วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 00:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 820


 ข้อมูลส่วนตัว


ย่อความจากพระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 21 ขุททกนิกาย
มหานิทเทส สาริปุตตสุตตนิทเทส

ในพระสูตรนี้ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเอาไว้ ดังนี้

[๘๘๑] ...

[๘๘๙] ...... พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้เป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต.

พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต. ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต. ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในการเรียน ในการไต่ถาม ในการฟังธรรมตามกาลอันควร ในการสนทนาธรรมตามกาลอันควร ในการอยู่ร่วมกับครู. ย่อมตรัสบอกอานาปานสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต. ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของตน อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต. ย่อมตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.

วิเคราะห์/เพิ่มเติม

1.) การเจริญสมถกรรมฐานนั้นมีหลายวิธี ในพระพุทธศาสนานั้นได้รวบรวมเอาไว้ได้ถึง 40 วิธี (ขอให้ดูรายละเอียดในเรื่องสมาธิ 40 วิธี ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ) ประกอบ) ซึ่งกรรมฐานแต่ละชนิดนั้นก็เหมาะสมกับแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจริต พื้นฐาน ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม เวลา โอกาส และบุญบารมีที่เคยสั่งสมมาของแต่ละคน การเจริญกรรมฐานที่เหมาะสมกับตน ย่อมมีความเจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วกว่ากรรมฐานชนิดอื่น
2.) ผู้เป็นราคจริตนั้น เป็นผู้ที่มีกิเลสหนักไปทางด้านราคะ คือความเพลิดเพลินยินดี ซึ่งเป็นโลภะชนิดหนึ่ง พระพุทธเจ้าจึงทรงให้กรรมฐานที่เป็นปฏิปักษ์กัน คืออสุภกรรมฐาน คือให้พิจารณาถึงความไม่สวยไม่งาม เป็นของเน่าเหม็น น่ารังเกียจของสิ่งต่างๆ ตลอดไปจนถึงซากศพ ซึ่งเป็นสภาพที่จะต้องเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในอนาคต อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อลดกิเลสด้านนี้ลงไป
3.) ผู้เป็นโทสจริตนั้น เป็นผู้ที่มีจิตใจเร่าร้อน มักโกรธ ขัดเคืองใจได้ง่าย พระพุทธเจ้าจึงทรงให้เจริญเมตตาภาวนา คือการแผ่เมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ออกไปในทิศต่างๆ อย่างไม่มีประมาณ ซึ่งเป็นสภาวจิตที่ตรงข้ามกับโทสะ เพื่อปรับพื้นฐานจิตให้เย็นขึ้น
ผู้เป็นวิตักกจริตนั้น จิตใจมักซัดส่ายไปมาอยู่เสมอ จึงทรงให้อานาปานสติ คือให้ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องยึดจิตเอาไว้ ไม่ให้ซัดส่าย
ที่กล่าวถึงในพระสูตรนี้ เป็นการให้กรรมฐานตามจริต แต่ความเหมาะสมของกรรมฐานสำหรับแต่ละบุคคลนั้น นอกจากเรื่องของจริตแล้ว ก็ยังมีเหตุปัจจัยในด้านอื่นๆ อีก ดังที่กล่าวแล้วในข้อ 1. ดังนั้น ชนิดของกรรมฐานจึงมีมากกว่าที่กล่าวถึงในพระสูตรนี้

ที่มา http://www.dhammathai.org/treatment/con ... rate07.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๖๙] อินทรียปโรปริยัตตญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ฯ
ในอินทรียปโรปริยัตตญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า
มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก
บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย ฯ
[๒๗๐] คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญา
จักษุ ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคล
ผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ปรารภความเพียร
เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้เกียจคร้าน เป็นคนมีกิเลสธุลีมาก
ในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นคนมีกิเลสธลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มี
สติหลงลืม เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นคนมี
กิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญา
จักษุ บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญาทราม
เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ฯ
[๒๗๑] คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน ความว่าบุคคลผู้มีศรัทธา
เป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นคนมีอินทรีย์อ่อน ... บุคคลผู้มี
ปัญญา เป็นคนมีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมีอินทรีย์อ่อน ฯ
[๒๗๒] คำว่า มีอาการดี มีอาการชั่ว ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา
เป็นคนมีอาการดี บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีอาการชั่ว ... บุคคลผู้มีปัญญา
เป็นคนมีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมีอาการชั่ว ฯ
[๒๗๓] คำว่า พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก ความว่า
บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนพึง
ให้รู้แจ้งได้โดยยาก บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย บุคคลผู้มี
ปัญญาทราม เป็นคนพึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก ฯ
[๒๗๔] คำว่า บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา
เป็นคนมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคน
มิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญา เป็นคนมีปกติเห็น
ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นคนมิได้เห็นปรโลก
และโทษโดยความเป็นภัย ฯ
[๒๗๕] ชื่อว่าโลก คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกคือภพวิบัติ
โลกคือสมภพวิบัติ โลกคือภพสมบัติ โลกคือสมภพสมบัติ โลก ๑ คือสัตว์ทั้งปวง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร โลก ๒ คือ นามและรูป โลก ๓ คือเวทนา ๓ โลก ๔
คืออาหาร ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖
โลก ๗ คือ ภูมิเป็นที่ตั้งวิญญาณ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙ คือ
ภพเป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ
อายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ ฯ
[๒๗๖] ชื่อว่าโทษ คือ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง
กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นโทษ ความสำคัญในโลกนี้และโทษนี้
ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการดังนี้ เหมือนความสำคัญในศัตรู
ผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่าฉะนั้น พระตถาคตย่อมทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบชัด ทรงแทง
ตลอดซึ่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ นี้ นี้เป็นอินทรียปโรปริยัตตญาณ
ของพระตถาคต ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖
.....คำว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ ความว่า พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุ ด้วยจักษุ ๕
ประการ คือ มีพระจักษุแม้ด้วยมังสจักษุ ๑ มีพระจักษุแม้ด้วยทิพยจักษุ ๑ มีพระจักษุแม้ด้วย
ปัญญาจักษุ ๑ มีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุ ๑ มีพระจักษุแม้ด้วยสมันตจักษุ ๑.

....พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างไร? พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรวจดู
สัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมาก
ในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ควรแนะนำได้โดย
ง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่. ในกอบัวเขียว ในกอ
บัวแดง หรือในกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางดอกเกิดในน้ำ เจริญ
ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่
เสมอน้ำ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาค
เมื่อทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพระพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลส
ธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดย
ง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน. พระ
ผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้เป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต
บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต. พระผู้มีพระภาคย่อม
ตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต. ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต.
ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในการเรียน ในการไต่ถาม ในการฟังธรรมตามกาลอัน
ควร ในการสนทนาธรรมตามกาลอันควร ในการอยู่ร่วมกับครู. ย่อมตรัสบอกอานาปาณสติแก่
บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต. ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า
ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของตน อันเป็นที่
ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต. ย่อมตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา
ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.

สมจริงดังประพันธ์คาถาว่า
บุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลา พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ ฉันใด ข้าแต่พระผู้
มีพระภาคผู้มีพระปัญญาดี มีจักษุโดยรอบพระองค์ มีความโศกไป
ปราศจากแล้ว ทรงขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม ขอจงทรงตรวจ
ดูหมู่ชนผู้อาเกียรณ์ด้วยความโศก ถูกชาติและชราครอบงำ ฉันนั้น.
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างนี้.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 05 ส.ค. 2010, 16:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๙๒] คำว่า สมนฺตจกฺขุ ความว่า ชื่อว่าสมันตจักษุ เพราะอรรถ
ว่ากระไร ฯ
พระพุทธญาณ ๑๔ คือ ญาณในทุกข์ ๑ ญาณในทุกขสมุทัย ๑ ญาณ
ในทุกขนิโรธ ๑ ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ๑ ญาณในอรรถปฏิสัมภิทา ๑
ญาณในธรรมปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในนิรุตติปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ๑ ญาณในฉันทะเป็นที่
มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ๑
ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ๑ สัพพัญญุตญาณ ๑ อนาวรณญาณ ๑
บรรดา
พระพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้ พระญาณ ๘ ข้างต้น เป็นญาณทั่วไปด้วย
พระสาวก พระญาณ ๖ ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสำคัญ คือการทำความเข้าใจว่า
กรรมฐานตามจริต ที่กล่าวกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย
เพราะจริตของสัตว์เหล่านั้น จะรู้แจ่มแจ้งได้ก็ ด้วยพุทธญาณ ซี่งเป็นอสาธารณ ไม่เป็นไปแก่พระสาวก

แต่ที่ให้กรรมฐานตามจริตในปัจจุบัน เป็นเพียงการคาดคะเนตามอาการที่อาจารย์ทั้งหลายคิดว่า "ใช่"

ถึงแม้จะเป็นการคาดคะเน ก็ตาม พุทธบริษัท ก็ควรจะเข้าใจตามความเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่การรู้จริงเห็นจริงของอาจารย์ตามที่เข้าใจกัน และการคาดคะเนนั้นก็เป็นไปเพราะความกรุณาของอาจารย์

การเลือกเจริญกรรมฐานใด จึงควรทำความเข้าใจว่า ก็เหมือนกับการลองผิดลองถูก โดยมีความรู้ของพระพุทธองค์ เป็นบรรทัดฐาน โดยเลือกกรรมฐานที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออารมณ์อันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าไปก่อน
ซึ่งกรรมฐานที่เจริญนั้นอาจจะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ก็ต้องมีครูอาจารย์คอยปรับแต่งให้ดี ซึ่งไม่เหมือนพระพุทธองค์ที่ทรงมีพุทธญาณ แนะนำกรรมฐานถูกต้องตรงตามจริตได้อย่างแม่นยำ

การนำเสนอนี้ เพียงเพื่อให้ผู้อ่าน อย่าเกิดความท้อใจ ว่าทำไมเจริญกรรมฐานตามอาจารย์แนะนำ แล้วไม่ก้าวหน้า หรือไม่ได้ประสิทธิผลตามที่ได้อ่านได้ศึกษาได้รับมา อย่าท้อให้แน่วแน่ต่อการศึกษาปฏิบัติท่านทั้งหลายคงจะได้พบกรรมฐานที่ถูกต้องตามจริตอันเหมาะสมกับตน

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 05 ส.ค. 2010, 16:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote]ย่อมตรัสบอกอานาปาณสติแก่
บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต. ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า
ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของตน อันเป็นที่
ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต. ย่อมตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา
ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.[/
quote]

อานาปานสติ เป็นกรรมฐานที่แน่นมาก เพราะใช้กับบุคคลทั่วไปที่ยังมีความกังวลหรือตัดปลิโพธไม่ได้
ให้กลับมามีความสงบในจิตและจิตเป็นสมาธิและต่อกรรมฐานที่สูงขึ้นกว่าเดิมได้

ส่วนพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์นึกเป็นสรณะหรืออนุสติได้ ได้จากการสวดมนต์สวดอิติปิโส
หรือสวดบทไหนที่เกี่ยวข้องคุณทั้งสามอย่างนี้ซึ่งผู้ที่ทำได้คือพุทธศาสนิกชนหรือคนอื่นที่ไม่ใช่ศาสนานี้
แต่จิตใจเลื่อมใส และยึดถือก้สามารถเข้าถึงพระรัตนตรัยในใจได้

ส่วนวิปัสสนานิมิต หรือสายเอกแห่งปัญญาจะเกิดเห็นความปรุงแต่ง แล้วจากปรุงแต่งกลายเป็นไม่เที่ยงไม่มีอะไรที่เป็นของเราหรือดับหายไปนั้นจะเกิดขึ้นได้ก้ต่อเมื่อฝึกตามหลักวิปัสสนากรรมฐาน (1.)ซึ่งอาจเกิดจากคนที่ฝึกตามหลักวิปัสสนาอย่างเดียว หรือ(2)ฝึกกรรมฐานอื่นๆตามหลักจริตราคะ โทสะ โมหะ ที่กล่าวไว้ข้างบนหรือ กรรมฐานสมถะอื่นอันให้เกิดฌาน แล้วถึงมาฝึกวิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้เกิดปัญญาในวิปัสสนาญาณตามหลักของผู้มีญาณจริตหรือญานจริตเกิดขึ้นแล้ว ก็ยิ่งทำได้ดีเช่นกันซึ่งแบบ2อาจดีกว่าประเภทแรก(แบบ1)


แก้ไขล่าสุดโดย อินทรีย์5 เมื่อ 05 ส.ค. 2010, 20:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุ กับเจ้าของกระทู้ และผู้ที่นำพระสัทธรรมมาแสดง ทุกท่าน

ผมไปค้น เพิ่มเติม ได้ดังนี้ครับ


พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างไร? พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรวจดู
สัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมาก
ในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ควรแนะนำได้โดย
ง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่. ในกอบัวเขียว ในกอ
บัวแดง หรือในกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางดอกเกิดในน้ำ เจริญ
ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่
เสมอน้ำ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาค
เมื่อทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพระพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลส
ธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดย
ง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน. พระ
ผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้เป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นโทสจริต บุคคลนี้เป็นโมหจริต
บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต. พระผู้มีพระภาคย่อม
ตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต. ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต.
ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในการเรียน ในการไต่ถาม ในการฟังธรรมตามกาลอัน
ควร ในการสนทนาธรรมตามกาลอันควร ในการอยู่ร่วมกับครู. ย่อมตรัสบอกอานาปาณสติแก่
บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต. ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า
ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของตน อันเป็นที่
ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต. ย่อมตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา
ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๑๓๗ - ๑๑๗๗๗. หน้าที่ ๔๒๖ - ๔๙๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=881

-----------------------------------------------------


พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ สมถะ - วิปัสสนา
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/035.htm

ผู้เจริญภาวนา จะต้องเลือกกัมมัฏฐานให้ถูกแก่จริตของตน จึงจะเป็นที่สบาย รู้ง่าย ได้ผลเร็ว ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค แสดงไว้ว่า

เริ่มต้นก็กล่าวถึง เสนาสนะที่อยู่อาศัยในการเจริญกัมมัฏฐานของผู้ที่มีราคจริตว่า เตียงตั่งที่นั่งที่นอน ต้องไม่สวย ไม่น่าดู ไม่เป็นที่สบาย ให้รกรุงรังสักหน่อยก็ได้ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ควรใช้ของเก่า ๆ สีซีด ๆ มีขาดมีปะบ้างก็ยิ่งดี อาหารการกินก็จัดให้อย่างชนิดที่สีสรรไม่ชวนดู กลิ่นและรสก็เป็นอย่างที่ไม่นิยมยินดี สักแต่ว่าให้กินพอให้หนักท้องไปเท่านั้นเอง กัมมัฏฐานก็ต้องเป็นชนิดที่ไม่ให้เกิดความเพลิด เพลินยินดี ทั้งนี้เพราะเหตุว่าผู้ที่มีราคจริตย่อมชอบสิ่งที่สวยงามเป็นที่เจริญตาเจริญใจ เมื่อได้พบเห็นสิ่งที่สวยสิ่งที่งาม อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีเพลิดเพลินแล้ว ราคะย่อมไหลไปตามอารมณ์นั้น ๆ ได้โดยง่าย จึงต้องให้ได้เห็นสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม กามฉันทะจะได้ไม่เกิดมาทำให้เป็นเครื่องขัดขวางแก่การเจริญภาวนา

เสนาสนะของผู้เจริญกัมมัฏฐานที่มีโทสจริต ต้องเรียบร้อย สะอาด สวยงาม ประดับด้วยดอกไม้ของหอมด้วยก็ยิ่งดี ทุกสิ่งทุกอย่างต้องล้วนแล้วแต่สิ่งที่น่าดู น่าฟัง น่าสูดดม น่ารับประทาน น่าสัมผัสถูกต้อง จะได้ข่มไม่ให้โทสะเกิดขึ้นมาทำลายสมาธิเสีย

เสนาสนะของผู้ที่มีโมหจริต ควรให้เป็นสถานที่กว้างขวาง มีอากาศโปร่ง ได้รับแสงสว่างมาก ถ้าสถานที่แคบ อากาศทึบ แสงสว่างน้อย ก็จะทำให้ซึมเซา เหงาง่วง ไม่อยากพินิจพิจารณาอะไร ทำให้ขาดวิจารในการประหาณวิจิกิจฉา

เสนาสนะของผู้ที่มีวิตกจริต ไม่ต้องกว้างขวางใหญ่โต แม้จะกระเดียดไปข้างเล็กสักหน่อย ก็ไม่เป็นไร และให้เรียบๆ ไม่ต้องตกแต่งให้มีสิ่งที่ชวนชมชวนพิศ มิฉะนั้นวิตกจะพล่านหนักขึ้น เมื่อไม่พล่านไปอื่น ก็จะวิตกอยู่แต่ในอารมณ์กัมมัฏฐาน

เสนาสนะของผู้ที่มีสัทธาจริต ก็เพียงขนาดกลาง ไม่ต้องกว้างใหญ่นัก แต่ก็อย่าให้เล็กจนเกินไป ทุกอย่างให้เป็นแต่เพียงกลาง ๆ แม้จะไม่น่าดู แต่ก็อย่าให้ถึงกับน่าเกลียด แม้จะไม่น่าฟัง แต่ก็อย่าให้ถึงกับหยาบคายร้ายกาจจนฟังไม่ได้ แม้แต่จะไม่หอม แต่ก็อย่าให้ถึงกับเหม็น เหล่านี้เป็นต้น ก็จะไม่ทำให้ถึงกับฟุ้งซ่านหรือก่อให้เกิดความรำคาญ คงมีสุขสบายพอควรแก่การเจริญภาวนาไปได้

โดยเฉพาะผู้ที่มีพุทธิจริตหรือปัญญาจริตนั้น มิได้เป็นที่ติดใจหรือห่วงใยในเสนาสนะใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากป่าและโคนไม้ อันเป็นธรรมดาตามธรรมชาติ

ส่วนกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่จริตนั้น เป็นดังนี้

๑. อสุภะ ๑๐ และโกฏฐาส คืออาการ ๓๒ ที่เรียกว่า กายคตาสติ ๑ รวมกัมมัฏฐาน ๑๑ นี้เหมาะสมแก่บุคคลผู้ที่มี ราคจริต

๒. วัณณกสิณ ๔ และ อัปปมัญญา ๔ รวมกัมมัฏฐาน ๘ นี้ เหมาะสมแก่ผู้มี โทสจริต

๓. อานาปาณสติ ๑ ย่อมเหมาะสมแก่ผู้ที่มี โมหจริต และ วิตกจริต

๔. อนุสติ ๖ มี พุทธานุสติ เป็นต้นจนถึง เทวตานุสติ เหมาะสมแก่ผู้ที่มี สัทธาจริต

๕. มรณานุสสติ ๑ อุปสมานุสสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ และ จตุธาตุ ววัตถาน ๑ รวมกัมมัฏฐาน ๔ นี้ เหมาะสมแก่ผู้ที่มี พุทธิจริต

๖. ส่วนกัมมัฏฐานที่เหลือทั้งหมด ได้แก่ ภูตกสิณ ๔ อากาสกสิณ ๑ อโลก กสิณ ๑ และอรูปกัมมัฏฐาน ๔ รวมกัมมัฏฐาน ๑๐ อย่างนี้ ย่อมเหมาะสมแก่บุคคลทั่วไป และแก่ทุกจริต

ในบรรดาสมถกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ นั้น เฉพาะกสิณ ๑๐ องค์กสิณ คือ ดวงกสิณสำหรับผู้ที่มีโมหจริต ต้องมีขนาดกว้างประมาณเท่าลานข้าว แต่สำหรับผู้ที่มีวิตกจริตมีขนาดเล็กเพียงเท่ากระด้งก็พอ

อนึ่ง ใน อภิธัมมาวตารอรรถกถา แสดงว่า

อสุภานิ ทสาหาร สญฺญา กายคตาสติ เทเวสุ นปวตฺตนฺติ ทฺวาทเสตานิ สพฺพทาฯ

กัมมัฏฐาน ๑๒ คือ อสุภะ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ กายคตาสติ ๑ ย่อมเจริญไม่ได้โดยประการใด ๆ ในเทวภูมิ ๖ ชั้น

หมายความว่า เทวดาทั้ง ๖ ชั้น เจริญกัมมัฏฐานได้เพียง ๒๘ เว้นอสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑ และ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ ทั้งนี้เพราะ

เทวดาเป็นส่วนมาก เมื่อจุติแล้วไม่มีซากศพเหลืออยู่ ร่างกายสูญหายไปเหมือนหนึ่งดับไฟ

เทวดาที่ยังไม่จุติ ส่วนของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ เป็นต้น ก็สวยสดงดงาม ไม่เป็นปฏิกูล

อาหารก็เป็นทิพย์ เป็นสุทธาโภชน์ บริโภคแล้วก็ไม่มีกาก

กัมมัฏฐาน ๒๘ ที่เทวดาพึงเจริญภาวนาได้นั้น คือ กสิณ ๑๐, อนุสสติ ๙ (เว้นกายคตาสติ), จตุธาตุววัตถานะ ๑, อัปปมัญญา ๔, และอรูปกัมมัฏฐาน ๔

ตานิ ทฺวาทสเจตานิ อานาปาณสฺสติ ปิจ เตรส จ ปเนตานิ พฺรหฺมโลเก นวิชฺชาเร ฯ

กัมมัฏฐาน ๑๓ คือ กัมมัฏฐาน ๑๒ ที่เจริญไม่ได้ในเทวภูมิ และอานาปาณสติ ๑ ย่อมไม่มีในรูปภูมิ

มีความหมายว่า ในรูปพรหม ๑๕ ชั้น (เว้นอสัญญสัตตา) เจริญกัมมัฏฐานได้เพียง ๒๗ เพราะอสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ และ อานาปาณสติ ๑ รวม ๑๓ อย่างนี้ ไม่มีในรูปพรหม ๑๕ ชั้นนั้น ด้วยเหตุว่าส่วนของร่างกายแห่งพรหมทั้งหลายนั้น ไม่เป็นปฏิกูล และเมื่อจุติแล้วก็ไม่มีซากศพเหลืออยู่เช่นเดียวกับเทวดา นอกจากนั้น พรหมก็มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องบริโภคข้าวปลาอาหาร และไม่มีลมหายใจด้วย

ฐเปตฺวา จตุรารุปฺเป นตฺถิ กิญฺจิ อรูปิสุ มนุสฺสโลเก สพฺพานิ ปวตฺตนฺติ น สํสโย ฯ

ในอรูปภูมินั้น นอกจากอรูปกัมมัฏฐาน ๔ แล้ว กัมมัฏฐานอื่น ๆ อย่างหนึ่งอย่างใด ย่อมไม่มีทั้งนั้น

ส่วนในมนุษย์ภูมิ ย่อมเจริญกัมมัฏฐาน ๔๐ ได้ โดยไม่ต้องสงสัยเลย

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พูดถึงจริตของผู้ปฏิบัติสมถะกรรมฐานแล้ว

ในการเจริญสติปัฏฐาน มีการแบ่งจริตไว้เช่นกัน

มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273


ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานว่ามี ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
ตอบว่า ก็เพราะจะทรงให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์.
แท้จริง ในจำพวกเวไนยสัตว์ที่เป็นตัณหาจริต ทิฏฐิจริต ผู้เป็นสมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน) และวิปัสสนายานิก (ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน) ที่เป็นไปโดยส่วนทั้งสอง คือ ปัญญาอ่อน และปัญญากล้า
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์หยาบเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญาอ่อน. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์ละเอียด เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญากล้า. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีอารมณ์ไม่แยกออกมากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญาอ่อน. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีอารมณ์แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า.
อนึ่ง สติปัฏฐานข้อ ๑ ที่มีนิมิตอันจะพึงบรรลุได้โดยไม่ยาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญาอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างหยาบ จึงเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญากล้า. สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีอารมณ์ที่แยกออกไม่มากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิก มีปัญญาอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีอารมณ์ที่แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิกมีปัญญากล้า.
เพราะเหตุดังนั้น จึงกล่าวว่า สติปัฏฐานมี ๔ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.

------------------------------------------------------


อีกอย่างหนึ่ง แม้จะไม่มีการวินิจฉัยด้านจริตและปัญญาด้วยเหตุด้วยผลดังกล่าวมานี้ก็ตาม แต่เนื่องจากในยุคสมัยนี้ ขาดแคลนกัลยาณมิตร หรืออาจารย์ผู้ทรงญาณปัญญา ที่สามารถสอบสวนสภาพจิตใจของผู้อื่นอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้จะบอกได้ว่า ผู้นั้นผู้นี้ควรเจริญสติปัฏฐานข้อใด หมวดไหน จึงจะเหมาะสมต่อสภาพจิตใจของเขา เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ควรเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นแหละ เพราะเทียบสติปัฏฐานข้ออื่นแล้ว จะเป็นข้อที่เจริญได้ง่ายกว่า เพราะข้อนี้มีการพิจารณารูปธรรมเป็นหลัก ก็การพิจารณารูปธรรมซึ่งเป็นของหยาบ ทำได้ง่ายกว่าการพิจารณานามธรรม มีเวทนาเป็นต้น ซึ่งเป็นของละเอียด

ก็ในบรรดากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ หมวดนั้น สำหรับหมวดแรกซึ่งเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าและออกนั้น เป็นกรรมฐานที่พิเศษกว่ากรรมฐานอื่น แม้ท่านกล่าวว่า เจริญได้ง่าย เหมาะแก่คนปัญญาน้อยก็ตาม ก็พึงทราบว่า ที่นับได้ว่าเจริญได้ง่ายก็เกี่ยวกับสักแต่มุ่งจะทำจิตให้สงบไปอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือจิตที่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย กระสับกระส่าย จะสงบได้รวดเร็ว เมื่อเพียงแต่กำหนดลมหายใจไปสักระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าจะต้องการให้จิตที่สงบไปพอประมาณนั้น สงบยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ตามลำดับ จนบรรลุฌาน โดยเฉพาะได้ฌานแล้ว ใช้ฌานนั้นเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนาต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้แสนยากอย่างยิ่ง ผู้มีปัญญาสามารถจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกระทำได้ เหตุผลในเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้แล้วในหนังสือเรื่องหยั่งลงสู่พระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการเจริญสติปัฏฐานเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำจิตให้สงบ น่าจะคำนึงถึงหมวดอื่น ๆ ก่อนหมวดกำหนดลมหายใจนี้

แม้ใน ๑๓ หมวดที่เหลือ ตกมาถึงยุคสมัยนี้ซึ่งเป็นยุคที่พระพุทธศาสนากำลังเสื่อมไปตามลำดับ ก็ไม่ใช่จะทำได้ง่ายเสียทีเดียว กล่าวคือ สัมปชัญญบรรพซึ่งเป็นหมวดพิจารณาอิริยาบถย่อยนั้น ยังทำได้ยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการพิจารณาอิริยาบถ ๔ ใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นของหยาบกว่า มาก่อน การใส่ใจความเป็นปฏิกูลในอาการ ๓๒ เล่า ก็เป็นของทำได้ยากในยุคสมัยนี้ที่นิยมวัตถุ ดื่มด่ำในความสวยความงาม เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทำใจให้น้อมไปว่าเป็นของปฏิกูล ไม่งามอยู่เนือง ๆ ย่อมเป็นภาระหนัก ส่วนการพิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ ๔ มีธาตุดินเป็นต้น โอกาสที่จะกลายเป็นเพียงความนึกคิดเอาอย่างฉาบฉวย ไม่ได้สัมผัสตัวสภาวะที่เป็นธาตุดินเป็นต้น ด้วยปัญญาจริง ๆ ก็มีได้มาก สำหรับการพิจารณษซากศพ ๙ อย่าง ก็เป็นหมวดที่แทบจะหาโอกาสบำเพ็ญไม่ได้เอาทีเดียว เกี่ยวกับหาซากศพที่จะใช้เจริญกรรมฐานยากหนักหนา เพราะบ้านเมืองเจริญขึ้น ระเบียบกฏเกณฑ์ของบ้านเมืองไม่ยอมให้มีการทิ้งซากศพให้เน่าเปื่อยอยู่ตามที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผย แม้แต่ในป่าช้า ด้วยเหตุว่า เป็นที่อุจาดนัยน์ตาของผู้พบเห็น เป็นที่แพร่เชื้อโรค และเป็นเรื่องล้าหลัง ส่วนหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ เดิน ยืน นั่ง นอน หมวดเดียวที่เหลืออยู่นี้เท่านั้นที่เป็นกรรมฐาน อันเป็นอารมณ์ของการพิจารณาที่หาได้ง่าย เพราะอิริยาบถ ๔ นี้ มีติดตัวอยู่ตลอดเวลา คนเราต้องการทรงกายอยู่ใดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งแน่นอน ไม่มีว่างเว้นจากอิริยาบถ อนึ่ง ในเวลาที่ทรงกายอยู่ในอิริยาบถใดก็ตามก็ย่อมรู้แน่อยู่แก่ใจที่เดียวว่า เวลานี้กำลังทรงกายอยู่ในอิริยาบถนั้น คือ รู้ดีว่าเวลานี้กำลังเดินอยู่ หรือยืนอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ เพราะอาการอย่างนั้นอย่างนั้น แสดงให้ทราบ จึงจัดได้ว่าเป็นของปรากฏชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ การกำหนดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จึงน่าจะกระทำได้ง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละผู้ใคร่เจริญสติปัฏฐานได้โดยสะดวก พึงคำนึงถึงการพิจารณาอิริยาบถ ๔ นี้ ก่อนเถิด และในที่นี้ก็ใคร่ขอแสดงวิธีเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถนี้เป็นนิทัสสนะ

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔

viewtopic.php?f=2&t=29201

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสนุกๆจากหลวงพ่อชา


นั่งมาก

วันหนึ่งหลวงพ่อนำคณะสงฆ์ทำงานวัด

มีวัยรุ่นมาเดินชมวัดถามท่านเชิงตำหนิ
"ทำไมท่านไม่นำพระเณรนั่งสมาธิ ชอบพาพระเณรทำงานไม่หยุด"

"นั่งมากขี้ไม่ออกว่ะ" หลวงพ่อสวนกลับ ยกไม้เท้าชี้หน้าคนถาม

"ที่ถูกนั้น นั่งอย่างเดียวก็ไม่ใช่ เดินอย่างเดียวก็ไม่ใช่ ต้องนั่งบ้าง
ทำประโยชน์บ้าง ทำความรู้ความเห็นให้ถูกต้องไปทุกเวลานาที
อย่างนี้จึงถูก กลับไปเรียนใหม่ ยังงี้ยังอ่อนอยู่มาก

เรื่องการปฏิบัตินี้ถ้าไม่รู้จริงอย่าพูด มันขายขี้หน้าตนเอง"



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
พูดถึงจริตของผู้ปฏิบัติสมถะกรรมฐานแล้ว

ในการเจริญสติปัฏฐาน มีการแบ่งจริตไว้เช่นกัน

มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273


ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานว่ามี ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
ตอบว่า ก็เพราะจะทรงให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์.
แท้จริง ในจำพวกเวไนยสัตว์ที่เป็นตัณหาจริต ทิฏฐิจริต ผู้เป็นสมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน) และวิปัสสนายานิก (ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน) ที่เป็นไปโดยส่วนทั้งสอง คือ ปัญญาอ่อน และปัญญากล้า
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์หยาบเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญาอ่อน. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์ละเอียด เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญากล้า. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีอารมณ์ไม่แยกออกมากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญาอ่อน. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีอารมณ์แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า.
อนึ่ง สติปัฏฐานข้อ ๑ ที่มีนิมิตอันจะพึงบรรลุได้โดยไม่ยาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญาอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างหยาบ จึงเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญากล้า. สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีอารมณ์ที่แยกออกไม่มากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิก มีปัญญาอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีอารมณ์ที่แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิกมีปัญญากล้า.
เพราะเหตุดังนั้น จึงกล่าวว่า สติปัฏฐานมี ๔ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.

------------------------------------------------------


อีกอย่างหนึ่ง แม้จะไม่มีการวินิจฉัยด้านจริตและปัญญาด้วยเหตุด้วยผลดังกล่าวมานี้ก็ตาม แต่เนื่องจากในยุคสมัยนี้ ขาดแคลนกัลยาณมิตร หรืออาจารย์ผู้ทรงญาณปัญญา ที่สามารถสอบสวนสภาพจิตใจของผู้อื่นอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้จะบอกได้ว่า ผู้นั้นผู้นี้ควรเจริญสติปัฏฐานข้อใด หมวดไหน จึงจะเหมาะสมต่อสภาพจิตใจของเขา เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ควรเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นแหละ เพราะเทียบสติปัฏฐานข้ออื่นแล้ว จะเป็นข้อที่เจริญได้ง่ายกว่า เพราะข้อนี้มีการพิจารณารูปธรรมเป็นหลัก ก็การพิจารณารูปธรรมซึ่งเป็นของหยาบ ทำได้ง่ายกว่าการพิจารณานามธรรม มีเวทนาเป็นต้น ซึ่งเป็นของละเอียด

ก็ในบรรดากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ หมวดนั้น สำหรับหมวดแรกซึ่งเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าและออกนั้น เป็นกรรมฐานที่พิเศษกว่ากรรมฐานอื่น แม้ท่านกล่าวว่า เจริญได้ง่าย เหมาะแก่คนปัญญาน้อยก็ตาม ก็พึงทราบว่า ที่นับได้ว่าเจริญได้ง่ายก็เกี่ยวกับสักแต่มุ่งจะทำจิตให้สงบไปอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือจิตที่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย กระสับกระส่าย จะสงบได้รวดเร็ว เมื่อเพียงแต่กำหนดลมหายใจไปสักระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าจะต้องการให้จิตที่สงบไปพอประมาณนั้น สงบยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ตามลำดับ จนบรรลุฌาน โดยเฉพาะได้ฌานแล้ว ใช้ฌานนั้นเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนาต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้แสนยากอย่างยิ่ง ผู้มีปัญญาสามารถจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกระทำได้ เหตุผลในเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้แล้วในหนังสือเรื่องหยั่งลงสู่พระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการเจริญสติปัฏฐานเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำจิตให้สงบ น่าจะคำนึงถึงหมวดอื่น ๆ ก่อนหมวดกำหนดลมหายใจนี้

แม้ใน ๑๓ หมวดที่เหลือ ตกมาถึงยุคสมัยนี้ซึ่งเป็นยุคที่พระพุทธศาสนากำลังเสื่อมไปตามลำดับ ก็ไม่ใช่จะทำได้ง่ายเสียทีเดียว กล่าวคือ สัมปชัญญบรรพซึ่งเป็นหมวดพิจารณาอิริยาบถย่อยนั้น ยังทำได้ยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการพิจารณาอิริยาบถ ๔ ใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นของหยาบกว่า มาก่อน การใส่ใจความเป็นปฏิกูลในอาการ ๓๒ เล่า ก็เป็นของทำได้ยากในยุคสมัยนี้ที่นิยมวัตถุ ดื่มด่ำในความสวยความงาม เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทำใจให้น้อมไปว่าเป็นของปฏิกูล ไม่งามอยู่เนือง ๆ ย่อมเป็นภาระหนัก ส่วนการพิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ ๔ มีธาตุดินเป็นต้น โอกาสที่จะกลายเป็นเพียงความนึกคิดเอาอย่างฉาบฉวย ไม่ได้สัมผัสตัวสภาวะที่เป็นธาตุดินเป็นต้น ด้วยปัญญาจริง ๆ ก็มีได้มาก สำหรับการพิจารณษซากศพ ๙ อย่าง ก็เป็นหมวดที่แทบจะหาโอกาสบำเพ็ญไม่ได้เอาทีเดียว เกี่ยวกับหาซากศพที่จะใช้เจริญกรรมฐานยากหนักหนา เพราะบ้านเมืองเจริญขึ้น ระเบียบกฏเกณฑ์ของบ้านเมืองไม่ยอมให้มีการทิ้งซากศพให้เน่าเปื่อยอยู่ตามที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผย แม้แต่ในป่าช้า ด้วยเหตุว่า เป็นที่อุจาดนัยน์ตาของผู้พบเห็น เป็นที่แพร่เชื้อโรค และเป็นเรื่องล้าหลัง ส่วนหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ เดิน ยืน นั่ง นอน หมวดเดียวที่เหลืออยู่นี้เท่านั้นที่เป็นกรรมฐาน อันเป็นอารมณ์ของการพิจารณาที่หาได้ง่าย เพราะอิริยาบถ ๔ นี้ มีติดตัวอยู่ตลอดเวลา คนเราต้องการทรงกายอยู่ใดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งแน่นอน ไม่มีว่างเว้นจากอิริยาบถ อนึ่ง ในเวลาที่ทรงกายอยู่ในอิริยาบถใดก็ตามก็ย่อมรู้แน่อยู่แก่ใจที่เดียวว่า เวลานี้กำลังทรงกายอยู่ในอิริยาบถนั้น คือ รู้ดีว่าเวลานี้กำลังเดินอยู่ หรือยืนอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ เพราะอาการอย่างนั้นอย่างนั้น แสดงให้ทราบ จึงจัดได้ว่าเป็นของปรากฏชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ การกำหนดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จึงน่าจะกระทำได้ง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละผู้ใคร่เจริญสติปัฏฐานได้โดยสะดวก พึงคำนึงถึงการพิจารณาอิริยาบถ ๔ นี้ ก่อนเถิด และในที่นี้ก็ใคร่ขอแสดงวิธีเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถนี้เป็นนิทัสสนะ

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔

viewtopic.php?f=2&t=29201


จงระวังนักต้มตุ๋นที่ชอบสาธุรรมะธัมโม

จงดูลาบเซ็นที่เขาบิดเบือนพระไตรปิฎกเข้าตำรามือถือสากปากถือศีล

ตีความพระพุทธธรรมตามใจเหมือนอดีตสำนักอภิธรรมชาติกระทำ

เจโตวิมุติมากกว่าปัญญาวิมุติที่อ้างเพราะเจ้าสำนักถูกจับได้ว่าไม่มีอภิญญาตามที่อวดอ้างเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อเหลิมคือกากเดนความหลอกลวง

อดีตหลอกลวงได้ปัจจุบันก็เช่นกัน

อภิธัมมัตถะและอรรกถาต้องนำไปตรวจสอบกับพระสูตรพระวินัยก่อนตกลงใจเชื่อตามหลักมหาประเทสสี่

อดีตสำนักอภิธรรมชาติพยายามเขียนอภิธรรมฉบับของตนออกเผยแพร่แต่ถูกขัดขวาง

นี่คืออีกหนึ่งความพยายามของพวกสัทธรรมปฏิรูป

และวิธีการคือสร้างเครดิตด้วยการกล่าวหาพระสัมมปฏิปทาทำลายล้างธรรมะเสียก่อน

แล้วจึงประกาศอธรรม

จึงปรากฎการล่วงเกินพระอาจารย์

ท่านพุทธทาน อาจารย์มั่น อาจาย์ดุลย์ อาจารย์ฤาษีลิงดำ อาจารย์พุทธ อาจารย์ฯลฯ

ท่านทั้งหลายจะยอมให้กากเดนศาสนทรชนมาทำลายอาจารย์ที่เราเคารพหรือ

ถามตัวเองดูว่า

นับถือศาสนาพุทธหรือเปล่า

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes ครับ ขอให้ด่าผมในกระทู้นี้ดีกว่าครับ ดีกว่าไปเที่ยว post ในกระทู้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง

viewtopic.php?f=2&t=33690&p=221858#p221858

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีไปกวนกระทูคนอื่นทำไมไม่รู้จักคิด

เจ้าของมรดกกรรม ทำเองรับเอง

55555555555555555555555

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร