วันเวลาปัจจุบัน 22 พ.ค. 2025, 16:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2010, 22:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


บทความนี้จะขอแนะเคล็ดลับในการรักษาศีล สำหรับผู้ที่เห็นว่าจะรักษาศีลยากหรือรักษาไม่ได้สำหรับตน แต่ผู้ที่รักษาศีลได้เป็นปกติอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องอ่านอยู่แล้ว

ก่อนที่จะเข้าสู่เคล็ดลับในการรักษาศีล ก็ใคร่จะขอเขียนถึงปัญหาที่ว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องสมาทานศีล หรือตั้งใจรับศีลไว้ล่วงหน้าก่อน ? จะรอเอาไว้งดเว้นเมื่อมีเหตุการณ์ที่จะต้องให้ละเมิดศีล หรือล่วงศีลในขณะนั้นๆ เลยดีไหม ? ก็ขอบอกก่อนว่า ไม่ดี และไม่ดีแน่ๆ ด้วยเหตุผลดังนี้

ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า การรักษาศีลนั้น ทำได้ ๓ วิธี คือ

๑. ตั้งใจรักษาไว้ก่อน ที่เรียกว่า สมาทานวิรัติ
๒. ตั้งใจงดเว้นเฉพาะหน้า ที่เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ
๓. มีศีลอยู่เป็นปกติ ที่เรียกว่า สมุทเฉทวิรัติ

วิธีที่ ๑. การงดเว้นหรือรักษาศีลไว้ก่อนนั้น เหมือนกับการที่เรามีเกราะป้องกันตัวไว้แล้วอย่างดี เป็นที่สบายใจทั้งตนเองและผู้อื่น

วิธีที่ ๒. การตั้งใจงดเว้นเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ข้อนี้ค่อนข้างจะเสี่ยงเอามากๆ เพราะธรรมชาติจิตของคนเรานั้นมักเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมาก ยกตัวอย่าง เช่น

ตามปกติบางคนอาจคิดว่า ถ้าเราพบเห็นคนที่เป็นศัตรูกัน เราจะไม่ทำร้ายหรือฆ่าเขา แต่เมื่อพบกันเข้าจริงๆ เขายั่วหรือด่าด้วยถ้อยคำรุนแรง เราอาจจะเผลอใจทำร้ายหรือฆ่าเขาก็ได้

เห็นของใครทำลืมไว้ ถ้าเป็นของเล็กน้อยเราอาจไม่เอา แต่ถ้าเป็นของที่เราชอบหรือมีราคา ชนิดที่ลักทีเดียวก็รวยไปตลอดชาติ เราอาจจะเปลี่ยนใจเป็นลักก็ได้

โดยปกติเรามีเมียแล้ว ไม่เคยคิดนอกใจ แต่ถ้าเกิดไปพบอีหนูเอ๊าะๆ และอวบๆ แถมเด็กมันก็ยั่วยวนกวนตัณหาเสียด้วย และอยู่ในสถานที่อำนวยให้ประกอบกามกิจได้ มันก็บ่แน่เหมือนกันนานาย !

โดยปกติเราไม่กินเหล้า แต่เมื่อพบเพื่อนกำลังกินอยู่และเชื้อเชิญแกมบังคับ เราก็อาจจะกินได้โดยง่าย

แต่ถ้าเราสมาทานศีลไว้ก่อน เราก็จะเตือนสติตนเองอยู่เสมอๆ ว่า อย่าดีกว่าเดี๋ยวศีลขาดๆ แต่ถ้าเราไม่มีเจตนางดเว้นไว้ก่อน กิเลสตัณหามันก็อาจจะเข้าข้างเราว่า ไม่เป็นไรหรอกน่า ก็เราไม่ได้รักษาศีลนี่นา จะเอาศีลที่ไหนมาขาดกันเล่า ?

วิธีที่ ๓. ท่านว่าเป็นการรักษาศีลของพระอรหันต์ คือ พระอรหันต์ท่านหมดกิเลส ท่านจึงมีศีลโดยไม่ต้องรักษาอยู่แล้ว

เอ้า ! มาว่าถึงคนที่เห็นว่าศีลรักษายากกันต่อไป

สำหรับผู้ที่เห็นว่า ไม่มีความจำเป็นในการรักษาศีล ก็แล้วกันไปไม่ต้องไปสนใจเขาหรอก แต่ที่เขียนนี้ก็เห็นว่า ยังมีคนอีกเป็นอันมากที่อยากจะรักษาศีล แต่เห็นว่ามันรักษายาก ก็เลยไม่สนใจที่จะรักษา คนที่ว่านี้เป็นคนจิตใจอ่อนแอและอ่อนปัญญาด้วยน่าสงสารมาก อยากได้ดีแต่ไม่อยากทำดี ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อุบายหรือปัญญามาช่วย ให้มันง่ายหรือสะดวกขึ้นโดยมีขั้นตอน ดังนี้

๑. รักษาศีลเป็นคราวๆ คือ โดยปกติเราคิดว่ารักษาไม่ได้หรือไม่อยากจะรักษาก็ตามที แต่ในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น ในวันเกิดครบรอบปี หรือรอบสัปดาห์ เราก็หัดรักษามันเสียสัก ๑ วัน หรือไปในงานพิธีต่างๆ ที่เขามีการให้ศีลกัน (ศีล ๕) เราก็รับเอามาเฉพาะวันนั้นเสียสักวัน หรือครึ่งค่อนวันก็ยังดีเพื่อสร้างความเคยชิน ทำบ่อยๆ เข้า มันก็จะเกิดความเคยชินไปเอง หรือในคราววันสำคัญทางศาสนา เช่น มาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชา เป็นต้น ก็เอากะเขาเสีย ๑ วัน มันก็จะทำได้ไม่ยาก เพราะงานประจำวัน (ราชการ) ก็หยุดให้ด้วย

๒. รักษาศีลเป็นข้อๆ คือ ถ้าเห็นว่าจะรักษากันทีเดียวหมดทั้ง ๕ ข้อ มันเกินสติปัญญานัก ก็หัดมารักษาศีลเป็นข้อๆ ข้อไหนที่เราเห็นว่ามันรักษาได้ง่าย และสะดวกที่สุดก็ให้สมาทานเป็น “นิจศีล” คือ เป็นศีลปกติไปเสียเลยก่อน ส่วนข้อที่เราเห็นว่ามันทำค่อนข้างยาก ก็ยกยอดเอาไปเผด็จศึกหรือเผด็จการกันเป็นคราวๆ ไปเหมือนข้อ ๑ ถ้าเราหัดเผด็จการกับมันบ่อยๆ มันก็จะคุ้นเคยและง่ายไปในที่สุด

ขอให้มั่นใจเถิดว่า ศีล ๕ นี้ รักษาได้ไม่ยากเลย มันไปยากเอาที่เราไม่อยากจะรักษา ปัญหามันอยู่ที่ความขี้เกียจและคิดเข้าข้างตนเอง (เพราะอ่อนปัญญา) ว่า เราก็ไม่ได้ไปทำให้ใครเขาเดือดร้อนอยู่แล้ว จะต้องไปรักษาศีลมันให้ลำบากไปทำไมอีก ? อยู่มันไปวันๆ ก็สบายดีอยู่แล้วนี่นา ! ถ้าใครขืนคิดอย่างนี้ ชาตินี้ทั้งชาติ ก็คงจะไม่ได้พัฒนาชีวิตให้ก้าวขึ้นไปสู่ความดีงามที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไปได้อีกแล้ว เคยมีอยู่แค่ไหน ก็แค่นั้น พอมารู้สึกตัวก็แก่หงำเหงอะ เสียแล้ว สังขารก็เสื่อมหมดแล้ว จะอยู่ก็ไม่สบาย จะไปก็ไม่รอด !

ฉะนั้น การรักษาศีลจึงควรจะต้องมีปัญญาเข้ามาร่วมด้วย เพราะนอกจากจะทำให้ชีวิตมีการพัฒนาไปตามขั้นตอนแล้ว วิถีชีวิตประจำวันก็ยังจะเป็นโดยด้วยความราบรื่นชื่นใจทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นอีกด้วย

ขอให้ท่านมั่นใจตนเองเถิดว่า ท่านเป็นคนพัฒนาขึ้น (ถ้ามี “ทมะ”) หรือไขลานเดิน ไม่มีอะไรยากหรือลำบากเลย ถ้าเรามีความตั้งใจจริงและทำจริง พร้อมทั้งมีอุบายหรือเคล็ดลับพอสมควร ที่เหมาะสมกับสภาพชีวิตของเราแต่ละคน

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2010, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 08:32
โพสต์: 69

อายุ: 46

 ข้อมูลส่วนตัว


cool เรียนคุณ Bwitch อย่างที่ทราบผมเพิ่งเริ่มต้นรักษาศีล 5 โดยตั้งปณิธานเอาไว้ว่าต้องทำได้และเคร่งครัด แต่ในขณะเดียวกันโดยหน้าที่การงานผมจะต้องมีการ Entertain ลูกค้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงาน จำเป็นต้องดื่มบ้าง อย่างนี้ผมจะทำเช่นไร? (ทั้งที่ทุกวันนี้ใจไม่อยากดื่มเลย ผมมี Wine มีเบียร์ เต็มตู้เย็น เวลาเปิดตู้เย็นยังไม่อยากมองเลย) ทุกวันนี้ผมปฏิเสธลูกค้าไม่ไปสังสรรค์เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการดื่มเพื่อรักษาศีลให้ปกติ (ไม่รู้ว่าลูกค้าจะพอใจหรือไม่ หรือจะส่งผลกระทบกับงานหรือไม่)

Wylsmith


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2010, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนาในจิตอันเป็นกุศลของคุณ Wylsmith ค่ะ

หัวข้อกระทู้ "รักษาศีลต้องมีปัญญา"

ด้วยข้อจำกัดของแต่ละคนมีแตกต่างและไม่เท่ากัน
การที่จะสามารถรักษาศีลได้เป็นปกตินั้นจึงต้องใช้ปัญญาพิจารณาร่วมด้วย
ขอเสนอให้คุณ Wylsmith ได้พิจารณาดังนี้ค่ะ

1.พิจารณาถึงคุณประโยชน์ของการรักษาศีล
ศีลห้าข้อนี้ เป็นศีลที่กำจัดบาปกรรม หรือเป็นการตัดผลเพิ่มของบาปกรรมที่เราจะทำด้วยกาย วาจา
ที่จะต้องไปเสวยผลคือ ไปตกนรก หรือไปทรมานในสถานที่หาความเจริญมิได้นั้น มีแต่การละเมิดศีลห้าข้อเท่านั้น ส่วนอื่นซึ่งเราทำลงไปแม้จะเป็นบาปอยู่บ้าง ก็เป็นแต่เพียงความมัวหมองภายในจิตใจเท่านั้น

2. ให้พิจารณาว่า การมีสติสัมปชัญญะ จะทำให้เราเข้าถึงแก่นของศีลได้
การดื่มน้ำเมา ทำให้คนขาดสติ

3. การสมาทานศีลแล้วจึงเป็นการฝึกความข่มใจและสัจจะ

4. การถือศีลเป็นปกติ คือ การถือให้ชิน ให้เป็นนิสัย อะไรที่จะทำให้ศีลเราขาด หัดปฏิเสธให้ชิน ให้เป็นนิสัยด้วย

5. ให้เริ่มถือศีลเป็นบางข้อก่อน และ/หรือ ถือศีลให้ครบทุกข้อเป็นบางวันที่สะดวก อาจตั้งใจว่าเป็นทุกวันพระ จะถือ ศีล5 ศีล 8 และเพิ่มเป็นศีล 10 ถือเป็นการพัฒนาจิตใจ

ศีลมี3ระดับ
ศีลขั้นต้นรักษากาย วาจา ส่วนขั้นสูงรักษาไปถึงใจเราด้วย คืออธิศีล -ศีลอย่างยิ่ง
แม้เราเป็นฆราวาสรักษาศีล5,8 ข้อ ก็อบรมเจริญให้เป็นอธิศีลได้
แม้ไม่ได้รักษาศีล 227 ข้อเหมือนพระสงฆ์
...อธิศีลของศีล5 คือศีล8 อธิศีลของศีล8 คือศีล10

6. หากคิดว่าใจคุณมั่นคงแน่วแน่แล้ว ควรประกาศ คือบอกให้คนรอบตัวทราบว่าคุณถือศีล5
เมื่อจำเป็นต้องเข้าไปยังสถานที่อโคจร คนอื่นดื่มน้ำเมา คุณก็จะได้ดื่มน้ำเปล่าได้โดยสะดวกใจ

:b48: เทคนิคจากผู้มีประสบการณ์ตรง...

ให้สมาทานศีล 5 ก่อนนอนเพราะเมื่อเรานอนหลับ เราก็ไม่ทำผิดศีล 5 ข้อใดเลย ได้บุญมาก
ในที่ทำงาน การจะสร้างความเคยชิน เวลาทำงาน เราจะพยายามรักษาศีล 5 ให้ครบ
ข้อ 1-3 ทำได้แน่นอน แต่ข้อ 4 ให้พยายาม ใช้คำพูดทีไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นและตนเอง
การพูดปฏิเสธทำได้แต่พยายามใช้คำพูดที่เป็นกลางๆ
สำหรับศีลข้อ 5 อ้างได้ ต้องขับรถ ทำให้ผิดกฏหมาย หรืออ้างเรื่องสุขภาพ ร่างกายต่อต้านแอลกอฮอลล์ กินแล้วท้องเสีย สุขภาพไม่ดี ไม่มีใครเสียหาย เราเองกลับได้บุญ


คิดเล่นๆ...หากมองในมุมของเพื่อนฝูง ดีเสียอีกมีคุณมาช่วยเป็นตัวหาร แต่นั่งดื่มน้ำเปล่า

ขออนุญาตเพียงเท่านี้นะคะ อาจมีบัณฑิตท่านอื่นเข้ามาแนะนำต่อ
เจริญในธรรมค่ะ :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2010, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b48: :b41: :b48:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 10 เม.ย. 2010, 16:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 16:54
โพสต์: 8

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Wylsmith เขียน:
cool เรียนคุณ Bwitch อย่างที่ทราบผมเพิ่งเริ่มต้นรักษาศีล 5 โดยตั้งปณิธานเอาไว้ว่าต้องทำได้และเคร่งครัด แต่ในขณะเดียวกันโดยหน้าที่การงานผมจะต้องมีการ Entertain ลูกค้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของงาน จำเป็นต้องดื่มบ้าง อย่างนี้ผมจะทำเช่นไร? (ทั้งที่ทุกวันนี้ใจไม่อยากดื่มเลย ผมมี Wine มีเบียร์ เต็มตู้เย็น เวลาเปิดตู้เย็นยังไม่อยากมองเลย) ทุกวันนี้ผมปฏิเสธลูกค้าไม่ไปสังสรรค์เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการดื่มเพื่อรักษาศีลให้ปกติ (ไม่รู้ว่าลูกค้าจะพอใจหรือไม่ หรือจะส่งผลกระทบกับงานหรือไม่)

Wylsmith


ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ นะครับ เมื่อก่อนผมก็คิดอย่างนั้น แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิดครับ ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถนั่งร่วมวงกับคนที่ดื่มเหล้าได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องดื่ม (อ้างสุขภาพก็ได้นี่ครับ..หมอห้าม) เราไม่ได้โกหกนะ เพราะปกติหมอเขาห้ามทุกคนอยู่แล้ว ปัจจุบันนี้ผมนั่งดื่มโซดาอย่างเดียว ก็คุยกับลูกค้้าได้ ความจริงลูกค้าจะคุยหรือไม่คุยกับเราไม่ได้อยู่ที่เหล้าครับ อยู่ที่ความจริงใจ และผลประโยชน์ที่เอื้อซึ่งกันและกันมากกว่า ปัจจุบันหัวหน้างานของผมกลับชอบซะอีก เพราะผมเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ในวงสนทนาได้ครบ ไม่เหมือนเมื่อก่อนสติไม่ค่อยดีจำไม่ค่อยได้ กินเหล้าเมื่อไหร่คุยธุรกิจเสียเปรียบทุกที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:22
โพสต์: 176

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ,ฟังธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่กับปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


ค่อยๆทำ ค่อยๆปฏิบัติ ให้เป็นปกติอยู่กับการดำเนินชีวิตของเรา ไม่ต้องไปบังคับตัวเองจนเกินไป บางวันทำได้มั่งไม่ได้มั่ง ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยๆ ถ้าล่วงไปบางข้อ แล้ว ข้อที่เหลือทำได้ ถือได้ ปฏิบัติได้ ก็ดีแล้วคะ ก็จะสามารถ ละเว้นจากการล่วงไปในศีล 5 ซึ่งเป็นศีลปกติของมนุษย์ทั้งหลายได้เองแหละจ้า
:b39: :b42: ขอให้เจริญในธรรมกันทุกท่านนะค๊ะ :b8:

.....................................................
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นไปได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร