วันเวลาปัจจุบัน 13 ต.ค. 2024, 01:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2017, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8209


 ข้อมูลส่วนตัว




budda (1).gif
budda (1).gif [ 29.29 KiB | เปิดดู 3432 ครั้ง ]
คำว่า กลาป หมายความว่า หมวด หมู่ มัด
และในรูปหนึ่งๆ นั้นจะต้องมีสภาพความเป็นไปพร้อมกัน ๓ อย่าง ที่เรียกว่า สหวุตติ คือ

๑. เอกุปฺปาท เกิดพร้อมกัน
๒. เอกนิโรธ ดับพร้อมกัน
๓. เอกนิสฺสย มีที่อาศัยคือมหาภูตรูปอย่างเดียวกัน

เมื่อมีความเป็นไปพร้อมกันทั้ง ๓ อย่างนี้ เรียกว่า รูปกลาป และรูปกลาป

มีจำนวน ๒๓ กลาป คือ
กัมมชกลาป ๙
จิตตชกลาป ๘
อุตุชกลาป ๔
อาหารชกลาป ๒
รวม ๒๓ กลาป

ดังมีหลักฐานบาลีแสดงว่า

กมฺมจิตฺโตตุกาหาร สมุฏฺฐานา ยถากฺกมํ
นวฏฺฐ จตุโร เทฺวติ กลาปา หิ เตวีสติ

รูปกลาปทีมี กรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นสมุฎฐานเหล่านี้ เมื่อว่าโดยจำนวนที่แท้จริงแล้ว
มีตามลำดับดังนี้คือ กัมมชกลาป ๙ จิตตชกลาป ๘ อุตุชกลาป ๔ อาหารชกลาป ๒ รวม ๒๓

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2017, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8209


 ข้อมูลส่วนตัว




dharama_m4-6_U3-59-3.png
dharama_m4-6_U3-59-3.png [ 393.69 KiB | เปิดดู 3432 ครั้ง ]
ทำไมพระอนุรุทธาจารย์จึงกล่าวว่า รูปที่อยู่ในกลาปเดียวกันนั้น
จะต้องพร้อมด้วยองค์ ๓ ที่เรียกว่า สหวุตติ จะมากกว่า ๓ หรือ
น้อยกว่า ๓ ไม่ได้หรือ?

ตอบ.....
การที่พระอนุรุทธาจารย์กล่าวว่า รูปที่อยู่ในกลาปเดียวกันนั้นจะต้อง
พร้อมด้วยองค์ ๓ ที่เรียกว่า สหวุตติ จะมากกว่าหรือน้อยกว่า ๓ ไม่ได้นั้น
คือลักษณะทั้ง ๓ ที่เรียกว่า สหวุตติ ของรูปกลาปนี้ เหมือนลักษณะทั้ง ๔
ของเจตสิก ต่างกันที่ไม่มีข้อ เอกาลมฺพน คือมีอารมณ์เดียวกันเท่านั้น
นอกนั้นเหมือนกันหมด คือ เอกุปฺปาท เกิดพร้อมกัน เอกนิโรธ ดับพร้อมกัน
เอกวตฺถุก หรือ เอกนิสฺสย มีที่อาศัยเกิดอย่างเดียวกัน

ฉะนั้น ถ้าองค์ของรูปกลาปจะมีมากกว่า ๓ ก็หมายความว่า จะต้องมีองค์
ที่ว่า เอกลมฺพน อยู่ด้วย แต่ เอกาลมฺพน นี้ เป็นองค์ของรูปกลาปไม่ได้
เพราะรูปธรรมนั้นเกิดขึ้นโดยไม่ได้อาศัยอารมณ์ แต่เกิดจาก กรรม จิต
อุตุ อาหาร เท่านั้น และ กรรม จิต อุตุ อาหาร นี้ เป็นตัวอารมณ์ก็จริง แต่
เป็นอารมณ์ของจิตเจตสิกเท่านั้น ฉะนั้น เอกาลมฺพน จึงไม่ใช่องค์ของรูปกลาป
ด้วยเหตุนี้องค์องค์ของรูปกลาปจึงมีมากกว่า ๓ ไม่ได้

องค์ของรูปกลาปมีน้อยกว่า ๓ ไม่ได้นั้น เพราะธรรมดารูปที่เกิดอยู่ในสันดาลของสัตว์
ทั้งหลายนั้นมีจำนวนมากมาย เกิดดับอยู่่เสมอมิได้ขาดเหมือนกับกระแสน้ำ
ในจำนวนรูปเหล่านี้ รูปที่เกิดพร้อมกันก็มี รูปที่ดับพร้อมกันก็มี รูปที่เกิดไม่พร้อมกันก็มี
รูปที่ดับไม่พร้อมกันก็มี ไม่ได้อาศัยมหาภูตรูปอย่างเดียวกันก็มี เช่น
จักขุปสาทที่เกิดอยู่ในตาของคนหนึ่งๆนั้น นับอย่างสามัญแล้วต้องมีจำนวน
แสนๆล้านๆกว่าเสมอ ในจักขุปสาทแสนๆล้านๆกว่านี้ จักขุปสาทที่เกิดพร้อมกันก็มี
ดับพร้อมกันก็มี แต่มหาภูตรูปที่เป็นที่อาศัยเกิดนั้นไม่ใช่อย่างเดียวกัน
เช่นนี้แล้วจะเรียกว่าเป็นรูปกลาปเดียวกันไม่ได้ และมหาภูตรูปที่เกิดอยู่ที่เกิดอยู่ในกลาปเดียวกันก็มี
หลายชนิด คือ กัมมชมหาภูตรูป จิตตชมหาภูตรูป อุตุชมหาภูตรูป
อาหารชมหาภูตรูป ๔ อย่างนี้

เกิดพร้อมกันก็มี ดับพร้อมกันก็มี แต่ที่อาศัยเกิดต่างกัน เพราะกัมมชมหาภูตรูป
ก็ต้องอาศัยกัมมชมหาภูตรูปด้วยกัน จิตตชมหาภูตรูปก็ต้องอาศัยจิตตชมหาภูตรูปด้วยกันดังนี้ เป็นต้น
จึงจะเป็นกลาปเดียวกันได้ แม้ว่าเป็นมหาภูตรูปด้วยกัน แต่สมุฎฐานต่างกัน
ก็เป็นกลาปเดียวกันไม่ได้ เช่น ปถวีเป็นกัมมชปถวี อาโปเป็นจิตตชอาโป เตโชเป็นอุตุชเตโช
วาโยเป็นอาหารชวาโย ดังนี้แล้ว มหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้ก็เป็นรูปกลาปเดียวกันไม่ได้
อย่าว่าแต่สมุฏฐานต่างกันเลย แม้แต่สมุฏฐานอย่างเดียวกันเกิดดับพร้อมกัน
แต่ถ้าที่อาศัยต่างกันแล้วก็เป็นรูปกลาปเดียวกันไม่ได้ เช่น มหาภูตรูปที่เกิดจากกรรมมีอยู่ ๒ ชุด
ด้วยกัน ทั้ง ๒ ชุดนี้เกิดก็พร้อมกัน ดับก็พร้อมกัน แต่ที่อาศัยของมหาภูตรูปทั้งสองนี้ต่างกันคือ
ที่อาศัยของปถวีอยู่ในชุดที่ ๑ ต้องเป็น อาโป เตโช วาโย ที่อยู่ในชุดที่ ๑ ด้วยกัน

อาโป เตโช วาโยที่อยู่ในชุดที่ ๒ จะเป็นที่อาศัยของปถวีในชุดที่ ๑ ไม่ได้
ในทำนองเดียวกัน อาโป เตโช วาโยที่อยู่ในชุดที่ ๑ ก็เป็นที่อาศัยของปถวีในชุดที่ ๒ ไม่ได้
ฉะนั้น มหาภูตรูปทั้ง ๒ ชุดนี้ จึงเป็นรูปกลาปเดียวกันไม่ได้ อุปมาเหมือนคน ๒ คน
เกิดวันเดียวกัน ตายวันเดียวกัน แต่คนละมารดา แล้วจะเรียกคน ๒ คนนี้ว่าเป็นพี่น้อง
ท้องเดียวกันไม่ได้ฉันใด รูปกลาปเดียวกันก็ฉันนั้นด้วย เหตุผลดังที่ได้อธิบายมานี้
จึงแสดงให้เห็นว่า องค์แห่งรูปกลาปที่เรียกว่า สหวุตติ นั้น จะน้อยกว่า ๓ ไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2017, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8209


 ข้อมูลส่วนตัว




2503m2-00e8.png
2503m2-00e8.png [ 95.29 KiB | เปิดดู 3432 ครั้ง ]
ปุจฉา
รูปอื่น ๆ เป็นองค์ของรูปกลาปได้ แต่ทำไมปริเฉทรูป ๑ และลักขณรูป ๔
เป็นองค์ของรูปกลาปไม่ได้ ?

วิสัชนา
ในการที่ปริเฉทรูปรูป เป็นองค์ของรูปกลาปไม่ได้นั้น เพราะปริเฉทรูปเป็นรูป
ที่กำหนดขอบเขตรูปกลาปต่อรูปกลาป จึงไม่นับเข้าในองค์ของรูปกลาป
ส่วนลักขณรูป ๔ นั้นก็เป็นเครื่องหมายของรูปกลาป ฉะนั้นจึงไม่นับเข้าอยู่
ในองค์ของค์ของรูปกลาปเช่นเดียวกัน ดังมีคาถาแสดงว่า

กลาปนํ ปริจฺเฉท ลกฺขณตฺตา วิจกฺขณา
น กลาปงฺคมิจฺจาหุ อากาสํ ลกฺขณานิ จ

อากาสรูป ๑ และลักขณรูป ๔บัณฑิตทั้งหลายไม่แสดงว่าเป็นองค์ของกลาปส
เพราะรูปทั้ง ๕ เหล่านี้ เป็นส่วนแยกของรูปกลาป และเป็นเครื่องหมายของรูปกลาปนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:54 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2885


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร