วันเวลาปัจจุบัน 12 ต.ค. 2024, 03:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ต บ ะ อั น แ ก่ ก ล้ า
อัคร ศุภเศรษฐ์ (ดร.ไชย ณ พล)

ตบะ เป็นวัตรมาจากการภาวนา
ภาวนา แปลว่า ทำให้เกิดขึ้น เจริญขึ้น
ตบะ แปลว่า ทำให้ตั้งอยู่
เมื่อเจริญภาวนามาได้บ้างแล้ว
ระยะแรกๆ สภาวะที่ดีอาจจะเสื่อมหายไปได้

หากนักปฏิบัติไม่ระวัง ตั้งอยู่ในความประมาทพลั้งเผลอ
เมื่อไม่ประคองใจไว้ให้แยบคาย ไม่รักษาสติให้ตั้งมั่นดีแล้ว
กิเลสที่ถูกข่มไว้ ก็อาจออกมาอาละวาดได้อีก


ดังนั้น เมื่อภาวนาแล้วก็ควรเจริญตบะต่อไป
เพื่อความตั้งมั่นของจิตใจอันดี


• อ า นิ ส ง ส์ ข อ ง ต บ ะ

การเจริญตบะย่อมเป็นการสร้างบารมี
เป็นการเจริญธรรม เป็นการก้าวสู่มรรคผล

บารมีที่จักเจริญงอกงามด้วยตบะคือ
ขันติ สัจจะ อธิษฐาน วิริยะ ศีล เนกขัมมะ ปัญญา และอุเบกขา
ธรรมะที่จักเจริญด้วยตบะ คือ โพธิปักขิยธรรม สำคัญสองประการ
ได้แก่ อิทธิบาทสี่ และอินทรีย์ห้า


~ อิทธิบาทสี่ ~

ได้แก่ธรรมเหล่านี้ คือ

o ฉันทะ (ความพอใจ)
o วิริยะ (ความเพียร)
o จิตตะ (ความเอาใจใส่จดจ่อ
o วิมังสา (ความใคร่ครวญด้วยปัญญา)


~ อินทรีย์ห้า ~

ได้แก่ธรรมเหล่านี้ คือ

o สัทธินทรีย์ (ศรัทธาแก่กล้า)
o วิริยินทรีย์ (ความเพียรแก่กล้า)
o สติอินทรียฺ (สติแก่กล้า)
o สมาธินทรีย์ (สมาธิแก่กล้า)
o ปัญญอินทรีย์ (ปัญญาแก่กล้า)


~ มรรค ~

ที่จักเจริญด้วยตบะคือ

o ความเห็นชอบ
o ความดำริชอบ
o ความเพียรชอบ
o สติชอบ
o และสมาธิชอบ


เมื่อทราบประโยชน์ของการบำเพ็ญตบะแล้ว
ก็พึงเพียรเจริญให้ตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลา

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• ต บ ะ ที่ ค ว ร บำ เ พ็ ญ

ตบะที่เลือกสรรมาบำเพ็ญกันเป็นประจำกันในหมู่นักปฏิบัติธรรมกันคือ

๑. การอยู่กับธรรมชาติโดยแท้
๒. การเข้ากรรมฐานเป็นเวลานาน
๓. สมาธิควบคู่กับการงาน


o การอยู่กับธรรมชาติโดยแท้

ในชีวิตของโลกสมัยปัจจุบัน มีความเป็นอยู่ปรุงแต่งกันมาก
ทำให้ร่างกายและจิตใจอ่อนแอ สำอาง สำรวย อุปาทานเกาะกินใจมาก
เกิดความเหยาะแหยะเป็นนิสัย ไม่กล้าแข็งบึกบึน

เมื่อนักปฏิบัติภาวนาจิตจนพอมีกำลังบ้างแล้ว
ก็เจริญพลังจิตนั่นไว้ด้วยการอยู่กับธรรมชาติแท้


รูปภาพ

เช่น การตากแดด พึ่งลม อาบฝน
เพื่อให้ชีวิตกลมกลืนกับธรรมชาติอันสะอาดดั้งเดิม
ในการกระทำดังกล่าวอาจเกิดความไม่สบายกายอยู่บ้างในระยะแรก
แต่หากพยายามด้วยความเพียร
และประคองใจไว้ด้วยความแยบคายด้วยดีแล้ว
ในที่สุดก็จะพบว่าธรรมชาติแท้ๆ นั้นบริสุทธิ์ และรื่นรมย์

การปรุงแต่งชีวิตต่างหาก
ที่ทำให้ชีวิตจิตใจอ่อนแอ และหวาดหวั่น
ยามเผชิญเป็นจริงกับธรรมชาติ
ทำให้ต้องคอยหดหัวอยู่ในกระดอง
เหมือนเต่าที่ต้วมเตี้ยมตลอดเวลา
กลายเป็นคนขี้ขลาดครั่นคร้าม


ยามพบแดด ลม ฝน มีเวทนาเล็กๆ น้อยๆ เกิดขึ้นมา
ก็ทนไม่ได้ ไม่สบายเจ็บป่วย
เพราะไม่ฝึกการดำรงอยู่กับธรรมชาตินั่นเอง

คนในสมัยโบราณมีอายุยืนยาวเพราะเขาอยู่กับธรรมชาติ
คนสมัยปัจจุบันนี้หนีธรรมชาติ
จึงตายเร็ว อายุขัยสั้นลงไปโดยลำดับ

แต่หากเราฝึกอยู่กับธรรมชาติได้
จนกลมกลืนแล้วจะเบิกบานโดยธรรมชาติ
ไม่กลัวปรากฏการณ์ของธรรมชาติอีกต่อไป
เพราะเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
จะเป็นสุขกับธรรมชาติอย่างแท้จริง
จิตใจก็มั่นคง กว้างขวาง ไม่หวั่นไหว
สมาธิก็ดี สติก็บริบูรณ์ ในทุกสถานการณ์


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• ก า ร เ ข้ า ก ร ร ม ฐ า น เ ป็ น เ ว ล า น า น

ตบะนี้สำหรับผู้เจริญภาวนามามากแล้ว
การเข้ากรรมฐานอาจอธิฐานนั่งบำเพ็ญจิต
ในอิริยาบถเดียว ๓ ชั่วโมงบ้าง ๕ ชั่วโมงบ้าง
๑๐ ชั่วโมง ๑๕ ชั่วโมงบ้าง ๒๔ ชั่วโมงบ้าง
๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้าง ๕ วันบ้าง ๖ วันบ้าง ๗ วันบ้าง
ตามกำลังใจและกำลังเวลาของแต่ละคน

ในการนั่งกรรมฐานระยะยาวนี้
เห็นเวทนาต่างๆ อันเกิดกับร่างกายได้ชัดเจน
พึงยกเข้าสู่ กายคตาสติ
พิจารณาร่างกายเลยว่ากายไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา

เมื่อร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราแล้ว
เวทนาอันเกิดแก่ร่างกายที่ไม่ใช่ของเรา
จึงไม่อาจเป็นเราเป็นของเราด้วย


รูปภาพ

บุคคลที่เจริญกายคตาสติด้วยดีแล้ว
ย่อมเจริญในประโยชน์อันมหาศาล
ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆนึกออกถึงมหาสมุทร
ก็จะเห็นได้ว่าแม่น้ำน้อยทั้งหลายใดใด ก็ตามไหลลงสู่ทะเล
ย่อมเป็นอันผู้นั้นหยั่งเห็นด้วย กายคตสติ (สติอันไปในกาย)
อันใครๆ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
กุศลธรรมทั้งหลายใดใดก็ตามที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
(ความรู้จริงในสัจจภาวะ) ย่อมเป็นอันผู้นั้นหยั่งเห็นได้”


ดังนั้น นักปฏิบัติทุกท่านพึงเจริญ กายคตาสติ
ให้งอกงามตั้งมั่นอยู่จิตในใจ มีสติรู้อยู่ตลอดเวลา
การบำเพ็ญตบะด้วยกรรมฐานระยะยาวนาน
จะช่วยด้วยใน การเจริญกายคตาสติ นี้


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 00:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• ส ม า ธิ ค ว บ คู่ กั บ ก า ร ง า น

การประกอบการงานเป็นกุศโลบายที่สำคัญมาก
ที่จะประคองสมาธิไว้กับจิตใจให้ตั้งมั่นตลอดเวลา
นำพลังอำนาจของสมาธิมาใช้ประกอบการงานทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพ
ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างราบรื่น มีความเจริญทั้งในทางโลกและทางธรรม

การเจริญสมาธิควบคู่กับการงาน
จึงเป็นตบะที่ทุกคนควรฝึกหัดบำเพ็ญให้เป็นที่ยิ่ง


การเจริญสมาธิควบคู่กับการงานนั้น
ควรบำเพ็ญสลับระหว่างการนั่งกรรมฐานและการออกสู่การงาน
การนำอำนาจจิตที่เจริญขึ้นระหว่างการภาวนานั้น
มาใช้ประกอบการงานสรรค์สร้างความผาสุกให้กับสังคม

เริ่มด้วยการออกจากกรรมฐานอย่างสำรวมระวัง
รักษาสติอยู่เสมออยู่ในทุกๆ อิริยาบถที่เคลื่อนไหวไป
อำนาจสมาธิก็จะตั้งมั่นแนบนานอยู่ในจิตใจ

ด้วยการฝึกกรรมฐานแล้วออกมาประกอบการงานนั้น
เสมือนหนึ่งการย้อมผ้า


เมื่อเรานำผ้าไปจุ่มสีแล้วก็เอาขึ้นมาตากแดด
เมื่อตากแดดแรกสีย่อมจางไปบ้าง จึงไปจุ่มสีอีก
ตากแดดที่สองก็จางลงอีกเล็กน้อย
จึงไปเอาจุ่มสีอีก จุ่มอีกตากแล้ว ตากแล้วจุ่มอีกเช่นนี้
จนสีแนบแน่นติดเนื้อผ้าจนเป็นหนึ่งเดียว
ครานี้แม้จะนำผ้าไปตากแดดสักเท่าใดสีก็ไม่เสียไป


การฝึกกรรมฐานแล้วออกมาประกอบการงานอีกเช่นกัน
เมื่อมากระทบกับปัญหาในการทำงานครั้งแรก
อาจจะรู้สึกจิตหวั่นไหวเสียสมาธิไปบ้าง ก็เข้ากรรมฐานอีก
เข้ากรรมฐานแล้วออกมาทำงานอีก เช่นนี้ต่อไปในที่สุด
จิตใจก็จะมั่นคงในทุกขณะของชีวิต
แม้ระหว่างประกอบการงาน
หรือเผชิญคลื่นปัญหาที่รุนแรงเพียงใดก็ไม่ไหวหวั่น


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ที่สำคัญคือเมื่อออกจากกรรมฐาน
ให้ประคองสติสัมปชัญญะไว้ด้วยความสำรวมระวัง
และประกอบกิจการงานหน้าที่ทั้งหลายด้วยความ โยนิโสมนสิการ
(ใจอันตั้งไว้โดยแยบคาย)

ไม่นานจิตก็จะตั้งมั่นในสมาธิ
มีประโยชน์เกื้อกูลในชีวิตเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้นแม้คฤหัสถ์ที่เป็นนักปฏิบัติ
ก็พึงฝึกกรรมฐานเป็นประจำทุกวัน เช้า-กลางวัน-เย็น
แล้วประคองสมาธิประกอบการงานตามปกติ
จะได้ใช้อำนาจทิพย์อันมหัศจรรย์อันเกื้อกูลกิจการงานให้สำเร็จ
นำความซึ่งความเจริญโดยไพบูลย์


การจะพัฒนาจิตใจให้ก้าวหน้าไปสู่ความสมบูรณ์ก้าวหน้าได้นั้น
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

จำต้องบำเพ็ญเป็นที่สม่ำเสมอ

ดังนั้นจะหายใจทิ้งไปทำไมเปล่าๆ เล่า
ควรเจริญสติ สมาธิไปด้วยลมหายใจดีกว่า
จะได้คุณประโยชน์อเนกอนันต์

ยามคิด คิดด้วยความสุขุม
เปี่ยมไปด้วยเจตนาดีต่อสรรพสัตว์น้อยใหญ่โดยรวม
ยามพูด พูดด้วยใจอันอ่อนโยนการุณย์
ยามกระทำก็ทำด้วยใจดี
มีปัญญาใคร่ครวญในทุกกิจที่กระทำ


เมื่อปฏิบัติด้วยดีแล้ว
การงานทั้งหมดจะสำเร็จด้วยใจ
มีใจเป็นใหญ่ขับเคลื่อนอำนาจสู่การกระทำ
เพื่อสร้างสรรค์งานให้สำเร็จลุล่วงด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์


นักปฏิบัติควรฝึกหัดดังนี้เสมอๆ
ก็จะพบความมหัศจรรย์ของชีวิต
พบคุณค่าแท้จริงของจิตใจ
มีอำนาจภายในตั้งมั่นอยู่ไม่เสื่อมสลาย


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 00:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• ข้ อ พึ ง ร ะ วั ง

สิ่งที่พึงระวังก็คือ

การบำเพ็ญตบะเจริญสมาธิควบคู่กับการงานก็ดี
การเข้ากรรมฐานเวลานานก็ดี
การอดนอน อดพูด อดอาหารก็ดี
เราบำเพ็ญเพื่อละกิเลส เพิกถอนอุปาทานและสลายทิฎฐิมานะ
ในความมีฉันเป็นฉัน เพื่อให้จิตใจเข้มแข็งว่างมั่น
มีปัญญาบริสุทธิ์ผุดผ่องโดยธรรมชาติ


ดังนั้นนักปฏิบัติพึงระวัง


อย่าได้ยกศีลพรตหรือตบะของตนมาข่มผู้อื่น
หรือปรามาสดูหมิ่นผู้มีศีลพรตน้อยกว่า
อย่าอุตริอวดอ้างว่าฉันทำได้ดังนี้
ทำได้มากกว่าคนนั้นคนนี้ คนอื่นทำไม่ได้อย่างฉัน


เพราะการกระทำเช่นนั้นมิใช่เป็นการลดทิฐิมานะ
แต่เป็นการเพิ่มทิฐิมานะ
โดยการสร้างอัตตาใหม่เข้าไปสมทบกับอัตตาเดิม
ผสมโรง ปรุงให้เกิดกิเลสตัณหามากยิ่งขึ้น


เมื่อโยคีนักปฏิบัติพบกับบุคคลที่ปฏิบัติได้น้อยกว่าตน
เข้าถึงธรรมได้น้อยกว่าตน
ก็พึงเจริญ พรหมวิหารธรรม เมตตากรุณา เกื้อกูลตามกำลัง
ยินดีด้วยในสิ่งที่เขาบำเพ็ญได้แล้วตามความสามารถของเขา
และวางใจสงบเป็นกลางอยู่ด้วยอุเบกขา
ก็จะเป็นที่รักที่เคารพ เป็นแบบอย่างที่ดีงามของนักปฏิบัติทั้งหลาย


จำไว้ว่าความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมนั้น
มิได้อยู่ที่ว่าใครปฏิบัติได้มากเพียงใด
แต่อยู่ที่ใครละกิเลส ตัณหาอุปทาน
และขุดรากเหง้าอวิชชาออกได้เพียงใด
เข้าถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่องเพียงใดต่างหาก


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 00:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• ส า มั ค คี ธ ร ร ม

การบำเพ็ญธรรมทั้งปวงอาจประเมินความสำเร็จได้ที่
ความสามัคคีในหมู่คณะของผู้ทรงธรรม
หากสมาชิกฝึกจิตได้ดีแล้วทุกคน
สังคมย่อมสงบราบรื่นกลมกลืนผาสุก
เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวโลกทั้งปวง

เพราะโดยปกติแล้ว

ธรรมนั้นลงตัวกัน แต่กิเลสนั้นมักไม่ลงกัน
ดังนั้นผู้เข้าถึงธรรมแล้วย่อมประสานกลมเกลียวกัน
แต่ผู้ห่างไกลธรรมมักปืนเกลียวกัน


ก็หากสังคมรักปฏิบัติธรรมไม่ร่มเย็นเป็นสุขแล้ว
ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว
บุคคลอื่นจะอยากเข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมกันได้อย่างไรเล่า

นักปฏิบัติธรรมทั้งปลายพึงสังวรเนืองๆ
ในสามัคคีธรรมระหว่างหมู่คณะอยู่เสมอ


• ผ ล ก า ร ป ฏิ บั ติ

เมื่อปฏิบัติดังนี้โดยครบถ้วน
กรรมย่อมเบาบาง ชีวิตโปร่งเบาสบาย
เหลือแต่กรรมใหม่ๆ ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เท่านั้น
สภาพวิถีชีวิตจะดีขึ้น ชะตากรรมงดงามมากขึ้น พบสุขมากกว่าทุกข์


และเมื่อหลุดพ้นจากตกเป็นทาสขันธ์ห้าได้แล้ว
ใจจะเป็นอิสระไร้ขอบเขต เบิกบานนิรันดร์


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา “สรรพศาสตร์แห่งการฝึกจิต” :
โดย อัคร ศุภเศรษฐ์, สำนักพิมพ์เคล็ดไทย, หน้า ๑๙๖-๒๐๒)


:b8: :b8: :b8:

โปรดติดตามกระทู้ภาคต่อของท่านผู้เขียนเดียวกันนี้ ในนามปากกาอื่นๆ ได้ใน :
ป ฏิ ป ท า ข อ ง นั ก ป ฏิ บั ติ ธ ร ร ม
: อาจารย์ไชย ณ พล (อัคร ศุภเศรษฐ์/ศิยะ ณัญฐสวามี)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21072

:b44: รวมคำสอน “ดร.ไชย ณ พล (ศิยะ ณัญฐสวามี)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=48689


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2009, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
โชคดีอย่างใหญ่หลวง คือโชครู้จักธรรมะ นั่นแหละโชคดีที่สุด
:b20: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2017, 08:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 718

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2019, 06:04 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2885


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2019, 14:36 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2019, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b20:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร