วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สุสานหลวง

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

รูปภาพ

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗ แห่งบรมราชจักรีวงศ์
ซึ่งถือว่าเป็นวัดแห่งเดียวของกรุงรัตนโกสินทร์
ที่เป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ถึง ๒ พระองค์

วัดราชบพิธฯ แบ่งเขตพื้นที่ภายในวัดออกเป็น ๓ ส่วน
คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง

เขตพุทธาวาส ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัด
คือบริเวณที่เป็นสิ่งก่อสร้างอันเนื่องในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตั้งอยู่บนพื้นไพทีหรือยกพื้นสูงกว่าพื้นปกติ ปูด้วยหินอ่อน
เขตสังฆาวาส ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัด
คือบริเวณที่เป็นอาคารจำพรรษาของพระภิกษุสามเณร
เขตสุสานหลวง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัด

เขต “สุสานหลวง” ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัดนั้น
ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม
โดยตั้งอยู่นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักรของวัด
แต่เดิมสุสานหลวงมีพื้นที่อาณาบริเวณกว้าง ๔ ไร่กว่า
ต่อมาในสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
ทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และทางกรุงเทพมหานคร
ได้ตัดถนนอัษฎางค์ซึ่งกินพื้นที่สุสานหลวงไปบางส่วน
จนกระทั่งปัจจุบันสุสานหลวงเหลือพื้นที่เพียง ๒ ไร่ครึ่งเท่านั้น


รูปภาพ
ป้ายชื่อสุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม


“สุสานหลวง” วัดราชบพิธฯ เป็นสุสานหลวงแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ผู้เป็นพระปิยมหาราชของปวงชนชาวไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างอนุสาวรีย์ในเขตสุสานหลวงขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก)
และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) เพื่ออุทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี
พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา ตลอดจน พระราชโอรส พระราชธิดา
พระราชนัดดา และพระราชปนัดดา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิด
คือ พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา ตลอดจน
พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดา และพระราชปนัดดา
ได้อยู่ร่วมกันหลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว

สภาพโดยทั่วไปในสุสานหลวงจะเป็นการสร้างอนุสาวรีย์
ของพระบรมราชเทวี พระราชเทวี หรือเจ้าจอมมารดา
เพื่อให้ลูกได้อยู่กับแม่ หรืออย่างน้อยในบ้านของแม่
เว้นแต่ในกรณีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ก่อนพระมารดา
ก็สร้างอนุสาวรีย์ของพระเจ้าลูกเธอพระองค์นั้นไปก่อน

สุสานหลวงที่วัดราชบพิธฯ แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
เป็นแม่กองก่อสร้างขึ้นในที่รอบๆ ชานกำแพงด้านทิศตะวันตกของวัด
และเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้านิลวรรณ เป็นแม่กองก่อสร้างสืบต่อมา
ทั้งนี้ มีอนุสาวรีย์บางส่วนที่พระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้างขึ้นในสมัยหลัง
อาจกล่าวได้ว่าเป็น “สุสานหลวง” สำหรับ “จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์” นั่นเอง


โดยตามความเชื่อแล้ว หลังจากพิธีเผาศพของผู้ตาย
จะมีการนำอัฐิธาตุไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์หรือพระสถูป
ครั้นต่อมาก็พัฒนาไปสู่การบรรจุอัฐิหรืออังคาร
ไว้ใต้ฐานองค์พระพุทธรูปหรือตามช่องกำแพงแก้ว
ซึ่งแม้แต่พระบรมราชสรีรางคารของพระมหากษัตริย์
ก็มีการอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ พุทธบัลลังก์แห่งพระพุทธปฏิมาพระประธาน
ด้วยการบรรจุอัฐิหรืออังคารไว้ตามสถานที่ดังกล่าว
จะเป็นการกระทำให้บรรดาลูกหลานในวงศ์ตระกูลใช้เป็นสถานที่เคารพบูชา


รูปภาพ
บริเวณสุสานหลวง ร่มรื่นไปด้วยไม้ดอกไม้ใบนานาพันธุ์

รูปภาพ
อนุสาวรีย์พระเจดีย์สีทอง ๔ องค์ มีลักษณะคล้ายกัน เรียงลำดับจากเหนือไปใต้
ได้แก่ สุนันทานุสาวรีย์, รังษีวัฒนา, เสาวภาประดิษฐาน และสุขุมาลนฤมิตร์
ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างอุทิศพระราชทานแก่พระมเหสีเทวี ๔ พระองค์



ลักษณะของสถาปัตยกรรมของอนุสาวรีย์ต่างๆ ภายในสุสานหลวงแห่งนี้
ทำเป็นรูปแบบพระเจดีย์ พระปรางค์ พระวิหาร และอาคาร เป็นต้น
ทั้งที่เป็นศิลปะแบบยุโรป ศิลปะแบบขอม และศิลปะแบบไทย
อันเป็นพุทธศิลปแห่งหลักแนวคิดการพัฒนาเมืองไทยให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ

บริเวณสุสานหลวงได้รับการตกแต่งซ่อมแซมดูแลอย่างดีจากสำนักพระราชวัง
จึงเป็นสวนที่ร่มรื่นไปด้วยไม้ดอกไม้ใบนานาพันธุ์ หลายต้นเป็นไม้โบราณ
เช่น กล้วยทอง กรรณิการ์ สารภี เข็ม ตะแบก ลั่นทม (ลีลาวดี) เป็นต้น
ปัจจุบันถูกดัดแปลงให้มีลักษณะกึ่งสวนหย่อม กึ่งอนุสรณ์สถาน


ในวันที่ ๒๐ กันยายน ของทุกปี “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์”
(ครั้งยังมีพระชนม์ชีพอยู่) จะทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในนาม
ของคณะพระราชนัดดา-ปนัดดาสายสัมพันธ์ในราชกุลรัชกาลที่ ๕
ในการบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๘
ซึ่งทั้งสองพระองค์มีวันประสูติ (วันพระราชสมภพ) ร่วมกัน

การบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายรัชกาลที่ ๘ นั้น
เป็นพระดำริในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ
ที่ทรงริเริ่มจัดถวายสังฆทานเป็นการส่วนพระองค์ในวันนี้
ทั้งนี้ พระองค์มีพระประสงค์ให้เชื้อพระวงศ์มีความรักสามัคคีกัน
โดยทุกครั้งที่เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย
จะร่วมเสวยพระกระยาหารกับพระบรมวงศานุวงศ์เพื่อถามถึงความเป็นอยู่
และหลายครั้งมีพระดำรัสให้เชื้อพระวงศ์ช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน
ในปัจจุบัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จะทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในนามของคณะพระราชนัดดา-ปนัดดา
สายสัมพันธ์ในราชกุลรัชกาลที่ ๕ บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายดังกล่าว


ปัจจุบัน อนุสาวรีย์ต่างๆ ในสุสานหลวงมีทั้งหมด ๓๔ องค์
โดยมีการจัดตั้ง “มูลนิธิจุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์” ขึ้นมา
ให้เป็นหน่วยงานกลางคอยดูแลรักษาทำนุบำรุงสุสานหลวง
ให้มีความงดงามเพื่อชนรุ่นหลังได้เข้ามาเคารพสักการะสืบต่อไป


อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถานในเขตสุสานหลวงที่โดดเด่นเป็นสง่า
เป็นสถูปองค์หลักเป็นแนวประธาน คือ พระเจดีย์สีทอง ๔ องค์
(๑ องค์เล็ก กับ ๓ องค์ใหญ่) มีลักษณะคล้ายกันเรียงลำดับจากเหนือไปใต้
ได้แก่ สุนันทานุสาวรีย์, รังษีวัฒนา, เสาวภาประดิษฐาน และสุขุมาลนฤมิตร์

โดย “สุนันทานุสาวรีย์” เป็นพระเจดีย์สีทองที่มีขนาดองค์เล็กที่สุด
ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างอุทิศพระราชทานแก่พระมเหสีเทวี ๔ พระองค์

อาจกล่าวได้ว่าพระเจดีย์สีทองทั้ง ๔ องค์นี้เป็นสื่อความหมายอาลัยรักนั่นเอง

“เปิดพระโกศมิ่งมิตรพิศพักตร์ โศกสกลักทรวงไหม้ฤทัยหมอง
สะอื้นอ้อนกรกอดพระโกศทอง ชลเนตรตกต้องพระปรางนาง”


บทร้องตอนหนึ่งเมื่อครั้งเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ บุนนาค)
ได้จัดให้มีการเล่นละครเรื่องลักษณวงศ์ แสดงเฉพาะหน้าพระพักตร์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ซึ่งเข้าใจว่าบทร้องนี้ไปกระทบพระราชหฤทัยจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
พระองค์จึงสั่งห้ามมิให้ร้องอีกต่อไป และต่อมาพระองค์ทรงโปรดให้
สร้างพระเจดีย์สีทอง ๔ องค์ภายในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม


นอกจากนี้ ยังมีอนุสาวรีย์ต่างๆ ในสุสานหลวงองค์อื่นๆ ที่สำคัญหลายองค์ ดังนี้

รูปภาพ
สุสานหลวงได้รับการประดับตกแต่งภูมิทัศน์เพื่องานพระราชพิธีบรรจุพระสรีรางคาร
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ณ อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา”


(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สุนันทานุสาวรีย์

อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “สุนันทานุเสาวรีย์”
เป็นพระเจดีย์สีทอง อาคารยอดสถูปขนาดใหญ่บุด้วยโมเสคสีทอง
ประตูทั้งสี่ด้านเป็นไม้ปิดทองฝังลายกระจกสี
เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนียลักษณ์ อัครวรราชกุมารี
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕


ใช้เวลาก่อสร้างถึง ๓ ปี จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้นำพระสรีรางคาร
ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และพระราชธิดา
มาประดิษฐานไว้ ณ สุสานหลวงแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗

เมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนางเรือล่ม)
ผู้เป็นพระมเหสีเทวีสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงโศกเศร้าโทมนัสเป็นอย่างยิ่งถึงกับบางครั้งได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดพระโกศ
เพื่อทอดพระเนตรพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เนืองๆ
หลังจากพระราชทานเพลิงพระศพ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระเจดีย์สีทอง ๔ องค์ ในที่อุปจารชานกำแพงวัดราชบพิธฯ
ด้านตะวันตก พระเจดีย์สีทององค์หนึ่งทรงพระราชกุศลพระราชทานแด่
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระราชทานนามว่า “สุนันทานุเสาวรีย์”

รูปภาพ
อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “สุนันทานุสาวรีย์”

(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

รังษีวัฒนา

อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา”
เป็นพระเจดีย์สีทอง อาคารจตุรมุขยอดสถูป มีมุขกระสันเชื่อมระหว่างกัน
ตรงกลางเป็นสถูปขนาดใหญ่บุด้วยโมเสคสีทอง
ส่วนสถูปอีก ๓ องค์มีขนาดย่อมกว่าทาด้วยสีขาว
ตั้งอยู่ท่ามกลางแมกไม้นานาพันธุ์อันสดชื่นร่มรื่น
มีต้นลีลาวดี (ต้นลั่นทม) อายุกว่า ๑๐๐ ปียืนต้นอวดโฉมดอกสีขาว
และมีต้นไม้พันธุ์ไทยอีกหลายต้น เช่น ต้นปีบ ต้นแก้ว เป็นต้น

เป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก) และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา อดุลยาดิเรกรัตน ขัตติยราชกุมารี
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า (ยังไม่มีพระนาม สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ ๔ วัน)
พระราชธิดาในลำดับที่ ๘๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
- สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (ต้นราชสกุลมหิดล)
- สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
- สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
- “สมเด็จย่า” สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ประดิษฐานไว้เคียงข้าง
พระสรีรางคารสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)
- พระประยูรญาติแห่งราชสกุล “มหิดล”

และครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ พระสรีรางคารของ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ก็ได้อัญเชิญมาบรรจุไว้ ณ อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา” แห่งนี้ด้วยเช่นกัน
เพื่อประทับเคียงข้างพระสรีรางคารสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี

อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา” ในเขตสุสานหลวงนั้น ภายในจะแบ่งเป็น ๒ ฝั่ง
ฝั่งหนึ่งเก็บพระอัฐิ (กระดูก) ส่วนอีกฝั่งหนึ่งเก็บพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก)
ส่วนตรงกลางจะประดิษฐานพระพุทธรูปที่เป็นพระประจำพระชนมวารของแต่ละพระองค์

มีข้อน่าสังเกตว่า “พระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคาร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘”
นั้น
ไม่ได้ประดิษฐานรวมอยู่ ณ อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา” แห่งนี้ด้วย
เนื่องจากตอนนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
ไม่ได้ทรงประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี

เพิ่งจะมามีในตอนหลัง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการประกาศ
เฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ขึ้นเป็น “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
อดุลยเดชวิมล รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช”

รวมทั้งยังได้ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางองค์ เช่น พระมหาเศวตฉัตร
หรือพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งใช้ในการกางกั้นพระบรมศพและพระบรมอัฐิ

ดังนั้น พระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคาร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน
ได้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นบรรจุไว้ ณ พระวิมานพระบรมอัฐิ
หอพระธาตุมณเฑียร บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ส่วนพระบรมราชสรีรางคารนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญ
พระผอบพระบรมราชสรีรางคาร ไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
ซึ่งถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๘ แล้วได้อัญเชิญบรรจุลงในหีบ
พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคาร
เข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ขององค์พระพุทธปฏิมา “พระศรีศากยมุนี”
พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร


สำหรับ “พระสถูปเจดีย์แห่งราชสกุลมหิดล” วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้ามุขด้านทิศตะวันออกของโรงเรียนพระปริยัติธรรมนั้น เป็นที่บรรจุ

(๑) พระบรมราชสรีรางคารส่วนหนึ่ง และพระตโจ (หนัง) ส่วนพระเศียร
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘

อัญเชิญมาบรรจุไว้เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘

(๒) พระทนต์ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
อัญเชิญมาบรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒
พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาบรรจุพร้อมกันกับ
พระราชสรีรางคารของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีฯ ทรงตรัสว่า “ไว้เป็นเพื่อนลูกแดง”

(๓) พระราชสรีรางคารของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
อัญเชิญมาบรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒
พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ก่อนเสด็จสวรรคต พระองค์ท่านได้กราบบังคมทูลพระราชมารดา
ให้บรรจุพระราชสรีรางคารส่วนหนึ่งของพระองค์ไว้ ณ พระสถูปเจดีย์แห่งราชสกุลมหิดล
ของวัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เพื่อให้หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา
(สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ได้มีโอกาสมาถวายสักการะได้โดยสะดวก
โดยไม่ต้องเข้าไปถึงหอพระธาตุมณเฑียร บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งอาจจะเป็นการลำบากสำหรับหม่อมสังวาลย์ฯ

ทั้งนี้ ภายหลังจากงานพระเมรุมาศที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒
ได้มีการสร้างพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานรวมไว้ด้วย

(๔) พระอัฐิส่วนหนึ่งของพระโสณี (สะโพก) ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เป็นพระอัฐิเมื่อคราวที่ทรงหกล้มและเสด็จเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราช
อัญเชิญมาบรรจุไว้เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘

(๕) พระทนต์ของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
อัญเชิญมาบรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑

(๖) พระทนต์และพระเกศาของ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

อัญเชิญมาบรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สำหรับพระทนต์ เป็นธรรมเนียมในเวลาถวายพระเพลิงหรือพระราชทานเพลิงพระศพ
เมื่อเพลิงโทรมแล้ว เจ้าพนักงานจะอัญเชิญพระทนต์มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระทายาท
ของพระบรมศพหรือพระศพ แล้วก็จะทรงพระราชทานเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่
ผู้ปฏิบัติการถวายพระเพลิงหรือพระราชทานเพลิงพระศพ
โดยพระทายาทก็จะทรงเก็บรักษาพระทนต์นั้นไว้บูชาสักการะ
เช่น พระทนต์ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
และสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
ที่อัญเชิญมาบรรจุไว้ ณ พระสถูปเจดีย์แห่งราชสกุลมหิดล วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร

ดังนั้น พระสถูปเจดีย์แห่งราชสกุลมหิดล วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
จึงมีครบทุกพระองค์ที่ล่วงลับไปแล้วแห่งราชสกุลมหิดล
ซึ่งสืบสายตรงจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระบรมราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
โดยพระองค์ทรงสร้างพระสถูปเจดีย์แห่งนี้ซึ่งมีลักษณะเป็นพระสถูปเจดีย์ครึ่งองค์
เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิ พระอัฐิ และพระราชสรีรางคาร
ของพระประยูรญาติผู้ที่สืบสายตรงแห่งราชสกุลมหิดลของพระองค์ท่าน
ด้วยพระองค์ทรงมีความผูกพันกับวัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เป็นอย่างมาก


รูปภาพ

รูปภาพ
อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา”

รูปภาพ
ระหว่างสถูปขนาดใหญ่สีทองกับสถูปสีขาวอีก ๓ องค์ มีมุขกระสันเชื่อมระหว่างกัน


(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

เสาวภาประดิษฐาน

อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน”
มีลักษณะเหมือนกับอนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา”
เป็นพระเจดีย์สีทอง อาคารจตุรมุขยอดสถูป มีมุขกระสันเชื่อมระหว่างกัน
ตรงกลางเป็นสถูปขนาดใหญ่บุด้วยโมเสคสีทอง
ส่วนสถูปอีก ๓ องค์มีขนาดย่อมกว่าทาด้วยสีขาว

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก)
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
และพระราชโอรส-พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อันประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “จักรพงษ์” และราชสกุล “จุฑาธุช” อาทิ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์
(พ.ศ. ๒๔๒๑-พ.ศ. ๒๔๓๐)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง
(พ.ศ. ๒๔๒๔-พ.ศ. ๒๔๓๐)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
(พ.ศ. ๒๔๒๘-พ.ศ. ๒๔๓๐)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง
(ยังไม่มีพระนาม วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๐-สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ)
- สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
(พ.ศ. ๒๔๒๖-พ.ศ. ๒๔๖๓)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
(พ.ศ. ๒๔๓๕-พ.ศ. ๒๔๖๖)
- สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
(พ.ศ. ๒๔๓๒-พ.ศ. ๒๔๖๗)

และครั้งล่าสุด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พระสรีรางคารของ
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
(พ.ศ. ๒๔๖๘-พ.ศ. ๒๕๕๔) พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
ก็ได้นำมาบรรจุไว้ ณ อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน” แห่งนี้ด้วยเช่นกัน

พร้อมทั้งจะมีการแบ่งพระสรีรางคารไปบรรจุที่องค์พระปฐมเจดีย์
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
อันเป็นที่บรรจุพระราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
เพื่อให้สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
ได้ประทับพักผ่อนเคียงข้างพระราชบิดาและพระราชมารดา ณ ที่แห่งนั้นด้วย

ทั้งนี้ สาเหตุที่นำพระสรีรางคารของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ
ไปประดิษฐานที่พระอนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน”
เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
กับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
โดยมีพระนามเดิม คือ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี

ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ จึงเป็นพระราชนัดดา คือ “หลานย่า”
ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ด้วยเหตุผลดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญพระสรีรางคารมาบรรจุ ณ ที่นี้ ร่วมกับเจ้านายในรัชกาลที่ ๕
สายสมเด็จพระพันปีหลวง ซึ่งมีราชสกุลจักรพงษ์ และราชสกุลจุฑาธุช เป็นต้น


รูปภาพ

รูปภาพ
อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน”

รูปภาพ
ระหว่างสถูปขนาดใหญ่สีทองกับสถูปสีขาวอีก ๓ องค์ มีมุขกระสันเชื่อมระหว่างกัน


(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สุขุมาลนฤมิตร์

อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “สุขุมาลนฤมิตร์”
พระเจดีย์สีทอง เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
และเจ้าคุณจอมมารดาสำลี บุนนาค
พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “บริพัตร”

รูปภาพ

รูปภาพ
อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “สุขุมาลนฤมิตร์”


(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี

ศิลปะแบบขอม เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
- พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระอัครชายา
- สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเกียรติมงคล
- พระประยูรญาติแห่งราชสกุล “ยุคล”

รูปภาพ
อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี (ราชสกุลยุคล)


(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ด้านหน้า : อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ (ราชสกุลรพีพัฒน์)
ด้านหลัง : อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์



อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร เจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัต
และพระราชโอรส-พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ผู้ได้รับพระสมญานามว่า พระบิดาและปรมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย
พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “รพีพัฒน์”

ด้านหน้าอนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ มีป้ายชื่ออันเป็นลายเซ็น
ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ว่า รพีพัฒนศักดิ์ ติดไว้เป็นเอกลักษณ์

รูปภาพ
อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ (ราชสกุลรพีพัฒน์) ตั้งอยู่ใกล้กับ
อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน”, อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี,
อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ และอนุสาวรีย์สรีรนิธาน



(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์

ศิลปะแบบยุโรป เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกสร (หม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์)

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์


(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

อนุสาวรีย์สรีรนิธาน

ลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็น รูปโบสถ์ศิลปะแบบโกธิคของยุโรป
เป็นที่บรรจุพระสรีรางคารเจ้าจอมมารดาพร้อม อิศรางกูร ณ อยุธยา
ธิดาเจ้าพระยาพิษณุโลกาธิบดี (บัว)
และพระราชโอรส-พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
อนุสาวรีย์สรีรนิธาน มีลักษณะเป็นรูปโบสถ์ศิลปะแบบโกธิคของยุโรป


(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

- อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี
- อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์สรีรนิธาน


รูปภาพ

- อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์สรีรนิธาน


รูปภาพ

- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์สรีรนิธาน
- อนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน”


รูปภาพ

- อนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน”
- อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์สรีรนิธาน



(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

- อนุสรณ์สถาน “เสาวภาประดิษฐาน”
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ


รูปภาพ

- อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี
- อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ
- อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
- อนุสาวรีย์สรีรนิธาน


รูปภาพ

- อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี
- อนุสรณ์สถาน “รังษีวัฒนา”



(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาอ่วม

ลักษณะของสถาปัตยกรรมคล้ายถ้ำ เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
เจ้าจอมมารดาอ่วม พิศลยบุตร และพระราชโอรส คือ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “กิติยากร”

ทั้งนี้ ครั้งล่าสุด อังคารของหม่อมราชวงศ์อดุลยกิติ์ กิติยากร
พระบิดาของพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
และ อัฐิของคุณพุ่ม เจนเซ่น ก็ได้นำมาบรรจุไว้ ณ อนุสาวรีย์นี้ด้วยเช่นกัน

รูปภาพ
อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาอ่วม (ราชสกุลกิติยากร)


(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

อนุสาวรีย์เอิบอนุสรณ์ ๒๔๘๗

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร เจ้าจอมเอิบ บุนนาค
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕


(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

รูปภาพ

อนุสาวรีย์ฉัตรชยานุสสรณ์ ๒๔๘๐

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
(ต้นราชสกุลฉัตรชัย) ผู้ได้รับพระสมญานามว่า พระบิดาแห่งการรถไฟไทย
พระชายา พระโอรส และพระธิดา พร้อมทั้งพระประยูรญาติแห่งราชสกุล “ฉัตรชัย”

รูปภาพ

รูปภาพ
อนุสาวรีย์ฉัตรชยานุสสรณ์ ๒๔๘๐ (ราชสกุลฉัตรชัย)


(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2010, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
ซ้ายมือ : อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์
ขวามือ : อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาเนื่อง (ราชสกุลรังสิต)



อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์

เป็นที่บรรจุพระสรีรางคาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเลื่อน นิยะวานนท์


(มีต่อ)

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร