วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 11:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 15:32
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณสี่ คือ อะไร ช่วยแจงไห้เข้าใจด้วย แล้วอาการของฌาณ 4 อาการเปนอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 15:31
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัณห์ เขียน:
ฌาณสี่ คือ อะไร ช่วยแจงไห้เข้าใจด้วย แล้วอาการของฌาณ 4 อาการเปนอย่างไร

:b8: ฌานที่สี่ท่านกล่าวมา อาการจะตัดสุขออกไปเหลือแต่เอกัคตาครับแล้วเพิ่มอุเบกขาเข้ามา
เอกัคตานี่แปลว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียวมีอารมณ์เป็นหนึ่งครับ เมื่อมันตัดสุขออกไปได้ไม่สัมผัสการกระทบกระทั่งจิตไม่รับการสัมผัส เสียงจะมาจากภายนอกดังเท่าไร หูจะไม่ได้ยินเสียงภายนอก และการสัมผัสจากลมแรงเหลือบยุงจะเข้ามาเกาะตัวก็ดี ไม่มีความรู้สึกแต่ว่าอาการทางจิตไม่ใช่หลับมีความรู้สึก
มีสติสัมปชัญญะทรงตัวเป็นคนมีสติสัมปชัญญะดีมาก มีความสว่างไสวในจิต ไม่ใช่นั่งหลับ
จิตจะทรงตัวสมาธิดี สติสัมปชัญญะสมบูรณ์นี้เป็นการฝึกอารมณ์จิตของเราให้มีการทรงตัว
เพื่อเตรียมรับสภานการณ์ที่จะ เจริญวิปัสสนาญาณครับ
จิตของฌาน 4 มีเอกัคตากับอุเบกขาเป็นปกติ จิตดวงนี้ ต้องให้มันทรงอยู่ตลอดเวลาถ้ามันทรงตัวอยู่ตลอดเวลาแล้วเรื่องของทิพจักขุญาณมันทำได้ง่ายถ้าทำใจสบาย จิตเข้าถึงฌาน 4 หรือฌาน 1ฌาน 2 ฌาน 3 ก็ตาม เวลาที่จิตสงัด ปัญญามันจะเกิดเอง มันจะบอกชัด มันจะมีความเบื่อหน่ายในร่างกายขึ้นมาเอง มีความรู้สึกว่าร่างกายนี่มันไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีการทรงตัว เพราะอะไร
เพราะเมื่อมีเกิด แล้วก็มีความป่วย ความตาย ในขณะที่ทรงกายอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์
หาความสุขไม่ได้ เราจะบริหารร่างกายสักเพียงใดก็ตามที
ร่างกายก็เต็มไปด้วยความทรุดโทรมอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย
ในขันธ์ 5 คือร่างกายเสีย นี่ตัวปัญญามันจะเห็น ปัญญามันจะสอนต่อไปว่า ถ้าหากว่าเราไม่
ต้องการเกิดต่อไปแล้ว ก็ตัดรากเหง้าของกิเลสทั้ง 3 อย่างทิ้งเสียให้หมด คือตัด
อำนาจของความโลภด้วยการให้ทาน ตัดรากเหง้าของความโกรธ ด้วยการเจริญเมตตาบารมี
และตัดรากเหง้าของความหลงด้วยการพิจารณาหาความจริงของร่างกายคือขันธ์5
ปัญญามันจะเห็นชัดว่า
ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ 4 ไม่มีการทรงตัว มีการเปลี่ยนแปลง ภายในเต็มไปด้วยความสกปรก
นี่มันจะบอกชัด ปัญญามันดีกว่านี้มาก ถ้ามันได้ถึงจริงน่ะครับ ๆ
คำว่าเอกัคตารมณ์ ก็คืออารมณ์เป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่งในที่นี้เรานิยมเรียกว่าฌาน หรือรู้อยู่กับเดียว อารมณ์มันจะทรงตัวครับแต่ถ้าอารมณ์เป็นหนึ่งดิ่งอย่างนี้จะทำอย่างไรต่อไป ก็จะบอกว่าเวลานั้นไม่ใช่เวลาที่จะทำอย่างอื่นครับ ถ้าจิตเป็นฌานมีอารมณ์ทรงตัวเป็นเอกัคตารมณ์ อารมณ์เป็นหนึ่ง
อย่างนั้นต้องปล่อยไปตามนั้นครับเพราะอะไรจึงปล่อยก็เพราะเราต้องการให้อารมณ์ว่างจากกิเลส
เวลานั้นถ้าจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งในลมหายใจเข้าออกก็ดี ในคำภาวนาก็ดี ในนิมิตก็ดี ถ้าจิตจับเฉพาะอย่างนั้น กิเลสจะเข้ากวนใจไม่ได้ มันจึงเป็นหนึ่ง มีอารมณ์ดิ่งก็ควรจะพอใจว่าเวลานี้จิตเราว่างจากกิเลส เราต้องการจุดนี้ครับ
ขณะใดที่เรารู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก รู้คำภาวนาว่า พุทโธ ขณะนั้นเชื่อว่าจิตของเราเป็นสมาธิตามความต้องการ ถ้าหากว่าภาวนาไป ๆ ใจมันเกิดความสบาย คำภาวนาหยุดไปเฉย ๆ เป็นความสุขที่ยิ่งกว่า อย่างนี้ก็จงอย่าตกใจ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ 2 ซึ่งเป็นอารมณ์ดีขึ้น หากว่าทำไปความชุ่มชื่นหายไป มีอาการเครียด ลมหายใจเบาลง หูได้ยินเสียงภายนอกเบามากจิตใจทรงตัวแนบสนิทอย่างนี้ เป็นอาการของฌานที่ 3 ถ้าบังเอิญภาวนาไปกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ปรากฎว่า ไม่รู้ว่าลมหายใจเข้าออกมีหรือเปล่า มันมีอาการเฉย ๆ มีอาการจิตใจสบาย ๆ อยางนี้เป็นอาการของฌานที่ 4 จัดว่าเป็นอารมณ์ฌานที่มีความสำคัญที่สุดของพุทธศาสนาครับ รู้มาเท่าที่เคยลองปฎิบัติมาหากท่านใดที่มีความกระจ่าง ก็ขอชี้แนะด้วยนะครับ เจริญในธรรม สาธุ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย admin เมื่อ 14 ก.ย. 2010, 08:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 15:32
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไร้นาม เขียน:
สัณห์ เขียน:
ฌาณสี่ คือ อะไร ช่วยแจงไห้เข้าใจด้วย แล้วอาการของฌาณ 4 อาการเปนอย่างไร

:b8: ฌานที่สี่ท่านกล่าวมา อาการจะตัดสุขออกไปเหลือแต่เอกัคตาครับแล้วเพิ่มอุเบกขาเข้ามา
เอกัคตานี่แปลว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียวมีอารมณ์เป็นหนึ่งครับ เมื่อมันตัดสุขออกไปได้ไม่สัมผัสการกระทบกระทั่งจิตไม่รับการสัมผัส เสียงจะมาจากภายนอกดังเท่าไร หูจะไม่ได้ยินเสียงภายนอก และการสัมผัสจากลมแรงเหลือบยุงจะเข้ามาเกาะตัวก็ดี ไม่มีความรู้สึกแต่ว่าอาการทางจิตไม่ใช่หลับมีความรู้สึก
มีสติสัมปชัญญะทรงตัวเป็นคนมีสติสัมปชัญญะดีมาก มีความสว่างไสวในจิต ไม่ใช่นั่งหลับ
จิตจะทรงตัวสมาธิดี สติสัมปชัญญะสมบูรณ์นี้เป็นการฝึกอารมณ์จิตของเราให้มีการทรงตัว
เพื่อเตรียมรับสภานการณ์ที่จะ เจริญวิปัสสนาญาณครับ
จิตของฌาน 4 มีเอกัคตากับอุเบกขาเป็นปกติ จิตดวงนี้ ต้องให้มันทรงอยู่ตลอดเวลาถ้ามันทรงตัวอยู่ตลอดเวลาแล้วเรื่องของทิพจักขุญาณมันทำได้ง่ายถ้าทำใจสบาย จิตเข้าถึงฌาน 4 หรือฌาน 1ฌาน 2 ฌาน 3 ก็ตาม เวลาที่จิตสงัด ปัญญามันจะเกิดเอง มันจะบอกชัด มันจะมีความเบื่อหน่ายในร่างกายขึ้นมาเอง มีความรู้สึกว่าร่างกายนี่มันไม่เป็นสาระ ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีการทรงตัว เพราะอะไร
เพราะเมื่อมีเกิด แล้วก็มีความป่วย ความตาย ในขณะที่ทรงกายอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์
หาความสุขไม่ได้ เราจะบริหารร่างกายสักเพียงใดก็ตามที
ร่างกายก็เต็มไปด้วยความทรุดโทรมอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย
ในขันธ์ 5 คือร่างกายเสีย นี่ตัวปัญญามันจะเห็น ปัญญามันจะสอนต่อไปว่า ถ้าหากว่าเราไม่
ต้องการเกิดต่อไปแล้ว ก็ตัดรากเหง้าของกิเลสทั้ง 3 อย่างทิ้งเสียให้หมด คือตัด
อำนาจของความโลภด้วยการให้ทาน ตัดรากเหง้าของความโกรธ ด้วยการเจริญเมตตาบารมี
และตัดรากเหง้าของความหลงด้วยการพิจารณาหาความจริงของร่างกายคือขันธ์5
ปัญญามันจะเห็นชัดว่า
ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ 4 ไม่มีการทรงตัว มีการเปลี่ยนแปลง ภายในเต็มไปด้วยความสกปรก
นี่มันจะบอกชัด ปัญญามันดีกว่านี้มาก ถ้ามันได้ถึงจริงน่ะครับ ๆ
คำว่าเอกัคตารมณ์ ก็คืออารมณ์เป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่งในที่นี้เรานิยมเรียกว่าฌาน หรือรู้อยู่กับเดียว อารมณ์มันจะทรงตัวครับแต่ถ้าอารมณ์เป็นหนึ่งดิ่งอย่างนี้จะทำอย่างไรต่อไป ก็จะบอกว่าเวลานั้นไม่ใช่เวลาที่จะทำอย่างอื่นครับ ถ้าจิตเป็นฌานมีอารมณ์ทรงตัวเป็นเอกัคตารมณ์ อารมณ์เป็นหนึ่ง
อย่างนั้นต้องปล่อยไปตามนั้นครับเพราะอะไรจึงปล่อยก็เพราะเราต้องการให้อารมณ์ว่างจากกิเลส
เวลานั้นถ้าจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งในลมหายใจเข้าออกก็ดี ในคำภาวนาก็ดี ในนิมิตก็ดี ถ้าจิตจับเฉพาะอย่างนั้น กิเลสจะเข้ากวนใจไม่ได้ มันจึงเป็นหนึ่ง มีอารมณ์ดิ่งก็ควรจะพอใจว่าเวลานี้จิตเราว่างจากกิเลส เราต้องการจุดนี้ครับ
ขณะใดที่เรารู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก รู้คำภาวนาว่า พุทโธ ขณะนั้นเชื่อว่าจิตของเราเป็นสมาธิตามความต้องการ ถ้าหากว่าภาวนาไป ๆ ใจมันเกิดความสบาย คำภาวนาหยุดไปเฉย ๆ เป็นความสุขที่ยิ่งกว่า อย่างนี้ก็จงอย่าตกใจ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ 2 ซึ่งเป็นอารมณ์ดีขึ้น หากว่าทำไปความชุ่มชื่นหายไป มีอาการเครียด ลมหายใจเบาลง หูได้ยินเสียงภายนอกเบามากจิตใจทรงตัวแนบสนิทอย่างนี้ เป็นอาการของฌานที่ 3 ถ้าบังเอิญภาวนาไปกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ปรากฎว่า ไม่รู้ว่าลมหายใจเข้าออกมีหรือเปล่า มันมีอาการเฉย ๆ มีอาการจิตใจสบาย ๆ อยางนี้เป็นอาการของฌานที่ 4 จัดว่าเป็นอารมณ์ฌานที่มีความสำคัญที่สุดของพุทธศาสนาครับ รู้มาเท่าที่เคยลองปฎิบัติมาหากท่านใดที่มีความกระจ่าง ก็ขอชี้แนะด้วยนะครับ เจริญในธรรม สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไร้นาม เขียน:
อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ 2 ซึ่งเป็นอารมณ์ดีขึ้น หากว่าทำไปความชุ่มชื่นหายไป มีอาการเครียด ลมหายใจเบาลง หูได้ยินเสียงภายนอกเบามากจิตใจทรงตัวแนบสนิทอย่างนี้ เป็นอาการของฌานที่ 3 :b8:


พิมพ์ผิดหรือเปล่าครับ.. :b10: :b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 15:31
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไร้นาม เขียน:
อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ 2 ซึ่งเป็นอารมณ์ดีขึ้น หากว่าทำไปความชุ่มชื่นหายไป มีอาการเครียด ลมหายใจเบาลง หูได้ยินเสียงภายนอกเบามากจิตใจทรงตัวแนบสนิทอย่างนี้ เป็นอาการของฌานที่ 3 :b8:


พิมพ์ผิดหรือเปล่าครับ.. :b10: :b10: :b10:

:b8: ขอบคุณ คุณกบนอกกะลา ที่ช่วยบอกครับ เขียนผิดไปจริงๆครับ ขอคำชี้แนะด้วยนะครับ
อาการของณาญ4 เป็นอย่างไรบ้างของคุณกบนอกกะลา
สาธุครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2010, 00:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


วันหน้า..จะมาตอบให้นะครับ..วันนี้ง่วงเสียแล้ว :b30: :b30: :b30:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร