วันเวลาปัจจุบัน 09 ต.ค. 2024, 05:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2012, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พอดีไปเจอรูปพระมหาเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า งดงามมาก !! เลยถือโอกาสขอนำเรื่อง...“พระมหาเจดีย์ชเวดากอง” เกี่ยวข้องกับ “พระพุทธเจ้า” อย่างไร ?? มาฝากทุกท่านค่ะ

รูปภาพ
พระมหาเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง มุมด้านทะเลสาบกันดอจี
เป็นมุมหนึ่งที่สามารถมองเห็นได้สวยงามมาก...จนเกิดความปีติฉ่ำชื่นใจ


รูปภาพ
พระพุทธองค์ทรงรับไม้สีพระทนต์ น้ำจากสระอโนดาต และผลสมอ
จากท้าวสักกเทวราช และทรงอธิษฐานบาตรแก้วอินทนิล ๔ ใบ
จากท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ให้ประสานเข้าเป็นใบเดียว


:b47: :b44: :b47:

ในสัปดาห์ที่ ๗ สัปดาห์สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุติสุข
หลังจากตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปประทับ ณ ใต้ต้นราชายตนะ
(ต้นเกด หรือต้นไม้ที่อยู่แห่งพระราชา)
ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลาอีก ๗ วัน

แล้วจึงทรงออกจากฌานสมาบัติหรือสมาธิ ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า
นับแต่พระพุทธองค์ตรัสรู้มา ๗ สัปดาห์ รวม ๔๙ วัน มิได้เสวยภัตตาหารเลย
จึงนำไม้สีพระทนต์ ชื่อ “นาคลดา” พร้อมน้ำจากสระอโนดาต
และผลสมออันเป็นทิพยโอสถจากเทวโลกมาน้อมถวาย
ในตอนเช้าของวันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๘ หรือเดือนอาสาฬหะ
พระพุทธองค์ได้ทรงใช้ไม้สีพระทนต์ บ้วนพระโอษฐ์ สรงพระพักตร์
ด้วยน้ำจากสระอโนดาตที่ท้าวสักกเทวราชน้อมถวาย รวมทั้งทรงเสวยผลสมอ

ณ ต้นราชายตนะ นี้เอง ได้มีพ่อค้าพานิช ๒ พี่น้องเป็นชาวพม่า
ชื่อ “ตปุสสะ” กับ “ภัลลิกะ” นำเกวียน ๕๐๐ เล่ม
เดินทางจากอุกกลชนบท หรืออุกกลาชนบท
(น่าจะเป็นภาคเหนือของชมพูทวีป แถวเมืองตักสิลา)
ผ่านมาทางตำบลพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าขณะทรงประทับอยู่ใต้ต้นราชายตนะ
มีพระรัศมีอันผ่องใสงดงามยิ่งนัก ก็บังเกิดความเลื่อมใส
จึงนำข้าวสัตตุผง สัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงเดินทางของตนไปน้อมถวาย
ขณะนั้นพระพุทธองค์ยังไม่มีบาตร
ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ ที่กำลังเสด็จเหาะมา
จึงได้น้อมนำบาตรแก้วอินทนิลมาถวายองค์ละใบ
พระพุทธองค์ทรงดำริว่าใบเดียวก็เพียงพอแก่เรา
จึงทรงอธิษฐานให้บาตรทั้ง ๔ ใบนั้นประสานเข้าเป็นใบเดียวกัน
แล้วทรงรับข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนจากพ่อค้าพานิชทั้งสอง

(ในทางประวัติศาสตร์ ชาวพม่าได้ไปมาค้าขายกับชาวอินเดีย
มาเป็นเวลาช้านานแล้ว พอออกพรรษาน้ำหยุดท่วมนอง
ชาวพม่าจะบรรทุกของใส่เกวียน
มาแลกสินค้ากับชาวอินเดีย กลับไปกลับมาอยู่เป็นประจำ)


หลังจากพระพุทธองค์เสวยข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนเสร็จแล้ว
ก็ทรงแสดงธรรมและประทานอนุโมทนาแก่พ่อค้าพานิชทั้งสอง
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พ่อค้าพานิชทั้งสองก็เปล่งวาจา
ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะตลอดชีวิต
ไม่เปล่งวาจาถึงพระสงฆ์เพราะขณะนั้นยังไม่มีพระสงฆ์
ประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนะสองเป็นสรณะคู่แรกในพระพุทธศาสนา
ที่เรียกว่า เทฺววาจิกอุบาสก
(อ่านว่า ทะ-เว-วา-จิ-กะ-อุ-บา-สก)

ก่อนที่จะเดินทางต่อไป พ่อค้าพานิชทั้งสองได้กราบทูลขอสิ่งของที่ระลึก
จากพระพุทธองค์เพื่อให้นำกลับไปบูชาสักการะ
พระพุทธองค์ทรงเอาพระหัตถ์ลูบพระเศียร
เส้นพระเกศา ๘ เส้นหลุดติดพระหัตถ์มา

จึงทรงประทานให้แก่พ่อค้าพานิชทั้งสองไปเป็นการสนองความศรัทธาของเขา
ชาวพม่าสองพี่น้องนี้ได้นำพระเกศาธาตุ ๘ เส้นนั้น
กลับไปยังเมืองย่างกุ้ง บ้านเมืองของตน
ครั้นพอถึงประเทศพม่าได้มีพิธีสมโภชพระเกศาธาตุ
ซึ่งบรรจุไว้ภายในผอบทองคำนี้หลายวันหลายคืน
และได้จัดสร้าง “พระมหาเจดีย์ชเวดากอง”
เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุมาจนถึงตราบเท่าทุกวันนี้

(เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูป
ปางประทานเกศาธาตุ หรือปางพระเกศธาตุ
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ
พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก)
พระหัตถ์ขวายกขึ้นเหนือพระเศียรคล้ายกับกิริยาเสยพระเกศา)


:b39:

หมายเหตุ : (๑) ข้าวสัตตุผง ภาษาบาลีเรียกว่า “มันถะ”
คือ ข้าวตากที่ตำละเอียด
ข้าวสัตตุก้อน ภาษาบาลีเรียกว่า “มธุบิณฑิกะ”
คือ ข้าวตากที่ผสมน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นก้อนๆ


(๒) เทฺววาจิกอุบาสก อ่านว่า ทะ-เว-วา-จิ-กะ-อุ-บา-สก
ไม่ใช่อ่านว่า เท-วะ-วา-จิ-กะ-อุ-บา-สก

มีอีกตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการอ่านภาษาบาลี ที่เหมือนกับกรณีข้างต้น
นำมาจากส่วนหนึ่งของ บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
:b1:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20815

เท๎วเม (อ่านว่า ทะ-เว-เม) ภิกขะเว อันตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างเหล่านี้ มีอยู่,

เท๎วเม อ่านว่า ทะ-เว-เม ไม่ใช่อ่านว่า เท-วะ-เม


:b47: :b47:

“ภัลลิกะ” “ตปุสสะ”…. จิตะใส
ขับเกวียนไกล ได้เห็น…. เป็นสุขสันต์
จึงน้อมส่ง “สัตตุก้อน”…. อ้อนเทวัญ
“สัตตุผง” จำนงมั่น…. ได้วันทา

• ธ จึงได้ ใช้บาตรใหม่…. มารับของ
เพื่อสนอง ปองบุญ…. ทุนรักษา
สองพานิช อิ่มเอม…. เปรมอุรา
ปวาราณา “อุบาสก”…. ยกจิตใจ

• พร้อมขอถึง ซึ่งรัตนะ…. พระทั้งสอง
ตามครรลอง ของพุทธ…. พิสุทธิ์ใส
แก้วที่หนึ่ง พุทธองค์…. ทรงหลักชัย
พระธรรมให้ ได้มณี…. ที่จิตา

• อุบาสก ถกร้อง…. ขอของไว้
พระทรงให้ ได้จับ…. รับเกศา
ทั้งสองท่าน กราบก้ม…. ประนมลา
สองหัตถา ประคองผม…. ชื่นชมกัน

ร้อยกรองโดย นก พลัดถิ่น


รูปภาพ
ในสัปดาห์ที่ ๗ ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข
ณ “ต้นราชายตนะ (ต้นเกด)”


รูปภาพ
ชาวพุทธผู้มีกุศลศรัทธาบันทึกภาพเป็นที่ระลึก
บริเวณ “ต้นราชายตนะ (ต้นเกด)”


รูปภาพ

รูปภาพ
ชาวพุทธผู้มีกุศลศรัทธามานั่งสมาธิภาวนา
บริเวณลาน “ต้นราชายตนะ (ต้นเกด)” จำลอง


รูปภาพ
ภาพวาด...ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ พ่อค้าพานิช ๒ พี่น้องชาวพม่า
ได้ถวายเสบียงเดินทางคือข้าวสัตตุผง สัตตุก้อนแด่พระพุทธองค์
ณ ใต้ต้นราชายตนะ (ต้นเกด)
และได้รับเส้นพระเกศา ๘ เส้นเป็นที่ระลึกเพื่อให้นำกลับไปบูชาสักการะ


รูปภาพ
ภาพวาดในแบบศิลปะพม่า จากหนังสือ The Life of Buddha
จัดพิมพ์โดยวัด Dhammikarama Burmese temple
in Penang, Malaysia


รูปภาพ
พระพุทธรูปปางประทานเกศาธาตุ หรือปางพระเกศธาตุ
เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ
พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก)
พระหัตถ์ขวายกขึ้นเหนือพระเศียรคล้ายกับกิริยาเสยพระเกศา




:b8: :b8: :b8: รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหามาจาก...
(๑) หนังสือ สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=20382

(๒) สัตตมหาสถาน สถานที่เสวยวิมุติสุขที่ยิ่งใหญ่ ๗ แห่ง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39332

:b44: พุทธสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
: สถานที่อันเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=39377

:b44: เทฺววาจิกอุบาสก :
อุบาสกผู้ถึงรัตนะสองคู่แรกในพระพุทธศาสนา

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=49315

:b44: ตปุสสะ ภัลลิกะ อุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=71&t=62068

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2012, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 12:26
โพสต์: 53

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทางแห่งความดี อ.วศิน อินทสระ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ขออนุโมทนากับเจ้าของภาพด้วยครับ
ดูภาพนี้แล้วรู้สึกปีติอย่างบอกไม่ถูก
เคยอ่านเกี่ยวกับศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวพม่าแล้วรู้สึกชื่นชมศรัทธาของเขามากกกกกก

tongue tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2012, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2016, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: (♡✿◕‿◕✿♡) กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน มีดวงตาเห็นธรรม มีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม รู้แจ้งเห็นจริง มีความสุขความเจริญ และอยู่เย็นเป็นสุขนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20: (♡✿◕‿◕✿♡)

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron