วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 07:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2011, 15:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล...กัลยาณธรรม...กัลยาณปัญญา....

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.....ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล...กัลยาณธรรม...กัลยาณปัญญา.*....

ย่อมเป็นผู้เสร็จธุระ.....อยู่จบพรหมจรรย์...ในพระธรรมวินัยนี้......เราเรียกว่า................ "อุดมบุรุษ"

๑. ภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณศีล...คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้...มีศีลสำรวมในปาฏิโมกข์..(ศีลที่สำคัญของภิกษุ) .....สมบูรณ์ด้วยอาจาระ...และโคจาระ.....(มารยาทและการไปแต่ในที่ที่สมควร) เห็นภัยในโทษเล็กๆน้อยๆ.....สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.....เธอชื่อว่ามีกัลยาณศีล...ดังกล่าวนี้แล.....

๒. ภิกษุผู้มีกัลยาณศีลดังนี้แล้ว....จะชื่อว่ามีกัลยาธรรมอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้...ประกอบเนืองๆซึ่งการอบรมธรรม .....อันเป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ๓๗ ประการ**อยู่ เธอชื่อว่ามีกัลยาณธรรม...ดังกล่าวนี้แล.....

๓. ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล....กัลยาณธรรมดังนี้แล้ว.....จะชื่อว่ามีกัลยาณปัญญาอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้...ทำให้แจ้ง เจโตวิมุติ...ปัญญาวิมุติ***อันไม่มีอาสวะ...เพราะสิ้นอาสวะ...ด้วยปัญญาอันยิ่งของตน...ในปัจจุบันอยู่...เธอชื่อว่ามีกัลยาณปัญญาอย่างนี้แล.....

ภิกษุผู้มีกัลยาณศีล...กัลยาณธรรม...กัลยาณปัญญา...ชื่อว่าเสร็จธุระ...อยู่จบพรหมจรรย์...เราเรียกว่า "อุดมบุรุษ"

อิติวุตตก ๒๕/๓๐๓



http://www.oknation.net/blog/pierra/2007/06/26/entry-1


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2011, 16:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมเทศนา 2 อย่าง

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า 2 ประการ
มีอยู่โดยปริยาย คือ
ธรรมเทศนาที่หนึ่ง "ท่านทั้งหลาย จงเห็นบาปโดยความเป็นบาปเถิด"
ธรรมเทศนาที่สองว่า "ท่านทั้งหลายเห็นบาปโดยความเป็นบาปแล้ว
จงเบื่อหน่ายคลายความติดในบาปนั้น จงหลุดพ้นไปเถิด"
นี้คือธรรมเทศนา 2 อย่างของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีอยู่โดยปริยาย"

(มีอยู่โดยปริยาย คือ มีอยู่โดยอ้อม ไม่ต้องบอกกันตรง ๆ ก็มีชื่อว่ามีอยู่แล้ว)

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2011, 16:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งความรู้

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา(วิชชาภาคิยะ) 2 อย่างเหล่านี้
คือสมถะ(ความสงบ) 1 วิปัสสนา(ความเห็นแจ้ง) 1
สมถะอันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมทำให้จิตได้รับการอบรม
จิตได้รับการอบรมแล้วย่อมทำให้ละราคะ(ความกำหนัดยินดี หรือความติดอกติดใจ) ได้
วิปัสสาอันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมทำให้ปัญญาได้รับการอบรม
ปัญญาได้รับการอบรมแล้ว ย่อมทำให้ละอวิชชา(ความไม่รู้ตามความจริง)ได้"

(จากหนังสือ ธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว )

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2011, 16:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


๗๖. พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรม

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่สรรเสริญความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปใยว่า เราจะสรรเสริญความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมสรรเสริญความเจริญ ไม่สรรเสริญความหยุดอยู่ ไม่สรรเสริญความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา(ความเชื่อ) ศีล(ความเป็นปกติทางกาย วาจา) สุตะ(ความสดับตรับฟัง) จาคะ(ความสละ) ปัญญา(ความรู้) ปฏิภาณ(ความไหวพริบ) ธรรมเหล่านั้นของเธอ ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เจริญขึ้น. เรากล่าวข้อนั้นว่าเป็นความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญ ดูก่อนภิกษุทังหลาย อย่างนี้แล คือความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเจริญ

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ. ธรรมเหล่านั้นของเธอย่อมไม่เสื่อมไป ย่อมไม่เจริญขึ้น เรากล่าวข้อนันว่าเป็นความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล คือความหยุดอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ที่มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อมเป็นอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีพื้นเพแค่ไร เกี่ยวกับศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ. ธรรมเหล่านั้นของเธอย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เสื่อมไป. เรากล่าวข้อนั้นว่าเป็นความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความหยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล คือความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่หยุดอยู่ มิใช่ความเสื่อม."

ทสกจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๑



http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/i ... rt3.3.html


:b42: :b41: :b41: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2011, 16:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


๗๘. ฉลาดในเรื่องจิตของตนอีกอย่างหนึ่ง

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุไม่ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของผู้อื่น, เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอก็พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในปริยาย(เรื่องราว) แห่งจิตของตน.

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาดในปริยายแห่งจิตของตนอย่างไร? เปรียบเหมือนหญิงหรือชายรุ่น หรือเป็นหนุ่มเป็นสาว ผู้รักการประดับตกแต่ง เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในเงากระจกอันบริสุทธิ์ผ่องใส หรือในพื้นน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็พยายามเพื่อนำออกซึ่งธุลีหรือมลทินนั้นเทียว ถ้าไม่เห็นธุลีหรือมลทินในเงาหน้านั้น ก็มีความอิ่มใจ เต็มปรารถนา ด้วยเหตุนั้นแล ว่าเป็นลาภของเราหนอ. เงาหน้าของเราบริสุทธิ์หนอ ดังนี้ ฉันใด."

"ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือการพิจารณาดังต่อไปนี้ของภิกษุ ย่อมมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย

๑. เราได้เจโตสมถะ (ความสงบแห่งจิต) ในภายใน หรือไม่ได้หนอ?

๒. เราได้อธิปัญญา(ปัญญาอันยิ่ง) อันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ หรือไม่ได้หนอ?"

"ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เราได้เจโตสมถะในภายใน และเพื่ออธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ." ในสมัยอื่น ภิกษุนั้นย่อมได้เจโตสมถะในภายใน และย่อมได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ.

"แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจโตสมถะในภายใน ยังไม่อธิปัญญา อันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรม" ภิกษุนั้น ก็ควรทำฉันทะ, ความพยายาม, ความอุตสาหะ, ความตั้งใจ, ความไม่ท้อถอย, สติและสัมปชัญญะอันมีประมาณยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรมเหล่านั้น. เหมือนคนที่มีผ้าถูกไฟไหม้ มีศีรษะถูกไฟไหม้ รีบทำผ้าหรือศีรษะนั้นให้ไฟดับไปฉะนั้น. ในสมัยอื่น ภิกษุนั้นย่อมได้เจโตสมถะในภายใน และได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ.

"แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "เราได้เจโตสมถะในภายใน ได้อธิปัญญาอันเป็นเครื่องเห็นแจ้งธรรมะ" ดังนี้. ภิกษุนั้น ก็ควรทำความเพียร เพื่อตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้น และเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะยิ่งขึ้นไป."

ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๐๔-๑๐๖


:b46: :b41: :b41: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2011, 16:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐๐. กำลัง ๗ ประการ

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้ คือ

๑. กำลังคือความเชื่อ (สัทธาพละ)๑ ๒. กำลังคือความเพียร (วิริยพละ)

๓. กำลังคือความละอายต่อบาป (หิริพละ) ๔. กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป (โอตตัปปพละ)

๕. กำลังคือสติความระลึกได้ (สติพละ) ๖. กำลังคือความตั้งใจมั่น (สมาธิพละ)

๗. กำลังคือปัญญา (ปัญญาพละ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้แล."



:b38: :b41: :b41: :b38:

สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๓/๒


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2011, 16:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐๑. คำอธิบายกำลัง ๗ ประการ

(๑)"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเชื่อ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีศรัทธาเชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า พระผู้มีพระภาคนั้น

๑. เป็นพระอรหันต์ (ผู้ไกลจากกิเลส) ๒. เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

๓. เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ ๔. เป็นผู้เสด็จไปดี

๕. เป็นผู้รู้จักโลก ๖. เป็นผู้ฝึกคนที่ควรฝึกอย่างเยี่ยม

๗. เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ๘. เป็นผู้ตื่น (รวมทั้งปลุกผู้อื่นให้ตื่น)

๙. เป็นผู้มีโชค (เพราะทำเหตุที่จะให้เกิดโชคไว้)

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเชื่อ."

(๒) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเพียร เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ตั้งความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม (ธรรมฝ่ายชั่ว) เพื่อทำให้กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี) สมบูรณ์ เป็นผู้ลงแรงบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเพียร."

(๓) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความละอายต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกไปพระธรรมวินัย เป็นผู้มีความละอาย คือละอายต่อกายทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางกาย) วจีทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางวาจา) มโนทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางใจ) ละอายต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความละอายต่อบาป."

(๔) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเกรงกลัว คือเกรงกลัวต่อกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป."

(๕) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความระลึกได้ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะอันยอดเยี่ยม ย่อมระลึกได้ ย่อมนึกออกถึงสิ่งที่กระทำไว้นานแล้ว ถึงถ้อยคำที่พูดไว้นานแล้วได้. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความระลึกได้."

(๖) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความตั้งใจมั่น เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม (ความในอารมณ์ที่น่าใคร่) สงัดจากอกุศลธรรมเข้าสู่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔.๒ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความตั้งใจมั่น."

(๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือปัญญา เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยปัญญา เห็นความเกิดความดับ เป็นปัญญาอันประเสริฐ ชำแรกกิเลสได้ ทำให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือปัญญา."


:b55: :b41: :b41: :b55:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร