วันเวลาปัจจุบัน 05 ต.ค. 2024, 18:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=22



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2015, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
พระตำหนักเดิม (พระตำหนักใหญ่) ชั้น ๒ วัดบวรนิเวศวิหาร ในปัจจุบัน
:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : คุณ Aksorn Pichai


:b47: :b44: :b47:

“พระตำหนักเดิม” หรือ “พระตำหนักใหญ่” วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) เป็นอาคารหรือพระตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแด่พระวชิรญาณเถระ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ขณะทรงครองวัด ในบริเวณที่เป็นท้องพระโรงหน้าพระตำหนักปั้นหย่า แต่สร้างยังไม่แล้วเสร็จ ก็เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๔ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เสียก่อน ต่อมาเมื่อสร้างแล้วเสร็จ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ขณะทรงครองวัด เสด็จมาประทับที่ “พระตำหนักเดิม” แทน โดยในปีพุทธศักราช ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ถวายวิสุงคามสีมาเขตพระตำหนักนี้แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เพื่อทรงกระทำอุโบสถได้ในยามประชวร

หลังจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้นสิ้นพระชนม์แล้ว พระตำหนักเดิมได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาจนสิ้นพระชนม์ แล้วสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มิได้เสด็จไปประทับอยู่ ได้โปรดให้รักษาสิ่งต่างๆ ในพระตำหนักให้คงสภาพเดิมเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทั้ง ๒ พระองค์

พระตำหนักเดิมนี้เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สร้างขึ้นด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ได้รับอิทธิพลแบบยุโรป โดยปลูกเป็นเรือนยาว มีระเบียงมุขยื่นออกมา ผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๒ ชั้น ๕ ห้อง มีพาไลรอบ (พาไล คือ เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน)

บนชั้น ๒ ของพระตำหนักเดิม เป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์บรรจุพระอัฐิและอัฐิ (กระดูก) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

แต่เดิมการประดิษฐานพระอัฐิและอัฐิเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ณ พระตำหนักหลังนี้นั้น ได้ประดิษฐานไว้ภายในพระคูหาไม้แกะสลัก ด้านบนประดับลวดลายฉัตร ๕ ชั้น ในเบื้องแรกพระคูหาไม้แกะสลักหลังนี้ได้ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ร่วมกัน ๓ พระองค์

ภายหลังเมื่อพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ มรณภาพลง อัฐิของท่านจึงนำมาประดิษฐาน ณ ม้าหมู่ด้านหน้าพระคูหาไม้แกะสลักดังกล่าว


ต่อมาภายหลัง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ การประดิษฐานพระอัฐิ ณ พระตำหนักหลังนี้จึงมีการสร้างพระคูหาสำหรับประดิษฐานเพิ่มอีก ๒ หลัง

โดยให้พระคูหาตรงกลาง ประดิษฐานพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ร่วมกับพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

ให้พระคูหาเบื้องซ้าย ประดิษฐานพระอัฐิของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ร่วมกับพระอัฐิของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
(กลาวคือ ภายหลังการพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร นั้น พระอัฐิที่ประมวลลงในพระโกศศิลาในครั้งนั้น องค์หลักถูกนำขึ้นประดิษฐาน ณ พระตำหนักเดิม)

และให้พระคูหาเบื้องขวา ประดิษฐานอัฐิของพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)

ชั้น ๒ ของพระตำหนักเดิมนี้ จึงเป็นที่สถิตของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารเป็นสำคัญ


------------------

:b50: :b49: :b50: หมายเหตุ : ทางวัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร) ได้มีพิธีอัญเชิญพระโกศศิลาบรรจุพระอัฐิ (กระดูก) ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ไปประดิษฐาน ณ พระตำหนักเดิม หรือพระตำหนักใหญ่ ส่วนพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ พระองค์นั้นได้อัญเชิญไปบรรจุที่ใต้ฐานพระพุทธชินสีห์จำลอง ณ พระวิหารเก๋ง ซึ่งพระพุทธชินสีห์จำลององค์นี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงหล่อขึ้นในโอกาสเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖ และจะเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะพระอัฐิและพระสรีรางคารได้เฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น อาทิ วันทำบุญอดีตเจ้าอาวาส (วันที่ ๒ สิงหาคมของทุกปี) และวันครบรอบวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ (วันที่ ๒๔ ตุลาคมของทุกปี)


:b8: :b8: :b8: ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูล ::
หนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร, ศิลปกรรมวัดบวรนิเวศวิหาร
http://www.watbowon.com/all/section/palace_Sec.htm
http://www.watbowon.com/travel/phrapanyha3.htm

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2015, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ณ พระตำหนักเดิม (พระตำหนักใหญ่) ชั้น ๒
ที่สถิตของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
- ภาพในอดีต


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงสักการะพระอัฐิและอัฐิของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
ภายในพระคูหาไม้แกะสลัก ด้านบนประดับลวดลายฉัตร ๕ ชั้น
พระคูหาหลังนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิร่วมกัน ๓ พระองค์ ได้แก่


๑. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๒

๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๓

๓. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๔

สำหรับอัฐิของ “พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)”
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๕
ประดิษฐาน ณ ม้าหมู่ด้านหน้าพระคูหาไม้แกะสลักดังกล่าว


รูปภาพ

รูปภาพ

ณ พระตำหนักเดิม (พระตำหนักใหญ่) ชั้น ๒
ที่สถิตของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร
- ภาพในปัจจุบัน


:b45: พระคูหาตรงกลาง : ประดิษฐานพระอัฐิ
๑. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๒ ร่วมกับ
๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๓

:b45: พระคูหาเบื้องซ้าย : ประดิษฐานพระอัฐิ
๑. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๔ ร่วมกับ
๒. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๖

[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์
ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ในคราวทรงทำทัฬหีกรรม
(อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุต ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร]


:b45: พระคูหาเบื้องขวา : ประดิษฐานอัฐิ “พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)”
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๕


รูปภาพ

:b44: :b47: :b44: พระคูหาเบื้องซ้าย : ประดิษฐานพระอัฐิ
๑. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๔ ร่วมกับ
๒. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๖

[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์
ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ในคราวทรงทำทัฬหีกรรม
(อุปสมบทซ้ำ) เป็นธรรมยุต ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร]

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร