วันเวลาปัจจุบัน 08 ก.ย. 2024, 23:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=22



กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2017, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สังฆบิดร ผู้อร่ามในธรรมและศีลาจารวัตร

:b8: :b8: :b8:

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐
ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา
“สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อมฺพโร อัมพร ประสัตถพงศ์)”
เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
ขณะมีสิริอายุได้ ๘๙ ปี พรรษา ๖๘ ขึ้นเป็น
“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”

องค์ประมุขแห่งสังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สืบต่อจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
อีกทั้งนับเป็นปฐมสกลมหาสังฆปริณายกในแผ่นดินรัชกาลที่ ๑๐

โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง
สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารย อัมพราภิธานสังฆวิสุต
ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต
วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ
ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ
พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร
ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช”


โดยทรงประกอบพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช
ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง


:b8: :b8: :b8:

ในวาระโอกาสอันเป็นมงคลยิ่งของแผ่นดินไทยและพระศาสนานี้
จึงขอน้อมนำความรู้ที่เกี่ยวกับคำเรียกตำแหน่ง “สมเด็จพระสังฆราช”
มาฝากกัลยาณมิตรธรรมทุกท่านค่ะ

คำเรียกตำแหน่ง “สมเด็จพระสังฆราช” มี ๓ อย่าง
(๑) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
(๒) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
(๓) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ


:b47: :b47: หมายเหตุ ::
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับคำนำพระนามสำหรับตำแหน่ง
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓, ๑๘, ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
กล่าวคือ ทั้ง ๓ พระองค์มีคำนำพระนาม
สำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ถึง ๒ อย่าง ดังนี้

:b44: (ก) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
มีคำนำพระนามสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ถึง ๒ อย่าง คือ
๑. สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
๒. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

นับเป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


:b44: (ข) เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๗ พรรษา
วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระเกียรติยศพระอัฐิ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระราชอุปัธยาจารย์ (พระอุปัชฌาย์) ในพระองค์เมื่อครั้งทรงพระผนวช
ขึ้นเป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ”
นับเป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” พระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระเกียรติยศพระอัฐิ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระราชกรรมวาจาจารย์ในพระองค์เมื่อครั้งทรงพระผนวช
ขึ้นเป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร”
นับเป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วงการคณะสงฆ์ไทย
ที่สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชที่มาจากสามัญชน
มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์
ขึ้นเป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง”
อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เป็นการสถาปนา
สมเด็จพระสังฆราชในพระบรมโกศหรือที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว


:b44: (ค) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จึงมีคำนำพระนามสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ถึง ๒ อย่าง คือ
๑. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
๒. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ


:b44: (ง) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จึงมีคำนำพระนามสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ถึง ๒ อย่าง คือ
๑. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มาจากสามัญชน
มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
ที่มีคำนำพระนามสำหรับตำแหน่งเป็นพิเศษ
ไม่ใช้คำนำพระนามว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”
เนื่องจากทรงเป็นพระมหาเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ

๒. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

>>>> อ่านโดยละเอียดได้ที่...
••• คำเรียกตำแหน่ง “สมเด็จพระสังฆราช” มี ๓ อย่าง

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=51799

รูปภาพ

:b50: :b49: พระประวัติ ปฏิปทา และพระนิพนธิ์
สมเด็จพระสังฆราชไทย ๑๙ พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=22

:b50: :b49: ประวัติและปฏิปทา “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อัมพโร)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=23000

:b50: :b49: ประวัติและความสำคัญ “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม”
ที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช องค์สังฆบิดรถึง ๓ พระองค์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19364

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2017, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ภาพประวัติศาสตร์
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งยังทรงเป็น “พระมหาอัมพร อมฺพโร”
สมัยมาพักภาวนา บิณฑบาต และฉันในบาตร ร่วมกับ
“พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)”
ณ วัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
เมื่อเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๐๘


:b8: :b8: :b8: ขอขอบพระคุณผู้บันทึกภาพ : ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน
เป็นภาพที่คลาสสิค งดงาม แสดงให้เห็นถึงวิถีชาวบ้านอีสาน
และบรรยากาศต่างจังหวัดในสมัย ๕๐ กว่าปีก่อน


รูปภาพ

รูปภาพ

• พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)

• สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


รูปภาพ

รูปภาพ

• สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


พระอาจารย์เชอร์รี่ อภิเจโต (George R. Cherry)
พระภิกษุชาวแคนาดาแห่งวัดป่าบ้านตาด
(พระที่เป็นชาวต่างชาติอยู่ท้ายแถวสุด ตัวสูงๆ ผอมๆ)


รูปภาพ

• สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธฯ

• สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


รูปภาพ

ชาวบ้านตาดนำข้าวเหนียวมาใส่บาตรพระ
ใส่องค์ละหยิบมือ ไม่มีกับข้าว


รูปภาพ

พระที่เป็นชาวต่างชาติ หรือที่มองเห็นเฉพาะด้านหลัง ตัวสูงๆ ผอมๆ
คือ
“พระอาจารย์เชอร์รี่ อภิเจโต (George R. Cherry)”
พระภิกษุชาวแคนาดาแห่งวัดป่าบ้านตาด
ซึ่งท่านได้อุปสมบทในคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายพร้อมกันกับ

“หลวงปู่ปัญญา ปัญญาวัฑโฒ (Peter J. Morgan)”
เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๘ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
โดยมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เป็นพระอุปัชฌาย์,
พระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพญาณกวี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ท่านได้รับฉายาว่า “อภิเจโต” แปลว่า ผู้มีเจโตปริยญาณใหญ่, ผู้มีจิตใหญ่


รูปภาพ

พระวัดป่าบ้านตาดออกบิณฑบาตในยามเช้า
สู่หมู่บ้านที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๒ กิโลเมตร


รูปภาพ

กำลังเดินกลับวัดป่าบ้านตาด

รูปภาพ

:b50: :b50: จากซ้าย : องค์ที่ ๑ • หลวงปู่ปัญญา ปญฺญาวฑฺโฒ (Peter J. Morgan)
พระภิกษุชาวอังกฤษแห่งวัดป่าบ้านตาด

องค์ที่ ๒ • ไม่ทราบนามฉายา

องค์ที่ ๓ • ไม่ทราบนามฉายา

องค์ที่ ๔ • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

องค์ที่ ๕ • สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธฯ

องค์ที่ ๖ • พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)

องค์ที่ ๗ • หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ วัดป่าหนองแซง

องค์ที่ ๘ • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้วชุมพล

ณ ศาลาวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี


รูปภาพ

:b50: :b50: จากซ้าย : องค์ที่ ๑ • หลวงปู่ปัญญา ปญฺญาวฑฺโฒ (Peter J. Morgan)

องค์ที่ ๒ • ไม่ทราบนามฉายา

องค์ที่ ๓ • ไม่ทราบนามฉายา

องค์ที่ ๔ • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ณ ศาลาวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี


รูปภาพ

:b50: :b50: จากซ้าย : องค์ที่ ๑ • ไม่ทราบนามฉายา

องค์ที่ ๒ • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

องค์ที่ ๓ • สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธฯ

ณ ศาลาวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี


รูปภาพ

พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
ณ ศาลาวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี


รูปภาพ

:b50: :b50: จากซ้าย : องค์ที่ ๑ • พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)

องค์ที่ ๒ • หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ วัดป่าหนองแซง

องค์ที่ ๓ • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้วชุมพล

ณ ศาลาวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

คณะสงฆ์กำลังเจริญพระพุทธมนต์ อนุโมทนาในทาน
ของญาติโยมผู้ใส่บาตรและถวายภัตตาหาร


:b44: :b47: :b44:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2017, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b49: :b49: จากซ้าย : องค์ที่ ๑ • ไม่ทราบนามฉายา

องค์ที่ ๒ • ไม่ทราบนามฉายา

องค์ที่ ๓ • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ช่วงหยุดพักระหว่างทางเพื่อพักรถและถวายน้ำปานะแด่พระภิกษุสงฆ์
ในวันที่เดินทางออกจากวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
ไปวัดถ้ำขาม จ.สกลนคร เพื่อมาพักภาวนากับ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”


รูปภาพ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งยังทรงเป็น “พระมหาอัมพร อมฺพโร”


:b44: :b47: :b44:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2017, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ภาพประวัติศาสตร์
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งยังทรงเป็น “พระมหาอัมพร อมฺพโร”
สมัยมาพักภาวนา บิณฑบาต และฉันในบาตร
ร่วมกับ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
ณ วัดถ้ำขาม บ้านคำข่า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
เมื่อเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๐๘


:b8: :b8: :b8: ขอขอบพระคุณผู้บันทึกภาพ : ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน
เป็นภาพที่คลาสสิค งดงาม แสดงให้เห็นถึงวิถีชาวบ้านอีสาน
และบรรยากาศต่างจังหวัดในสมัย ๕๐ กว่าปีก่อน


รูปภาพ

:b50: :b50: จากซ้าย : องค์ที่ ๑ • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

องค์ที่ ๒ • สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธฯ

องค์ที่ ๓ • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

องค์ที่ ๔ • พระวัดถ้ำขาม ไม่ทราบนามฉายา

องค์ที่ ๕ • ไม่ทราบนามฉายา

องค์ที่ ๖ • ไม่ทราบนามฉายา

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ต้อนรับพระอาคันตุกะจากกรุงเทพฯ
ด้วยการแสดงธรรม ณ ผลาญหินลานลั่นทมป่า
หลังถ้ำขาม บนเทือกเขาภูพาน


รูปภาพ

:b50: :b50: จากซ้าย : องค์ที่ ๑ • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

องค์ที่ ๒ • สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธฯ

ณ ผลาญหินลานลั่นทมป่า หลังถ้ำขาม บนเทือกเขาภูพาน


รูปภาพ

:b50: :b50: จากซ้าย : องค์ที่ ๑ • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

องค์ที่ ๒ • พระวัดถ้ำขาม ไม่ทราบนามฉายา

องค์ที่ ๓ • ไม่ทราบนามฉายา

องค์ที่ ๔ • ไม่ทราบนามฉายา

ณ ผลาญหินลานลั่นทมป่า หลังถ้ำขาม บนเทือกเขาภูพาน


รูปภาพ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งยังทรงเป็น “พระมหาอัมพร อมฺพโร”
ณ ผลาญหินลานลั่นทมป่า หลังถ้ำขาม บนเทือกเขาภูพาน


รูปภาพ

:b50: :b50: จากซ้าย : องค์ที่ ๑ • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

องค์ที่ ๒ • สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธฯ

องค์ที่ ๓ • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

กำลังฉันจังหันในบาตรร่วมกับพระภิกษุสามเณร
ณ ศาลาโรงธรรม วัดถ้ำขาม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
(ซึ่งเป็นที่ฉันจังหันรวมของพระภิกษุสามเณรภายในวัด)


รูปภาพ

ศาลาโรงธรรม วัดถ้ำขาม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
(ซึ่งเป็นที่ฉันจังหันรวมของพระภิกษุสามเณรภายในวัด)


****

วัดถ้ำขาม เป็นวัดที่หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้สร้างขึ้นคู่กับ “วัดป่าอุดมสมพร”
ในบั้นปลายของการดำรงขันธ์แห่ง “หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี”
องค์ท่านได้ย้ายขึ้นไปพำนักจำพรรษา ณ วัดถ้ำขาม
ภายในวัดมีเก้าอี้สีเหลืองตัวหนึ่งที่องค์หลวงปู่ฝั้นท่านใช้นั่งรับแขกเป็นประจำ
เมื่อองค์หลวงปู่เทสก์ท่านได้ย้ายขึ้นมาพำนักจำพรรษา
จึงได้นำเก้าอี้ตัวนี้มาถวายให้องค์หลวงปู่เทสก์ได้ใช้นั่งรับแขกเช่นเดียวกัน
และเมื่อองค์หลวงปู่เทสก์ท่านได้ทิ้งขันธ์มรณภาพ ณ วัดถ้ำขาม
จึงได้มีการสร้าง “รูปเหมือนไฟเบอร์กลาส” ขององค์หลวงปู่เทสก์ขึ้น
ให้ได้กราบไหว้ บูชาสักการะ ณ “กุฏินิพพานหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี”
หรือ “กุฏิพระมหาเถราจารย์รำลึกเทสรังสี-อาจาโรอนุสรณ์”
เก้าอี้สีเหลืองที่เคยใช้นั่งรับแขกตัวนี้จึงได้ไปทำหน้าที่ให้
“รูปเหมือนไฟเบอร์กลาส” ขององค์หลวงปู่เทสก์ได้นั่งตราบจนทุกวันนี้

วัดถ้ำขามแห่งนี้ หลวงปู่หลายองค์บอกตรงกันว่า
มีเทพเทวดาคุ้มครองอยู่มาก โดยเฉพาะภายในบริเวณศาลาถ้ำขาม
เทพเทวดาจะมาไหว้พระ-สวดมนต์ทุกคืน
จึงไม่ให้เดิน วิ่ง นั่ง นอนเกะกะ
หรือส่งเสียงดังไม่สำรวมบริเวณหน้าองค์พระประธาน
ทั้งนี้ได้มีพระสงฆ์ สามเณร แม่ชี
และคณะศรัทธาญาติโยมหลายคนประสบพบเห็นมาแล้ว


:b44: :b47: :b44:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2017, 19:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

เห็นภาพบรรยากาศเก่า ๆ แล้ว

Kiss Kiss Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2017, 20:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2017, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:
รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2017, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


• ภาพประวัติศาสตร์ •

รูปภาพ

:b50: :b49: องค์ซ้าย คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปฐมสกลมหาสังฆปริณายกในแผ่นดินรัชกาลที่ ๑๐
เมื่อครั้งยังทรงเป็น “พระมหาอัมพร อมฺพโร”

ปัจจุบัน (ปี พ.ศ.๒๕๖๐) สิริพระชนมายุ ๘๙ ปี พระพรรษาในสมณเพศ ๖๘


:b50: :b49: ส่วนองค์ขวา คือ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)
อดีตเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม รูปที่ ๗
และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)
เมื่อครั้งยังเป็น “พระกิตติสารมุนี”

พระมหาเถระผู้เป็นเสาหลักแห่งการศึกษาคณะสงฆ์,

เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมบาลีและแผนกสามัญศึกษา
“โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย” อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
ตามพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์,

เป็นผู้เริ่มก่อตั้งวัดญาณรังษี ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ฯลฯ

ท่านเป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปแรกของไทย
ที่สำเร็จการศึกษาในทางคดีโลกถึงชั้นปริญญาเอก

ทั้งสององค์เป็นชาวราชบุรีเหมือนกัน
โดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มีอายุมากกว่า
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณฯ เพียง ๑ ปีเท่านั้น

ภาพนี้ถ่ายขณะที่ทั้งสององค์ยังเป็นนักศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยพาราณสี
(Banaras Hindu University - BHU) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
ได้เดินทางกลับมายังเมืองไทยเป็นครั้งคราว
จึงรับนิมนต์มาฉันจังหันแบบกันเองที่บ้าน ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน
เข้าใจว่าตอนนั้นทั้งสององค์คงมีอายุราว ๓๙-๔๑ ปี


:b50: :b45: :b50:

:b47: :b47: ประวัติและความสำคัญ
“วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร”

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=47918

:b47: :b47: ประวัติและความสำคัญ
“วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร”
ที่ประทับสมเด็จพระสังฆราช สังฆบิดรถึง ๓ พระองค์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19364

รูปภาพ

>> :b44: องค์ซ้ายมือสุดในภาพ คือ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระปริยัติกวี”
ทรงเวียนเทียนในการบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา
เมื่อครั้งเสด็จไปเผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ณ วัดพุทธรังษี สแตนมอร์ (Wat Buddharangsee Stanmore)
นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย
เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
ทรงสำเร็จการฝึกอบรมจากสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
เป็นพระธรรมทูตรุ่นแรก จึงทรงรับพระธุระในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ณ เครือรัฐออสเตรเลีย ตั้งแต่เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖
พระองค์ได้ทรงวางรากฐานการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ตลอดถึงเป็นเนติให้สหธรรมิกที่มาภายหลังได้เผยแผ่อย่างมีรูปแบบ
ทำให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมีความมั่นคงในไพรัชประเทศ (ต่างประเทศ)
มีวัดและพระสงฆ์ไทยอยู่ประจำที่เครือรัฐออสเตรเลียหลายแห่ง
ก่อนขยายไปยังเมืองใหญ่อีกหลายเมือง
อาทิ กรุงแคนเบอร์รา นครเมลเบิร์น และเมืองดาร์วิน เป็นต้น

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2017, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


• ภาพประวัติศาสตร์ •

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

พระตำหนักอรุณ
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
ซึ่งเป็นกุฏิเจ้าอาวาส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
(หม่อมเจ้ากระจ่าง ลดาวัลย์ อรุโณ) ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์

เจ้าอาวาสพระองค์แรก

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๓
ส่วนนามพระตำหนักอรุณนี้

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เจ้าอาวาสลำดับที่ ๒

ทรงประทานชื่อในภายหลัง เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระองค์เจ้าพระองค์นั้น

พระตำหนักอรุณ เป็นอาคารแบบตะวันตก ขนาด ๕ ห้อง ๓ ชั้น
โดยมีระเบียงรอบ แต่เดิมหันหลังให้กับหน้าพระวิหารหลวง
หันหน้าชนกับพระที่นั่งสีตลาภิรมย์ (พระตำหนักเก๋ง)
มีบันไดขึ้นข้างนอก ๒ ข้าง ด้านหน้าพระตำหนักทั้งสองนั้น
เมื่อขึ้นบันไดข้างใดข้างหนึ่งแล้ว
สามารถเข้าพระตำหนักอรุณชั้นกลาง-ชั้นบน
และพระที่นั่งสีตลาภิรมย์ (พระตำหนักเก๋ง) ชั้นบนได้
เพราะมีชานเรือนแล่นถึงกันตลอด

ต่อมา พระยาบริบูรณ์ราชสมบัติ (ม.ร.ว.มูล ดารากร) อธิบดีกรมพระคลังข้างที่
ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตบูรณะซ่อมแซมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
โดยการบูรณะได้รื้อลงจนถึงฐานราก สร้างฐานรากและคานคอนกรีตใหม่
แล้วสร้างใหม่ให้พระตำหนักอรุณหันหน้าตรงกับหน้าพระวิหารหลวง

ปัจจุบันเป็นพระตำหนักที่ประทับของ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เจ้าอาวาสลำดับที่ ๖


รูปภาพ

รูปภาพ

:b47: :b47: แถวนั่ง จากซ้าย องค์ที่ ๑-๓ :
สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต)
เจ้าอาวาสองค์ปฐมวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
“สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศที่
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์


:b47: :b47: แถวยืน จากซ้าย องค์ที่ ๑-๘ :
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ

พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล)
วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปาโมกข์

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระญาณวราภรณ์
(เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษ)

พระพิมลธรรม (นาค สุมนฺนาโค)
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพสุธี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวโรดม


- องค์ที่ ๗ ไม่ทราบนามฉายา -

พระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส)
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

ในงานฉลองพระตำหนักอรุณ
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2017, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


• ภาพประวัติศาสตร์ •

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระองค์ทรงเคยเป็นพระมหาเถระผู้สนองงานใกล้ชิด
เปรียบประดุจแขนซ้าย-ขวาอันสำคัญยิ่งของ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


รูปภาพ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระปริยัติกวี”

เข้าเฝ้าถวายสักการะ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ณ ห้องหน้ามุข พระตำหนักคอยท่าปราโมช ชั้น ๒
คณะเหลืองรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
เนื่องในงานสมโภชพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระราชาคณะ
และบำเพ็ญพระกุศลวันคล้ายวันประสูติครบ ๕ รอบ พระชันษา ๖๐ ปี
วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖


รูปภาพ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ

ทรงเป็นประธานในการเจริญพระพุทธมนต์ “นวัคคหายุสมธัมม์”*
(อ่านว่า นะ-วัก-คะ-หา-ยุ-สะ-มะ-ทำ) ถวายแด่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๕


:b44: แถวหน้า จากซ้าย :

องค์ที่ ๑ :
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


องค์ที่ ๒ :
สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมเมธี
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร


องค์ที่ ๕ :
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวรเมธี
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


:b44: แถวที่ ๒ จากซ้าย :

องค์ที่ ๒ :
พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพญาณวิศิษฏ์
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก


:b44: :b44:

*หมายเหตุ : “นวัคคหายุสมธัมม์”
(อ่านว่า นะ-วัก-คะ-หา-ยุ-สะ-มะ-ทำ)
แปลว่า ธรรมที่เสมอด้วยอายุแห่งการกำหนดด้วยองค์เก้า
หรือธรรมเป็นเครื่องเสมออายุด้วยนพเคราะห์

แปลแบบง่ายๆ ก็คือ หัวข้อธรรมที่มีเกณฑ์เท่ากำลังวันทั้ง ๙
ตามหลักโหราศาสตร์ไทย หรือที่เรียกกันว่า “นพเคราะห์”

ปกติจะนิยมสวดในการทำบุญอายุตามหลักทางโหราศาสตร์
แต่โดยนัยสำคัญ หากแต่เป็นการสอดแทรกหลักธรรมอยู่ภายใน
มุ่งหวังการนำไปปฏิบัติมากกว่า


รูปภาพ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระสาสนโสภณ”

เข้าเฝ้าถวายสักการะ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น ๖ (ชั้นพระมหากรุณาธิคุณ)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๖


:b50: :b49: ในภาพ : พระคุณเจ้าองค์ที่นั่งอยู่ทางพระหัตถ์ซ้าย
ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณฯ

คือ พระราชรัตนมงคล (มนตรี อภิมนฺติโก)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระมหานายก
พระราชาคณะปลัดขวา
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)


:b50: :b49: พระคุณเจ้าองค์ที่นั่งอยู่ทางพระหัตถ์ขวา
ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณฯ (ใส่แว่นตา)

คือ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธิ์ เขมฺงกโร)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมวชิรญาณ
วัดยานนาวา (พระอารามหลวง)


:b47: :b40: :b47:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2017, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงสวดสมมติสีมาในพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต
วัดวังพุไทร ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ต.หนองหญ้าปล้อง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี
เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๗ โดยมี...


:b44: แถวที่ ๒ จากซ้าย :
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระเทพเมธาภรณ์”

:b49: :b50: จากภาพ...พระองค์ทรงถือ “หนังสือวินัยมุข” ไว้ในพระหัตถ์
เพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้องในการสวดสมมติสีมา


พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) วัดโพธิสมภรณ์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมบัณฑิต

พระสุธรรมาธิบดี (แบน กิตฺติสาโร) วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพวราจารย์


:b44: แถวที่ ๓ จากซ้าย :
พระธรรมมงคลวุฒาจารย์ (บุญยนต์ ปุญฺญาคโม) - องค์ที่เห็นเฉพาะใบหู
วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระมงคลรัตนมุนี

พระครูประสิทธิ์พุทธมนต์ (ณัฏฐ์ ชุติโก) วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อครั้งยังเป็น พระณัฏฐ์ ชุติโก
๑ ในพระอุปัฏฐากของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ

พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมสิริสารเวที

พร้อมด้วยคณะสงฆ์เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย


รูปภาพ

:b44: จากซ้าย :
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระเทพเมธาภรณ์”


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมสิริสารเวที

พระสุธรรมาธิบดี (แบน กิตฺติสาโร) วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพวราจารย์

พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชสุมนต์มุนี

ในคราวเสด็จประกอบพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตและสมมติสีมา
วัดวังพุไทร ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ต.หนองหญ้าปล้อง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี
เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๗


รูปภาพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงปิดทองลูกนิมิต
ในคราวเสด็จประกอบพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตและสมมติสีมา
วัดวังพุไทร ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ต.หนองหญ้าปล้อง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี
เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๗


:b44: ในภาพ : องค์ซ้ายมือสุด คือ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระเทพเมธาภรณ์”


:b44: องค์ขวามือสุด คือ
พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล) วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชสุมนต์มุนี


รูปภาพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงปลงอาบัติก่อนสดับพระปาติโมกข์ต่อ
“พระครูประสิทธิ์พุทธมนต์ (ณัฏฐ์ ชุติโก)” วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อครั้งยังเป็น พระณัฏฐ์ ชุติโก
๑ ในพระอุปัฏฐากของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
ในคราวเสด็จประกอบพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตและสมมติสีมา
วัดวังพุไทร ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ต.หนองหญ้าปล้อง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี
เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๗


รูปภาพ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
กำลังเสด็จกลับภายหลังทรงนมัสการองค์ “พระปฐมเจดีย์”
วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม
เนื่องในธรรมเนียมการนมัสการพระปฐมเจดีย์

ธรรมเนียมการนมัสการพระปฐมเจดีย์นี้
เป็นธรรมเนียมของ “คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย”
ที่สืบมาตั้งแต่ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ ยังทรงพระผนวช และทรงค้นพบพระปฐมเจดีย์
โดยสันนิษฐานว่าเป็นพระสถูปโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินนี้
จึงทรงโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระปฐมเจดีย์
พร้อมด้วยพระเถรานุเถระ ด้วยพระราชศรัทธาเลื่อมใส
ด้วยทรงสันนิษฐานเห็นความมหัศจรรย์ของพระสถูปโบราณแห่งนี้
จึงสถาปนาให้เป็นพระมหาสถูปและเป็นพระเจดีย์สำคัญของแผ่นดิน

เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายสืบมา
ได้ทรงตั้งเป็นธรรมเนียมขึ้นโดยกำหนดไว้ว่า
ภายหลังเสร็จการรับกฐินแห่งวัดทั้งหลายแล้ว
ทรงนัดพระเถรานุเถระทั้งหลายไปนมัสการพระปฐมเจดีย์
สืบมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้ทรงกำหนดธรรมเนียมนี้ในวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี


:b44: :b44: ในภาพ : องค์อยู่ข้างหลังสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ คือ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระเทพเมธาภรณ์”


:b44: : องค์ขวามือสุดในภาพ ใส่แว่นตาพนมมือ คือ
พระพรหมเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม ป.ธ.๙)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศรีสุธรรมเมธี
เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ร่วมเฝ้ารับเสด็จ


:b39:

:b50: “พระปฐมเจดีย์” วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=39910

:b50: ประวัติ “คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=47044

รูปภาพ

ธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์อย่างหนึ่งในเทศกาลเข้าพรรษา
คือพระสงฆ์จะไปกราบขอขมาคารวะต่อพระเถระ
ที่อาจจะพลั้งเผลอล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ ในรอบปีที่ผ่านมา
ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกเวลาหากมีความประมาท ก่อนอธิษฐานเข้าพรรษา
จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติคือการกราบขอขมาคารวะต่อพระรัตนตรัย
จากนั้นก็จะมากราบขอขมาคารวะต่อพระเถระ
ในอารามที่พระสงฆ์จะอยู่จำพรรษา
หลังเข้าพรรษาก็จะนิยมเดินทางไปกราบขอขมาคารวะ
ต่อพระเถระทั้งหลายตามวัดต่างๆ ขอให้ท่านอดโทษ ยกโทษให้
ดังนั้น หลังวันเข้าพรรษาตามอารามต่างๆ
ที่มีพระเถระผู้มีตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์อยู่
จึงมีพระภิกษุสามเณรจากวัดต่างๆ
เดินทางมากราบขอขมาคารวะต่อพระเถระ ณ อารามทั้งหลาย

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา ก็มักเสด็จไปทรงถวายสักการะ
อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารทุกพระองค์ในวันเข้าพรรษา
หลังจากนั้นก็จะเสด็จไปทรงถวายสักการะพระอัฐิ
ของสมเด็จพระสังฆราชในอดีตทุกพระองค์
และอัฐิของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
แห่งวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร
ตลอดจนเสด็จไปทรงถวายสักการะ
“พระเทพมงคลรังษี (หลวงพ่อดี พุทฺธโชติ)”
พระอุปัชฌาย์ในคราวอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย
ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
อยู่เป็นประจำทุกปีมิได้ขาด ในขณะเมื่อพระอนามัยยังอำนวย
ทั้งยังโปรดให้มีการสร้างสาธารณูปโภคอุทิศถวาย
เป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราชในอดีตทุกพระองค์ด้วย
นับเป็นความกตัญญุตาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ


:b39:

:b50: :b49: ประเพณีการขอขมาคารวะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=30082

รูปภาพ

เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา วัตรปฏิบัติที่สำคัญประการหนึ่งของ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
โปรดที่จะเสด็จไปทรงถวายสักการะ
พระอัฐิสมเด็จพระสังฆราชในอดีตทุกพระองค์

สองในนั้นคือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

หากแต่ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ วันนั้นเกิดฝนตกหนัก
แต่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ยังโปรดเสด็จไปทรงถวายสักการะ
พระอัฐิสมเด็จพระสังฆราชในอดีตทั้งสองพระองค์
ร่วมกับคณะภิกษุสงฆ์วัดราชบพิธฯ
ในการนี้ ทรงได้ทำสามีจิกรรมกับ
“สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร)”
เจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ ในขณะนั้น
ด้วยท่านมีพรรษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
และยังโปรดให้คณะภิกษุสงฆ์วัดราชบพิธฯ ได้มีโอกาสเข้าถวายสักการะ
และทำสามีจิกรรมกับพระองค์ท่านด้วย หนึ่งในนั้นคือ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระเทพเมธาภรณ์”
ร่วมเฝ้ารับเสด็จอยู่ด้วย


รูปภาพ

ครั้งสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) ยังมีชีวิตอยู่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงเสด็จปฏิบัติศาสนกิจ ขากลับพระตำหนักที่ประทับ
จะต้องแวะไปทรงสนทนาธรรมและกราบสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี
ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
ก่อนเสมอเกือบทุกครั้ง ผู้ใดได้พบเห็นก็ล้วนประทับใจเป็นยิ่งนัก


:b44: ในภาพ : องค์ที่ ๒ จากขวา คือ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระเทพเมธาภรณ์”


รูปภาพ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมเมธาภรณ์”

เข้าถวายสักการะและทำสามีจิกรรม
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๒
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)


:b44: ในภาพ : พระคุณเจ้าองค์ที่อยู่ขวามือสุด คือ
พระพรหมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร


รูปภาพ

:b49: :b44: :b49: ในภาพ : จากซ้าย :
พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมกิตติวงศ์”
วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมเมธาภรณ์”
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร


สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.๘)
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมวรเมธี”
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร

พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ทั้ง ๓ รูปรับอาราธนามาเจริญพระพุทธมนต์
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติครบ ๗ รอบ พระชันษา ๘๔ ปี
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)


--------
:b8: :b8: :b8: ที่มาของรูปภาพ ::
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ กับ วงศ์พระกรรมฐาน

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=43558

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2017, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www



.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2017, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

๓ สมเด็จฯ ฝ่ายธรรมยุต

:b50: :b49: จากซ้าย : สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)
วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์

สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)


ในงานทำบุญอายุวัฒนมงคลครบ ๖ รอบ ๗๒ ปี
พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.๙)
เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร
เมื่อวันจันทร์ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร


*****

>>> หมายเหตุ : เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.๙)
ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ
ในพระราชทินนามที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์
นับเป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปแรกของวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร
ท่ามกลางความปลื้มปีติยินดียิ่งของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั่วไป



:b8: :b8: :b8: ที่มาของรูปภาพ ::
๓ สมเด็จฯ ฝ่ายธรรมยุต (วัดสัมพันธวงศ์ วัดราชบพิธ วัดบวร)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=48855

รูปภาพ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์
ทรงบำเพ็ญกุศลพระศพ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)
เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๗


รูปภาพ

ทรงฉายพระรูปร่วมกับคณะพระภิกษุสามเณร
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2017, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พิธีจารึกพระนามสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในพระสุพรรณบัฏ


วันพฤหัสบดีที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๔๙ น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์” เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในการพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง

เมื่อเสด็จไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงศีล โหรหลวงลั่นฆ้องชัย เจ้าพนักงานอาลักษณ์ กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ทำการจารึกพระนามสมณศักดิ์ลงในพระสุพรรณบัฏ พระสงฆ์ ๕ รูปเจริญมงคลคาถา พราหมณ์เป่าสังข์ ภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์


เมื่อจารึกเสร็จแล้ว พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์ ถวายน้ำเทพมนตร์ เจิมพระสุพรรณบัฏแล้วเชิญขึ้นประดิษฐานไว้บนธรรมาสน์ศิลา หน้าพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) ผู้แทนพระองค์ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระอุโบสถ ผู้แทนพระองค์เสด็จกลับ


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2017, 21:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร