วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 01:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 17:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2011, 18:38
โพสต์: 33


 ข้อมูลส่วนตัว


คือ ผมลองเอาไปใช้แล้วอะ แบบกำหนดทุกอิริยาบท แบบรู้สึกอึดอัด ไม่มีสมาธิ + ใจไม่สงบเลยอะ
เช่น ตอนเรียนอยู่ผมก็กำหนดยินหนอไปเรื่อยจนว่าอาจาร์จะพูดจบ ระหว่างเรียนใจก็คิดไปเรื่องอืนผมก็กำหนดปรุงแต่งหนอ แล้วกลับมายินหนอเหมือนเดิม มันมีวิธีที่ง่ายกว่านี้ไหมครับ ตอนนี้ผมอยู่ม.6 ละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ดับความฟุ้งซ่าน
viewtopic.php?f=7&t=38604

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


somamomiji เขียน:
คือ ผมลองเอาไปใช้แล้วอะ แบบกำหนดทุกอิริยาบท แบบรู้สึกอึดอัด ไม่มีสมาธิ + ใจไม่สงบเลยอะ
เช่น ตอนเรียนอยู่ผมก็กำหนดยินหนอไปเรื่อยจนว่าอาจาร์จะพูดจบ ระหว่างเรียนใจก็คิดไปเรื่องอืนผมก็กำหนดปรุงแต่งหนอ แล้วกลับมายินหนอเหมือนเดิม มันมีวิธีที่ง่ายกว่านี้ไหมครับ ตอนนี้ผมอยู่ม.6 ละ


ผู้ที่จะนำเอาหลัก สติปัฏฐาน ๔ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ต้องมีพื้นฐาน ๓ ประการ คือ
๑. ต้องเป็นผู้มีศีล กล่าวคือ ต้องเป็นผู้มีความเป็นปกติทั้งทางใจ และทางกาย (ในที่นี้หมายถึง พฤติกรรมทางกาย อันต่อเนื่องจากทางจิต)
๒. ต้องเป็นผู้มี สมาธิ กล่าวคือ ต้องเป็นผู้ที่ผ่าน "ฌาน ๔" จนไปถึงขั้น "เอกัคคตา"
๓. ต้องเป็นผู้มี ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักวิชาการด้านต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของตนเองและผู้อื่นๆ
หลักสติปัฏฐาน ๔ เป็นหลักการปฏิบัติขั้นที่ยาก จะเรียกว่าขั้นสูงก็ว่าได้ ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติอย่างที่คุณเล่ามา คนละอย่างกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 22:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2011, 18:38
โพสต์: 33


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2011, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามจริง ๆ เถอะเวลาเรียนน้องมัวกำหนดนู่นนี่ให้ยุ่งไปหมดแล้วเข้าใจที่อาจารย์
สอนหรือเปล่า? พี่ว่าถ้ามันยากไปก็ทำที่มันง่าย ๆ ดีกว่านะจะได้ไม่เป็นภาระ
กับน้องเดี๋ยวจะเรียนไม่รู้เรื่อง..พี่ว่าเอาแค่ง่าย ๆ เวลาอาจารย์พูดให้ตั้งใจฟัง
อาจารย์คนเดียวคนอื่นไม่ต้องสนใจ ..สนใจว่าอาจารย์จะพูดอะไรหมายถึงอะไร
แค่นี้ไม่ยากใช่ไหม...แล้วถ้าน้องทำจนชำนาญเชื่อไหมว่าน้องจะเดาใจอาจารย์
ได้เลยว่าข้อสอบจะออกอะไร...พี่ทำมาแล้วและได้ผล ...ลองเอาไปทำดู

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


น่ายินดีนะครับที่ยังมีเด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับการปฏิบัติธรรม :b8: อนุโมทนาครับ

แต่น้องครับ เราในเพศฆราวาสจะเจริญสติปัฏฐานตลอดเวลาน่ะ เป็นไปไม่ได้หรอกครับ เพราะว่าฆราวาสมีภาระของฆราวาส เช่นต้องทำงาน ต้องทำงานบ้าน ต้องไปทำธุระที่นั่นที่นี่ หรือในกรณีของน้องคือต้องเรียนหนังสือ

ในขณะทำงานอะไรก็ตาม หากจะให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงลงด้วยดีแล้ว เราจะต้องใช้สติและมีสมาธิอยู่กับงานนั้นตลอดเวลา ยกตัวอย่าง หากกำลังขับรถ เราก็ต้องให้สมาธิส่วนใหญ่ไปกับการขับรถ คือสนใจการขับรถเป็นหลัก อาจจะมีพูดคุยกับผู้อื่นบ้าง แต่ความสนใจส่วนใหญ่ยังอยู่ที่การขับรถ แบบนี้จึงจะไม่เกิดอุบัติเหตุ แต่ถ้าเราขับรถไปด้วย เล่นเกมส์ในมือถือไปด้วย การเล่นเกมส์ต้องใช้สมาธิมาก แบบนี้ เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ผมพูดถูกไหมครับ

งานปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน เป็นงานที่ต้องใช้สติและสมาธิมาก ดังนั้นขณะปฏิบัติธรรม จะทำงานอื่นๆที่ซับซ้อนไปด้วยไม่ได้เด็ดขาด ในทางกลับกัน ขณะทำงานซับซ้อนอื่น ก็จะปฏิบัติธรรมไม่ได้เช่นกัน จะเห็นว่า อิริยาบถที่เหมาะกับการปฏิบัติธรรมคือ นั่ง นอน ยืน เดิน ถูกไหมครับ ไม่มีใครสามารถทำงานซับซ้อนสองงานได้พร้อมกันหรอกครับ เพราะการทำแบบนั้น สติ และสมาธิจะกระจายไปมาอยู่ระหว่างงานทั้งสอง สุดท้ายงานทั้งสองจะล้มเหลวไม่เป็นท่าครับ สังเกตกายใจก็ไม่เห็น เรียนหนังสือก็ไม่รู้เรื่อง แถมยังเพิ่มความเครียดอีกด้วย นี่เองเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเพศพระภิกษุขึ้น เพราะในเพศนี้งานทางโลกถูกลดลงมากที่สุด ไม่ต้องทำงาน ไม่ต้องหุงหาอาหาร ไม่มีการดูมหรสพบันเทิงใดๆทั้งสิ้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเพื่อให้มีเวลาที่สามารถใช้สติสมาธิไปกับการปฏิบัติธรรมคือการสังเกตทำความเข้าใจกายใจได้มากที่สุดนั่นเอง

ขอแนะนำให้น้องปฏิบัติอย่างนี้ครับ เวลาที่เรามีภาระต้องทำ เช่นต้องเรียน ต้องคิดวิเคราะห์ ให้ทำตรงนั้นให้เต็มที่ ตั้งสติอยู่กับการเรียนไป อย่าเจริญสติปัฏฐานในขณะนั้น เมื่อเราว่างจากงานเมื่อไร คำว่าว่างจากงานนี้หมายความว่า เราไม่มีอะไรต้องคิดต้องวิเคราะห์หรือต้องสนใจเป็นพิเศษแล้ว เช่น ตอนนั้งรถไปโรงเรียน ตอนยืนรอรถ ตอนกำลังเดินไปห้องเรียน etc. ค่อยใช้เวลาตรงนั้นสังเกตลมหายใจ การเคลื่อนไหวของร่างกาย หรืออารมณ์ความรู้สึกขณะนั้น (โดยรวมก็คือกายใจในปัจจุบันนั้นนั่นเอง) จะได้ผลดีกว่าครับ

เอาใจช่วยครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 17:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2011, 18:38
โพสต์: 33


 ข้อมูลส่วนตัว


จริงอย่างที่พี่พูดเปะเลยอะ ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 17:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2011, 18:38
โพสต์: 33


 ข้อมูลส่วนตัว


พี่ครับแล้วเวลาอยู่กับคนอื่นเราจะทำอย่างไรไม่ใช้ใจไปยึด หลง อยากให้เขาทำให้ถูกใจเราอะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 02:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


เราอยากให้คนอื่นทำสิ่งที่ถูกใจเรา เพราะตัวเราเองมีกรอบความคิดว่าการกระทำแบบไหนดี แบบไหนไม่ดีถูกไหมครับ

แต่เราลืมอะไรไปหรือเปล่า ว่าผู้อื่นก็มีความคิดของเขาเองเช่นกัน คนเราทุกคนล้วนมีกรอบความคิดของตัวเองว่าแบบไหนถูก แบบไหนไม่ถูก แบบไหนดี แบบไหนไม่ดี ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งที่ถูกที่ดีของเรา กับสิ่งที่ถูกที่ดีถูกของเขาอาจจะไม่เหมือนกัน

เราอยากให้เขาทำตามเรา แต่หากคิดในทางกลับกันซักนิดหนึ่ง เขาก็คงอยากให้เราทำตาม เชื่อตามเขาเช่นกัน

แน่นอนว่าการยึดถือในกรอบความของตัวเองเพียงอย่างเดียว ย่อมนำไปสู่ความขัดเคืองใจ ความไม่เข้าใจกัน หรือแม้กระทั่งการทะเลาะวิวาทในที่สุด

ลองถามตัวเองดูว่า เป็นการยุติธรรมแล้วหรือที่เราจะไม่พอใจเมื่อเขาไม่ทำตามใจเรา คิดแบบนั้นเราเป็นเผด็จการใช่หรือเปล่า

การทำสิ่งที่ถูกต้องเป็นสิ่งดี แต่การยึดถือในสิ่งที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ

เราทำส่วนของเราให้ดี แต่อย่าคาดหวัง ว่าคนอื่นจะต้องทำตามเรา ต้องเชื่อตามเรา

เราอาจจะแนะนำให้เพื่อนเราปรับปรุงสิ่งที่เราเห็นว่าไม่ควรได้ แต่สุดท้าย การที่เขาจะเชื่อตามและนำไปใข้หรือไม่ นั่นเป็นสิทธิอันชอบธรรมของเขา เกินวิสัยของเราที่จะบังคับใครให้เชื่อตาม ทำแบบนั้น เราเองที่จะหงุดหงิดใจ เมื่อเราทำสิ่งที่เราเห็นว่าสมควรจนถึงที่สุดแล้ว หยุดเสีย ปล่อยไป อะไรจะเกิดต่อจากนั้นเกินความสามารถของเราที่จะทำให้เกิดขึ้นแล้ว แบบนี้เรียกว่า อุเบกขา เป็นคุณธรรมข้อหนึ่งที่ควรฝึกให้มีไว้

การมีความเห็นแบบนี้ได้นี่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลยนะครับ เป็นงานที่ทำได้ยาก ต้องใช้ความพยายามและการฝึกฝน

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำสอนขั้นสูงข้อหนึ่งของศาสนาพุทธ ซึ่งคือการทำให้ใจอยู่เหนือ "ของคู่" นั่นคือ หากเราฝึกคนเองจนถึงที่สุดแล้ว เราจะได้มุมมองใหม่ว่าทุกอย่างที่เราประสบนั้น ไม่มีดีไม่มีชั่ว ไม่มีถูกไม่มีผิด เราไม่ชอบเราไม่ชังในทุกสิ่งทั้งปวง เราจะมองว่าทุกอย่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับลงไปตามเหตุของมัน มองทุกอย่างที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างนั้นเองตามธรรมดา ถ้าโลกเหมือนโรงละคร ทุกคนในโลกก็กำลังแสดงบทบาทของตนเอง ส่วนเรานั้นจะไม่ขอมีส่วนร่วมในละครเรื่องนี้ เราจะขอดูเพียงอย่างเดียว

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มันก็แค่ความคิด อยากโน่นอยากนี่ ท่านไปเอามันมาเป็นสาระเอง ไปเกี่ยวมันไว้เอง เพราะไม่รู้ ถ้าเรียนรู้จักความคิด รู้จักจริงๆ ว่าความคิดคืออะไร มองเห็นมันตามความเป็นจริง ไม่เอามันมาเป็นสาระ รู้ทันมัน มันก็ลากเราไปใหนไม่ได้แล้ว

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 21 มิ.ย. 2011, 22:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 20:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2011, 18:38
โพสต์: 33


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโสมนัสในโลกอยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล ฯ


สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เป็นสภาวะที่บุคคลเห็นโลกและชีวิตตามความเป็นจริงเป็นปกติวิสัย ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกสร้างความเห็นชอบ ฝึกจนกระทั่งความเห็นมั่นคงไม่หวั่นใหว

คำว่า ชีวิต คือ กาย เวทนา จิต

คำว่า โลก คือ ธรรมที่เหลือทั้งหมด

เมื่อเห็นกายก็เห็นมันตามความเป็นจริงที่แท้จริง เมื่อเห็นความรู้สึกดีใจเสียใจฯ ที่เกิดขึ้นกับตัวเองก็เห็นมันตามความเป็นจริงที่แท้จริง เมื่อเห็นสภาวะจิตใจที่ยังมีกิเลสตัณหาก็เห็นมันตามความเป็นจริงที่แท้จริง เมื่อเห็นสิ่งแวดล้อมก็เห็นมันตามความเป็นจริงที่แท้จริง ... ถ้าเห็นอย่างนี้ เรียกว่า มีสติปัฏฐาน ... ลองตรวจสอบตนเองได้

การฝึกที่เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้บุคคลเกิดสติปัฏฐาน คือ การสำรวมอินทรีย์ หรือ การพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ยังไม่ผ่านการฝึกสำรวมอินทรีย์ ยังไม่มีสติปัฏฐานอย่างแน่นอน

สภาวะสติปัฏฐาน ไม่เกิดกับปุถุชน เกิดกับอริยบุคคลที่ทรงคุณอย่างน้อยโสดาปัตติผลขึ้นไป การเห็นกายเวทนาจิตธรรมตามความเป็นจริง เป็นผลมาจากสักกายทิฐิที่ดับลงไป

สักกายทิฐิ คือ ความเห็นที่ว่า กายนี้เที่ยง ใจนี่เที่ยง รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสความคิดเหล่านี้เที่ยง ฯ เมื่อเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยง สติปัฏฐานจึงเกิดขึ้นในบุคคลนั้น

ในมหาสติปัฏฐานสูตร ถ้าได้ศึกษาดีๆ ไม่เอาความคิดที่ได้ยินได้ฟังมาก่อนมาตัดสิน จะเห็นว่า ท่านสอนให้พิจารณากิเลสตัณหาที่เหลือ จากการดูกาย ดูใจ ดูสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว ถ้ายังเหลืออยู่ ท่านให้กลับไปการพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ หรือ ให้ไปทำที่เหตุปัจจัยอันจะทำให้สติปัฏฐานเจริญบริบูรณ์ขึ้นมา

การติดตามอริยาบทที่ปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นการเตรียมตัว หรือ ฝึกตนเองให้รู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ เมื่อฝึกชนชิน จากนั้น ท่านก็ให้ไปสังเกตุกิเลสตัณหาที่เหลือ วิธีนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถจดจ่ออยู่กับการวิปัสสนาได้ตลอดตั้งแต่ตื่นจนหลับ ส่วนวิธีการประหารกิเลสตัณหานั้น ก็ยังเป็น ทุกขนิโรทาคมนีปฏิปทา หรือ เดินตามมรรค ๘

... ที่คุณได้ทำไปจริงๆ มันจึงไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน :b38: ถ้าอยากมีสติปัฏฐาน ก็ต้องไปฝึกพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron