วันเวลาปัจจุบัน 11 ก.ย. 2024, 12:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2014, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_3213_JPG_pagespeed_ce_MmjS1WyRzW.jpg
IMG_3213_JPG_pagespeed_ce_MmjS1WyRzW.jpg [ 53.27 KiB | เปิดดู 6835 ครั้ง ]
กรุณา วิย สตฺเตสุ ปญฺญา ยสฺส มเหสิโน
เญยฺยธมฺเมสุ สพฺเพสุ ปวตฺติตฺถ ยถารุจิ


ญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พระองค์ใด
ดำเนินไปแล้วในเญยยธรรมทั้งปวง ตามความพอพระทัย
เปรียบดั่งพระกรุณาที่แผ่ไปในโลก

คำว่า ปญฺญา นี้ในที่นี้ หมายถึง พระญาณทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เว้นแต่มหากรุณาสมาบัติญาณ เพราะท่านจะกล่าวถึงมหากรุณาสมาบัติต่อไป
ด้วยคำว่า กรุณา วิย สตฺเตสุ (เปรียบดังพระกรุณาที่แผ่ไปในชาวโลก)
การใช้คำในลักษณะนี้เป็นสำนวนภาษาที่เรียกว่า ปาริเสสนัย คือ นัยที่กล่าวถึง
สิ่งที่เหลือสิ่งที่กล่าวแล้ว หรือสิ่งที่จะกล่าวต่อไป

เญยฺยธรรม คือธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์พึงรู้แจ้ง มี ๕ ประการ คือ

๑. สังขาร คือ นามธรรม ๕๓ (จิต ๑ เจตสิก ๕๒) และนิปผันนรูป ๑๘
๒. วิการ คือ วิการรูป ๕ (วิญญัติรูป ๒ ลหุตา มุทุตา และกัมมัญญตา)
๓. ลักขณะรูป คือ ลักขณรูป ๔ (อุปจย สันตติ ชรตา และอนิจจตา)
๔. นิพพาน คือ สภาพที่ดับกิเลส และกองทุกข์
๕. บัญญัติ คือ สมมุติที่ชาวโลกรู้กัน เช่น ภูเขา ต้นไม้ แผ่นดิน เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2020, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


วิชฺชา - วิชชา สพฺพธมฺมสมฺปฏิเวธลกฺขณา
มีการรู้แจ้งธรรม ทั้งปวงเป็นลักษณะ
วิชชา - คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้งสภาวธรรม
ตามความเป็นจริงได้แก่ปัญญา

ตสฺสา สพฺพํ เนยฺยํ ปทฏฺฐานํ

สพฺพํ เนยฺยํ - เนยยธรรมทั้งปวง ปทฏฺฐานํ - เป็นปทัฏฐาน
ตสฺส วิชฺชาย แก่วิชชานั้น(แก่ปัญญานั้น)เญยยธรรม คือ ธรรมที่ควรรู้
หมายถึงอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
เพราะไม่มีอะไรที่จะไม่จัดอยู่ในอริยสัจ ๔ ธรรมทั้งหมดที่เป็นเญยยธรรมนี้
ล้วนจัดอยู่ในอริยสัจ ๔ ทั้งนั้น ฉะนั้น เญยยธรรมในที่นี้จึงหมายเอาอริสัจ ๔
ก็เญยยธรรม ทั้งหมดนี้แหละเป็นปทัฏฐานให้วิชชาเกิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2020, 13:25 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2022, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


๕๕๘
เญยยะธรรม คืออะไร


ตอบ : คือ พระพุทธดำรัสว่า
ดูกรโธตกะ เราจะแสดงความดับกิเลสแก่เธอในธรรม [มีทุกข์เป็นต้น] อันเราเห็นแล้ว
เป็นธรรมประจักแก่ตน อันบุคคลรู้แจ้งแล้ว เป็นผู้มีสติ พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก

โธตกมาณพทูลตอบว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงคุณอันไพศาล ข้าพระองค์ยินดีอย่างยิ่งในความดับกิเลสอันสูงสุด
อันบุคคลรู้แจ้งแล้ว เป็นผู้มีสติ พึงข้ามตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรโธตกะ เธอจงรู้แจ้งธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อรู้แจ้งตัณหานั้นเป็นส่วนเบื้องบน [อนาคตตัณหาในภพชั้นสูง]
ส่วนเบื้องต่ำ [อดีตตัณหาและตัณหาในภพชั้นต่ำ] และส่วนเบื้องขวางสถานกลาง[ปัจจุบันตัณหาและตัณหา
ในภพโดยรอบ]ว่าเป็นเครื่องข้องอย่างนี้ในโลก [สังสารวัฏ] อย่าได้ก่อให้เกิดตัณหาเพื่อภพน้อยและภพใหญ่

สูตรนี้ชื่อว่า "เญยยะ"


.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2022, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่าง เญยยะที่ ๒

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะการไม่ตรัสรู้ เพราะการไม่แทงตลอดอริยะสัจ ๔ เราและพวกเธอ
ได้เร่ร่อนท่องเที่ยวไปสู่ระยะทางนี้อันยาวไกลอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราและพวกเธอตรัสรู้
แทงตลอดอริยะสัจคือทุกข์แล้ว เราและพวกเธอตรัสรู้แทงตลอดอริยะสัจคือสมุทัยแล้ว
เราและพวกเธอตรัสรู้แทงตลอดอริยะสัจคือนิโรธแล้ว เราและพวกเธอตรัสรู้แทงตลอดอริยะสัจคือ
มรรคแล้ว ตัณหาในภพขาดสูญแล้ว ตัณหาที่นำไปสูภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีแล้ว

เมื่อพระผู้มีภาคเจ้าตรัสเรื่องนี้แล้ว พระสุคตทรงกล่าวอย่างนี้ พระศาสดาได้ตรัสคาถานี้ต่อไปว่า

เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและพวกเธอจึงท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ ตลอดกาลนาน
อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เราและพวกเธอเห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ ถอนขึ้นได้แล้ว มูลแห่งทุกข์
ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี

สูตรนี้ชื่อว่า เญยยะ (๕)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2022, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
ตตฺถ กตมํ ญาณญฺจ เญยฺยญฺจ.

ถามว่า : ในสาสนปัฏฐาน ๒๘ นั้น ญาณและเญยฺยะคืออะไร
โค้ด:
รูปํ อนิจฺจํ. เวทนา อนิจฺจา. สญฺญา อนิจฺจา. สงฺขารา อนิจฺจา วิญฺญาณํ อนิจฺจํ"ติ. อิทํ เญยฺยํ.

ตอบว่า : คือพระดำรัสว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณไม่เที่ยง ข้อนี้ชื่อว่า เญยยะ

โค้ด:
เอวํ ชานํ เอวํ ปสฺสํ อริยสาวโก รูปํ อนิจฺจนฺติ ปสฺสติ. เวทนา อนิจฺจาติ ปสฺสติ.
สญฺญํ...สงฺขาเร...วิญฺญาณํ อนิจฺจนฺติ ปสฺสติ อิทํ ญาณํ

พระดำรัสว่า อริยสาวกผู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเห็นว่ารูปไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าเวทนาไม่เที่ยง
สัญญา...สังขาร...วิญญาณไม่เที่ยง ข้อนี้ชื่อว่า ญาณ

โค้ด:
โส ปริมุจฺจติ รูเปน. ปริมุจฺจติ สญฺญาย. ปริมุจฺจติ สงฺขาเรหิ. ปริมุจฺจติ วิญฺญาณมฺหา. ปริมุจฺจติ ทุกฺขสฺมาติ.
อิทํ ฌาณญฺจ เญยฺยญฺจ.

คำว่า อริยสาวกนั้นย่อมหลุดพ้นจากรูป ย่อมหลุดพ้นจากเวทนา ย่อมหลุดพ้นจากสัญญา
ย่อมหลุดพ้นจากสังขาร ย่อมหลุดพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์
ข้อนี้ชื่อว่า ญาณและเญยยะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2023, 07:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว


ธิบายเญยยธรรม ๕ คือ สังขาร วิการ ลักษณะ บัญญัติ นิพพาน
๑. สังขาร สิ่งที่เกิดขึ้นจากปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ อุปาทินน
สังขารที่เกิดจากกรรม และอนุปาทินนกสังขาร คือ สังขารที่ไม่ได้เข้า

๒. วิการ การเปลี่ยนแปลงภพชาติจากจุติไปปฏิสนธิ เช่น จาก
มนุษย์ไปเป็น เทวดา เป็นพรหม หรือเป็นสัตว์ในอบาย หรือเป็นมนุษย์อีกก็ได้

๓. ลักษณะ คือ ลักษณะประจำตัวของสภาวธรรม ที่เรียกว่าวิเสสลักษณะหรือลักขณาทิจตุกะ
ซึ่งเป็นลักษณะของสภาวธรรม ๔ อย่าง
ได้แก่ ลักษณะ กิจหรือรส ผลปรากฏหรือปัจจุปัฏฐาน เหตุใกล้ให้เกิด หรือปทัฏฐาน

๔. บัญญัติ คือ การบัญญัติสภาวธรรมตั้งชื่อว่า เป็นขันธ์ อายตนะ
ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจจ์ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งได้แก่วิปัสสนาภูมิ ๖ นั่นเอง

๕. นิพพาน คือ สภาพธรรมที่ดับกิเลส ดับทุกข์ทั้งปวง คืออารมณ์ ๖


อารมณ์ ๖ คือ
๑.รูปารมณ์ ได้แก่ สีต่าง ๆ
๒. สัททารมณ์ ได้แก่ เสียงต่าง ๆ
๓. คันธารมณ์ได้แก่ กลิ่นต่าง ๆ
๔. รสารมณ์ ได้แก่ รสต่าง ๆ
๕. โผฎฐัพพารมณ์ ได้แก่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ไหว และเคร่งตึง
๖. ธัมมารมณ์ ได้แก่จิต เจตสิก ปสาทรูป สุขุมรูป นิพพาน และปฎิบัติ

อารมณ์ ๖ ย่อมรวมลงในอารมณ์ ๔ อย่าง คือ
๑. กามอารมณ์ ได้แก่ กามจิต ๕๔ เจ.๕๒ รูป ๒๘
๒. มหัคคตอารมณ์ ได้แก่ มหัคคตจิต ๒๗ เจ.๓๕
๓. บัญญัติอารมณ์ ได้แก่ บัญญัติธรรม ๒ ประการ คือ
๓.๑ อัตถบัญญัติ
คือบัญญัติที่ให้รู้ความหมายของชื่อนั้น ๆ
๓.๒ สัททบัญญัติ
คือบัญญัติที่รู้จักชื่อ หรือรู้ด้วยเสียง
๔. โลกุตตรอารมณ์
ได้แก่ โลกุดตรจิต ๘ เจ.๓๖ นิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:57 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร