวาสภูมิ5 เกิดซ้ำภูมิไม่ได้
สุทธิ แปลว่าบริสุทธิ์ รองรับการเกิดการตายของบุคคลได้เพียงครั้งเดียว มีบุคคลเกิดตายได้แค่ ๒ คือ
พระอนาคามีบุคคล ๑ กำลังเกิดและกำลังตาย ,และพระอรหันตบุคคล ๑ กำลังปรินิพพาน

- ธัมมายตนะนั้น เคยเกิดได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนนิพพานสำหรับปุถุชน ๔ คนธรรมดายังไม่เคยเกิด

ในปุคคโลกาสวาระ อายตนะเคยเกิด และ เคยดับ
จักขุ ,โสตะ .....................................[ปัญจ.21](เว้น สุท5)
ฆานะ ชิวหา กายะ คันธา รสา โผฏฐัพพา.......[ กาม 11]
รูปา...........................................[ปัญจ.21](เว้น สุท5) , [อสัญ 1]
มนา..........................................[ปัญจ.21](เว้น สุท5) , [อรูป 4]
ธัมมา.........................................[ปัญจ.21](เว้น สุท5) , [อสัญ 1] , [อรูป 4]
----------------------------------

อายตนะ ไม่เคยเกิด และ ไม่เคยดับ
จักขุ ,โสตะ .....................................[สุท 5] , [อสัญ 1] , [อรูป 4]
ฆานะ ชิวหา กายะ คันธา รสา โผฏฐัพพา.......[ รูป 15](เว้น อสัญ1) , [อสัญ 1] , [อรูป 4]
รูปา...........................................[ สุท 5] , [อรูป 4]
มนา..........................................[ สุท 5 ] , [อสัญ 1]
ธัมมา.........................................[ สุท 5]

------------------------------------------------------------
บุคคล ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตาย
ในปัญจ. = 4.4
ในกาม = 4.4
ในอสัญ = สุ.๑
ในอรูป = 1.4
ในสุท = อนา.๑ , อร.๑

-----------------------------------------------------------

ปุคคโลกาสวาระ

อุปปาทวาระ อตีตวาระ อนุโลมนัย (กาล ๒ นุ)
ปุคคโลกาสวาระ (โล) จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส)

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ โสตายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
จักขายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , โสตายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

จัก เคยเกิด /.........................โส ไม่เคยเกิด X-------
-"------"--...........................โส เคยเกิด / [ปัญจ.21]
[ปัญจ.21](เว้น สุท5)

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่
ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และสังสยบท ได้แก่
- ปุถุชน ๔ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในปัญจโวการภูมิ
กับ ปัญจโวการภูมิิ 21(เว้นสุทธาวาสภูมิ 5)
--------------------------------------------------
ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน ยตฺถ โสตายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
หรือว่า โสตายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , จักขายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

โส เคยเกิด /.........................จัก ไม่เคยเกิด X-------
-"------"--...........................จัก เคยเกิด / [ปัญจ.21]
[ปัญจ.21](เว้น สุท5)

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อุ อนุโลมนัย โล (จัก - ฆานา) ***

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ ฆานายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
จักขายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , ฆานายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

จัก / ................................ฆานาX - [รูป10]
-"--..................................ฆานา / - [กาม11]
- [กาม11]
- [รูป 10] (เว้น สุท5)

วิสัชนา) รูปาวจรานํ เตสํ ตตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ โน จ เตสํ ตตฺถ ฆานายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ,
กามาวจรานํ เตสํ ตตฺถ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชิตฺถ ฆานายตนญฺจ อุปฺปชฺชิตฺถ

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ติเหตุกปุถุชน ๑ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในรูปภูมิ กับ รูปภูมิ ๑๐( เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕ , อสัญญสัตตภูมิ ๑)
และ
- ปุถุชน ๔ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในกามภูมิ กับ กามภูมิ ๑๑
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น
-----------------------------------------------------
อุปปาทะ กาล ๒ ปัจจนิก โล

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน ยตฺถ ฆานายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถาติ?

ฆานา X .........................จัก / - [ 10]
-''-................................จัก X - [5] , [1] , [4]
- [รูป 10](เว้น สุท5)
- [สุท 5]
- [อสัญ 1]
- [อรูป 4]

วิสัชนา) รูปาวจรานํ เตสํ ตตฺถ ฯ
สุทธาวาสานํ อสญฺญสตฺตานํ อรูปานํ เตสํ ตตฺถ ฯ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อุ อนุโลมนัย โล (จัก - มนา)

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ มนายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
จักขายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , มนายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

จัก / ---------------------------------มนาX ----
-"------------------------------------มนา / - [ปัญจ.21]
- [ปัญจ.21](เว้น สุท5)

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

-------------------------------
ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน ยตฺถ มนายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
หรือว่า มนายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , จักขายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

มนา / ----------------------------------จัก X - [อรูป 4]
-"---------------------------------------จัก / - [ปัญจ21]
- [ปัญจ.21](เว้น สุท5)
- [ อรูป 4]
***
วิสัชนา) อรูปานํ เตสํ ตตฺถ มนายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ โน จ เตสํ ตตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ,
ปญฺจโวการานํ เตสํ ตตฺถ มนายตนญฺจ อุปฺปชฺชิตฺถ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชิตฺถ

เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดอยู่ในอรูปภูมิ ในภูมินั้น มนายตนะเคยเกิด แต่จักขายตนะไม่เคยเกิด แก่บุคคลเหล่านั้น ในภูมินั้น,
เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ ในภูมินั้น มนายตนะก็เคยเกิด จักขายตนะก็เคยเกิด

คำว่า เกิดอยู่ใน นี้จำได้นะคะ ในชั้นมหาตรี สำหรับทั้งกำลังเกิดและกำลังตาย (กก + กต)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อุ ปัจจนิกนัย โล (จัก - มนา) ***

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ มนายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถาติ?
จักขายตนะไม่เคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , มนายตนะก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

จัก X .............................มนา / - [อรูป4]
-"--...............................มนา X - [สุท5], [อสัญ1]
- [ สุท5]
- [ อสัญ1]
- [ อรูป4]

วิสัชนา) อรูปานํ เตสํ ตตฺถฯ
สุทธาวาสานํ อสญฺญสตฺตานํ เตสํ ตตฺถฯ

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ติเหตุกปุถุชน ๑ ผลบุคคล ๔ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในอรูปภูมิ กับ อรูปภูมิ ๔
และ
- พระอนาคามีบุคคล ๑ ซึ่งกำลังเกิดในสุทธาวาสภูมิ ๕ และกำลังตายในสุทธาวาสภูมิ ๔(เว้นอกนิฏฐาภูมิ) , พระอรหันตบุคคล ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในสุทธาวาสภูมิ กับ สุทธาวาสภูมิ ๕
- สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ กับ อสัญญสัตตภูมิ ๑
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ว. อุ ๒ นุ โล (จัก - ธัม)
ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน ยตฺถ ธมฺมายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?

ธัม /...................................จัก X - [อสัญ 1] , [อรูป 4 ]
-"--....................................จัก / - [ปัญจ 21]
- [ปัญจ 21](เว้นสุท5)
- [อสัญ 1]
- [อรูป 4 ]

วิสัชนา) อสญฺญสตฺตานํ อรูปานํ เตสํ ตตฺถ ฯ
ปญฺจโวการานํ เตสํ ตตฺถ ฯ
--------------------------------------------------
ว. อุ ๒ โล (จัก - ธัม)
อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถ,ตสฺส ตตฺถ ธมฺมายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถาติ?

จัก X .............................ธัมมา / - [ อสัญ 1] , [ อรูป 4]

-"--...............................ธัมมา X - [สุท 5]
- [ สุท 5]
- [ อสัญ 1]
- [ อรูป 4]

วิสัชนา) อสญฺญสตฺตานํ อรูปานํ เตสํ ตตฺถ ฯ
สุทธาวาสานํ เตสํ ตตฺถ ฯ

------------------------------------------------
ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน ยตฺถ ธมฺมายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถาติ?

ธัม X...................................จัก / ------
-"--....................................จัก X - [สุท 5]
- [สุท 5]

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

-------------------------------------------
:b53: อธิบาย ธัมมายตนะเกิดได้ทุกภูมิ แต่เมื่อเป็นปุคคโลกาสะ ต้องยกเว้นสุทธาวาสภูมิ 5 เพราะเกิดซ้ำภูมิไม่ได้

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ว. อุ ๒ โล ( ฆาน-ชิว )
อนุปุ) ยสฺส ยตฺถ ฆานายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ ชิวหายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถาติ?
ฆานายตนะไม่เคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด, ชิวหายตนะก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้นใช่ไหม?

ฆานา X...............................ชิว / -----
-"--....................................ชิว X- - [รูป10], [สุท5], [อสัญ1] ,[อรูป4 ]
- [รูป10](เว้นสุท5)
- [สุท5]
- [อสัญ1]
- [อรูป4 ]

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และ สังสยบท ได้แก่
- สุคติอเหตุกบุคคล ๑, ติเหตุกปุถุชน ๑, ผลบุคคล ๔
ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในรูปภูมิ อรูปภูมิ กับ รูปภูมิ 16 อรูปภูมิ 4
--------------------------------------------------
:b53: อธิบาย ฆานะและชิวหาเกิดได้แต่เฉพาะในกามภูมิ 11เท่านั้น เพราะฉะนั้นภูมิที่เหลือทั้งหมด
ฆานะและชิวหาจึงเกิดไม่ได้
ในการพูดองค์ธรรมนั้น เราจะรวมภูมิที่เป็นรูปภูมิเข้าด้วยกันหมด คือ 10+5+1 เป็นรูปภูมิ 16
และรวม รูปภูมิ กับ อรูปภูมิ พููดองค์ธรรมรวมกันไปครั้งเดียวได้เลยค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2016, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
อุปปาทวาระ กาล ๓ ปุคคละ
(อุ ๓ ละ)

อิตเรสํ เตสํ ฯ ต้องนี้จับหลักให้ได้ อย่าลืม จะมีข้อแตกต่างจากองค์ธรรมที่ได้เคยเรียนมาในชั้นมหาตรี

อิตเรสํ ......ในชั้นนี้ จะมีทั้ง กามภูมิ และ ปัญจโวการภูมิ

ถ้า กามภูมิ เราตั้งให้เป็น อิตเรสํ ไว้ก่อนเลย วงเล็บไว้ด้วยว่า เป็น อิ(กาม)
และเมื่อหาองค์ธรรมได้ครบหมดแล้วตามวิธีของแต่ละท่านที่ถนัด จะต้องมีการแสดงองค์ธรรม

ถ้าองค์ธรรมที่หามาได้ เป็นอย่างนี้ ....อิ(กาม) , เยรุ
เราจะวิสัชนาว่า ....อิตเรสํ เตสํ ฯ

องค์ธรรมตรงนี้เป็น ปัญจโวการภูมิแล้ว คือ อิ(กาม) + เยรุ

จะต้องระวังองค์ธรรมของ อิตเรสํ ที่เป็น กาม กับ อิตเรสํ ที่เป็น ปัญจะ

อิ (กาม) องค์ธรรม ได้แก่
- ปุ.๔ ผลเสกขเบื้องต่ำ ซึ่ง กก.+ กต. ในกามภูมิ และ จะเกิดในกามภูมิอีก
- สุ.๑ ติ.๑ ซึ่ง กก.+กต. ใน รูปภูมิ อรูปภูมิ และ จะเกิดในกามภูมิ

อิ (ปัญจะ) องค์ธรรม ได้แก่
- ปุ.๔ ผลเสกข. ซึ่ง กก.+ กต. ในปัญจโวการภูมิ และ จะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก
- สุ.๑ ติ.๑ ซึ่ง กก.+กต. ใน อสัญญสัตตภูมิ อรูปภูมิ

------------------
และองค์ธรรมที่มีเพิ่มเข้ามาอีกหนึ่ง จากที่เคยเรียนในมหาตรี คือ เยรุ
ซึ่งก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรนักในการเข้าใจได้


:b53: สรุป องค์ธรรมย่อๆ ที่ต้องนำมาคิดใน อุปปาทะ กาล ๓ ละ คือ
- อิ (กาม)
- เยรุ
- เยอ
- และ ฉิ ในปัจจนิก

ส่วน กาล ๓ โล นั้น ใช้ ภูมิ เป็นตัวหาได้เลย ภูมิไหนมีอายตนะใด ก็ใส่องค์ธรรมของภูมิได้เลย
และ มีสำนวน อายตนะ จะเกิดในภูมิที่ตนเกิดอยู่อีก ส่วนปัจจนิก ก็มี ฉิ มาเพิ่ม

ใน กาล ๓ โล ที่ต้องระวังคือ อสัญญสัตตภูมิ เก็บให้หมด เพราะ
สุคติอเหตุกบุคคล ที่กำลังเกิด และ กำลังตายใน อสัญญสัตตภูมินี้ จะมีลงมาเกิดในกามภูมิ
แล้วก็จะ วนกลับไปเกิดใน อสัญญสัตตภูมิ อีก ...........พวกซ้ำ
กับ พวกที่จะไม่วนกลับไปเกิดใน อสัญญสัตตภูมิ อีกต่อไปแล้ว คือ ลาขาดเกิดและตายในอสัญญสัตตภูมิเป็นชาติสุดท้ายสำหรับภูมินี้ ตายแล้วลาขาดจาก อสัญญสัตตภูมิ เพราะจะมาเกิดในกามภูมิ แล้ว บรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นพระอริยะ จึงไม่วนกลับไปเกิดในอสัญญสัตตภูมิอีกต่อไปแล้ว ....พวกอ้อม

ถ้าจะใช้วิธีคิดหาองค์ธรรม แบบที่แสดงมาให้ดูนี้เรื่อยไป ก็ต้อง ระวัง อสัญญสัตตภูมิ
:b53: เวลาคิด อสัญญสัตตภูมิ ให้คิดเผื่อไว้เลย เป็นชุด ว่า ......อสัญ ซ้ำ กับ อสัญ อ้อม
ถ้ายกไปทั้งชุดเลย ก็ไม่มีปัญหาอะไร แสดงองค์ธรรมได้ลื่น ในวิธีคิดนี้

และใน อรูปภูมิ ก็จะต้องมีคิด ปัจฉิมภวิกะคือ อฉิ และ ติ.๑ ผลเสกข.๓ ที่จะเกิดซ้ำในอรูปอีก
คือ อรูป...อฉิ และ ซ้ำ
เช่น อุปปาทวาระ ปุคคโล ปัจจนิก คู่ จักขายตนะ - มนายตนะ หน้า ๒๐๙ เป็นต้น

พวกที่ อายตนะจักเกิด จะได้แก่พวกที่จะกลับมาเกิดซ้ำในภูมิเดิมอีกในอนาคต มีในปัญจะ อสัญ และ อรูป

แต่ถ้า อสัญญสัตตภูมิไม่ยกไปทั้งชุด เช่น อุ กาล ๓ ละ ปัจจนิก คู่ จักขายตนะ - รูปายตนะ ,จักขายตนะ - ธัมมายตนะ เป็นต้น

(คู่ จัก - รูปา ลองเปิดหนังสือเรียนหน้า ๒๐๘,๒๐๙ ดูนะคะ ว่า อสัญญสัตตภูมิมาทั้ง สันนิฏฐานบทแสดงเดี่ยวเป็นพวกซ้ำ และ สังสยบท พวกอ้อมแสดงรวมกันกับปัญจโวการภูมิ)

ถ้าอสัญญสัตตภูมิ ไม่ระบุเป็นชุด จะทำให้ อสัญญสัตตภูมิที่เป็นอ้อม ตกหล่นหายไป
เมื่อแสดงองค์ธรรม จะไม่ครบ

และที่สำคัญมากๆ ที่ทำให้หล่นหายไปได้ คือ อสัญญสัตตภูมิ อ้อม นี้ในการวิสัชนาไม่มีพระบาลี แต่เวลามีการแสดงองค์ธรรม ก็จะต้องแสดงองค์ธรรมของอสัญอ้อมออกมาด้วย แต่การวิสัชนานั้นไม่มีพระบาลี

ถ้าใครจะหาวิธีนี้ต่อไป ก็ให้ระวัง อสัญญสัตตภูมิ ด้วย ตั้งระวังไว้เลยว่า ซ้ำ กับ อ้อม ระวังเท่านี้ วิธีการคิดนี้ ก็จะไร้อุปสรรคใดๆ คิดต่อไปได้อย่างราบรื่นค่ะ

หรือ ใครจะเปลี่ยนวิธีคิดหาองค์ธรรมใน กาล ๓ โล ตรงนี้ก็ได้นะคะ แล้วแต่ความถนัดค่ะ
เพราะก็ยังมีวิธีการคิด แบบวิธีอื่นอีก เช่น
ตั้งขาเกิดขาดับ ที่ตั้งขาว่า.... ฉิ อ้อม ซ้ำ ซ้ำ อ้อม นิ....ในภูมิ 26....1.....4
ทำตามถนัดได้เลย เราไม่จำเป็นต้องยึคแบบการคิดเดิมๆ

หรือใครคิดได้หลายๆ วิธี ก็จะดีเป็นอย่างมากค่ะ
บางคนแค่วิธีเดียวก็มึนแล้ว ก็พยายามทำวิธีที่ทำได้ ให้ดีที่สุดนะคะ









:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2016, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

อนาคตวาระ (กาล ๓)


ปวัตติวาระ อุปปาทวาระ อนาคตวาระ (กาล ๓) อนุโลมนัย ปุคคลวาระ

มีองค์ธรรมมาให้ท่องสำหรับ ปุคคลวาระ โดยเฉพาะ ก็เหมือนในตอนที่เรียนมหาตรี

:b50: ซึ่งกำลังเกิด และ กำลังตายใน = กก + กต
ในปัจจุบันซึ่งกำลังเกิดและตายอยู่ในภูมิหนึ่ง ในอนาคตจะไปเกิดและตายอยู่ในภูมิเดิมหรือภูมิอื่น

อิตเรสํ เตสํ(อิ) แปลว่า บุคคลที่นอกจากนั้น
เพราะฉะนั้น อาจจะเป็นกามภูมิอย่างเดียว หรือ ปัญจโวการภูมิ ก็ได้
คือเมื่อ อิ(กามภูมิ)เป็นองค์ธรรมที่มาพร้อมกันกับเยรุ อิตเรสํก็จะต้องรวม กามภูมิ+เยรุ เป็นปัญจโวการภูมิ

อิ = กามภูมิ องค์ธรรมได้แก่
ปุ.4 ผลเสกข.เบื้องต่ำ 2 ซึ่งกก + กตในกามภูมิ และจะเกิดในกามภูมิอีก
สุ.1 ติ.1 ซึ่งกก + กตใน รูปภูมิ อรูปภูมิ และจะเกิดในกามภูมิ

อิ = อิ(กาม) + เยรุ องค์ธรรมได้แก่
ปุ.4 ผลเสกข.3 ซึ่งกก + กตในปัญจโวการภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก
สุ.1 ติ.1 ซึ่งกก + กตใน อสัญญสัตตภูมิ อรูปภูมิ
(เช่น คู่ จัก - มนา ที่ในปฏิโลมปุจฉา )

(ถ้าเป็นอายตนะที่เกิดได้เฉพาะในกามภูมิเท่านั้น ก็ต้องแยกปัญจโวการภูมิ เป็น กามภูมิ รูปภูมิ)

:b48: อธิบาย กลุ่มที่เป็นอิตเรสํ ได้แก่ คนที่กำลังเกิดและกำลังตายในกามภูมิ ๑๑ , ในรูปภูมิ ๑๐(เว้ันสุทธาวาสภูมิ๕,อสัญ๑) ,ในอรูปภูมิ ๔ , ในอสัญญสัตตภูมิ ๑ .......คนที่กำลังเกิดและกำลังตายในภูมิเหล่านี้ ในอนาคตจะไปเกิดในกามภูมิ จึงเหมือนคนที่จะต้องเดินทางเพื่อไปอยู่ในกามภูมิในอนาคต แต่ปัจจุบันกำลังเกิดและกำลังตายในกาม รูป อรูป อสัญ ในอนาตคของบุคคลเหล่านี้เมื่อเกิดในกามภูมิจะมีอายตนะเกิดได้ ๑๑ อายตนะ

เหมือนกันกับคนจะย้ายบ้านในวันพรุ่งนี้ ทั้งพวกย้ายบ้านในจังหวัดเดียวกัน กับพวกที่ย้ายมาจากจังหวัดอื่น บางคนเช่น นายหนึ่งปัจจุบันคือวันนี้ที่กำลังอยู่ในเชียงใหม่พรุ่งนี้อพยพย้ายไปอยู่บ้านใหม่แต่อยู่ในจังหวัดเดิมอีก นายสองกำลังอยู่ที่นนทบุรีบ้าง นายสามกำลังอยู่ที่ปทุมธานีบ้าง นายสี่กำลังอยู่ที่นครปฐมบ้าง วันนี้ทุกคนกำลังอยู่ในจังหวัดเหล่านี้ ในวันพรุ่งนี้คนพวกนี้จะอพยพย้ายบ้านไปอยู่ที่เชียงใหม่กัน พรุ่งนี้คนพวกนี้จะเดินทางย้ายบ้านอยู่ที่ในเชียงใหม่ พอวันนี้เราถามว่า พรุ่งนี้ใครจะอพยพย้ายไปอยู่บ้านใหม่ที่ในเชียงใหม่บ้าง ก็ต้องตอบว่า นายหนึ่งจังหวัดเชียงใหม่ นายสองนนทบุรี นายสามปทุมธานี นายสี่นครปฐม ในวันพรุ่งนี้จะอพยพไปอยู่ที่ในเชียงใหม่กัน เราก็ตั้งชื่อคนกลุ่มนี้ว่า เชียงใหม่ พอพูดว่าอนาคตที่เชียงใหม่ พรุ่งนี้ใครอพยพย้ายบ้านใหม่บ้าง ก็ตอบว่าทั้งสี่คนนั้นจากจังหวัดใดบ้าง คำอธิบายในกลุ่มอื่นก็ทำนองเดียวกัน

---------------------------------------------------
เย รูปาวจรํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ (เยรุ)องค์ธรรมได้แก่

ติเหตุกปุถุชน 1 ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในกามสุคติภูมิ๗ และจะเกิดในรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน

ติเหตุกปุถุชน 1ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในรูปภูมิ และจะเกิดในรูปภูมิอีก แล้วจะปรินิพพาน

(ในอนาคตจะมีอายตนะเกิดได้ ๕ คือ จักขุ โสต รูปา มนา ธัมมา)
--------------------------------------------------

เย อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ (เยอ) องค์ธรรมได้แก่

- ติเหตุกปุถุชน 1 ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) ที่จะได้มรรคเบื้องต่ำ
และจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการติเหตุกปฏิสนธิจิต ๘ (เว้นรูปาวจรปัญจมฌานวิปากจิต ๑) เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔

- ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) และจะเกิดในอรูปภูมิ
แล้วจะปรินิพพาน

- ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในอรูปภูมิ และจะเกิดในอรูปภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่งอีก (เว้นภูมิที่ต่ำกว่า)
แล้วจะปรินิพพาน

(ในอนาคตจะมีอายตนะเกิดได้ ๒ คือ มนา ธัมมา)
----------------------------------------------------

ปุคคลวาระ เราจะพูดกันถึง อายตนะ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตชาติหน้า
แต่เอาปัจจุบันชาตินี้โยงไปหาอนาคตนะคะ
องค์ธรรมด้านบนทั้งหมด คล้ายๆ กับที่เคยท่องตอนอยู่ชั้นมหาตรี คงเข้าใจและท่องกันคล่องมาแล้ว
ขอเอาแต่บางคู่ มาแสดงนะคะ

ปุคคลวาระ ใช้ ๓ คำนี้ สำหรับวิธีคิด
- อนาคต ๑๑ อายตนะจะไปเกิดได้ในกามภูมิ .....อิ
- อนาคต ๕ อายตนะ จะไปเกิดได้ในรูปภูมิ........เยรุ
- อนาคต ๒ อายตนะจะไปเกิดได้ในอรูปภูมิ.......เยอ

[อิ(กาม) + เยรุ ใช้ ปัญจโวการภูมิ]

ปวัตติวาระ อุปปาทวาระ อนาคตวาระ (กาล ๓) อนุโลมนัย ปุคคลวาระ

จัก - ฆานะ

อนุปุ) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ฆานายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
จักขายตนะจักเกิดแก่บุคคลใด , ฆานายตนะก็จักเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?


จักขุ จักเกิด /.........................ฆาน จักไม่เกิดX- เยรุ
-"........................................ฆาน จักเกิด /- อิ (กาม)
- อิ (กาม)
- เยรุ

วิสัชนา) เย รูปาวจรํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ โน จ เตสํ ฆานายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ ,
อิตเรสํ เตสํ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชิสฺสติ ฆานายตนญฺจ อุปฺปชฺชิสฺสติ

บุคคลเหล่าใดจักเกิดในรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน บุคคลเหล่านั้น จักขายตนะจักเกิด แต่ฆานายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลเหล่านั้น,
บุคคลที่นอกจากนั้น จักขายตนะก็จักเกิด ฆานายตนะก็จักเกิด

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ติเหตุกปุถุชน 1 ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในในกามสุคติภูมิ๗ และจะเกิดในรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน
- ติเหตุกปุถุชน 1ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในรูปภูมิ และจะเกิดในรูปภูมิอีก แล้วจะปรินิพพาน
และ
- ปุ.4 ผลเสกข.เบื้องต่ำ 2 ซึ่งกก + กตในกามภูมิ และจะเกิดในกามภูมิอีก
- สุ.1 ติ.1 ซึ่งกก + กต ใน รูปภูมิ อรูปภูมิ และจะเกิดในกามภูมิ
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

อธิบาย ถามว่าจักขุจักเกิดแก่ใครได้บ้างในอนาคต ก็ต้องหาก่อนว่าปัจจุบันบุคคลกลุ่มไหนที่อนาคตมีจักขุจะเกิดได้ ก็พวกกลุ่มที่อนาคตจะไปเกิดในปัญจโวการภูมิคือพวก อิ กับ เยรุ เป็นองค์ธรรมครั้งที่หนึ่ง ซึ่งสำคัญมากเลยจะตอบถูกหรือผิดก็มาจากการหาองค์ธรรมครั้งแรกนี้แหละค่ะ ต่อมาหาตรงกันข้ามกับสังสยบทก่อน ฆานะจักไม่เกิดแก่ใครได้บ้างในกลุ่ม อิ กับ เยรุ ฆานะจักไม่เกิดแก่คนกลุ่ม เยรุ เป็นองค์ธรรมครั้งที่สอง เพราะจะไปเกิดในรูปภูมิในอนาคต จะไม่มีฆานะ ส่วนฆานะจักเกิดได้ก็ได้แก่ กลุ่ม อิ ซึ่งคนพวกนี้จะไปเกิดในกามภูมิ เป็นองค์ธรรมสุดท้าย

--------------------------------------------------------

ปฏิปุ) ยสฺส วา ปน ฆานายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
หรือว่า ฆานายตนะจักเกิดแก่บุคคลใด , จักขายตนะก็จักเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

ฆานะจักเกิด / ...............จักขุจักไม่เกิด X -
-"..............................จักขุจักเกิด / - อิ (กาม)
- อิ (กาม)

วิสัชนา ) อามนฺตา ใช่
ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และ สังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังของอนุโลม

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

จัก -มนา

อนุปุ) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส มนายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
จักขายตนะจักเกิดแก่บุคคลใด , ฆานายตนะก็จักเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จักขุ จักเกิด /.......................มนา จักไม่เกิด X -----------
-"....................................มนา จักเกิด / - อิ (กาม) + เยรุ
- อิ (กาม)
- เยรุ

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่
ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และสังสยบท ได้แก่
- ปุ.4 ผลเสกข.3 ซึ่งกก + กตในปัญจโวการภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก
- สุ.1 ติ.1 ซึ่งกก + กตใน อสัญญสัตตภูมิ อรูปภูมิ

--------------------------------------------------

ปฏิปุ) ยสฺส วา ปน มนายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?

มนา / ..............................จัก X - เยอ
-"-- ................................จัก / - อิ (กาม) + เยรุ
- อิ (กาม)
- เยรุ
- เยอ

วิสัชนา) เย อรูปํ อุปปชฺชิตวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ มนายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ โน จ เตสํ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ,
อิตเรสํ เตสํ มนายตนญฺจ อุปฺปชฺชิสฺสติ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชิสฺสติ
{อิตเรสํ เตสํ = อิ (กาม) + เยรุ }

บุคคลเหล่าใดจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน บุคคลเหล่านั้น มนายตนะจักเกิด แต่จักขายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลเหล่านั้น
บุคคลที่นอกจากนั้น มนายตนะก็จักเกิด จักขายตนะก็จักเกิด

ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ติเหตุกปุถุชน 1 ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) ที่จะได้มรรคเบื้องต่ำ
และจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการติเหตุกปฏิสนธิจิต ๘ (เว้นรูปาวจรปัญจมฌานวิปากจิต ๑) เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔
- ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) และจะเกิดในอรูปภูมิ
แล้วจะปรินิพพาน
- ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตในอรูปภูมิ และจะเกิดในอรูปภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่งอีก (เว้นภูมิที่ต่ำกว่า) แล้วจะปรินิพพาน
และ
- ปุ.4 ผลเสกข.3 ซึ่งกก + กตในปัญจโวการภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก
- สุ.1 ติ.1 ซึ่งกก + กตใน อสัญญสัตตภูมิ อรูปภูมิ


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ปัจจนิก
กาล ๓ ละ ปัจจนิก จะเพิ่มองค์ธรรมมาอีกหนึ่ง คือ ฉิ

ปจฺฉิมภวิกานํ เตสํ (ฉิ) องค์ธรรมได้แก่
- ติ.๑ ผล.เบื้องต่ำ ๒ = ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ + อร.ผล ๑ กำลังปรินิพพาน ในกามสุ. ๗
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ = ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ ๑๕ + อร.ผล ๑ กำลังปรินิพพาน ในรูปภูมิ ๑๕
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ = ฉิ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ ๔ + อร.ผล ๑ กำลังปรินิพพาน ในอรูปภูมิ ๔

อรูปภูมิ = จตุโวการภูมิ , กาม + รูป = ปัญจโวการภูมิ
ในปุคคลวาระ จะพูด รวมกันไปเลยว่า

- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
อรหัคตผลบุคคล ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ

-------------------------------------------------------
ปวัตติวาระ อุปปาทวาระ อนาคตวาระ (กาล ๓) ปัจจนิกนัย ปุคคลวาระ

อุ กาล ๓ จ ละ ....ปัจจนิก จะเพิ่มองค์ธรรมมาอีกหนึ่งคือ ฉิ ที่ในกาม รูป อรูป
ฉิ จะต้องมาเสมอในปัจจนิก
จัก- ฆานะ
อนุปุ) ยสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ฆานายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
จักขายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลใด , ฆานายตนะก็จักไม่เกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?


จัก X.........................ฆาน /-----
-"............................ฆาน X- ฉิ , เยอ
- ฉิ
- เยอ

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่
ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และสังสยบท ได้แก่
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
พระอรหันตบุคคล ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
- ติเหตุกปุถุชน 1 ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) ที่จะได้มรรคเบื้องต่ำ
และจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน
- ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กต ในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) และจะเกิดในอรูปภูมิ
แล้วจะปรินิพพาน
- ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กต ในอรูปภูมิ และจะเกิดในอรูปภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่งอีก (เว้นภูมิที่ต่ำกว่า)
แล้วจะปรินิพพาน

----------------------------------------------------
ปฏิปุ) ยสฺส วา ปน ฆานายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
หรือว่า ฆานายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลใด , จักขายตนะก็จักไม่เกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?


ฆานะ X ...........................จัก / - เยรุ
-"-..................................จัก X - ฉิ , เยอ
- ฉิ
- เยรุ
- เยอ

วิสัชนา) เย รูปาวจรํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ ฆานายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ
โน จ เตสํ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ ,
ปจฺฉิมภวิกานํ เย จ อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ ฆานายตนญฺจ นุปฺปชฺชิสฺสติ
จกฺขายตนุญฺจ นุปฺปชฺชิสฺสติ

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ติเหตุกปุถุชน 1 ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตใน กามสุคติภูมิ๗ และจะเกิดในรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน
- ติเหตุกปุถุชน 1ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตใน รูปภูมิ และจะเกิดในรูปภูมิอีก แล้วจะปรินิพพาน
และ
(องค์ธรรมของอนุโลม)
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
พระอรหันตบุคคล ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
- ติเหตุกปุถุชน 1 ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) ที่จะได้มรรคเบื้องต่ำ
และจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการติเหตุกปฏิสนธิจิต ๘ (เว้นรูปาวจรปัญจมฌานวิปากจิต ๑) เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔
- ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตใน กามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙ (เว้นจตุตถฌานภูมิ) และจะเกิดในอรูปภูมิ
แล้วจะปรินิพพาน
- ผลเสกขบุคคล 3 ซึ่งกก + กตใน อรูปภูมิ และจะเกิดในอรูปภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่งอีก (เว้นภูมิที่ต่ำกว่า)
แล้วจะปรินิพพาน
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ปวัตติวาระ อุปปาทวาระ อนาคตวาระ (กาล ๓) อนุโลมนัย ปุคคลวาระ

(มนา - ธัม)
อนุปุ) ยสฺส มนายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ธมฺมานายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
มนายตนะจักเกิดแก่บุคคลใด , ธัมมายตนะก็จักเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

มนา /.........................ธัมมา X-----
-"..............................ธัมมา / - อิ(กาม)+เยรุ , เยอ
- อิ(กาม)
- เยรุ
- เยอ

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสัน และ สัง ได้แก่
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ ซึ่ง กก + กต ในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ และจะเกิดในภูมิที่ตนเกิดอยู่อีก
- สุ.๑ ซึ่ง กก + กต ในอสัญญสัตตภูมิ

--------------------------------------------------
ปวัตติวาระ อุปปาทวาระ อนาคตวาระ (กาล ๓) ปัจจนิกนัย ปุคคลวาระ

(มนา - ธัม)
อนุปุ) ยสฺส มนายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ธมฺมานายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
มนายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลใด , ธัมมายตนะก็จักไม่เกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

มนา X.........................ธัมมา /-----
-"..............................ธัมมา X - ฉิ
- ฉิ

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสัน และ สัง ได้แก่
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
พระอรหันตบุคคล ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

การวิสัชนาของ กาล ๓ อนุโลมนัย ปุคคลวาระ อุปปาทวาระ
อุปปาทวาระ(อุ)ทั้งอนุโลมและปัจจนิกจะมีการตอบพิเศษแตกต่างกันออกไปจาก นิโรธวาระ(นิ)
และ อุปปาทนิโรธวาระ(อุ+นิ)

:b53: กาล ๓ ปุคคลวาระ (ละ) อุปปาทวาระ (อุ)
อนุโลมนัยจะใช้ อิ เยรุ เยอ
และปัจจนิกนัย จะใช้ ฉิ อิ เยรุ เยอ ในวิธีหา และวิสัชนา

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2016, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

:b53: กาล ๓ ปุคคโลกาสวาระ (โล) อุปปาทวาระ(อุ)
ทั้งอนุโลมนัย และปัจจนิกนัย จะใช้ [ฉิ*] และ ชื่อภูมิ ในวิธีหา และวิสัชนา


:b53: ในการคิดด้วยวิธีนี้ต้องละเอียด และเข้าใจตอนเรียนมหาตรีให้ลึกซึ้งสักหน่อยในบางคู่
ถ้าจะคิดก็ต้องทำความเข้าใจให้ดีกับหลักเกณฑ์การคิดนี้
- ปัญจโวการภูมิ 26 (เว้นอสัญ.) คือ กามภูมิ 11 กับ รูปภูมิ 16.....มี ปฉิ และ ซ้ำภูมิ
(ถ้าอายตนะที่มีได้เฉพาะกามภูมิ ก็ต้องแยกปัญจโวการภูมิ เป็น กาม กับ รูป)
- อสัญญสัตตภูมิ 1 ......มี อ้อม กับ ซ้ำภูมิ
- อรูปภูมิ 4 ..............มี อฉิ กับ ซ้ำภูมิ

- จักขุจักเกิด ก็เกิดได้เฉพาะในปัญจะ พวกที่เกิดซ้ำภูมิเท่านั้นคือ
ปัญจโวการภูมิ 21(เว้นสุทธาวาสภูมิ 5)
- ทุกอายตนะ ไม่ว่าอายตนะใด จักเกิด ก็ต้องหมายถึงพวกที่เกิดซ้ำภูมิเท่านั้น ถ้าคิดครั้งที่สองทางฝั่งขวามือ ก็อาจจะมีฝั่งทางซ้ายมือเหลือองค์ธรรมอยู่อีก เช่นคู่ จักขา - ธัมมา หน้า ๒๑๐... อสัญ.ซ้ำ เป็นองค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และ อสัญ...อ้อม เป็นองคฺธรรมของสังสยบท (มีอธิบายด้านล่างในโพสนี้ค่ะ)

ฆานะจักเกิด ก็เกิดได้เฉพาะกามภูมิ พวกที่เกิดซ้ำภูมิเท่านั้น คือ กามภูมิ 11
ทุกอายตนะ ถ้าจักไม่เกิด ให้คิด ปัจฉิมภวิกะ (ฉิ) เฉพาะภูมิที่มีอายตนะนั้นๆ เท่านั้นเช่น
ฆานะจักไม่เกิด ก็คือ ฉิในกามสุคติ ๗ เท่านั้น และคำตอบสุดท้ายจะเป็น ปฉิ ได้เมื่อมีจักขุจักเกิดได้ คู่กัน
ถ้า ฆานะ คู่กับ ชิวหา แน่นอนว่า จะต้องได้เฉพาะ ฉิในกาม เท่านั้น

ปวัตติวาระ อุปปาทวาระ (อุ)กาล ๓ อนุโลมนัย ปัจจนิกนัย ปุคคโลกาสวาระ (โล)
(จัก - รูปา)

อนปุ) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ตตฺถ รูปายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
จักขายตนะจักเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , รูปายตนะก็จักเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

จักขุ จักเกิด / .........................รูปา จักไม่เกิด X -----
--"-----" .............................รูปา จักเกิด / - [ปัญจ.]
- [ปัญจ.]

วิสัชนา ) อามนฺตา ใช่

--------------------
ปฏิปุ) ยสฺส วา ปน ยตฺถ รูปายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ตตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
หรือว่า รูปายตนะจักเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , จักขายตนะก็จักเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

รูปา จักเกิด / .........................จักขุ จักไม่เกิด X - [อสัญ]
--"-----" .............................จักขุ จักเกิด / - [ปัญจ.]
- [ปัญจ.]
- [อสัญ]

วิสัชนา) อสญฺญสตฺตานํ เตสํ ตตฺถ ฯ,
ปญฺจโวการานํ เตสํ ตตฺถ ฯ


--------------------
อนปุ) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ตตฺถ รูปายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
จักขายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , รูปายตนะก็จักไม่เกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

จักขุ จักไม่เกิด X ......................รูปา จักเกิด / - [อสัญ]...ซ้ำ
--"-----" ................................รูปา จักไม่เกิด X - ปฉิ , [อรูป] , [อสัญ]...อ้อม
- ปฉิ (เฉพาะปัจฉิมภวิกะในปัญจะ)
- [อสัญ]....ซ้ำ , อ้อม
- [อรูป]

วิสัชนา ) อสญฺญสตฺตานํ เตสํ ตตฺถ ฯ ,
ปญฺจโวกาเร ปจฺฉิมภวิกานํ อรูปานํ เตสั ตตฺถ ฯ

:b53: อธิบาย

สันนิฏฐานบท ถามว่า จักขุ จักไม่เกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด ......จะเอาภูมิเป็นใหญ่ในการหา เอาเฉพาะภูมิที่มีอายตนะที่ระบุไว้เท่านั้นก่อน

จักขุจะเกิด แก่ภูมิที่มีจักขุเกิดได้เท่านั้น เพราะฉะนั้น บุคคลในปัญจโวการภูมินี้ บุคคลที่จักขุจะไม่เกิดในอนาคต ซึ่งก็ได้แก่ ปัจฉิมภวิกบุคคลเกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ คือ ติ.๑ ผลเสกขะ ๓ ที่เป็น ฉิ กำลังเกิด กับพระอรหันต์ที่กำลังปรินิพพาน ท่านเหล่านี้ อนาคต จักขายตนะจักไม่เกิดอีกต่อไปแล้ว เพราะเกิดเป็นชาติสุดท้าย ......ใช้ ปฉิ

ภูมิที่ไม่มีจักขุเกิด ก็คือ จักขุจักไม่เกิด ในภูมินั้น ก็ได้แก่ [อสัญ] , [อรูป]

อย่างที่เคยอธิบายไว้ว่า อสัญ..อ้อม จะไม่มีพระบาลี ดังนั้นต้องระวัง เก็บมาให้ครบด้วย ด้วยการตั้ง อสัญ ไว้ว่า ซ้ำ และ อ้อม ตั้งแต่แรก ถ้ายกทั้งชุดก็ไม่มีปัญหา ในกรณีคู่นี้ ซ้ำ กับ อ้อม แยกกันชัดเจน ก็ต้องระวังไว้ด้วย ดังนั้น ต้องระบุไว้ก่อนว่า [อสัญ]...ซ้ำ , อ้อม

สรุป จักขุ จักไม่เกิด แก่ ปฉิ เพราะเกิดเป็นชาติสุดท้าย
และ จักขุ จักไม่เกิด แก่บุคคลในภูมิที่ไม่มีจักขุให้เกิด ในภูมินั้น ก็ได้แก่ [อสัญ] , [อรูป]

และ อนาคตจะเกิดมามีรูปายตนะ ก็ได้แก่ [อสัญ]..ซ้ำ
ส่วนองค์ธรรมที่เหลือ ก็คือ รูปาจักไม่เกิด

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบทได้แก่
- สุ.๑ ซึ่งกำลังเกิด และกำลังตาย ในอสัญญสัตตภูมิ และจะเกิดในอสัญญสัตตภูมิอีก กับ
อสัญญสัตตภูมิ ๑
และ
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ
อรหัตตผลบุคคล ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในปัญจโวการภูมิ กับ ปัญจโวการภูมิ ๒๒ (เว้น อบายภูมิ ๔)
- ปุถุชน ๔ ผลเสกข.๓ ซึง กก + กต ในปัญจโวการภูมิ อสัญญสัตตภูมิ และจะไม่เกิดในภูมิที่ตนเกิดอยู่อีก กับ ปัญจโวการภูมิ ๒๕ อสัญญสัตตภูมิ ๑ (เว้น อกนิฏฐาภูมิ)
- ติ.๑ ผล.๔ ซึ่ง กก+ กต ในอรูปภูมิ กับ อรูปภูมิ ๔
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

---------------------

ปฏิปุ) ยสฺส วา ปน ยตฺถ รูปายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ตตฺถ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
หรือว่า รูปายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , จักขายตนะก็จักไม่เกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

รูปา จักไม่เกิด X .........................จักขุ จักเกิด / -------
--"-----" ................................จักขุ จักไม่เกิด X- ปฉิ , [อสัญ]...อ้อม , [อรูป]
- ปฉิ
- [อสัญ]...อ้อม
- [อรูป]

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

ในปฏิปุ) องค์ธรรมของสันนิฏฐาน และ สังสยบท เหมือนองค์ธรรมหมวดหลังของอนุโลม

:b53: อย่าลืมว่า รูปายตนะ เกิดได้ในอสัญญสัตตภูมิ และ สุ.๑ ที่เกิดอยู่ในอสัญญสัตตภูมินี้ มีทั้งที่พวกที่เกิดซ้ำภูมิในอนาคตคือ วนกลับมาเกิดในภูมิเดิมอีก พวกนี้รูปายตนะก็จักเกิดอีกต่อไป
ส่วนพวกที่เป็น สุ.๑ เกิดในอสัญฯ เป็นชาติสุดท้าย อนาคต รูปาจักไม่เกิดอีกต่อไป อย่าลืมเอามาเป็นองค์ธรรมด้วย เวลาตั้งองค์ธรรมในครั้งแรกค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


ปวัตติวาระ อุปปาทวาระ (อุ)กาล ๓ ปัจจนิกนัย ปุคคโลกาสวาระ (โล)[/b]
(จัก - ฆานา) เคยเป็นข้อสอบ ปี ๕๒-๕๗

ปฏิปุ) ยสฺส วา ปน ยตฺถ ฆานายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ตตฺถ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?

ฆานา X (จักไม่เกิด).........................จักขา / (จักเกิด) - [รูป]
-".............................................จักขา X (จักไม่เกิด) - ปฉิ , [อสัญ ] , [อรูป]
- ปฉิ
- [รูป]
- [อสัญ]
- [อรูป]

หรือ

ฆานา X (จักไม่เกิด).......................จักขา / (จักเกิด) - [รูป]...ซ้ำ
-"..........................................จักขา X (จักไม่เกิด) - ปฉิ , [อสัญ ] , [อรูป]
- ฉิ ในกามภูมิ ๗
- [รูป] ....ซ้ำ , ฉิ ในรูปภูมิ ๑๔ (-อกนิฏฐา)
- [อสัญ]
- [อรูป]

วิสัชนา) รูปาวจรานํ เตสํ ตตฺถ ฆานายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ โน จ เตสํ ตตฺถ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ ,
ปญฺจโวกาเร ปจฺฉิมภวิกานํ อสญฺญสตฺตานํ อรูปานํ เตสํ ตตฺถ ฆานายตนญฺจ นุปฺปชฺชิสฺสติ
จกฺขายตนญฺจ นุปฺปชฺชิสฺสติ

ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่

- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในรูปภูมิ และจะเกิดในภูมิที่ตนเกิดอยู่อีก
กับ รูปภูมิ ๑๐ (เว้น สุทธาวาสภูมิ ๕ , อสัญญสัตตภูมิ ๑)
และ
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ พระอรหันตบุคคล ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในปัญจโวการภูมิ กับ ปัญจโวการภูมิ ๒๒ (เว้น อบายภูมิ ๔) ปัจฉิมภวิกะโดยตรง
- ปุถุชน ๔ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในปัญจโวการภูมิ และจะไม่เกิดในภูมิที่ตนเกิดอยู่อีก
กับ ปัญจโวการภูมิ ๒๕ (เว้น อกนิฏฐาภูมิ) ปัจฉิมภวิกะโดยอ้อม
- สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ กับ อสัญญสัตตภูมิ ๑ :b47:
- ติ.1 ผลบุคคล.4 ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในอรูปภูมิ กับ อรูปภูมิ ๔ :b46:

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

อธิบาย เอาสันนิฏฐานบทมาตั้งองค์ธรรมให้ถูกต้อง สำคัญมากต้องตั้งให้ถูกต้อง
ในอนาคต ฆานะ จักไม่เกิดแก่บุคคลใดในภูมิใด จักไม่เกิดแก่ปัจฉิมภวิกบุคคล ทั้งตรงและอ้อม ปฉิ
ฆานะจักไม่เกิดแก่บุคคลที่เกิดอยู่ใน รูป , อสัญ , อรูป เพราะเป็นภูมิที่ฆานะเกิดไม่ได้

ในอนาคต จักขุจักเกิดได้ แก่บุคคลใดในภูมิใด จักเกิดแก่ บุคคลที่เกิดอยู่ในรูปภูมิ

ในอนาคต จักขุจักไม่เกิด แก่บุคคลใดในภูมิใด จักขุจักไม่เกิดแก่ ปัจฉิมภวิกบุคคล ทั้งตรงและอ้อม
อสัญ , อรูป ตรงนี้แหละที่ต้องคิดเยอะหน่อย
ถ้าใช้ [ฉิ*]นี้ได้เฉพาะมาพร้อมกันในปัญจะและอรูป ถ้าไม่ได้มาพร้อมกัน
[ฉิ*] จะต้องเหลือแค่ ปัญจโวการภูมิ เท่านั้น คือ ปญฺจโวกาเร ปจฺฉิมภวิกานํ (ปฉิ)

---------------------------------------------------------------------------------------
เพราะ [ฉิ*] นี้ รวมหมด มีทั้ง กาม รูป อรูป หรือ [ฉิ*]ในจตุ.+ปัญจ.... องค์ธรรมเต็มๆ คือ
ฉิตรง
- ติ.๑ ผล.เบื้องต่ำ ๒ = ฉิ กำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ + อร.๑ กำลังปรินิพพาน ในกามสุ. ๗
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ = ฉิ กำลังเกิดในรูปภูมิ ๑๕ + อร.๑ กำลังปรินิพพาน ในรูปภูมิ ๑๕
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ = ฉิ กำลังเกิดในอรูปภูมิ ๔ + อร.๑ กำลังปรินิพพาน ในอรูปภูมิ ๔
:b50: ก็จะต้องรวมภูมิอีกครั้ง ให้เป็น จตุโวการภูมิ ๔ , ปัญจโวการภูมิ ๒๒ (เว้น อบายภูมิ ๔)
(ปัจฉิมภวิกะในปัญจะ ย่อว่า ปฉิ และ ปัจฉิมภวิกะในจตุโวการภูมิ หรือ อรูปภูมินี้ ย่อว่า อฉิ เมื่อรวม ฉิทั้งสองนี้ ก็คือ ฉิ*)

ฉิอ้อม
- ปุถุชน ๔ ผลเสกข.๓ กก + กต ใน 30 ภูมิ (เว้น อกนิฏฐาภูมิ)
-----------------------------------------------------------------------------------------

[ฉิ*] เต็มๆ นี้ เมื่อองค์ธรรมมาพร้อม อรูปภูมิ อย่างที่ได้มานี้...........จัก X - [ฉิ*] , :b47: อสัญ , :b46: อรูป
ให้จัด ฉิตรง เสียใหม่
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ = ฉิ กำลังเกิดในอรูปภูมิ๔ + อร.๑ กำลังปรินิพพานในอรูปภูมิ ๔ <--ตรงนี้
ให้ไปรวมอยู่กับ :b46: อรูป (องค์ธรรมเดิม ติ.1ผลเสกข.3 กก + กต ในอรูปภูมิ ๔)
รวมแล้วก็จะเป็นองค์ธรรมดังนี้............ ติ.1 ผลบุคคล.4 กก + กต ในอรูปภูมิ ๔

[ฉิ*] ฉิตรง เต็มๆ ในจตุ.+ปัญจ ก็จะเหลือแค่ ปัญจ.เท่านั้น เพราะจตุโวการภูมิ ก็คือ อรูปภูมิ ๔ แยกไปอยู่กับพวกเดียวกันแล้ว เวลาเขียนองค์ธรรมจะเหลือแค่ ปญฺจโวกาเร ปจฺฉิมภวิกานํ (ฉิตรง)

ส่วน ฉิอ้อม ก็เช่นกัน ก็ต้องลดลงเหลือแค่ ปัญจโวการภูมิ ๒๕ (เว้น อกนิฏฐาภูมิ)
30 ภูมิ หัก อรูป ๔ และ อสัญ ๑ ออก ก็จะเหลือ = ปัญจ ๒๕
ที่หายไป ๕ ภูมินี้ ก็ไปรวม กับ :b47: อสัญ :b46: อรูป
จึงตัดสำนวนว่า จะไม่เกิดในภูมิที่ตนเกิดอยู่อีก ของอสัญ อรูป ออก

เมื่อเราวิสัชนาพระบาลีได้แล้ว เราจะต้องรู้ทุกอย่างในคำตอบตามความเป็นจริงด้วย
สภาวะของคำปุจฉา-วิสัชนา ต้องรู้ตามความจริงที่ปรากฏในนั้น เพราะถ้าสภาวะเหมือนๆ กัน
ไม่ต้องคำนึงถึงว่า อะไรลด อะไรเพิ่ม แล้วพระพุทธองค์จะตั้งคำปุจฉา-วิสัชนา ไว้ตั้งมากมายทำไม
เพราะมีสภาวะที่แตกต่างกันออกไป เราจึงต้องค้นหาสภาวะเหล่านี้ตามเหตุผลที่ได้เรียนมาตั้งแต่จูฬตรี
และคำวิสัชนา ก็กล่าวไว้เป็นพระพุทธพจน์ ที่เหมือนกันก็จริง เช่น อามนฺตา ใช่ แต่สภาวะนั้นแตกต่างกันออกไป ตามคำปุจฉา พระอริยสาวกในสมัยก่อนได้ค้นหาสภาวะต่างๆ ไว้ให้เรารู้ตาม ต้องกตัญญู ที่ได้พูดองค์ธรรมต่างๆ

แต่ถ้านำมาถกเถียงกัน จัดการคิดใหม่ตามทิฏฐิตน แม้แต่คำๆ เดียว พยางค์เดียว ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีพระอริยสาวก ช่วยชี้แนะ ปัญญาของคนธรรมดาทั้งหลาย ไม่เคยคิดค้นคำอะไรได้เองหรอก ไม่ว่าคำอะไรที่นำมาใส่เรื่องราวใหม่ให้บิดเบือน ผิดเพี้ยนไป จึงเป็นบาปมหันต์ ง่ายๆ แค่เราคิดตามพระพุทธองค์และพระอริยสาวก เราก็ปลอดภัยแล้ว เกิดกุศลขึ้นได้มากมาย จากการเรียนตามพระปัญญาพระพุทธองค์ ค่ะ

แต่ถ้าใครปรารถนาจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ต้องการเรียนรู้จากใคร จะค้นคว้าด้วยตนเอง ก็เชิญตามสบาย แต่อย่ามาจัดระเบียบใหม่หรือแก้ไขของเดิมดีกว่า จะทำให้เสียเวลาต้องไปแวะนรก เสียเวลาและทรมานค่ะ

นี่แหละ ที่พูดกันบ่อยๆ ว่า ..........รู้ตามความเป็นจริง
คำปุจฉา - วัสัชนา เป็นพระพุทธพจน์ แต่จะรู้ตามความเป็นจริงได้ ก็ต้องศึกษา และ ปฏิบัติกรรมฐาน
ให้เห็นทั้งปริยัติ และ ปฏิบัติ แล้วผลคือ ปฏิเวธก็จะตามมาค่ะ
บางท่านคิดว่า มาอะไรกัน คนนั้นเกิดคนนี้ตาย จะเกิดที่ไหนตายที่ไหน มันเกี่ยวอะไรกับการปฏิบัติกรรมฐาน
เกี่ยวค่ะ เพราะการรู้เช่นนี้บ่อยๆ เน้นย้ำในขันธสันดาน การเรียนพระอภิธรรมนี้ทำให้เกิด ทิฏฐิสามัญญตา ซึ่งเป็นการขจัดปัญหา ขจัดข้อสงสัย จึงต้องเกิดขึ้นควบคู่กันไปกับการปฏิบัติจนกว่าจะบรรลุมรรค ผล นิพพาน
อ่าน ทิฏฐิสามัญญตา ที่ http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=273
-------------------------------------------------------------------------------------------
ต่อไปนี้ เป็นคู่ที่วิธีการหาต้องค้นออกมาให้หมดให้ได้ ค่อนข้างยากสักหน่อย
แต่ถ้าฝึกทำความเข้าใจ ฝึกคิดและเขียนบ่อย จะเข้าใจได้ไม่ยากค่ะ

อุ กาล ๓ โล ปัจจนิก
(จัก - มนา)
อนุปุ) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ตตฺถ มนายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
จักขายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , มนายตนะก็จักไม่เกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

จักขุ จักไม่เกิด X .......................มนา จักเกิด / - [อรูป]...ซ้ำ
--"-----" ...............................มนา จักไม่เกิด X - [ฉิ*] , [อสัญ]
- ปฉิ
- [อสัญ]
- [อรูป]....อฉิ และ ซ้ำ

วิสัชนา) อรูปานํ เตสํ ตตฺถ ฯ
ปจฺฉิมภวิกานํ อสญฺญสตฺตานํ เตสํ ตตฺถ ฯ

(ปัจฉิมภวิกะ [ฉิ*] คือ ปฉิ และ อฉิ รวมกัน)

คู่ต่อไปที่ต้องระวัง คือ

อนุปุ) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ตตฺถ ธัมมายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
จักขายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , ธัมมายตนะก็จักไม่เกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

จักขุ จักไม่เกิด X .......................ธัมมา จักเกิด / - [อสัญ]...ซ้ำ , [อรูป]...ซ้ำ
--"-----" ...............................ธัมมา จักไม่เกิด X - [ฉิ*] , [อสัญ]..อ้อม
- ปฉิ
- [อสัญ]....ซ้ำ , อ้อม
- [อรูป]....ซ้ำ , อฉิ

วิสัชนา) อสญฺญสตฺตานํ อรูปานํ เตสํ ตตฺถ ฯ ...........([อสัญ]...ซ้ำ มีพระบาลี)
ปจฺฉิมภวิกานํ เตสํ ตตฺถ ฯ ................( [อสัญ]..อ้อม จะไม่มีพระบาลี เวลาวิสัชนา)

[ฉิ*] .....นี้มาจาก ปฉิ + อฉิ เป็นปัจฉิมะ ในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
อฉิ เป็นองค์ธรรมที่เหลือจาก [อรูป]...ซ้ำ
ส่วน ปฉิ นั้น ได้มาจากการเอา จักขุจักเกิดออกไป เพราะจักขุจักเกิด แก่พวกที่เกิดในปัญจะ ซ้ำภูมิ
ดังนั้น จึงเหลือ ปฉิ ที่จักขุจักไม่เกิดอีกต่อไป เพราะปฉิ จะไม่มีการเกิดอีกต่อไปในชาติหน้า
ให้ใช้หลักเกณฑ์นี้เพื่อทำให้เข้าใจวิธีการหาในแบบนี้ เพราะถ้าฝึกจนชำนาญจะหาได้เร็วและถูกต้องค่ะ
ดูองค์ธรรมประกอบคำอธิบายนี้ หน้า ๒๑๐
----------------------------------------

ปวัตติวาระ อุปปาทนิโรธวาระ (อุ+นิ) กาล ๓ ปัจจนิกนัย ปุคคโลกาสวาระ (โล)
(มนา - ธัมมา) ข้อสอบปี ๔๙
อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ยตฺถ มนายตนํ นุปปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ตตฺถ ธมฺมายตนํ น นิรุชฺฌิสฺสตีติ?
มนายตนะจักไม่เกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , ธัมมายตนะก็จักไม่ดับแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

มนา X (จักไม่เกิด)..........................ธัมมา / (จักดับ) - [ฉิ , [ อสัญ..ซ้ำ,อ้อม และ อสัญ]..ซ้ำ
-"---------"-----...........................ธัมมา X (จักไม่ดับ) - ฉิ] อสัญ]..อ้อม
- [ฉิ*] ...ทั้งปัญจะและอรูป
- [อสัญ].....ซ้ำ , อ้อม

วิสัชนา) ปจฺฉิมภวิกานํ อุปปชฺชนฺตานํ อสญฺญสตฺตานํ เตสํ ตตฺถ มนายตนํ นุปฺปชฺชิสฺสติ โน จ เตสํ ตตฺถ ธมฺมายตนํ น นิรุชฺฌิสฺสติ,
ปรินิพฺพนฺตานํ เตสํ ตตฺถ มนายตนญฺจ นุปฺปชฺชิสฺสติ ธมฺมายตนญฺจ น นิรุชฺฌิสฺสติ

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
( [ฉิ = ฉิตรง และ ฉิอ้อม )
- ติ.๑ ผลเสกข. ๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
กับ จตุโวการภูมิ ๔ ปัญจโวการภูมิ ๒๒ (เว้นอบายภูมิ ๔)
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
กับ จตุโวการภูมิ ๔ ปัญจโวการภูมิ ๒๕ (เว้นอกนิฏฐาภูมิ)
( [ อสัญ ] )
- สุ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ
- สุ.๑ ซึ่งกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ และจะเกิดในอสัญญสัตตภูมิอีก กับ อสัญญสัตตภูมิ ๑
และ
( ฉิ] = ฉิตรง และ ฉิอ้อม )
- อร.๑ ซึ่งกำลังปรินิพพานในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ
กับ จตุโวการภูมิ ๔ ปัญจโวการภูมิ ๒๒ (เว้นอบายภูมิ๔)

- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังตายในจตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ และจะไม่เกิดในภูมิที่ตนเกิดอยู่อีก
กับ จตุโวการภูมิ ๔ ปัญจโวการภูมิ ๒๕ (เว้นอกนิฏฐาภูมิ)
- สุ.๑ ซึ่งกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ และจะไม่เกิดในอสัญญสัตตภูมิอีก กับ อสัญญสัตตภูมิ ๑
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b53: อธิบาย มนาจักไม่เกิด ก็ได้แก่ - [ฉิ*] , [อสัญ]...ซ้ำ,อ้อม
กาล ๓ เราจะใช้ทั้งกำลังเกิด และ กำลังดับ เมื่อหาสันนิฏฐานบท เราจะยกมาทั้งสองขาคือขาเกิดขาดับ
เป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้วตั้งแต่ชั้นมหาตรี ว่า กาล ๒ และ กาล ๓ จะต้องยกมาทั้ง [ขาเกิดและขาดับ ]
จึงจะใช้ [ แทนขาเกิด คือ กำลังเกิด
และใช้ ] แทนขาดับ คือ กำลังตาย
จะมีการแยกอย่างที่เห็นคือ [ฉิ และ ฉิ]
- [ฉิ = ฉิตรง และ อ้อม กำลังเกิด
ฉิตรง ได้แก่ ติ.๑ ผลเสกข.๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิด = [ฉิ เมื่ีอมีการเกิด ก็ต้องมีการตายในอนาคต เพราะการดับของ[ฉิ จึงเป็นการดับของชาตินี้ี ....ซึ่งก็คือ พระอรหันตบุคคล ๑ ซึ่งกำลังปรินิพพาน = ฉิ]
แต่ในขณะกำลังเกิด [ฉิ นี้เราก็ต้องแยกออกมาก่อนว่า อนาคตในชาตินี้ ธัมมายตนะจักดับ
เป็นอนาคตของชาตินี้ ของ[ฉิ ที่กำลังเกิดเท่านั้น และอนาคตชาติหน้าจะไม่มีการเกิดอีกต่อไปแล้ว

สำหรับพระอรหันต์ ฉิ] ที่กำลังปรินิพพาน จะไม่มีการเกิดในชาติหน้า ก็จะไม่มีการดับในภพภูมิใดอีกต่อไป ฉะนั้นในอนาคตชาติหน้าจักไม่เกิด จักไม่ดับ อีกต่อไปแล้ว

ส่วน ฉิอ้อม ก็จะไม่กลับมาเกิดภูมิเดิมอีกต่อไปแล้ว จึงใช้สำนวนว่า"จะไม่เกิดในภูมิที่ตนเกิดอยู่อีก"
- อสัญญสัตตภูมิ๑ นั้น [อสัญ] ในปุคคโลกาสวาระ จะเกิดซ้ำภูมิได้ เป็นองค์ธรรมของสันนิฏฐานบทได้เพราะว่า ในอสัญญสัตตภูมิ๑ นี้ ไม่มีมนายตนะ เมื่อไม่มีมนายตนะให้เกิด มนายตนะก็จักไม่เกิด

สรุป มนายตนะ จักไม่เกิด แก่บุคคลที่จะไม่เกิดอีกต่อไปในภูมิที่มีมนายตนะเกิด และบุคคลที่เกิดอยู่ในภูมิที่ไม่มีมนายตนะให้เกิด ก็เป็นบุคคลที่มนายตนะจักไม่เกิด

- ธัมมา เกิดได้ทุกภูมิ ก็จักดับได้ทุกภูมิเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ทั้ง [ฉิ , [ อสัญ ] .......ธัมมา จักดับ
[ฉิ จักดับในชาตินี้
[ อสัญ ] คือ [อสัญ ..ขาเกิดของซ้ำ,อ้อม จักดับชาตินี้และ ขาดับคือ อสัญ]..ซ้ำจักดับในชาติหน้าต่อไปในภูมิเดิมอีก คือดับหรือตายจากอสัญแล้วจะไปเกิดที่อื่นคือ กามสุคติภูมิก่อน แล้วจะวนกลับมาเกิดในอสัญอีกในอนาคต จึงใช้สำนวนว่า "และจะเกิดในอสัญญสัตตภูมิอีก"
ฉิ]...... ธัมมาก็จักไม่ดับ ทั้งฉิตรง และ ฉิอ้อม พระบาลี ใช้ ปรินิพฺพนฺตานํ
ฉิตรง ก็ไม่มีอะไรมาก มีพระอรหันต์กำลังปรินิพพานที่ต้องยกมาแสดงเท่านั้น
ฉิอ้อม นี่ก็ ปุ.๔ ผลเสกข.๓ พวกนี้จะไม่กลับมาเกิดภูมิเดิมอีกต่อไปแล้ว มีสำนวนบอกไว้ว่า "และจะไม่เกิดในภูมิที่ตนเกิดอยู่อีก"
อสัญ ]...อ้อม เป็นที่รู้กันอยู่แล้วตั้งแต่มหาตรีว่า อสัญ..อ้อมไม่มีพระบาลีเวลาวิสัชนา สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังตายในอสัญญสัตตภูมิ และจะไม่เกิดในอสัญญสัตตภูมิอีก คือจะไม่กลับมาเกิดที่อสัญ.อีกต่อไป คือเมื่อไปเกิดที่กามภูมิแล้ว จะบรรลุเป็นพระอริยะ และพระอริยะเบื้องต่ำ ๓ ก็จะไม่ไปเกิดในอสัญญสัตตภูมิแน่นอนค่ะ จึงรวมอยู่กับพวกปัจฉิมภวิกะโดยอ้อม

สุคติอเหตุกบุคคล ๑ นั้น มีทั้ง ใน มนุษย์บกพร่อง เทวดาชั้นต่ำในจาตุมฯ และในอสัญญสัตตภูมิ
ที่เป็นฉิอ้อม ที่แสดง ปุ.๔ ผลเสกข.๓ จึงเป็นของมนุษย์บกพร่อง และเทวดาชั้นต่ำในจาตุมฯ (ฉิอ้อม รวมแล้ว ต้องได้ 30 ภูมิเว้นอกนิฏฐาภูมิ)

------------------------------------------------------------------------

:b53: ที่สำคัญคือ
ละ.... ฉิ ไม่มีการแบ่ง ฉิตรง ฉิอ้อม
โล.... ฉิ* มี ฉิตรง ฉิอ้อม

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2016, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

ในการคิดจะต้องมีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไปในแต่ละส่วน เช่น ละ ก็จะหาไม่เหมือนกันกับ โล เป็นต้น
จึงต้องขยันในการยกมาฝึกหัดทำให้คล่อง ให้ชำนาญในการคิดหา และ วิสัชนา
เราเกิดมามีอินทรีย์อ่อน เราต้องแจกแจงกันละเอียด อธิบายแล้วอธิบายอีก ย้ำซ้ำๆ กันไปจนกว่าอินทรีย์จะแก่กล้าขึ้นมาบ้าง เมื่ออินทรีย์แก่กล้าขึ้นมาบ้างแล้ว พอใครพูดคู่ใดมา หรือถามแค่ท่อนแรกตอบได้ทันที เช่น
บอกว่า มนาจักไม่เกิดแก่บุคคลใด(ละ) เรานึกออกทันทีว่า คือ ฉิ
มนาจักไม่เกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด(โล) เราก็ต้องเอาภูมิมาเกี่ยวด้วย ก็คือ ฉิ กับ อสัญ



:b53: สรุป เงื่อนไขในการคิดหา กาล ๑
ใช้ ...[ ....แทนคำว่า กำลังเกิด
ใช้ .......] แทนคำว่า กำลังตาย หรือ กำลังดับ

กาล ๑
ละ = โล
:b49: อุปปาทวาระ
อนุโลมนัย อุปฺปชฺชติ กำลังเกิด องค์ธรรมมีดังต่อไปนี้
- [กาม-บกพร่องโดยกรรม1 2 3,
- [กาม , [รูป , [อสัญ , [อรูป

ปัจจนิกนัย นุปฺปชฺชติ ไม่ใช่กำลังเกิด
๑. คือคนที่กำลังตายทั้งหมดใน ๓๑ ภูมิ --- สํจ]
๒. คือ คนที่กำลังเกิด แต่ไม่มีอายตนะนั้นๆ ให้เกิด.....มีองค์ธรรมทั้งหมด ได้แก่
- พวกบกพร่องโดยกรรมที่เกิดในกามภูมิเบื้องต่ำ ๖ ---- [ 1 2 3
- พวกบกพร่องโดยภูมิ จะมีทั้งหมด ----[รูป , [อสัญ , [อรูป
{องค์ธรรมจะได้อย่างไร ก็แล้วแต่อายตนะ เช่นจักขุบกพร่อง ก็ได้ --- [ 1 2 3 , [อสัญ , [อรูป }

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2016, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

ปัจจุปันนาตีตวาระ (กาล ๔)


กาล ๔ นี้คือ กาล ๑ + กาล ๒ หรือชื่อเป็นทางการว่า กาลผสม
อย่าลืมว่ากาล ๑ กำลังเกิด จะมีพวกบกพร่อง ๓ กลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องระบุ อันมี...เกิดได้ เป็นต้น
วิสัชนา สะ อะ นำหน้าอายตนะ
ในการวิสัชนาของกาล ๔ นี้ สะ อะ ให้ยึคเอาอายตนะของกาล ๑ เป็นหลักในการวิสัชนาของปฏิโลมปุจฉา ในอนุโลมนัย ละ อุ

ดังตัวอย่างต่อไปนี้ใน คู่แรกของกาล ๑
อุปปาทวาระ ปัจจุบันวาระ อนุโลมนัย (กาล ๑ นุ)
ปุคคลวาระ (ละ) จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส )
อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
วัสัชนา) สจกฺขุกานํ อโสตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ โสตายตนํ อุปฺปชฺชติ,
สจกฺขุกานํ สโสตกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ โสตายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ.

ส่วนกาล ๒ เคยเกิด ก็เหมือนเดิม คือ ตั้งทั้งขาเกิดและขาดับ
ขอใช้สัญญลักษณ์แทน เพื่อง่ายต่อการเข้าใจว่า องค์ธรรมของทางด้านซ้ายมือที่หามาได้ครั้งแรก
จะไปเป็นองค์ธรรมของฝั่งขวาครบหมดในที่ใดบ้าง จึงขอใช้สัญญาลักษณ์ดังนี้
ขาเกิด.... [
และ ขาดับ..... ]

กาล ๔ นี้จะไม่ยากแล้ว ถ้าทวนกาล ๑ บ่อยๆ จนชำนาญ ส่วนกาล ๒ เป็นกาลที่ง่ายมากๆ อยู่แล้วค่ะ
อุปปาทวาระของกาล ๔ นี้จะยากตรงอนุโลมนัยที่เป็นปฏิโลมปุจฉา ที่ต้องตอบเป็นสรูปทัสสนวิสัชนาที่มีวิภังค์โดยตรง

อุปปาทวาระ นอกนั้นเป็น ปัจฉาปัญหา ปุเรปัญหา โมฆปัญหา(คู่กับปฏิกเขปวิสัชนา นตฺถิ)

อุปปาทวาระ(อุ) กาล ๔ อนุโลมนัย(นุ) ปุคคลวาระ(ละ)
จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส )
อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จักขุกำลังเกิด /.......................โสตะไม่เคยเกิด X -----
-"--------"...........................โสตะ เคยเกิด / - [ปัญจ
- [ปัญจ

วัสัชนา) อามนฺตา ใช่
ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และ สังสยบท ได้แก่
- ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคล ๓ อันมีจักขุเกิดได้ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการปฏิสนธิจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔
---------------------------------------------------
อธิบาย จักขุกำลังเกิดได้ในปัญจโวการภูมิ คือ กามภูมิ รูปภูมิ
ในกามภูมิ พวกบกพร่องทั้งสามกลุ่ม ก็มีคนที่จักขุดีไม่บกพร่องได้ด้วย ทุ.๑ สุ.๑ ก็รวมอยู่ในปุถุชน ๔
ในบุคคลที่กำลังเกิดในปัญจโวการภูมินี้ในอดีตชาติ โสตะไม่เคยเกิด ไม่มี ตรงนี้จึงไม่มีองค์ธรรม
เพราะฉะนั้น บุคคลที่กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ก็เคยมีโสตะเกิดในอดีตชาติมาก่อนทุกคน

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน โสตายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ ,ตสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า โสตายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด , จักขายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

โสตะเคยเกิด /.........จักขุไม่ใช่กำลังเกิด X - สํจ] ,[1 2 3 ,[อสัญ, [อรูป
-"--------"................จักขุ กำลังเกิด / - [กาม , [รูป
- [กาม]
- [รูป ]
- [อสัญ]
- [อรูป]

วิสัชนา) สพฺเพสํ จวนฺตานํ อจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ โสตายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ โน จ เตสํ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ,
สจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ โสตายตนญฺจ อุปฺปชฺชิตฺถ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ

เมื่ีอบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดกำลังตาย และบุคคลที่จักขุเกิดไม่ได้เหล่านั้น กำลังเกิดในกามภูมิ โสตายตนะเคยเกิด แต่จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น,
บุคคลที่มีจักขุเกิดได้เหล่านั้น กำลังเกิด โสตายตนะก็เคยเกิด จักขายตนะก็กำลังเกิด

ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ปุ.๔ ผล.๔ ซึ่งกำลังตายใน 31 ภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของจุติจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕
กัมมชรูป ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย
- ทุ.๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในอบายภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นสังเสทชะ และ คัพภเสยยกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผู้จะตายในระหว่างจักขุยังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ ๖
- สุ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของชีวิตนวกกลาปที่เกิดในขณะแรก
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอรูปาวจรปฏิสนธิจิต ๔ เจตสิก ๓๐
และ
-ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคล ๓ อันมีจักขุเกิดได้ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการปฏิสนธิจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔ (ตรงนี้เหมือนองค์ธรรมของอนุโลม)
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น
------------------------------------------------------
อธิบาย โสตะเคยเกิดต้องตั้งทั้ง[ขาเกิด และ ขาดับ] คือบุคคลทั้งหมดที่กำลังเกิดและกำลังตายใน 31 ภูมิ บุคคลทั้งหมดเหล่านี้เคยมีโสตายตนะเกิดมาแล้วในอดีตชาติทั้งสิ้น ได้แก่คนที่กำลังเกิดและกำลังตายใน
- [กาม]
- [รูป ]
- [อสัญ]
- [อรูป]
ต่อไปก็หาตรงกันข้ามกับสังสยบทก่อน จักขุไม่ใช่กำลังเกิด X - สํจ] ก็ได้แก่คนที่กำลังตาย สํจ]ก็คือเอาขาตายของทุกภูมิ มาทั้งหมด เพราะว่า บุคคลที่จักขุไม่ใช่กำลังเกิด ก็ได้แก่บุคคลที่กำลังตายทั้งหมดใน 31ภูมิ (บกพร่องในกามต่ำ๖]= 1 2 3])
ก็คือขาตายของทั้งหมด สํจ] คือ.....1 2 3] , กาม] , รูป] , อสัญ] , อรูป]
พวกบกพร่องโดยกรรม ที่กำลังเกิดในกามต่ำ๖ จักขุไม่ใช่กำลังเกิด คือ..... [1 2 3
พวกบกพร่องโดยภูมิ ที่กำลังเกิดในอสัญ อรูป จักขุไม่ใช่กำลังเกิด คือ..... [อสัญ, [อรูป

หาสังสยบท ถามว่าจักขุกำลังเกิดได้แก่ใครได้บ้าง ก็คือ คนที่กำลังเกิดปัญจโวการภูมิ .... [กาม , [รูป

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อุปปาทวาระ(อุ) กาล ๔ ปัจจนิกนัย(จ) ปุคคลวาระ(ละ)
จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส )
อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถาติ?
จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จักขุไม่ใช่กำลังเกิด X.......................โสตะเคยเกิด / - สํจ] ,บกพร่อง [123,[อสัญ,[อรูป
-"--------"...........................โสตะ ไม่เคยเกิด X -----
- สํจ]
- บกพร่อง [1 2 3
- [อสัญ , [อรูป

วัสัชนา) อุปฺปชฺชิตฺถ เคยเกิด
ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ปุ.๔ ผล.๔ ซึ่งกำลังตายใน 31 ภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของจุติจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย
- ทุ.๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในอบายภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นสังเสทชะและคัพภเสยยกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผู้จะตายในระหว่างจักขุยังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่า
อุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ ๖
- สุ.๑ ติ.๑ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ อรูปภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของ
อรูปาวจรปฏิสนธิจิต ๔ เจตสิก ๓๐ ชีวิตนวกกลาปที่เกิดในขณะแรก
องค์ธรรมของสังสยบท ไม่มี

อธิบาย จักขุไม่ใช่กำลังเกิด ก็หาเหมือนกาล๑ ปัจจนิก จักขุไม่ใช่กำลังเกิดได้แก่คนที่กำลังตายทั้งหมดใน ๓๑ ภูมิคือ สํจ พวกบกพร่องทั้งสามกลุ่มที่จักขุบกพร่องโดยกรรม 1 2 3 และพวกบกพร่องโดยภูมิคือ อสัญ อรูป
ต่อไปก็หาตรงกันข้ามกับสังสยบท โสตะเคยเกิด ไม่ว่าจะเป็น สํจ 123 อสัญ อรูป ทุกคนล้วนแต่เคยมีโสตะเกิดขึ้นมาอดีตชาติที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น จึงเป็นองค์ธรรมได้ทั้งหมด เมื่อองค์ธรรมครบหมดแล้วจึงไม่ต้องหาต่อไป เป็นปุเรปัญหา คู่กับปาฬิคติวิสัชนา ตอบตรงกันข้ามกับบทถามทันที สังสยบทถามว่า ไม่เคยเกิดใช่ไหม? ก็ต้องตอบว่า เคยเกิด

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน โสตายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถ ,ตสฺส จกฺขายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า โสตายตนะไม่เคยเกิดแก่บุคคลใด , จักขายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

วิสัชนา) นตฺถิ ไม่มี
ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และสังสยบท ไม่มี

---------------------------------------------------------------

อธิบาย บุคคลที่โสตายตนะไม่เคยเกิดในภพต่างๆ นั้นไม่มี
มีแต่บุคคลที่โสตายตนะเคยเกิดมาแล้วทั้งสิ้น
เพราะการวนเวียนเกิดตายมาแล้วในอดีต ต้องเคยมีโสตายตนะเเกิดมาแล้วทุกคน
ปฏิโลมปุจฉานี้เป็นโมฆปัญหา

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

รูปแบบของทุกคู่ในอุปปาทวาระ อนุโลมนัยและปัจจนิกนัยจะเป็นแบบคู่ด้านบนนี้คือ
ปัจฉาปัญหา ปริปุณณปัญหา ปุเรปัญหา และโมฆปัญหา

อุปปาทวาระ(อุ) กาล ๔ อนุโลมนัย(นุ) ปุคคลวาระ(ละ)
ิชิวหายตนมูละ -รูปายตนมูลียมกะ

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ชิวหายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส รูปายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
ชิวหายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , รูปายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

ชิวหากำลังเกิด /......................รูปาไม่เคยเกิด X -----
-"--------"...........................รูปาเคยเกิด / - [กาม
- [กาม

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และ สังสยบท ได้แก่
-ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคลเบื้องต่ำ ๒ อันมีชิวหาเกิดได้ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของกามาวจรปฏิสนธิจิต ๑๐ เจตสิก ๓๓ กัมมชกลาป ๓ ๗
-------------------------------------------------------
ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน รูปายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ ,ตสฺส ชิวหายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า รูปายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด , ชิวหายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

รูปาเคยเกิด /............ชิวหาไม่ใช่กำลังเกิด X - สํจ] ,[3,[รูป , [อสัญ ,[อรูป
-"--------"..............ชิวหา กำลังเกิด / - [กาม
- [กาม]
- [รูป ]
- [อสัญ]
- [อรูป]

วิสัชนา) สพฺเพสํ จวนฺตานํ อชิวหกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ รูปายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ โน จ เตสํ ชิวหายตนํ อุปฺปชฺชติ,
สชิวหกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ รูปายตนญฺจ อุปฺปชฺชิตฺถ ชิวหายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ

ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ปุ.๔ ผล.๔ ซึ่งกำลังตายใน 31 ภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของจุติจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕
กัมมชรูป ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผู้จะตายในระหว่างชิวหายังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓
- สุ.๑ ติ.๑ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ อรูปภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของมหัคคตปฏิสนธิจิต ๙ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๔ ชีวิตนวกกลาปที่เกิดในขณะแรก
และ
-ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคลเบื้องต่ำ ๒ อันมีชิวหาเกิดได้ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของกามาวจรปฏิสนธิจิต ๑๐ เจตสิก ๓๓ กัมมชกลาป ๓ ๗ (ตรงนี้เหมือนองค์ธรรมของอนุโลม)
-------------------------------------------------------
อธิบาย รูปาเคยเกิดต้องตั้งทั้ง[ขาเกิด และ ขาดับ] คือบุคคลทั้งหมดที่กำลังเกิดและกำลังตายใน 31 ภูมิ
- [กาม]
- [รูป ]
- [อสัญ]
- [อรูป]
ต่อไปก็หาตรงกันข้ามกับสังสยบทก่อน ชิวหาไม่ใช่กำลังเกิด X - สํจ] ก็คือเอาขาตายของทุกภูมิ มาทั้งหมด เพราะว่า บุคคลที่ชิวหาไม่ใช่กำลังเกิด ก็ได้แก่บุคคลที่กำลังตายทั้งหมดใน 31ภูมิ
ก็คือขาตายของทั้งหมด สํจ คือ......... กาม] , รูป] , อสัญ] , อรูป]
พวกบกพร่องโดยกรรม ที่กำลังเกิดในกาม ชิวหาไม่ใช่กำลังเกิด คือ..... [ 3
( [3 บกพร่อง 3 คัพฯ นี้คือ ทุ.๑ สุ.๑ ซึ่งก็คือรวมอยู่ในขาเกิดของกามด้วย คือรวมอยู่กับปุถุชน๔)
พวกบกพร่องโดยภูมิ ที่กำลังเกิดใน รูป อสัญ อรูป ชิวหาไม่ใช่กำลังเกิด คือ....[รูป [อสัญ, [อรูป

หาสังสยบท ถามว่าจักขุกำลังเกิดได้แก่ใครได้บ้าง ก็คือ คนที่กำลังเกิดในกามภูมิ .... [กาม

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อุปปาทวาระ(อุ) กาล ๔ ปัจจนิกนัย(จ) ปุคคลวาระ(ละ)
ิชิวหายตนมูละ -รูปายตนมูลียมกะ

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ชิวหายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตสฺส รูปายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถาติ?
ชิวหายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด , รูปายตนะก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

ชิวหาไม่ใช่กำลังเกิด X......................รูปาเคยเกิด / - สํจ] , [3 ,[รูป , [อสัญ , [อรูป
-"--------"..................................รูปาไม่เคยเกิด X -----
- สํจ]
- บกพร่องโดยกรรม [3
- บกพร่องโดยภูมิ [รูป , [อสัญ , [อรูป

วิสัชนา) อุปฺปชฺชิตฺถ เคยเกิด

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ปุ.๔ ผล.๔ ซึ่งกำลังตายใน 31 ภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของจุติจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕
กัมมชรูป ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผู้จะตายในระหว่างชิวหายังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓
- สุ.๑ ติ.๑ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ อรูปภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของมหัคคตปฏิสนธิจิต ๙ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๔ ชีวิตนวกกลาปที่เกิดในขณะแรก
องค์ธรรมของสังสยบท ไม่มี

อธิบาย - สํจ] จะกระจายออกมาให้ดูว่ามีใครกำลังตาย กำลังจะจากภูมิไหนไปบ้าง มี
- พวกบกพร่องในกามต่ำ๖] , กาม] , รูป] , อสัญ] , อรูป]

รูปายตนะ เคยเกิด ปกติถ้าเป็นสันนิฏฐานบท เราจะตั้ง กำลังเกิดและกำลังตาย แต่เมื่อต้องหา รูปาเคยเกิด ซึ่งเป็นตรงกันข้ามกับสังสยบท เราต้องเอาเท่าที่มีอยู่ในสันนิฏฐานบทที่เราหาไว้ครั้งแรกมาพิจารณาหา มีอย่างไรแค่ไหน ก็ต้องแค่นั้น มีขาตายขาเดียว ขาเกิดขาเดียว ก็เอามาตามนั้น
ไม่ต้องจัดใหม่ว่า รูปาเคยเกิด จะต้องมาตั้งขาเกิดขาตาย ทำไม่ได้ค่ะ ในที่นี้เอาเฉพาะตรงนี้มาหา
- สํจ] หรือ---> พวกบกพร่องในกามต่ำ๖] , กาม] , รูป] , อสัญ] , อรูป]
- บกพร่องโดยกรรม [3
- บกพร่องโดยภูมิ [รูป , [อสัญ , [อรูป
องค์ธรรมทั้งสามบรรทัดข้างบนนี้ บุคคลที่กำลังเกิดและกำลังตาย ล้วนแล้วแต่มีรูปายตนะเคยเกิดมาแล้วในอดีตชาติด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งหมดนี้จึงเป็นองค์ธรรมของการหาตรงกันข้ามกับสังสยบท รูปาเคยเกิด
เมื่อองค์ธรรมถูกใช้หมดแล้ว บรรทัดล่างต่อมา รูปาไม่เคยเกิด จึงไม่มีองค์ธรรม

---------------------------------------------------------

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน รูปายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถ ,ตสฺส ชิวหายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า รูปายตนะไม่เคยเกิดแก่บุคคลใด , ชิวหายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

วิสัชนา) นตฺถิ ไม่มี

:b18: :b24: :b26: :b25:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2016, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

กาล ๔ ปุคคโลกาสวาระ

อุปปาทวาระ(อุ) กาล ๔ อนุโลมนัย(นุ) ปุคคโลกาสวาระ(โล)
จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส ตตฺถ โสตายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , โสตายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

จักขุ กำลังเกิด /......................โสตะ ไม่เคยเกิด X - [สุท 5
-"--------"...........................โสตะ เคยเกิด / - [กาม 11 , [รูป 10
- [กาม 11
- [รูป 15 (เว้น อสัญ1)

วิสัชนา) สุทฺธาวาสํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ตตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ ตตฺถ โสตายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ ,
อิตเรสํ สจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ตตฺถ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ โสตายตนญฺจ อุปฺปชฺชิตฺถ
เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดในสุทธาวาสภูมิ ในภูมินั้น จักขายตนะกำลังเกิด แต่โสตายตนะไม่เคยเกิด แก่บุคคลเหล่านั้น ในภูมินั้น ,
บุคคลที่มีจักขุเกิดได้ที่นอกจากสุทธาวาสอุปปัชชันตะเหล่านั้น กำลังเกิด ในภูมินั้น จักขายตนะก็กำลังเกิด โสตายตนะก็เคยเกิด

:b53: อธิบาย
หาองค์ธรรมครั้งแรกก่อน จักขุกำลังเกิด เกิดได้ในปัญจโวการภูมิ ตั้งจักขุกำลังเกิด คือ กามภูมิ ๑๑ และ รูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ๑) จะต้องเอาภูมิที่มีจักขุกำลังเกิดมาทั้งหมด ในสุทธาวาสภูมิ ๕ ก็กำลังมีบุคคลที่กำลังเกิดและมีจักขุเกิดได้ ไม่เว้นเพราะขณะนั้นจักขุกำลังเกิดได้เป็นขณะปัจจุบัน

ต่อมาหาองค์ธรรมครั้งที่สอง หาตรงกันข้ามกันกับสังสยบท คือ โสตะไม่เคยเกิด
โสตะไม่เคยเกิด เราจะต้องหาจากองค์ธรรมที่หามาได้ครั้งแรก คือ
- [กาม 11
- [รูป 15 ....แยกเป็น [รูปภูมิ ๑๐ และ [สุทธาวาสภูมิ ๕
ในกามภูมิ ๑๑ และ รูปภูมิ ๑๐ นี้ เป็นภูมิที่เคยมีโสตะเกิดได้ เพราะเกิดซ้ำภูมิได้
ส่วนสุทธาวาสภูมิ ๕ นี้โสตะไม่เคยเกิด เพราะเกิดซ้ำภูมิไม่ได้
จึงได้องค์ธรรมแค่ สุทธาวาสภูมิ ๕ เท่านั้น ได้แก่....[สุท 5

สุดท้าย หาสังสยบท ถามว่า โสตะเคยเกิด ก็ได้แก่ องค์ธรรมที่เหลือ คือ [กาม 11 , [รูป 10
ในกามภูมิ ๑๑ และรูปภูมิ ๑๐ นี้ โสตะเคยเกิด เพราะเป็นภูมิที่เกิดซ้ำภูมิได้

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- อนาคามิผล ๑ ซึ่งกำลังเกิดในสุทธาวาสภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของรูปาวจรปัญจมฌานปฏิสนธิจิต ๑ เจตสิก ๓๐ กัมมชกลาป ๔ กับ สุทธาวาสภูมิ ๕
และ
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ อันมีจักขุเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการจุติจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔ กับ ปัญจโวการภูมิ ๒๑ (เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)

องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น


-------------------------------------------

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน ยตฺถ โสตายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า โสตายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , จักขายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้นใช่ไหม?

โสตะ เคยเกิด /.................จักขุไม่ใช่กำลังเกิด X - กาม 11] , รูป 10] ,[1 2 3
-"--------"......................จักขุ กำลังเกิด / - [กาม 11 , [รูป 10
- [กาม 11]
- [รูป 10] (เว้น สุท5)

วิสัชนา) ปญฺจโวการา จวนฺตานํ อจกฺขุกานํ กามาวจรํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ตตฺถ โสตายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ โน จ เตสํ ตตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ,
สจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ตตฺถ โสตายตนํญฺจ อุปฺปชฺชิตฺถ จกฺขายตนํญฺจ อุปฺปชฺชติ

เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังตายในปัญจโวการภูมิ และบุคคลที่จักขุเกิดไม่ได้เหล่านั้น กำลังเกิดในกามภูมิ ในภูมินั้น โสตายตนะเคยเกิด แต่จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิด แก่บุคคลเหล่านั้น ในภูมินั้น ,
บุคคลที่มีจักขุเกิดได้เหล่านั้นกำลังเกิด ในภูมินั้น โสตายตนะก็เคยเกิด จักขายตนะก็กำลังเกิด

:b53: อธิบาย
หาองค์ธรรมครั้งแรกก่อน โสตะเคยเกิด ในปัญจโวการภูมิ ตั้งทั้งกำลังเกิดและกำลังตาย คือ กามภูมิ ๑๑ และ รูปภูมิ ๑๐เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕ จะต้องเอาเฉพาะภูมิที่มีโสตะเกิดได้เท่านั้น และเกิดซ้ำภูมิได้ ส่วนสุทธาวาสภูมิ ๕ นี้เกิดซ้ำภูมิไม่ได้ จึงต้องเว้นสุทธาวาสภูมิ ๕ ออก

ต่อมาหาองค์ธรรมครั้งที่สอง หาตรงกันข้ามกันกับสังสยบท คือ จักขุไม่ใช่กำลังเกิด
จักขุไม่ใช่กำลังเกิด แก่คนที่กำลังตาย และคนที่กำลังเกิดแต่ไม่มีจักขุให้เกิด
เราจะต้องหาจากองค์ธรรมที่หามาได้ครั้งแรก คือ
- [กาม 11]
- [รูป 10] (เว้น สุท5)
เอาจากที่หามาได้ครั้งแรกนี้ มาคิดหาองค์ธรรมในครั้งที่สองนี้
จักขุไม่ใช่กำลังเกิด แก่คนที่กำลังตาย ก็เอากำลังตายมา ได้แก่..... กาม 11] , รูป 10]
และคนที่กำลังเกิด แต่ไม่มีจักขุให้เกิด คือพวกบกพร่องในกามต่ำ ๖ ได้แก่.....[1 2 3

สุดท้าย ก็หาองค์ธรรมครั้งที่สาม สังสยบทถามว่า จักขุกำลังเกิดแก่ใคร
องค์ธรรมที่เหลือคือ [กาม 11, [รูป 10 ก็เป็นองค์ธรรมของ จักขุกำลังเกิด ลงตัวพอดีเป๊ะ

ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ปุ.๔ ผล.๔ ซึ่งกำลังตายในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของปัญจโวการจุติจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูปที่ดับครั้งสุดท้าย กับ ปัญจโวการภูมิ ๒๑ (เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในอบายภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นสังเสทชะและคัพภเสยยกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผูู้จะตายในระหว่างจักขุยังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ ๖ กับ กามภูมิเบื้องต่ำ ๖
และ
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ อันมีจักขุเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการจุติจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔ กับ ปัญจโวการภูมิ ๒๑ (เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)

องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น


(คู่นี้เคยเป็นข้อสอบ ทั้งอนุโลม และปฏิโลมปุจฉา มาแล้วค่ะ)



:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อุปปาทวาระ(อุ) กาล ๔ อนุโลมนัย(นุ) ปุคคโลกาสวาระ(โล)
จักขายตนมูละ - ธัมมายตนมูลียมกะ

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ยตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส ตตฺถ ธมฺมายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , ธัมมายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

จักขุ กำลังเกิด /......................ธัมมา ไม่เคยเกิด X - [สุท 5
-"--------"...........................ธัมมา เคยเกิด / - [กาม 11 , [รูป 10
- [กาม 11
- [รูป 15 (เว้น อสัญ1)

วิสัชนา) สุทฺธาวาสํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ตตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ ตตฺถ ธมฺมายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ ,
อิตเรสํ สจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ตตฺถ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ ธมฺมายตนญฺจ อุปฺปชฺชิตฺถ
(คำแปลและองค์ธรรมเหมือน โสตายตนะมูลี ทุกอย่างค่ะ)

-----------------------------------------------

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน ยตฺถ ธมฺมายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ , ตสฺส ตตฺถ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า ธัมมายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , จักขายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้นใช่ไหม?
(เคยเป็นข้อสอบปี ๕๘)

ธัมมา เคยเกิด /............จักขุไม่ใช่กำลังเกิด X - สํจ] ,[1 2 3 ,[อสัญ1,[อรูป 4
-"--------"................จักขุ กำลังเกิด / - [กาม 11 , [รูป 10
- [กาม 11]
- [รูป 10] (เว้น สุท5)
- [อสัญ 1]
- [อรูป 4]
{ทั้งหมดนี้จะได้ ๒๖ ภูมิ (เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)}

:b53: อธิบาย

ธัมมา เคยเกิดทุกภูมิที่ซ้ำภูมิได้ ตั้งขาเกิดขาตาย ทั้ง ๒๖ ภูมิ ในรูปภูมิก็เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕ ออก

จักขุไม่ใช่กำลังเกิด แก่คนทั้งหมดที่กำลังตายใน ๒๖ภูมิ (เอาเฉพาะในองค์ธรรมที่หามาได้ครั้งแรก)
และคนที่กำลังเกิดแต่ไม่มีจักขุให้เกิด คือ พวกบกพร่อง1 2 3 และกำลังเกิดใน อสัญ อรูป

สุดท้ายคือ จักขุกำลังเกิด ก็ได้แก่ กำลังเกิดในกาม ๑๑ รูป ๑๐ คือองค์ธรรมที่เหลือลงตัวพอดี

วิสัชนา) สพฺเพสํ จวนฺตานํ อจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ตตฺถ ฯ
สจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ตตฺถ ฯ

เมื่อบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดกำลังตาย และบุคคลที่จักขุเกิดไม่ได้เหล่านั้น กำลังเกิดในภูมินั้น ธัมมายตนะเคยเกิด แต่จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิด แก่บุคคลเหล่านั้น ในภูมินั้น
บุคคลที่มีจักขุเกิดได้ ที่นอกจากสุทธาวาสอุปปัชชันตะเหล่านั้น กำลังเกิดในภูมินั้น ธัมมายตนะก็เคยเกิด จักขายตนะก็กำลังเกิด

ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ปุ.๔ ผล.๔ ซึ่งกำลังตายใน ๒๖ ภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของปัญจโวการจุติจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย กับ ๒๖ ภูมิ (เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในอบายภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นสังเสทชะและคัพภเสยยกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผูู้จะตายในระหว่างจักขุยังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ ๖ กับ กามภูมิเบื้องต่ำ ๖
- สุคติอเหตุกบุคคล ๑ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของ ชีวิตนวกกลาปที่เกิดในขณะแรก กับ อสัญญสัตตภูมิ ๑
- ติเหตุกปุถุชน ๑ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิ ที่เรียกว่า อุปปาทักขณะสมังคีของอรูปาวจรปฏิสนธิจิต ๔ เจตสิก ๓๐ กับ อรูปภูมิ ๔
และ
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ อันมีจักขุเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการจุติจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔ กับ ปัญจโวการภูมิ ๒๑ (เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)

องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


อุปปาทวาระ(อุ) กาล ๔ อนุโลมนัย(นุ) ปุคคโลกาสวาระ(โล)
ชิวหายตนมูละ -รูปายตนมูลียมกะ

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ยตฺถ ชิวหายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส ตตฺถ รูปายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถาติ?
ชิวหายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , รูปายตนะก็เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

ชิวหากำลังเกิด /......................รูปาไม่เคยเกิด X -----
-"--------"...........................รูปาเคยเกิด / - [กาม 11
- [กาม 11

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่
ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสัน และ สัง ได้แก่
- ปุ.๔ ผลเสกข.เบื้องต่ำ ๒ อันมีชิวหาเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของ
กามาวจรปฏิสนธิจิต ๑๐ เจตสิก ๓๓ กัมมชกลาป ๓ ๗ กับ กามภูมิ 11

-----------------------------
ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน ยตฺถ รูปายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ ,ตสฺส ตตฺถ ชิวหายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า รูปายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , ชิวหายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้นใช่ไหม?
(เคยเป็นข้อสอบปี ๕๖)

รูปา เคยเกิด /............ชิวหาไม่ใช่กำลังเกิด X - กาม 11] ,[3 , [รูป 10], [อสัญ1]
-"--------"..............ชิวหา กำลังเกิด / - [กาม 11
- [กาม 11]
- [รูป 10]
- [อสัญ1]

วิสัชนา) กามาวจรา จวนฺตานํ อชิวหกานํ กามาวจรํ อุปปชฺชนฺตานํ รูปาวจรานํ เตสํ ตตฺถ ฯ
สชิวหกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ตตฺถ ฯ

เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังตายในกามภูมิ บุคคลที่ชิวหาเกิดไม่ได้เหล่านั้นกำลังเกิดในกามภูมิ และบุคคลที่เกิดอยู่ในรูปภูมิ ในภูมินั้นรูปายตนะเคยเกิด แต่ชิวหายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น ในภูมินั้น,
บุคคลที่มีชิวหาเกิดได้เหล่านั้นกำลังเกิด ในภูมินั้น รูปายตนะก็เคยเกิด ชิวหายตนะก็กำลังเกิด

:b53: อธิบาย
รูปา เคยเกิด เราก็ตั้งตามปกติของกาล ๒ โล คือ ภูมิที่มีรูปาเกิดได้และเกิดซ้ำภูมิได้ กามภูมิ11 มาหมด ส่วนรูปภูมิได้แค่ 10 คือต้องเว้นสุทธาวาสภูมิ ๕ออกไปเพราะสุทฯเกิดซ้ำภูมิไม่ได้ อสัญญสัตตภูมิมีรูปาเกิดได้อย่าลืมยกมาด้วย

หาตรงข้ามกับสังสยบท ชิวหาไม่ใช่กำลังเกิด หาได้จากเฉพาะองค์ธรรมที่หามาได้ทางซ้ายมือเท่านั้น มีแค่ไหน ก็ยกมา ยกคนที่กำลังตายทั้งหมดในองค์ธรรมทางซ้ายมาก่อน จะได้ไม่สับสน
- คนที่กำลังตาย มีใครบ้างยกมา ...กาม 11] ... .รูป 10] ..... อสัญ1]
- คนที่กำลังเกิด แต่ไม่มีชิวหาให้เกิด ก็พวกบกพร่องโดยกรรมในกามต่ำ ๖ ....[3
ต่อมาก็ พวกบกพร่องโดยภูมิ...... [รูป 10 ... [อสัญ1

พอได้มาครบแล้ว อะไรพวกเดียวกันก็จับรวมกันเลยค่ะ [รูป 10], [อสัญ1]
พอวิสัชนา กับ องค์ธรรม ก็จับรวมไว้ด้วยกันคือ รูปาวจรานํ เพราะจัดเป็นรูปภูมิพวกเดียวกัน
องค์ธรรมจึงได้ รูปภูมิ 11 (เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)

- ย้อนมาอธิบาย [3 คือชิวหาไม่ใช่กำลังเกิด บกพร่องโดยกรรมกลุ่มที่๓ ที่เป็นคัพฯในกามต่ำ๕(เว้นนิรย)
จำได้ใช่มั้ยคะว่า เวลาบุคคลในกามภูมิ กำลังเกิด กำลังตาย นั้นปุถุชน ๔ นี้ มี ทุคติอเหตุกบุคคล ๑ และ สุคติอเหตุกบุคคล๑ อยู่ด้วย เพราะฉะนั้น ต้องดึงพวกบกพร่องนี้ออกมา ถ้ามีระบุบอกว่าอายตนะที่บกพร่องนั้นไม่ใช่กำลังเกิด คือไม่สามารถเกิดได้ ต้องดึงพวกนี้ในกามต่ำ๖ ออกมา ในที่นี้ชิวหาบกพร่องก็ได้แก่ กลุ่มที่ ๓ ที่เป็นคัพฯ อยู่ในกามต่ำ ๕ เว้นนิรยะภูมิ

- ชิวหากำลังเกิด [กาม 11 ในกามภูมิ 11นี้ ชิวหาเกิดได้ทุกคน พวกบกพร่องทั้ง ๓ กลุ่มก็มีคนที่มีชิวหากำลังเกิดได้ ในองค์ธรรมก็ปรากฏพวกบกพร่องทั้ง ๓ กลุ่มไว้ที่ ปุถุชน ๔ เรียบร้อยแล้วค่ะ

จะยกมาแสดงให้ดูใหม่พร้อม อธ.
--------------------------------------------------------------
ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน ยตฺถ รูปายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ ,ตสฺส ตตฺถ ชิวหายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า รูปายตนะเคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , ชิวหายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้นใช่ไหม?

รูปา เคยเกิด /............ชิวหาไม่ใช่กำลังเกิด X - กาม 11] ,[3 , [รูป 10], [อสัญ1]
-"--------"..............ชิวหา กำลังเกิด / - [กาม 11
- [กาม 11]
- [รูป 10]
- [อสัญ1]

วิสัชนา) กามาวจรา จวนฺตานํ อชิวหกานํ กามาวจรํ อุปปชฺชนฺตานํ รูปาวจรานํ เตสํ ตตฺถ รูปายตนํ อุปฺปชฺชิตฺถ
โน จ เตสํ ตตฺถ ชิวหายตนํ อุปฺปชฺชติ ,
สชิวหกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ตตฺถ รูปายตนญฺจ อุปฺปชฺชิตฺถ ชิวหายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ

เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังตายในกามภูมิ บุคคลที่ชิวหาเกิดไม่ได้เหล่านั้นกำลังเกิดในกามภูมิ และบุคคลที่เกิดอยู่ในรูปภูมิ ในภูมินั้นรูปายตนะเคยเกิด แต่ชิวหายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น ในภูมินั้น,
บุคคลที่มีชิวหาเกิดได้เหล่านั้นกำลังเกิด ในภูมินั้น รูปายตนะก็เคยเกิด ชิวหายตนะก็กำลังเกิด

ในปฏิโลมปุจฉา องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- ปุ.๔ ผล ๔ ซึ่งกำลังตายในกามภูมิ ที่เรียกว่่าภังคักขณะสมังคีของกามาวจรจุติจิต ๑๐ เจตสิก ๓๓
กัมมชรูปที่ดับครั้งสุดท้าย กับ กามภูมิ 11
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผู้จะตายในระหว่างชิวหายังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่า
อุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ กับ กามภูมิเบื้องต่ำ ๕ (เว้นนิรยภูมิ)
- สุ.๑ ติ.๑ ผล.๔ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในรูปภูมิ กับ รูปภูมิ 11 (เว้น สุทธาวาสภูมิ ๕)
และ (เหมือนองค์ธรรมในอนุโลม)
- ปุ.๔ ผลเสกข.เบื้องต่ำ ๒ อันมีชิวหาเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของ
กามาวจรปฏิสนธิจิต ๑๐ เจตสิก ๓๓ กัมมชกลาป ๓ ๗ กับ กามภูมิ 11
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลังเท่านั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ต่อไปคู่นี้เป็นปัจจนิกบ้าง

อุปปาทวาระ(อุ) กาล ๔ ปัจจนิกนัย(จ) ปุคคโลกาสวาระ(โล)

ชิวหายตนมูละ -รูปายตนมูลียมกะ

อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ยตฺถ ชิวหายตนํ นุปฺปชฺชติ , ตสฺส ตตฺถ รูปายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถาติ?
ชิวหายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , รูปายตนะก็ไม่เคยเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้น ใช่ไหม?

ชิวหาไม่ใช่กำลังเกิด X......................รูปาเคยเกิด / - กาม11] , [3 ,[รูป10] ,[อสัญ1]
-"--------"...............................รูปา ไม่เคยเกิด X - [สุท5] , [อรูป4]
- สํจ]
- บกพร่องโดยกรรม [3
- บกพร่องโดยภูมิ [รูป 15 , [อสัญ 1, [อรูป4

วิสัชนา) กามาวจรา จวนฺตานํ อชิวหกานํ กามาวจรํ อุปปชฺชนฺตานํ รูปาวจรานํ เตสํ ตตฺถ ฯ
สุทธาวาสานํ อรูปานํ เตสํ ตตฺถ ฯ

ในอนุโลมปุจฉา องค์ธรรมของสัน ได้แก่
- ปุ.๔ ผล.๔ อันมีชิวหาเกิดได้ ซึ่งกำลังตายในกามภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของ
กามาวจรจุติจิต ๑๐ เจตสิก ๓๓ กัมมชรูปที่ดับครั้งสุดท้าย กับ กามภูมิ 11
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผู้จะตายในระหว่างชิวหายังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่า
อุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ กับ กามภูมิเบื้องต่ำ ๕ (เว้นนิรยภูมิ)
- สุ.๑ ติ.๑ ผล.๔ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายในรูปภูมิ กับ รูปภูมิ 11 (เว้น สุทธาวาสภูมิ ๕)
และ
*- อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑ ซึ่งกำลังเกิด และ กำลังตายในสุทธาวาสภูมิ กับ สุทธาวาสภูมิ 5
*- ติ.๑ ผล.๔ ซึ่งกำลังเกิด และ กำลังตายในอรูปภูมิ กับอรูปภูมิ 4

-----------------------------------------------

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน ยตฺถ รูปายตนํ นุปฺปชฺชิตฺถ ,ตสฺส ตตฺถ ชิวหายตนํ นุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า รูปายตนะไม่เคยเกิดแก่บุคคลใด ในภูมิใด , ชิวหายตนะก็ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ในภูมินั้นใช่ไหม?

รูปา ไม่เคยเกิด X...........ชิวหากำลังเกิด / -------
-"--------".................ชิวหา ไม่ใช่กำลังเกิด X - [สุท 5], [อรูป 4]
- [สุท 5]
- [อรูป 4]

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

ในปฏิปุ อธ.สัน และ สัง ได้แก่ (องค์ธรรมหมวดหลังของอนุโลม*)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2016, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2016, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

อุปปาทะ กาล ๕ (๑+๓) ปุคคละ
:b53: ถ้าหาองค์ธรรมครั้งแรกที่เป็นกาล ๑ มาได้แล้ว ให้หาต่ออีกครั้งก่อน ด้วยการคิดง่ายๆ คือ
๑. หาคนที่จักไม่เกิดในชาติต่อไปก่อน ซึ่งได้แก่ ปัจฉิมภวิกะ และ ปรินิพพันตะ
๒. ต่อมาก็แยกพวกจัำเกิดซ้ำภูมิเดิมออกมา
๓. ที่เหลือจักไปเกิดที่อื่น แยกออกมาให้หมด ว่าจะไปเกิดที่ไหนได้บ้าง

:b53: และถ้าหาองค์ธรรมครั้งแรกเป็นกาล ๓ มาได้แล้ว ให้กระจายออกมาว่าปัจจุบันใครอยู่ภูมิไหนบ้าง เช่น องค์ธรรม ได้แก่ อิ(ปัญจ)
อิ(ปัญจ)
[ 4.3 ]
[ 1.1 ]
..........................ดูการย่อให้จำง่ายๆ ที่หน้า ๒ ได้ค่ะ ของกาล ๓ อุปปาทะ ปุคคละ...........
แยกออกมาให้หมดว่าใครกำลังเกิดกำลังตายในภูมิไหนบ้าง ก็จะได้ (ขอพิมพ์ให้อ่านย่อๆ ค่ะ)
[ 4.3 ]
ปุ.๔ ผล.ต่ำ ๒ กก+กต ในกามภูมิ.............[ กาม ]
ติ.๑ ผล.๓ กก+กต ในรูป๑๔(-อก).....[ รูป๑๔ ]
[ 1.1 ]
สุ.๑ กก+กต ในอสัญ..................[ อสัญ ]
ติ.๑ กก+กต ในอรูป..............[ อรูป ]
คือต้องท่ององค์ธรรมของกาล ๓ อุปปาทะ ปุคคละ ได้แม่นยำ และเขียนออกมาย่อๆ ได้
ถ้ามูละ มูลี เป็นอายตนะในปัญจะเหมือนกันก็ไม่ต้องแยก อิ(กาม) + เยรุ

กาล ๕

อุปปาทวาระ(อุ) กาล ๕ อนุโลมนัย(นุ) ปุคคลวาระ(ละ)
จักขายตนมูละ -โสตายตนมูลียมกะ (จัก - โส )
อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็จักไม่เกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

จักขุกำลังเกิด /.......................โสตะจักไม่เกิด X - [ฉิปอุ , [เยอ
-"--------"...........................โสตะ จักเกิด / - [อิ(ปัญจ)
- [ฉิปอุ
- [ปัญจ. --->[ปัญจ.อีก...[อิ(ปัญจ)
- [ปัญจ. --->อรูป.......[เยอ
(ปัจจุบัน ปุ.๔ ผลเสกข.๓ กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ --->อนาคตชาติหน้าจะเกิดในปัญจอีก , และไปเกิดในอรูป)

:b53: อธิบาย ตัวถามเป็นกาล ๓ ต้องเอาหลักการตอบกาล ๓ อุปปาทะ ปุคคละ มาเป็นตัวตอบหลัก และมีอายตนะของกาล ๑ เป็นตัวขยาย
อุปปาทะ กาล ๓ ปุคคละ
- อนุโลมนัย มีตัวตอบอยู่ ๓ คือ อิ(กาม) , เยรุ , เยอ....หรือ อิ(ปัญจ=กาม+เยรุ) , เยอ
- ปัจจนิกนัย ก็มี ฉิ
ปัจจุบันกำลังเกิดในกามภูมิ อนาคตชาติต่อไปจะไปได้ ๔ คือ ซ้ำกามภูมิอีก ไปรูปภูมิ ไปอสัญ ไปอรูป
ปัจจุบันกำลังเกิดในรูปภูมิ อนาคตชาติต่อไปจะไปได้ ๓ คือ ซ้ำรูปภูมิอีก ไปกามภูมิ ไปอรูป

บุคคลที่่จักขุกำลังเกิดคือคนที่กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ตั้งเฉพาะ ขาเกิด คือ [ปัญจ. = [กาม+[รูป
คนที่กำลังเกิดในปัญจโวการภูมินี้ อนาคตชาติหน้าจักไปเกิดที่ไหนได้บ้าง ได้แก่
๑. คนที่กำลังเกิดในปัญจโวการภูมินี้ ก็มีปัจฉิมภวิกบุคคลซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิด้วย...อย่าลืม
๒. พวกที่ตายจากปัญจโวการภูมิและจะวนกลับมาเกิดในปัญจ.อีก คือ [อิ(ปัญจ) ....ซ้ำภูมิ
๓. และ พวกที่ตายจากปัญจโวการภูมิและจะไปเกิดในอรูปภูมิ คือ [เยอ

เวลามาหาตรงกันข้ามกันกับสังสยบท ก็จะเจอคำถามว่า โสตะจักไม่เกิด บุคคลที่จะไม่เกิดในชาติหน้า
ก็คือ ปัจฉิมภวิกบุคคลซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ซึ่งเป็นการเกิดในชาติสุดท้าย ชาติหน้าจะไม่เกิด
ดังนั้นโสตายตนะก็จักไม่เกิดในชาติหน้าสำหรับปัจฉิมภวิกบุคคล คือ [ฉิปอุ หมายถึง ฉิในปัญจ.
และ พวกที่ไปเกิดในอรูปภูมิ โสตายตนะเจักไม่เกิด เพราะเกิดไม่ได้ เป็นภูมิที่ไม่มีโสตะ คือ [เยอ
ต่อมาหา โสตะจักเกิด ก็เหลือ อิตเรสํ เป็นบุคคลซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ คือ [อิ


เวลาวิสัชนา ในยึคเอาตรงสังสยบทคือกาลที่ถาม ในที่นี่ถามเป็นกาล ๓ ต้องตอบแบบกาล ๓ อุปปาทะ เป็นหลักในการตอบ และมีระบุอายตนะของกาล ๑ ร่วมด้วยในอิตเรสํ
มีข้อให้จดจำอีกอย่างจากชั้นมหาตรี จำได้หรือไม่ว่า
ถ้าปุริมโกฏฐาสะ มีตอบ ปัจฉิมภวิกะ , ปรินิพพันตะ , สุทธาวาส
ปัจฉิมโกฏฐาสะ จะต้องมี อิตเรสํ
คือ จะใช้วิธีจำร่วมกับความเข้าใจด้วยก็ได้ว่า อายตนะที่จักไม่เกิดในชาติต่อไป ต้องเป็น ฉิ มาแน่นอน
ทีนี้เมื่อ ฉิ มาในปุริมะฯ เพราะฉะนั้นในปัจฉิมะฯ ต้องมี อิตเรสํ
ปัจฉิมภวิกบุคคล และ ปรินิพพันตบุคคล(พระอรหันต์) บุคคลเหล่านี้ชาติหน้าไม่มีแล้ว เพราะเกิดชาตินี้ ตายชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย ถ้าอายตนะจักไม่เกิด ต้องนึกถึง ปัจฉิมภวิกะในขาเกิด และ พระอรหันต์ในขาดับ

วิสัชนา) ปจฺฉิมภวิกานํ ปญฺจโวการํ อุปปชฺชนฺตานํ เย จ อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ฯ....(มีพระบาลี ๒ ตอน)
อิตเรสํ สจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ฯ

นำมาแสดงให้ดูใหม่แบบเต็มๆ พร้อมแสดงอธ.
เมื่อมีพระบาลีในวิสัชนา ๒ ตอน มี จ คำแปลมีคำว่า ก็ดี ขั้นในแต่ละตอน

ที่เอาสีแต้มๆ ไว้ในองค์ธรรม เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ว่าคือ องค์ธรรมทั้งช่วงนั้นทั้งหมดของสีนั้นนะคะ ไม่ใช่แค่เฉพาะที่แต้มสีไว้ในตรงที่แสดงองค์ธรรมเท่านั้น แต่ไม่ลงสีทั้งหมด เพราะอ่านแล้วจะมึน บอกสีแค่ให้เห็นว่าตรงไหนคือตรงไหนกันก็พอ ลงสีทั้งหมดเดี๋ยวท่านผู้อ่านจะตาลายเพราะสีเยอะเกิ้น
--------------------------------------
อนุโลมปุจฉา) ยสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส โสตายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
จักขายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , โสตายตนะก็จักไม่เกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

วิสัชนา) ปจฺฉิมภวิกานํ ปญฺจโวการํ อุปปชฺชนฺตานํ เย จ อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ โน จ เตสํ โสตายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ,
อิตเรสํ สจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ โสตายตนญฺจ อุปฺปชฺชิสฺสติ

เมื่อปัจฉิมภวิกบุคคลเหล่านั้น กำลังเกิดในปัญจโวการภูมิก็ดี บุคคลเหล่าใด จักเกิดในอรูปภูมิ แล้วจักปรินิพพาน บุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดก็ดี จักขายตนะกำลังเกิด แต่โสตายตนะจักไม่เกิด แก่บุคคลเหล่านั้น,
บุคคลทั้งหลายที่นอกจากนั้น อันมีจักขุเกิดได้เหล่านั้นกำลังเกิด จักขายตนะก็กำลังเกิด โสตายตนะก็จักเกิด

ในอนุปุ อธ.สัน ได้แก่
- ติ.๑ ผลเสกข.๓ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่่าอุปปาทักขณะสมังคีของ
ปัญจโวการติเหตุกปฏิสนธิจิต ๙ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔ ...[ฉิปอุ
- ติ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙(เว้นจตุตถฌานภูมิ) ที่จะได้มรรคเบื้องต่ำ และจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการติเหตุกปฏิสนธิจิต ๘(เว้นรูปาวจรปัญจมฌานวิปากจิต๑) เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔ ...[เยอ
- ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๙(เว้นจตุตถฌานภูมิ) และจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการติเหตุกปฏิสนธิจิต ๘(เว้นรูปาวจรปัญจมฌานวิปากจิต๑) เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔ ...[เยอ
และ
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ (เว้นปัจฉิมภวิกะ) อันมีจักขุเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการปฏิสนธิจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔ * ...[อิ
อธ.สัง ได้แก่ อธ.หมวดหลังเท่านั้น

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน โสตายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?

โสตะจักเกิด /....................จักขุไม่ใช่กำลังเกิด X - สํจ], [1 2 3 ,[อสัญ ,[อรูป
-"-------"-.......................จักขุกำลังเกิด / - [กาม , [รูป
- [กาม]
- [รูป]
- [อสัญ]
- [อรูป]

:b53: อธิบาย
โสตะจักเกิดในอนาคตชาติหน้า ดูที่ปัจจุบันก็ได้แก่บุคคลที่กำลังเกิดและกำลังตายใน ๓๐ ภูมิ (เว้นอกนิฏฐาภูมิ) เพราะบุคคลที่เกิดในอกนิฏฐาภูมิ จะต้องเป็นพระอรหันต์แน่นอนแล้วจะปรินิพพาน อนาคตชาติต่อไป พระอรหันต์จะไม่มีการเกิดอีกต่อไปแล้ว จึงตั้งกำลังเกิดและกำลังตายได้แค่ ๓๐ ภูมิเท่านั้น
อย่าลืมว่า ขาเกิดของ [กาม นั้น มีบุคคลกำลังเกิดคือ ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคลเบื้องต่ำ ๒ และในปุถุชน ๔ นี้มีพวกบกพร่องอยู่ด้วย คือ ทุ.๑ และ สุ.๑ ก็คือบกพร่อง 1 2 3
ส่วนในขาดับนั้น ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคล ๓ กำลังตายในกามภูมิ ส่วน อรหัตตผลบุคคล ๑ จักไม่มีโสตายตนะเกิดอีกต่อไป เพราะปรินิพพาน ดับสนิททุกอายตนะจะไม่เกิดอีกต่อไปแล้ว อรหัตตผลบุคคล ๑ นี้จะคือ ปรินิพพันตะ ในปัจจนิกนัย
ดังนั้นโสตะจักเกิด จึงได้ ปุถุชน ๔ ผลเสกขบุคคล ๓ ซึ่งกำลังเกิดและกำลังตายใน ๓๐ ภูมิ (เว้นอกนิฏฐาภูมิ)

กาล ๑ จักขุไม่ใช่กำลังเกิด จำได้ใช่มั้ย ว่า จักขุไม่ใช่กำลังเกิด ก็ได้แก่คนทั้งหมดที่กำลังตาย และบุคคลที่กำลังเกิดแต่ไม่มีจักขุให้เกิด ก็ได้แก่พวกบกพร่องโดยกรรม และบกพร่องโดยภูมิ
ก็ได้แก่ บุคคลที่กำลังตาย สํจ] , [บกพร่องโดยกรรม 1 2 3 , [บกพร่องโดยภูมิ อสัญ, อรูป

เพราะฉะนั้น จะเหลือองค์ธรรมอยู่พอดีเป๊ะกับเงื่อนไขนี้ว่า จักขุกำลังเกิด [กาม ,[รูป
วิสัชนา จะยึคเอาว่าบทถามนั้นถามในกาลไหน ก็เอากาลนั้นเป็นหลักในการตอบ ในปฏิโลมนี้จะวิสัชนาไม่ยุ่งยาก เหมือนกาล ๑ เพราะ สันนิฏฐานบทก็ตั้งเป็นปัจจุบันเพื่อบอกถึงอนาคต เมื่อองค์ธรรมเป็นปัจจุบัน และไปหากาล ๑ ก็เหมือนตอบกาล ๑ คือ สะ อะ

วิสัชนา) สพฺเพสํ จวนฺตานํ อจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ
สจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ

นำมาแสดงให้ดูใหม่แบบเต็มๆ พร้อมแสดงอธ.
-----------------------------------------
ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน โสตายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?
หรือว่า โสตายตนะจักเกิดแก่บุคคลใด , จักขายตนะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ?

วิสัชนา) สพฺเพสํ จวนฺตานํ อจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ โสตายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ โน จ เตสํ จกฺขายตนํ อุปฺปชฺชติ,
สจกฺขุกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ โสตายตนญฺจ อุปฺปชฺชิสฺสติ จกฺขายตนญฺจ อุปฺปชฺชติ

บุคคลทั้งหมดกำลังตาย และบุคคลที่จักขุเกิดไม่ได้ เหล่านั้นกำลังเกิด โสตายตนะจักเกิด แต่่จักขายตนะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น ,
บุคคลที่มีจักขุเกิดได้ เหล่านั้นกำลังเกิด โสตายตนะก็จักเกิด จักขายตนะก็กำลังเกิด

ในปฏิปุ. อธ.สัน ได้แก่
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังตายใน ๓๐ ภูมิ (เว้น อกนิฏฐาภูมิ) และจะเกิดในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่า ภังคักขณะสมังคีของจุติจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย......สํจ]
- ทุ.๑ ที่เป็นโอปปาติกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในอบายภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นสังเสทชะและคััพภเสยยกะ อันจักขุเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผู้จะตายในระหว่างจักขุยังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ที่เรียกว่า
อุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ ๖ ......[1 2 3
- สุ.๑ ติ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในอสัญญสัตตภูมิ อรูปภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอรูปาวจรปฏิสนธิจิต ๔ เจตสิก ๓๐ ชีวิตนวกกลาปที่เกิดในขณะแรก ..........[อสัญ , [อรูป
และ (จะเหมือนกันกับองค์ธรรมหมวดหลังของอนุโลมด้วย*)
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ (เว้นปัจฉิมภวิกะ) อันมีจักขุเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในปัญจโวการภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิอีก ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของปัญจโวการปฏิสนธิจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๓ ๗ ๔ .....[กาม+[รูป (จะเหมือนกันกับองค์ธรรมหมวดหลังของอนุโลมด้วย*)
อธ.สัง ได้แก่ อธ.หมวดหลังเท่านั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อุปปาทวาระ(อุ) กาล ๕ อนุโลมนัย(นุ) ปุคคลวาระ(ละ)
ฆานายตนมูละ - รูปายตนมูลียมกะ
อนุโลมปุจฉา) ยสฺส ฆานายตนํ อุปฺปชฺชติ , ตสฺส รูปายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสตีติ?
ฆานายตนะกำลังเกิดแก่บุคคลใด , รูปายตนะก็จักไม่เกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม?

ฆานะกำลังเกิด /.......................รูปาจัักไม่เกิด X - [ฉิอุ(ในกาม) , [เยอ
-"--------"...........................รูปา จักเกิด / - [อิ(กาม) ,[เยรุ
- [ฉิอุในกาม
- [กาม ---> กามอีก ....[อิ(กาม)
- [กาม ---> รูป ......[เยรุ
- [กาม ---> อรูป .....[เยอ

:b53: อธิบาย
บุคคลที่่ฆานะกำลังเกิดคือคนที่กำลังเกิดในกามภูมิ ตั้งเฉพาะ ขาเกิด คือ [กาม
อย่าลืมว่า บุคคลที่กำลังเกิดในกามภูมิ มีปัจฉิมภวิกบุคคลกำลังเกิดอยู่ตรงนี้ด้วย--> [กาม
คนที่กำลังเกิดในกามภูมินี้ อนาคตชาติหน้าจักไปเกิดที่ไหนได้บ้าง
ได้แก่ พวกที่ตายจากกามแล้วจะวนกลับมาเกิดในกามภูมิอีก คือ [อิ(กาม) ,
พวกที่ตายจากกามภูมิและจะไปเกิดในรูปภูมิ คือ [เยรุ
และ พวกที่ตายจากกามภูมิและจะไปเกิดในอรูปภูมิ คือ [เยอ

รูปาจัักไม่เกิด อายตนะใดๆ จักไม่เกิดอีกต่อไปในชาติหน้า คือ [ฉิอุ(ในกาม)
อนาคตรูปาจัักไม่เกิด คือ [เยอ
องค์ธรรมที่เหลือก็คือ รูปาจักเกิด คือ [อิ(กาม) , [เยรุ

วิสัชนา) ปจฺฉิมภวิกานํ กามาวจรํ อุปปชฺชนฺตานํ เย จ อรูปํ อุปปชฺชิตฺวา ปรินิพฺพายิสฺสนฺติ เตสํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ ฯ
อิตเรสํ สฆานกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ

ในอนุปุ อธ.สัน ได้แก่
- *ติ.๑ ผลเสกข.เบื้องต่ำ ๒ ที่เป็นปัจฉิมภวิกะ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ ...[ฉิอุ(ในกาม)
- *ติ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ ที่จะได้มรรคเบื้องต่ำ และจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน.......[เยอ
- *ผลเสกข.เบื้องต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ และจะเกิดในอรูปภูมิ แล้วจะปรินิพพาน.......[เยอ
*ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของกามาวจรติเหตุกปฏิสนธิจิต ๔ เจตสิก ๓๓ กัมมชกลาป ๓ ๗
และ
- ปุ.๔ ผลเสกข.เบื้องต่ำ ๒ (เว้น ปัจฉิมภวิกะ) อันมีฆานะเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ และจะเกิดในกามภูมิอีก ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของกามาวจรปฏิสนธิจิต ๑๐ เจตสิก ๓๓ กัมมชกลาป ๓ ๗ .........[อิ(กาม)
- ติ.๑ ผลเสกข.๒ (เว้น ปัจฉิมภวิกะ) ซึ่งกำลังเกิดในกามสุคติภูมิ ๗ และจะเกิดในรูปภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของกามาวจรติเหตุกปฏิสนธิจิต ๔ เจตสิก ๓๓ กัมมชกลาป ๓ ๗.........[เยรุ
{หรือ จะรวม อิตเรสํ เป็น ปัญจ. = กาม+เยรุ.....ในหนังสือยมกัตถวิภาวินีฏีกา หน้า ๓๐๕}
อธ.สัง ได้แก่ อธ.หมวดหลังเท่านั้น
----------------------------------------------------
:b51: องค์ธรรมของ [เยรุ ในหนังสือบางเล่มจะไม่แสดงองค์ธรรมออกมาให้เห็นชัดเจน
- เพราะว่า ติ.๑ ผลเสกข.เบื้องต่ำ ๒..... ก็รวมอยู่ใน ปุ.๔ ผลเสกข.เบื้องต่ำ ๒ แล้ว
และกามสุคติภูมิ ๗ ....ก็รวมอยู่ในกามภูมิ ๑๑ ด้วย จึงรวบไว้ได้ใน ปุ.๔ ผลเสกข.เบื้องต่ำ ๒ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ ฯ
- ส่วนอันมีฆานะเกิดได้ ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าเป็นกามภูมิเท่านั้นที่มีได้ ดังนั้น เยรุ จึงเป็นองค์ธรรมที่ซ้อนกันอยู่กับ อิ(กาม) ซึ่งเมื่อดูๆ แล้วเหมือนองค์ธรรมที่แสดง เยรุ จะหายไป ถ้าคนที่ไม่เข้าใจจะไม่ทราบว่ามี เยรุ อยู่ด้วยในองค์ธรรมที่แสดงรวบไว้ครั้งเดียว แต่ในที่นี้ขอนำมาแสดงให้ครบค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ปฏิโลมปุจฉา) ยสฺส วา ปน รูปายตนํ อุปฺปชฺชิสฺสติ , ตสฺส ฆานายตนํ อุปฺปชฺชตีติ?

รูปาจักเกิด /....................ฆานะไม่ใช่กำลังเกิด X - สํจ], [2 3 ,[รูป,[อสัญ ,[อรูป
-"-------"-.......................ฆานะกำลังเกิด / - [กาม
- [กาม]
- [รูป]
- [อสัญ]
- [อรูป]

:b53: อธิบาย
รูปายตนะจักเกิด ตั้งบุคคลกำลังเกิดและกำลังตายใน ๓๐ ภูมิ (เว้นอกนิฏฐาภูมิ)
ที่ตั้งเกิดตายทั้งหมดใน ๓๐ ภูมิ (เว้นอกนิฏฐาภูมิ) มีบุคคลที่กำลังเกิดและกำลังตายใน ๓๐ ภูมินี้ อนาคตบุคคลเหล่านี้บางคน จะไปเกิดในภูมิที่มีรูปารมณ์เกิดได้ เพราะฉะนั้น จึงต้องตั้งไว้ดังนี้
- [กาม]
- [รูป]
- [อสัญ]
- [อรูป]

ฆานะไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลที่กำลังตายทั้งหมดใน ๓๐ภูมิ คือ สํจ]
ฆานะไม่ใช่กำลังเกิดแก่คนที่กำลังเกิดแต่ไม่มีฆานะให้เกิด ได้แก่พวกบกพร่องโดยกรรม คือ [2 3
บกพร่องโดยภูมิ คือ [รูป , [อสัญ , [อรูป

องค์ธรรมที่เหลือคือ [กาม ก็เป็นฆานะกำลังเกิดในกาม

วิสัชนา) สพฺเพสํ จวนฺตานํ อฆานกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ
สฆานกานํ อุปปชฺชนฺตานํ เตสํ

ในปฏิปุ อธ. สัน ได้แก่
- ปุ.๔ ผลเสกข.๓ ซึ่งกำลังตายใน ๓๐ ภูมิ (เว้น อกนิฏฐาภูมิ) และจะเกิดในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่าภังคักขณะสมังคีของจุติจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ชีวิตนวกกลาปที่ดับครั้งสุดท้าย....สํจ]
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นสังเสทชะและคัพภเสยยกะ อันฆานะเกิดไม่ได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
- ทุ.๑ สุ.๑ ที่เป็นคัพภเสยยกะ ผู้จะตายในระหว่างฆานะยังไม่เกิด ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ
ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ เจตสิก ๑๐ กัมมชกลาป ๓ ๖.....[2 3
- สุ.๑ ติ.๑ ผลเสกข.๓ (เว้น ปัจฉิมภวิกะ) ซึ่งกำลังเกิดในรูปภูมิ และจะเกิดในปัญจโวการภูมิ ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของรูปาวจรปฏิสนธิจิต ๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชกลาป ๔ ชีวิตนวกกลาปที่เกิดในขณะแรก.....[รูป ,[อสัญ
- ติ.๑ ซึ่งกำลังเกิดในอรูปภูมิที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของอรูปาวจรปฏิสนธิจิต๔ เจตสิก๓๐...[อรูป
และ
- ติ.๑ ผลเสกข.เบื้องต่ำ ๒ (เว้น ปัจฉิมภวิกะ) อันมีฆานะเกิดได้ ซึ่งกำลังเกิดในกามภูมิ และจะเกิดในกามภูมิอีก ที่เรียกว่าอุปปาทักขณะสมังคีของกามาวจรปฏิสนธิจิต ๑๐ เจตสิก ๓๓ กัมมชกลาป ๓ ๗...[กาม
อธ. สัง ได้แก่ อธ.หมวดหลังเท่านั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ในการเขียนออกมาให้อ่านนั้นค่อนข้างยาก บางครั้งก็ก๊อปที่พิมพ์ไว้มาแก้เป็นตัวใหม่ เพื่อสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์ แต่บางครั้งลืมแก้ตัวเก่าที่ก๊อปมา เมื่อมาตรวจทานเจอก็จะแก้ใหม่ให้ถูกต้องค่ะ
ทำเองคนเดียว ตรวจเอง ถ้ามีผิดพลาดในระหว่างทำบ้าง ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ในระหว่างทำและทำเสร็จก็จะตรวจทานกับหนังสือไว้เสมอ และตรวจทานอีกหลายครั้งมาก เพื่อไม่ให้มีข้อผิดพลาด
ในกาลที่ระบุ ว่าจะมีอายตนะใดเกิดได้ในการแสดงองค์ธรรมนั้น จะมาเพิ่มให้ในภายหลัง เพราะว่า หนังสือเก่าไม่มีขยายตรงนี้ หนังสือใหม่จะมีขยายเพิ่มเติมเข้ามาค่ะ ก็เอาตามหนังสือใหม่ที่เรียนล่ะกันค่ะ

เจตนาในการทำครั้งนี้ เพื่อเก็บไว้ดูเอง ไว้ทวนเอง
และสามารถแบ่งปันความรู้แก่ผู้ที่เรียนหรือผู้ที่สนใจด้วย ติดตามอ่านกันต่อไปนะคะ ยังมีอีกมาก
และยังไม่ได้เริ่มทำกาล ๑ ของมหาตรี ปวัตติวาระของมหาตรีจะพยายามเริ่มขึ้นกาล ๑ เร็วๆนี้ค่ะ

ขอบพระคุณทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่านนะคะ :b8: สาธุค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot], ลุงหมาน และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร