วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 01:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2011, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 820


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา แปลว่า เห็นประจักษ์แจ้งพระไตรลักษณ์ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาการที่เคลื่อนไหว ใจที่คิด เป็นต้น เป็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำกายและใจของผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวดับ สงบเย็น(นิพพาน)ได้ ถ้าต้องการสุขแท้ สุขถาวรที่ไม่กลับมาทุกข์อีกก็ต้องดำเนินไปตามหนทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น




ประโยชน์ของการเจริญสุทธวิปัสสนา

...............ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมาธิภาวนามีมากมาย จนยากที่จะอธิบายให้เห็นจริงได้จนกว่าผู้นั้นได้ลงมือปฏิบัติจนได้เห็นผลจริงด้วยตนเอง พอกล่าวเป็นตัวอย่างได้ดังนี้

๑. ทำให้จิตใจเกิดความสงบเยือกเย็นเป็นสุข
๒. ปิดประดูอบาย คือ เมื่อบรรลุโสดาบันแล้ว ตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปจะไม่ตกนรก ไม่เกิดเป็นเปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานอีกเลย
โสดาบัน แปลว่า เข้าถึงกระแส ที่ไหลไปสู่ความไม่เกิดอีกภายใน ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง
๓. เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาถึงสังขารุเปกขาญาณ (ญาณที่ ๑๑) จนแก่กล้าแล้ว ทำให้โรคบางอย่างหายได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ต่อมไทรอย โรคเกี่ยวกับลม เส้นเอ็นและกระดูก ..นี้เป็นตัวอย่างจริงที่พบเห็นจากผู้ร่วมปฏิบัติ
๔. ถ้ามีเหตุให้ปฏิบัติไม่สำเร็จ ไปติดอยู่เพียงแค่ญาณ ๑๑ ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะจะเกิดปัญญาญาณ ที่จะใช้ในการแก้ปัญหาทุกอย่างในโลกได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาทางโลกหรือทางธรรม โดยเฉพาะปัญหาครอบครัวระหว่างสามี ภรรยา ลูก หลาน ญาติพี่น้อง (คิดค้นวิธีเอายานไวกิ้งลงบนดาวอังคารได้ ก็ด้วยการนั่งสมาธินี่แหละ)
๕. แก้อาถรรพ์ มนต์ดำได้ ไม่ว่าจะถูกของ หรือโดนยาพิษ ยาสั่งมา เมื่อปฏิบัติจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว อาถรรพ์จะหายไปจนเกลี้ยง ( เรื่องนี้ขอท้าให้พิสูจน์)
๖. บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกใน ๓๑ ภูมิ หรือในสังสารวัฎฎ์อีก อันเป็นจุดประสงค์สูงสุดอย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา



วิธีเจริญวิปัสสนาล้วน ๆ จากประสบการณ์ตรง ( เบื้องต้น )

...........๑) การเจริญภาวนาในอิริยาบถเเดิน เดินกลับไปกลับมา ก้มหน้าเล็กน้อย ส่งจิตกำหนดดูอาการของเท้าแต่ละจังหวะที่เคลื่อนไปอย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง รับรู้ถึงความรู้สึกของเท้าที่ค่อย ๆ ยกขึ้น ค่อย ๆ ย่างลง และความรู้สึกสัมผัสที่ฝ่าเท้า(อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ฯลฯ) ส่งจิตดูอาการแต่ละอาการอย่างจรดแนบสนิทอยู่กับอาการนั้น ไม่วอกแวก จนรู้สึกได้ถึงอาการที่เปลี่ยนไป ดับไปของสภาวะนั้น ๆ เช่น ขณะย่างเท้า ก็รู้สึกถึงอาการลอยไปเบา ๆ ของเท้า พอเหยียบลงอาการลอย ๆ เบา ๆ ก็ดับไป มีอาการตึงๆแข็งเข้าแทนที่ พอยกเท้าขึ้นอาการตึง ๆแข็ง ๆ ก็ดับไป กลับมีอาการลอยเบาๆ โล่งๆเข้าแทนที่ เป็นต้น ยิ่งเคลื่อนไหวช้าๆ ยิ่งเห็นอาการชัด
และในขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น หากมีความคิดเกิดขึ้นให้หยุดเดินก่อน แล้วส่งจิตไปดูอาการคิดโดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆๆ” จนกว่าความคิดจะเลือนหายไปเอง หากมีคิดซ้อนคิดก็ให้ตามดูอาการไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะดับสนิท จึงกลับไปกำหนดเดินต่อ อย่ามองซ้ายมองขวา พยายามให้ใจอยู่กับเท้าที่ค่อย ๆ เคลื่อนไปเท่านั้น ถ้าเผลอหรือหลุดกำหนดให้เอาใหม่ เผลอเริ่มใหม่ ๆๆๆ ไม่ต้องหงุดหงิด การปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า “เดินจงกรม” ต้องเดิน ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

.............๒) การเจริญาภวนาในอิริยาบถนั่ง ควรนั่งตัวตรง แต่ไม่ต้องตรงมาก ให้พอเหมาะสมกับสรีระของตนเอง นั่งสงบนิ่ง ไม่ขยับเขยื้อนอวัยวะส่วนใดทั้งสิ้น จนสังเกตได้ว่าอวัยวะที่ยังไหวอยู่มีแต่ท้องเท่านั้น ให้ส่งจิตไปดูอาการไหว ๆ นั้นอย่างต่อเนื่อง แค่ดูเฉยๆ อย่าไปบังคับท้อง ปล่อยให้ท้องไหวไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติ นั่งกำหนดดูอย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง ไม่หลุด ไม่เผลอ ถ้ามีเผลอสติบ้างก็ไม่ต้องหงุดหงิด เผลอ..เอาใหม่ ๆ จนเห็นอาการพอง อาการยุบค่อย ๆ ชัดขึ้น ขณะเห็นท้องพองกำหนดในใจว่า “พองหนอ” ขณะเห็นท้องยุบกำหนดในใจว่า “ยุบหนอ” ถ้าหากท้องพอง-ท้องยุบเบา หรือสั้น ก็ให้กำหนดเพียง “พอง – ยุบ” ไม่ต้องใส่หนอต่อท้าย บางครั้งท้องนิ่ง พอง-ยุบไม่ปรากฏก็ให้กำหนดรู้อาการท้องนิ่งนั่น “รู้หนอๆๆ” หรือ “นิ่งหนอๆๆ” บางครั้งพอง-ยุบเร็วแรงจนกำหนดไม่ทัน ก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น “รู้หนอๆๆ”
.............ถ้าขณะนั่งกำหนดอยู่มีความคิดเข้ามาให้หยุดกำหนดพอง-ยุบไว้ก่อน ส่งจิตไปดูอาการคิด พร้อมกับบริกรรมในใจว่า “คิดหนอๆๆ” แรงๆ เร็วๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าคิดเรื่องอะไร พออาการคิดจางไปแล้ว หรือหายไปโดยฉับพลัน ให้กำหนดดูอาการที่หายไป “รู้หนอๆๆ” แล้วรีบกลับไปกำหนดพอง-ยุบต่อทันที อย่าปล่อยให้จิตว่างจากการกำหนดเด็ดขาด

...............ขณะที่กำหนดอยู่นั้น ถ้าเกิดอาการปวดขา หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมา ให้ทิ้งพอง-ยุบไปเลย แล้วส่งจิตไปดูอาการปวดนั้น บริกรรมในใจว่า “ปวดหนอๆๆ” พยายามกำหนดดูอย่างติดต่อ ต่อเนื่อง แต่อย่าเอาจิตเข้าไปเป็นทุกข์กับอาการปวดนั้น ภายใน ๕ หรือ ๖ วันจะมากไปด้วยทุกขเวทนา ก็ให้ตั้งใจกำหนดอย่างเต็มที่ ไม่ต้องสนใจอารมณ์อื่นมากนัก จนกว่าอาการปวดจะหาย หรือลดลง วันแรก ๆ อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก นั่งได้ ๑ ชั่วโมงแบบสบาย ๆ พอเรามีสมาธิมากขึ้น มีญาณปัญญามากขึ้น อาการปวดจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นจนทนแทบไม่ไหว จากที่เคยนั่งได้ ๑ ชั่วโมง พอวันที่ ๓-๔ เป็นต้นไป นั่ง ๑๐ หรือ ๒๐ นาทีก็ทนแทบไม่ไหวแล้ว ให้พยายามนั่งกำหนดต่อไปจนกว่าจะครบชั่วโมง (เพื่อจะได้เป็นกำลังใจในการกำหนดบัลลังก์ต่อ ๆ ไป) ยิ่งปวดมากก็ยิ่งกำหนดถี่ๆเร็วๆ แรงๆ นั่นแสดงว่าสมาธิของเราก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ภายใน ๕- ๑๐ วัน เวทนาก็จะหายขาดไปเอง หรืออาจจะมีอยู่บ้างเล็กน้อยช่วงท้ายบัลลังก์ ถึงต้อนนี้วิปัสสนาญาณก้าวเข้าสู่ขั้นที่ ๓ หรือ ๔ แล้ว ขั้นต่อไป ไม่ควร/ห้ามปฏิบัติด้วยตนเอง(อย่างเด็ดขาด) ต้องมีพระอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแล้วจะเกิดผลเสียมากว่าผลดี ..ขอเตือน.. ที่อธิบายมานี้เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่จะต้องเรียนรู้ ผู้ต้องการปฏิบัติให้เห็นมรรคเห็นผล พึงแสวงหาสำนักปฏิบัติที่เห็นว่าเหมาะสมกับตนเอาเองเถิด..

...........ปุจฉา วิธีปฏิบัติดังกล่าวมานี้ เป็นวิปัสสนาได้อย่างไร วิปัสสนาท่านให้กำหนดรู้รูป-นาม ขันธ์ ๕ ที่ปรากฏในขณะปัจจุบันเป็นอารมณ์มิใช่หรือ?

...........วิสัชชนา ขอตอบพอเป็นตัวอย่างดังนี้ ขณะที่ส่งจิตจดจ่อไปที่อาการค่อย ๆ พองออกของท้อง พร้อมกับบริกรรมสำทับลงไปว่า “พองหนอ” ให้บริกรรมกับอาการพองสิ้นสุดลงพอดีกันนั้น อาการค่อย ๆ เคลื่อนออก ขยายออกของวาโยธาตุในท้อง เป็นรูปขันธ์(ในขันธ์๕) ความรู้สึกอึดอัดขณะธาตุลมขยาย หรือชอบใจที่กำหนดได้คล่อง เป็นเวทนาขันธ์ ความจำได้ว่าอาการเช่นนี้เรียกว่าพอง เป็นสัญญาขันธ์ การบริกรรมในใจว่า “พองหนอ” ความตั้งใจในการกำหนดและความปีติ ปราโมทย์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เป็นสังขารขันธ์ ความรับรู้อาการพองและรู้ว่ารู้ เป็นวิญญาณขันธ์ รูปนาม ขันธ์ ๕ ที่เป็นวิปัสสนาภูมิปรากฏขณะปฏิบัติดังนี้แล ฯ

............ส่วนการตามเห็นอาการพองไม่คงที่ เปลี่ยนแปลง ดับไป เห็นอาการยุบ ไม่คงที่ เปลี่ยนแปลง ดับไป อย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง แนบสนิทกับอารมณ์นั้น ๆ ที่จิตเข้าไปรับรู้ในปัจจุบันขณะนั้น นั่นเป็นวิปัสสนา เพราะวิปัสสนา แปลว่า อนิจฺจาทิวเสน วิวิเธน อากาเรหิ ธมฺเม ปสฺสตีติ วิปสฺสนา ปัญญาใด ย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น ด้วยอาการต่าง ๆ มีความไม่เที่ยงเป็นต้น ฉะนั้น ปัญญานั้น ชื่อว่า วิปัสสนา



นิพพาน
..................นิพพาน แปลว่า ดับ หรือ สภาวที่ดับเย็น คือ ขณะที่จิตของผู้เจริญวิปัสสนาข้ามโครตปุถุชนหน่วงเอานิพพานเป็นอารมร์นั้น มรรคญาณก็ทำหน้าที่ประหารสังโยชน์ที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน ตามลำดับขั้นของมรรคจิตนั้น ๆ ดังพุทธพจน์ว่า

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นโสดาบัน เพราะละสังโยชน์ ได้ ๓ อย่าง ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ ในวันข้างหน้า
๒. ภิกษุเป็นสกทาคามี เพราะละสังโยชน์ได้ ๓ อย่าง บรรเทาราคะโทสะและโมหะให้เบาบางได้ มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์
๓. ภิกษุ(เป็นอนาคามี)ไปบังเกิดเป็นโอปปาติกะ เพราะละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ ๕ อย่าง ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
๔. ภิกษุ(เป็นพระอรหันต์ เพราะสังโยชน์ได้ทั้ง ๑๐ )ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะแล้ว เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง อยู่ในปัจจุบัน

สังโยชน์ ๑๐
...........คัมภีร์อังคุตตรนิกาย อธิบายว่า สังโยชน์ หมายถึง กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่างคือ สักกายทิฏฐิ , วิจิกิจฉา,สีลัพพตปรามาส,กามฉันทะหรือกามราคะ, พยาบาทหรือปฏิฆะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจะ, อวิชชา
............พระโสดาบันละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้ พระสกทาคามีทำสังโยชน์ที่ ๔ และที่ ๕ ให้เบาบาง พระอนาคามีละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้ พระอรหันต์ละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ข้อ


วิปัสสนาญาณละสังโยชน์ได้อย่างไร
.............คัมภีร์อรรถกถา ธัมมสังคณี อธิบายว่า ละสักกายทิฏฐิได้ด้วยกำหนดแยกนามรูป (นามรูปปริจเฉทญาณ) ละทิฏฐิที่เห็นว่านามรูปไม่มีเหตุหรือมีเหตุไม่เสมอกันได้ด้วยการกำหนดรู้ปัจจัย(ปัจจยปริคคหญาณ) ละความสงสัยได้ด้วยกังขาวิตรณญาณในกาลอื่นอีกของปัจจยปริคคหญาณนั้น ละความยึดถือว่า เรา ของเราได้ด้วยกลาปสัมมสนญาณ ละความสำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ทางว่า เป็นทางได้ด้วยการกำหนดทางและไม่ใช่ทาง(มัคคามัคคญาณทัสสนะ) ละความเห็นว่าตายแล้วสูญด้วยการเห็นความเกิด(อุทยัพพยญาณ) ละความเห็นว่าเที่ยงด้วยการเห็นความเสื่อม(ภังคญาณ) ละความเห็นในสิ่งที่มีภัยว่าไม่มีภัยได้ด้วยความเห็นว่ามีภัย(ภยญาณ) ละความสำคัญในสิ่งที่ชอบใจด้วยการเห็นว่าเป็นสิ่งมีโทษ(อาทีนวญาณ) ละความสำคัญว่าน่าชอบใจยิ่งได้ด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณ ละความเป็นผู้ไม่ปรารถนาจะหลุดพ้นด้วยมุญจิตุกัมยตาญาณ ละความไม่ว่างเฉยในสังขารได้ด้วยสังขารุเปกขาญาณ ละธรรมฐิติ (ปฏิจจสมุปบาท)ได้ด้วยอนุโลมญาณ ละความเป็นปฏิโลมได้ด้วยพระนิพพาน และละความยึดถือนิมิตคือสังขารได้ด้วยโคตรภูญาณ นี้ชื่อว่า การละด้วยองค์ของวิปัสสนาญาณนั้น ๆ

คัดลอกจากงานวิจัย ของท่าน พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี


ที่มาhttp://www.cdthamma.com/forums/index.php?topic=2450.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 16:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


วิัปัสสนา
คือ
1. การพิจารณาขันธ์ 5 คือพิจารณาตัวของเรา ตัวเราประกอบด้วย (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิัญญาณ) รูปก็เหมือนกันประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมกันชั่วคราวเท่านั้น
ขันธ์ 5 ก็เหมือนกันมาประชุมกันชั่วคราวเท่านั้น ตัวเราที่เกิดขึ้น ก็เพราะเหตุปัจจัยทำให้เกิดตัวเราขึ้นมา
มีเหตุปัจจัยให้ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ มีเหตุปัจจัยให้แตกสลายก็แตกสลาย สุดท้ายขันธ์ 5 ก็ไม่มี
คนที่พิจารณาอย่างนี้ได้ก็จะเข้าใจ ก็จะไม่ทุกข์เพราะกลัวความแก่ ความเจ็บ และความตาย
นี้แหละสาเหตุที่แท้จริงที่เราทุกข์ นี่คือทุกข์ธรรมชาติ

2. การพิจารณาอินทรีย์ 6 คือพิจารณาสิ่งที่มากระทบตัวเราทาง 1.ตา 2.หู 3.จมูก 4.ลิ้น 5.กาย 6.ใจ
ที่เราทุกข์ เพราะเราหลงพอใจ และไม่พอใจสิ่งที่มากระทบตัวเราทางอินทรีย์ 6
ยกตัวอย่าง เห็นเิงิน เห็นทอง เกิดความพอใจ (โลภ) อยากได้สิ่งนั้น ไปแสวงหาด้วยความทุจริตสุดท้ายเข้าคุกใจก็เป็นทุกข์ หาไม่ได้ก็ทุกข์ ได้มาแล้วก็ทุกข์เพราะการเก็บรักษา แย่งสมบัติ ฆ่ากันตาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


1. จากจิตวิทยา สู่จิตภาวนา

2. ตำแหน่งของข้อปฏิบัติทางจิตใจในระบบพระพุทธศาสนา

3. ความสัมพันธ์ระหว่างจิตภาวนากับปัญญาภาวนา

4. บุพภาคของการเจริญภาวนา

5. ปลิโพธ

6.เข้าหากัลยาณมิตร เรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์

7.เลือกหาที่สัปปายะ

8.พิธีสมาทานกรรมฐาน

9.พิธีสมาทานกรรมฐาน คุณพระรัตนตรัย

10.สมาทานศีล อธิษฐาน แผ่เมตตา มรณสติ ระลึกถึงบุญข้อห้าม

11.ความหมายของภาวนา กรรมฐาน อารมณ์

12.กรรมฐานที่ใช้ในการเจริญสมถภาวนา

13.กรรมฐาน๔๐

14.เกณฑ์ในการเลือกกรรมฐาน

15.จริต๖และหลักการดูจริต

16.การเลือกกรรมฐานโดยพิจารณาให้เหมาะกับจริต

17.ขีดขั้นของความสำเร็จที่กรรมฐานจะให้ได้

18.ผลสำเร็จของการเจริญจิตภาวนา การละนิวรณ์ สมาธิ ๓ อย่าง

19.สมาบัติ ๘ อภิญญา ๖

20.ความก้าวหน้าหรือขั้นตอนในการปฏิบัติ นิมิต ๓ ภาวนา ๓ ขั้น

21.จากจิตภาวนาสู่ปัญญาภาวนาตามวิธีสติปัฏฐาน

22.ความหมายของวิปัสสนา

23.วิปัสสนาภูมิ ๖

24.โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

25.วิสุทธิ ๗ (อธิบาย ความหมายสมมติบัญญัติด้วย)

26.วิปัสสนาญาณ ๙

27.ญาณ ๑๖

28.ปริญญา ๓

29.อนุปัสสนา ๓

30.ตัวอุปสรรคในกระบวนการปฏิบัติ(วิปัลลาส๔วิปัสสนูปกิเลส๑๐)

31.ความจริงที่ถูกเปิดเผยโดยวิปัสสนา

32.หลักการทั่วไปของสติปัฏฐาน

33.ความหมายของสติปัฏฐาน

34.อารมณ์ของสติปัฏฐานโดยย่อ

35.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

36.เวทนา-จิตตา-ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

37.ข้อสังเกตและข้อแตกต่าง

38.หลักการปฏิบัติ ความมุ่งหมาย และตัวทำงาน

39.วิธีการกำหนดและวางใจ

40.กระบวนวิธีปฏิบัติและเทคนิค

41.การใช้อานาปานสติโยงสู่สติปัฏฐานสี่

42.ลำดับการปฏิบัติในการเจริญอานาปานสติ ๑๖ ขั้น

43.ข้อควรทราบที่๑(สิกฺขติ=ศึกษาว่าปชานาติ=รู้ชัดว่า)

44.ข้อควรทราบที่๒(สังขาร๓)

45.ข้อควรทราบที่๓(นิวรณ์๕ องค์ฌาน๕ ธรรมสมาธิ๕)

46.ลำดับการปฏิบัติ

47.หมวดที่๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

48.หมวดที่๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

49.หมวดที่๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

50.หมวดที่๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

51.ความสำเร็จของการปฏิบัติ(โพชฌงค์๗)


ฟังอธิบายหัวข้อดังกล่าวที่

http://www.watnyanaves.net/th/album_det ... evelopment

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร