วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 02:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/shortbook/learnbud15min.html


อ้างคำพูด:
เรียนวิปัสสนา


เรียนวิปัสสนา เพิ่งมีมา ต่อภายหลัง

ไม่เคยฟัง ในบาลี ที่ตถา

ไม่แยกเป็น คันถะ วิปัสสนา

มีแต่ว่า ตั้งหน้า บำเพ็ญธรรม



เพราะทนอยู่ ไม่ได้ ในกองทุกข์

จึงได้ลุก จากเรือนอยู่ สู่เนกขัม

จัดชีวิต เหมาะแท้ แก่กิจกรรม

เพื่อกระทำ ให้แจ้ง แห่งนิพพาน



ในบัดนี้ มีสำนัก วิปัสสนา

เกิดขึ้นมา เป็นพิเศษ เขตสถาน

ดูเอาจริง ยิ่งกว่าครั้ง พุทธกาล

ขอให้ท่าน จริง, ดี มีวิปัสสนาฯ


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 23 มิ.ย. 2010, 11:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/shortcut156.html

วิธีปฏิบัติที่รวบรัด
การปฏิบัติ จะทำอย่าง ค่อยทำ ค่อยไป นี้ มันจะตายเสียก่อน
ฉะนั้น ผมจึงถูกด่าถูกหา ถูกอะไรโดยคนทั่วไป จากผู้หลักผู้ใหญ่
ว่าสอนนอกเรื่อง นอกแบบ เอาเรื่องโลกกุตตระ พ้นโลกเหนือโลก
มาสอนประชาชน อย่างที่มีผู้ค้านอยู่เสมอ เขาเยาะเขาด่าอยู่เสมอ
ว่าเอาเรื่องโลกุตตระมาสอนประชาชน นี้ไม่ใช่แต่ฆราวาสดอก พระ
เถระผู้ใหญ่ก็เคยดุผมอย่างมาก เรื่องเอาธรรมะ เรื่องหลุดพ้น มา
สอนประชาชน หลายปีมาแล้ว เราก็ไม่ใช่คนดื้อดึง ใครพูดว่าอะไร
เราฟังอย่างดี ฟังอย่างดีว่าเขาพูดนั้น ถูกหรือไม่ถูก จริงหรือไม่จริง
มันก็เห็นว่ายังถูกอยู่ เห็นว่าทำอย่างนี้ มันยังถูกอยู่ ฉะนั้น จึงยังทำ
ต่อไป ใครจะว่าอย่างไร จะด่าอย่างไร ก็ไม่สนใจเสีย

นี่มันเป็นการรวบรัด การปฏิบัติให้เร็วเข้า อย่าทำอะไร ให้มันมาก
เรื่องเลย ถือหลักว่าเป็นอยู่ด้วยจิตว่าง ทำงานด้วยจิตว่างกินอาหาร
ของความว่าง เป็นอยู่เหมือนตายแล้ว นี้กระโดดมาทีเดียวอย่างนี้
เลย แล้วขอให้ เป็นอยู่อย่างนี้ อยู่เรื่อยไป ผลสุดท้าย มันจะเหลือ
เหมือนที่พูดเมื่อตะกี้ ให้เหลือประโยคเดียวว่า ทำไปเพื่อโลก ทั้ง
เทวดา และมนุษย์ นี่เหลือทำเพื่อผู้อื่น ก็แล้วกัน ทำทุกอย่างเพื่อ
ผู้อื่น เรื่องอื่นมันคิดตก หมดแล้ว ปัญหาอื่น มันตอบได้หมดแล้ว
คิดตกหมดแล้ว ในที่สุด มันเหลือแต่ว่า ทำนี่ทำไป ทำเพื่อผู้อื่น
อย่างนี้เป็น วิธีที่ดีที่สุด ที่ลัดที่สุด ที่ง่ายที่สุด ที่สะดวกที่สุด แต่ว่า
ทำเพื่อผู้อื่นของเรา ที่เราพูดกันนี้ มีความหมายมากกว่าที่คนอื่น
พูด

ที่คนอื่นเขาพูด ก็มีเยอะแยะไป ทำเพื่อผู้อื่น เป็นเรื่องศีลธรรม
เด็กๆ เด็กอมมือ ทำเพื่อผู้อื่น ลูกเสือก็มี แต่เราทำเพื่อผู้อื่นนี้
ทำเหมือนอย่าง ที่พระพุทธเจ้า ท่านว่า คือ ไม่มีตัวเรา ไม่มีตัว
เรา ศีลธรรมเด็กอมมือ ก็มีตัวกู กูทำเพื่อผู้อื่น จะได้อยู่เป็นสุข
ด้วยกัน หรือว่า เขาจะขอบใจเรา หรือว่า เราจะมีเกียรติ นั่นทำ
เพื่อผู้อื่น ของเด็กๆ แต่ทำเพื่อผู้อื่น ของพระพุทธเจ้า ของพระ
อรหันต์นั้น ก็คือว่า มันไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวกู แล้วจะทำเพื่อตัวกู
ได้อย่างไร มันทำไม่ได้ เพราะมันไม่มีตัวกู มันไม่มีตัวเรา ก็ทำ
เพื่อผู้อื่น เสียเรื่อยไปเลย กระดิกอะไรไปที่ไหน ก็เป็นประโยชน์
แก่ผู้อื่น เสียเรื่อย

นี้ก็เรียกว่า นี่คือ การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ที่สูงสุด จนเกินกว่า
ที่จะเรียกว่าวิปัสสนา หรืออะไรๆ เสียอีก เพราะว่าคำว่า วิปัสสนา
เดี๋ยวนี้มันแย่เต็มทีแล้ว เหมือนที่ผมเคยเล่าว่า ผมก็เคยถูกถาม
ไปที่ไหนก็ มักจะเคยถูกถามว่า ที่สวนโมกข์ทำวิปัสสนาไหม?
นี่คุณคิดดูผมจะตอบอย่างไร? เขาถามว่าที่สวนโมกข์ทำวิปัสสนา
กันหรือเปล่า? มีคนกล้าถามถึงอย่างนี้ ถ้าเป็นวิปัสสนาตามแบบ
ที่ผู้ถามว่า แล้วเราไม่มี เราไม่ทำด้วย ไม่อยากจะทำด้วย

วิปัสสนาตามความหมาย ที่ผู้ถามเขาถาม เราไม่อยากจะมี
ไม่อยากจะทำ แต่ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ อย่างที่ผมว่า ที่จะเป็นวิปัสสนา
หรือยิ่งกว่าวิปัสสนานี้ มันเป็นการทำในขั้นผลของวิปัสสนาเสียอีก
นี่เรามี แต่เขาไม่เรียกว่า วิปัสสนา ผู้ถามนั้นไม่เรียกว่า วิปัสสนา

เพราะว่า เขาเข้าใจว่า เป็นอย่างอื่น ต้องตั้งต้น ตั้งแต่พิธีขึ้นครู
ขึ้นครูบาอาจารย์ มีระเบียบพิธีต่างๆ ทำท่าทาง ต่างๆ เดิน
จงกรม ยุบหนอพองหนอ อะไรก็ตาม มันมากมาย ก่ายกอง
เป็นระเบียบ เป็นแบบที่ ผู้อื่นเห็นได้ เข้าใจได้ เห็นได้อย่างนี้
ก็ได้ ใครๆ จะทำก็ได้ มันก็วิปัสสนา แล้วก็ตามแบบนั้น วิปัสสนา
ตามแบบนั้น แล้วก็เป็นตามแบบของ ตัวกู เสียด้วยซ้ำไป คือ
วิปัสสนา อวดคน วิปัสสนา ทำให้คนเห็น วิปัสสนาของตัวกู มัน
ก็จะแย่ไปเหมือนกัน นี่มันเพิ่ม ตัวกู-ของกู เขายังไม่รู้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/labour157.html


วิปัสสนากรรมกร
เรื่องทำการงานนี่ เคยพูดกันมา หลายหนแล้ว ถ้ายังไม่เข้าใจ
ก็ตามใจ ทำวิปัสสนา ในการงานนี้ เราต้องการอยู่เสมอ ยังต้อง
การอยู่ จะเป็นครั้งนี้ หรือ ครั้งพุทธกาลโน้น ก็ตามใจ เรื่องมัน
เรื่องเดียว เรื่องวิปัสสนา คือ ต้องเห็นความจริง เห็นข้อเท็จจริง
เห็นความจริงที่ทำลายความเห็นแก่ตัวนี่จะจำจะจดก็จดประโยค
สั้นๆ นี้ว่า วิปัสสนาที่แท้จริง เป็นการเห็นความจริง ที่ทำลาย
ความเห็นแก่ตัว เท่านี้ก็พอแล้ว

นี่คือวิธีที่เราจะเห็นความจริง ชนิดทำลายความเห็นแก่ตัว มีอีก
หลายแบบ หลายอย่าง แล้วมันก็ไม่จำเป็น จะต้องเหมือนกัน ไป
หมด มันปรับปรุงได้ ตามกาละสมัย ข้อนี้ อย่าว่าแต่ ธรรมะเลย
แม้แต่ วินัยพระพุทธเจ้า ท่านก็ตรัสอนุญาตไว้ ว่าถ้าอันไหน ไม่
เหมาะสม จะเพิกถอนแก้ไขก็ได้ พระพุทธเจ้า ท่านตรัสอนุญาต
ไว้อย่างนี้ เมื่อจะปรินิพพาน เมื่อวันจะนิพพาน เราไม่สมัครที่จะ
แก้ไขกันเอง ฝ่ายเถรวาท ยินดีที่จะเอา ตามตัวหนังสือ ไม่แก้ไข
ดัดแปลง อะไร เหมือนพวกมหายาน ถ้าแก้ไข ก็แก้ไขได้ แต่ไม่
อยากจะแก้ไข รักษาไว้ ตามตัวหนังสือ

นี้หมายความว่า สิ่งต่างๆ นั้น ปรับปรุงแก้ไขตามควรแก่กาละ
เทศะได้ เดี๋ยวนี้ แม้พระแต่ละองค์ ก็ไม่ได้เป็นอยู่ เหมือนครั้ง
พุทธกาล เนื่องจาก โลกมันเปลี่ยนแปลง ในระหว่าง ๒,๐๐๐
กว่าปีนี้ โลกมันเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง หลายอย่าง หลาย
ประการ แต่ว่า ส่วนใหญ่ เปลี่ยนแปลง ไปในทางที่ เราจะต้อง
ทำอะไรให้มันเป็นประโยชน์มากขึ้นจะเนิบๆ เนือยอยู่ เหมือน
ครั้งพุทธกาล นั้นไม่ได้ เราทำผิด หรือทำถูก ก็ตามใจ แต่ว่า
เราทิ้งอะไรบางอย่าง จากครั้งพุทธกาลกันก็มี ในส่วนการเป็น
อยู่ หรือการทำประโยชน์ผู้อื่น อย่างนี้เราทิ้ง แต่ หลักธรรมนั้น
ทิ้งไม่ได้ นี่ หลักวิปัสสนา หลักธรรมะทิ้งไม่ได้ ต้องเป็นหลักที่
ทำลายความเห็นแก่ตัว ถอนความเห็นแก่ตัว ถอนความรู้สึกว่า
ตัว ในที่สุด อันเดียว คงไว้ ส่วนวิธีการต่างๆ ที่จะให้สำเร็จผล
ตามนั้น ก็ต้องปรับปรุงได้ ต้องเป็นสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะ
แก่ กาละสมัยได้ แล้วก็ต้องเป็นคนที่มี ความเข้าใจถูกต้อง
ในวัตถุประสงค์ ไม่คุ้มดีคุ้มร้าย เหมือนพระเหล่านี้ ผมพูดตรงๆ
เรียกว่า เขาเป็น คนคุ้มดีคุ้มร้าย มีความเห็นแก่ตัวมาก

เราถือเอาตามหลักธรรมะ ที่พระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้แล้ว มันมี
ทางมากทาง ไปอ่านดูใหม่ ในเรื่องนิมิตตายตนสูตร ทางแห่งนิมิต ๕ ประการ นั้น ไปอ่านดู ด้วยการเรียน ด้วยการฟัง ด้วยการสอน
ด้วยการคิดนึก ด้วยการ ทำความเพียร มันมีได้หลายทาง แต่ว่า
ตลอดเวลานั้น ต้องให้มี ความพอใจ ในการกระทำ ของตัว ว่าถูก
ต้อง ที่เรียกว่า ปีติ (ให้เกิดความอิ่มใจ) คือ ทำใจคอ ให้ปกติ ถ้า
ใจคอปกติ ก็เป็นสมาธิ เท่าที่จำเป็น หรือ พอเหมาะ พอดี ที่จะรู้ว่า
อะไรเป็นอะไร ไม่ใช่สมาธิ เหลือเฟือ ให้มันพอดี กับเวลา ใช้เวลา
ไม่มาก ดอก ก็จะได้ความรู้ ที่เป็น การบรรลุธรรม เป็นการตรัสรู้
ในเวลานั้น เพราะทุกอย่าง มันเป็นไปเท่าที่ ธรรมชาติ ต้องการ
พอเหมาะพอดี ไม่มากไม่เกิน

เปรียบเทียบวิธีการวิปัสสนา

ทีนี้จะยกตัวอย่างให้ฟัง ได้ง่ายๆ เหมือนกับเราหาไม้ มาเยอะแยะ
ไปหมด หาอิฐ หาปูนซิเมนต์ หาเหล็ก มาเยอะแยะไปหมด แล้วก็
ไม่ได้ใช้ ไม่ได้ทำ เพราะไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ก็มี ที่จะให้เป็นเรือน
เป็นกุฎิ อะไรขึ้นมา เพราะไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ก็มี หรือว่า เพราะ
หลงใหล แต่ในการหา สะสมไม้ สะสมอิฐ สะสมเหล็ก สะสมปูน
สะสมทัพพสัมภาระ อย่างเดียว แล้วก็ไม่ได้ทำ จนกระทั่ง ของนี้
ผุพังไปในที่สุด จนกระทั่ง สมภารนี้ก็ตายไป ไม่ได้ทำกุฎิ หรือทำ
บ้านทำเรือน ของคนชาวบ้าน นี้อย่างนี้

ทีนี้ อีกอย่างหนึ่ง ก็ตรงกันข้าม คือหาไม้มา ๔-๕ อัน ทำเข้าไป
หมด หาไม้มาอีก ๔-๕ อัน ทำเข้าไปหมด หาอิฐมา ๑๐๐-๒๐๐
ก้อน ทำเข้าไปหมด หากระเบื้องอะไร ทำเข้าไปหมด พอหมดก็
จบกัน ของก็หยุดหา อย่างนี้ก็มี นี่เรียกว่า พอดี ทำพอดี แล้วทำ
ตาม common sense ง่ายๆ คือ ตามความคิดนึกธรรมชาติ
ง่ายๆ เพราะเราไม่ได้หามาก แล้วไม่มัวหลง แต่ที่จะหาสิ่งก่อสร้าง
แล้วก็ไม่ได้สร้าง

ทำวิปัสสนา ทำอานาปานสติ แบบที่เขียนอยู่ในกระดานดำ เวลานี้
มีช่องทางที่จะเฟ้อ ในการมีสมาธิ ก็ได้ คือ มุ่งกันแต่เรื่อง มีสมาธิ
แล้วก็พยายาม ในขอบเขต ที่กว้างมากเกินไป แล้วมันก็ไม่ได้ง่ายๆ
ไม่พอง่ายๆ แล้วสมาธินั้น ก็ไม่มีวันที่จะได้ใช้ สำหรับเป็นวิปัสสนา
เพื่อพิจารณาให้เกิดญาณ อย่างนี้

ทีนี้ พวกคุ้มดีคุ้มร้าย พระคุ้มดีคุ้มร้าย เหล่านี้ ได้ยินแต่เรื่อง สมาธิ แล้วกระท่อนกระแท่น จับหลักไม่ถูก มันก็ไปทำไม่ได้ แต่มันยังมี
อยาก อยากมาก อยากจะทำให้ได้ อยากจะทำสมาธิ ให้วิเศษวิโส
กว่าใครเลย แล้วมันก็ทำไม่ได้ ก็พยายามอยู่แต่อย่างนี้ ก็เลยไม่
ได้ทำส่วนที่เป็นปัญญาได้ คือโง่ ถึงขนาดที่จะฟังคำพูดเหล่านี้
ที่ตรงนี้ ไม่เข้าใจ เมื่ออาทิตย์ก่อนมีความโง่มากขนาดนั้น จึงฟัง
คำพูด ที่เราพูดตรงนี้ อาทิตย์ก่อนนั้น ไม่เข้าใจ

ทีนี้ย้อนไปดูถึงคนบางคน เป็นฆราวาสด้วยซ้ำไป ไปเฝ้าพระ
พุทธเจ้าแล้วก็บรรลุธรรมะที่ตรงนั้นเอง บรรลุมรรคผลที่ตรง
หน้าพระพุทธเจ้า ที่ตรงนั้นเอง ไม่ได้ไปทำสมาธิที่ไหน ไม่ได้
ไปทำวิปัสสนาที่ไหน ก็บรรลุมรรคผล ที่ตรงนั้นเลย อย่างนี้มัน
เป็นอย่างไร ลองคิดดู ไม่มีเวลา ที่เกิดอาการที่ว่าจะต้องไปหา
ไม้หาไร่มาสะสมมาปลูกเรือน มาอะไรทำนองนี้

แล้วยังมีวิธีที่จะรู้ธรรมะที่จะหลุดพ้นมากๆ วิธี อย่างที่กล่าวไว้
ใน นิมิตตายตนสูตร ขอให้ไปสนใจทำให้เข้าใจจนสามารถทำ
ให้มันเป็นเรื่อง ของปัญญา ของวิปัสสนา นี้อยู่เรื่อยไป โดยไม่
ต้องคำนึงถึง สมาธิหลับตา หรือ สมาธิที่มากมาย เกินความ
จำเป็น ก็ยังทำได้ ถ้าเราพิจารณา ด้วยความ ตั้งใจจริง จะให้
มันมีแรงมากจนถึงขนาดมันเป็นสมาธิอยู่ในตัวมันเอง เรื่องนี้
เคยพูด หลายแห่ง หลายหน หลายตัวอย่างแล้ว พอเราจะตั้งใจ
จะทำการพิจารณาคือ คิด สมาธิมันก็เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
และอัตโนมัติด้วย นี่พอดีไม่มากไม่น้อย

เราเอาพวกที่เขาจัดไว้ว่า เป็น วิปัสสนาญาณิกะ ดีกว่า คือพวก
ที่เอาการพิจารณานำหน้าสมาธิ ถ้าทำเอาสมาธินำหน้าวิปัสสนา
อย่างนั้น เขาเรียกว่า สมถญาณิกะ คือทำสมาธิมากๆ มากๆ
หลายอย่างหลายแบบ จนเกิดสมาธิ จึงค่อยน้อมไปสู่ วิปัสสนา
ทีหลัง มันก็ใช้นิดเดียว นอกนั้นก็เหลือ เหลือใช้ อย่างนี้มันก็ได้
คือว่า ทำสมาธิให้มาก แล้วลากวิปัสสนาไปตาม เรียกว่า
สมถญาณิกะ นี่จัดแบ่งกันทีหลังให้ชื่อทีหลัง

ถ้าว่าเป็นวิปัสสนาญาณิกะ ก็คือเอาการคิดการพิจารณานำหน้า
เรื่อย ลงมือคิดพิจารณาเลย สมาธิถูกลากมาเอง การเพ่งพิจารณา
มันลากสมาธิตามมาเอง แล้วมันลากมาได้ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
มันไม่อาจที่จะลากมาให้มากเกินกว่าที่จำเป็นได้ นี่คือแบบวิธีที่
ลัดที่สุดของพวกที่เป็นฆราวาสหรือพวกสมัยนี้ที่จะทนไหว เขาก็
ถือกันว่าทั้ง ๒ แบบนี้ใช้ได้ แม้แต่พวกพระ พวกพระจะเลือกเอา
แบบไหนก็ได้ ผมแนะว่า อย่าหามกัน มากเกินไป แบกหามกัน
มากมายเกินไป แล้วก็ไม่รู้จะใช้อะไร นี่คือ เราเรียกว่าพวกแบบ
กระได ก็ได้ เที่ยวแบกกระไดอยู่เรื่อย แต่ไม่รู้ว่าจะไปพาดขึ้น
บ้านเรือนใครที่ไหน ไม่รู้ว่า ปราสาทอยู่ที่ไหน เที่ยวแบกกระได
อยู่เรื่อย นี่พวกทำสมาธิล้วนๆ เป็นอย่างนี้ ไม่รู้ว่าจะไปจดเข้าที่
จุดไหนสำหรับการพิจารณา

นี้อยากจะใช้ วิธีวิปัสสนานำหน้า ลากสมาธิไป คือว่า พอเพ่งคิด
เท่าไร สมาธิจะเกิดขึ้น เท่านั้น เพ่งคิดให้แรงเข้า สมาธิก็เกิด
ขึ้นแรงเข้า ตามธรรมชาติ ธรรมดา เป็นเหตุให้เขาเรียกว่า
ปัญญาวิมุตติ หลุดพ้น ด้วยอำนาจปัญญา คือทำอย่างนี้ นี่มันมี
ผลเหมือนกัน คือว่า ทำลายกิเลส เหมือนกัน เราก็เอาอย่างนี้ดี
กว่า ที่เรียกว่า ทำอย่างร่ำรวย มีผลงานมาก เพราะ พวกที่บรรลุ
ธรรมะ ตรงที่ หน้าที่นั่งของพระพุทธเจ้า ชั่วไม่กี่นาทีนั้น ก็แบบ
นี้ ทั้งนั้น มันเป็นแบบคิดพิจารณา หรือ วิปัสสนานำหน้า แต่ว่า ถ้า
เขาเป็น คนมีนิสัย มีอุปนิสัย มีจิต ลักษณะเหมาะสม ที่เขาอาจจะ
มีสมาธิ มากมาย เต็มที่ก็ได้ เขาจึงไม่ต้องการ ถ้าบรรลุธรรมะ
เป็นที่พอใจ ไม่มีความทุกข์ อะไรเสียแล้ว ก็ไม่มีใครสนใจ ที่จะ
ไปหัดสมาธิ กันทำไมอีก ทั้งๆที่ คนนั้น ถ้าไปหัดสมาธิ แล้วก็จะ
ได้ มากมายทีเดียว คนได้บรรลุธรรมะ ชนิดที่ทำความดับทุกข์
ได้ จะสนใจที่จะไปหัดสมาธิ ทำไมอีก มันก็มี บ้านเรือน อยู่พอ
สมควร แก่อัตภาพแล้ว จะไปหาไม้ หาอิฐ หาปูน อะไรมากองไว้
ทำไมอีก เป็นอย่างนี้ เป็นต้น

แล้วก็มีกรณีพิเศษ คือว่า คนที่ได้บรรลุพระอรหันต์ โดยไม่ได้
ไปทำวิปัสสนา ที่ในป่า ที่ไหน บรรลุตรงหน้าพระพุทธเจ้านั้น
เขาแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ได้ มีปฏิสัมภิทา มีอะไรต่างๆ นี้ก็เป็น
ได้ เพราะว่า จิตใจคนนั้น พิเศษมาแต่เดิม พอรู้ธรรมะในส่วน
ดับทุกข์สิ้นเชิง แล้วก็รู้เรื่องอื่น ที่เกี่ยวข้องกัน แล้วก็มีจิตใจที่
เป็นสมาธิ ขนาดแสดงฤทธิ์ได้ โดยในตัวเองได้ ไม่ต้องไปฝึก
โดยเฉพาะ

เดี๋ยวนี้ คนเรามันหมดปัญญา หมดท่าเข้า ก็เลยคว้า คว้าไป
ตามเรื่อง คว้าไปตามเรื่อง คือว่า ตามที่มีสอน มีแนะ มีสอน
อยู่กันเป็นแบบพิธีรีตอง เป็นธรรมเนียมประเพณี ฉะนั้นจึง
เรียกว่า กระท่อนกระแท่น เหมือนที่ผมเรียกเมื่อตะกี้ มัน
กระท่อนกระแท่น, กระท่อนกระแท่น เหมือนอย่างว่าในราย
ที่หาไม้ หาปูน หาเหล็ก หาสัมภาระมากๆ อย่างนี้ แล้วมัน
กระท่อนกระแท่น ก็ตรงที่ว่า ไม่มีความรู้เลยว่า จะใช้ไม้
อย่างไหน สักกี่อัน จะใช้ปูนสักเท่าไร ใช้อิฐสักเท่าไร มัน
กระท่อนกระแท่นตรงที่ หาอันนั้น มากเกินไป หาอันนี้ น้อย
เกินไป บางอย่างไม่ได้หาเลย อย่างนี้เป็นต้น ความรู้ความ
เข้าใจ เกี่ยวกับการบรรลุธรรมะ กันจริงๆ เดี๋ยวนี้ มัน
กระท่อน กระแท่น แบบนี้

ความรู้ทางปริยัตินั้น ก็กำลังขยายกันออกไป ไม่มีที่สิ้นสุด
แม้แต่ จะทำวิปัสสนานี้ ก็ต้องเรียนอภิธรรม อภิธรรมนั้น คือ
ปริยัติอย่างยิ่ง ปริยัติแห่งปริยัติทีเดียว เพราะอธิบายคำมัน
มากไป นี่ทำวิปัสสนา ก็ต้องเรียนอภิธรรม อย่างนี้เป็นต้น
แล้ว หลักสำหรับวิปัสสนานั้น เท่าที่มีอยู่ ในพระไตรปิฎก ก็
เหลือเฟือ แสนจะเหลือเฟือ ที่แท้ต้องการเพียงหลัก ในบาง
สูตร เท่านั้นก็พอแล้ว ไม่ต้องการ คำอธิบาย ทำนองปริยัติให้
มาก ออกไป เรื่องภพ เรื่องภูมิ เรื่องโลก เรื่องส่วนแยกของ
ขันธ์ ของธาติ อายตนะ จนเป็นวิทยาศาสตร์ หลับหูหลับตา
ตัวเองก็ไม่เข้าใจ ได้แต่ท่องได้ เท่านั้นเอง

วิปัสสนาแบบสวนโมกข์

ทีนี้อยากจะพูดให้เข้าเรื่องเสียที ที่เป็นปัญหาเฉพาะสำหรับ
สมัยนี้ ที่จริง ก็เคยพูด มาคราวสองคราวแล้ว ผมจำได้ ว่าใช้
วิธีที่มันเหมาะ สำหรับ คนสมัยนี้ แล้วก็ย้ำ ย้ำเป็นหลัก เป็นคำ
สำคัญ ว่า พระเณร อย่าเลวกว่า ชาวบ้าน ยังจำได้หรือเปล่า?
ว่าพระเณร อย่าเลว อย่าเหลวไหลกว่า ชาวบ้าน หมายความว่า
เมื่อชาวบ้าน ต้องทำงาน เลี้ยงลูก เลี้ยงเมีย อย่างชาวบ้าน ก็
บรรลุธรรมะได้ ดังที่ปรากฏ อยู่ในพระคัมภีร์นั้นๆ มาเฝ้าพระ
พุทธเจ้า แล้วบรรลุธรรมะ ที่ตรงนั้นได้ ทั้งที่เป็นฆราวาส และ
ฆราวาสบางคน ก็เป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อยู่ในบ้านเรือน
นับจำนวนไม่ไหว เมื่อชาวบ้าน ที่ยังทำมาหากิน เลี้ยงลูกเลี้ยง
เมีย เป็นอย่างนี้ ได้แล้ว พระเป็นไม่ได้ มันก็เรื่อง เหลวไหล
สิ้นดี ฉะนั้น อย่าอวดดิบอวดดี ให้มันมากไป นักเลย เอาแต่พอ
เหมือน ที่ชาวบ้าน เขาได้กัน ก็ดีโขอยู่แล้ว

นี่จงเกิดความคิด ที่ฉวยโอกาส เอาการงาน เป็นวิปัสสนา หรือ
ว่า เอาวิปัสสนา ในการงาน มีวิปัสสนา ในการงาน หรือว่า ทำ
การงาน ให้เป็นวิปัสสนา เสีย นี้ตั้งชื่อเสียใหม่เลยว่า วิปัสสนา
กรรมกร หรือ วิปัสสนาแบบสวนโมกข์ วิปัสสนาของเรา วิปัสสนา
แบบกรรมกร ถ้าใครถามเมื่อไรที่ไหน ก็ตอบว่า วิปัสสนาสวน
โมกข์นี้ คือ วิปัสสนา แบบกรรมกร ทำการงาน ให้เป็นวิปัสสนา
มีวิปัสสนา ในการงานนั้น แต่ต้องการงาน อย่างแบบของผม

แล้วหลักใหญ่ๆ ก็พูดอยู่แล้วว่า ต้องเป็นความ ไม่เห็นแก่ตัว
ไม่ให้ยกหู ชูหาง อย่ามีความเห็นแก่ตัว ไม่ว่าอะไร มาช่วย
กำราบอันนี้ได้ อันนั้น ใช้ได้หมด ทีนี้ การงาน ความเหน็ด
เหนื่อย ความเสียสละ นี่เป็นพื้นฐาน ถ้ายังไม่ยอมเสียสละ
แล้วมันยังเลวเกินไป มันเป็นเรือโกลน ที่ใช้ไม่ได้ แม้แต่จะ
เป็น เรือโกลน คือโกลนมาไม่ดี

ฉะนั้น อย่างน้อย ต้องมีการแสดง ความไม่เห็นแก่ตัว หรือ
ความเสียสละ ความเห็นแก่ตัว ในระดับที่เพียงพอ ให้ดูก่อน
เป็นข้อแรก แล้วจึง ขยับขยาย ให้มันยิ่งขึ้นไป โดยแนวนั้น
โดยไม่ต้อง เปลี่ยนเรื่อง ให้มันหลายเรื่อง เมื่อถือเอา การ
งานเป็นวิปัสสนา แล้วก็ให้มันเป็น วิปัสสนา เรื่อยไป จากการ
งานนั้น

เราต้องการ ให้ทำงานชนิดที่เป็น การเสียสละ จริงๆ ฉะนั้น
จึงบัญญัติไว้ชัดว่า ต้องไม่หวังอะไรตอบแทน อย่าหวังจะได้
อะไรตอบแทน อย่าหวัง จะได้คำ ขอบใจ แม้แต่คำว่า ขอบใจ
ก็อย่าหวังจะได้ ความเอาอกเอาใจ พะเน้าพนอ อะไรบางอย่าง
ก็อย่าหวังจะได้ แล้วเวลาเจ็บไข้ ถ้าสำหรับผมนี้ เป็นเจ้าของ
งานจะมีการตอบแทน อะไรบ้าง ก็ขอให้คิดว่า มันเป็นหน้าที่
ตามวินัย ที่เพื่อนสหธรรมิกด้วยกัน จะต้องช่วยเหลือคนเจ็บไข้
แต่ไม่ใช่ธรรมะ ฉะนั้น ให้คงถือ อยู่ไปตามเดิมว่า พวกที่เหน็ด
เหนื่อยนั้น ไม่ได้รับอะไรตอบแทน แม้แต่สิ่งของ แม้แต่ขอบใจ
แม้แต่ การเอาอกเอาใจ การเอาใจใส่ อย่าหวังเลย ให้มันเป็น
การกระทำ เพื่อขูดเกลา ความเห็นแก่ตัว ไปโดยส่วนเดียว
ทำงานเพื่องาน ทำงานเพื่อหน้าที่ ตามหลักจริยธรรมสากล ไป
ท่าเดียว แต่ผมเรียกว่า ทำงานด้วยจิตว่าง ไปท่าเดียว

ทีนี้ พูดถึงงานที่ทำ ไม่ใช่ต้องเป็น งานแกะสลัก หรือวาดเขียน
เหมือนกับ พระคุ้มดีคุ้มร้าย องค์นั้นพูด งานอะไรก็ได้ งานอะไร
ก็ได้ ทั้งนั้น นี่มันเป็นหลักตายตัว งานอะไรก็ได้ ขนทรายขนดิน
ขนหิน ทำอะไรก็ได้ ใช้ได้ทั้งนั้น แล้วมีหลักว่า เอาเหงื่อล้างกิเลส
ก็แล้วกัน พอผมพูด ประโยคนี้ โปรเฟสเซอร์ฝรั่ง ชูมือสูง เต้น
เร่าๆ ไม่เข้าใจ ขอให้ทำชนิดที่เอาเหงื่อล้างกิเลส ก็แล้วกัน
หมายความว่า เอาความ ไม่เห็นแก่ตัว นี่ ล้างความ เห็นแก่ตัว
ก็แล้วกัน ไม่ใช่ต้องเป็นงานนั้นงานนี้ แต่ทีนี้เมื่อต้องทำงานแล้ว
ควรจะทำงานที่ถนัด ต้องทำงานที่ถนัด ดีกว่า ทำงานที่ไม่ถนัด
เพราะทำได้ดีกว่า มันไม่เหนื่อยเปล่า มันยังได้ผลดีกว่า แล้วงาน
ที่ถนัดนี้ มันขยับขยายได้ แต่ว่าเป็นไปในทางที่จะเป็นประโยชน์
แก่พระศาสนามากที่สุด ก็แล้วกัน มันอาจจะทำอย่างอื่นก็ได้ แต่
เราจะเน้นมันมา ปรับปรุงมันมา โยงมันมา ในลักษณะที่จะเป็น
ประโยชน์แก่ศาสนาได้มากที่สุด ก็แล้วกัน

ทีนี้คนอย่างเรายังไม่มีปัญญาทำอย่างอื่น จึงคิดว่าการแสดงภาพ
เขียน หรือ ภาพสลักนี้ ดีที่สุด สำหรับเรา เวลานี้ ใช้คำว่า เวลานี้
ช่วยจำไว้ด้วย เวลาอื่น ไม่รับรอง เวลานี้ ในสภาพที่ เหมาะสมที่
สุดนี้ งานนี้ จะช่วยเผยแผ่ สิ่งที่ควรจะเผยแผ่ ได้ผลมาก เกินค่า
ของเหงื่อที่เสียไป เพราะว่างานนี้จะมีประโยชน์ทั้งในทางธรรมะ
ในทางประวัติ ในทางโบราณคดี ในทางศิลป กระทั่ง ในทาง
วัฒนธรรมของคนไทย เพราะทำให้รู้อะไรทุกอย่าง ในแง่เหล่านี้ วัฒนธรรมไทยงอกออกมาจากวัฒนธรรมอินเดียอย่างไร ถ้าคน
มีหูตาฉลาด จะดูได้จากภาพหินสลักเหล่านี้ ดูในแง่ศิลปก็ได้ ถ้า
ดูในแง่ของพุทธประวัติ ก็เห็นได้ไม่น้อยกว่าที่มีอยู่ก่อนแล้ว ใน
ประเทศไทย เพราะอย่างนี้ ยังไม่มีในประเทศไทย มันเพิ่มส่วน
ที่แปลกเข้ามา

ดูในแง่ธรรมะ ก็เรื่องความว่างนี้ ดูได้ดีกว่า เพราะเขาไม่แสดง
รูป พระพุทธเจ้า คงทิ้งเป็น ความว่าง โดยหลักว่า พระพุทธเจ้า
ที่แท้จริง ไม่ใช่สิ่งที่แสดงได้ด้วยรูป ด้วยสิ่งที่มีรูป นี่อย่างนี้ เป็น
ไปในฝ่ายธรรมะนะ

ทีนี้ประวัตินั่นประวัตินี่ ที่เป็นเรื่องราวไม่มีในหนังสือพุทธประวัติ
ที่อ่าน นี่ดูซิ มาเพิ่มเข้าอีก ในส่วนที่เป็นพุทธประวัติ แล้วในทาง
โบราณคดีทางอะไรต่างๆ ซึ่งเราพิจารณาแล้ว เห็นว่ามีประโยชน์
มาก จึงปรับปรุง ให้เหงื่อนั้น เสียไปในลักษณะอย่างนี้ นี่เรียกว่า
ยิงทีเดียวได้นกหลายตัว ทำการงาน เอาเหงื่อล้างกิเลส แล้วผล
ของเหงื่อนั้น เป็นประโยชน์ แก่เพื่อนมนุษย์ด้วย ไม่ใช่ให้แก่ตัว
เองอย่างเดียว ฉะนั้น เราถือเอา ทั้งประโยชน์ตน และประโยชน์
ท่าน และเมื่อใช้วิธีนี้ ผมว่า เหมาะที่สุด แก่โลก แก่มนุษย์ ในยุค
ปรมาณู ยิ่งกว่าจะนั่งหลับหู หลับตา ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ไปนั่งหลับ
หูหลับตา แต่กลางคืน ก็พอแล้ว นี่กลางวัน ใช้วิธี เอาเหงื่อ ล้าง
กิเลสนี้ ก็ถมไปแล้ว มันลึกซึ้งกว่า มีประโยชน์ กว้างขวางกว่า

ฉะนั้น อย่าได้คิดว่า จะหัดเขียน หัดแกะ หัดทำ นี่เพื่อจะไปเป็น
อาชีพข้างหน้า อย่างนั้น มันทำลายตัวเอง ให้ตกต่ำลงไป แล้ว
เหงื่อนั้น จะไม่ล้างกิเลส เว้นไว้เสียแต่ว่า ทำเพื่อไม่ให้หวังอะไร
ตอบแทน หวังแต่จะ ให้ผู้อื่น ได้ตะพึด นี่เรียกว่า เหมือนกับตาย
แล้ว เรานี้ตายแล้ว ฉะนั้น คำกลอน บทนั้น ยังคงใช้ได้ อยู่เสมอ
ทำงานด้วยจิตว่าง ยกผลงาน ให้ความว่าง กินอาหาร ด้วยความ
ว่าง ตายแล้วตั้งแต่ทีแรก เป็นคนตาย อย่ามี หู หัว หาง ไว้ยกกัน
อีก นี่เรียกว่า คนตาย

ทีนี้ ปัญหามันที่อยู่ว่า หัวหางนี้ มันมีสลอนไป ยกกันสลอนไป มี
ปัญหาเท่านี้ ไม่มีทางอื่น ที่จะกำราบมัน นอกจากว่า มีหลักที่จะ
ทำลาย ความเห็นแก่ตัว โดยทำตน ให้เป็นคนต่ำ ทำตนให้เป็น
คนแพ้ แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร นี้ดีที่สุด ยกหูชูหาง เมื่อไรเป็น
มารเมื่อนั้น แพ้เมื่อไร เป็นพระเมื่อนั้น

นี่เห็นได้แล้วว่า มันเกินไป เกินกว่า พระคุ้มดีคุ้มร้าย ชนิดนี้ จะ
เข้าใจ อุดมคติของเราได้ มันก็ไม่มีปัญหาอะไร ที่จะต้องพูดกับ
แก ก็เลยไม่ได้พูดอะไรสักคำเดียว กับพระ ๒-๓ องค์นี้ เพราะ
มันไม่มี ประโยชน์อะไร จะพูด แต่ถ้าคุณยังอยากจะพูด ก็อย่า
พูดอะไรให้มากนัก เว้นแต่ว่า เราสมัครเป็น กรรมกร มีวิปัสสนา
ในการงาน ปรับปรุงการงาน ให้เป็นวิปัสสนา

คำว่า กัมมัฎฐาน ก็แปลว่า การงาน กัมมัฏฐาน แปลว่า การงาน
เพราะฉะนั้น การงาน ก็เป็น กัมมัฎฐาน ได้ด้วย ถ้าว่า การงาน
นั้น ไม่เพิ่ม ความเห็นแก่ตัว

นี่ ระวัง ๆ ๆ อย่าให้การงานอะไร เพิ่มความเห็นแก่ตัว เพิ่ม
ความหวัง ที่จะได้นั่นได้นี่ ยอมเป็นผู้ สิ้นเนื้อประดาตัว อยู่ตลอด
เวลา ให้เหมือนกับ ตายแล้ว เสร็จแล้ว อยู่ตลอดเวลา ยิ่งดี เป็น
หลักง่ายๆ ที่ถือปฏิบัติได้ว่า หูหาง มันจะไม่ชูขึ้นมาได้

นี่รวมความแล้ว ผมมองเห็นไปแต่ในลักษณะอย่างนี้ว่า วิธีนี้
เท่านั้น ที่ประหยัดที่สุด ประหยัดอะไรที่สุด แล้วก็รวดเร็วที่สุด
แล้วก็ง่ายดายที่สุด แล้วก็จะไม่ให้พระนี้ เลวกว่าชาวบ้าน เหมือน
ที่พูดแล้ว โดยวิธีนี้ ฉะนั้น จึงถือว่า วิธีนี้คงจะเหมาะแล้ว สำหรับ
มนุษย์ ในยุคปรมาณูนี้ ภิกษุสามเณร ในยุคปรมาณูนี้ ใช้ไฟฉาย
โก้ๆ แทนที่จะใช้ โคมผ้าใส่จอก น้ำมันเนย มันเปลี่ยนไปเท่าไร
ฉะนั้น การงาน มันก็ต้อง เปลี่ยน บ้างซิ ที่อยู่ เป็นอย่างไร มันก็
ผิดไปกับ ครั้งพุทธกาล ในกุฎิมีอะไร มีตำราท่วมหู ท่วมหัว
สารพัดอย่าง มีเครื่องใช้ บางอย่าง ซึ่งไม่ใช่ของพระ มันก็เรียก
ว่า ผิดไปมากแล้ว สำหรับมนุษย์ ในยุคปรมาณู แล้วไปดูกุฎิ กุฎิ
อะไร ของพระเถระ เจ้าใหญ่นายโต มีอะไรผิดไป จากครั้ง
พุทธกาล มากไปกว่า พวกเรา ที่นี่ อีก เรื่องมันไปกันใหญ่แล้ว
เป็นยุคจรวดดาวเทียม ไปด้วย เหมือนกัน เพราะว่า ผู้ปฏิบัติ
ที่จะทำลายกิเลสในจิตใจ น่าปรับปรุง ให้มันทันกัน กับยุค ที่
มัน พรวดพราด แบบนี้

ฉะนั้น จึงปรับปรุงในทาง เอา การงาน เป็นวิปัสสนา มีวิปัสสนา
ในการงาน เอาเหงื่อ ล้างกิเลส มีหลักสั้นๆ ๓ แบบ วิปัสสนา
ญาณิกะ แม้แต่ จะหลุดพ้น ตามแบบ ปัญญาวิมุติ ล้วนๆ ก็ยังดี
อย่าไปหวัง ให้มากกว่านั้น แล้วอันนี้ มันเหมาะกับ ยุคดาวเทียม
มีปัญญาเพียงพอ ที่จะตัดกิเลส อยู่ทุกวัน ก็พอแล้ว การไปนั่ง
หลับตา ตามโคนต้นไม้นั้น มันก็ทำตามโอกาสเถอะ อย่าไป
มัวเมาแต่อย่างนั้นอย่างเดียว เหมือนกับพระที่ว่าแกไม่เข้าใจ
คำนี้ เราสนใจมาตั้ง ๔๐ ปี แล้ว เรื่องในคำนี้ คำคำนี้ ก่อนแก
เกิด ฉะนั้น เรื่องนี้ จึงไม่มีทางจะพูดกันรู้เรื่อง

การเป็นอยู่แบบวิปัสสนากรรมกร

วันนี้เราถือโอกาสตั้งชื่อ การเป็นอยู่แบบนี้ว่า วิปัสสนากรรมกร
คุณเห็นแล้วนี่ว่า คนที่มาที่นี่ โดยมากเขาถามว่า ที่นี่ทำ
วิปัสสนาไหม? ก็บอกเขาเลยว่า วิปัสสนากรรมกร เข้าใจ
ไม่เข้าใจ ก็ตามใจเขา เขาไม่มีเวลาที่จะฟังคำอธิบาย

เอาเหงื่อล้างกิเลส ไม่เอาเปรียบข้าวสุก ไม่เอาเปรียบข้าวสุก
ของชาวบ้าน ถ้าทำเนิบๆ นาบๆ เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ตลอดปี
ตลอดชาติ ก็ไม่เห็น ได้อะไรขึ้นมา ต้องทำจริง และรุนแรง
ทุกอย่าง ทั้งทางกาย ทั้งทางจิต ทางสติปัญญา มันจึงจะทันกัน
หรือสมกันกับ โลกในยุคดาวเทียม นี้ ขอแต่ว่า เป็นไปใน ทาง
ถูกต้อง ก็แล้วกัน เป็นไปในทาง ทำลาย ความเห็นแก่ตัว มี
เท่านั้น มีข้อเดียวเท่านั้น

ควบคุมทุกอย่าง ให้เป็นไปแต่ ในทาง ทำลาย ความเห็นแก่ตัว
นับตั้งแต่ จะกินอาหาร จะอาบน้ำ จะไปถาน ทุกอย่างแหละ ระมัด
ระวังตัว ให้ดี ให้เป็นการ ทำลายความเห็นแก่ตัว เข้าส้วมแท้ๆ
มันก็มีคนเห็นแก่ตัวแล้ว แล้วไม่ต้อง แก้ตัว พระเณร ทั้งนั้น ที่
ใช้ส้วม ไม่มีใครมาช่วย เข้าส้วม ให้เลอะเทอะ แล้วมันก็มีแต่
ความเห็นแก่ตัว เข้าแล้ว นี่เป็นตัวอย่างนะ แล้วอย่างอื่นๆ เช่น
ว่า ไม่มีความเป็น ระเบียบเรียบร้อย หรือมัน ไม่มีประโยชน์
หรืออะไร นี้ทางหนึ่ง

แล้วอีกทางหนึ่ง ทำลายประโยชน์ ให้หมดเปลืองไป โดยไม่
จำเป็น นี้ก็เป็นเรื่อง ความเห็นแก่ตัว ทางหนึ่งไม่สร้างประโยชน์
อะไรขึ้นมา ก็เป็นความเห็นแก่ตัว ทางหนึ่ง มันทำลายประโยชน์
ของผู้อื่น ที่เขาสร้างสรรค์ขึ้น หามาไว้ นี้ก็เป็นความเห็นแก่ตัว
จับจ่ายใช้สอย บางสิ่งบางอย่าง ในลักษณะที่จะยกหูชูหางของตัว
โดยไม่ประหยัด สิ่งเหล่านั้น นี่ก็เป็นเรื่อง ความเห็นแก่ตัว

ขอให้วัดทั้งวัด นี้เป็นลักษณะ เป็นนิมิต เป็นเครื่องหมายที่จะ
วัดว่า มีความเห็นแก่ตัว หรือไม่เห็นแก่ตัว แล้วให้รู้ไว้ว่า เรา
มีหลักใหญ่ๆว่า จะสร้างวัดนี้ให้พูดได้ ให้ก้อนหินพูดได้ ให้
ต้นไม้พูดได้ ให้อะไรๆ มันพูดได้ คือว่า ให้มันแสดงอะไร
ที่จับใจผู้เห็น และเกิดความรู้สึกในข้อนี้ เป็นความเงียบ
ความสงบ ความหยุด ความว่าง อะไรก็แล้วแต่

ฉะนั้น ถ้ามีทุกๆอย่าง ที่ส่อลักษณะ อย่างนั้น อย่าให้มี สกปรก
รกรุงรัง หรือเกิด ความคิดไปทางอื่น ที่เราให้ต้นไม้พูดได้ ให้
ก้อนหินพูดได้ มีความมุ่งหมายอย่างนี้ ฉะนั้น จะวางก้อนหิน
สักก้อน ก็วางให้มัน เกิดความหมาย ถ้าโง่เกินไป มันก็เป็น
บาป ของคนนั้น ไม่ใช่บาปของเรา เราวางไว้ ในลักษณะ ที่
มันจะ มีความหมาย แล้วเขา ไม่รู้ความหมาย นั้น มันไม่ใช่
บาปของเรา นั้นมันบาป ของคนที่มานั้นเอง

เดี๋ยวนี้คนส่วนมาก ก็ไม่ได้ประโยชน์ ถึงขนาดนี้ เห็นๆอยู่
แล้ว พันคน จะได้สักคนหนึ่ง เท่านั้น ที่จะรู้สึก เกิดประทับใจ
จากสิ่งต่างๆ ที่แสดงอยู่ แล้วรู้สึกว่า ความหยุด ความไม่ยึดมั่น
นี้มันดี ไม่ค่อยมีใครรู้ ไม่ใช่ว่า ก้อนหินจะมีจิต มีวิญญาณ ที่
จะคิดนึกรู้สึกอะไรได้ แต่ว่า ลักษณะบางอย่าง ที่เราอาจจะ
ถือเอาประโยชน์ได้ แล้วมันก็เป็น ประโยชน์

ในอรรถกถา มีภิกษุองค์หนึ่ง บรรลุพระอรหันต์ เพียงแต่
สักว่า เห็นดอกมะลิป่า ร่วงลงมาจากต้นนั้น ดอกมะลิป่า ไม่ใช่
มีชีวิตจิตใจ ร่วงตามธรรมดา ธรรมชาติ ของมัน แต่พระองค์นั้น
มองไปแง่ ที่มีความหมาย ไปในทางไม่เที่ยง ไม่มีความหวัง
อะไรเลยในสิ่งเหล่านี้ ในสิ่งที่เอร็ดอร่อย สวยงาม อะไรนี้
ฉะนั้นจึงเป็น พระอรหันต์ ได้ โดยเห็น สิ่งที่มันทำอะไรไป
ตามธรรมชาติ ของมัน ไม่มีจิต มีใจ อะไร

นี้เรามัน ไม่เป็นอย่างนั้น พอมีอะไรหล่น มีอะไร มันก็ไม่รู้สึก
เพราะว่า ใจเรา มันเตลิดเปิดเปิง ไปทางไหนเสียแล้ว ไม่มี
โอกาส ที่จะเห็น ดอกไม้ป่าร่วง แล้วเป็นพระอรหันต์ได้เสียแล้ว
เพราะว่า ใจของเรา กระด้าง และ เตลิดเปิดเปิง ไปไกลแล้ว
จึงเหมาะแล้ว ที่จะเอาเหงื่อ ล้างกิเลส เพราะมันมีแต่ ความ
กระด้าง มากเสียแล้ว ไม่ละเอียด ละมุนละไม เหมือนตัวอย่างนั้น

แต่ว่าโดยทั่วไปนี้ ให้มองดู มันเงียบ มันหยุด ต้นไม้นี้ มันกิน
อาหารอย่างนี้ มันกินอย่าง ไม่ยึดมั่นถือมั่น เรามันกินอาหาร
อย่างยึดมั่นถือมั่น วันนี้มีอย่างนี้ มีแกงมีกับอย่างนี้ ถึงปากไม่พูด
ก็นึกอยู่ในใจ ว่านี้อร่อย อยากจะได้อีก มีแต่กินอย่างนี้ทั้งนั้น ไม่
เหมือนต้นไม้ มันดูดซึม ไปตามธรรมชาติ ตามระเบียบ สม่ำเสมอ
ไม่มีตัวกู-ของกู เหมือนคน

ถ้าใครดูในแง่ ดังกล่าวนี้ออก ก็แปลว่า คนนั้นได้ฟัง ต้นไม้พูด
ได้ยินต้นไม้พูด นี้เป็นตัวอย่างเท่านั้น ยังมีอีกมากมาย เกี่ยวกับ
ต้นไม้ก็ดี ก้อนหินก็ดี มีอยู่มากมาย ฉะนั้นให้ดูๆ ไว้

เรามีหน้าที่ มากกว่าต้นไม้ เรามีอะไรมากกว่าต้นไม้ เราต้อง
ระมัดระวังกว่า ต้องใช้เวลา ให้มีค่ากว่า ใช้คำว่า ต้อง นี้ไม่ถูก
แต่มันก็ต้องใช้ คำ นี้ เพราะ มันกระด้าง เกินไปนัก เรียกว่า มัน
ควร "ควรกระทำ" ให้มากกว่าต้นไม้ ดีกว่าต้นไม้ อยู่ในป่า ก็ไม่
เห็นป่า ถ้าไม่มีสติปัญญา ไปนั่งโคนต้นไม้ ก็ไม่ได้ยินต้นไม้พูด
ฉะนั้น สร้างสติปัญญา ให้เพียงพอ อยู่ตรงนี้ก็จะได้ยินต้นไม้พูด
หรือว่า ได้เห็นอะไร เห็นต้นไม้ แสดงธรรม

ถ้าทำด้วย ความยึดมั่น ในรูปในแบบ ให้มันฝังตัวเข้าไปในต้นไม้
ขุดโพลง เข้าไปอยู่ มันก็ไม่รู้ ก็ไม่รู้จักต้นไม้ ไม่รู้จัก ประโยชน์
ที่จะได้จากต้นไม้

โคนไม้ หรือว่า ที่สงัดอื่นๆ ที่เขา รวมเรียกกันว่าที่ สงัด นี้ หมายถึง
สิ่งแวดล้อมจิตใจ ไปในทางหยุด ไปในทางว่าง ไปทางสงบสงัด
แต่เดี๋ยวนี้ เมื่อเรา อยู่ในป่าเสียเองแล้ว ก็ควรจะได้รับประโยชน์
อันนี้ อย่าเป็นเหมือนกับว่า มันไม่รู้สึกเสียอีก นี่เรียกว่า อยู่ในป่า
ก็ไม่เห็นป่า ฉะนั้น จงอยู่ในป่าเห็นลักษณะเห็นธรรมชาติ เห็น
ความจริงอะไรเกี่ยวกับป่า ก็เรียกว่า อยู่ในป่าแล้วก็เห็นป่า นี้ก็
ทำไปตามโอกาส

ส่วนแรงงานยังเหลือ ก็ใช้ไปในทาง ทำบทเรียน ที่ไม่เห็นแก่ตัว
นี่แรงงาน ที่เหลือ จะไปทิ้ง เสียที่ไหน? ค่าข้าวสุก ของชาวบ้าน
จะเอาไปทิ้ง เสียที่ไหน? ถ้าเรามีเวลา เหลือพอ ที่จะใช้มัน ก็ใช้
มัน ไปในทาง ที่เป็นประโยชน์ ของโลก เป็นส่วนรวม เวลาวันละ
๒-๓ ชั่วโมงก็ตามนี้ ทำสิ่งที่ มันเป็นประโยชน์ แก่โลก เป็นส่วน
รวม

การทำงานก็เพื่อประโยชน์ที่พอเหมาะพอดี

อยากจะยืนยันว่า การเขียนภาพ การสลักภาพนั้น ไม่ใช่การเขียน
ใหม่ ไม่ใช่สลักภาพ ของพระบ้าๆ บอๆ องค์ที่ว่านี้ ที่ใช้ชื่อว่า
ธรรมกาโม อย่าเห็น เป็นเพียง เรื่องเขียนภาพ หรือสลักภาพ ให้
เป็นเรื่องที่ว่า เสียสละ เพื่อประโยชน์ แก่เพื่อมนุษย์ อะไรก็ได้
อะไรถนัด ก็ทำอันนั้น ก็แล้วกัน อะไรมีค่าสูงกว่า เราเลือกเอา
อันนั้น อะไรที่เป็นประโยชน์โดยเร็ว เราเลือกเอา อันนั้นเอีก ผม
จึงบอกว่า จะเป็นงาน ทำให้มี สิ่งที่ ในประเทศไทย ยังไม่มี เพื่อ
ให้พุทธบริษัท ได้เห็น สิ่งเหล่านี้ ก็มีเท่านั้นเอง ไม่ได้หวังอะไร
มากไปกว่านั้น

ลำพังผมคนเดียว จะทำอะไรได้ หลายๆ คน ก็ช่วยกันทำ เป็น
การ ใช้แรงงาน ส่วนเหลือ ของร่างกาย ให้หมดไป แต่แล้วอย่า
ลืมว่า ในขณะนี้ ในเวลาอย่างนั้น แหละ มีวิปัสสนา ที่ต้องระวัง
ให้ดี คือ ระวังหู ระวังหาง ให้ดี อย่าให้ยกขึ้นมา เพราะเหตุนี้ มี
วิปัสสนา อยู่ที่เหงื่อไหล นั้นด้วย แล้วสำคัญเสียด้วย ดีกว่าที่ไป
นั่งตาก ลมเย็นๆ ที่โคนไม้ มันจะเคลิ้ม ไปในทางอื่น ไม่แน่นอน
ว่า มันขูดเกลา ความเห็นแก่ตัว ด้วยซ้ำไป เดี๋ยวไปหลงใหล ใน
ทางความสงบ เพลิดเพลิน แล้วนอนหลับ แบบหนึ่ง ไปเสีย ก็
ไม่ได้อะไร หรือจะทำสมาธิ กระทั่งเกิดฌาณ เกิดสมาบัติ แล้ว
มันก็จะเหลือใช้ ไม่ได้เป็นประโยชน์ ฉะนั้น เอาสมาธิ เท่าที่
จำเป็น แก่การงานของเรา

ยกตัวอย่าง เหมือนว่า เรามีเครื่องสีข้าว เล็กๆ เท่านี้ ซึ่งมัน
ต้องการ แรงฉุดสัก ๑๐ แรงม้า แล้วเราไปซื้อ เครื่องทำแรงม้า
มามาก นี้จะบ้าหรือจะดี คิดดูเท่านี้ ซื้อเครื่องทำแรงม้ามา ๑๒
แรง ที่ต้องการเพียง ๑๐ แรงม้า มันจะบ้า หรือ จะดี จึงว่า ทำให้
มันเหมาะพอดี ให้มันไปของมัน โดยธรรมชาติ แล้วมันก็พอเหมาะ
พอดี แล้วมีโอกาส ที่จะได้รับ ผลสูงสุดเต็มที่ แล้วก็เร็วกว่า จะหา
เงินไปซื้อ เครื่องทำแรงม้า มาได้ มันก็แย่นะ พอได้มา แล้วก็
ไม่มีประโยชน์อะไร ประโยชน์จริงๆ มันอยู่ตรงที่ มันสีข้าว นั้น
ให้ได้

ฉะนั้น เมื่อเรา ทำลายตัวกู-ของกู นี้ให้ได้ แม้ด้วยความรู้เท่านี้
แม้แต่ ด้วยสมาธิเท่านี้ แม้ด้วยอะไรเท่านี้ ทำไปให้ได้ นั่นแหละดี

นี่เพราะเหตุที่ ชาวบ้านเขามีสมาธิพอดี มีปัญญาพอดี เขาจึง
สามารถ บรรลุธรรมะได้ ในเพศฆราวาส เป็นพระโสดาบัน
พระสกิทาคามี ได้ หรือว่า พอไปเฝ้า พระพุทธเจ้า เดี๋ยวใจ
เป็นพระอรหันต์ได้ เพราะมันมี แรงงานพอดี มันไม่เหมือนกับ
คนบ้าๆ บอๆ มันมีอะไรแง่นี้ แง่นั้น ล้วนแต่เฟ้อ เดี๋ยวนี้ระวังให้ดี
กำลังจะเฟ้อเรื่องวิชาความรู้ ซึ่งไม่จำเป็นแล้ว แล้วเห่อตาม พวก
คนสมัยใหม่ รู้นั่น รู้นี่ มากไปแล้ว ไปรษณีย์ที่มา ผ่านผมนี้ รู้สึกว่า
เดี๋ยวนี้ กำลังจะมี เฟ้ออะไรบางอย่าง ในทางหนังสือ หนังหา
นั่นแหละ เป็นเรื่องทำลายตัว โดยที่ตัวคิดว่า จะส่งเสริมตัว แต่
เป็น เรื่องทำลายตัว โดยไม่รู้สึกตัว

เอาละ สรุปความทีว่า เราเรียก ระบบของเรา หรือ อุดมคติ
ของเรา ว่า วิปัสสนากรรมกร แต่ไม่ใช่ กรรมกรเหมือนคนอื่น
กรรมกร ที่ความว่างเลี้ยงไว้ กรรมกรของความว่าง เรียกร้อง
เอาอะไรไม่ได้ เรียกร้องเอาอะไรมาเป็น ตัวกู-ของกู ไม่ได้
เป็นของความว่างทั้งหมด แล้วอย่างน้อย ก็จะมีความเบาสบาย
ไม่แพ้ลูกสุนัข ลูกสุนัขที่กำลังเล่น มันไม่มีเป็นตัวกู-ของกู มัน
สบาย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะวิปัสสนาของท่านพุทธทาสต่างจากบางสำนักที่สอนว่า

วิปัสสนาคือ จิตนาการ

ฌานคือ การนั่งหลับตาเฉยๆ

ทุกวันนี้สาวกของสำนักนั้นยังลอยหน้าลอยตา

สั่งสอนผู้คนตามเวปหน้าตาเฉย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 23 มิ.ย. 2010, 12:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/shortbook/anapanasati.html


อานาปานสติ
(สำหรับคนทั่วไป อย่างง่าย ขั้นต้นๆ เพื่อรู้จักไว้ทีก่อน)
ในกรณีปรกติ ให้นั่งตัวตรง (ข้อกระดูกสันหลัง จดกันสนิท เต็มหน้าตัด ของมันทุกๆ ข้อ) ศีรษะตั้งตรง ตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่ง จนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นอะไรหรือไม่เห็น ก็ตามใจ ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้า ก็จะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนให้ง่วงนอน ได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะ คนขึ้ง่วง ให้ทำอย่าง ลืมตานี้ แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับ ของมันเอง ในเมื่อถึงขั้นที่ มันจะต้องหลับตา หรือจะหัดทำ อย่างหลับตาเสีย ตั้งแต่ต้น ก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้น จะมีผลดีกว่า หลายอย่าง แต่ว่า สำหรับบางคน รู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะ พวกที่ยึดถือ ในการหลับตา ย่อมไม่สามารถ ทำอย่างลืมตา ได้เลย มือปล่อยวาง ไว้บนตัก ซ้อนกัน ตามสบาย ขาขัด หรือ ซ้อนกัน โดยวิธีที่จะ ช่วยยัน น้ำหนักตัว ให้นั่งได้ถนัด และล้มยาก ขาขัด อย่างซ้อนกัน ธรรมดา หรือ จะขัดไขว้กัน นั่นแล้วแต่ จะชอบ หรือ ทำได้ คนอ้วนจะขัดขา ไขว้กันอย่างที่ เรียกขัดสมาธิเพชร นั้น ทำได้ยาก และ ไม่จำเป็น แต่ขอให้นั่งคู้ขามา เพื่อรับน้ำหนักตัว ให้สมดุลย์ ล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิ อย่างเอาจริง เอาจัง ยากๆ แบบต่างๆ นั้น ไว้สำหรับ เมื่อจะเอาจริง อย่างโยคี เถิด

ในกรณีพิเศษ สำหรับคนป่วย คนไม่ค่อยสบาย หรือ แม้แต่ คนเหนื่อย จะนั่งอิง หรือ นั่งเก้าอี้ หรือ เก้าอี้ผ้าใบ สำหรับเอนทอด เล็กน้อย หรือ นอนเลย สำหรับคนเจ็บไข้ ก็ทำได้ ทำในที่ ไม่อับอากาศ หายใจได้สบาย ไม่มีอะไรกวน จนเกินไป เสียงอึกทึก ที่ดังสม่ำเสมอ และ ไม่มีความหมาย อะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงาน เหล่านี้ ไม่เป็นอุปสรรค (เว้นแต่ จะไป ยึดถือเอาว่า เป็นอุปสรรค เสียเอง) เสียงที่มี ความหมายต่างๆ (เช่น เสียงคนพูดกัน) นั้นเป็นอุปสรรค แก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียง ไม่ได้ ก็ให้ถือว่า ไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไป ก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง

ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ ก็สามารถ รวมความนึก หรือ ความรู้สึก หรือ เรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนด จับอยู่ที่ ลมหายใจ เข้าออก ของตัวเองได้ (คนที่ชอบหลับตา ก็หลับตาแล้ว ตั้งแต่ตอนนี้) คนชอบลืมตา ลืมไปได้เรื่อย จนมันค่อยๆ หลับของมันเอง เมื่อเป็นสมาธิ มากขึ้นๆ เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในชั้นแรกหัด ให้พยายาม หายใจ ให้ยาวที่สุด ที่จะยาวได้ ด้วยการฝืน ทั้งเข้า และ ออก หลายๆ ครั้งเสียก่อน เพื่อจะได้รู้ของตัวเอง ให้ชัดเจนว่า ลมหายใจ ที่มันลาก เข้าออก เป็นทาง อยู่ภายในนั้น มันลาก ถูก หรือ กระทบ อะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่า สุดลง ที่ตรงไหน ที่ในท้อง (โดยเอาความรู้สึก ที่กระเทือน นั้น เป็นเกณฑ์ ไม่ต้อง เอาความจริง เป็นเกณฑ์) พอเป็นเครื่องกำหนด ส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้ คนธรรมดา จะรู้สึกลมหายใจ กระทบปลาย จะงอยจมูก ให้ถือเอา ตรงนั้น เป็นที่สุดข้างนอก (ถ้าคนจมูกแฟบ หน้าหัก ริมฝีปากเชิด ลมจะกระทบ ปลายริมฝีปากบน อย่างนี้ ก็ให้กำหนด เอาที่ตรงนั้น ว่าเป็นที่สุดข้างนอก) แล้วก็จะได้ จุดทั้งข้างนอก และข้างใน โดยกำหนดเอาว่า ที่ปลายจมูก จุดหนึ่ง ที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจ ได้ลากตัวมันเอง ไปมา อยู่ระหว่าง จุดสองจุด นี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ ทีนี้ ทำใจของเรา ให้เป็นเหมือน อะไรที่คอย วิ่งตามลมนั้น ไม่ยอมพราก ทุกครั้ง ที่หายใจทั้งขึ้น และลง ตลอดเวลา ที่ทำสมาธินี้ นี้จัดเป็นขั้นหนึ่ง ของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา"

กล่าวมาแล้ว่า เริ่มต้นทีเดียว ให้พยายามฝืนหายใจให้ยาวที่สุด และให้แรงๆ และหยาบที่สุด หลายๆ ครั้ง เพื่อให้พบจุดหัวท้าย แล้วพบเส้นที่ลาก อยู่ตรงกลางๆ ได้ชัดเจน เมื่อจิต(หรือสติ) จับหรือ กำหนดตัวลมหายใจ ทึ่เข้าๆ ออกๆ ได้ โดยทำความรู้สึก ที่ๆ ลมมันกระทบ ลากไป แล้วไปสุดลง ที่ตรงไหน แล้วจึงกลับเข้า หรือ กลับออก ก็ตาม ดังนี้แล้ว ก็ค่อยๆ ผ่อน ให้การหายใจนั้น ค่อยๆ เปลี่ยน เป็นหายใจอย่างธรรมดา โดยไม่ต้องฝืน แต่สตินั้น คงที่กำหนดที่ ลมได้ตลอดเวลา ตลอดสาย เช่นเดียวกับเมื่อ แกล้งหายใจหยาบๆ แรงนั้นเหมือนกัน คือกำหนด ได้ตลอดสาย ที่ลมผ่าน จากจุดข้างใน คือ สะดือ (หรือท้องส่วนล่างก็ตาม) ถึงจุดข้างนอก คือ ปลายจมูก (หรือ ปลายริมฝีปากบน แล้วแต่กรณี) ลมหายใจ จะละเอียด หรือ แผ่วลงอย่างไร สติก็คงกำหนด ได้ชัดเจน อยู่เสมอไป โดยให้การกำหนด นั้น ประณีต ละเอียด เข้าตามส่วน ถ้าเผอิญเป็นว่า เกิดกำหนดไม่ได้ เพราะลมละเอียดเกินไป ก็ให้ตั้งต้นหายใจ ให้หยาบ หรือ แรงกันใหม่ (แม้จะไม่เท่าทีแรก ก็เอาพอให้กำหนด ได้ชัดเจน ก็แล้วกัน) กำหนดกันไปใหม่ จนให้มีสติ รู้สึก อยู่ที่ ลมหายใจ ไม่มีขาดตอน ให้จนได้ คือ จนกระทั่ง หายใจอยู่ตามธรรมดา ไม่มีฝืนอะไร ก็กำหนดได้ตลอด มันยาว หรือสั้นแค่ไหน ก็รู้ มันหนัก หรือเบาเพียงไหน มันก็รู้พร้อม อยู่ในนั้น เพราะสติ เพียงแต่คอยเกาะแจอยู่ ติดตามไปมา อยู่กับลม ตลอดเวลา ทำได้อย่างนี้ เรียกว่า ทำการบริกรรม ในขั้น "วิ่งตามไปกับลม" ได้สำเร็จ การทำไม่สำเร็จนั้น คือ สติ (หรือความนึก) ไม่อยู่กับลม ตลอดเวลา เผลอเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ มันหนีไปอยู่ บ้านช่อง เรือกสวนไร่นา เสียเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ มารู้เมื่อ มันไปแล้ว และก็ไม่รู้ว่า มันไปเมื่อไหร่ โดยอาการอย่างไร เป็นต้น พอรู้ ก็จับตัวมันมาใหม่ และฝึกกันไป กว่าจะได้ ในขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที เป็นอย่างน้อย แล้วจึงค่อยฝึกขั้นต่อไป

ขั้นต่อไป ซึ่งเรียกว่า บริกรรมขั้นที่สอง หรือ ขั้น "ดักดู อยู่แต่ ตรงที่แห่งใด แห่งหนึ่ง" นั้น จะทำต่อเมื่อ ทำขั้นแรก ข้างต้นได้แล้ว เป็นดีที่สุด (หรือใคร จะสามารถ ข้ามมาทำขั้นที่สอง นี้ได้เลย ก็ไม่ว่า) ในขั้นนี้ จะให้สติ (หรือความนึก) คอยดักกำหนด อยู่ตรงที่ใด แห่งหนึ่ง โดยเลิก การวิ่งตามลมเสีย ให้กำหนดความรู้สึก เมื่อลมหายใจ เข้าไปถึง ที่สุดข้างใน (คือสะดือ) ครั้งหนึ่ง แล้วปล่อยว่าง หรือวางเฉย แล้วมากำหนด รู้สึกกัน เมื่อลมออก มากระทบ ที่สุดข้างนอก (คือปลายจมูก) อีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ปล่อยว่าง หรือ วางเฉย จนมีการกระทบ ส่วนสุดข้างใน (คือสะดือ) อีก ทำนองนี้ เรื่อยไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเป็นขณะที่ปล่อยว่าง หรือ วางเฉย นั้น จิตก็ไม่ได้หนี ไปอยู่บ้านช่อง ไร่นา หรือที่ไหน เลยเหมือนกัน แปลว่า สติคอยกำหนด ที่ส่วนสุด ข้างในแห่งหนึ่ง ข้างนอกแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้น ปล่อยเงียบ หรือ ว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว ก็เลิกกำหนด ข้างในเสีย คงกำหนด แต่ข้างนอก คือที่ปลายจมูก แห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนด อยู่แต่ที่ จะงอยจมูก ไม่ว่าลมจะกระทบ เมื่อหายใจเข้า หรือเมื่อหายใจออก ก็ตาม ให้กำหนดรู้ ทุกครั้ง สมมติเรียกว่า เฝ้าแต่ตรงที่ ปากประตู ให้มีความรู้สึก ครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่าน นอกนั้น ว่าง หรือ เงียบ ระยะกลาง ที่ว่าง หรือ เงียบ นั้น จิตไม่ได้หนี ไปอยู่ที่บ้านช่อง หรือที่ไหน อีกเหมือนกัน ทำได้อย่างนี้ เรียกว่า ทำบริกรรมในขั้น "ดักอยู่แต่ ในที่แห่งหนึ่ง" นั้น ได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จ ก็ตรงที่จิตหนีไป เสียเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไป ในประตู หรือ เข้าประตูแล้ว ลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่าง หรือ เงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้อง และทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้น ของขั้นนี้ เพราะฉะนั้น ควรทำให้ดี หนักแน่น และแม่นยำ มาตั้งแต่ขั้นแรก คือ ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นั้นทีเดียว

แม้ขั้นต้นที่สุด หรือที่เรียกว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย สำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ ก็มีผลเกินคาดมาแล้ว ทั้งทางกายและทางใจ จึงควรทำให้ได้ และทำให้เสมอๆ จนเป็นของเล่น อย่างการบริหารกาย มีเวลา สองนาทีก็ทำ เริ่มหายใจ ให้แรงจนกระดูกลั่น ก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีด หรือ ซูดซาด ก็ได้ แล้วค่อยผ่อน ให้เบาไปๆ จนเข้า ระดับปรกติ ของมัน ตามธรรมดาที่คนเราหายใจ อยู่นั้น ไม่ใช่ระดับปรกติ แต่ว่า ต่ำกว่า หรือ น้อยกว่าปรกติ โดยไม่รู้สึกตัว โดยเฉพาะ เมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรือ อยู่ในอิริยาบถ ที่ไม่เป็นอิสระ นั้น ลมหายใจของตัวเอง อยู่ในลักษณะ ที่ต่ำกว่าปรกติ ที่ควรจะเป็น ทั้งที่ตนเอง ไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้น จึงให้เริ่มด้วย หายใจอย่างรุนแรง เสียก่อน แล้วจึงค่อยปล่อย ให้เป็นไป ตามปรกติ อย่างนี้ จะได้ลมหายใจ ที่เป็นสายกลาง หรือ พอดี และทำร่างกาย ให้อยู่ในสภาพ ปรกติด้วย เหมาะสำหรับ จะกำหนด เป็นนิมิต ของอานาปานสติ ในขั้นต้น นี้ด้วย ขอย้ำ อีกครั้งหนึ่งว่า การบริกรรมขั้นต้น ที่สุดนี้ ขอให้ทำ จนเป็นของเล่นปรกติ สำหรับทุกคน และทุกโอกาสเถิด จะมีประโยชน์ ในส่วนสุขภาพ ทั้งทางกาย และทางใจ อย่างยิ่ง แล้วจะเป็น บันได สำหรับขั้นที่สอง ต่อไปอีกด้วย

แท้จริง ความแตกต่างกัน ในระหว่างขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" กับขั้น "ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ" นั้น มีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่เป็นการ ผ่อนให้ประณีตเข้า คือ มีระยะ การกำหนดด้วยสติ น้อยเข้า แต่คงมีผล คือ จิตหนีไปไม่ได้ เท่ากัน เพื่อให้เข้าใจง่าย จะเปรียบกับ พี่เลี้ยง ไกวเปลเด็ก อยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรก จับเด็กใส่ลงในเปล แล้วเด็กมันยัง ไม่ง่วง ยังคอยจะดิ้น หรือ ลุกออกจากเปล ในขั้นนี้ พี่เลี้ยง จะต้องคอย จับตาดู แหงนหน้าไปมา ดูเปล ไม่ให้วางตาได้ ซ้ายที ขวาที อยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เด็ก มีโอกาสตกลงมา จากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอน คือ ไม่ค่อยดิ้นรนแล้ว พี่เลี้ยง ก็หมดความจำเป็น ที่จะต้อง แหงนหน้าไปมา ซ้ายทีขวาที ตามระยะ ที่เปลไกวไป ไกวมา พี่เลี้ยง คงเพียงแต่ มองเด็ก เมื่อเปลไกว มาตรงหน้าตน เท่านั้น ก็พอแล้ว มองแต่เพียง ครั้งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกว ไปมา ตรงหน้าตน พอดี เด็กก็ไม่มีโอกาส ลงจากเปล เหมือนกัน เพราะ เด็กชักจะยอมนอน ขึ้นมา ดังกล่าวมาแล้ว ระยะแรก ของการบริกรรม กำหนดลมหายใจ ในขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นี้ ก็เปรียบกันได้กับ ระยะที่พี่เลี้ยง ต้องคอยส่ายหน้า ไปมา ตามเปลที่ไกว ไม่ให้วางตาได้ ส่วนระยะที่สอง ที่กำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูก หรือที่เรียกว่า ขั้น "ดักอยู่ แห่งใดแห่งหนึ่ง" นั้น ก็คือ ขั้นที่ เด็กชักจะง่วง และยอมนอน จนพี่เลี้ยง จับตาดูเฉพาะ เมื่อเปลไกว มาตรงหน้าตน นั่นเอง

เมื่อฝึกหัด มาได้ถึง ขั้นที่สอง นี้อย่างเต็มที่ ก็อาจฝึกต่อไป ถึงขั้นที่ ผ่อนระยะการกำหนดของสติ ให้ประณีตเข้าๆ จนเกิดสมาธิ ชนิดที่แน่วแน่ เป็นลำดับไป จนถึงเป็นฌาณ ขั้นใด ขั้นหนึ่ง ได้ ซึ่งพ้นไปจาก สมาธิอย่างง่ายๆ ในขั้นต้นๆ สำหรับ คนธรรมดาทั่วไป และไม่สามารถ นำมากล่าว รวมกัน ไว้ในที่นี้ เพราะเป็นเรื่อง ที่ละเอียด รัดกุม มีหลักเกณฑ์ ซับซ้อน ต้องศึกษากัน เฉพาะผู้สนใจ ถึงขั้นนั้น

ในชั้นนี้ เพียงแต่ขอให้สนใจ ในขั้นมูลฐาน กันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็น ของเคยชิน เป็นธรรมดา อันอาจจะ ตะล่อมเข้าเป็น ชั้นสูงขึ้นไป ตามลำดับ ในภายหลัง ขอให้ ฆราวาสทั่วไป ได้มีโอกาส ทำสมาธิ ชนิดที่อาจทำ ประโยชน์ทั้ง ทางกาย และทางใจ สมความต้องการ ในขั้นต้น เสียชั้นหนึ่งก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้ชื่อว่า มีศีล สมาธิ ปัญญา ครบสามประการ หรือ มีความเป็น ผู้ประกอบตนอยู่ใน มรรคมีองค์แปดประการ ได้ครบถ้วน แม้ในขั้นต้น ก็ยังดีกว่า ไม่มีเป็นไหนๆ กายจะระงับ ลงไปกว่า ที่เป็นอยู่ ตามปรกติ ก็ด้วยการฝึกสมาธิ สูงขึ้นไป ตามลำดับๆ เท่านั้น และจะได้พบ "สิ่งที่มนุษย์ ควรจะได้พบ" อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ไม่เสียที ที่เกิดมา.



[/url]


อานาปานสติ
(สำหรับคนทั่วไป อย่างง่าย ขั้นต้นๆ เพื่อรู้จักไว้ทีก่อน)
ในกรณีปรกติ ให้นั่งตัวตรง (ข้อกระดูกสันหลัง จดกันสนิท เต็มหน้าตัด ของมันทุกๆ ข้อ) ศีรษะตั้งตรง ตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่ง จนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นอะไรหรือไม่เห็น ก็ตามใจ ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้า ก็จะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนให้ง่วงนอน ได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะ คนขึ้ง่วง ให้ทำอย่าง ลืมตานี้ แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับ ของมันเอง ในเมื่อถึงขั้นที่ มันจะต้องหลับตา หรือจะหัดทำ อย่างหลับตาเสีย ตั้งแต่ต้น ก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้น จะมีผลดีกว่า หลายอย่าง แต่ว่า สำหรับบางคน รู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะ พวกที่ยึดถือ ในการหลับตา ย่อมไม่สามารถ ทำอย่างลืมตา ได้เลย มือปล่อยวาง ไว้บนตัก ซ้อนกัน ตามสบาย ขาขัด หรือ ซ้อนกัน โดยวิธีที่จะ ช่วยยัน น้ำหนักตัว ให้นั่งได้ถนัด และล้มยาก ขาขัด อย่างซ้อนกัน ธรรมดา หรือ จะขัดไขว้กัน นั่นแล้วแต่ จะชอบ หรือ ทำได้ คนอ้วนจะขัดขา ไขว้กันอย่างที่ เรียกขัดสมาธิเพชร นั้น ทำได้ยาก และ ไม่จำเป็น แต่ขอให้นั่งคู้ขามา เพื่อรับน้ำหนักตัว ให้สมดุลย์ ล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิ อย่างเอาจริง เอาจัง ยากๆ แบบต่างๆ นั้น ไว้สำหรับ เมื่อจะเอาจริง อย่างโยคี เถิด

ในกรณีพิเศษ สำหรับคนป่วย คนไม่ค่อยสบาย หรือ แม้แต่ คนเหนื่อย จะนั่งอิง หรือ นั่งเก้าอี้ หรือ เก้าอี้ผ้าใบ สำหรับเอนทอด เล็กน้อย หรือ นอนเลย สำหรับคนเจ็บไข้ ก็ทำได้ ทำในที่ ไม่อับอากาศ หายใจได้สบาย ไม่มีอะไรกวน จนเกินไป เสียงอึกทึก ที่ดังสม่ำเสมอ และ ไม่มีความหมาย อะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงาน เหล่านี้ ไม่เป็นอุปสรรค (เว้นแต่ จะไป ยึดถือเอาว่า เป็นอุปสรรค เสียเอง) เสียงที่มี ความหมายต่างๆ (เช่น เสียงคนพูดกัน) นั้นเป็นอุปสรรค แก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียง ไม่ได้ ก็ให้ถือว่า ไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไป ก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง

ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ ก็สามารถ รวมความนึก หรือ ความรู้สึก หรือ เรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนด จับอยู่ที่ ลมหายใจ เข้าออก ของตัวเองได้ (คนที่ชอบหลับตา ก็หลับตาแล้ว ตั้งแต่ตอนนี้) คนชอบลืมตา ลืมไปได้เรื่อย จนมันค่อยๆ หลับของมันเอง เมื่อเป็นสมาธิ มากขึ้นๆ เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในชั้นแรกหัด ให้พยายาม หายใจ ให้ยาวที่สุด ที่จะยาวได้ ด้วยการฝืน ทั้งเข้า และ ออก หลายๆ ครั้งเสียก่อน เพื่อจะได้รู้ของตัวเอง ให้ชัดเจนว่า ลมหายใจ ที่มันลาก เข้าออก เป็นทาง อยู่ภายในนั้น มันลาก ถูก หรือ กระทบ อะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่า สุดลง ที่ตรงไหน ที่ในท้อง (โดยเอาความรู้สึก ที่กระเทือน นั้น เป็นเกณฑ์ ไม่ต้อง เอาความจริง เป็นเกณฑ์) พอเป็นเครื่องกำหนด ส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้ คนธรรมดา จะรู้สึกลมหายใจ กระทบปลาย จะงอยจมูก ให้ถือเอา ตรงนั้น เป็นที่สุดข้างนอก (ถ้าคนจมูกแฟบ หน้าหัก ริมฝีปากเชิด ลมจะกระทบ ปลายริมฝีปากบน อย่างนี้ ก็ให้กำหนด เอาที่ตรงนั้น ว่าเป็นที่สุดข้างนอก) แล้วก็จะได้ จุดทั้งข้างนอก และข้างใน โดยกำหนดเอาว่า ที่ปลายจมูก จุดหนึ่ง ที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจ ได้ลากตัวมันเอง ไปมา อยู่ระหว่าง จุดสองจุด นี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ ทีนี้ ทำใจของเรา ให้เป็นเหมือน อะไรที่คอย วิ่งตามลมนั้น ไม่ยอมพราก ทุกครั้ง ที่หายใจทั้งขึ้น และลง ตลอดเวลา ที่ทำสมาธินี้ นี้จัดเป็นขั้นหนึ่ง ของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา"

กล่าวมาแล้ว่า เริ่มต้นทีเดียว ให้พยายามฝืนหายใจให้ยาวที่สุด และให้แรงๆ และหยาบที่สุด หลายๆ ครั้ง เพื่อให้พบจุดหัวท้าย แล้วพบเส้นที่ลาก อยู่ตรงกลางๆ ได้ชัดเจน เมื่อจิต(หรือสติ) จับหรือ กำหนดตัวลมหายใจ ทึ่เข้าๆ ออกๆ ได้ โดยทำความรู้สึก ที่ๆ ลมมันกระทบ ลากไป แล้วไปสุดลง ที่ตรงไหน แล้วจึงกลับเข้า หรือ กลับออก ก็ตาม ดังนี้แล้ว ก็ค่อยๆ ผ่อน ให้การหายใจนั้น ค่อยๆ เปลี่ยน เป็นหายใจอย่างธรรมดา โดยไม่ต้องฝืน แต่สตินั้น คงที่กำหนดที่ ลมได้ตลอดเวลา ตลอดสาย เช่นเดียวกับเมื่อ แกล้งหายใจหยาบๆ แรงนั้นเหมือนกัน คือกำหนด ได้ตลอดสาย ที่ลมผ่าน จากจุดข้างใน คือ สะดือ (หรือท้องส่วนล่างก็ตาม) ถึงจุดข้างนอก คือ ปลายจมูก (หรือ ปลายริมฝีปากบน แล้วแต่กรณี) ลมหายใจ จะละเอียด หรือ แผ่วลงอย่างไร สติก็คงกำหนด ได้ชัดเจน อยู่เสมอไป โดยให้การกำหนด นั้น ประณีต ละเอียด เข้าตามส่วน ถ้าเผอิญเป็นว่า เกิดกำหนดไม่ได้ เพราะลมละเอียดเกินไป ก็ให้ตั้งต้นหายใจ ให้หยาบ หรือ แรงกันใหม่ (แม้จะไม่เท่าทีแรก ก็เอาพอให้กำหนด ได้ชัดเจน ก็แล้วกัน) กำหนดกันไปใหม่ จนให้มีสติ รู้สึก อยู่ที่ ลมหายใจ ไม่มีขาดตอน ให้จนได้ คือ จนกระทั่ง หายใจอยู่ตามธรรมดา ไม่มีฝืนอะไร ก็กำหนดได้ตลอด มันยาว หรือสั้นแค่ไหน ก็รู้ มันหนัก หรือเบาเพียงไหน มันก็รู้พร้อม อยู่ในนั้น เพราะสติ เพียงแต่คอยเกาะแจอยู่ ติดตามไปมา อยู่กับลม ตลอดเวลา ทำได้อย่างนี้ เรียกว่า ทำการบริกรรม ในขั้น "วิ่งตามไปกับลม" ได้สำเร็จ การทำไม่สำเร็จนั้น คือ สติ (หรือความนึก) ไม่อยู่กับลม ตลอดเวลา เผลอเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ มันหนีไปอยู่ บ้านช่อง เรือกสวนไร่นา เสียเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ มารู้เมื่อ มันไปแล้ว และก็ไม่รู้ว่า มันไปเมื่อไหร่ โดยอาการอย่างไร เป็นต้น พอรู้ ก็จับตัวมันมาใหม่ และฝึกกันไป กว่าจะได้ ในขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที เป็นอย่างน้อย แล้วจึงค่อยฝึกขั้นต่อไป

ขั้นต่อไป ซึ่งเรียกว่า บริกรรมขั้นที่สอง หรือ ขั้น "ดักดู อยู่แต่ ตรงที่แห่งใด แห่งหนึ่ง" นั้น จะทำต่อเมื่อ ทำขั้นแรก ข้างต้นได้แล้ว เป็นดีที่สุด (หรือใคร จะสามารถ ข้ามมาทำขั้นที่สอง นี้ได้เลย ก็ไม่ว่า) ในขั้นนี้ จะให้สติ (หรือความนึก) คอยดักกำหนด อยู่ตรงที่ใด แห่งหนึ่ง โดยเลิก การวิ่งตามลมเสีย ให้กำหนดความรู้สึก เมื่อลมหายใจ เข้าไปถึง ที่สุดข้างใน (คือสะดือ) ครั้งหนึ่ง แล้วปล่อยว่าง หรือวางเฉย แล้วมากำหนด รู้สึกกัน เมื่อลมออก มากระทบ ที่สุดข้างนอก (คือปลายจมูก) อีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ปล่อยว่าง หรือ วางเฉย จนมีการกระทบ ส่วนสุดข้างใน (คือสะดือ) อีก ทำนองนี้ เรื่อยไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเป็นขณะที่ปล่อยว่าง หรือ วางเฉย นั้น จิตก็ไม่ได้หนี ไปอยู่บ้านช่อง ไร่นา หรือที่ไหน เลยเหมือนกัน แปลว่า สติคอยกำหนด ที่ส่วนสุด ข้างในแห่งหนึ่ง ข้างนอกแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้น ปล่อยเงียบ หรือ ว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว ก็เลิกกำหนด ข้างในเสีย คงกำหนด แต่ข้างนอก คือที่ปลายจมูก แห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนด อยู่แต่ที่ จะงอยจมูก ไม่ว่าลมจะกระทบ เมื่อหายใจเข้า หรือเมื่อหายใจออก ก็ตาม ให้กำหนดรู้ ทุกครั้ง สมมติเรียกว่า เฝ้าแต่ตรงที่ ปากประตู ให้มีความรู้สึก ครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่าน นอกนั้น ว่าง หรือ เงียบ ระยะกลาง ที่ว่าง หรือ เงียบ นั้น จิตไม่ได้หนี ไปอยู่ที่บ้านช่อง หรือที่ไหน อีกเหมือนกัน ทำได้อย่างนี้ เรียกว่า ทำบริกรรมในขั้น "ดักอยู่แต่ ในที่แห่งหนึ่ง" นั้น ได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จ ก็ตรงที่จิตหนีไป เสียเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไป ในประตู หรือ เข้าประตูแล้ว ลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่าง หรือ เงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้อง และทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้น ของขั้นนี้ เพราะฉะนั้น ควรทำให้ดี หนักแน่น และแม่นยำ มาตั้งแต่ขั้นแรก คือ ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นั้นทีเดียว

แม้ขั้นต้นที่สุด หรือที่เรียกว่า ขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย สำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ ก็มีผลเกินคาดมาแล้ว ทั้งทางกายและทางใจ จึงควรทำให้ได้ และทำให้เสมอๆ จนเป็นของเล่น อย่างการบริหารกาย มีเวลา สองนาทีก็ทำ เริ่มหายใจ ให้แรงจนกระดูกลั่น ก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีด หรือ ซูดซาด ก็ได้ แล้วค่อยผ่อน ให้เบาไปๆ จนเข้า ระดับปรกติ ของมัน ตามธรรมดาที่คนเราหายใจ อยู่นั้น ไม่ใช่ระดับปรกติ แต่ว่า ต่ำกว่า หรือ น้อยกว่าปรกติ โดยไม่รู้สึกตัว โดยเฉพาะ เมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรือ อยู่ในอิริยาบถ ที่ไม่เป็นอิสระ นั้น ลมหายใจของตัวเอง อยู่ในลักษณะ ที่ต่ำกว่าปรกติ ที่ควรจะเป็น ทั้งที่ตนเอง ไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้น จึงให้เริ่มด้วย หายใจอย่างรุนแรง เสียก่อน แล้วจึงค่อยปล่อย ให้เป็นไป ตามปรกติ อย่างนี้ จะได้ลมหายใจ ที่เป็นสายกลาง หรือ พอดี และทำร่างกาย ให้อยู่ในสภาพ ปรกติด้วย เหมาะสำหรับ จะกำหนด เป็นนิมิต ของอานาปานสติ ในขั้นต้น นี้ด้วย ขอย้ำ อีกครั้งหนึ่งว่า การบริกรรมขั้นต้น ที่สุดนี้ ขอให้ทำ จนเป็นของเล่นปรกติ สำหรับทุกคน และทุกโอกาสเถิด จะมีประโยชน์ ในส่วนสุขภาพ ทั้งทางกาย และทางใจ อย่างยิ่ง แล้วจะเป็น บันได สำหรับขั้นที่สอง ต่อไปอีกด้วย

แท้จริง ความแตกต่างกัน ในระหว่างขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" กับขั้น "ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ" นั้น มีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่เป็นการ ผ่อนให้ประณีตเข้า คือ มีระยะ การกำหนดด้วยสติ น้อยเข้า แต่คงมีผล คือ จิตหนีไปไม่ได้ เท่ากัน เพื่อให้เข้าใจง่าย จะเปรียบกับ พี่เลี้ยง ไกวเปลเด็ก อยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรก จับเด็กใส่ลงในเปล แล้วเด็กมันยัง ไม่ง่วง ยังคอยจะดิ้น หรือ ลุกออกจากเปล ในขั้นนี้ พี่เลี้ยง จะต้องคอย จับตาดู แหงนหน้าไปมา ดูเปล ไม่ให้วางตาได้ ซ้ายที ขวาที อยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เด็ก มีโอกาสตกลงมา จากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอน คือ ไม่ค่อยดิ้นรนแล้ว พี่เลี้ยง ก็หมดความจำเป็น ที่จะต้อง แหงนหน้าไปมา ซ้ายทีขวาที ตามระยะ ที่เปลไกวไป ไกวมา พี่เลี้ยง คงเพียงแต่ มองเด็ก เมื่อเปลไกว มาตรงหน้าตน เท่านั้น ก็พอแล้ว มองแต่เพียง ครั้งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกว ไปมา ตรงหน้าตน พอดี เด็กก็ไม่มีโอกาส ลงจากเปล เหมือนกัน เพราะ เด็กชักจะยอมนอน ขึ้นมา ดังกล่าวมาแล้ว ระยะแรก ของการบริกรรม กำหนดลมหายใจ ในขั้น "วิ่งตามตลอดเวลา" นี้ ก็เปรียบกันได้กับ ระยะที่พี่เลี้ยง ต้องคอยส่ายหน้า ไปมา ตามเปลที่ไกว ไม่ให้วางตาได้ ส่วนระยะที่สอง ที่กำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูก หรือที่เรียกว่า ขั้น "ดักอยู่ แห่งใดแห่งหนึ่ง" นั้น ก็คือ ขั้นที่ เด็กชักจะง่วง และยอมนอน จนพี่เลี้ยง จับตาดูเฉพาะ เมื่อเปลไกว มาตรงหน้าตน นั่นเอง

เมื่อฝึกหัด มาได้ถึง ขั้นที่สอง นี้อย่างเต็มที่ ก็อาจฝึกต่อไป ถึงขั้นที่ ผ่อนระยะการกำหนดของสติ ให้ประณีตเข้าๆ จนเกิดสมาธิ ชนิดที่แน่วแน่ เป็นลำดับไป จนถึงเป็นฌาณ ขั้นใด ขั้นหนึ่ง ได้ ซึ่งพ้นไปจาก สมาธิอย่างง่ายๆ ในขั้นต้นๆ สำหรับ คนธรรมดาทั่วไป และไม่สามารถ นำมากล่าว รวมกัน ไว้ในที่นี้ เพราะเป็นเรื่อง ที่ละเอียด รัดกุม มีหลักเกณฑ์ ซับซ้อน ต้องศึกษากัน เฉพาะผู้สนใจ ถึงขั้นนั้น

ในชั้นนี้ เพียงแต่ขอให้สนใจ ในขั้นมูลฐาน กันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็น ของเคยชิน เป็นธรรมดา อันอาจจะ ตะล่อมเข้าเป็น ชั้นสูงขึ้นไป ตามลำดับ ในภายหลัง ขอให้ ฆราวาสทั่วไป ได้มีโอกาส ทำสมาธิ ชนิดที่อาจทำ ประโยชน์ทั้ง ทางกาย และทางใจ สมความต้องการ ในขั้นต้น เสียชั้นหนึ่งก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้ชื่อว่า มีศีล สมาธิ ปัญญา ครบสามประการ หรือ มีความเป็น ผู้ประกอบตนอยู่ใน มรรคมีองค์แปดประการ ได้ครบถ้วน แม้ในขั้นต้น ก็ยังดีกว่า ไม่มีเป็นไหนๆ กายจะระงับ ลงไปกว่า ที่เป็นอยู่ ตามปรกติ ก็ด้วยการฝึกสมาธิ สูงขึ้นไป ตามลำดับๆ เท่านั้น และจะได้พบ "สิ่งที่มนุษย์ ควรจะได้พบ" อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ไม่เสียที ที่เกิดมา.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 23 มิ.ย. 2010, 12:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/shortbook/anapanasati.html


เรียนธรรมะ


เรียนธรรมะ อย่าตะกละ ให้เกินเหตุ

จะเป็นเปรต หิวปราชญ์ เกิดคาดหวัง

อย่าเรียนอย่าง ปรัชญา มัวบ้าดัง

เรียนกระทั่ง ตายเปล่า ไม่เข้ารอย



เรียนธรรมะ ต้องเรียน อย่างธรรมะ

เรียนเพื่อละ ทุกข์ใหญ่ ไม่ท้อถอย

เรียนที่ทุกข์ ที่มีจริง ยิ่งเข้ารอย

ไม่เลื่อนลอย มองให้เห็น ตามเป็นจริง



ต้องตั้งตน การเรียน ที่หูตา ฯลฯ

สัมผัสแล้ว เกิดเวทนา ตัณหาวิ่ง

ขึ้นมาอยาก เกิดผู้อยาก เป็นปากปลิง

“เรียนรู้ยิง ตัณหาดับ นับว่าพอ” ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/freethinkbook/meditation.html


วันคืนแห่งกรรมฐาน
(จดหมายในสวนโมกข์ฯ)
ภิกษุ ผู้อาศัยอยู่ ในสวนโมกข์ฯ ไม่มีการพบ และสนทนากัน ในสมัยภาวนา หาก
จะมีข้อบอกเล่าแก่กัน ก็ใช้การเขียนใส่กระดาษ ทิ้งไว้ให้กันตามสถานกลาง เช่น
ที่อ่านหนังสือ เป็นต้น จึงมีจดหมายที่เขียน เต็มไปด้วย ข้อธรรม หรือวิธีปฏิบัติ
ธรรม บางอย่าง เราจะเสาะแสวง มาลงเผยแผ่ ในหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา
เป็นพิเศษเสมอ. -บ.พ.

กระต็อบ ๒, สวนโมกข์ฯ,
๒๑ สิงหาคม ๒๔๗๗

สาสนปัชโชตภิกขุ ที่นับถือ.

ผมอยากจะซ้อม หรือ ย้ำความเข้าใจ ในหลักการฝึกภาวนา สำหรับ ฐานะ
อย่างเราๆ ด้วยกัน อีกว่า ขอให้มีการคิด (วิปัสสนา) ให้มากที่สุด อย่าสงบ
(สมถะ) เสียตะพืด หรือ มากจนเกินควร เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า ไม่มี
ใครเคย บรรลุวิมุตติ ด้วยการสงบเลย บรรลุด้วย การคิด จนปลงตก ทั้งนั้น
ปลงตก คือ เห็นทะลุ แจ้งฉาน ซึมซาบใจ ในสิ่งนั้น จริงอยู่ ที่หลักธรรม
บ่งว่า สมถะอยู่หน้า วิปัสสนาอยู่ข้างหลัง, แต่ถ้าเราไม่ก้าวหน้า เราจะไป
ได้อย่างไร? สมถะจำเป็นแต่ในเมื่อวิตก ชั่วร้าย รบกวน ถ้ามัน ไม่รบกวน
แล้ว อย่าไปคิดถึง สมถะ เลย เว้นไว้แต่ คิดแล้วมัน ฟุ้งเกินไป เท่านั้น เรามี
สมถะ ไว้กำราบเมื่อฟุ้ง ดีกว่า นอนใจ ใช้ให้ ทำหน้าที่ ข่มอย่างเดียว
อกุศลวิตก ที่เกิดขึ้น ถ้าข่มได้ด้วย สมถะ ก็ต้อง ข่มกัน เรื่อยไป สู้ทำลาย
มันเสียให้ แหลกละเอียด ด้วยการคิด *(คือ วิปัสสนา) ไม่ได้. อีกอย่างหนึ่ง
สมถะ หรือ สมาธิ เอาไว้เป็น การเข้าอยู่ พักผ่อน เพื่อความสุข ในบางคราว
เท่านั้น ก็ได้, ถ้ายังมีหน้าที่ ทำลายกิเลส แล้ว จงจำไว้ว่า ต้อง
"วิปัสสนา" เท่านั้น สมถะ ไม่ให้สำเร็จประโยชน์ ถึงที่สุดได้

ก็เมื่อ เสนาสนะ ของเรา สงัดดีพอ วิสภาคารมณ์ ต่างๆ ก็มีน้อย ถึงปานนี้แล้ว
สมถะ ส่วนซึ่ง จำเป็นเฉพาะ เสนาสนะคลุกคลี มี วิสภาคารมณ์ มากนั้น ก็เกือบ
ไม่จำเป็นสำหรับเรา ผมใคร่ครวญ เรื่องนี้ เป็นอย่างมาก ทั้งวิธี เจริญสมาธิ
ของต่างประเทศ หรือ ฝ่ายมหายาน เขาฝึกใจ ด้วยการข่ม หรือ ทรมานกัน
แต่ในเบื้องต้น เป็นส่วนน้อย จะให้ได้ผลดี ต้องคิดให้ตกไป ในเรื่องนั้นๆ
สมาธิ เป็นเหมือน เอาของหนัก ทับความชั่ว ไว้ ส่วนปัญญา หรือ วิปัสสนา
เป็นการ ตัดต้นไฟ ได้แก่ การขุดทิ้ง รื้อทิ้ง ทีเดียว สมถะ ย่อม ชวนเพลิน และ
เป็นความสุข ก็จริง แต่เป็นอันตราย ต่อเมื่อ เปลี่ยนสถานที่ หรือ กระทบ
วิสภาคารมณ์ สมถะ ที่ได้ อุคคหนิมิต หรือ ปฏิภาคนิมิต จะมีอำนาจ ต่อเมื่อ
เจริญ สำเร็จ ได้คล่องแคล่ว ตามปรารถนา และ อาจสู้รบ วิสภาคารมณ์ได้
เช่น เราจำ อุคคหนิมิต ของอสุภ อันหนึ่งได้สำเร็จ พออารมณ์ ยั่วยวนผ่าน
เรานึกนิมิต นั้นมาเป็นรั้ว เช่นนี้ ย่อมสำเร็จผลดี แต่ขอให้เข้าใจว่า นั่นไม่ใช่
กิริยาแห่งสมถะ (สงบ) แท้ เป็นตัววิปัสสนาส่วนหนึ่งทีเดียว ขอให้สังเกตให้มาก.

เราไม่พึงเชื่อ ลัทธิ เกี่ยวกับ ความสงบ ชนิดยึดมั่นถือมั่น อย่างโบราณ บางอย่าง
ซึ่งไม่ได้ผลแท้จริง เป็นเกณฑ์ หรือ เครื่องวัด เขาเอาพิธี และกิริยาอาการ หรือ
ของแปลกๆ เป็นเครื่องวัด ผลที่ได้ จึงไม่ตรงตามที่ทรงประสงค์ ขอจงสังเกตดู
ในบาลีให้มาก จะเห็นได้ว่า ไม่มีกล่าวถึงวิธีของสมถะนัก, แต่มามี อย่างวิตถาร
ในคัมภีร์ ชั้นหลังๆ ส่วนที่กล่าวทำนอง วิปัสสนา ย่อมมีดาษดื่นทีเดียว อย่าลืมว่า
เราต้องการพ้นทุกข์ เราต้องมุ่งเฉพาะ สิ่งที่ดับทุกข์ได้ และสิ่งนั้น เราต้องคิดเห็น
ได้เอง อย่างประจักษ์ใจ ไม่ต้องเชื่ออารมณ์ผู้สอนกรรมฐานดายไป ผู้สำเร็จสมาธิ
หรือ สมาบัติ ยังเข้าตะรางได้ ส่วนผู้มีวิปัสสนาจะไม่เข้าตะรางเลย พวกเราหวัง
ปัญญาวิมุตติ ไม่หวังเจโตวิมุตติ

ผมมั่นใจว่า คุณเป็นนักค้นคว้า และเห็นแก่การศึกษาแท้ ผมจึงพูดตรงๆ ชนิดที่
ไม่พูดกะ คนทั่วไป เพราะจะเป็นผลร้าย ขออย่าให้เชื่อดายไป ในพิธีแห่งสมาธิ
ที่สืบกันมา อย่างปรัมปรา ด้วยการทำตามๆ กันก็ดี หรือด้วยหนังสือบางเล่มก็ดี
จงเลือกเอา เฉพาะที่ไว้ใจได้ และใคร่ครวญ เห็นเหตุผลเสียก่อน จึงยึดเอา เป็น
หลักในใจ ข้อสำคัญ อยู่ที่การ ใคร่ครวญ เท่านั้น

วิธีที่ผมชอบ ในบัดนี้ คือ สติสัมปชัญญะ เป็นตัวยาม ระวังเหตุให้แก่ใจอยู่เสมอ
ทุกข์, บาปอกุศล, ลามกธรรม, อันใดผ่านมา เป็นต้นว่า ความกำหนัด ความอาลัย
ระลึกถึง ความห่วงใย ความหงุดหงิด ความมึนชา ฯลฯ ผ่านมา แม้เล็กน้อย
สติสัมปชัญญะ ที่บำรุงฝึกฝนไว้ จะเป็นผู้จับมันส่งไปยังกองปัญญา (วิปัสสนา)
ทันที, ค้นหาว่า นี่มันมาอย่างไรกัน? อะไรเป็นเหตุ? อะไรเป็นผล? จะให้เกิด
อะไรขึ้นบ้าง? ทำลายมัน ได้อย่างไร ในกาลต่อไป? ป้องกันอย่างไร? แล้วก็
กระทำโดยวิธีนั้นๆ นี่แหละ ควรเป็น ความเป็นอยู่ วันหนึ่งๆ ของนักภาวนา
ตามที่ผมเข้าใจ และเห็นว่าดีที่สุด การฆ่ากิเลส ที่เข้ามาติดตาข่าย ของเรา
เสมอไป ทุกครั้ง นั่นคือ "พระนิพพาน" น้อยๆ ของเราทุกครั้ง นิพพานแห่ง
กิเลส! อริยมรรคน้อยๆ ก็ตัด กิเลส ตัวน้อยๆ ขุดราก ของมัน ออกทีละน้อยๆ
เราได้หน่วง อริยผล ทีละน้อยๆ เสมอไปทุกคราว, จะได้ ไปถึงไหน แล้วนั้น
อย่าคิดเลย คิดอย่างเดียว โดดๆ คือ เราจะก้าวหน้า เรื่อยไป เท่านั้น ก็พอแล้ว
เมื่อเห็นว่า กิริยา เช่นนี้ ขูดเกลา กิเลสแล้ว เป็นลงมือ ทันที เพราะฉะนั้น จึง
ขอเตือน คุณผู้ที่ผมถือเป็นน้องชาย โดยพรรษาอายุ ว่า อย่าทำลายเวลา ให้
หมดไปด้วย "การสงบตะพึด" เสียท่าเดียว มันจะไม่เป็นการก้าวหน้า และจะ
ถอยหลัง ในเมื่อ รสชาติ แห่งความสงบ มันจืดจางลง เพราะยังเป็น โลกิยะ

ที่ทวารทั้ง ๖ เฉพาะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ควรขึงตาข่าย ไว้พอสมควร
เสนาสนะ ของเรา สงัดพอแล้ว และเราก็ ตัดการคลุกคลี ลงไปแล้ว เป็น
อย่างมาก ตลอดถึง อาหาร ก็ปราศจากโทษ ยังเหลือแต่ ทวารที่ ๖ คือ
ใจ นี่แหละสำคัญนัก จงขึงตาข่าย กล่าวคือ สติสัมปชัญญะ ให้ละเอียด
ถี่ยิบทีเดียว เพราะศัตรูที่ลอดเข้าไปถึงด่านนี้ย่อมตัวเล็กมาก ต้องทำกะมัน
โดยแยบคาย สำหรับคุณ มีบางอย่าง เยี่ยมกว่าผม เช่น กำลังใจ เป็นต้น
จึงขอให้คุณ ตั้งหน้า พยายาม ให้เต็มที่เถิด จะต้องสำเร็จแน่นอน ไม่ต้อง
นึกถึงว่า เรียนมามาก เรียนมาน้อย ข้อนั้น ไม่สู้สำคัญ ในการจับกิเลสฆ่า
ข้อนั้น มีประโยชน์ สำหรับ การบำเพ็ญ ประโยชน์ ผู้อื่น เท่านั้น และควรทำ
แต่บางคน หรือ บางส่วนที่ควรทำ

สำหรับ การคิด, ถ้าไม่แยบคาย ก็ดูเหมือน จะไม่มีอะไรคิด ดูนั่น ก็ไม่เป็นเรื่อง
นี่ก็ไม่เป็นเรื่อง เอาทีเดียว แต่ถ้าคิด ให้แยบคายแล้ว มีมากถมไป คอยคิดแต่
เรื่องในใจของตน วันหนึ่ง ก็พอแล้ว คิดหาเหตุผล ลงไป เป็นชั้นๆ มันมี
หลายร้อย หลายพันชั้น นัก คิดได้ลึกเท่าใด ก็ยิ่งวิเศษ เพราะจะรื้อรากของมัน
ได้มากๆ นี่ผมกล่าวเฉพาะเรื่องแห่งความทุกข์ และการดับทุกข์ ปัญหา นิพพาน
คืออะไร? นี่คิดได้ทุกวัน มีแง่ให้คิด กระทั่ง ทุกอิริยาบถ จนเมื่อฉัน ดื่ม ไปถาน
ไปดูปลาในสระ ฯลฯ ก็ล้วนแต ่มีแง่ สำหรับคิด ทั้งนั้น พระพุทธองค์ ทรงเห็น
สิ่งต่างๆ แล้ว คิดตีปัญหานั้น เรื่อยๆ จนทะลุปรุโปร่ง ไปหมด ก็เพราะทรงคิด
มาแล้ว เป็นอย่างมาก นั่นเอง คิดมา ก่อนตรัสรู้! คิดมาแต่ชาติก่อน! การคิดได้
มารวบรวม เหตุผล ตัดสินเป็นหนึ่ง เด็ดขาด ลงไปในวันตรัสรู้ เพราะถึงที่สุด
แห่งความคิด แต่เพียงนั้น เท่านั้นแล้ว ตอนแรก ทรงค้นคว้า เรื่อยๆ มาว่า อะไร
คือทุกข์, อะไรให้เกิดทุกข์, อะไรดับทุกข์ได้, อะไรให้ถึง ความดับทุกข์นั้น? เมื่อ
รวบรวมเหตุผล ได้มากพอ ก็ทรงพบความจริงอันนี้ ถูกต้องคงที่ ไม่แปรปรวนอีก.

พวกเราเป็นสาวกของพระพุทธองค์ จะไม่เดินตามรอยพระยุคลบาท อย่างไรเล่า
ถึงเราจะไม่เป็นพระพุทธเจ้าก็จริง แต่เราต้องรู้อริยสัจ อย่างเดียวกับที่พระองค์รู้
เพื่อความสิ้นทุกข์ ของเรา เราต้องพยายาม แต่เรื่องนี้ เท่านั้น เพราะฉะนั้น เรา
ต้องคิด ต้องมีการคิดค้นคว้า พร้อมกับ การทดลอง ทำดูด้วย ในสิ่งที่ทำได้ เช่น
ข้อที่ทรงกล่าวว่า ทำอย่างนี้ๆ ช่วยเหลือในการคิดให้ดำเนินเป็นผลสำเร็จ โดยเร็ว.
ศีล, ธุดงค์, สมาธิ เป็นเพียง อุปกรณ์ แห่งการคิด ข้อสำคัญ ตัวจริง อยู่ที่ การคิด
เพราะฉะนั้น เป็นอัน สรุปความ ได้ว่า "วันคืนแห่งกรรมฐาน คือการคิด!" หาใช่
ความสงบรำงับ หาความสุข เกิดแต่ วิเวก ตะพึด ไปอย่างเดียวไม่. อาการสงบ
เคร่งขรึม มีผู้เลื่อมใส นิยมมาก ก็จริง แต่ผลสำคัญ อยู่ที่การคิด เราสงบ เพื่อให้
คิดได้ลึกซึ้ง ไม่ใช่ เมื่อสงบก็พอแล้ว อาจกล่าว เป็นหลัก ได้ว่า ถ้าตามธรรมดาเรา
เป็น ผู้ที่คิดได้ เต็มที่ โดยไม่ใช่ เป็นนัก ราคจริต หรือ โทสจริตแล้ว เราก้าวหน้า
การคิดอย่างเดียวก็พอ การคิดตกแล้วนั่นแหละ กลับเป็นอาวุธสำหรับทำลายราคะ
โทสะ โมหะ ที่แม้ ยังไม่เคยผ่าน ออกมาปรากฏ แก่ใจเลย (อนุสัย) เมื่อคิดตกแล้ว
สิ่งต่างๆ อันเป็นความชั่ว ก็พลอย ตกไป หมดสิ้น การคิดตก มีมากน้อย เป็นขั้นๆ
แต่ไม่ค่อยมีใครนึกกี่คนดอกว่า นั่นแหละคือสิ่งที่เราเรียกกันเสียว่า บรรลุมรรคผล
จึงทำให้เราไม่เห็นเต็มที่ในคุณค่าของการคิดให้ตก คิดตกหมดก็บรรลุพระนิพพาน
นั่นเอง

วันคืนแห่งกรรมฐานที่แท้จริง คือ วันคืนแห่งการคิด! **

พ. อินทปัญโญ.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมฐานคือการปฏิบัติ

การนับว่าจิตมีกี่ดวง

จิตดวงไหนเป็น กุศล อกุศล หรือไม่เป็นทั้งกุศลอกุศล

อย่างที่คนเรียนอภิธรรมมาแต่ไม่เข้าใจอภิธรรมชอบอ้าง

ไม่สมารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติกรรมฐานได้เลย

เพราะอภิธรรมคือการวิเคราะห์เชิงตำรา

มิใช่หลักการปฏิบัติ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
กรรมฐานคือการปฏิบัติ
การนับว่าจิตมีกี่ดวง
จิตดวงไหนเป็น กุศล อกุศล หรือไม่เป็นทั้งกุศลอกุศล
อย่างที่คนเรียนอภิธรรมมาแต่ไม่เข้าใจอภิธรรมชอบอ้าง
ไม่สมารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติกรรมฐานได้เลย
เพราะอภิธรรมคือการวิเคราะห์เชิงตำรา
มิใช่หลักการปฏิบัติ


พระอภิธรรม 42000 พระธรรมขันธ์ มีไว้สำหรับ ผู้ที่มีปัญญาน้อย ต้องสั่งสมสุตตะ ให้มาก ต้องสอนมาก
เช่น พวก เนยยะบุคคล. คนเหล่านี้ ท่านเหล่านี้ หากไม่ได้ผู้สั่งผู้สอนโดยละเอียด ย่อมไม่อาจเข้าใจสภาวะธรรม ได้. จะสังเกตุว่า พระอภิธรรม จะมีรายละเอียดมาก มีการจำกัดความมาก เพราะเหตุนี้.

ผู้มีปัญญามาก จะรู้ว่า จิตใดเป็นกุศล เป็นกุศลด้วยเหตุใด สภาวะใด
แต่ผู้มีปัญญาน้อย จำต้องบอกต้องกล่าวต้องแสดง เพื่อให้รู้ตามเห็นตาม อย่างนี้ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาของผู้ทำสังคยนา.

ดังนั้น ผู้มีปัญญาน้อย จึงสามารถที่จะนำ ปัญญาอันเกิดขึ้นจากสุตตะ ไปทำปริญญา ไปเจริญภาวนาในการปฏิบัติกรรมฐานได้จริง.

ดังนั้น อภิธรรม ไม่ใช่การวิเคราะห์เชิงตำราอย่างที่เข้าใจ ตามที่ท่านพุทธทาสบอกว่าอภิธรรมเฝือ นั่นเป็นความเข้าใจผิดของท่านพุทธทาส

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
กรรมฐานคือการปฏิบัติ
การนับว่าจิตมีกี่ดวง
จิตดวงไหนเป็น กุศล อกุศล หรือไม่เป็นทั้งกุศลอกุศล
อย่างที่คนเรียนอภิธรรมมาแต่ไม่เข้าใจอภิธรรมชอบอ้าง
ไม่สมารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติกรรมฐานได้เลย
เพราะอภิธรรมคือการวิเคราะห์เชิงตำรา
มิใช่หลักการปฏิบัติ


พระอภิธรรม 42000 พระธรรมขันธ์ มีไว้สำหรับ ผู้ที่มีปัญญาน้อย ต้องสั่งสมสุตตะ ให้มาก ต้องสอนมาก
เช่น พวก เนยยะบุคคล. คนเหล่านี้ ท่านเหล่านี้ หากไม่ได้ผู้สั่งผู้สอนโดยละเอียด ย่อมไม่อาจเข้าใจสภาวะธรรม ได้. จะสังเกตุว่า พระอภิธรรม จะมีรายละเอียดมาก มีการจำกัดความมาก เพราะเหตุนี้.

ผู้มีปัญญามาก จะรู้ว่า จิตใดเป็นกุศล เป็นกุศลด้วยเหตุใด สภาวะใด
แต่ผู้มีปัญญาน้อย จำต้องบอกต้องกล่าวต้องแสดง เพื่อให้รู้ตามเห็นตาม อย่างนี้ เป็นนิรุติปฏิสัมภิทาของผู้ทำสังคยนา.

ดังนั้น ผู้มีปัญญาน้อย จึงสามารถที่จะนำ ปัญญาอันเกิดขึ้นจากสุตตะ ไปทำปริญญา ไปเจริญภาวนาในการปฏิบัติกรรมฐานได้จริง.

ดังนั้น อภิธรรม ไม่ใช่การวิเคราะห์เชิงตำราอย่างที่เข้าใจ ตามที่ท่านพุทธทาสบอกว่าอภิธรรมเฝือ นั่นเป็นความเข้าใจผิดของท่านพุทธทาส


คุณเช่นนั้นมีความคิดเห็นอย่างไรกับ

ปัญญาที่เกิดจากการสุตะ

กับปัญญาที่เกิดจากการโยนิโสมนสิการครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
คุณเช่นนั้นมีความคิดเห็นอย่างไรกับ
ปัญญาที่เกิดจากการสุตะ
กับปัญญาที่เกิดจากการโยนิโสมนสิการครับ


สุตตมยปัญญา
ไม่มีโยนิโสมนสิการปัญญา

แต่ปัญญาอันเกิดขึ้นเพราะการพิจารณาใคร่ครวญ สิ่งที่ได้ฟังจากพระอริยะ แล้วนำไปปฏิบัติ
คือญาณแต่ละอย่าง แต่ละประการ

เช่น สีลมยญาณ ภาวนามยญาณ ฯลฯ

ในขณะแห่งการทำกิจ เพื่อให้เกิดสุตตะที่ดี ก็ยังมี โยนิโสมนสิการ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 23 มิ.ย. 2010, 15:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
คุณเช่นนั้นมีความคิดเห็นอย่างไรกับ
ปัญญาที่เกิดจากการสุตะ
กับปัญญาที่เกิดจากการโยนิโสมนสิการครับ


สุตตมยปัญญา
ไม่มีโยนิโสมนสิการปัญญา

แต่ปัญญาอันเกิดขึ้นเพราะการพิจารณาใคร่ครวญ สิ่งที่ได้ฟังจากพระอริยะ แล้วนำไปปฏิบัติ
คือญาณแต่ละอย่าง แต่ละประการ

เช่น สีลมยญาณ ภาวนามยญาณ ฯลฯ

ในขณะแห่งการทำกิจ เพื่อให้เกิดสุตตะที่ดี ก็ยังมี โยนิโสมนสิการ



ผมพูดไว้ชัดเจนครับว่า

อ้างคำพูด:
กับปัญญาที่เกิดจากการโยนิโสมนสิการครับ


เช่นนั้นพูดเองครับว่า

สุตตมยปัญญา
ไม่มีโยนิโสมนสิการปัญญา



ทีนี้มาถึงหลักการครับ

แต่ปัญญาอันเกิดขึ้นเพราะการพิจารณาใคร่ครวญ สิ่งที่ได้ฟังจากพระอริยะ แล้วนำไปปฏิบัติ
คือญาณแต่ละอย่าง แต่ละประการ



ขอถามเป็นความรู้ต่อครับว่า

ญาณกับปํญญาเหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ




ขอต่อท้ายนิดเดียว

ค้านที่เช่นนั้นบอกว่าคนมีปํญญาน้อยต้องเรียนอภิธรรม

ผมไม่เห็นด้วยแน่นอน

ผมว่าคนที่เรียนอภิธรรมรู้เรื่องต้องเป็นอัฉริยะต่างหาก

ระดับอริยะบุคคลนั่นแหละถึงจะเข้าใจ

แค่จิตเรื่องเดียวเช่นนั้นเรียนรู้เรื่องแล้วหรือ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ขอต่อท้ายนิดเดียว

ผมว่าคนที่เรียนอภิธรรมรู้เรื่องต้องเป็นอัฉริยะต่างหาก
ระดับอริยะบุคคลนั่นแหละถึงจะเข้าใจ
แค่จิตเรื่องเดียวเช่นนั้นเรียนรู้เรื่องแล้วหรือ

ขอถามเป็นความรู้ต่อครับว่า

ญาณกับปํญญาเหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ



อัจฉริยะ ฟังธรรมเพียงหัวข้อ ก็เข้าใจทุกอย่าง
คนปัญญาน้อย ต้องเรียนให้มาก ให้ละเอียด
พระธรรม มีไว้สอนแก่ปุถุชน ให้เป็นอริยะบุคคล

ญาณสำเร็จเพราะ ปัญญา

สมัยนี้ เรียกญาณ ว่า องค์ความรู้
องค์ความรู้ กลั่นออกมาจากปัญญา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 23 มิ.ย. 2010, 17:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุข
มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวก
เทพเหล่าสุภกิณหา ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติ ข้อที่สาม ฯ
ปัญญา ๓ อย่าง
๑. เสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ]
๒. อเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ]
๓. เนวเสกขานาเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่
ของพระอเสขะก็ไม่ใช่] ฯ
ปัญญาอีก ๓ อย่าง
๑. จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด]
๒. สุตมยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง]
๓. ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม] ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ติกนิเทศ
[๘๐๔] ในญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลมิ
ได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่
เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ย่อมได้อนุโลมิกญาณ
ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ
อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา
สุตมยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลได้
ฟังจากผู้อื่นแล้ว จึงได้กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่เที่ยง
ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ
ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด ซึ่งมี
ลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา
ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร