วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 18:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




anggulimala1001.jpg
anggulimala1001.jpg [ 29.81 KiB | เปิดดู 5412 ครั้ง ]
พระองคุลิมาลเปล่งอุทาน


[๕๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลไปในที่ลับเร้นอยู่ เสวยวิมุติสุข เปล่งอุทานนี้ใน
เวลานั้นว่า
ก็ผู้ใด เมื่อก่อน ประมาท ภายหลัง ผู้นั้น ไม่ประมาท เขา
ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดังพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น
ผู้ใด ทำกรรมอันเป็นบาปแล้ว ย่อมปิดเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้น
ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น
ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมขวนขวายในพระพุทธศาสนา
ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ
ฉะนั้น ขอศัตรูทั้งหลายของเรา จงฟังธรรมกถาเถิด ขอศัตรูทั้ง
หลายของเรา จงขวนขวายในพระพุทธศาสนาเถิด ขอมนุษย์ทั้ง
หลายที่เป็นศัตรูของเรา จงคบสัตบุรุษผู้ชวนให้ถือธรรมเถิด
ขอจงคบความผ่องแผ้วคือขันติ ความสรรเสริญคือเมตตาเถิด
ขอจงฟังธรรมตามกาล และจงกระทำตามธรรมนั้นเถิด ผู้ที่เป็น
ศัตรูนั้น ไม่พึงเบียดเบียนเราหรือใครๆ อื่นนั้นเลย ผู้ถึงความ
สงบอย่างยิ่งแล้ว พึงรักษาไว้ซึ่งสัตว์ที่สะดุ้งและที่มั่นคง คนทด
น้ำ ย่อมชักน้ำไปได้ ช่างศร ย่อมดัดลูกศรได้ ช่างถาก ย่อมถาก
ไม้ได้ ฉันใด บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมทรมานตนได้ ฉันนั้น คน
บางพวก ย่อมฝึกสัตว์ ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้
บ้าง เราเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงฝึกแล้ว โดยไม่ต้องใช้อาญา
ไม่ต้องใช้ศาตรา เมื่อก่อน เรามีชื่อว่าอหิงสกะ แต่ยังเบียดเบียน
สัตว์อยู่ วันนี้ เรามีชื่อตรงความจริง เราไม่เบียดเบียนใครๆ เลย
เมื่อก่อน เราเป็นโจร ปรากฏชื่อว่าองคุลิมาล ถูกกิเลสดุจ
ห้วงน้ำใหญ่พัดไป มาถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแล้ว เมื่อก่อน
เรามีมือเปื้อนเลือด ปรากฏชื่อว่า องคุลิมาล ถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะ จึงถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพเสียได้ เรากระทำ
กรรมที่จะให้ถึงทุคติเช่นนั้นไว้มาก อันวิบากของกรรมถูกต้อง
แล้ว เป็นผู้ไม่มีหนี้ บริโภคโภชนะ พวกชนที่เป็นพาลทราม
ปัญญา ย่อมประกอบตามซึ่งความประมาท ส่วนนักปราชญ์
ทั้งหลาย ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์อัน
ประเสริฐ ฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงอย่าประกอบตามซึ่งความ
ประมาท อย่าประกอบตามความชิดชมด้วยสามารถความยินดี
ในกาม เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งอยู่ ย่อมถึงความสุข
อันไพบูลย์ การที่เรามาสู่พระพุทธศาสนานี้นั้น เป็นการมาดีแล้ว
ไม่ปราศจากประโยชน์ ไม่เป็นการคิดผิด บรรดาธรรมที่พระผู้
มีพระภาคทรงจำแนกไว้ดีแล้ว เราก็ได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐ
สุดแล้ว (นิพพาน) การที่เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดนี้
นั้น เป็นการถึงดีแล้ว ไม่ปราศจากประโยชน์ ไม่เป็นการคิด
ผิด วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำ
แล้วดังนี้.

จบ อังคุลิมาลสูตร ที่ ๖.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๘๒๓๗ - ๘๔๕๑. หน้าที่ ๓๕๘ - ๓๖๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b48: :b48: :b48:
:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 27 มี.ค. 2010, 22:35, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y4775273-7.jpg
Y4775273-7.jpg [ 13.72 KiB | เปิดดู 5360 ครั้ง ]
กัณฑ์ที่ ๕๔
พุทธอุทานคาถา
๑๐ ธันวาคม ๒๔๙๗
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ


ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
ยโต ขยํ ปจฺจายานํ อเวทิ
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ
สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติฯ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y4775273-7.jpg
Y4775273-7.jpg [ 13.72 KiB | เปิดดู 5357 ครั้ง ]
ณ บัดนี้ อาตมาภาพจะได้แสดงพุทธอุทานคาถา วาจาเครื่องกล่าว ความเปล่งขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่ลึกลับ ผู้แสดงก็ยากที่จะแสดง ผู้ฟังก็ยากที่จะฟัง เพราะเป็นธรรมอันลุ่มลึกสุขุมนัก เพราะเป็นอุทานคาถาของพระองค์เอง ไม่ใช่ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งไปทูลถามแต่อย่างหนึ่งอย่างใด พระองค์เมื่อเบิกบานพระฤหทัยโดยประการใด ก็เปล่งโดยประการนั้น ก็เปล่งอุทานคาถาขึ้นเป็นของลึกลับอย่างนี้เหตุนี้เราเป็นผู้ได้ฟังอุทานคาถาในวันนี้ เป็นบุญลาภอันประเสริฐล้ำเลิศ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้เป็นนิเขปคาถาว่า


ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่

อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป

ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ
เพราะมารู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ นี่พระคาถาหนึ่ง

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป

ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ
เพราะได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย นี้เป็นคาถาที่ ๒

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรอยู่

วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ
พราหมณ์นั้นกำจัดมารและเสนาเสียได้หยุดอยู่

สูโรว โภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ
ดุจดังดวงอาทิตยุ์ทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น นี้เป็นคาถาที่ ๓
สามพระคาถาด้วยกันดังนี้เพียงเท่านี้
ธรรมะเท่านี้เหมือนฟังแขกฟังฝรั่งพูด ฟังจีนพูด เราไม่รู้จักภาษา ถ้ารู้จักภาษาแขก ภาษาฝรั่ง เราก็รู้ นี่ก็ฉันนั้นแหละ คล้ายกันอย่างนั้น ฟังแล้วเหมือนไม่ฟัง มันลึกซึ้งอย่างนี้ จะอรรถาธิบายขยายเนื้อความคำในพระคาถาสืบไป



แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 29 มี.ค. 2010, 10:26, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y4775273-7.jpg
Y4775273-7.jpg [ 13.72 KiB | เปิดดู 5353 ครั้ง ]
คำว่า ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ นี่เราก็รู้คำว่าธรรมทั้งหลายนะคืออะไร
รูปก็เป็นธรรม นามก็เป็นธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นรูป เป็นนาม ก็เป็นธรรมเหมือนกัน

:b42: :b42: :b42: ธรรมทั้งหลายนั่นคือ :b42: :b42: :b42:

กุสลา ธมฺมา ธรรมฝ่ายดี มีเท่าใดหมดพระไตรปิฎก ไม่มีชั่วเข้าไปเจือปนระคนเลย
เรียกว่า กุสลา ธมฺมา


ธรรมที่ชั่วคือตรงกับบาลีว่า อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายนี้ชั่ว ไม่มีดีเข้าไปเจือปนเลย ชั่วทั้งสิ้นทีเดียว นี้เรียกว่า อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่ชั่ว


ธรรมทั้งหลายที่ไม่ดีไม่ชั่ว ดีไม่เข้าไปเจือปน ชั่วก็ไม่เข้าไปเจือปน ไม่ดีไม่ชั่ว เป็นกลางๆ อยู่ดังนี้ นั้นเรียกว่า อพฺยากตา ธมฺมา

นี่เป็นมาติกาแม่บททั้งสามนี้หมดทั้งสากลพุทธศาสนา ธรรมมีเท่านี้ กว้างนักจบพระไตรปิฎกมากมายนัก
พระพุทธเจ้าจะมาตรัสเทศนาเท่าใด ในอดีตมีมากน้อยเท่าใดๆ เมื่อรวมธรรมแล้วก็ได้เท่านี้
พระพุทธเจ้ามาตรัสในปัจจุบันนี้ ถ้ารวมธรรมได้เท่านี้
พระพุทธเจ้าจะมาตรัสในอนาคตภายเบื้องหน้าก็รวมธรรมได้เท่านี้
ย่อลงไปว่า ดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว

สามอย่างนี้เท่ากัน
ดีเป็นธรรมฝ่ายดี
ชั่วเป็นธรรมฝ่ายชั่ว
ไม่ดีไม่ชั่วเป็นธรรมฝ่ายไม่ดีไม่ชั่ว

นี่คำว่าธรรมทั้งหลาย เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่

ประสงค์ธรรมอะไรตรงนี้ประสงค์ธรรมขาว เมื่อผู้ที่เพียรเพ่งอยู่ก็คล้ายกับคนนอนหลับ
นอนหลับถูกส่วนเข้าแล้วละก็ฝัน เรื่องฝันทีเดียวคราวนี้ ไม่ใช่เรื่องของมนุษย์เท่านี้ เรื่องของกายมนุษย์ละเอียดฝัน นอนหลับแล้วก็ฝัน ว่าฝันเรื่องมันสนุกสนานเหมือนกัน
กายมนุษย์นี้มีสิทธิทำได้เท่าใด พูดได้เท่าใด คิดได้เท่าใด อ้ายกายที่ฝันนั้น ก็มีสิทธิ์ทำได้เท่านั้น พูดได้เท่านั้น คิดได้เท่านั้น ไม่แปลกกว่ากันเลย แต่ว่าคนละเรื่อง นี่คนละชั้น อย่างนี้นะ นี่คนละชั้นเสียแล้ว
เรื่องฝันนี่ เพราะกายมนุษย์ฝัน ไอ้กายที่มนุษย์ฝันนั่นแหละเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด นั่นเขาก็สว่างไสวเหมือนกายมนุษย์นี้แบบเดียวกัน กายฝันนะทำได้เท่ามนุษย์นี้เหมือนกัน
ไอ้กายมนุษย์ที่ฝันไปนั่นแหละ ฝันไปทำงานทำการเพลินไปอีกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าไปนอนหลับฝันไปอีก
ฝันในฝันเข้าไปอีกชั้นแบบเดียวกันออกไปเป็น กายทิพย์ว่องไวอีกเหมือนกัน
กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดที่ฝันชั้นที่หนึ่งนั้น ทำหน้าที่ได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยกายได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยวาจาได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยใจได้เท่าใด กายทิพย์ที่ฝันในฝันออกไปนั้นก็ทำหน้าที่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ทำกายได้เท่านั้น ทำวาจาได้เท่านั้น ทำใจได้เท่านั้นเหมือนกันแบบเดียวกัน นี้คนละเรื่อง
อีกเรื่องหนึ่งถ้าฝันในฝันแล้วก็เรารวนทันที ถ้าฝันแล้วฝันเฉยๆ แล้วก็ไม่รวนเข้ามาใกล้กายมนุษย์ นี่คนละเรื่องอย่างนี้


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 29 มี.ค. 2010, 10:13, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




p27.jpg
p27.jpg [ 44.01 KiB | เปิดดู 5353 ครั้ง ]
นี่ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่เป็นอย่างไร
นี่พวกเรารู้กันอยู่บ้างแล้ว พวกงั่งมีอยู่ พวกเป็นมีอยู่ กล้าพูดได้ทีเดียว



เพราะพราหมณ์นั้นมีความเพียรเพ่งอยู่แล้วนั่นแหละ ความเพ่งมันเป็นอย่างนี้แหละ มันมืดตื้อ มืดตื้อมันก็สงสัย ไอ้มืดนั่นแหละมันทำให้สงสัย มันไม่เห็นอะไร มันมัวหมองไปหมด ดำคล้ำไปหมด รัวไปหมด ไม่ได้เรื่องไม่ได้ราว หนักเข้าๆ รำคาญหนักเข้าๆ ก็ลืมเสียทีมันมืดนัก ไม่ได้เรื่องอย่างนั้น
อย่างนั้นธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ



ถ้าจะมาว่าคนฉลาดเพ่งธรรมละก็ เมื่อนั่งมืดอยู่ละก็ อ้อ!

นี่อธรรมนี่อกุสลา ธมฺมา ไม่ใช่ธรรมที่สว่าง นั่งไปๆ ถูกส่วนเข้า
สว่างวูบเข้าไปเหมือนฝันทีเดียว สว่างวูบเข้าไป ปรากฏทีเดียวเหมือนลืมตา


บางคนตกใจนะ นี่หลับตาหรือลืมตานะ มันสว่างอย่างนี้ ก็ลืมตาดูเสียที อ้าว สว่างนั่นหายไปเสียแล้ว นั่นมีสว่างได้อย่างนั้น มีมืดอย่างนั้น นั่งหลับตาปุบแล้วกัน ก็มืดตื้อ
เมื่อมืดเช่นนั้นเป็นอธรรม

เมื่อสว่างขึ้น ปรากฏชัดขึ้น เหมือนกลางวันนั่น เป็นธรรม ไม่สว่างไม่มืด รัวๆ อยู่ นั่นก็เป็นธรรมเหมือนกัน
เป็นอัพยากตาธรรม


ธรรมมีสามอย่างนี้


มืดเป็นอกุสลาธรรม
สว่างเป็นกุสลาธรรม
ไม่มืดไม่สว่างเป็นอัพยากตาธรรม


นี่ธรรมเป็นชั้นๆ กันไปนะ มืด สว่าง ไม่มืดไม่สว่าง ทั้งมืดทั้งสว่าง ทั้งไม่มืดไม่สว่าง นั่นหรือเป็นธรรมที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่นั้น ซึ่งยิ่งกว่านั้นๆ ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่นั้น ปรากฏชัดๆ เมื่อนั่งลงไปแล้วปรากฏแน่แน่วทีเดียว พอนั่งถูกส่วนเข้า ทำใจให้หยุด พอนั่งถูกส่วนเข้าก็ใจหยุดทีเดียว เมื่อใจหยุดนี่ตรงกับบาลีว่า
ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะมารู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 31 มี.ค. 2010, 20:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




p27.jpg
p27.jpg [ 44.01 KiB | เปิดดู 5353 ครั้ง ]
ธรรมที่เกิดแต่เหตุ นั่นธรรมอะไร


เหตุมี ๖ โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุ โลภะเหตุ เป็นฝ่ายชั่ว โทสะเหตุเป็นฝ่ายชั่ว โมหะเหตุก็เป็นฝ่ายชั่ว
ฝ่ายดีล่ะ ท่านวางไว้เป็น อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ
อโลโภ ทานเหตุ ความไม่โลภเป็นเหตุ ให้บริจาคทาน
อโทโส สีลเหตุ ความไม่โกรธเป็นเหตุให้รักษาศีล
อโมโห ภาวนาเหตุ ความไม่หลงเป็นเหตุให้เจริญภาวนา
พอรู้ชัดว่าธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ อ้อ การที่เราให้ทานนี้เกิดแต่เหตุคือความไม่โลภ การที่มารักษาได้นี้ เกิดจากเหตุคือความไม่โลภ
การที่มารักษาศีลได้นี้ เกิดจากเหตุคือความไม่โกรธ
การที่เรามาเจริญภาวนาได้นี้ เกิดจากเหตุคือ ความไม่หลง ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นเหตุให้รักษาศีล ให้เจริญภาวนา
ที่เราจะให้ทานขึ้นได้นี้ เรียกว่า อโลภะเหตุ เราจะบริจาคทานนี้ก็เป็นธรรมอันหนึ่ง
เรามารักษาศีลก็เป็นธรรมอันหนึ่ง
มาเจริญภาวนาก็เป็นธรรมอันหนึ่ง เพราะมาแต่ความไม่โลภ มาจากความไม่โกรธ มาจากความไม่หลง
เรื่องให้ทานก็เป็นอเนกประการ
เรื่องรักษาศีลก็เป็นอเนกประการ
เรื่องเจริญภาวนาก็เป็นอเนกประการ

นี่หรือธรรมอันนี้หรือ ที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ความสงสัยของพราหมณ์นั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไปเพราะมารู้จักว่า ธรรมเกิดแต่เหตุ ดังนี้หรือ

ไม่ใช่กระนั้น ยิ่งกว่านั้นลงไป ยิ่งกว่านั้น ลงไป เมื่อพราหมณ์นั้นมานั่งเพ่งถูกส่วนเข้าแล้วๆ ใจก็หยุดทีเดียวหยุดศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดนี่งพอใจหยุดได้เท่านั้น

พอใจหยุดนิ่งเท่านั้น
สูโรว โอภาสยมนฺติลิกฺขนฺติ
ดุจดังดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างไสว อย่างนี้
นี่เป็นกลางวันอย่างนี้
ดวงอาทิตย์ก็เห็นโร่อย่างนั้น อย่างนี้เห็นอย่างนี้ เห็นอย่างนี้เป็นดวงเท่าดวงจันทร์ ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์

ติดกลางกายมนุษย์นั่นนะ ดวงเท่าดวงอาทิตย์นะ ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
จะมองอะไรเห็นตลอดหมด เหมือนกับกลางวันอย่างนี้แหละ
จะดูอะไรก็ดูไป เมื่อธรรมปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์ดังนี้ ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นก็สิ้นไป หมดไปเพราะได้รู้ความสิ้น ของปัจจัยทั้งหลาย

ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เพราะได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย สว่างขึ้นแล้วเมื่อเห็นความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย



แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 31 มี.ค. 2010, 20:38, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y4775273-7.jpg
Y4775273-7.jpg [ 13.72 KiB | เปิดดู 5350 ครั้ง ]
อะไรเล่าเป็น ปัจจัยที่สิ้นไปน่ะ อะไรเล่าเป็นปัจจัย อ้ายปัจจัยนี่ก็ยากไม่ใช่น้อยเหมือนกัน ปัจจัยน่ะคือดังนี้ คำที่เรียกว่าปัจจัยน่ะ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร แน่ ความโง่ความไม่รู้จริงเป็นปัจจัยแล้ว



สังขารความปรุงให้ดีให้งามตกแต่งอยู่ร่ำไป
ต้องตกแต่งอยู่ร่ำไป
ปรนเปรออยู่ร่ำไป
สังขารนั้นแหละเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
รู้ดีรู้ชั่วอยู่ร่ำไป วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
นามรูปมีเกิดดับอยู่เป็นธรรมดา
นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ความกระทบทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ผัสสะเมื่อกระทบเข้าแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ชอบ ไม่ชอบ เฉยอยู่ เวทนาปรากฏเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตัณหาปรากฏขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
อุปาทานปรากฏขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดภพก่อน ปัจจัยกันเป็นชั้นๆ อย่างนี้
เมื่อมีกามภพ รูปภาพ อรูปภพ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
เมื่อชาติมีขึ้นแล้ว ชาตินั้นคืออะไรนะ ชาติ คือ กำเนิด นั้นแหละ อัณฑชะ สังเสทชะ อุปปาติกะ ชาติน่ะคือกำเนิดนั้นแหละที่ เกิด นั้นเขาเรียก ชาติ ออกจากกำเนิดนั้นแหละ ชาติมีขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นลำดับไป เป็นทุกข์
นี่เป็นปัจจัยอย่างนี้
เป็นปัจจัยกันอย่างนี้ รู้จักความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย

เมื่อสิ้นไปอย่างไร ความโง่ไม่มี หายไปหมด ดับไปหมด เมื่อ อวิชชาความไม่รู้จริงดับ สังขารก็ดับ สังขารดับ วิญญาณก็ดับ วิญญาณดับ นามรูปก็ดับ นามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ สฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ผัสสะดับ เวทนาก็ดับ เวทนาดับ ตัณหาก็ดับ ตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ อุปาทานดับ ภพก็ดับ ภพดับ ชาติก็ดับ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ต้องดับ ไม่เหลือเลย นี้ความสิ้นไป
เมื่อรู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้แล้ว พราหมณ์นั้น
วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํพราหมณ์นั้นก็กำจัดมารและทั้งเสนาให้ได้แล้ว หยุดอยู่ได้ คือใจหยุด นั้นเอง ไม่ใช่อื่น ใจหยุด พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นเอง

สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติความสว่างเกิดขึ้นดุจดังดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างก็ดังนี้

เราก็มองเห็นดวงดังนั้น ที่ปรากฏดังนั้น เมื่อปรากฏขึ้น ดังนั้นแล้ว พราหมณ์นั้นก็รักษาดวงนั้นไว้ไม่ให้หายไป ที่วัดปากน้ำเขาเป็นแล้ว ของลึกก็จริง แต่ว่าวัดปากน้ำพบแล้ว


แต่ว่าผู้พบก็ไม่รู้ว่าลึกซึ้งแค่ไหน ได้แต่ลึกซึ้งอย่างนี้ จริงอย่างนั้นแล้วก็ไปทำเหลวไหลเสีย ให้ดับเสียบ้าง ให้หายเสียบ้าง ไปกังวลอื่นเสีย ไม่กังวลของลึกซึ้งอย่างนี้นี่มีมากทีเดียว


ในวัดปากน้ำนี้ ทั้งสว่างทำได้ขนาดนี้นะยิ่งกว่านี้ไปอีก
เดี๋ยวจะเล่าเรื่องวัดปากน้ำที่ทำสว่างขึ้นได้แค่ไหน
ตรงกับพุทธอุทานนี้แล้ว เมื่อสว่างขึ้นได้ดังนั้นแล้วก็ได้เป็นลำดับไป
นั่นสว่างดวงนั้นเขาเรียกว่า
ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใจของผู้กระทำนั้น ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสว่างนั้น


พอถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงศีล ดวงเท่ากัน
หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน
หยุดนิ่งอยุ่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้าถึง ดวงปัญญา
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา พอถูกส่วนเข้าถึง ดวงวิมุตติ
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
พอถูกส่วนเข้า หยุดท่าเดียว หยุดอยู่ท่าเดียว กำจัดมารให้หยุดทีเดียว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
ถูกส่วนเข้า เห็น กายที่ฝันทีเดียว ตั้งแต่กายมนุษย์ขึ้นไป เห็นกายที่ฝัน อ้อ อ้าย กายฝันอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เราไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อฝันแล้วมันก็รัวไป


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 31 มี.ค. 2010, 20:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 5347 ครั้ง ]
Y4775273-7.jpg
Y4775273-7.jpg [ 13.72 KiB | เปิดดู 5287 ครั้ง ]
ใจกายที่ฝัน ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก เห็นดวงธรรมานุปัศศนาสติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์อย่างนั้น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายฝันในฝัน ก็คือ กายทิพย์


ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์
ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสาสติปัฏฐาน
ถูกส่วนเข้าเห็นดวงศีล
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล
ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ
หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ
ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา
ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ
หยุดนิ่งอยุ่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ
ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
ถูกส่วนเข้าเห็น กายทิพย์ละเอียด

ใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ดังนี้ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล
หยุดนิ่งอยุ่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ
หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญาหยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญา
หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ
หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็ เห็นกายรูปพรหม


ใจกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้าก็เห็นแบบเดียวกัน ก็เข้าถึง กายรูปพรหมละเอียด

ใจกายรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายอรูปพรหม แบบเดียวกัน

ใจกายอรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้าก็ถึง กายอรูปพรหมละเอียด

ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรม หน้าตักหย่อนกว่า ๕ วา สูง ๕ วา นั้นเรียกว่า
กายธรรม กายธรรมนั่นเอง เป็นพระพุทธเจ้า
ธมฺมกาโย อหํ อิติปิเราตถาคตคือธรรมกาย นั่นแหละ พระพุทธเจ้า หละ


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 28 มี.ค. 2010, 12:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 5346 ครั้ง ]
Y4775273-7.jpg
Y4775273-7.jpg [ 13.72 KiB | เปิดดู 5343 ครั้ง ]
31443.jpg
31443.jpg [ 19.39 KiB | เปิดดู 5341 ครั้ง ]
ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่กลางใจดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม แบบเดียวกัน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากันกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย เท่าหน้าตักธรรมกายกลมรอบตัว
หยุดนิ่งอยุ่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีลเท่ากัน
หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายธรรมละเอียด หน้าตัก ๕วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

ใจกายธรรมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว ใสทีเดียวยิ่งกว่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ บริสุทธิ์สนิททีเดียว สว่างไสว
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน แล้วต่อไปก็ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นลำดับไป
หยุดนิ่งอยุ่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็น กายธรรมพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

ใจกายพระโสดาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เห็น กายพระโสดาละเอียด หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา

ใจกายพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะแบบเดียวกัน เข้าถึง กายพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา
หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบบเดียวกัน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น พระสกทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

ใจพระสกทาคาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายพระอนาคา

ใจกายพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เข้าถึง กายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้นไป

ใจของพระอนาคาละเอียดทำถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏิฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา สูง ๒๐ วา กลมรอบตัว เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะเท่าๆ กัน ก็เห็น กายอรหัตต์ หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

ใจกายพระอรหัตต์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตต์ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ๒๐ วา เท่ากันหมด ปรากฏเห็นกายพระอรหัตต์ละเอียด ใสหนักขึ้นไป



ตำราวัดปากน้ำเขาสอนกันได้อย่างนี้ แต่ว่าที่จะเป็นพระโสดา พระสกทาคา พระอนาคา อรหัตต์นั้นไม่ติด ไม่หลุดซะ แต่ว่าทำได้ตลอดเลยไปจากนี้อีก ทำไปมากกว่านี้
ถึงกายพระอรหัตต์ พระอรหัตต์ละเอียดๆๆ ต่อๆ ไป นับอสงไขยก็ไม่ถ้วน
ผู้เทศน์นี้สอน เป็นคนสอนเอง ๒๓ ปี ๕ เดือนนี้ ได้ทำไปอย่างนี้แหละ ไม่ถอยหลังเลย ยังไม่สุดกายของตัวเอง เมื่อยังไม่สุดกายของตัวเองแล้ว ตัวเองก็ปกครองตัวเองยังไม่ได้ ยังมีคนอื่นเป็นผู้ปกครองลับๆ เพราะไม่ไป ถ้าไปถึงที่สุดแค่ไหน เขาก็ปกครองได้แค่นั้น
นี่ผู้เทศน์ยังแนะนำสั่งสอนให้ไป ถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัวเอง เมื่อถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัวเองละก็ เป็นกายๆ ไปดังนี้ ตัวเองก็จะปกครองตัวเองได้ ไม่มีใครปกครองต่อไป ตัวเองก็เป็นใหญ่ในตัวเอง ตัวเองก็จะบันดาลความสุขให้ตัวเองได้
กำจัดความทุกข์ได้ ไม่ให้เข้ายุ่งได้

นี่คนอื่นเขายังบันดาลอยู่ คนอื่นเขายังให้อยู่ เหมือนความแก่ดังนี้เราไม่ปรารถนาเลย เขาก็ส่งความแก่มาให้
เราก็ต้องรบอ้ายความแก่นั้นแหละ
ความเจ็บล่ะ เราไม่ปรารถนาความเจ็บ เขาก็ส่งความเจ็บมาให้
ความตายละ เราไม่ปรารถนาเลย เขาก็ส่งความตายมาให้
เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าตัวเองไม่เป็นใหญ่ด้วยตัวของตัวเอง คนอื่นเขามาปกครอง ผู้อื่นเขาปกครองเสีย
เขาให้เขาส่งมาให้ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ตัวมีความรู้ไม่พอก็ต้องรบเหมือนดังนี้ เราอยู่ปกครองประเทศไทย ประเทศไทยเขาต้องการอย่างไร ผู้ปกครองเขาต้องการอย่างไร เราก็ต้องไปตามเขา ไม่ตามเขาไม่ได้ ต้องอยู่ในบังคับบัญชาเขา

ถ้าจะอยู่นอกปกครองเขา ต้องไปให้ถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัว ไปถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัวละก็ ในที่สุดนั้นไม่มีใครปกครองเลย เราปกครองของเราเอง

บัดนี้เราเป็นภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกาในพระพุทธศาสนา
เมื่อมาฟังอุทานคาถา รู้ว่าธรรมของพระศาสดาลึกซึ้งอย่างนี้ ขนาดนี้ละก็อุตส่าห์ อย่าประมาท อย่าเลินเล่อ อย่าเผลอตัว อย่างคนมีปัญญา อย่างคนรู้ดี รู้ชั่ว
อย่าเล่นเอาอย่างเด็ก ถ้าเมื่อเล่นอย่างเด็กแล้วก็ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นฝุ่นเล่นทรายอยู่ละก็ ชีวิตจะไม่พอใช้
เพราะเขาเล่นละครกันเป็นบ้านๆ โรงๆ กัน
ในโลกนี้เขาเรียกว่า ละครโรงใหญ่ เล่นฝุ่น เล่นทราย เล่นแปลกๆ ไปตามหน้าที่ เอาจริงๆ แท้ๆ ไม่ได้สักคนหนึ่งขึ้นไป แล้วก็ตายกันหมด
เอาจริงเอาแท้เหลือสักคนหนึ่งก็ไม่มี
เพราะเหตุอะไรเล่า เพราะเหตุว่าเลินเล่อเผลอตัวไป เลินเล่อเผลอตัวไป
มนุษย์โลกนี้ เราผ่านไปผ่านมา เข้าใจว่าเป็นบ้านของเราเมืองของเราเสียใหญ่โตมโหฬารทีเดียว เข้าใจเสียอย่างนั้นก็เข้าใจผิดไปนี่แหละละคร
กายเรานี่นะโตกว่าบ้านเมืองเหล่านี้มากนัก ให้ไปชมดูเถิด แต่ว่า ต้องไปให้ถึงที่สุดนี้ให้ได้นะ ไปที่สุดของกายเหล่านี้ได้ก็จะเอาตัวรอดได้เป็นแท้ เหตุนี้แหละ



แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 28 มี.ค. 2010, 07:48, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y4775273-7.jpg
Y4775273-7.jpg [ 13.72 KiB | เปิดดู 5336 ครั้ง ]
ที่ได้ชี้แจงแสดงมา ในอุทานคาถา ตามวาระพระบาลี คลี่ ความเป็น สยามภาษาในมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจ ความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้
สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า
อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ฯ


:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b48: :b48: :b48:
:b8: :b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y4775273-7.jpg
Y4775273-7.jpg [ 13.72 KiB | เปิดดู 5328 ครั้ง ]
.jpg
.jpg [ 52.37 KiB | เปิดดู 5327 ครั้ง ]
กัณฑ์ที่ ๒๑
อุทานคาถา
๒๑ มีนาคม ๒๔๙๗
นโม ตส.ส ภควโต อรหโต สม.มาสม.พุท.ธส.ส
นโม ตส.ส ภควโต อรหโต สม.มาสม.พุท.ธส.ส
นโม ตส.ส ภควโต อรหโต สม.มาสม.พุท.ธส.ส ฯ


ยทา หเว ปาตุภวน.ติ ธม.มา
อาตาปิโน ฌายโต พ.ราห.มณส.ส
อถส.ส กง.ขา วปยน.ติ สพ.พา
ยโต ปชานาติ สเหตุธม.ม?ฯ
ยทา หเว ปาตุภวน.ติ ธม.มา
อาตาปิโน ฌายโต พ.ราห.มณส.ส
อถส.ส กง.ขา วปยน.ติ สพ.พา
ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ
ยทา หเว ปาตุภวน.ติ ธม.มา
อาตาปิโน ฌายโต พ.ราห.มณส.ส
วิธูปย? ติปฏ.ฐติ มารเสน?
สูโรว โอภาสยมน.ตลิก.ขน.ติฯ



ณ บัดนี้ อาตมาจักได้แสดงในอุทานคาถา ที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงเปล่งขึ้นด้วยพระองค์เอง มิได้ปรารภสิ่งหนึ่งสิ่งใด ปรารภแต่ธรรมสิ่งเดียวเท่านั้น ทรงเปล่งอุทานคาถาขึ้นดังที่ยกขึ้นไว้ ณ เบื้องต้นนั้น
อุทานคาถานี้เป็นความเปล่งขึ้นจากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง เปล่งขึ้นด้วยมาปรารภถึงธรรมว่าเป็นของอัศจรรย์นัก ธรรมนั้นเป็นของอัศจรรย์

บัดนี้ ท่านทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต จงตั้งใจให้บริสุทธิ์สนิทฟังอุทานคาถา ซึ่งเปล่งขึ้นจากพระทัยของพระศาสดา
ปรากฏโดยวาระพระบาลีว่า
ยทา หเว ปาตุภวน.ติ ธม.มา อาตาปิโน ฌายโต พ.ราห.ม.ณส.ส อถส.ส กง.ขา วปยน.ติ สพ.พา ยโต ปชานาติ สเหตุธม.ม? ฯ
แปลเป็นสยามภาษาว่า
“เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่
เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุเมื่อใดธรรมทั้งหลายเกิดแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่
เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย
เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่
พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดความมืดเสียได้
ดำรงอยู่เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมากำจัดความมืด ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น”




นี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้งไม่ใช่เป็นของรู้ถึงได้ง่าย รู้ถึงได้ยากนัก


ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์นั้น เราควรจะรู้ ธรรมอะไรที่ปรากฏแก่พราหมณ์น่ะ และก็บอกลักษณะท่าทางไว้ให้เสร็จ เหมือนดวงอาทิตย์ขึ้นไปแล้วกำจัดความมืดทำอากาศให้สว่าง นี้เป็นข้อใหญ่ใจความสำคัญนัก
จะเอาธรรมตรงไหน ดวงไหน ชิ้นไหน อันไหนกัน ธรรมที่เกิดขึ้นแก่พราหมณ์น่ะ ถ้าว่าไม่รู้จักธรรมดวงนั้น ฟังไปเถอะ สักร้อยครั้งก็ไม่ได้เรื่อง ไม่ได้เรื่องได้ราวทีเดียว
อุทานคาถานี้ลึกซึ้งอยู่ไม่ใช่ของง่าย เผอิญจะต้องกล่าวไว้ย่อ ไม่ได้กล่าวพิสดาร เรียกว่า อุทานคาถา

ธรรมที่ปรากฏแก่พราหมณ์น่ะ เป็นมนุษย์เป็นหญิงก็ดี ชายก็ดี ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตไม่ว่า ที่ปรากฏอยู่บัดนี้มีธรรมบังเกิดขึ้นกับใจบ้างไหม ที่ปรากฏอยู่เสมอน่ะ บางคนก็มีบางคนก็ไม่มี ที่ไม่มีนั้นเทียบด้วยคนตาบอด ที่ธรรมปรากฏขึ้นแล้วน่ะเทียบด้วยคนตาดี

เรื่องนี้พระองค์ทรงรับสั่งในเรื่องธรรมว่า ทิฏ.ฐธม.มสุขวิหารี ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น
ธรรมที่บังเกิดปรากฏอยู่กับตัวน่ะ พวกมีธรรมกายมีธรรมปรากฏแก่ตัวเสมอ
พวกไม่มีธรรมกายนานๆ จะปรากฏธรรมสักครั้งหนึ่ง ธรรมที่ปรากฏขึ้นน่ะประจำตัวเชียวนะ ติดอยู่กับใจของบุคคลนั้น สว่างไสว
ถ้าปฏิบัติดีๆ เหมือนดวงอาทิตย์ในกลางวันเชียวนะ แจ่มจ้าอยู่เสมอ แต่ว่าใจนั้นต้องจรดอยู่กับธรรม ถ้าว่าใจไม่จรดอยู่กับธรรมหรือธรรมไม่ติดอยู่กับใจละก็ ความสว่างนั้นก็หายไปเสีย เหมือนอย่างตามประทีปในเวลากลางวัน ประทีปอย่างย่อมๆความสว่างก็น้อย ประทีปนั้นขยายออกไป ความสว่างก็ขยายออกไป อย่างนั้นแหละฉันใด ธรรมก็มีหลายดวง สว่างต่างกันอย่างนั้นเหมือนกัน


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 28 มี.ค. 2010, 08:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 52.37 KiB | เปิดดู 5325 ครั้ง ]
8path.gif
8path.gif [ 103.1 KiB | เปิดดู 5323 ครั้ง ]
ธรรมนะอยู่ที่ไหน มนุษย์อยู่ที่ไหนธรรมอยู่ที่นั่น มนุษย์มีธรรมด้วยกันทุกคน เขาเรียกว่าดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ที่ทำธรรมเป็นละก็ ใจไปติดที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นติดอยู่ที่นั่น นั่นแหละได้ชื่อว่า
ธรรมนั้นปรากฏแก่มนุษย์คนนั้นแล้ว


ถ้าว่ากายมนุษย์ละเอียด ใจมนุษย์ละเอียดก็ติดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น สองเท่าฟองไข่แดงไก่ ได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่กายมนุษย์ละเอียดนั้นแล้ว
ถ้าว่าเป็นกายทิพย์ ใจก็ไปติดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำเป็นกายทิพย์
ถ้าว่าไม่ติดอยู่ในดวงธรรมนั้น ไม่เห็นดวงธรรมนั้นเเจ่ม ได้ชื่อว่าธรรมยังไม่ปรากฏ
เมื่อธรรมปรากฏแล้วก็เห็นธรรมดวงนั้นแจ่ม สามเท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงขนาดนั้น ดวงกลม
กายทิพย์ละเอียดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด สี่เท่าฟองไข่แดงของไก่ แจ่มอยู่กับใจเสมอ นั่นได้ชื่อว่าปรากฏแก่กายทิพย์ละเอียดแล้ว
กายรูปพรหม ใส ห้าเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสบริสุทธิ์ นั่นแหละธรรมนั้นปรากฏแก่กายรูปพรหมแล้ว
กายรูปพรหมละเอียด เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด เห็นดวงใส หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ ติดอยู่กับใจเสมอ สว่างไม่มืด ได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่กายรูปพรหมละเอียดแล้ว
กายอรูปพรหม กายติดกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ เห็นแจ่มอยู่เสมอไป นั้นได้ชื่อว่า ธรรมดวงนั้นปรากฏแก่กายอรูปพรหมแล้ว
กายอรูปพรหมละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใจอรูปพรหมละเอียดติดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด เห็นใสชัดปรากฏ แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่ นี่ละเห็นปรากฏอย่างนี้ละก็ นั่นละได้ชื่อว่าธรรมปรากฏแก่กายอรูปพรหมละเอียดแล้ว

ถ้ากายธรรม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมเท่าหน้าตักธรรมกายกลมรอบตัว ถ้าใจของธรรมกายติดอยู่ที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ติดอยู่เสมอละก็ นั่นแหละได้ชื่อว่าธรรมปรากฏแก่ธรรมกายนั้นแล้ว ธรรมกายละเอียดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด วัดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว กายธรรมพระโสดา เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมพระโสดา วัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 5 วา กลมรอบตัวติดอยู่กับใจพระโสดา

พระโสดานั้นได้ชื่อว่ามีธรรมประจำใจแล้ว ได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่กายธรรมพระโสดาแล้ว พระโสดาละเอียด พระสกทาคา สกทาคาละเอียด พระอนาคา อนาคาละเอียด พระอรหันต์ พระอรหันต์ละเอียด พวกนี้ติดอยู่เสมอไม่หลุด ติดอยู่เสมอนั้นได้ชื่อว่าธรรมปรากฏขึ้นแล้ว แต่พวกที่ยังไม่เห็น ไม่มี ไม่ปรากฏ ได้ชื่อว่ายังไม่เห็น ไม่มี ไม่ปรากฏ ธรรมนั้นได้ชื่อว่าไม่ปรากฏ


ตามคำวาระพระบาลี ยทา หเว ปาตุภวน.ติ ธม.มา อาตาปิโน ฌายโต พ.ราห.มณส.ส แปลเนื้อความว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ผู้เพ่งอยู่แล้ว ก็เห็นดวงธรรมนั้นแหละ นี่แหละได้ชื่อว่า ธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ละ
อถส.ส กง.ขา วปยน.ติ สพ.พา
เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไปก็ใจไปติดอยู่เสียกับธรรมเห็นธรรมแล้ว ก็หมดสงสัยในเรื่องธรรมกันเสียที เห็นแล้วติดแล้วปรากฏแล้ว หมดสงสัยในเรื่องธรรมกันเสียที



พวกนี่มันสงสัยกันทุกคนนั่นแหละ ธรรมมากมายนัก โน่นก็ธรรมนี่ก็ธรรม ไม่รู้จะไปเอาธรรมที่ไหนแน่ ไม่รู้จะเอาธรรมที่ไหนแท้ๆ นี้ธรรมอันนี้แหละเป็นตัวจริงละ ให้เอาใจติดอยู่ตรงนี้แหละ อย่าเที่ยวหาอื่นให้มันอื่นจากศูนย์กลางกายมนุษย์กลางกายของตัวไปเลย
ตรงนั้นแหละเอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นแหละ ถ้ายังไม่เห็นนานเข้าก็เห็นเอง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นเอง ที่ไปหาที่อื่นไปโน่นไปตรงโน้นไปตรงนี้ ไปที่โน่นไปที่นี่ ไปหาธรรมในดอนในดงกันยกใหญ่ทีเดียวเพราะไม่เห็น พอไปเห็นเข้าแล้ว โธ่ ผ้าโพกหัวหาแทบตายไม่เห็น อยู่บนหัวนี่เอง ไปหาธรรมแทบตาย ธรรมอยู่กลางตัวของตัวเองนั่นเอง นั่นแหละธรรมอยู่ตรงนั้นแหละ แต่ว่าไม่ปรากฏขึ้น เมื่อปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์แล้ว พราหมณ์ก็หมดความสงสัย
ยโต ปชนาติ สเหตุธม.ม? เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักธรรมนั้นว่าเกิดแต่เหตุ ได้รู้ว่าธรรมเกิดแต่เหตุ



แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 28 มี.ค. 2010, 08:15, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 5321 ครั้ง ]
p27.jpg
p27.jpg [ 44.01 KiB | เปิดดู 5284 ครั้ง ]
ธรรมเกิดแต่เหตุอย่างไร?
ก็เพ่งพินิจพิจารณาดวงธรรมทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เท่าฟองไข่แดงของไก่ เออ ธรรมดวงนี้เกิดแต่เหตุ รู้ทีเดียว เกิดแต่เหตุ เหตุอะไร? เพราะมนุษย์ทำบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ไม่มีร่องเสียเลยเชียว นิดเดียว เท่าปลายผมปลายขนก็ไม่มี กลับเป็นคนอีกทีก็เกิดเป็นมนุษย์อีก ดวงธรรมอันนั้นเป็นขึ้นอีก ดวงธรรมดวงเก่านั้นหมดไป หมดอำนาจหมดชีวิตไป กลับเป็นมนุษย์ดังเก่าอีก ก็มีธรรมดังเก่าแบบเดียวกัน อ้อ ธรรมนี้เกิดแต่เหตุอย่างนี้เกิดแต่เหตุที่มนุษย์ทำนี่เอง ถ้ามนุษย์ไม่ทำความบริสุทธิ์กายวาจาใจให้ถ่องแท้แล้วละก็ ไม่ได้เป็นมนุษย์ กลับไปเป็นอสุรกาย เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นสัตว์นรกไป ธรรมนั้นก็เสียไป ดำขุ่นหมองเศร้ามัวไปหมด แต่ว่ามนุษย์นั้นไม่เห็น ถ้าเห็นแล้วไม่ไปนรกแน่นอน ไม่ไปละ กลับเป็นมนุษย์ทีเดียว นี่แหละได้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์แล้ว
เห็นไหมล่ะ ด้วยวิธีบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ กายมนุษย์ละเอียดก็เป็นเช่นเดียวกัน ดวงธรรมละเอียดลงไปกว่านี้ 2 เท่าฟองไข่แดงของไก่ ทั้งกายมนุษย์หยาบมนุษย์ละเอียด ทั้ง 2 กายนั้นเป็นกายที่มารวมกัน อุตส่าห์รักษาความบริสุทธิ์ของตัวเองไว้ บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียเลย


เมื่อบริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียเลยแล้วละก็ อุตส่าห์พยายามเหมือนภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกานั้นแหละ
อุตส่าห์บำเพ็ญทาน ศีล สุตะ จาคะ ปํญญา
อุตส่าห์ให้ทาน ตามกาลตามสมัยตามกำลังของตน
อุตส่าห์รักษาศีลให้ดียิ่งขึ้นไป กาย วาจา ใจ ไม่ให้เดือดร้อนใคร ไม่ให้กระทบกระเทือนใคร
ตัวเองก็ไม่ให้เดือดร้อนไม่ให้กระทบกระเทือน คนอื่นก็ไม่ให้เดือดร้อนไม่ให้กระทบกระเทือนใคร รักษา กาย วาจา ใจ ไว้เป็นอันดี เรียกว่า ศีล สุตะ
ถึงวันธรรมสวนะก็อุตส่าห์พากันมาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอย่างนี้แหละ
เหมือนพระภิกษุ สามเณร ก็อุตส่าห์มาสดับตรับฟังพระเทศนา ทำอย่างนี้เรียกว่า สุตะ จาคะ กระทบกระเทือนกันบ้างก็ช่างเถิด ให้อภัย ไม่ถือเอาโทษ ไม่ถือเอาความขุ่นมัวเศร้าหมองอันใด ให้อภัยกันเสียหมดทีเดียว อยู่ด้วยกันตั้งร้อยตั้งพันก็ไม่เป็นไร ยิ้มแย้มแจ่มใสกันดีเพราะให้อภัยซึ่งกันและกัน ปัญญา รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ สูงและต่ำ ดีชั่ว ผิดชอบ
เมื่อเราตั้งอยู่ในความเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องมีใจโอบอ้อมอารีต่อผู้น้อย ต้องมีใจอย่างนั้น นั่นเรียกว่า มีปัญญา
ต้องอยู่ในความโอบอ้อมอารี เราเป็นผู้น้อย ก็ต้องตั้งอยู่ในความเคารพยำเกรงผู้ใหญ่ อย่าถือเอาแต่ตัวของตัวไม่ได้ หรือไม่เช่นนั้น ผู้ปกครองก็ต้องใจโอบอ้อมอารี ผู้อยู่ใต้ปกครองก็ต้องเคารพยำเกรงต่อผู้ใหญ่ อย่างนี้อยู่เป็นสุขเบิกบานสำราญใจ ต้องเคารพคารวะซึ่งกันและกัน ผู้น้อย ผู้ใหญ่ เป็นลำดับลงไป เคารพซึ่งกันและกันตามหน้าที่ ตามพรรษา อายุ ตามคุณธรรมนั้นๆ ดังนี้ได้ชื่อว่า
แตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์โลกนี้ ทำดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ให้บังเกิดขึ้น สามเท่าฟองไข่แดงของไก่โตหนักขึ้นไป ดีหนักขึ้นไป กายทิพย์ทั้งหยาบทั้งละเอียด ทำละเอียดลงไปแบบเดียวกัน ทำให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก



แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 31 มี.ค. 2010, 20:48, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Image-05x.jpg
Image-05x.jpg [ 275.98 KiB | เปิดดู 5316 ครั้ง ]
A129p1x2%5B1%5D.jpg
A129p1x2%5B1%5D.jpg [ 29.07 KiB | เปิดดู 5219 ครั้ง ]
เรายังเวียนว่ายตายเกิดในกามภพนี่ สุขไม่พอ ต้องทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ อุตส่าห์ทำรูปฌาน เมื่อบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ศีลก็บริสุทธิ์เป็นอันดีแล้ว

กาย วาจา ใจ ก็บริสุทธิ์เป็นอันดี ทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ก็สมบูรณ์บริบูรณ์ดีแล้ว ตั้งใจแน่แน่วบำเพ็ญฌานให้บังเกิดขึ้น ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมนั่น

ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น กายมนุษย์ละเอียดนั่นหยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเห็นดวงปฐมฌานทีเดียว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอก กลมรอบตัว
นั่นเรียกว่าดวงปฐมฌาน แล้วก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปฐมฌานนั้นเเหละ พอถูกส่วนเข้าก็บังเกิดดวงทุติยฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอกเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงทุติยฌาน พอนิ่งถูกส่วนเข้า เกิดดวงตติฌานขึ้นจากดวงทุติยฌานนั่น วัดผ่าศูนย์กลาง 8 ศอก กลมรอบตัว
ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงตติยฌานนั่น ถูกส่วนเข้าเห็นดวงจตุตถฌาน วัดผ่าศูนย์กลาง 8 ศอก กลมรอบตัวสี่ดวงนี้เป็นปฐมฌาน ทุตติยฌาน ตติยฌาน จตุตฌาน เมื่อทำฌานให้เกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว อำนาจฌานนี่แหละ อำนาจความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อำนาจทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นเหตุให้บังเกิดธรรมที่ทำให้บังเกิดเป็นกายรูปพรหม ห้าเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว ฟองไข่แดงของไก่สี่ดวงรวมกันเข้าเป็นดวงเดียว กลมรอบตัว ทั้งหยาบทั้งละเอียดแบบเดียวกัน


ถ้าว่าทำยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ใจของกายมนุษย์ ใจของกายรูปพรหมนั่น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ทั้งหยาบทั้งละเอียด พอถูกส่วนเข้า รู้ว่าฌานสูงขึ้นไปกว่านี้มี นิ่งอยู่กลางจตตุถฌานนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นนิ่งอยู่กลางจตตุถฌานนั่น วัดผ่าศูนย์กลาง 8 ศอก กลมรอบตัวเหมือนกัน ใจรูปพรหมก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางอากาศนั่น พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงอากาสานัญจายฌาน กายรูปพรหมเข้าไม่ได้ กายอรูปพรหมก็ปรากฏขึ้น
ใจกายอรูปพรหมก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอากาสานัญจายนะนั่น
ถูกส่วนเข้าเห็นวิญญาณัญจายตนะ เห็นชัดทีเดียว รู้ว่าเกิดมาจากกลางของอากาศนั่น วัดผ่าศูนย์กลาง 8 ศอก กลมรอบตัวเหมือนกัน
ใจของอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางของดวงรู้นั่น พอถูกส่วนเข้า
เห็นอากิญจัญญายตนะ รู้ละเอียด วัดผ่าศูนย์กลาง 8 ศอก กลมรอบตัวเหมือนกัน
ใจของอรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงรู้ละเอียดนั่น พอถูกส่วนเข้าเห็นรู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่อยู่กลางดวงของรู้ละเอียดนั้น เรียกว่าเนวสัญญายตนะ รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ให้เกิดขึ้นดังนี้ได้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นอรูปฌาน ดวงธรรมนั้นก็โตออกไป
ถ้าว่าวัดฟองไข่แดงเป็นที่ตั้งละก็ 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่ 8 เท่าโต ขึ้นไปดังนี้ ก็รู้ทีเดียวว่า ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้น เกิดขึ้นจากเหตุ เหตุเพราะทำขึ้น บำรุงขึ้นให้เป็น ถ้าไม่บำรุงขึ้น ไม่ทำขึ้น ไม่เป็น ก็มุ่งจะให้สูงขึ้นไปกว่านั้น ก็ทำขึ้นไปอีก


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 31 มี.ค. 2010, 20:52, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




p27.jpg
p27.jpg [ 44.01 KiB | เปิดดู 5257 ครั้ง ]
กายอรูปพรหมนั่นที่จะทำต่อขึ้นไป นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม พอถูกส่วนเข้าก็เดินศีลเทียว เพ่งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ดวงธรรมที่ละเอียดจริงนั่นแหละ ก็เห็นดวงศีล วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง เท่าดวงจันร์ ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น ถูกส่วนเข้าเห็นดวงสมาธิ วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิพอถูกส่วนเข้าเห็นดวงปัญญา วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้าเห็น กายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามตัวส่วน อย่างโตที่สุดหย่อนกว่า 5 วา อย่างเล็กที่สุดไม่เกินคืบหนึ่งไป
นั่นเรียกว่ากายธรรม เกิดลำดับไป ก็รู้ว่า อ้อ! ธรรมเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ เหตุที่เรากระทำลงไปนี่เอง เหตุของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่แหละ ให้เข้าถึงกายธรรมได้ เข้าถึงได้อย่างนี้ เห็นปรากฏอย่างนี้ทีเดียว
กายธรรมโครตรภู กายธรรมพระโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็ทำไปแบบเดียวกันนี้ กายธรรมพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียดก็ทำไปแบบนี้ กายธรรมพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียดก็ทำไปแบบนี้จนกระทั่งเข้าถึงกายธรรมพระอรหัต ก็ทำไปแบบนี้

เมื่อธรรมปรากฏขึ้นเช่นนี้แล้ว พราหมณ์แกก็รู้ว่าเกิดธรรมเกิดแต่เหตุ เหตุที่กระทำลงไปอย่างนี้ ไม่กระทำไม่เกิด ถ้าไม่มีเหตุดังนี้เกิดไม่ได้ ต้องมีเหตุอย่างนี้จึงเกิดได้ เมื่อจักเหตุดังนี้ต้องทำลงไปในเหตุ ต้องการธรรมต้องทำลงไปในเหตุ ผิดเหตุละก็ไม่เกิด นี่ชั้นหนึ่ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร