วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 05:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




ละกิเลส พระสังฆราชองค์ที่ 19.jpg
ละกิเลส พระสังฆราชองค์ที่ 19.jpg [ 17.57 KiB | เปิดดู 1867 ครั้ง ]
:b8: การตัดละซึ่งกิเลส 50 ข้อ :b8:

๑. เป็นธรรมะระดับสูงซึ่งเป็นคำที่แปลยากที่สุด ซึ่งต่างกับธรรมะ ๘ ตา ซึ่งจะแปลตรงตรง
๒. ความไม่สำเร็จมาแต่สิ่งนั้น เช่น สิ่งทีสำเร็จนั้นย่อมมีเหตุและปัจจัยที่สำเร็จ แต่อตัมยตาอยู่นอกเหนือเหตุและปัจจัยต่างๆ
๓. มีสติปัญญา ระลึกถึง ไม่ให้ปัจจัยทั้งภายนอกและภายในปรุงแต่งจิตได้ทุกกรณี
๔. จิตที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นผล….ของการปรุงแต่ง อยู่นอกอำนาจการปรุงแต่ง ตั้งอยู่อย่างอิสระมั่นคง
๕. จิตที่ไม่อยู่ใต้อำนาจหรือคุณค่า หรือประโยชน์ใดใด
๖. จิตที่ไม่อยู่ใต้อำนาจของสังขาร (ผู้ปรุงแต่ง ผู้ถูกปรุงแต่ง การปรุงแต่ง) เพราะกำลังไปสู่วิสังขาร เหนือการปรุงแต่งทั้งปวง
๗. จิตที่พ้นแก่อำนาจอัสสาทะ (เสน่ห์ผูกพันจิตใจ) แห่งอำนาจ โลกียธรรม(ทางโลก) ทั้งปวง
๘. จิตที่ไม่ผูกพันอยู่ด้วยอุปาทานใดอีกต่อไป (กาม ทิฐฐิ สีลพัตปรามาส หรือยึดมั่นตัวตน)
๙. จิตที่ไม่ถูกลวงด้วยของเป็นคู่ เช่น ดีใจ-เสียใจ, บุญ-บาป, ดี-ชั่ว, กำไร-ขาดทุน เป็นต้น
๑๐. จิตที่ไม่ถูกลวงด้วยอัสสาทะ (เสน่ห์ผูกพันจิตใจ) ใดใด แห่งยุคสมัยนี้ (ปัจจุบัน)
๑๑. เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก อาจต้องใช้ความเพียรพยายามในช่วงแรก (ฝ่ากำแพงในใจ) ในทางปฏิบัติเพื่อนำจิตเข้าสู่พระนิพพาน (ความว่าง)
๑๒. เป็นเพชรเม็ดสุดท้ายในพระไตรปิฏก (เพื่อนำจิตหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง)
๑๓. ธรรมนี้ในพระไตรปิฏก เป็นธรรมที่ไม่ถูกสังคายนา (การประชุมทางสงฆ์) ให้ถูกต้องหรือถี่ถ้วน เพราะเข้าใจยาก
๑๔. เป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรมใดใด คือเป็นธรรมขั้นสูง ไม่น่าสนใจ เพราะปฏิบัติยาก เข้าใจยาก
๑๕. เป็นคำที่หาไม่พบในอภิธรรมปิฏก หาพบในสุตตันปิฏก
๑๖. เป็นคำที่ถูกซ่อนอยู่ในพระไตรปิฏก ซึ่งถ้าปฏิบัติได้จะหลุดพ้นจากวัฏสงสารทั้งปวง
๑๗. เป็นมนตราใช้ขับผี เพื่อต่อสู้กับกิเลสโดยสิ้นเชิง
๑๘. มีใจความสั้นสั้นที่เข้าใจง่ายว่า กูไม่เอากับมึงแล้วโว้ย (ไม่สามารถให้จิตหลงไหลได้อีกต่อไป ไม่สามารถหลอกจิตใจได้อีก)
๑๙. เป็นมนตราที่อย่าร้างกับสิ่งที่ควรอย่าร้าง (เลิกกันเด็ดขาด) ที่ออกมาจากจิตใจจริงจริง
๒๐. เป็นดาบเล่มสุดท้ายในบรรดาธรรมาวุธทั้งหลายเพื่อการดับทุกข์ (จิตเพชร)ตัดให้ขาดออกไป
๒๑. ควรมีไว้อย่างอาวุธวิเศษสุดประจำตัว (ภายในจิตไม่ยึดมั่นต่อสิ่งใด)
๒๒. เป็นอำนาจผลักดันให้จิตหลุดออกไปจากสิ่งผูกพัน (กองทุกข์ ,เหตุที่ก่อให้เกิดทุกข์ ทั้งระดับต่ำไปถึงระดับสูง)ผลักจิตไปนอกโลก (โลกุตรธรรม)
๒๓. ละจากสิ่งที่ไม่สูงสุดไปสู่สิ่งสูงสุดด้วยอำนาจของอตัมยตา (ความศรัทธา)
๒๔. เพื่อผลักดัน หรือดึงจิตให้อยู่เหนือโลก (เพียงเฝ้ามองสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในโลกเท่านั้นเอง)
๒๕. ยากแก่การเผยแพร่ จนพระศาสดาก็ทรงท้อพระทัย เพราะเข้าใจยาก และปฏิบัติยากนั่นเอง
๒๖. คนส่วนมากไม่เชื่อ ได้ยินแค่ชื่อก็กลัวแล้ว ไม่เชื่อว่าจิตจะถอนตัวออกมาได้
๒๗. อตัมยตา รุนแรงยิ่งกว่า ตถตา (ทุกสิ่งเป็นเช่นนั้นเอง) สภาวะจิตต้องผ่านความเป็นเช่นนั้นเองได้ทั้งปวง
๒๘. มีแต่ในพุทธศาสนา เป็นเนื้อตัว และหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ (สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น) มุ่งให้ถอนตัวตน หรืออัตตา
๒๙. จะเป็นพุทธศาสนาไม่ได้ถ้าไม่มีอตัมยตา กล่าวคือถ้าจิตก้าวเข้าสู่ระดับอตัมยตา จะเป็นสภาวธรรมที่เข้าสู่ธรรมทั้งปวง
๓๐. สามารถเป็นรากฐานของลัทธิการเมืองที่พึงปรารถนา (เป็นพื้นฐานศีลธรรมของคนในสังคม)
๓๑. อตัมยตาช่วยให้พัฒนาแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง (แผ่นดินที่มีศีลธรรม ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน) คือจิตที่ปราศจากความเห็นแก่ตน
๓๒. จำเป็นสำหรับคนที่อยู่ในโลก ยุคเจริญด้วยวัตถุ /ยุคอุตสาหกรรม (วัตถุนิยม) กล่าวคือถ้าจิตยึดมั่นในวัตถุ (เหยื่อของกิเลส) ก็จะทำให้มีความอยากมากขึ้นและเพิ่มขึ้น ถ้าจิตปราศจากอตัมยตา
๓๓. ในโลก (โลกียธรรม) ก็ต้องใช้อตัมยตาและรวมถึง นอกโลก (โลกุตรธรรม) การตั้งจิตไว้ในโลก
กล่าวคือจิตที่ยึดติดในวัตถุทั้งปวงตามแบบกาย (โลกีย) หรือ การทำสมาธิจิต กล่าวคือ จิตที่ไม่ยึดติดในสิ่งทั้งปวง (โลกุตร)
๓๔. ต้องมีอตัมยตาเพื่อให้เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาทุกชนิด กล่าวคือ จิตใจไม่ถูกหลอก/จิตปรุงแต่งด้วยอารมณ์ของกิเลสทั้งปัญหาในโลก และเหนือโลก
๓๕. อตัมยตามีธรรมะในเครือ ประกอบด้วย ธรรมะ ๘ ตา ตั้งแต่อนิจตา จนถึง ตถตา (เพิ่มเติม)


:b42: ธรรมะ ตาที่ ๑ อนิจตา ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน
:b44: ธรรมะ ตาที่ ๒ ทุกขตา ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีความทุกข์ซ่อนอยู่ทุกการกระทำ เมื่อจิตไปยึดติดหรือยึดถือ
:b8: ธรรมะ ตาที่ ๓ อนัตตา ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีตัวตน ตัวตนที่เห็นหรือสัมผัส เป็นสิ่งสมมติขึ้นมาชั่วครั้งหรือชั่วคราวเท่านั้น
:b48: ธรรมะ ตาที่ ๔ ธัมมัฐฐิตตา ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงไว้ตามขอบเขตของธรรมชาติทั้งปวง
:b39: ธรรมะ ตาที่ ๕ ธัมนิยามตา ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตามกฎของธรรมชาติทั้งปวง
:b29: ธรรมะ ตาที่ ๖ อิทัปปัจยตา ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีเหตุ และส่งผลต่อการกระทำทุกการกระทำ
:b20: ธรรมะ ตาที่ ๗ สุญญตา ทุกสิ่งที่เห็น สัมผัส ลิ้มรส เป็นของว่างเปล่า
:b18: ธรรมะ ตาที่ ๘ ตถตา ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเช่นนั้นเอง หรือเป็นของมันอย่างนั้น
กล่าวคือ สภาวะของจิตที่เข้าถึงอตัมยตาจะต้องผ่านระดับธรรมะ ๘ ตา จิตจะรับรู้สภาวะธรรมของอตัมยตา ซึ่งเป็นตาสุดท้าย เพื่อเข้าสู่สภาวะของนิพพานอย่างแท้จริง
:b53: * ธรรมะ ๙ ตา เป็นการเลื่อนชั้นของระดับจิตในการปฏิบัติธรรม พัฒนาจิตให้สูงขึ้น


๓๖. มีอาทีนนวญาณ (ญาณเห็นโทษ ทุกข์ อันตราย ความเลวทรามต่ำช้า) เป็นสมุหทัย (มูลเหตุให้เกิดขึ้น) จึงทำให้เกิดความอยากสลัดสิ่งที่ไม่ดีออกไป
๓๗. จัดเป็นสัมมาญานะ (รู้อย่างถูกต้องในสิ่งทั้งปวง/การกระทำทั้งปวง) แห่งสัมมัตตะ ๑๐ (เข้าถึงเหตุและผลของธรรม)
๓๘. เริ่มแต่ธัมมัฐฐิตยา (สิ่งที่ตั้งอยู่ตามธรรมดา) จนถึง ธัมนิยามตา (สิ่งที่ตั้งขึ้นตามกฎของธรรมชาติ) จนล่วงพ้น นิพพานญาณ
๓๙. อตัมยตาเป็นโคตรภูญาณ (สภาวจิตที่เข้าถึงญาณระหว่างโลกีย (ทางโลก) ไปสู่ โลกุตร (ความว่าง)
๔๐. รัตตัญญูตา (ความเป็นผู้รู้ราตรีนาน) จิตของผู้ล่วงกาลเวลา (ผู้สูงอายุ) จะเข้าถึงสภาวะธรรมนี้ได้ง่ายกว่าวัยอื่น ๆ
๔๑. ความรู้สึกของสภาวะที่ทำให้ละอะไรได้เด็ดขาดด้วยการเข้าถึงธรรมนี้
๔๒. การพัฒนาต้องใช้อตัมยตากับสิ่งที่ตรงกันข้าม กล่าวคือ สภาวะจิตจะรับรู้ในสิ่งที่ตรงข้ามกับการเป็นทาสพัฒนาทางวัตถุ (ทางกาย) เพื่อป้องกันการปรุงแต่งจากสิ่งที่หลอกจิตทุกกรณี
๔๓. ใช้อตัมยตากับเรื่องโลกโลกทุกระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำสุด เช่น นอนตื่นสาย หรือขี้เกียจทำงาน
๔๔. กรณีที่จิตไม่หลุดพ้นจากกองทุกข์ หรือสังโยชน์ ๑๐ แสดงว่ายังไม่เข้าถึงสภาวะของอตัมยตา
๔๕. การนำมาใช้ทางโลกต้องเข้าถึงอาทีนนวญาณ (ญาณเห็นโทษ ทุกข์ อันตราย ความเลวทรามต่ำช้า) อย่างแท้จริง แม้แต่เรื่องเล็กน้อย
๔๖. เป็นผลแห่งไตรสิกขา อย่างโลกโลก (ความสำเร็จทางโลก) กลายเป็นเหตุไตรสิกขาอย่างโลกุตร (ความสำเร็จทางธรรม)
๔๗. เป็นจุดเปลี่ยนหัวเงื่อนในกระแสแห่งวิวัฒนาการของระยะเวลา (การปรับชั้นภูมิของจิตจากระดับต่ำไประดับสูงขึ้นของแต่ละสภาวธรรมทางจิต)
๔๘. ใช้สำหรับเปลี่ยนนิสัยที่ไม่พึงปรารถนา (โดยเข้าใจเหตุ และรับรู้ถึงผลของการกระทำ)
๔๙. เป็นผลลัพธ์แห่งการละสังโยชน์ตัวสุดท้าย คือ อวิชชา (ความไม่รู้/ความหลงผิดในทุกกรณี)
๕๐. การล่วงกาลผ่านวัย (อายุมาก) ก็จะเป็นอตัมยตาทางกาย (ทางวัตถุ)


>>> รู้ซึ้งรสธรรมะ เข้าใจแก่นพุทธศาสนา สู่ความพ้นทุกข์<<<
:b42: :b42: :b42:



ขอบคุณที่มา :: http://loibamboo.com/การตัดละซึ่งกิเลส-50ข้อ/ :: ภาพจากอินเทอร์เน็ต

:b44: (♡✿◕‿◕✿♡) กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน ขอให้ทุกท่านมีดวงตาเห็นธรรม มีความสว่างทั้งทางโลกทางธรรม รู้แจ้งในพระสัจจธรรม ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครอง ท่านใดมีทุกข์ ขอให้พ้นทุกข์ ท่านใดมีสุข ขอให้สุขยิ่งขึ้นไป ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะเจ้าค่ะ (♡✿◕‿◕✿♡) :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร