วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 16:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่า ทุกวันนี้มีการสอนให้ดูจิตที่เกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งถ้าเราฟังโดยไม่เพ่งพิจารณาให้ดีแล้วเราอาจจะถูกชักจูง
ให้เห็นด้วย หรือคล้อยตาม และเชื่อไปตามนั้นได้ แบบง่ายๆ
ทั้งๆที่สิ่งที่เราฟังมานั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผลและเป็นการขาดเหตุผลอย่างยิ่ง

โดยความเป็นจริงแล้ว
ผู้ที่ดูจิตที่เกิด-ดับนั้น เป็นใครอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากเราคือจิต

เมื่อถูกถามว่าเราคือใคร
คำตอบที่ได้นั้น เป็นคำตอบที่หาเหตุผลไม่ได้เลยเช่นกัน เราก็คือเรา
เราคือผู้รู้ ถึงผู้รู้หรือเราก็ไม่เที่ยง สุดท้ายจิตผู้รู้หรือเราก็ต้องถูกทำลายทิ้งอยู่ดี

ทั้งๆที่ขาดเหตุผลสิ้นดี ยิ่งพากันออกห่างจากความเป็นจริงไปอีกไกลโข
ถ้าผู้รู้หรือเราถูกทำลายทิ้ง เมื่อบรรลุมรรคผลที่เกิดขึ้นกับตน จะรู้ได้อย่างไร???

ด้วยมีการสอนว่าอารมณ์เกิดจิตจึงจะเกิด
ซึ่งถ้าเราพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมแล้ว
จะเห็นว่าขาดซึ่งเหตุผลเอามากๆเลย

ในเมื่อจิตคือธาตุรู้ ย่อมต้องยืนตัวรู้ รู้ว่ามีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นที่จิต
หมายความว่าอารมณ์เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิตใช่มั้ย? ...ใช่
เมื่ออารมณ์เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิตแล้ว
แสดงว่าจะต้องมีจิตอยู่ก่อนแล้ว สิ่งที่จะปรุงแต่งจิตจึงเกิดขึ้นมาได้

เปรียบเหมือนจิตคือบ้าน อารมณ์คือสิ่งที่มาปรุงแต่งบ้าน
เมื่อไม่มีบ้านอยู่ก่อนแล้ว จะมีเครื่องปรุงแต่งบ้านไปเพื่ออะไร
ฉะนั้นพอสรุปได้ว่า จะต้องมีจิตอยู่ก่อน จึงจะมีเจตสิกเกิดขึ้นมาในภายหลัง

โดยตามความเป็นจริงนั้น เมื่อมีผู้ดูหรือผู้รู้ ย่อมต้องมีสิ่งที่ถูกดูหรือสิ่งที่ถูกรู้
ซึ่งเป็นของคู่กัน หรือที่เรียกว่าทวินิยมนั่นเอง

การที่จะเป็นผู้ดูหรือผู้รู้นั้น
สิ่งนั้นต้องยืนตัวดูหรือยืนตัวรู้อยู่ตลอดเวลา
จึงจะบอกได้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าอะไรเกิดขึ้นและอะไรดับไปบ้าง
เมื่อสิ่งนั้นๆเกิดขึ้นก็รู้หรือดูสิ่งนั้นๆเกิดขึ้นอยู่
และเมื่อสิ่งนั้นๆดับไปเมื่อไหร่ก็รู้หรือดูสิ่งนั้นๆดับไปอยู่

แต่ถ้าผู้ดูหรือผู้รู้พลอยเกิด-ดับตามไปด้วยนั้น
เราหรือผู้ดูหรือผู้รู้ จะบอกได้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้อย่างไรว่า
มีอะไรเกิดขึ้น อะไรดับไปหละ

โดยนิยามคำว่า “เกิด”นั้น หมายถึงว่า สิ่งนั้นไม่เคยมีอยู่มาก่อนหน้า
แล้ว “เกิด”มีขึ้นมา เราเรียกว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้น

คำว่า “ดับ”นั้น หมายถึงว่า สิ่งที่มีอยู่นั้นดับหายไป

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จิตที่เป็นธาตุรู้ ย่อมต้องยืนตัวรู้ว่า
อะไรเกิดขึ้นที่จิตก็รู้ อะไรดับไปจากจิตก็รู้...

ดังมีพุทธวจนะ...(พระบาลีมหาสติปัฏฐานสูตร)....กล่าวไว้ว่า
เมื่อราคะเกิดขึ้นที่จิตก็รู้ ราคะดับไปจากจิตก็รู้
เมื่อโทสะเกิดขึ้นที่จิตก็รู้ โทสะดับไปจากจิตก็รู้
เมื่อโมหะเกิดขึ้นที่จิตก็รู้ โมหะดับไปจากจิตก็รู้ ฯลฯ

ตามพุทธวจนะดังกล่าว ก็เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า
อารมณ์ หรือ เจตสิก...เกิดขึ้นที่จิต...และดับไปจากจิต
เราจึงสามารถพูดได้เต็มปากว่า “ก็รู้”

ถ้าอารมณ์เกิด จิตจึงค่อยเกิดนั้น แสดงว่าก่อนหน้านั้นไม่มีจิตอยู่ก่อน
ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว เราทั่วทุกตัวคน ย่อมรู้ดีว่า
เราแต่ละคนนั้นมีจิตผู้รู้อยู่กันคนละดวง หรือมีจิตผู้รู้ของแต่ละคน หรือของตนนั่นเอง

(มีต่อ)

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธวจนะกล่าวถึงเหตุแห่งทิฏฐิ ๖
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอย่อมพิจารณาเห็น
รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว
อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

ในพุทธวจนะนั้นกล่าวเอาไว้ชัดเจนว่า ขันธ์ ๕ นั้น ไม่ใช่จิต และจิตก็ไม่ใช่ขันธ์ ๕
โดยเฉพาะวิญญาณขันธ์นั้น ผู้ศึกษาใหม่โดยมาก เชื่อโดยไม่ศึกษาให้ถ่องแท้ก่อนว่า
วิญญาณขันธ์นั้นเป็นเพียงขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่ใช่จิต
เป็นเพียงเครื่องปรุงแต่งจิตที่ชิดใกล้กันมากระหว่างจิตกับวิญญาณ
จนแยกด้วยความรู้สึกนึกคิดเพียงอย่างเดียวไม่ได้

ท่านต้องใช้วิธีของพระบรมครูที่เพียรพร่ำสอนไว้ว่า

ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
อาศัยความอนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ

ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ


ในพุทธวจนะบทนี้พระองค์ทรงเน้นนักเน้นหนาว่าที่เราพร่ำสอนแก่พวกเธอนั้น
“จงเพ่งฌาน” อย่าประมาท(..แสดงว่าการเพ่งฌานนั้นเป็นเรื่องความไม่ประมาท)

การที่ทรงตรัสไว้ว่า เธอจงเพ่งฌานนั้น ใครเป็นผู้เพ่งฌาน?
นอกจากจิตแล้วยังมีอะไรที่ทำหน้าที่เช่นนี้ได้อีก
ต้องใช้ตาในเท่านั้นในการเพ่งฌาน

คำว่า “ฌาน” ณ.ที่นี้นั้นเป็นอื่นไปไม่ได้
นอกจากฌานในสัมมาสมาธิที่ทรงตรัสไว้ในอริยมรรคมีองค์๘เท่านั้น
เป็นทางที่เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์(จิตผู้ติดข้องในอารมณ์)ทั้งหลาย

การปฏิบัติสมาธิในพุทธศาสนานั้น
พระองค์ทรงเน้นให้ใช้อานาปานสติเป็นเครื่องมือ
พร้อมคำบริกรรม(พุทโธ) เพื่อหน่วงจิตให้เกิดสติได้ง่ายขึ้น

เมื่อเราเดินตามรอยท่านที่ทรงตรัสไว้ ย่อมทำให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า
ตลอดเวลาที่ปฏิบัติสมาธิอยู่นั้น จิตไม่ได้เกิด-ดับเลย
ที่เกิด-ดับนั้นเป็นอารมณ์(กิเลส)ต่างหาก ที่เกิดขึ้นที่จิตและ ดับไปจากจิต

หรือที่ครูบาอาจารย์บอกไว้ว่า
เป็นเพราะกิเลสปรุงจิต หรือจิตปรุงกิเลส
กิเลสปรุงจิต เป็นธรรมารมณ์ภายในผุดขึ้นมาปรุงจิต
จิตปรุงกิเลสนั้น เป็นธรรมารมณ์ที่จิตส่งออกไปรับเข้ามาปรุงจิต

ถ้าจิตเกิด-ดับตามที่สอนให้เชื่อตามๆกันมาแล้ว เราจะชำระจิตให้บริสุทธิ์ได้อย่างไร
เมื่อกำลังฝึกอบรมชำระจิตอยู่ จิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
เราไม่มีทางชำระให้บริสุทธิ์ได้หรอกครับ เดี๋ยวเกิด-เดี๋ยวดับ
ซึ่งเป็นเรื่องที่ขาดเหตุผลอย่างมากๆ

ยังมีการสอนอีกว่าระหว่างที่จิตเกิด-ดับอยู่นั้นมีการถ่ายทอดกรรมให้กันอีก
ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลยครับ
ขณะที่ดวงใหม่เกิดขึ้นนั้นดวงเก่าก็ดับไปแล้ว
ดวงเก่ากำลังจะดับไปดวงใหม่ก็ยังไม่เกิดขึ้นเลย
จะเกิดขึ้นไม่ได้เด็ดขาดเมื่อดวงเก่ายังไม่ดับ
ฉะนั้นเอาเวลาตรงไหนมาถ่ายทอดกรรมหละ

ถ้าเราลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจังนั้น
จะทำให้เรารู้เห็นตามความเป็นจริงว่าจิตไม่ได้เกิด-ดับตามอารมณ์ไปด้วย
ที่เกิด-ดับตามอารมณ์ไปนั้นเป็นเพียงอาการของจิตเท่านั้น

เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงเช่นนี้
เราย่อมฝึกอบรมจิตให้สงบตั้งมั่นโดยลำพังตนเองปราศจากอารมณ์ได้แน่นอนฉันใด
เราย่อมดูจิตเป็น เห็นจิตและอาการของจิตแยกออกจากกันได้ ฉันนั้น
ไม่หลงไปติดความคิดและหลงในสมมุติบัญญัติอีกต่อไปครับ


ธรรมภูต

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 07:32
โพสต์: 95

แนวปฏิบัติ: หลักวิถีธรรมชาติ - อานาปานสติ,บริกรรมภาวนา
ชื่อเล่น: นุ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำว่า “ฌาน” ณ.ที่นี้นั้นเป็นอื่นไปไม่ได้
นอกจากฌานในสัมมาสมาธิที่ทรงตรัสไว้ในอริยมรรคมีองค์๘เท่านั้น
เป็นทางที่เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์(จิตผู้ติดข้องในอารมณ์)ทั้งหลาย


...คงจะหมายถึง สมาธิในอริยมรรค ก็คือ แนวทางของจิตที่จะเดินทางไปในแนวของ ลักขณูปนิชฌาน จุดสูงสุดของสมาธิในแนวทางนี้(ขอ อ้างคำสอนของ ท่านอาจารย์ หลวงปู่มั่น) คือ ฐิติ ภูตัง ซึ่งคำสอนของท่าน จะไปตรงกับ คำสอนของ ท่านอาจารย์หลวงปู่เทสก์ (สมาธิในฌาณมันโง่ สมาธิในอริยมรรคมันฉลาด)

ฐิติ เป็น จิตแท้ จิตดั้งเดิม เป็น ปฐมจิต ปฐมวิญญาณ มโนธาตุ
ภูตัง คือ สภาวะทั้งหลายทั้งปวง ที่มันไปวนรอบจิต แต่จิตมิได้หวั่นไหวตาม

...และสมาธิที่ไปในแนวทาง ฌาณ-สมาบัติ จะเรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน

ข้าพเจ้าขอนำคำอธิบายจาก ท่านอาจารย์หลวงปู่(พ่อ)พุธ ฐานิโย ที่ท่านได้เทศน์สอนไว้ ในช่วงบั้นปลายของท่าน มาเล่าสู่กันฟัง
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
จงทำศีลให้เป็น อธิศีล
ทำจิตให้เเป็น อธิจิต
ทำปัญญาให้เป็น อธิปัญญา


พื้นฐานคุณธรรมความเป็นมนุษย์คือ ศีล๕ กุศลกรรมบถ๑๐ หิริโอตัปปะ และความกตัญญู กตเวทิตา

จุดสูงสุดของการรู้ธรรม เห็นธรรม ก็คือ
...สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ...สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา


แก้ไขล่าสุดโดย ภาวิตา-พหุลีกตา เมื่อ 02 มิ.ย. 2010, 09:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสมาธินับจากปฐมฌาณขึ้นไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b1:
...ขันธ์ห้าประกอบด้วยกายกับจิตคือรูปกับนาม...
...รูป=กาย(กายสังขาร) คือ รูปธรรม(ดินน้ำลมไฟรวมในอาการ32)...
...นาม=จิต คือ นามธรรม(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)...
...การทำงานของจิตเร็วมากเพราะปรุงแต่งอารมณ์ความรู้สึกได้หลากหลาย...
...ตาดู หูฟัง เท้าเดิน ปากพูด...ทำให้เหมือนร่างกายคิด พูด ทำงานโดยอัตโนมัติ...
:b6:
...เมื่อการรับรู้ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เข้าสู่ใจที่เป็นศูนย์รวมปรุงแต่งอารมณ์...
...ไปตามกิเลสคือสุข-ทุกข์...การรับรู้อารมณ์ต่างๆมันเกิดขึ้นและดับไปซ้อนๆกันหลากหลาย...
...โดยเฉพาะเมื่อทุกข์ใจมากๆก็จะแสดงอารมณ์เสียใจจนร้องให้น้ำตาไหล ตีอกชกตัว เป็นต้น...
...ไม่มีความยับยั้งชั่งใจก่อนแสดงออกเนื่องจากจิตตามอารมณ์ที่ปรุงแต่งไม่ทัน...
...เพราะปรุงแต่งสุขๆทุกข์ๆพร้อมกัน...สร้างภพชาติทุกขณะจิตตามภพภูมิต่างๆตลอดเวลา...
...เมื่อใดที่จิตมีอารมณ์ขี้โมโห ขี้โลภ ขี้อิจฉาตาร้อน ขี้เกียจ ขี้หวงก็สร้างภพภูมิเปรต...
...เมื่อใดที่จิตลดความเห็นแก่ตัวมีการทำบุญ ให้ทานก็สร้างภพภูมิที่ภพภูมิมนุษย์
...เมื่อมีจิตใจทำบุญให้ทานรักษาศีลภาวนาก็สร้างภพภูมิที่สวรรค์ เป็นต้น...
...โดยปกติคนทั่วไปรักษาศีล5ไม่เป็นปกติ...และมักจะมีอารมณ์ขึ้นๆลงๆโดยไม่มีการกำหนด...
:b1:
...การตามดูจิต...จึงเกิดในผู้ที่ใส่ใจในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง...ทำสมถะและวิปัสสนา...
...สมถกรรมฐานใช้ทำให้จิตสงบลดการคิดฟุ้งซ่าน(ฟุ้งซ่านจากอารมณ์ขณะตื่นลืมตาจนเข้านอน)...
...วิปัสสนากรรมฐานใช้สติสัมปชัญญะกำหนดการคิดใคร่ครวญไตร่ตรองของจิตที่ออกมาทางกาย...
...ซึ่งการมีสติสัมปชัญญะและตามรู้ทันอารมณ์ต่างๆจะทำให้หยุดอารมณ์นั้นๆก่อนแสดงออกทางกาย...
...ข้าพเจ้าขอนำเสนอวิธีที่เคยได้ไปฝึกปฏิบัติมาเป็นของสำนักพุทธศาสนาค่ะ...เวลาฝึกให้ปิดวาจา...
...การกำหนดให้ตามจิตทันโดยการวิปัสนากรรมฐานโดยวางอารมณ์ให้เป็นกลางๆไม่ปรุงแต่งกิเลส...
...เช่น...เวลาได้ยินเสียงด่า เสียงเพลงมากระทบหู ให้กำหนดว่า...ยินหนอๆๆๆ...
...คือได้ยินเฉยๆไม่ต้องไปปรุงแต่งว่าหยาบคาย-ไพเราะ ชอบ-ไม่ชอบเสียงที่ได้ยินนั้น...
:b16:
...ซึ่งจะเป็นการไม่สร้างภพการเกิดเท่ากับตัดภพชาติการเกิดที่สูงๆต่ำๆตามภพภูมิต่างๆ...
...ใช้วิธีนี้กำหนดทุกอิริยาบทคือตามให้ทันการดู การฟัง การคิด การดม การสัมผัส...
...ทำอย่างไรก็ต้องกำหนดช้าๆจึงจะตามทัน...ฝึกทำประจำ...ยินหนอ...เห็นหนอ...
...รู้สึกอย่างไรก็กำหนดไปด้วย เช่น เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง กลิ่นหนอ นั่งหนอ ยืนหนอ...
...ยกตัวอย่างการรับประทานอาหาร...ก็จะต้องกำหนดตั้งแต่เดินไปตักอาหารยกมาวางบนโต๊ะ...
...นั่งลงที่เก้าอี้หยิบช้อนตักอาหารใส่ปากทีละคำแล้วหลับตาตั้งใจเคี้ยวอาหารทำอาการเดียว...
...คือใช้กลวิธีใช้จิตสั่งร่างกายให้ทำงานทีละอย่างตามการสั่งของสมองโดยไม่ปรุงแต่งกิเลส...
:b12:
...เริ่มยกมือไปหยิบจาน ช้อนมาวางในจาน ยกมือไปหยิบทัพพีตักข้าวยกมาวางใส่จานวางทัพพี...
...ยกมือหยิบทัพพีตักกับข้าวยกมาวางใส่จานวางทัพพี...ยกจานอาหารเดิน ซ้าย-ขวาๆๆๆ...
...หยุดยืนวางจานอาหารบนโต๊ะ ขยับเก้าอี้ย้ายกายลงนั่ง...พิจารณาอาหาร เห็นหนอๆๆๆ...
...อยากกินหนอๆๆ...ยกมือขวาหนอ ไปหนอ จับช้อนหนอ ยกไปตักกับหนอ คนหนอ ตักหนอ
...ยกมาหนอ...อ้าปากหนอ...ใส่ปากอมไว้หนอ...วางช้อนหนอ...มือวางที่ตัก...เคี้ยวหนอๆๆๆ...
...(เคี้ยวช้าๆนานๆให้ได้คำละ30ครั้ง...เคี้ยวหนอๆสลับกับกลืนหนอๆ...ถึงจะตามจิตทันอ่ะค่ะ)...
...ถ้าเผลอใจลอย...ก็ให้รู้ตัวว่าเผลอหนอๆๆๆๆ...แล้วก็ดึงจิตกลับมากำหนดสิ่งที่ทำใหม่...
:b13:
...ลองเอาไปพิจารณาดูค่ะ...เวลาจะเข้าห้องน้ำก็กำหนดตั้งแต่เดินไปห้องน้ำหมุนลูกบิดปิดประตู...
...เดินหนอๆ(ไปที่โถส้วม)...ยืนหนอๆ...ถอดผ้านั่งยองๆหนอ...กำหนดปวดหนอ...ออกหนอ...
...ทำสะอาดหนอ...เสร็จกิจหนอ...ยืนหนอ...เดินหนอ...ไปหมุนลูกบิดเปิดประตูเดินออกอ่ะค่ะ...
...ก็กว่าจะกำหนดได้ต้องใช้เวลาฝึกค่ะ...กำหนดการเกิด-ดับได้ทุกขณะจิตน่าจะฝึกแบบนี้ค่ะ...
:b9: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 02 มิ.ย. 2010, 11:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านธรรมภูตครับอ่านข้อความท่านแล้ว เห็นจะจริงดังคำพระโบราณาจารย์ที่ท่านกล่าวว่า พระปริยัตติธรรมจะเสื่อมจากยอด คือพระอภิธรรมปิฎกลงมา

ระวังเรื่องสัสสตทิฏฐิและเรื่องการตีความธรรมด้วยตรรกกะของตัวเองด้วยนะครับ

หากผมทำให้เคืองใจได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ ขอลาล่ะ่ะครับ tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทรพงศ์ เขียน:
ท่านธรรมภูตครับอ่านข้อความท่านแล้ว เห็นจะจริงดังคำพระโบราณาจารย์ที่ท่านกล่าวว่า พระปริยัตติธรรมจะเสื่อมจากยอด คือพระอภิธรรมปิฎกลงมา


พระโบราณจารย์ ยังกล่าวไว้อีกว่า "มหาปัฏฐาน" อันเป็นปัฏฐานที่แสดง ถึง ปัจจัย และปัจจยุบัน ของสิ่งทั้งมวล จะเสื่อมก่อนเป็นอันดับแรก ด้วยครับ

tongue tongue tongue

พระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๗
มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มาติกานิกเขปวาร
[๑] ปัจจัย ๒๔
๑. เหตุปัจจัย
๒. อารัมมณปัจจัย
๓. อธิปติปัจจัย
๔. อนันตรปัจจัย
๕. สมนันตรปัจจัย
๖. สหชาตปัจจัย
๗. อัญญมัญญปัจจัย
๘. นิสสยปัจจัย
๙. อุปนิสสยปัจจัย
๑๐. ปุเรชาตปัจจัย
๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๑๒. อาเสวนปัจจัย
๑๓. กัมมปัจจัย
๑๔. วิปากปัจจัย
๑๕. อาหารปัจจัย
๑๖. อินทริยปัจจัย
๑๗. ฌานปัจจัย
๑๘. มัคคปัจจัย
๑๙. สัมปยุตตปัจจัย
๒๐. วิปปยุตตปัจจัย
๒๑. อัตถิปัจจัย
๒๒. นัตถิปัจจัย
๒๓. วิคตปัจจัย
๒๔. อวิคตปัจจัย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 02 มิ.ย. 2010, 11:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
tongue
:b1:
...ขันธ์ห้าประกอบด้วยกายกับจิตคือรูปกับนาม...
...รูป=กาย(กายสังขาร) คือ รูปธรรม(ดินน้ำลมไฟรวมในอาการ32)...
...นาม=จิต คือ นามธรรม(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)...
...การทำงานของจิตเร็วมากเพราะปรุงแต่งอารมณ์ความรู้สึกได้หลากหลาย...
...ตาดู หูฟัง เท้าเดิน ปากพูด...ทำให้เหมือนร่างกายคิด พูด ทำงานโดยอัตโนมัติ...
:b6:
...เมื่อการรับรู้ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เข้าสู่ใจที่เป็นศูนย์รวมปรุงแต่งอารมณ์...
...ไปตามกิเลสคือสุข-ทุกข์...การรับรู้อารมณ์ต่างๆมันเกิดขึ้นและดับไปซ้อนๆกันหลากหลาย...
...โดยเฉพาะเมื่อทุกข์ใจมากๆก็จะแสดงอารมณ์เสียใจจนร้องให้น้ำตาไหล ตีอกชกตัว เป็นต้น...
...ไม่มีความยับยั้งชั่งใจก่อนแสดงออกเนื่องจากจิตตามอารมณ์ที่ปรุงแต่งไม่ทัน...
...เพราะปรุงแต่งสุขๆทุกข์ๆพร้อมกัน...สร้างภพชาติทุกขณะจิตตามภพภูมิต่างๆตลอดเวลา...
...เมื่อใดที่จิตมีอารมณ์ขี้โมโห ขี้โลภ ขี้อิจฉาตาร้อน ขี้เกียจ ขี้หวงก็สร้างภพภูมิเปรต...
...เมื่อใดที่จิตลดความเห็นแก่ตัวมีการทำบุญ ให้ทานก็สร้างภพภูมิที่ภพภูมิมนุษย์
...เมื่อมีจิตใจทำบุญให้ทานรักษาศีลภาวนาก็สร้างภพภูมิที่สวรรค์ เป็นต้น...
...โดยปกติคนทั่วไปรักษาศีล5ไม่เป็นปกติ...และมักจะมีอารมณ์ขึ้นๆลงๆโดยไม่มีการกำหนด...
:b1:
...การตามดูจิต...จึงเกิดในผู้ที่ใส่ใจในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง...ทำสมถะและวิปัสสนา...
...สมถกรรมฐานใช้ทำให้จิตสงบลดการคิดฟุ้งซ่าน(ฟุ้งซ่านจากอารมณ์ขณะตื่นลืมตาจนเข้านอน)...
...วิปัสสนากรรมฐานใช้สติสัมปชัญญะกำหนดการคิดใคร่ครวญไตร่ตรองของจิตที่ออกมาทางกาย...
...ซึ่งการมีสติสัมปชัญญะและตามรู้ทันอารมณ์ต่างๆจะทำให้หยุดอารมณ์นั้นๆก่อนแสดงออกทางกาย...
...ข้าพเจ้าขอนำเสนอวิธีที่เคยได้ไปฝึกปฏิบัติมาเป็นของสำนักพุทธศาสนาค่ะ...เวลาฝึกให้ปิดวาจา...
...การกำหนดให้ตามจิตทันโดยการวิปัสนากรรมฐานโดยวางอารมณ์ให้เป็นกลางๆไม่ปรุงแต่งกิเลส...
...เช่น...เวลาได้ยินเสียงด่า เสียงเพลงมากระทบหู ให้กำหนดว่า...ยินหนอๆๆๆ...
...คือได้ยินเฉยๆไม่ต้องไปปรุงแต่งว่าหยาบคาย-ไพเราะ ชอบ-ไม่ชอบเสียงที่ได้ยินนั้น...
:b16:
...ซึ่งจะเป็นการไม่สร้างภพการเกิดเท่ากับตัดภพชาติการเกิดที่สูงๆต่ำๆตามภพภูมิต่างๆ...
...ใช้วิธีนี้กำหนดทุกอิริยาบทคือตามให้ทันการดู การฟัง การคิด การดม การสัมผัส...
...ทำอย่างไรก็ต้องกำหนดช้าๆจึงจะตามทัน...ฝึกทำประจำ...ยินหนอ...เห็นหนอ...
...รู้สึกอย่างไรก็กำหนดไปด้วย เช่น เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง กลิ่นหนอ นั่งหนอ ยืนหนอ...
...ยกตัวอย่างการรับประทานอาหาร...ก็จะต้องกำหนดตั้งแต่เดินไปตักอาหารยกมาวางบนโต๊ะ...
...นั่งลงที่เก้าอี้หยิบช้อนตักอาหารใส่ปากทีละคำแล้วหลับตาตั้งใจเคี้ยวอาหารทำอาการเดียว...
...คือใช้กลวิธีใช้จิตสั่งร่างกายให้ทำงานทีละอย่างตามการสั่งของสมองโดยไม่ปรุงแต่งกิเลส...
:b12:
...เริ่มยกมือไปหยิบจาน ช้อนมาวางในจาน ยกมือไปหยิบทัพพีตักข้าวยกมาวางใส่จานวางทัพพี...
...ยกมือหยิบทัพพีตักกับข้าวยกมาวางใส่จานวางทัพพี...ยกจานอาหารเดิน ซ้าย-ขวาๆๆๆ...
...หยุดยืนวางจานอาหารบนโต๊ะ ขยับเก้าอี้ย้ายกายลงนั่ง...พิจารณาอาหาร เห็นหนอๆๆๆ...
...อยากกินหนอๆๆ...ยกมือขวาหนอ ไปหนอ จับช้อนหนอ ยกไปตักกับหนอ คนหนอ ตักหนอ
...ยกมาหนอ...อ้าปากหนอ...ใส่ปากอมไว้หนอ...วางช้อนหนอ...มือวางที่ตัก...เคี้ยวหนอๆๆๆ...
...(เคี้ยวช้าๆนานๆให้ได้คำละ30ครั้ง...เคี้ยวหนอๆสลับกับกลืนหนอๆ...ถึงจะตามจิตทันอ่ะค่ะ)...
...ถ้าเผลอใจลอย...ก็ให้รู้ตัวว่าเผลอหนอๆๆๆๆ...แล้วก็ดึงจิตกลับมากำหนดสิ่งที่ทำใหม่...
:b13:
...ลองเอาไปพิจารณาดูค่ะ...เวลาจะเข้าห้องน้ำก็กำหนดตั้งแต่เดินไปห้องน้ำหมุนลูกบิดปิดประตู...
...เดินหนอๆ(ไปที่โถส้วม)...ยืนหนอๆ...ถอดผ้านั่งยองๆหนอ...กำหนดปวดหนอ...ออกหนอ...
...ทำสะอาดหนอ...เสร็จกิจหนอ...ยืนหนอ...เดินหนอ...ไปหมุนลูกบิดเปิดประตูเดินออกอ่ะค่ะ...
...ก็กว่าจะกำหนดได้ต้องใช้เวลาฝึกค่ะ...กำหนดการเกิด-ดับได้ทุกขณะจิตน่าจะฝึกแบบนี้ค่ะ...
:b9: :b32:

...ขันธ์ห้าประกอบด้วยกายกับจิตคือรูปกับนาม...
...รูป=กาย(กายสังขาร) คือ รูปธรรม(ดินน้ำลมไฟรวมในอาการ32)...
...นาม=จิต คือ นามธรรม(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)...

ขันธ์ห้าประกอบด้วยกายกับใจคือรูปกับนาม
รูป=กาย(กายสังขาร) คือ รูปธรรม(ดินน้ำลมไฟรวมในอาการ32)...
นาม=นามขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ส่วนจิตนั้นเป็น นามธรรม ที่อาศัยอยู่ในขันธ์๕ ไม่มีรูปร่างให้จับต้องได้ แต่มีอยู่จริง

โดยวางอารมณ์ให้เป็นกลางๆไม่ปรุงแต่งกิเลส
ขึ้นชื่อว่าอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดแล้วที่เป็นกลางไม่มี
เมื่อปล่อยวางอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดลงได้ จิตจึงจะเป็นกลางครับ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทรพงศ์ เขียน:
ท่านธรรมภูตครับอ่านข้อความท่านแล้ว เห็นจะจริงดังคำพระโบราณาจารย์ที่ท่านกล่าวว่า พระปริยัตติธรรมจะเสื่อมจากยอด คือพระอภิธรรมปิฎกลงมา

ระวังเรื่องสัสสตทิฏฐิและเรื่องการตีความธรรมด้วยตรรกกะของตัวเองด้วยนะครับ

หากผมทำให้เคืองใจได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ ขอลาล่ะ่ะครับ tongue

คุณภัทรพงศ์ คุณก็ลองอ่านพระสูตรดูบ้างสิว่า เหตุที่จะทำให้ศาสนาพุทธของเราเสื่อมเพราะอะไร

ทำไมผมต้องตีความด้วยตรรกกะผมเองด้วย มีพระพุทธพจน์รองรับไว้อยู่แล้ว

ส่วนเรื่องจะเป็นสัสตทิฐิหรือไม่นั้น ก็มีพระพุทธพจน์(พระสูตร)รับรองไว้เช่นกัน

เอาพระสูตรมาให้อ่านแล้วอ่านสักหลายรอบนะ
พระมหากัสสป ได้กราบทูลถามปัญหาต่อพระบรมศาสดาว่า
"พระศาสนาจะสูญสิ้นไปจากโลก ด้วยเหตุใดบ้าง"

พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า :
สิ่งต่างๆในโลกนี้ จะทำลายศาสนาให้สูญสิ้นไปหาได้ไม่
แต่พุทธบริษัท ๔ เท่านั้น ที่จะทำให้ศาสนาสูญสิ้นไป
ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ:

๑.พุทธบริษัท ไม่เคารพในพระศาสดาของตน

๒.พุทธบริษัท ไม่ตระหนักในธรรม

๓.พุทธบริษัท ไม่คารวะต่อสงฆ์

๔.พุทธบริษัท ไม่ตั้งใจศึกษาธรรม

๕.พุทธบริษัท ไม่สนใจในการทำสมาธิ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมคงยุตติการสนทนากับท่านธรรมภูตในทุกประเด็น แล้วครับ

แต่ขอฝากเพื่อนผู้ผ่านทางเข้ามาว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการชมครับ :b16: :b10: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y9313229-7.jpg
Y9313229-7.jpg [ 20.91 KiB | เปิดดู 7117 ครั้ง ]
นิคมคาถา
[๔] ภิกษุน้อมไปสู่บรรพชา ๑ ผู้น้อมไปสู่ความเงียบสงัด
แห่งใจ ๑ ผู้น้อมไปสู่ความไม่เบียดเบียน ๑ ผู้น้อมไปสู่
ความสิ้นอุปาทาน ๑ ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑ ผู้น้อม
ไปสู่ความไม่หลงไหลแห่งใจ ๑ ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดย
ชอบ
เพราะเห็นความเกิด และความดับแห่งอายตนะ
ภิกษุมีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับ
สะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็ไม่มี เปรียบ
เหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลาเป็นแท่งทึบอันเดียวกัน
ย่อมไม่สะเทือนด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส
ผัสสะ และธรรมารมณ์ ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่น่า
ปรารถนาทั้งสิ้น ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉัน
นั้น
จิตของท่านตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว ท่านย่อมพิจารณา
เห็นความเกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.
Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๑๓๖ - ๒๒๓. หน้าที่ ๖ - ๑๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 04 มิ.ย. 2010, 11:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
นิคมคาถา
[๔] ภิกษุน้อมไปสู่บรรพชา ๑ ผู้น้อมไปสู่ความเงียบสงัด
แห่งใจ ๑ ผู้น้อมไปสู่ความไม่เบียดเบียน ๑ ผู้น้อมไปสู่
ความสิ้นอุปาทาน ๑ ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑ ผู้น้อม
ไปสู่ความไม่หลงไหลแห่งใจ ๑ ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดย
ชอบ
เพราะเห็นความเกิด และความดับแห่งอายตนะ
ภิกษุมีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับ
สะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็ไม่มี เปรียบ
เหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลาเป็นแท่งทึบอันเดียวกัน
ย่อมไม่สะเทือนด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส
ผัสสะ และธรรมารมณ์ ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่น่า
ปรารถนาทั้งสิ้น ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉัน
นั้น
จิตของท่านตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว ท่านย่อมพิจารณา
เห็นความเกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.
Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๑๓๖ - ๒๒๓. หน้าที่ ๖ - ๑๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:

ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิด และความดับแห่งอายตนะ

จิตของท่านตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว ท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.

เมื่อจิตตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นอาการของจิต เกิดดับตามความรู้สึกนึกคิด

หรือเห็นความเกิดและความดับแห่งอายตนะ ที่หมุนเวียนไปตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบตามอายตนะนั้นๆ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต suthee
จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์(หรือนิพพานนั่นเอง)
อริยะสัจจ์ ๔ ล้วนแล้วแต่เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จิตที่พ้นจากอริสัจจ์ ๔ จึงไม่มีอาการของสมมติใดๆทั้งสิ้น การไปการมา การตั้งอยู่หรือการดับไปของจิตจึงไม่มี สิ่ง ต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของสมมติทั้งสิ้น ที่กล่าวกันว่าจิตที่พ้นจากสมมติแล้วเป็นจิตดับความรู้ก็ดับไปด้วยนั้น เป็นความรู้ความเห็นของนักปฏิบัติธรรมประเภทสุ่มเดาต่อให้ด้นเดาเกาหมัดต่อไปอีกนับกัปป์นับกัลป์ไม่ถ้วนก็ไม่มีโอกาสพบพระนิพพานของจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ เพราะเกาไม่ถูกที่คันมันก็เลยไม่หายคัน จิตที่ถอดถอนกิเลสมีอวิชชา ตัณหา อุปปาทาน ออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นไม่มีเหลือนั่นแหละท่านเรียกว่านิโรธหรือนิพพานนั่นเอง หรือเรียกว่าจิตที่ผ่านการกลั่นกรองจากอริยะสัจจ์ ๔ นั่นเองท่านให้ชื่อให้นามว่า พระนิพพาน ความจริงแล้วจะเรียกว่าอย่างไรก็ไม่มีปัญหาสำหรับจิตที่พ้นแล้วจากสมมติโดยประการทั้งปวง จิตเป็นอกาลิโกตลอดอนันตกาลท่านเรียกว่าวิสุทธิจิต ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสไว้ในปฐมพุทธะวะจะนะ ความว่า วิสังขาระคะตัง จิตตัง จิตของเราได้ถึงสภาพที่ สังขารไม่สามารถปรุ่งแต่งจิตได้อีกต่อไป ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคาติ มันได้ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาคือถึงพระนิพพานนั่นเอง สิ่งใดก็ ตามขึ้นชื่อว่าสมมติย่อมตกอยู่ภายใต้กฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา จิตที่อยู่ภายใต้ความเกิดและความดับจึงเป็นจิตที่อยู่กับสมมติของกิเลสดีๆนี่เอง จิตประเภทนี้ย่อมอยู่กับความเกิด-ความดับตลอดอนันตกาลเหมือนกัน เป็นจิตที่อยู่กับความเกิด-ความตายนั่นเอง แล้วจะเสกให้เป็นพระนิพพานได้ยังไง ? ผู้ที่ปัญญาเท่านั้นไม่ไว้วางใจกับจิตประเภทนี้ ยกเว้นพวกที่มีปัญญาอ่อนหรือปัญญาหน่อมแน้มไปหน่อยเท่านั้นเอง จิตที่พ้นจากสมมติจึงเป็นจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆเป็นวิสุทธิจิต พ้นจากกฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา ตลอดอนันตกาล เมื่อถึงที่สุดของจิตแล้วมันไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำไป ที่กล่าวกันว่า สิ่งสิ่งหนึ่งที่ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา ไม่มีการมา ไม่มีการไป ไม่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการดับไป ไม่มีร่องรอยให้กล่าวถึง แต่มีอยู่จริง เห็นอยู่ รู้อยู่ มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับและมีอยู่อย่างสมบูรณ์ภายในจิตใจของทุกๆคนอยู่แล้ว นั่นแหละท่านเรียกว่าที่สุดแห่งทุกข์หรือพระนิพพานนั่นเอง พระนิพพานมีอยู่ตลอดกาล(อะกาลิโก)ไม่เลือกกาลเวลา ปฏิบัติเวลาใหนเห็นเวลานั้นไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะอันไม่เกิดแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้วไม่แต่งแล้วมีอยู่(หมายถึงจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเองคืออายตนะนิพาน ) suthee


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 20:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังไม่เลิกทำสำเนา..อีกรึคุณ..สุธีร์..กี่Copy แล้วละเนี้ย :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต
จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์
อริยะสัจจ์ ๔ ล้วนแล้วแต่เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จิตที่พ้นจากอริสัจจ์ ๔ จึงไม่มีอาการของสมมติใดๆทั้งสิ้น การไปการมา การตั้งอยู่หรือการดับไปของจิตจึงไม่มี สิ่ง ต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของสมมติทั้งสิ้น
พระนิพพานอยู่ที่ใจ พระนิพพานอยู่ที่ใจ เห็นไหมเล่า ? ไม่มีว่างไม่มีเปล่า อยู่ทั้งนั้น
จะมีอะไรเป็นเรา ที่ไหนกัน ? ทุกสิ่งนั้นดับไป เหลือใจเอย
ชีวิตนี้ น้อยๆและสั้นๆ อย่าพากันปล่อยใจ เลยท่านเอ๋ย
มีสติรู้อยู่ที่ใจ ให้คุ้นเคย ต้องได้เชยชม พระนิพพานอยู่ที่ใจ
เป็นการอยู่กับผู้รู้ ละกิเลส จะมีเพศชั้นวรรณะ กันที่ไหน ?
ทุกขณะที่รู้ อยู่กับใจ จงหมั่นใช้ปัญญา รู้ของจริง
รู้ของจริงทิ้งของเท็จ ได้เด็ดเดี่ยว ไม่เกาะเกี่ยวแม้ความว่าง สว่างยิ่ง
รู้อะไรก็ไม่สู้ รู้ใจจริง ยิ่งรู้ยิ่งหลุดพ้น ไม่ต้องเบิกบาน
ความร้อนร้นหม่นไหม้ ไกลใจหมด พระนิพพานปรากฏ ก็ไม่ยึดเป็นแก่นสาร
มีสติรู้ให้ได้ ทุกอาการ จะพบพระนิพพานจริงๆ ที่ใจเอย !
พระนิพพาน
พระนิพพาน พ้นจากความมีและไม่มีให้คนเห็น
พระนิพพาน พ้นจากความเป็นและไม่เป็นเช่นสังขาร
พระนิพพาน พ้นจากความหมายและไม่หมายให้วิจารณ์
พระนิพพาน ไม่เกิด-ไม่ดับ คือจิตหรือรู้ล้วนๆที่บริสุทธิ์เอย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร