วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 18:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นหลาย ๆ ท่านในการสนทนา มักจะเข้าใจว่า การจะเจริญวิปัสสนาหรือ สติปัฏฐาน ได้ต้องเจริญ สมถะหรือ สมาธิ (ขั้นอัปปนาสมาธิ = รูปฌาน 1-4 เป็นต้น) แล้วค่อยเจริญวิปัสสนาตามหลัง

ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ถ้าได้ฌานแล้ว จะทำอย่างไรต่อ

บางท่านก็เข้าใจว่า ทำสมาธิให้ฌานเกิดแล้ว จิตสงบแน่วแน่ ปัญญา ย่อมเกิดขึ้นมาได้เอง

ซึ่งชาวพุทธส่วนใหญ่มักจะเข้าใจเช่นนี้ และ อาจารย์สายสมถะหลาย ๆ ท่านก็สอนเช่นนี้

บางครั้งถึงกับ สอนให้ทำสมาธิ อย่างเดียว อย่าไปศึกษาปริยัติ (คันถธุระ) ให้เสียเวลา ปฏิบัติไปแล้วจะรู้เอง

ผมขอนำข้อคิดจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา และ พระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฏก ดังนี้

พุทธวิทยาน่ารู้ โดย พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล)

วิจัยเกี่ยวกับเรื่อง สมถะที่เป็นบาทของวิปัสสนา

โดยมากชาวพุทธผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรม มักจะพูดกันเสมอ ๆ ว่า การที่จะเจริญวิปัสสนาในเบื้องต้น จำเป็นจะต้องทำสมถะเสียก่อนแล้วจึงจะทำวิปัสสนาต่อไป ถ้าไม่ทำสมถะเสียก่อนแล้ว จะก้าวขึ้นไปทำวิปัสสนาได้อย่างไร เพราะสมถะเป็นเบื้องต้นของวิปัสสนา เท่าที่ผู้วิจัยเคยสังเกตมา ส่วนมากจะเป็นแบบนี้แทบทั้งนั้น เพื่อจะทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นโดยยึดพระปริยัติเป็นหลัก ก็ใคร่จะขออธิบายให้เป็นที่เข้าใจกันเสียในที่นี้เลย

อันที่จริง แนวในการปฏิบัติธรรม เพื่อทำใจให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ทรงวางไว้แล้ว โดยแยกการปฏิบัติออกเป็น ๒ แนวคือ

แนวที่ ๑ เรียกว่า “ สมถยานิก “ คือ เจริญฌานสมาบัติให้เกิดเสียก่อน แล้วฝึกหัดฌานกีฬาจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ฌานเท่าที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์ การเจริญวิปัสสนาแบบที่ว่านี้ท่านเรียกว่า “ สมถยานิกะ “ ถ้าสำเร็จมรรค – ผล ท่านก็เรียกผู้สำเร็จแนวที่ว่านี้ว่า “ เจโตวิมุติ “ อาจจะมีชื่อพิเศษเป็น เตวิชโช ฉฬภิญโญ คือผู้ได้วิชชา ๓ หรือผู้ได้อภิญญา ๖ เป็นต้น

แนวที่ ๒ เรียกว่า “ วิปัสสนายานิกะ “ คือ ผู้เจริญวิปัสสนาปัญญาล้วน ๆ ทีเดียว โดยไม่จำเป็นจะต้องไปทำฌานสมาบัติอะไรให้เกิดขึ้นก่อนก็ได้ พอเริ่มทำก็กำหนดนามรูปกันทีเดียว หมายความว่า พอตนเรียนอารมณ์ พร้อมทั้งวิธีกำหนดจากอาจารย์ผู้สอนจนเข้าใจแล้ว ก็ลงมือปฏิบัติหลังจากที่ตนได้สถานที่ที่สบาย บุคคลสบาย ละปลิโพธกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ หมดเลย ก็ทำวิปัสสนาได้ทีเดียว พอวิปัสสนาเกิดขึ้นตนเองก็จะต้องประคองพลธรรมทั้ง ๕ ประการ มีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอภาคกัน ในไม่ช้าก็จะสามารถแยกฆนสัญญาออกจากกันได้

เมื่อสามารถทำลายฆนสัญญาให้แตกออกจากกันได้แล้ว นามรูปก็จะปรากฏขึ้น ถ้าผู้ปฏิบัติพยายามทำต่อไปโดยไม่ลดละ ก็จะสามารถบรรลุถึงมรรค - ผล ได้ตามประสงค์ วิธีปฏิบัติแบบหลังที่ว่านี้ท่านเรียกว่า “ ปัญญาวิมุติ “ และจะได้ชื่อพิเศษว่า “ สุขวิปัสสโก “ ที่มักแปลกันว่า “ เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง “ นอกจากนั้น ยังได้พูดถึงความสามารถของพระอริยบุคคลทั้ง ๒ จำพวกนี้ไว้อีกว่า
๑. สมถะยานิกะ ทำลายตัณหาก่อน
๒. วิปัสสนายานิกะ ทำลายอวิชชาก่อน


(ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่)

21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

--------------------------------------------

เมื่อพูดถึง ฌาน ส่วนใหญ่ก็จะนึกถึง ผลของการทำ สมาธิขั้น อัปปนาสมาธิ คือ ฌาน ๑ - ฌาน ๔

แต่แท้ที่จริงนั้น ฌาน มี ๒ ความหมาย คือ

21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนา ๒ อย่าง

คำว่า ฌาน ก็มักจะนึกถึงรูป รูปาวจรจิต แท้จริงคำว่า ฌาน แปลว่า การเพ่งอารมณ์ และการเพ่งอารมณ์ก็มี ๒ ประการ ในนัยแห่งอัฏฐสาลินี อรรถกถา แสดงว่า

ฌานนฺติ ทุวิธํ อารมฺมณูปนิชฺฌานํ ลกฺขณูปนิชฺฌานนฺติ = คำว่า ฌาน นั้นมี ๒ อย่างคือ อารัมมณูปนิชฌาน อย่างหนึ่ง ลักขณูปนิชฌาน อีกอย่างหนึ่ง

ตตฺถ อฏฺฐ สมาปตฺติโย ปฐวีกสิณาทิอารมฺมณํ อุปนิชฺฌานยนฺตีติ อารมฺมณูปนิชฺฌานนฺติ สงฺขยํ คตา = ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ จัดเข้าในอารัมมณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น

วิปสฺสนามคฺคผลานิ ปน ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม = แต่ว่าวิปัสสนาญาณ มัคคญาณ ผลญาณทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน

ตตฺถ วิปสฺสนา อนิจฺจาทิลกฺขณสฺส อุปนิชฺฌานโต ลกฺขณูปนิชฺฌานํ = ในญาณทั้ง ๓ นั้น วิปัสสนาญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปกำหนดรู้แจ้งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น

วิปสฺสนาย กตกิจฺจสฺส มคฺเคน อิชฺฌนโต มคฺโค ลกฺขณูปนิชฺฌานํ = มัคคญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชญาณ เพราะเป็นผู้ทำให้กิจที่รู้แจ้งไตรลักษณ์ของวิปัสสนาญาณ สำเร็จลง

ผลํ ปน นิโรธสจฺจํ ตถลกฺขณํ อุปนิชฺฌายตีติ ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม = ส่วนผลญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปรู้แจ้งลักษณะอันแท้จริงของนิโรธสัจจะ

ความแตกต่างกันระหว่างฌานทั้ง ๒

กล่าวโดยอารมณ์ อารัมมณูปนิชฌาน มีสมถกัมมัฏฐาน เช่น ปฐวีกสิณซึ่งเป็นบัญญัติเป็นต้น เป็นอารมณ์ ส่วนลักขณูปนิชฌาน นั้น คือวิปัสสนาญาณ มีรูปนาม ไตรลักษณ์ สังขตธรรม เป็นอารมณ์ มัคคญาณ ผลญาณ มีอสังขตธรรม คือนิพพานเป็นอารมณ์
กล่าวโดยองค์ธรรม อารัมมณูปนิชฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา และที่ประกอบกับมหัคคคตฌานทั้ง ๙ เป็นองค์ธรรม ( รูปฌาน ๕ + อรูปฌาน ๔ ) ส่วนลักขณูปนิชฌาน ก็มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหากุศลจิต มัคคจิต ผลจิต เป็นองค์ธรรม


-----------------------------
จากการบรรยายของ พระมหาประกอบ ปภงฺกโร สำนักวิปัสสนาขามสะแกแสง นครราชสีมา

หลักของสมถะและวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้

ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 10 ม.ค. 2010, 08:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=86.msg352#msg352

คำว่า ฌาน หมายถึงองค์ธรรมที่ประกอบร่วมอยู่เป็นประจำในฌานขั้นนั้นๆ และเป็นเครื่องกำหนดแยกฌานแต่ละขั้นออกจากกันให้รู้ว่าในกรณีนั้นเป็นฌานขั้นที่เท่าใด เท่านั้น
มิใช่หมายความว่า ในฌาน มีองค์ธรรมทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้น
ความจริง องค์ธรรมอื่นๆที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเรียกสัมปยุตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง ไ่ม่ประจำบ้าง และไม่ใช่เป็นตัวกำหนดแบ่งขั้นของฌาน ยังมีอีกมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ มนสิการ เป็นต้น
(ดู ม.อุ.14/155-161/116-120)

แม้แต่คำบรรยายฌานแต่ละขั้นในพระสูตร ก็ยังระบุองค์ธรรมที่เน้นพิเศษไว้อีก เช่น ในตติยฌาน (ฌานที่ ๓) เน้นสติสัมปชัญญะเป็นตัวทำหน้าที่ชัดเจนมากกว่าในฌานสองขั้นต้น ซึ่งก็มีสติสัมปชัญญะด้ัวยเช่นกัน และในจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) ย้ำว่า สติบริสุทธิ์แจ่มชัดกว่าในฌานก่อนๆ ทั้งหมด
ทั้งนี้เพราะอุเบกขาแจ่มชัดบริสุทธิ์เป็นเหตุหนุน ไม่เฉพาะสติเท่านั้นที่ชัด
แม้สัมปยุตธรรมอื่นๆ ก็ชัดขึ้นด้วยเหมือนกัน -
(ดู วิสุทธิ.1/207,214)

ความข้อนี้ เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เอาฌานไปสับสนกับภาวะที่จิตลืมตัวหมดความรู้สึกถูกกลืนเลือนหายเข้าไปในอะไร หรือ เข้าไปรวมกับอะไรๆ

(ประเด็นหลังนี้มีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก ฌาน ยิ่งสูงสติสัมปชัญญะจะชัดผ่องใส)

อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย หรือความมีใจเป็นกลาง หรือแปลให้เต็มว่า ความวางทีเฉยดูอยู่ หมายถึง การดูอย่างสงบ หรือ ดูตามเรื่องที่เกิด ไม่ตกเป็นฝักฝ่าย

ในกรณีของฌาน คือไม่ติดข้างแม้แต่ในฌานที่มีความสุขอย่างยอด และความหมายที่สูงขึ้นไปอีก หมายถึง วางทีดูเฉยในเมื่ออะไรทุกอย่างเข้าที่ดำเนินไปด้วยดี หรือ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเจ้ากี้เจ้าการ โดยเฉพาะฌานที่ ๔ (จตุตถฌาน) คือ บริสุทธิ์หมดจดจากธรรมที่เป็นข้าศึกเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้องขวนขวายที่จะกำจัดธรรมที่เป็นข้าศึกนั้นอีก จัดเป็นองค์ฌานโดยเฉพาะของฌานที่ ๔
(ที่ ๕ ของปัญจกนัย)

ความจริงอุเบกขามีในฌานทุกขั้น แต่ในขั้นต้นๆ ไม่เด่นชัด ยังถูกธรรมที่เป็นข้าศึก เช่น วิตก วิจาร และสุขเวทนา เป็นต้นข่มไว้ เหมือนดวงจันทร์ในเวลากลางวัน ไม่กระจ่าง ไม่แจ่ม เพราะถูกแสงอาทิตย์ข่มไว้

ครั้นถึงฌานที่ ๔ ธรรมที่เป็นข้าศึกระงับไปหมด และได้ราตรีื คือ อุเบกขาเวทนา (คือ อทุกขมสุขเวทนา) สนับสนุน * ก็บริสุทธิ์ ผุดผ่อง แจ่มชัด และพาให้ธรรมอื่นๆ ที่ประกอบอยู่ด้วย เช่น สติ เป็นต้น พลอยแจ่มชัดบริสุทธิ์ไปด้วย


* พึงระวังความสับสนระหว่างอุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน ซึ่งได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตา คือ ภาวะเป็นกลาง อันเป็นกุศลธรรมอยู่ในหมวดสังขารขันธ์ กับอุเบกขาที่เป็นเวทนา คือ ความรู้สึกเฉยๆ ซึ่งเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า อทุกขมสุขเวทนา แปลว่า ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ และเป็นของไม่ดีไ่ม่ชั่ว

ในฌานที่ ๔ อุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน มีอุเบกขาเวทนาประกอบร่วมด้วย คือมาทั้งสองอย่าง


เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ สมาธินั่นเอง
มีในฌานทุกขั้น

ความชำนาญเรียกว่า วสี
วสีมี ๕ อย่าง คือ
๑.อาวัชชนวสี ชำนาญในการนึกตรวจองค์ฌานที่ตนเคยออกมาแล้ว
๒.สมาปัชชนวสี ชำนาญในการเข้าฌานนั้นๆ ได้รวดเร็วในทันทีทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ
๓.อธิฏฐานวสี ชำนาญในการอธิษฐาน คือ ตั้งจิตยับยั้งอยู่ในฌานได้นานเท่าที่ต้องการ ไม่ให้ฌานจิตตกภวังค์เสีย
๔. วุฏฐานวสี ชำนาญในการออกจากฌาน ออกได้ตามเวลาที่กำหนดไว้และเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ
๕.ปัจจเวกขณวสี ชำนาญในการพิจารณา ทบทวนองค์ฌาน คือ การทำอย่าง
อาวัชชนวสีนั่นเอง ที่เป็นครั้งหลังๆต่อนั้นมา


พึงทราบ
ลักษณะ
รส (กิจหรือหน้าที่)
ปัจจุปัฏฐาน (เครื่องกำหนด หรือ ผลที่ปรากฏ)
และปทัฏฐาน (เหตุใกล้) ของสมาธิ

ลักษณะ ของสมาธิ ได้แก่ ความไม่ซ่านส่าย
รส ของสมาธิ ได้แก่ การกำจัดความซ่านส่าย หรือ ประมวลสหชาติธรรม (= องค์ธรรมที่เกิดร่วมกับมัน) เข้าด้วยกัน
ปัจจุปัฏฐาน ของสมาธิ ได้แก่ ความไม่หวั่นไหว ความสงบ หรือญาณคือความรู้ตามเป็นจริง
ปทัฏฐาน ของสมาธิ ได้แก่ ความสุข

อนึ่ง อุปจารสมาธิ ก็กำจัดนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว และมีองค์ร่วมรวมทั้งตัวเป็น ๕ เหมือนกัน แต่มีกำลังน้อยกว่าอัปปนาสมาธิ
(วิสุทธิ.1/187)
อย่างไรก็ตาม บางกรณีอุปจารสมาธิ มีอุเบกขาแทนที่ปีติและสุขก็ได้
และในกรณีเช่นนั้น อุปจารสมาธิจะมีองค์ร่วมรวมทั้งตัวเองด้วยเพียง ๔ คือ วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา
(วิสทธิ.1/106-7)

องค์ประกอบร่วมของสมาธิ

สมาธิที่แน่วแน่สนิท เรียกว่า อัปปนาสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ถึงขั้นนี้ก็เป็นอันเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า ฌาน
ในฌานนั้น สมาธิ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกัคคตา จะมีองค์ธรรมอื่นๆ จำนวนหนึ่งเป็นตัวประกอบร่วมอยู่ด้วยเป็นประจำเสมอไป
ฌาน มีหลายขั้น คือแบ่งเป็น ๔ ตามแนวพระสูตรแต่เดิมบ้าง
แบ่งเป็น ๕ ตามแนวอภิธรรมบางแห่งบ้าง
ยิ่งฌานชั้นสูงขึ้นไป ก็ยิ่งประณีตขึ้น
ยิ่งประณีตขึ้น ก็ยิ่งมีองค์ธรรมที่ประกอบร่วมประจำน้อยลงไปตามลำดับ

องค์ธรรมประกอบร่วมประจำในฌาน รวมทั้งตัวสมาธิ หรือเอกัคคตาด้วยนั้น เรียกกันสั้นๆว่า องค์ฌาน หรือตามบาลีว่า ฌานงฺค

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งร้อยทั้งร้อยของคนที่มาแนวนี้ คือคนที่ทำสมาธิไม่ได้ ก็องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวานไป...

สังคมสมัยพุทธกาล แม้ไม่ถึงกับได้ฌาณ (แน่วแน่เป็นหนึ่ง) แต่จิตโดยพื้นฐาน ก็ไม่ได้สุขนิยม ท่วมท้นเหมือนปัจจุบัน เพราะฉะนั้น จะไม่ทำสมถะเลย หันมาวิปัสสนา เช่น กายคตาสติ เลย ก็เป็นไปได้... และเมื่อวิปัสสนาไปมากเข้า ฌาณก็จะตามมาเองโดยง่าย...

แต่สังคมสมัยนี้ โดยเฉพาะสังคมเมือง จะวิปัสสนาอย่างเดียว ก็เห็นจะไม่มีทางได้มรรคผลอะไร ตายเปล่ายิ่งกว่าฝึกสมถะแบบแท้ๆ เสียอีก ฝึกสมถะแท้ๆ ยังได้ความสงบ แต่ฝึกวิปัสสนาบนความฟุ้งซ่าน ก็จะได้ตายแบบฟุ้งซ่าน...

บางคนโจมตีสมถะว่า หินทับหญ้า แต่อย่างน้อย หญ้าก็ไม่โต ตายไปอาจไม่ถึงนิพพาน แต่ชั้นพรหมก็เป็นอันดับ 2 ในวัฎสงสาร
ส่วนวิปัสสนาบนความฟุ้งซ่าน หญ้างอกงามดี ตายไปจะได้เป็นเทวดาหรือเปล่าก็ไม่รู้ ดีไม่ดีก็ตกอบายไปเลย...

ก็ไม่ได้บอกว่าให้หันมาทำสมถะกันหมด แต่พื้นฐานคนไม่เท่ากัน หากสติดี ไม่ฟุ้งซ่านมากนัก จะวิปัสสนาไปเลยก็ย่อมได้ ถ้าทำแล้วรู้สึกคล่องตัว ก็แสดงว่า มาถูกทาง
สมัยนี้เขามีอีกวิธีคือ ดูจิต ซึ่งก็เป็นขั้นพื้นฐานที่ดี เป็นการเจริญสติ ซึ่งถ้าทำได้ดี วันหนึ่งวันใดจะมาฝึกสมาธิ ไม่ว่าจะสมถะหรือวิปัสสนา ก็จะไปได้เร็ว...

แต่พอเถอะ ที่ยกว่า วิปัสสนาบนความฟุ้งซ่าน นั้นสุดยอด เห็นมีหลายคนแล้วที่มาแบบนี้ ก็ไม่เห็นจะมีเจ้าสำนักใดที่ดูเข้าท่าเข้าทาง เพราะเห็นจะกิจหลักอยู่อย่างเดียว คือ โจมตีสมถะ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ลองตอบปัญหานี้ดู

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=24709

เมื่อวานนี้ ขณะนั่งกำหนดลมหายใจ "พองหนอ" "ยุบหนอ" ได้ประมาณ 10 กว่านาที รู้สึกเหมือนร่างกายด้านซ้ายขวาถูกบีบเข้าหากัน หลังจากนั้นตัวก็โยกไปมาซ้ายขวาอย่าง ๆ ช้า คอก็โยก (โยกจริง)เหมือนตัวอ่อนคออ่อนมากเลย จึงกำหนดว่า "โยกหนอ ๆ" เมื่อครบ 20 นาที จึงอธิษฐานอุทิศส่วนกุศลและแผ่เมตตาก็ยังโยกอยู่ ตอนเลิกนั่งใหม่ ๆ ก็ยังรู้สึกว่าโยก และประมาณ 3-4 นาทีก่อนหมดเวลา จะไม่ค่อยรู้สึกว่าหายใจ จึงกำหนดว่า "นั่งหนอ ๆ"

วันนี้ตอนที่เริ่มนั่งใหม่ ๆ กำหนดลมหายใจได้ประมาณ 6-7 นาที ก็ไม่รู้สึกว่าหายใจ จึงกำหนดว่า "นั่งหนอ" ผ่านไปประมาณนาทีที่ 14-15 ตัวค่อย ๆ อ่อนค้อมลงไปช้า ๆ จนหัวแตะพื้น ไม่แน่ใจว่าต้องทำยังไงจึงดึงตัวกลับขึ้นมานั่งตามเดิม กำหนด "นั่งหนอ ๆ" ได้ 4-5 ครั้ง ตัวก็ค้อมลงไปอีก คราวนี้ไม่ได้ดึงตัวกลับขึ้นมา แต่กำหนดว่า "ตัวค้อมหนอ" จนครบ 20 นาที ระหว่างการแผ่อุทิศส่วนกุศลและแผ่เมตตา มีตัวโยกคอโยกเล็กน้อย เลิกนั่งสักพักจึงหาย

การไม่รู้สึกว่าหายใจคืออะไรคะ
และควรทำอย่างไรกับอาการค้อมตัวลงคะ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ


ที่ซึ่งมีสติ และเป็นสติที่บริสุทธิ์

สติที่บริสุทธิ์เป็นอริยะทรัพย์คือปัญญา




สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ??

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข


เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ murano เขียน

ซึ่งร้อยทั้งร้อยของคนที่มาแนวนี้ คือคนที่ทำสมาธิไม่ได้ ก็องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวานไป...

สังคมสมัยพุทธกาล แม้ไม่ถึงกับได้ฌาณ (แน่วแน่เป็นหนึ่ง) แต่จิตโดยพื้นฐาน ก็ไม่ได้สุขนิยม ท่วมท้นเหมือนปัจจุบัน เพราะฉะนั้น จะไม่ทำสมถะเลย หันมาวิปัสสนา เช่น กายคตาสติ เลย ก็เป็นไปได้... และเมื่อวิปัสสนาไปมากเข้า ฌาณก็จะตามมาเองโดยง่าย...

แต่สังคมสมัยนี้ โดยเฉพาะสังคมเมือง จะวิปัสสนาอย่างเดียว ก็เห็นจะไม่มีทางได้มรรคผลอะไร ตายเปล่ายิ่งกว่าฝึกสมถะแบบแท้ๆ เสียอีก ฝึกสมถะแท้ๆ ยังได้ความสงบ แต่ฝึกวิปัสสนาบนความฟุ้งซ่าน ก็จะได้ตายแบบฟุ้งซ่าน...


คุณ murano เหตุที่ สมัยพุทธกาล ผู้บรรลุธรรม ที่เจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา โดยไม่อาศัย ฌาน จากอัปปนาสมาธิ นั้น มีเป็นจำนวนมากกว่า ผมว่าด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่างนะครับ

ไม่ใช่แค่ไม่ติดใน สุขนิยม อย่างเดียว แต่ด้วยพื้นฐาน ของ อุปนิสัย บารมีธรรม ที่สั่งสมมานับภพชาติไม่ถ้วน จึงทำให้การบรรลุธรรม ที่แตกต่างกัน

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

อนุปัสสนา ๓
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/076.htm

๑. อนิจจานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรมที่เกิดดับอยู่ทุกขณะ ว่าไม่เที่ยง เหมาะใจในการดูอนิจจัง เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย สีล

๒. ทุกขานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรม ที่เกิดดับอยู่ทุกขณะ ว่าทนอยู่ไม่ได้ เหมาะใจในการดูทุกขัง เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย สมาธิ

๓. อนัตตานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรม ที่เกิดดับอยู่ทุกขณะว่า บังคับบัญชาไม่ได้ เหมาะใจในการดูอนัตตา เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย ปัญญา

การกำหนดจนเห็นไตรลักษณ์นี้ ย่อมเห็นแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ว่าจะเห็นทั้ง ๓ อย่าง เมื่อเห็นอย่างใดก็ได้ชื่อว่า เห็นแจ้งทั้ง ๓ อย่าง เพราะทั้ง ๓ อย่างนี้มีลักษณะที่สมคล้อยกัน กล่าวคือ

เพราะไม่เที่ยง จึงทนอยู่ไม่ได้ ที่ทนอยู่ไม่ได้ก็เพราะไม่เที่ยง ถ้าเที่ยงก็ทนอยู่ได้ ถ้าทนอยู่ได้ก็ถือว่าเที่ยงได้ ที่ไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้ ก็เพราะบังคับบัญชาว่ากล่าวไม่ได้ ถ้าบังคับบัญชาว่ากล่าวได้ ก็จะบังคับบัญชาให้เที่ยงให้ทนอยู่ได้

เมื่อเห็นลักษณะใด ก็ตามดูลักษณะนั้นเรื่อยไป และนับตั้งแต่ได้เห็น ไตรลักษณ์ แห่งรูปนามเป็นต้นไป ได้ชื่อว่ามีปัญญาถึงขั้น วิปัสสนาญาณ แล้ว



อนึ่ง บุคคล ที่เกิดในสมัยพุทธกาล ล้วนเป็นผู้มี บุญ บารมี มีปัญญามาก ๆ (ไตรเหตุ) คุณ murano จึงไม่ควรคิดแบบสั้น ๆ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย
ชฏาสูตรที่ ๓


เทียบบาลีได้ว่า

สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเยชฏํ

นรชนผู้มีปัญญา เป็นภิกขุ มีความเพียรมีปัญญาเป็นเครื่องบริหาร
ตั้งตนไว้ในศีลแล้วทำสมาธิจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เธอจะพึงถางรกชัฏอันนี้เสียได้

--จะเห็นได้ว่า ประโยคนี้ "ป้ญญา" ถึง 3 อย่าง แต่ละปัญญามีองค์ธรรม มีสภาวะธรรม อยู่ เป็นภาวะของอักขระบาลี ที่กอรปด้วย สภาวะธรรม องค์ธรรม ธาตุ ปัจจัย วิภัตติ ฯลฯ

คำแรก สปญฺโญ มาจาก ส + ปัญญา
ส แปลว่า ประกอบ
ส + ปัญญา ผู้ประกอบด้วยปัญญา
หมายถึง ผู้ประกอบด้วยปัญญาคือมีปัญญามาแต่กำเนิด คือ ผู้ที่ปฏิสนธิไตรเหตุ เป็นติเหตุกบุคคล


คำที่สอง ปญฺญญฺจ มากจาก ปัญญา + จ
ปัญญานี้ คือ วิปัสสนาปัญญา หมายความว่า ปัญญาที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดวิปัสสนาและวิปัสสนาญาณเจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้



คำที่สาม นิปโก มากจากคำว่า เนปักกะ
ปัญญา คือ ปัญญาอันเป็นเครื่องบริหาร
ปัญญาอันเป็นเครื่องบริหาร คือ ปัญญาใน อุเทศ ปริปุจฉา สาธยาย สมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน อธิศีล อธิจิต อธิสิกขา การบำเพ็ญวัตร และ ระเบียบวัตร

--------------------------------------------------------------------

ต้องการนิพพานต้องรู้ถูก

http://www.abhidhamonline.org/Ajan/SW/ni.doc


สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ
จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ
โส อิมํ วิชฏเยชฏํ

ความว่า นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ murano เขียน

ซึ่งร้อยทั้งร้อยของคนที่มาแนวนี้ คือคนที่ทำสมาธิไม่ได้ ก็องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวานไป...

สังคมสมัยพุทธกาล แม้ไม่ถึงกับได้ฌาณ (แน่วแน่เป็นหนึ่ง) แต่จิตโดยพื้นฐาน ก็ไม่ได้สุขนิยม ท่วมท้นเหมือนปัจจุบัน เพราะฉะนั้น จะไม่ทำสมถะเลย หันมาวิปัสสนา เช่น กายคตาสติ เลย ก็เป็นไปได้... และเมื่อวิปัสสนาไปมากเข้า ฌาณก็จะตามมาเองโดยง่าย...

แต่สังคมสมัยนี้ โดยเฉพาะสังคมเมือง จะวิปัสสนาอย่างเดียว ก็เห็นจะไม่มีทางได้มรรคผลอะไร ตายเปล่ายิ่งกว่าฝึกสมถะแบบแท้ๆ เสียอีก ฝึกสมถะแท้ๆ ยังได้ความสงบ แต่ฝึกวิปัสสนาบนความฟุ้งซ่าน ก็จะได้ตายแบบฟุ้งซ่าน...



การจะฝึก สมาธิให้เกิด ฌาน ในสังคมเมืองในปัจจุบัน ผมว่าเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเต็มไปด้วยข้าศึก

อนึ่ง สมมุติทำฌานได้จริง ผมก็ยังไม่เห็น สำนักไหนที่สอน การยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา แบบในพระไตรปิฏก อรรถกถา

อานาปานบรรพ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.p ... i=273&p=2#อานาปานบรรพ
เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้งด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก
แต่พระโยคาวจรกำหนดกัมมัฏฐานนี้แล้วให้จตุตถฌาน มีอานาปานสติเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ทำฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันยอดจะทำได้ง่าย ก็แต่ในป่าที่ไม่มีบ้าน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่ภิกษุโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา ไปป่าก็ดี เป็นต้น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนอาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิ. อาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิเห็นพื้นที่ควรสร้างนครแล้ว ใคร่ครวญถี่ถ้วนแล้ว ก็ชี้ว่า ท่านทั้งหลายจงสร้างนครตรงนี้ เมื่อเขาสร้างนครเสร็จ โดยสวัสดีแล้ว ย่อมได้รับลาภสักการะอย่างใหญ่จากราชสกุล ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นก็ฉันนั้น ทรงใคร่ครวญถึงเสนาสนะอันเหมาะแก่พระโยคาวจรแล้วทรงชี้ว่า เสนาสนะตรงนี้ พระโยคาวจรควรประกอบกัมมัฏฐานเนืองๆ ต่อแต่นั้น พระโยคีเจริญกัมมัฏฐานเนืองๆ ในเสนาสนะนั้น ได้บรรลุพระอรหัตตามลำดับ ย่อมทรงได้รับสักการะอย่างใหญ่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ จริงหนอ.
ก็ภิกษุนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นเช่นเดียวกับเสือเหลือง. เหมือนอย่างพระยาเสือเหลืองขนาดใหญ่อาศัยพงหญ้าป่าชัฏ หรือเทือกเขาในป่า ซ่อนตัวคอยจับหมู่มฤคมีกระบือป่า ละมัง หมูป่าเป็นต้น ฉันใด ภิกษุนี้ผู้มีเพียรประกอบเนืองๆ ซึ่งกัมมัฏฐานในป่าเป็นต้น ย่อมถือเอาซึ่งมรรค ๔ และอริยผล ๔ ได้ตามลำดับ ฉันนั้นเหมือนกัน.


------------------------------------------------------------------------------

อรรถกถา อานาปานสติสมาธิกถา
viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น


-----------------------------------------------

อ้างคำพูด:
แต่สังคมสมัยนี้ โดยเฉพาะสังคมเมือง จะวิปัสสนาอย่างเดียว ก็เห็นจะไม่มีทางได้มรรคผลอะไร ตายเปล่ายิ่งกว่าฝึกสมถะแบบแท้ๆ เสียอีก ฝึกสมถะแท้ๆ ยังได้ความสงบ แต่ฝึกวิปัสสนาบนความฟุ้งซ่าน ก็จะได้ตายแบบฟุ้งซ่าน..


แต่ผมเห็นด้วยกับ พระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก ท่านหนึ่ง ที่แสดงไว้ว่า

หลักของสมถะและวิปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21049

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง

สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้

ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา

----------------------------------------------

อ้างคำพูด:
แต่สังคมสมัยนี้ โดยเฉพาะสังคมเมือง จะวิปัสสนาอย่างเดียว ก็เห็นจะไม่มีทางได้มรรคผลอะไร ตายเปล่ายิ่งกว่าฝึกสมถะแบบแท้ๆ เสียอีก ฝึกสมถะแท้ๆ ยังได้ความสงบ แต่ฝึกวิปัสสนาบนความฟุ้งซ่าน ก็จะได้ตายแบบฟุ้งซ่าน..


แต่ผมสามารถฝึกหัด กำหนดทุกข์ ได้ แม้จะฟุ้งซ่านบ้าง ที่ก็เป็นการ สั่งสม ปัญญาบารมีไว้ครับ

แบบฝึกหัดวิปัสสนา
http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=10&


ก็
อ้างคำพูด:
ไม่ได้บอกว่าให้หันมาทำสมถะกันหมด แต่พื้นฐานคนไม่เท่ากัน หากสติดี ไม่ฟุ้งซ่านมากนัก จะวิปัสสนาไปเลยก็ย่อมได้ ถ้าทำแล้วรู้สึกคล่องตัว ก็แสดงว่า มาถูกทาง
สมัยนี้เขามีอีกวิธีคือ ดูจิต ซึ่งก็เป็นขั้นพื้นฐานที่ดี เป็นการเจริญสติ ซึ่งถ้าทำได้ดี วันหนึ่งวันใดจะมาฝึกสมาธิ ไม่ว่าจะสมถะหรือวิปัสสนา ก็จะไปได้เร็ว...

แต่พอเถอะ ที่ยกว่า วิปัสสนาบนความฟุ้งซ่าน นั้นสุดยอด เห็นมีหลายคนแล้วที่มาแบบนี้ ก็ไม่เห็นจะมีเจ้าสำนักใดที่ดูเข้าท่าเข้าทาง เพราะเห็นจะกิจหลักอยู่อย่างเดียว คือ โจมตีสมถะ...


คุณ murano ครับ เวลาเข้าปฏิบัติ เจอบ่อย ๆ ครับ ไอ้ความฟุ้งซ่านเนี่ย บางครั้งก็ท้อใจเหมือนกันครับ ก็ได้ข้อคิดจาก ครูบาอาจารย์ดังนี้


แนะแนวการปฏิบัติวิปัสสนา

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180

ฟุ้ง

ตามธรรมดาจิตเราไม่เคยอบรม มันก็เที่ยวกวัดแกว่งไป พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อะไรจะเร็วเท่ากับจิตใจไม่มี ไวที่สุดเลย เพราะฉะนั้น เป็นของอบรมยากและก็อยู่อยากด้วย ทีนี้เวลาที่เรากำหนดในรูปนั่งนี่ประเดี๋ยวมันก็ไปแล้ว ที่แรกก็รู้อยู่ว่าดูรูปนั่ง ประเดี๋ยวก็เผลอแพล็บไป ออกไปแล้ว ขณะนี้จิตใจมันก็เที่ยวอยู่ทั้งวันทั้งคืนเหมือนกัน แต่ว่า เราไม่ดูมันก็เหมือนกับว่า มันไม่ไปไหน แต่พอเราไปเข้ากรรมฐาน พอเราจะไปจับมันเท่านั้นแหละ ไปแพล็บ ไปแพล็บ นี่เพราะว่าเราดูเข้า เราจึงเห็นว่า มันไป ฟุ้งนี่เป็นอาการของจิตใจ เป็นนามธรรม เรียกว่า "นามฟุ้ง" ธรรมชาติของจิตย่อมคิดฟุ้งไปต่างๆ

เมื่อไปแล้วก็แล้วกัน ไม่ต้องไปสนใจ แล้วใจก็อย่าไปนึกว่า จะต้องอยู่ที่นี่ไม่ให้มันฟุ้ง ไม่ให้มันไป ไม่ให้มันฟุ้งไปที่อื่น จะให้มันอยู่ที่นี่ไม่ได้ ทำความรู้สึกอย่างนี้ไม่ได้ ทำความรู้สึกอย่างนี้มันเป็นที่อาศัยของกิเลสเหมือนกัน พอมันไปแล้วก็ให้ทำความรู้สึกอย่างเดียวว่า นี่หลุดไปแล้ว หลุดไปแล้วจากนั่ง ให้ดูก็ไม่ดูเมื่อไม่ดูก็กลับมาให้มันดูใหม่ ไปอีกก็ช่างก็กลับมาใหม่อย่าไปไม่พอใจมัน มันจะชักเกิดความไม่พอใจ พอเกิดความไม่พอใจแล้วยิ่งจะฟุ้งใหญ่ ทำอย่างนั้นไม่ได้ ไม่มีหน้าที่จะไปแก้ไขอะไรทั้งหมด เมื่อมันไม่อยู่ไม่ดูเราก็รู้สึกว่า อ้อ หลุดไปแล้ว กลับมาดูใหม่อีก เหมือนกับคนหัดถีบรถจักรยาน พอล้มแล้วท่านจะทำอย่างไร โกรธว่ามันล้มหรือมันไม่ควรจะล้มอย่างนั้นหรือๆ มันไม่ถูกใช่ไหม โกรธแล้วมันจะไม่ล้มอย่างนั้นหรือ ? เปล่า ! มันก็ล้ม แล้วล้มบ่อยด้วยใช่ไหม แล้วล้มบ่อยจะทำอย่างไรล่ะ จึงจะไม่ให้ล้ม มีวิธีไหนที่จะไม่ให้ล้ม ไม่มีต้องขึ้นอีกอย่างเดียวเท่านั้น ล้มแล้วขึ้นอีก ล้มแล้วขึ้นอีกจนกระทั่งชำนาญแล้ว

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่ได้บอกว่าให้หันมาทำสมถะกันหมด แต่พื้นฐานคนไม่เท่ากัน หากสติดี ไม่ฟุ้งซ่านมากนัก จะวิปัสสนาไปเลยก็ย่อมได้ ถ้าทำแล้วรู้สึกคล่องตัว ก็แสดงว่า มาถูกทาง
สมัยนี้เขามีอีกวิธีคือ ดูจิต ซึ่งก็เป็นขั้นพื้นฐานที่ดี เป็นการเจริญสติ ซึ่งถ้าทำได้ดี วันหนึ่งวันใดจะมาฝึกสมาธิ ไม่ว่าจะสมถะหรือวิปัสสนา ก็จะไปได้เร็ว...

แต่พอเถอะ ที่ยกว่า วิปัสสนาบนความฟุ้งซ่าน นั้นสุดยอด เห็นมีหลายคนแล้วที่มาแบบนี้ ก็ไม่เห็นจะมีเจ้าสำนักใดที่ดูเข้าท่าเข้าทาง เพราะเห็นจะกิจหลักอยู่อย่างเดียว คือ โจมตีสมถะ...





คุณ murano ครับ ฟุ้ง ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง บังคับบัญชาไม่ได้ แต่เมื่อมีสติ กำหนดรู้เท่าทัน ใน นามฟุ้ง สติก็กลับคืนมา อยู่ที่ อิริยาบถ ต่อไป

ถึงแม้บางครั้ง จะกลับมาช้าหน่อย เพราะฟุ้งไปไกลเหลือเกิน แต่ก็ ตั้งบ่อย ๆ ที่ อาจารย์แนบ บอกเหมือน การหัดขี่จักรยานนะครับ ล้มแล้วก็ตั้งขึ้นใหม่

แต่ พระวิปัสสนาจารย์ ที่ผมศึกษามา ท่านไม่ได้โจมตีสมถะ แต่อย่างใด

เพียงแต่ท่านเน้นการปฏิบัติ ในแบบที่อาศัย ขณิกสมาธิ ที่ตั้งอยู่บนรูป นาม เป็นขณะ ๆ ไป

แต่นักปฏิบัติสมาธิบางท่าน อาจจะเข้าใจแนวทางการปฏิบัติแบบ วิปัสสนายานิก ผิด ๆ เข้าใจว่าตนเองถูกโจมตี

นี้ก็เพราะ การปฏิบัตินั้น ขาดพื้นฐานใน คันถธุระ หรือ ปริยัติศาสนา นั้นเอง

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การจะฝึก สมาธิให้เกิด ฌาน ในสังคมเมืองในปัจจุบัน ผมว่าเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเต็มไปด้วยข้าศึก
อนึ่ง สมมุติทำฌานได้จริง ผมก็ยังไม่เห็น สำนักไหนที่สอน การยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา แบบในพระไตรปิฏก อรรถกถา


พระไตรปิฎกอรรถกถา เขายกองค์ฌานยังไงขอรับ :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถ
viewtopic.php?f=2&t=21049

--------------------------------------------

การจะฝึก สมาธิให้เกิด ฌาน ในสังคมเมืองในปัจจุบัน ผมว่าเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเต็มไปด้วยข้าศึก
อนึ่ง สมมุติทำฌานได้จริง ผมก็ยังไม่เห็น สำนักไหนที่สอน การยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา แบบในพระไตรปิฏก อรรถกถา


อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎกอรรถกถา เขายกองค์ฌานยังไงขอรับ


คุณกรัชกายครับ หลักฐานจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ผมก็นำมาแสดงที่ด้านบนแล้วนี้ครับ

หรือว่า ไม่ตรงกับแนวทางการปฏิบัติของคุณกรัชกาย ?

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การจะฝึก สมาธิให้เกิด ฌาน ในสังคมเมืองในปัจจุบัน ผมว่าเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเต็มไปด้วยข้าศึก
อนึ่ง สมมุติทำฌานได้จริง ผมก็ยังไม่เห็น สำนักไหนที่สอน การยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา แบบในพระไตรปิฏก อรรถกถา


อ้างอิงคำพูด:
พระไตรปิฎกอรรถกถา เขายกองค์ฌานยังไงขอรับ


คุณกรัชกายครับ หลักฐานจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ผมก็นำมาแสดงที่ด้านบนแล้วนี้ครับ หรือว่า ไม่ตรงกับแนวทางการปฏิบัติของคุณกรัชกาย ?


คุณเฉลิมศักดิ์คัดลอกตรงที่ว่า ยกฌานมาให้ดูสัก 4-5 บรรทัดสิครับ :b28:

ฌานตามความหมายตามรู้สึกของคุณได้แก่อะไร ต้องยังไงครับฌานน่า :b1:

แล้วอะไรที่คุณว่าเป็นข้าศึกของฌาน :b12:
:b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ม.ค. 2010, 08:38, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณเฉลิมศักดิ์คัดลอกตรงที่ว่า ยกฌานมาให้ดูสัก 4-5 บรรทัดสิครับ


คุณกรัชกาย ศึกษาไม่ละเอียดหรือครับ หรือ อ่านผ่าน ๆ จึงไม่เจอ ?

อานาปานสติสมาธิกถา
viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น




คุณกรัชกายครับ แนวทางพองหนอ ยุบหนอของคุณ ที่อ้างสืบทอดกันมาว่า เป็น วิปัสสนา นั้น ไม่ตรงกับพระไตรปิฏก อรรถกถา เลยครับ

มีแต่ทำให้สงบอยู่กับคำภาวนา สงบแล้วก็ไปตันอยู่แค่นั้น แม้จะภาวนาว่า รู้หนอ ๆ ๆ


---------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
ฌานตามความหมายตามรู้สึกของคุณได้แก่อะไร ต้องยังไงครับฌานน่า


พูดถึง ฌานแล้ว ชาวพุทธส่วนใหญ่ ก็จะนึกถึงแต่ ผลของสมถะ(สมาธิ)ขั้น อัปปนาสมาธิ เท่านั้น แต่ที่ที่จริงมี ๒ ความหมาย คือ เพ่งบัญญัติ (สมถะ) กับ ปรมัตถ์ (วิปัสสนา)

แต่ผู้ที่เชื่อว่าการทำสมถะ เท่านั้นจึงจะเกิดปัญญาได้ มักอ้างพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า ฌานคู่ควรแก่ผู้มีปัญญา

21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ
viewtopic.php?f=2&t=21062



ความแตกต่างกันระหว่างฌานทั้ง ๒

กล่าวโดยอารมณ์ อารัมมณูปนิชฌาน มีสมถกัมมัฏฐาน เช่น ปฐวีกสิณซึ่งเป็นบัญญัติเป็นต้น เป็นอารมณ์ ส่วนลักขณูปนิชฌาน นั้น คือวิปัสสนาญาณ มีรูปนาม ไตรลักษณ์ สังขตธรรม เป็นอารมณ์ มัคคญาณ ผลญาณ มีอสังขตธรรม คือนิพพานเป็นอารมณ์

กล่าวโดยองค์ธรรม อารัมมณูปนิชฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา และที่ประกอบกับมหัคคคตฌานทั้ง ๙ เป็นองค์ธรรม ( รูปฌาน ๕ + อรูปฌาน ๔ ) ส่วนลักขณูปนิชฌาน ก็มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหากุศลจิต มัคคจิต ผลจิต เป็นองค์ธรรม



จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

ฌาน คืออะไร
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/053.htm

นิวรณ์ของฌาน
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/054.htm

การเผานิวรณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p1/055.htm

สัปปายธรรม
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/038.htm

อ้างคำพูด:
แล้วอะไรที่คุณว่าเป็นข้าศึกของฌาน


ตามอรรถกถา อานาปานบรรพ ในความเห็นด้านบน ก็คือ เสียงรบกวนต่าง ๆ ครับ

อ้างคำพูด:
อานาปานบรรพ

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.p ... i=273&p=2#


เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ

อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้งด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก


การจะทำสมาธิให้เกิดฌานได้ ต้อง สัปปายะ จริง ๆ มีเสียงดังก็ไม่ได้ อาหารไม่ถูกปาก ก็ไม่ได้

ใครที่บอกว่า ทำฌานได้ในสังคมเมือง จึงไม่น่าเชื่อครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


กำหนดลมอัสสาสปัสสาสะ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.p ... i=273&p=2#

ก็คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน นี้เป็นเพียงคำอุปมาเท่านั้น. คำว่า ในกายภายใน ก็ดีนี้เป็นเพียงอัปปนาเท่านั้น. แต่อัปปนานั้นก็ย่อมไม่มาในคำนั้น. มาแต่อุปจารกัมมัฏฐานที่เหลือ. แต่ก็ยังมาไม่ถึง คำว่า ผู้ขยัน หมายถึง ผู้ฉลาด (ผู้ชำนาญ).
คำว่า ชักเชือกกลึงยาวก็ดี ความว่า เหยียดมือ เหยียดเท้า ชักเชือกยาวในเวลากลึงกลองช่องพิณเป็นต้น ซึ่งเป็นของใหญ่. คำว่า ชักเชือกสั้นก็ดี ความว่า ชักเชือกสั้นๆ ในเวลากลึงของเล็กๆ น้อยๆ เช่นงาและลิ่มสลักเป็นต้น.
คำว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล ความว่า แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้น เมื่อหายใจเข้ายาวโดยลมอัสสาสะและปัสสาสะ ที่เป็นไปโดยระยะยาวและระยะสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว ฯลฯ คอยสำเหนียกอยู่ว่าเราหายใจออกยาวดังนี้. เมื่อเธอสำเหนียกอยู่อย่างนี้ ฌาน ๔ ย่อมเกิดในนิมิตแห่งลมอัสสาสปัสสาสะ. เธอออกจากฌานแล้ว จะกำหนดลมอัสสาสปัสสาสะ หรือองค์ฌานได้.
ในการกำหนดลมอัสสาสปัสสาสะนั้น ภิกษุประกอบกัมมัฏฐานในลมอัสสาสปัสสาสะ ย่อมกำหนดรูปอย่างนี้ว่า ลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านี้อาศัยอะไร อาศัยวัตถุ กรัชกาย ชื่อว่าวัตถุ มหาภูตรูป ๔ กับอุปาทายรูป ชื่อว่ากรัชกาย ต่อแต่นั้น จึงกำหนดในนามธรรม ซึ่งมีผัสสะเป็นที่ ๕ (๑. เวทนา ๒. สัญญา ๓. เจตนา ๔. วิญญาณ ๕. ผัสสะ) มีรูปนั้นเป็นอารมณ์.
ครั้นกำหนดนามรูปนั้นอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ค้นหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้นอยู่ เห็นปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้นแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้ว่านี้เป็นเพียงปัจจัย และธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเท่านั้น ไม่ใช้สัตว์หรือบุคคล จึงยกนามรูปกับทั้งปัจจัย ขึ้นสู่พระไตรลักษณ์เจริญวิปัสสนาอยู่ ย่อมบรรลุพระอรหัตโดยลำดับ. นี้เป็นทางปฏิบัติออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.
ภิกษุผู้เจริญฌานกัมมัฏฐาน กำหนดนามรูปว่า องค์ฌานเหล่านี้อาศัยอะไร อาศัยวัตถุรูป กรัชกายชื่อว่าวัตถุรูป องค์ฌานจัดเป็นนาม กรัชกายจัดเป็นรูป เมื่อจะแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น จึงเห็นปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้น จึงข้ามความสงสัยเสียได้ว่า นี้เป็นเพียงปัจจัยและธรรมอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคล จึงยกนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ. นี้เป็นมุขของการออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.

-----------------------------------------------------
21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถ
viewtopic.php?f=2&t=21049

-----------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
คุณเฉลิมศักดิ์คัดลอกตรงที่ว่า ยกฌานมาให้ดูสัก 4-5 บรรทัดสิครับ


คุณกรัชกาย ตั้งตนเป็น พระวิปัสสนาจารย์ ให้คำแนะนำในการปฏิบัติ แต่ไม่รู้แนวทางการปฏิบัติสมถะยานิกะ จึงเหมือนคนตาบอดที่บอกทางผู้อื่น

ภาษาบาลี กรัชกาย ที่นำมาตั้งเป็นชื่อตนเอง ก็ยังไม่เข้าใจ

คุณกรัชกายควรจะละอายใจบ้างนะครับ ในการจะไปสอนกรรมฐานผู้อื่น

เห็นอาจารย์สายยุบหนอ พองหนอ หลายท่านแล้วครับ ที่สอนผิดเพี้ยนไปจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา เข้าใจผิดคิดว่า ตนเองเกิด วิปัสสนาญาณขั้นสูง หรือ บรรลุธรรมแล้ว เช่น จากหนังสือ พุทธวิปัสสนา (สายยุบหนอ พองหนอ )

ถ้าหากผู้ปฏิบัติรู้สึกขนลุกขนชัน หรือรู้สึกซู่ซ่าตามตัวหรือแขนขา หรือสะดุ้งขึ้นมาเฉย ๆ ก็ให้กำหนดว่า " ขนลุกหนอ" หรือ " ซู่ซ่าหนอ " หรือ "สะดุ้งหนอ" แล้วแต่กรณีอาการเหล่านั้นจะหายไป หรือถ้าเกิดสงสัยขึ้นมาในใจ เช่น สงสัยว่าว่า วิธีกำหนด " พองหนอ ยุบหนอ " เช่นนี้ จะทำให้บรรลุมรรคผลได้อย่างไร ดูไม่มีเหตุผลเลย หรือสงสัยว่า วิธีปฏิบัติอยู่นี้จะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่มรรคผลได้หรือไฉน ก็ให้กำหนดว่า "สงสัยหนอ สงสัยหนอ" แล้วหันมากำหนด "พองหนอ ยุบหนอ" ใหม่ ความสงสัยจะค่อย ๆ คลายลงและหมดไปในที่สุด พร้อมกับเต็มใจที่จะปฏิบัติตามวิธีที่ทำมาแล้ว
เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้ ก็เป็นอันถือได้ว่า ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึง ปัจจยปริคคหญาณ โดยสมบูรณ์
!
!
!
กำลังใจของผู้ปฏิบัติในระยะนี้ จะอ่อนแอเกิดความท้อถอย คิดว่า ตนหมดวาสนาที่จะปฏิบัติธรรมเสียแล้วทำให้ไม่อยากปฏิบัติต่อไป และไม่อยากแม้แต่จะเข้าห้องปฏิบัติของตนเอง ถ้าปฏิบัติอยู่ในสำนักวิปัสสนาก็อยากจะหนีไปเสีย เพราะความเบื่อหน่าย และบางทีจะเตรียมเก็บข้าวของหีบห่อเพื่อกลับบ้าน เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจว่า ความรู้หรืออารมณ์ดังกล่าวนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางจิตอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อญาณแก่กล้าขึ้นแล้ว ปรากฏการณ์อย่างนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติทุกคน ฉะนั้นจะต้องพยายามปฏิบัติต่อไป ด้วยน้ำใจอันหนักแน่นไม่ท้อถอย และอย่าเลิกร้างการปฏิบัติเสียเป็นอันขาด อีกไม่ช้านักก็จะถึงจุดมุ่งหมายปลายทางอันเป็นยอดปรารถนา
ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะของ มุญจิตุกัมยตาญาณ ซึ่งโบราณขนานนามว่า " ญาณม้วนเสื่อ " เพราะเมื่อถึงญาณนี้ ผู้ปฏิบัติมักจะม้วนเสื่อและเก็บข้าวของกลับบ้านเนื่องจากเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลาย
เมื่อได้หันกลับมาตั้งใจปฏิบัติเดินจงกรม และนั่งวิปัสสนาต่อไป ความเบื่อหน่ายและความท้อถอยก็จะค่อยๆ อันตรธานและหายไป ให้เปลี่ยนวิธีเดินจงกรมใหม่ คือเพิ่มการเดินห้าจังหวะเข้าด้วย

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น


คุณเฉลิมศักดิ์ขอรับ แยกอย่างนั้น เดินไปวัดโพธิ์ หรือ วัดมหาธาตุ ฯ หรือ ข้ามฝากไปวัดระฆัง ฯ ไปเรียนที่

ห้องเรียนที่เค้าเปิดสอนอภิธรรมก็แยกได้แล้วนะน่า :b12:

นี่หรือวิปัสสนาของคุณ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ม.ค. 2010, 08:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น


-------------------------------------

อ้างคำพูด:
กรัชกาย
คุณเฉลิมศักดิ์ขอรับ แยกอย่างนั้น เดินไปวัดโพธิ์ หรือ วัดมหาธาตุ ฯ หรือ ข้ามฝากไปวัดระฆัง ฯ ไปเรียนที่

ห้องเรียนที่เค้าเปิดสอนอภิธรรมก็แยกได้แล้วนะน่า

นี่หรือวิปัสสนาของคุณ


คุณกรัชกายครับ นั้นเป็นเพียงหลักฐานที่ปรากฏใน พระไตรปิฏก อรรถกถา (คันถธุระ : ปริยัติ )

ต้องเจริญสมาธิจนได้ฌาน แล้วยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา จึงจะถือว่า แยกได้จริงครับ (วิปัสสนาธุระ)

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร