วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 05:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 22:16
โพสต์: 23

แนวปฏิบัติ: ทุกแบบที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
งานอดิเรก: ศึกษาธรรมะ
สิ่งที่ชื่นชอบ: มีหลายเล่ม
อายุ: 22
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ดิฉันเคยฝึกวิปัสสนากรรมฐาน แต่ยังไม่เคยฝึกกสิณมาก่อนเพราะไม่ทราบวิธี แล้วก็ไม่กล้าที่จะเริ่มปฏิบัติเองโดยไม่มีผู้แนะนำค่ะ รบกวนขอคำแนะนำจากทุกท่านที่เคยฝึกกสิณมาก่อนได้ไหมคะ คือดิฉันสงสัยว่า.. s006

1. หากไม่เคยฝึกกสิณเลย ควรเริ่มต้นฝึกกสิณอะไรก่อนคะ และควรเตรียมตัวอย่างไร
2. ทราบว่าที่วัดยานนาวามีสอนฝึกกสิณ มีใครทราบบ้างไหมคะว่าสอนอย่างไร และมีที่ไหนสอนฝึกกสิณอีกคะ
3. มีหนังสือเล่มไหนที่ควรอ่านก่อนฝึกกสิณบ้างไหมคะ


รบกวนด้วยนะคะ :b3: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 18:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาแล้วทำไม..ถึงอยากทำกสิณ..ละครับ

คงมีเหตุจำเป็นอะไรรึเปล่า??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 20:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมก็ทราบมาว่า ท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านชำนาญพระกรรมฐานมาก โดยเฉพาะกสิณกรรมฐานแล้วยุคนี้ถือว่า ท่านเอกอุที่สุดแล้ว แนะนำไปศึกษาประวัติของท่าน คำสอนของท่าน น่าจะให้ข้อคิดแนวทางเป็นอย่างดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 22:16
โพสต์: 23

แนวปฏิบัติ: ทุกแบบที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
งานอดิเรก: ศึกษาธรรมะ
สิ่งที่ชื่นชอบ: มีหลายเล่ม
อายุ: 22
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
วิปัสสนาแล้วทำไม..ถึงอยากทำกสิณ..ละครับ

คงมีเหตุจำเป็นอะไรรึเปล่า??


ไม่มีเหตุจำเป็นอะไรเป็นพิเศษค่ะ เพียงแต่คิดว่าหากฝึกสมถกรรมฐาน เช่น กสิณ ก็คงจะเป็นประโยชน์กับการเจริญสติของตนเองมากขึ้น :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 22:16
โพสต์: 23

แนวปฏิบัติ: ทุกแบบที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
งานอดิเรก: ศึกษาธรรมะ
สิ่งที่ชื่นชอบ: มีหลายเล่ม
อายุ: 22
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


world2/2554 เขียน:
ผมก็ทราบมาว่า ท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านชำนาญพระกรรมฐานมาก โดยเฉพาะกสิณกรรมฐานแล้วยุคนี้ถือว่า ท่านเอกอุที่สุดแล้ว แนะนำไปศึกษาประวัติของท่าน คำสอนของท่าน น่าจะให้ข้อคิดแนวทางเป็นอย่างดี


ขอบคุณค่ะ :b20: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 22:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่จริงในวิปัสสนากรรมฐานก็มีสมถะรวมอยู่ในตัวแล้วครับ

การปฏิบัติจะมี ๒ ลักษณะ

๑.ถ้าพูดว่าปฏิบัติตามสมถะ ก็จะมีสมถะอย่างเดียว
๒.ถ้าพูดว่าปฏิบัติวิปัสสนา ก็จะมีทั้งสมถะและวิปัสสนาอยู่ในนั้น

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 00:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


นิรวาเณสี เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
วิปัสสนาแล้วทำไม..ถึงอยากทำกสิณ..ละครับ

คงมีเหตุจำเป็นอะไรรึเปล่า??


ไม่มีเหตุจำเป็นอะไรเป็นพิเศษค่ะ เพียงแต่คิดว่าหากฝึกสมถกรรมฐาน เช่น กสิณ ก็คงจะเป็นประโยชน์กับการเจริญสติของตนเองมากขึ้น :b39:


หากเป็นเช่นนั้น....ก็ลองไปที่เวปวัดท่าซุง..หลวงพ่อฤาษีลิงดำ..อย่างที่ท่าน World 2/2554..แนะนำดีที่สุดแล้วละ....

มีอะไรดี ๆ ก็มาเล่าให้ฟังบ้างก็ดีนะครับ :b12: :b12:

นิดหนึ่ง...ขออนุญาติแสดงความคิดเห็นนะครับ..

ก่อนทำ...สมถะ..สมาธิ..หรือกสิณ...ขอให้พิจารณา...ให้เห็นจริงก่อนว่า...

ร่างกายนี้ต้องตายแน่ ๆ ...
ร่างกายอันสกปรกโสโครกที่หาความเป็นเราไม่ได้นี้..ต้องแตกสลายตายลงไปแน่ ๆ
เราจะไม่เอามัน..เราจะไม่เอาโลก
เราจะไม่เอาอะไร..ขอทำความสงบของใจเพื่อไม่เอาโลก
..

เรียกว่า...ชูธงก่อนทำ...กันหลง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 02:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 22:16
โพสต์: 23

แนวปฏิบัติ: ทุกแบบที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
งานอดิเรก: ศึกษาธรรมะ
สิ่งที่ชื่นชอบ: มีหลายเล่ม
อายุ: 22
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
ที่จริงในวิปัสสนากรรมฐานก็มีสมถะรวมอยู่ในตัวแล้วครับ

การปฏิบัติจะมี ๒ ลักษณะ

๑.ถ้าพูดว่าปฏิบัติตามสมถะ ก็จะมีสมถะอย่างเดียว
๒.ถ้าพูดว่าปฏิบัติวิปัสสนา ก็จะมีทั้งสมถะและวิปัสสนาอยู่ในนั้น



แล้วอย่างนี้ถ้าเคยแต่ปฏิบัติวิปัสสนาแล้วไปฝึกปฏิบัติสมถะ จะส่งผลในทางดีขึ้นหรือไม่อย่างไรคะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 02:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 22:16
โพสต์: 23

แนวปฏิบัติ: ทุกแบบที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
งานอดิเรก: ศึกษาธรรมะ
สิ่งที่ชื่นชอบ: มีหลายเล่ม
อายุ: 22
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
นิดหนึ่ง...ขออนุญาติแสดงความคิดเห็นนะครับ..

ก่อนทำ...สมถะ..สมาธิ..หรือกสิณ...ขอให้พิจารณา...ให้เห็นจริงก่อนว่า...

ร่างกายนี้ต้องตายแน่ ๆ ...
ร่างกายอันสกปรกโสโครกที่หาความเป็นเราไม่ได้นี้..ต้องแตกสลายตายลงไปแน่ ๆ
เราจะไม่เอามัน..เราจะไม่เอาโลก
เราจะไม่เอาอะไร..ขอทำความสงบของใจเพื่อไม่เอาโลก
..

เรียกว่า...ชูธงก่อนทำ...กันหลง


คุณกบนอกกะลาหมายถึงหลงในแง่ไหนเหรอคะ หลงแนวปฏิบัติหรือหลงในฌาณต่างๆ :b1: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิรวาเณสี เขียน:
แล้วอย่างนี้ถ้าเคยแต่ปฏิบัติวิปัสสนาแล้วไปฝึกปฏิบัติสมถะ จะส่งผลในทางดีขึ้นหรือไม่อย่างไรคะ :b8: :b8: :b8:


การฝึกฝนทางจิต ถ้าสมควรแก่ธรรม จัดว่าให้ผลดีทั้งนั้น ในข้อที่ว่าเคยแต่ปฏิบัติวิปัสสนามาแล้วไปฝึก
สมถะ จะส่งผลดีขึ้นหรือไม่อย่างไร ก็ต้องตอบว่า ดีขึ้น แต่ ต้องสมควรแก่ธรรม

ถ้าว่าตามภาษาปฏิบัติ ไม่ยึดถือในภาษาปริยัติ คำว่าสมควรแก่ธรรม ก็คือสมควรแก่สภาวะของผู้ปฏิบัติ
เช่น สภาวะที่จิตมีความฟุ้งซ่านมาก ก็ควรใช้สมถะเข้าข่ม สภาวะที่จิตยินดีต่อสภาวะมี ปีติ สุข เป็นต้น
ก็ควรใช้การละความยินดีด้วยการกำหนดรู้ ฯลฯ เป็นต้น

การปฏิบัติ ควรน่าจะมี ๒ กรรมฐาน คือ กรรมฐานหลัก และ กรรมฐานรอง ตัวอย่าง(ที่ผมใช้เสมอ)
จะใช้แนวทางสติปัฎฐาน ๔ ในแบบกำหนดรู้พองหนอยุบหนอ เป็นกรรมฐานหลัก และใช้
อานาปานะสติเป็นกรรมฐานรอง

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
1. หากไม่เคยฝึกกสิณเลย ควรเริ่มต้นฝึกกสิณอะไรก่อนคะ และควรเตรียมตัวอย่างไร
2. ทราบว่าที่วัดยานนาวามีสอนฝึกกสิณ มีใครทราบบ้างไหมคะว่าสอนอย่างไร และมีที่ไหนสอนฝึกกสิณอีกคะ
3. มีหนังสือเล่มไหนที่ควรอ่านก่อนฝึกกสิณบ้างไหมคะ



ตอบ 1. โดยทั่วไปก็สีแดง
ตอบ 2. สอนวิธีเพ่งเบื้องต้น อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ข้องควรระวัง
ตอบ 3. เท่าที่รู้ อาจารย์ จรูญ วรรณกสิณานนท์

อ้างคำพูด:
แล้วอย่างนี้ถ้าเคยแต่ปฏิบัติวิปัสสนาแล้วไปฝึกปฏิบัติสมถะ จะส่งผลในทางดีขึ้นหรือไม่อย่างไรคะ


อันวิปัสสนานั้นต้องมีสมถะเป็นพื้นฐาน แม้ว่าเราปฏิบัติวิปัสสนามา มันก็เป็นเพียงแต่ฟังเขาบอกมาว่าอันนี้เป็นวิปัสสนา แท้จริงอาจไม่ใช่ก็ได้ ผู้ได้วิปัสสนาจะต้องเกิดภาวนามยปัญญาที่แท้จริง มิใช่ปัญญาจากการบิ้วส่วนมากก็เกิดจากการอ่านหรือฟังมา หากท่าน จขกท. สนใจกสิณเป็นบาทฐานก่อนลองดูก็ไม่น่าเสียหายอะไร เพราะเป็นกรรมฐานที่มีรูปกสิณสีให้เกาะชัด มีรูปแบบชัด มีนิมิตชัดเจน ถ้าทำจนได้ อุคคหนิมิต หรือจะเอาให้ยิ่งจนได้ ปฏิภาคนิมิต แล้วค่อยยกจิตขึ้นวิปัสสนา บางทีถ้าถูกจริตอาจจะเร็วกว่าวิธีที่่ท่านบอกว่าเป็นวิปัสสนา ซึ่งแท้จริงเป็นสมถะก็เป็นได้นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 22:16
โพสต์: 23

แนวปฏิบัติ: ทุกแบบที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
งานอดิเรก: ศึกษาธรรมะ
สิ่งที่ชื่นชอบ: มีหลายเล่ม
อายุ: 22
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
การปฏิบัติ ควรน่าจะมี ๒ กรรมฐาน คือ กรรมฐานหลัก และ กรรมฐานรอง ตัวอย่าง(ที่ผมใช้เสมอ)
จะใช้แนวทางสติปัฎฐาน ๔ ในแบบกำหนดรู้พองหนอยุบหนอ เป็นกรรมฐานหลัก และใช้
อานาปานะสติเป็นกรรมฐานรอง


ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ คือปกติคุณกามโภคีกำหนดพองหนอ-ยุบหนอ แล้วกำหนดลมหายใจอย่างไรและตอนไหนคะ


อายะ เขียน:
อันวิปัสสนานั้นต้องมีสมถะเป็นพื้นฐาน แม้ว่าเราปฏิบัติวิปัสสนามา มันก็เป็นเพียงแต่ฟังเขาบอกมาว่าอันนี้เป็นวิปัสสนา แท้จริงอาจไม่ใช่ก็ได้ ผู้ได้วิปัสสนาจะต้องเกิดภาวนามยปัญญาที่แท้จริง มิใช่ปัญญาจากการบิ้วส่วนมากก็เกิดจากการอ่านหรือฟังมา หากท่าน จขกท. สนใจกสิณเป็นบาทฐานก่อนลองดูก็ไม่น่าเสียหายอะไร เพราะเป็นกรรมฐานที่มีรูปกสิณสีให้เกาะชัด มีรูปแบบชัด มีนิมิตชัดเจน ถ้าทำจนได้ อุคคหนิมิต หรือจะเอาให้ยิ่งจนได้ ปฏิภาคนิมิต แล้วค่อยยกจิตขึ้นวิปัสสนา บางทีถ้าถูกจริตอาจจะเร็วกว่าวิธีที่่ท่านบอกว่าเป็นวิปัสสนา ซึ่งแท้จริงเป็นสมถะก็เป็นได้นะครับ



ดิฉันปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน (กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และ ธัมมานุปัสสนา ไปพร้อมกัน) ปกติจะกำหนดพองหนอ-ยุบหนอ แต่ถ้าจิตไปที่อื่นนอกจากนั้นก็จะกำหนด "หนอ" หมดค่ะเช่น รู้หนอ ปวดหนอ เสียงหนอ คิดหนอ ฟุ้งซ่อนหนอ ฯลฯ โดยสลับกับการเดินจงกรม เคยตั้งใจปฏิบัติได้นานสุดคือเดิน 90 นาที นั่ง 90 นาที มีสภาวะธรรมเกิดขึ้นบ้าง อย่างนี้ถือเป็นวิปัสสนาแล้วหรือไม่คะ

สอบถามคุณอายะเพิ่มเติมค่ะ ทำไมถึงควรเริ่มต้นฝึกกสิณสีแดงก่อนคะ เพราะว่าง่ายที่สุดหรืออย่างไร?

ขอบคุณทั้งสองท่านค่ะ :b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิรวาเณสี เขียน:
ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ คือปกติคุณกามโภคีกำหนดพองหนอ-ยุบหนอ แล้วกำหนดลมหายใจอย่างไรและตอนไหนคะ


การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เรียกว่า อานาปานสติ
อานาปานสติเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ขึ้นอยู่กับวิธีการกำหนดรู้

ตัวอย่างการกำหนดอานาปานสติของผมในขณะบัลลังก์

เมื่อเริ่มนั่ง กำหนดรู้ที่อาการตั้งอยู่ของกาย จากนั้น กำหนดรู้ที่อาการพองยุบตามปกติ จุดสำคัญอยู่ตรง
ที่ผมกำหนดรู้อาการพองยุบนี่ละครับ ถ้าสภาวะในการกำหนดรู้การพองขึ้นหรือยุบลงของท้อง กำหนด
ได้ชัดเจนดี ไม่มีสภาวะนิวรณ์เข้ามารบกวนมาก ก็จะกำหนดตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ท่านครูอาจารย์สอน
มา หากแต่ไม่สามารถกำหนดรู้ตามปกติได้ชัดเจน และมีสภาวะนิวรณ์เข้ามารบกวนมาก ก็จะปรับเปลี่ยน
การกำหนดรู้เป็นอานาปานสติแบบสมถะ คือกำหนดที่ลมหายใจเข้าออกซักระยะ เมื่อจิตสงบระงับดีแล้ว
การกำหนดรู้ลมหายใจแบบสมถะก็ละทิ้ง แล้วกำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้าออกแบบรู้ลักษณะ คือ รู้การกระ
ทบระหว่างลมและจมูก ริมฝีปากส่วนบนไกล้กับจมูกเป็นต้น ในการกำหนดแบบรู้ลักษณะนี้ จะใช้หรือไม่
ก็ได้ เพราะเมื่อจิตสงบระงับดีแล้ว ก็สามารถไปกำหนดรู้ที่อาการพองยุบได้ทันที

ในบางครั้ง เริ่มต้นที่กำหนดรู้ตามหลักการของพองยุบได้ดี ต่อเมื่อไปได้วักระยะของการบัลลังก์ อาจมี
อาการที่จิตซัดส่าย ก็จะแทรกการกำหนดแบบอานาปานสติเข้าไปในระหว่างบัลลังค์เช่นกัน

การปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น การปรับอินทรีย์ให้เสมอกันนับว่าสำคัญมาก สมถะจากอานาปานสติก็ช่วยได้
มากในการปรับสมาธินทรีย์ ทั้งนี้ ต้องรู้ให้ชัดว่า สาเหตุที่ไม่ก้าวหน้าจากการปฏิบัติมาจากการหย่อน
สมาธินทรีย์
ในวิธีการปฏิบัติแบบพองยุบ ส่วนใหญ่จะไม่นำกรรมฐานอื่นมาแก้สภาวะ เพราะเกรงว่าอาจจะไปติด
ปัญหาสภาวะที่นำมาช่วยแก้ได้ อีกทั้งในวิธีการของพองยุบก็มีสมถะอยู่ในนั้นอยู่แล้ว

อานาปานสติ เป็นกรรมฐานที่ง่ายและเห็นผลไวมาก เหมาะที่จะนำมาปรับใช้กับวิปัสสนา ทั้งไม่ต้องหา
อุปกรณ์ ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ก็ทำได้

คุณนิรฯ การปฏิบัติแบบพองยุบนั้น จัดเป็นการปฏิบัติแบบคู่กันไปของสมถะและวิปัสสนา ในขณะที่
บริกรรมในใจว่า พองหนอ ยุบหนอ เดินหนอ เห็นหนอ การกำหนดแบบนี้จัดเป็นสมถะ เพราะเนื่องด้วย
บริกรรม ส่วนการที่กำหนดรู้ลักษณะทางกายที่เคลื่อนอยู่ ทางเวทนา ทางจิต และทวารทั้ง ๖ จัดเป็น
วิปัสสนา เพราะเข้าไปรู้ลักษณะพิเศษของรูปและนาม

การกำหนดช่วยให้ได้สมาธิ เมื่อสมาธิมีกำลังดี ก็รู้ลักษณะของรูปนามได้ดี เป็นขณะๆไป อย่ากังวลว่า
การกำหนดจะทำให้ติดบัญญัติ ข้อนี้ให้สังเกตุ ทุกวิธีการ เนื่องด้วยบัญญัติทั้งนั้นในขั้นต้นๆ

การปฏิบัติ ไม่ควรเกินพอเหมาะพอดี ใน ๑ บัลลังก์ น่าจะเดิน ๖๐ นาที นั่ง ๖๐ นาที หรือตามสภาวะ
ที่ควร การเดินการนั่งอาจจะไม่เท่ากันเสมอไป อยู่ที่การปรับอินทรีย์ในขณะนั้น ผู้แนะนำ ครู อาจารย์
จะแนะนำเราว่าควรไปอย่างไร

ขออนุโมทนาครับ เมื่อพบวิธีการของพองยุบแล้ว เชื่อว่าไม่นานคงหลุดพ้นครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 00:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


นิรวาเณสี เขียน:

คุณกบนอกกะลาหมายถึงหลงในแง่ไหนเหรอคะ หลงแนวปฏิบัติหรือหลงในฌาณต่างๆ :b1: :b8:


ตั้ง..สัมมา...ก่อนทำ..สมาธิ

ก็จะได้..สัมมาสมาธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 01:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 22:16
โพสต์: 23

แนวปฏิบัติ: ทุกแบบที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
งานอดิเรก: ศึกษาธรรมะ
สิ่งที่ชื่นชอบ: มีหลายเล่ม
อายุ: 22
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
การปฏิบัติ ไม่ควรเกินพอเหมาะพอดี ใน ๑ บัลลังก์ น่าจะเดิน ๖๐ นาที นั่ง ๖๐ นาที หรือตามสภาวะ
ที่ควร การเดินการนั่งอาจจะไม่เท่ากันเสมอไป อยู่ที่การปรับอินทรีย์ในขณะนั้น ผู้แนะนำ ครู อาจารย์
จะแนะนำเราว่าควรไปอย่างไร

ขออนุโมทนาครับ เมื่อพบวิธีการของพองยุบแล้ว เชื่อว่าไม่นานคงหลุดพ้นครับ


ขอบคุณมากค่ะ :b8: :b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร