วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 15:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 123 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2010, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สืบเนื่องจากกระทู้ที่ท่านเฉลิมศักดิ์โพสไว้ เพื่อไม่ใ้ห้สับสนในการตอบระหว่างท่านกรัชกายกับผมจึงขอตั้งกระทู้ใหม่

อ้างคำพูด:
แนวทางพองหนอ ยุบหนอของคุณ ที่อ้างสืบทอดกันมาว่า เป็น วิปัสสนา นั้น ไม่ตรงกับพระไตรปิฏก อรรถกถา มีแต่ทำให้สงบอยู่กับคำภาวนา สงบแล้วก็ไปตันอยู่แค่นั้น แม้จะภาวนาว่า รู้หนอ ๆ ๆ

เนื่องจากท่านเฉลิมศักดิ์เข้าใจว่าการปฏิบัติรูปแบบพองหนอ ยุบหนอ นั้นไม่ได้ตรงตามพระไตรปิฏก อีกทั้งยังอ้างว่าได้ลองปฏิบัติดูแล้วกลับทำให้กิเลสเพิ่มขึ้น ผมกล่าวแย้งว่าติ่งหู เพราะว่าท่านเฉลิมศักดิื์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถึงที่สุด เพราะว่า

อ้างคำพูด:
คุณอายะ ครับ เคย สมัยก่อนเคยลองไปปฏิบัติ แบบยุบหนอ พองหนอดูแล้วครับ
ทนอยู่กับทุกขเวทนาได้นานพอสมควร จนความปวด ชา หายบ้างเป็นบางครั้ง
แต่ก็ไม่ได้ความชัดเจนถึงแนวทางการปฏิบัติ แต่สิ่งที่เกิดกับจิต คือ ได้อัตตาเพิ่มขึ้นครับ ไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ อย่างแท้จริง


จากที่เล่ามาแสดงว่าเริ่มมีเวทนาเกิดในเบื้องต้น แต่ถ้าจะให้ผมอุปมาก็เป็นเพียงเวทนาระดับเนอสเซอรี่ พอท่านเฉลิมเจอเวทนาทางกายระดับนี้แล้วพอทนได้ก็รีบสรุปทันทีว่าการปฏิบัติแบบนี้นั้นทำให้กิเลสเพิ่มขึ้นเพราะสามารถสู้กับเวทนาได้ ผมก็อยากจะบอกว่าการปฏิบัตินั้นเวทนามีทั้งทางกายและทางจิต มีตั้งแต่ระดับเนอสเซอรี่จนถึงระดับปริญญาเอก หรือโพสด๊อก มีระดับความปวดประมาณว่าเหมือนถูกมีดกรีดเนื้อสดๆ หรือเอาสว่านมาเจาะแขนขา น่าจะลองกับเวทนาระดับนั้นดูบ้างแล้วค่อยตัดสินอีกทีว่าการปฏิบัติรูปแบบนี้มันไม่ถูกจริงหรือ นี่ยังไม่กล่าวถึงเวทนาทางจิตซึ่งเป็นนามธรรม หรือถ้าวัดเกณฑ์โดยเฉลี่ยของผู้เริ่มปฏิบัติประมาณวันละ 10 ชม ก็น่าจะอยู่ประมาณวันที่ 2-3 แล้วก็กลับบ้าน แล้วก็ตัดสินว่ารูปแบบการปฏิบัติแบบนี้ไม่น่าจะถูก ประมาณนี้ครับ

เจริญธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณอายะครับ คุณเฉลิมศักดิ์คงไม่มากระมังครับ เพราะหวาดหวั่นต่อเวทนา ท่านเคยประสบมาแล้วถึงกับเดิน

ถอยหลังเหมือนกุ้งนะขอรับ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณอายะครับ คุณเฉลิมศักดิ์คงไม่มากระมังครับ


ตั้งกระทู้ไว้เผื่อท่านเฉลิมศักดิ์มานะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อายะ เขียน
จากที่เล่ามาแสดงว่าเริ่มมีเวทนาเกิดในเบื้องต้น แต่ถ้าจะให้ผมอุปมาก็เป็นเพียงเวทนาระดับเนอสเซอรี่ พอท่านเฉลิมเจอเวทนาทางกายระดับนี้แล้วพอทนได้ก็รีบสรุปทันทีว่าการปฏิบัติแบบนี้นั้นทำให้กิเลสเพิ่มขึ้นเพราะสามารถสู้กับเวทนาได้ ผมก็อยากจะบอกว่าการปฏิบัตินั้นเวทนามีทั้งทางกายและทางจิต มีตั้งแต่ระดับเนอสเซอรี่จนถึงระดับปริญญาเอก หรือโพสด๊อก มีระดับความปวดประมาณว่าเหมือนถูกมีดกรีดเนื้อสดๆ หรือเอาสว่านมาเจาะแขนขา น่าจะลองกับเวทนาระดับนั้นดูบ้างแล้วค่อยตัดสินอีกทีว่าการปฏิบัติรูปแบบนี้มันไม่ถูกจริงหรือ นี่ยังไม่กล่าวถึงเวทนาทางจิตซึ่งเป็นนามธรรม หรือถ้าวัดเกณฑ์โดยเฉลี่ยของผู้เริ่มปฏิบัติประมาณวันละ 10 ชม ก็น่าจะอยู่ประมาณวันที่ 2-3 แล้วก็กลับบ้าน แล้วก็ตัดสินว่ารูปแบบการปฏิบัติแบบนี้ไม่น่าจะถูก ประมาณนี้ครับ


คุณอายะครับ ผมเชื่อแนวทางการปฏิบัติแนว ยุบหนอ พองหนอ ทุกข์หนอ ใช้อำนาจสมาธิภาวนาเพื่อข่มเวทนาระดับ ปริญญาเอก ให้ได้ถือว่า ผู้นั้นได้ กำหนดรู้ทุกข์

บางสำนักสอนให้กำหนด ทุกข์หนอ จนทุกข์นั้นหายไป ตายให่มันตาย ผมเห็นว่าเป็นการปฏิบัติไปในแนวทางที่สุดโต่งไปทางทรมานตนเองจนเกินไป

ผมเห็นว่า การกำหนดรู้ใน ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น แล้วขยับเปลี่ยนอิริยาบถ ตามแนวทาง อรรถกถา วิปัสสนาจารย์ เป็นทางสายกลาง ครับ

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔
http://larndham.net/index.php?showtopic=23508&st=0

ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241

การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า ผู้นั้นต้องการให้สติปัฏฐานหายไป ตัวเวทนานั้นเป็นสติปัฏฐาน ท่านชี้แจงให้เรากำหนดเวทนา โดยจะเป็นสุข หรือทุกข์ก็ตาม เมื่ออันใดเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำหนดแต่ละอย่าง ก็สามารถจะบรรลุพระนิพพานได้

แต่เมื่อมหาสติปัฏฐานเกิดขึ้นแล้ว กลับทำให้ความรู้สึกให้มหาสติปัฏฐานนั้นหมดไป ซึ่งถ้าพิจารณาดูด้วยเหตุผลแล้ว จะเป็นการถูกต้องไหม ? เมื่อการปฏิบัติเช่นนี้ โดยทุกขเวทนาหายไปด้วยอำนาจการบังคับ ก็จะรู้สึกว่า ตัวเขาบังคับได้ ที่ถูกแล้วท่านกล่าวว่า ให้ดูทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ท่านไม่ได้สั่งให้ดูทุกขเวทนาเพื่อจะให้ทุกขเวทนาหายไป

ในมหาสติปัฏฐานนั้น ท่านให้ดูทุกขเวทนาซึ่งเป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครสามารถจะบังคับได้ นี่ ท่านให้ดูอย่างนี้

ทุกขเวทนานั้นเป็นนามธรรม มาจากเบญจขันธ์ ให้แลเห็นทุกข์โทษของเบญจขันธ์ แล้วความอาลัย ความต้องการในเบญจขันธ์ ก็จะได้หมดไป ยิ่งเห็นทุกข์เห็นโทษในเวทนามากเท่าไหร่ ก็จะเป็นเหตุให้การบรรลุพระนิพพานใกล้เข้ามาเท่านั้น

ถ้าทุกขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีสุขเวทนา สุขเวทนาไม่มี ก็ต้องมีอุเบกขาเวทนา อันใดอันหนึ่ง เพราะเวทนานี้ ประกอบกับจิตทั้งหมดทุกดวง ทั้ง ๘๙ ดวง ไม่มีเลยที่จะไม่ประกอบด้วยเวทนา

เพราะฉะนั้น เมื่อบังคับให้ทุกขเวทนาหายไป หรือหมดไปแล้ว ก็แสดงว่า ผู้ปฏิบัตินั้นไม่พอใจในทุกขเวทนา และก็ยินดีสุขเวทนา การที่ยินดีพอใจในสุขเวทนา ก็คือยินดีพอใจในตัวเบญจขันธ์นั่นเอง

--------------------------------------------------

จากหนังสือ พุทธวิปัสสนา ของอาจารย์สายยุบหนอ พองหนอ

ถ้าหากผู้ปฏิบัติรู้สึกขนลุกขนชัน หรือรู้สึกซู่ซ่าตามตัวหรือแขนขา หรือสะดุ้งขึ้นมาเฉย ๆ ก็ให้กำหนดว่า " ขนลุกหนอ" หรือ " ซู่ซ่าหนอ " หรือ "สะดุ้งหนอ" แล้วแต่กรณีอาการเหล่านั้นจะหายไป หรือถ้าเกิดสงสัยขึ้นมาในใจ เช่น สงสัยว่าว่า วิธีกำหนด " พองหนอ ยุบหนอ " เช่นนี้ จะทำให้บรรลุมรรคผลได้อย่างไร ดูไม่มีเหตุผลเลย หรือสงสัยว่า วิธีปฏิบัติอยู่นี้จะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่มรรคผลได้หรือไฉน ก็ให้กำหนดว่า "สงสัยหนอ สงสัยหนอ" แล้วหันมากำหนด "พองหนอ ยุบหนอ" ใหม่ ความสงสัยจะค่อย ๆ คลายลงและหมดไปในที่สุด พร้อมกับเต็มใจที่จะปฏิบัติตามวิธีที่ทำมาแล้ว
เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้ ก็เป็นอันถือได้ว่า ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึง ปัจจยปริคคหญาณ โดยสมบูรณ์
!
!
!
กำลังใจของผู้ปฏิบัติในระยะนี้ จะอ่อนแอเกิดความท้อถอย คิดว่า ตนหมดวาสนาที่จะปฏิบัติธรรมเสียแล้วทำให้ไม่อยากปฏิบัติต่อไป และไม่อยากแม้แต่จะเข้าห้องปฏิบัติของตนเอง ถ้าปฏิบัติอยู่ในสำนักวิปัสสนาก็อยากจะหนีไปเสีย เพราะความเบื่อหน่าย และบางทีจะเตรียมเก็บข้าวของหีบห่อเพื่อกลับบ้าน เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจว่า ความรู้หรืออารมณ์ดังกล่าวนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางจิตอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อญาณแก่กล้าขึ้นแล้ว ปรากฏการณ์อย่างนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติทุกคน ฉะนั้นจะต้องพยายามปฏิบัติต่อไป ด้วยน้ำใจอันหนักแน่นไม่ท้อถอย และอย่าเลิกร้างการปฏิบัติเสียเป็นอันขาด อีกไม่ช้านักก็จะถึงจุดมุ่งหมายปลายทางอันเป็นยอดปรารถนา

ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะของ มุญจิตุกัมยตาญาณ ซึ่งโบราณขนานนามว่า " ญาณม้วนเสื่อ " เพราะเมื่อถึงญาณนี้ ผู้ปฏิบัติมักจะม้วนเสื่อและเก็บข้าวของกลับบ้านเนื่องจากเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลาย
เมื่อได้หันกลับมาตั้งใจปฏิบัติเดินจงกรม และนั่งวิปัสสนาต่อไป ความเบื่อหน่ายและความท้อถอยก็จะค่อยๆ อันตรธานและหายไป ให้เปลี่ยนวิธีเดินจงกรมใหม่ คือเพิ่มการเดินห้าจังหวะเข้าด้วย

------------------------------------------------------------------

คุณอายะครับ อัตตโนมติ และ อาจาริยวาท ของสายยุบพองหนอ มีมากมาย ผิดเพี้ยนมาก ๆ

ดีที่ผมไม่ถูกสอบอารมณ์ แล้วแต่งตั้งให้เป็น ผู้มีวิปัสสนาญาณ ขั้นต่าง ๆ ซึ่งมักกล่าวอ้างกันบ่อย ๆ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_1247.jpg
IMG_1247.jpg [ 70.61 KiB | เปิดดู 7925 ครั้ง ]
คุณเฉลิมศักดิ์มาแล้วครับคุณอายะ :b1:

งานนี้กรัชกายขอเป็นฝ่ายนั่งดูครับ :b38:

http://www.charyen.com/jukebox/play.php?id=11226

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Chiangmai26.jpg
Chiangmai26.jpg [ 55.52 KiB | เปิดดู 7859 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ดีที่ผมไม่ถูกสอบอารมณ์ แล้วแต่งตั้งให้เป็น ผู้มีวิปัสสนาญาณ ขั้นต่าง ๆ ซึ่งมักกล่าวอ้างกันบ่อย ๆ


รอคุณอายะ :b1:

ขอถามคุณเฉลิมศักดิ์หน่อย :b12:

ที่ว่าคุณเคยไปปฏิบัติธรรมแบบใช้อาการพอง-ยุบเป็นกรรมฐาน หรือ เป็นที่ทำงานของจิต หรือ เป็นอารมณ์นั้น

คุณไปปฏิบัติกับใคร ? ที่ไหน?

คุณเล่าวิธีที่อาจารย์ผู้นั้นแนะนำให้คุณทำสิครับนะ :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 21:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


รอ..คุณอายะ..เช่นกัน..แต่
แทรกหน่อย..ว่า..
chalermsak เขียน:
คุณอายะครับ ผมเชื่อแนวทางการปฏิบัติแนว ยุบหนอ พองหนอ ทุกข์หนอ ใช้อำนาจสมาธิภาวนาเพื่อข่มเวทนาระดับ ปริญญาเอก ให้ได้ถือว่า ผู้นั้นได้ กำหนดรู้ทุกข์

อรหันต์..สอนยุบหนอพองหนอ..มันก็เป็น..ยุบหนอพองหนอ..ของอรหันต์
ต่างกันอย่างแน่นอน..กับ..ยุบหนอพองหนอ..ของคนที่ยังอยู่ในหล่ม..ครับ
อ้างคำพูด:
บางสำนักสอนให้กำหนด ทุกข์หนอ จนทุกข์นั้นหายไป ตายให่มันตาย ผมเห็นว่าเป็นการปฏิบัติไปในแนวทางที่สุดโต่งไปทางทรมานตนเองจนเกินไป

แล้วแต่..วาสนาใคร..วาสนามัน..เป็นของเฉพาะตัวหรือที่เรียกกันว่า..จริต..ว่ากันไม่ได้หรอกครับ..

อย่าง..ท่านจักขุบาล..เพียรแบบไม่ได้หลับได้นอน..จน..ตาแตก

อ้างคำพูด:
ผมเห็นว่า การกำหนดรู้ใน ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น แล้วขยับเปลี่ยนอิริยาบถ ตามแนวทาง อรรถกถา วิปัสสนาจารย์ เป็นทางสายกลาง ครับ


สายกลาง..ของแต่ละคน..ก็ไม่เหมือนกัน..นะครับ..ต้องหา..ต้องทำ..แล้วจะรู้ได้ด้วยตนเอง..รู้ด้วยปัญญา..นะครับ..ไม่ใช่รู้แบบกิเลสตันหา..

ต้องระวัง..นะครับ..ทางสายกลาง..นี้นะ..กิเลสตันหาอวิชชา..มันชอบย่องแอบมาใช้..คำธรรม..ของพระพุทธเจ้า..เพื่อ..สนอง..ตัวมันเอง..เพื่อให้ตัวมันเอง..เจริญขึ้น..แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว..เลยละ..

มันแสบมาก..

อ้าวละ..รอคุณอายะ..ต่อ
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อรหันต์..สอนยุบหนอพองหนอ..มันก็เป็น..ยุบหนอพองหนอ..ของอรหันต์
ต่างกันอย่างแน่นอน..กับ..ยุบหนอพองหนอ..ของคนที่ยังอยู่ในหล่ม..ครับ


คุณกบครับ มีอาจารย์สายยุบหนอ พองหนอ หลายท่าน ๆ ที่เข้าใจว่าตนเองเป็นพระอรหันต์ คงจะมีเยอะนะครับ แล้วอาจารย์ผู้นั้นก็แต่งตั้งศิษย์ว่าได้ ญาณขั้นนั้น ขั้นนี้

http://www.dharma-gateway.com/misc-prob ... x-page.htm

วิวาทะ เรื่อง การปฏิบัติในแนวพองยุบ


อ้างคำพูด:
ความคิดเห็นที่ 2 : (ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม)

ถ้าจะคุยกันคงจะยาวนานมาก แต่คุณแววตะวันโปรดทราบว่าผู้พิมพ์มิได้มีเจตนาจะดูถูกการปฏิบัติสายนี้แต่อย่างใด เพราะตนเองก็เข้ามาสู่พระพุทธศาสนาก็เพราะการปฏิบัติสายนี้เช่นเดียวกัน แต่ส่วนที่ถูกก็คือถูกแต่สิ่งที่ไม่ตรง ก็ต้องเป็นสิ่งที่ไม่ตรงตามหลักฐาน ไม่ใช่ความเห็นส่วนตัว หวังว่าคุณแววตะวันจะเข้าใจ

และที่แสดงความเห็นดังกล่าวไปก็เพื่อมุ่งให้คุณโชติกะมุ่งทำกิจที่มีประโยชน์มากกว่าการเผยแผ่ธรรมะในลานธรรมซึ่งนำมาซึ่งความช้ำทั้งต่อคุณโชติกะเองและผู้อ่าน (ส่วนใหญ่)

แต่มีหลายประเด็นที่จะชี้แจงสั้น ๆ เช่น

1. วิปัสสนามีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ มิใช่บัญญัติ ตราบใดถ้าไม่ทิ้งองค์บริกรรมก็ยังเป็นบัญญัติอยู่ อย่าว่าแต่บัญญัติที่เป็นคำ ๆ เช่น เห็นหนอ ยินหนอ เป็นต้น แค่รู้สึกว่าเป็นเราขึ้นมา เช่นเราเดิน เราเห็น หรือยังรู้ทรวงทรงสัณฐานก็เป็นบัญญัติแล้ว ตราบใดที่ยังไม่ทิ้งบัญญัติ ไม่มีทางขึ้นนามรูปปริจเฉทญาณได้

แต่สายพองยุบ (บางสำนัก) บางคนยังบริกรรมอยู่แท้ ๆ การเดินก็ยังเป็นตัวเป็นตนอยู่ ถึงญาณ 16 แล้วก็มี

2. การบังคับอารมณ์ให้ต้องรู้ตรงนั้นตรงนี้ เช่นการเดิน 6 ระยะ นั้น นำมาจากหลักในวิสุทธิมรรค แต่ไปเอาผลมาทำเป็นเหตุ กล่าวคือ ในวิสุทธิมรรคเมื่อถึงสมสนญาณ ผู้มีปัญญาก็จะสามารถแยกการเดินออกได้เป็น 6 ระยะด้วยกำลังของญาณที่เห็นการเกิดดับ

แต่วิธีของพองยุบ ไปบังคับให้รูปแยกกันเป็นระยะ เช่น ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ กดหนอ ไปทำผลมาเป็นเหตุแทน นอกจากนี้การบังคับบัญชานั้นยังเกิดด้วยอำนาจของตัวตนที่บังคับบัญชาทั้งรูปและนามให้เคลื่อนไปได้ด้วยอำนาจตัวตนอีก

ถ้ายังเดินจงกรมกันอยู่อย่างนี้ แม้จะมีความรู้ปรมัตถ์มาอยู่บ้าง เช่นอาจจะรู้เย็น ร้อน อ่อนแข็ง หย่อน ตึง แต่ก็รู้บัญญัติเสียมากกว่า เพราะต้องบริกรรม ให้ทันสภาวะ ซึ่งก็ไม่มีทางทัน เพราะสภาวธรรมนั้นเกิดดับเร็วมาก

ยิ่งบริกรรมก็ยิ่งไม่ทันปัจจุบันเท่านั้น มิหนำซ้ำยังบังคับบัญชาให้เดินด้วยระยะเท่านั้นเท่านี้ เป็นการใส่อัตตาเข้าไปอีก ยิ่งเดินก็มักจะได้ โลภทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ซะมากกว่า

3. ยิ่งบริกรรมชำนาญเข้า อัตตาที่แทรกเข้าไปในการบริกรรมแบบไม่รู้ตัว กล่าวคือ เมื่อได้ยินเสียงก็กำหนดยินหนอ ตากระทบรูปก็กำหนด เห็นหนอ จนมีความชำนาญจนอัตตานั้นทำหน้าที่บังคับสติอีกทีหนึ่ง ซึ่งกว่าจะละตรงจุดนี้ได้นั้นไม่ง่ายเลย ที่จะไม่บังคับบัญชาผู้รู้

4. การดูลมแบบพองยุบที่ท้องไม่มีหลักฐานใด ๆ เลย ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ที่อ้างกันว่าเป็น ผุสสนนัย คือนัยกระทบ ตามนัยของวิสุทธิมรรค ท่านก็มิได้แสดงไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นที่ท้องพอง ท้องยุบ

มิหนำซ้ำ การปฏิบัติแบบอานาปานสติ ที่เป็นสติปัฏฐานตามพระไตรปิฎกและอรรถกถา ่หรือแม้แต่วิสุทธิมรรค ให้ดูลมเป็นบาทเพื่อให้ได้ฌาน แล้วจึงออกจากฌานพิจารณาฌานเป็นไตรลักษณ์ จึงเป็นวิปัสสนา

แต่ของพองยุบ ให้ดูกองลมเป็นวิปัสสนาเลย แล้วก็เห็นไตรลักษณ์ตรงท้องพองยุบนี่แหละ เช่น พอง ๆ ยุบ ๆ พอง ๆ ยุบ ผงะวูบไป แล้วก็ว่า เห็นอนิจจัง หรือท้องพองจนแน่น อึดอัด แล้ววูบไป ก็บอกว่า เป็นทุกขัง หรือ เห็นพองยุบ แบบเส้นด้ายบาง ๆ แล้ววูบไป เป็นอนัตตา อันนี้ไม่ถูกต้องตามหลักเลย

การเห็นไตรลักษณ์ ต้องเห็นนามหรือรูป โดยความเป็นไตรลักษณ์ มิใช่เห็นท้องพองท้องยุบ แล้วการเห็นไตรลักษณ์ก็เพื่อถอนความเห็นผิดที่เมื่อโดยสรุปแล้ว ก็คือการถ่ายถอนตัวตนนั้นเอง

ก็น่าแปลกที่ว่า กิเลสมันไปยึดตัวตนที่ท้องตั้งแต่เมื่อไหร่ ว่าฉันพอง ฉันยุบ แล้วก็มุ่งจะไปให้เห็นไตรลักษณ์กันแค่ที่ท้อง

นี่เป็นเพียงบางส่วนที่จะนำมากล่าวแต่คงไม่กล่าวหมด ว่าคุณแววตะวันคงจะไปพิจารณาต่อเองได้บ้าง เช่นการอ้างเรื่อง ปีติ 5 การอ้างเรื่องญาณ 16

ถ้าคุณได้อ่านหนังสือของผู้ปฏิบัติพองยุบ บางท่าน เช่นคุณธนิต อยู่โพธิ์ ตอนที่ท่านประกาศว่าท่านบรรลุธรรม ลองอ่านดูเถอะ ว่าวิญญูชนที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผลและหลักฐานจะพิจารณาได้อย่างไร

ถ้าจะให้สรุปแบบฟันธง ก็ต้องแยกว่าการกำหนดวิธีของพองยุบ ถือเป็นพื้นฐานที่ดีมากวิธีหนึ่ง ถ้าทิ้งองค์บริกรรมออกทั้งหมด ไม่บังคับบัญชาการเดิน ยืน นั่ง นอนให้ผิดปกติ การพิจารณาอิริยาบถย่อยก็เป็นหลักที่ดี ถ้าทิ้งบริกรรม หรือการเทียบลำดับญาณกับอาการทางกายเช่น ตัวโยก ตัวไหว สั่น ฯลฯ

การที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า คจฺฉนฺโต ว่า คจฺฉามีติ ปชานาติ เมื่อเดินอยู่ก็รู้ชัดว่าเราเดิน อรรถกถาแก้ว่า ให้รู้วาโยธาตุ ในการเดิน เป็นต้น ที่สำคัญคือให้ละเราออก ในวิสุทธิมรรคให้ดูการเกิดดับของการเดินเป็นต้น

ไม่มีในคัมภีร์ไหนเลยที่บอกว่า ต้อง ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ กลับหนอ ฯลฯ อันนี้คงต้องอ้างพระพุทธพจน์ที่ควรเคารพอย่างยิ่งว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ตถาคตได้บัญญัติไว้แล้ว ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้”

การใส่บริกรรมลงไปถือว่า บัญญัติสิ่งที่พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติหรือไม่ โปรดพิจารณาด้วยเทอญ

แต่ถ้าถามว่าถูกต้องพระพุทธพจน์หรือไม่ คุณแววตะวันลองอ่าน มหาสติปัฏฐานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา อภิธัมมัตถสังคหะ และวิสุทธิมรรค ก็น่าจะให้คำตอบตนเองได้ด้วยดี

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ดีที่ผมไม่ถูกสอบอารมณ์ แล้วแต่งตั้งให้เป็น ผู้มีวิปัสสนาญาณ ขั้นต่าง ๆ ซึ่งมักกล่าวอ้างกันบ่อย ๆ


รอคุณอายะ :b1:

ขอถามคุณเฉลิมศักดิ์หน่อย :b12:

ที่ว่าคุณเคยไปปฏิบัติธรรมแบบใช้อาการพอง-ยุบเป็นกรรมฐาน หรือ เป็นที่ทำงานของจิต หรือ เป็นอารมณ์นั้น

คุณไปปฏิบัติกับใคร ? ที่ไหน?

คุณเล่าวิธีที่อาจารย์ผู้นั้นแนะนำให้คุณทำสิครับนะ :b16:


คุณเฉลิมศักดิ์ข้ามคำถามนี้ไปอีก ถามก่อนแท้ๆ มองไม่เห็นสะนี่

ตอบหน่อยครับที่ถามเนี่ย = >

คุณไปปฏิบัติกับใคร ? ที่ไหน? อาจารย์ผู้นั้นแนะนำให้คุณทำอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ก.พ. 2010, 09:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณอายะครับ ผมเชื่อแนวทางการปฏิบัติแนว ยุบหนอ พองหนอ ทุกข์หนอ ใช้อำนาจสมาธิภาวนาเพื่อข่มเวทนาระดับ ปริญญาเอก ให้ได้ถือว่า ผู้นั้นได้ กำหนดรู้ทุกข์
บางสำนักสอนให้กำหนด ทุกข์หนอ จนทุกข์นั้นหายไป ตายให่มันตาย ผมเห็นว่าเป็นการปฏิบัติไปในแนวทางที่สุดโต่งไปทางทรมานตนเองจนเกินไป
ผมเห็นว่า การกำหนดรู้ใน ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น แล้วขยับเปลี่ยนอิริยาบถ ตามแนวทาง อรรถกถา วิปัสสนาจารย์ เป็นทางสายกลาง ครับ


อันนี้คือใช้ประสบการณ์จากอภิธรรมหรือปล่าว เวทนานั้นผู้ปฏิบัติไม่ว่าสมถะหรือวิปัสสนา ทุกคนต้องเจอ ถ้าเจอแล้วขยับหนี 20 ปี ก็คงอยู่อย่างนี้เหมือนเดิม เอาง่ายๆ ลองไปนั่งให้ได้ซัก 3 ชม ดูก่อน อย่าขยับนะ จะใช้วิธีไหนก็ได้ห้ามขยับ ลองไปกำหนดรู้ทุกข์อย่างที่บอกดูซิว่ามันเป็นอย่างไรเหมือนอย่างที่คิดไว้ไหม พระอริยะสายสมถะท่านก็ต้องสู้กับเวทนาเหมือนกันเช่น หลวงตามหาบัวถ้าจำไม่ผิดท่านนั่งจนก้นแตก บางรูปก็เดินจนเท้าแตก ที่ผมยกตัวอย่างทุกขเวทนาเพราะมันจับต้องได้ง่ายดี แล้วในช่วงที่เวทนาเกิดเป็นช่วงที่สติ สมาธิ พัฒนาได้เร็วมากเพราะจิตมาจะไม่สนใจอะไรแล้วนอกจากเวทนา ถ้าท่านขยับทุกครั้งที่ทุกขเวทนาเกิด แล้วเวลาสุขเวทนาเกิดทำไมไม่ขยับด้วย หรือทางสายกลางคือเอาแต่สุขเวทนาอย่างเดียว ทางสายกลางของท่านนั้น อากาศร้อนไปได้ไหมเช่นห้องไม่ติดแอร์ หนาวไปได้ไหมเช่นตั้งแอร์เย็นไป แล้วพวกพระธุดงท่านก็ไม่ทางสายกลางนะซิอยู่วัดสบายไม่ชอบ ไปเดินตากแดด ตากฝนให้ลำบาก ไหนจะเรื่องอาหารการกิน กลางคืนก็หนาว ไหนจะสัตว์ป่า เอาแค่มดอย่างเดียวก็นอนไม่ได้แล้ว ฝนตกมาก็ย้ายกลดหนีกลางคืนไม่ได้ ฯลฯ ถ้าอย่างไงก็ขอนิยามทางสายกลางของท่านแจ่มๆ หน่อย อธิบายให้ดีๆ นะครับ ระวังจะเป็นกามสุข
ส่วนที่ท่านยกมาอ้างในเรื่องญาณหรืออะไรก็แล้วแต่ผมไม่ขออภิปรายเอาไว้ท่านนั่งให้ได้ 3 ชม แบบไม่ขยับก่อนเพราะถ้าปฏิบัติได้ สติ สมาธิ ปัญญา มันจะพัฒนาขึ้นแล้วค่อยมาคุยอีกทีนะครับ
แล้วก็ฝากการบ้านด้วยว่านอกจากสมาธิแล้ว อะไรหนอทำให้อยู่กับทุกขเวทนาได้อย่างเพื่อนที่แสนดี เวทนานี้ต้องประมาณว่าสุดๆ เลยเช่น เป็นไข้ตัวร้อนจัด โดนตะปูแทง หรือเวทนาทางจิตเช่น โดนแฟนทิ้ง ญาติเสียเป็นต้น และเพราะอะไรด้วย :b1: ถ้าจะเอามาจากอภิธรรมก็ได้นะครับ

เจริญธรรม


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 02 ก.พ. 2010, 23:24, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2010, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลายไ่ม่ต้องรอผมก็ได้นะครับขอเชิญแสดงความคิดเห็นได้ตามสบาย

อ้างคำพูด:
ขอถามคุณเฉลิมศักดิ์หน่อย :b12:

ที่ว่าคุณเคยไปปฏิบัติธรรมแบบใช้อาการพอง-ยุบเป็นกรรมฐาน หรือ เป็นที่ทำงานของจิต หรือ เป็นอารมณ์นั้น

คุณไปปฏิบัติกับใคร ? ที่ไหน?

คุณเล่าวิธีที่อาจารย์ผู้นั้นแนะนำให้คุณทำสิครับนะ


ยังไงก็อย่าลืมตอบอันนี้ด้วยนะครับท่านเฉลิม


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 02 ก.พ. 2010, 23:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 01:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:

คุณเฉลิมศักดิ์ข้ามคำถามนี้ไปอีก ถามก่อนแท้ๆ มองไม่เห็นสะนี่

ตอบหน่อยครับที่ถามเนี่ย = >

คุณไปปฏิบัติกับใคร ? ที่ไหน? อาจารย์ผู้นั้นแนะนำให้คุณทำอย่างไร


:b32: :b32: :b32: :b32:
มองได้ 2 อย่าง..คือ..

1...กระดูกเล็กเกินไป....กินไม่อร่อย
2...กระดูกใหญ่เกินไป...กินไม่ลง

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 06:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอถามคุณเฉลิมศักดิ์หน่อย

ที่ว่าคุณเคยไปปฏิบัติธรรมแบบใช้อาการพอง-ยุบเป็นกรรมฐาน หรือ เป็นที่ทำงานของจิต หรือ เป็นอารมณ์นั้น

คุณไปปฏิบัติกับใคร ? ที่ไหน?

คุณเล่าวิธีที่อาจารย์ผู้นั้นแนะนำให้คุณทำสิครับนะ


เมื่อสมัยหนุ่ม ๆ ผมได้พยายาม หาแนวทางการปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งแบบสายวัดป่า คือ ภาวนาพุทโธอยู่กับลมหายใจ ก็เคยไปฝึกที่วัดบ้างที่บ้านบ้าง ภายหลังก็ได้มาศึกษาแนวทางยุบหนอ พองหนอ ในภาคทฤษฏีก่อน จากยุวธิกสมาคม, จากหนังสือของหลวงพ่อจรัญ จนกระทั่งผมได้ไปเข้าปฏิบัติที่วัดอัมพวัน ประมาณ 3 วัน ระหว่างนั้น ก็มีพี่เลี้ยงที่วัดคอยแนะนำ หลวงพ่อจรัญก็ลงมาเทศน์ในตอนเย็น แล้วก็กลับมาฝึกที่บ้านต่ออีก

สำหรับแนวทางการปฏิบัติมีดังนี้
http://www.jarun.org/v5/th/dkammathan02.html

อ้างคำพูด:
วิธีปฏิบัติ
๑. การเดินจงกรม ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้ทำความรู้สึกโดย จิต สติ รู้อยู่ตั้งแต่กลางกระหม่อมแล้วกำหนด ยืน หนอ ช้า ๆ ๕ ครั้ง ขณะนั้นให้สติอยู่ที่ร่างกายอย่าให้ออกไปนอกกาย เสร็จแล้วลืมตาขึ้น ก้มหน้า สติจับอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า ขวา ย่าง หนอ กำหนดในใจคำว่า ขวา ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อม คำว่า ย่าง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าให้ช้าที่สุด เท้ายังไม่เหยียบพื้น คำว่า หนอ เท้าเหยียบพื้นเต็มฝ่าเท้า อย่าให้ส้นเท้าหลังเปิด เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดคำว่า ซ้าย ย่าง หนอ คงปฏิบัติเช่นเดียวกับ ขวา ย่าง หนอ ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมากเพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้นเมื่อเดินสุดสถานที่ใช้เดินแล้ว พยายามใช้เท้าขวาเป็นหลักคือ ขวา ย่าง หนอ แล้วตามด้วย เท้าซ้าย ย่าง หนอ จะประกบกันพอดี แล้วกำหนดว่า หยุดหนอ จากนั้นเงยหน้า หลับตากำหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง เหมือนกับที่ได้อธิบายมาแล้ว ลืมตา ก้มหน้า ท่ากลับ การกลับกำหนดว่า กลับหนอ ๔ ครั้ง คำว่ากลับหนอครั้งที่หนึ่ง ยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา ๔๕ องศา ครั้งที่ ๒ ลากเท้าซ้ายมาติดกับเท้าขวา ครั้งที่ ๓ ทำเหมือนครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๔ ทำเหมือนครั้งที่ ๒ ขณะนี้จะอยู่ในท่ากลับหลังแล้วต่อไปกำหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ลืมตา ก้มหน้า แล้วกำหนดเดินต่อไป กระทำเช่นนี้จนหมดเวลาที่ต้องการ ๒. การนั่ง กระทำต่อจากการเดินจงกรม อย่าให้ขาดตอนลงเมื่อเดินจงกรมถึงที่จะนั่ง ให้กำหนด ยืน หนอ อีก ๕ ครั้ง ตามที่กระทำมาแล้วเสียก่อน แล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่า ปล่อยมือหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ช้า ๆ จนกว่าจะลงสุดเวลานั่งค่อย ๆ ย่อตัวลงพร้อมกับกำหนดตามการการที่ทำไปจริง ๆ เช่น ย่อตัวหนอ ๆ ๆ ๆ เท้าพื้นหนอ ๆ ๆ คุกเข่าหนอ ๆ ๆ นั่งหนอ ๆ ๆ เป็นต้น


วิธีนั่ง ให้นั่งขัดสมาธิ คือ ขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรง หลับตา เอาสติมาจับอยู่ที่สะดือที่ท้องพองยุบ เวลาหายใจเข้าท้องพอง กำหนดว่า พอง หนอ ใจนึกกับท้องที่พองต้องให้ทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน หายใจออกท้องยุบ กำหนดว่า ยุบ หนอ ใจนึกกับท้องที่ยุบต้องทันกัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน ข้อสำคัญให้สติจับอยู่ที่ พอง ยุบ เท่านั้น อย่าดูลมที่จมูก อย่าตะเบ็งท้องให้มีความรู้สึก ตามความเป็นจริงว่าท้องพองไปข้างหน้า ท้องยุบมาทางหลัง อย่าให้เห็นเป็นไปว่า ท้องพองขึ้นข้างบน ท้องยุบลงข้างล่าง ให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไป จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด


เมื่อมีเวทนา เวทนาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด จะต้องบังเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติแน่นอน จะต้องมีความอดทนเป็นการสร้างขันติบารมี ไปด้วย ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความอดทนเสียแล้ว การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นก็ล้มเหลว

ในขณะที่นั่งหรือเดินจงกรมอยู่นั้น ถ้ามีเวทนาความเจ็บ ปวด เมื่อย คัน ๆ เกิดขึ้นให้หยุดเดิน หรือหยุดกำหนดพองยุบ ให้เอาสติไปตั้งไว้ที่เวทนาเกิด และกำหนดไปตามความเป็นจริงว่า ปวดหนอ ๆ ๆ เจ็บหนอ ๆ ๆ คันหนอ ๆ ๆ เป็นต้น ให้กำหนดไปเรื่อย ๆ จนกว่าเวทนาจะหายไป เมื่อเวทนาหายไปแล้ว ก็ให้กำหนดนั่งหรือเดินต่อไป





จิต เวลานั่งอยู่หรือเดินอยู่ ถ้าจิตคิดถึงบ้าน คิดถึงทรัพย์สินหรือคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ นา ๆ ก็ให้เอาสติปักลงที่ลิ้นปี่พร้อมกับกำหนดว่า คิดหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจิตจะหยุดคิด แม้ดีใจ เสียใจ หรือโกรธ ก็กำหนดเช่นเดียวกันว่า ดีใจหนอ ๆ ๆ ๆ เสียใจหนอ ๆ ๆ ๆ โกรธหนอ ๆ ๆ ๆ เป็นต้น

เวลานอน เวลานอนค่อย ๆ เอนตัวนอนพร้อมกับกำหนดตามไปว่า นอนหนอ ๆ ๆ ๆ จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้นให้เอาสติจับอยู่กับอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้วให้เอาสติมาจับที่ท้อง แล้วกำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ ต่อไปเรื่อย ๆ ให้คอยสังเกตให้ดีว่า จะหลับไป ตอนพอง หรือตอนยุบ


อิริยาบถต่าง ๆ การเดินไปในที่ต่าง ๆ การเข้าห้องน้ำ การเข้าห้องส้วม การรับประทานอาหาร และการกระทำกิจการงานทั้งปวง ผู้ปฏิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุกขณะในอาการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง คือ มีสติ สัมปชัญญะ เป็นปัจจุบัน อยู่ตลอดเวลา


สรุปการกำหนดต่าง ๆ พอสังเขป ดังนี้

๑. ตาเห็นรูป จะหลับตาหรือลืมตาก็แล้วแต่ ให้ตั้งจิตไว้ที่อุนาโลม(ระหว่างคิ้ว) กำหนดว่า เห็นหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้ ถ้าหลับตาอยู่ ก็กำหนดไปจนกว่าภาพนั้นจะหายไป

๒. หูได้ยินเสียง ให้ตั้งสติไว้ที่หู กำหนดว่า เสียงหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าเสียง ก็สักแต่ว่าเสียง ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

๓. จมูกได้กลิ่น ตั้งสติไว้ที่จมูก กำหนดว่า กลิ่นหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่ากลิ่น ก็สักแต่ว่ากลิ่น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้



๔. ลิ้นได้รส ตั้งสติไว้ที่ลิ้น กำหนดว่า รสหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้สึกว่ารส ก็สักแต่ว่ารส ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

๕. การถูกต้องสัมผัส ตั้งสติไว้ตรงที่สัมผัส กำหนดตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้

๖. ใจนึกคิดอารมณ์ ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดว่า คิดหนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าความนึกคิดจะหายไป


๗. อาการบางอย่างเกิดขึ้น กำหนดไม่ทัน หรือกำหนดไม่ถูกว่าจะกำหนดอย่างไร ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดว่า รู้หนอ ๆ ๆ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าอาการนั้นจะหายไป


กำหนดจิต และตั้งสติไว้เช่นนี้ เพราะเหตุว่าจิตของเราอยู่ใต้บังคับของความโลภ ความโกรธ ความหลง เช่น ตาเห็นรูป ชอบใจ เป็นโลภะ ไม่ชอบใจ เป็นโทสะ ขาดสติไม่ได้กำหนด เป็นโมหะ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกต้องสัมผัส ก็เช่นเดียวกัน

ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยเอาสติเข้าไปตั้งกำกับตามอายตนะนั้น เมื่อปฏิบัติได้ผลแก่กล้าแล้ว ก็จะเข้าตัดที่ต่อของอายตนะต่าง ๆ เหล่านั้นมิให้ติดต่อกันได้ คือว่า เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่ทำความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งให้เกิดความพอใจหรือความไม่พอใจในสิ่งที่ปรากฎให้เห็น และได้ยินนั้น รูป และ เสียงที่ได้เห็นและได้ยินนั้นก็จะดับไป เกิด และดับ อยู่ที่นั้นเอง ไม่ไหลเข้ามาภายใน อกุศลธรรมความทุกข์ร้อนใจที่คอยจะติดตาม รูป เสียง และอายตนะภายนอกอื่น ๆ เข้ามาก็เข้าไม่ได้



สติที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น นอกจากจะคอยสกัดกั้นอกุศลธรรมและความทุกข์ร้อนใจที่จะเข้ามาทางอายตนะแล้ว สติเพ่งอยู่ที่ รูป นาม เมื่อเพ่งเล็งอยู่ก็ย่อมเห็นความเกิดดับของ รูป นาม ที่ดำเนินไปตามอายตนะต่าง ๆ อย่างไม่ขาดสาย การเห็นการเกิดดับของ รูป นาม นั้นจะนำไปสู่การเห็น พระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์ และความไม่มีตัวตนของสังขาร หรือ อัตภาพอย่างแจ่มแจ้ง




ในสมัยนั้น หลวงพ่อจรัญท่านได้ยกย่องแม่ชีท่านหนึ่ง(ผมจำชื่อไม่ได้ มีรูปของท่านติดที่ศาลา) ว่านั่งได้นานมาก ๆ มีญาณขั้นสูงแล้ว

ถ้าเทียบจากการที่ผมศึกษามา แม่ชีท่านนั้นคงปฏิบัติแนวยุบหนอพองหนอ แล้วได้รูปฌานขั้นใด ขั้นหนึ่ง จึงทรงฌานได้เป็นเวลานาน


ในภายหลังผมได้มาพบ พระวิปัสสนาจารย์สายอาจารย์แนบ ซึ่งมีการอ้างอิงจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา มีเหตุผลในการปฏิบัติมากกว่า และ เห็นว่าเป็นแนวทางที่จะได้พบ อาจารย์ตัวจริง คือ รูป นาม ที่เป็น ปรมัตถ์ (ไม่ใช่ รูป นาม จากการท่อง )

อ้างคำพูด:
อายะเขียน
อันนี้คือใช้ประสบการณ์จากอภิธรรมหรือปล่าว เวทนานั้นผู้ปฏิบัติไม่ว่าสมถะหรือวิปัสสนา ทุกคนต้องเจอ ถ้าเจอแล้วขยับหนี 20 ปี ก็คงอยู่อย่างนี้เหมือนเดิม เอาง่ายๆ ลองไปนั่งให้ได้ซัก 3 ชม ดูก่อน อย่าขยับนะ จะใช้วิธีไหนก็ได้ห้ามขยับ ลองไปกำหนดรู้ทุกข์อย่างที่บอกดูซิว่ามันเป็นอย่างไรเหมือนอย่างที่คิดไว้ไหม พระอริยะสายสมถะท่านก็ต้องสู้กับเวทนาเหมือนกัน


สมัยหนุ่มผมทนนั่งสมาธิได้ครั้งละ ๑ - ๒ ชม. บางครั้งอาการปวดก็หายไปครับ ถ้ามีสมาธิมาก ๆ

ครั้งแรก ๆ ทนนั่งได้ ๑ ชม. ก็ดีใจแล้วครับ :b12: บางครั้งทุกข์เกิดมาก ๆ ก็จะเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ ก็ต้องทนอยู่แบบนั้น จิตใจก็ฟุ้งซ่าน บ้าง

ใช่ครับ หากในการเจริญสาย สมถะยานิกะ ก็ต้องนั่งสมาธิให้เกิด อัปปนาสมาธิ ให้เกิดฌานก่อน ก็ต้องทนอยู่ในท่านั่งให้ได้นาน ๆ แล้วเพ่ง ลมหายใจ , คำภาวนา เป็นต้น

ส่วนสาย ยุบหนอ พองหนอ นี้ ยังสับสนตนเองอยู่ จะเป็น วิปัสสนายานิกะ หรือ สมถะยานิก

แล้วเมื่อทำสมาธิได้ ฌาน ก็เข้าใจว่าตนเอง ได้ วิปัสสนาญาณ นี้แหละคือความสับสน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


viewtopic.php?f=2&t=29201


คำว่า " ปชานาติ " เป็นคำกิริยา ที่แปลว่า " รู้ชัด " เป็นการแปลไปก่อนเพื่อป้ปงกันคำพูดเยิ่นเย้อ หรือฟังไม่รื่นหูเท่านั้น ความจริงท่านให้ความหมายของศัพท์ไว้ดังนี้ " ปกาเรหิ ชานาติ ปชานาติ " แปลว่า " รู้โดยประการทั้งหลาย ชื่อว่า ปชานาติ " หมายความว่าในสิ่งที่ควรรู้นั้น มีประการอะไร ๆ ที่ควรรู้สักกี่ประการก็ตาม ก็ย่อมรู้สิ่งนั้น โดยประการทั้งหมดนั้น

ในเวลาที่เดินอยู่ ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ
๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้


อ้างคำพูด:
อายะเขียน
ถ้าท่านขยับทุกครั้งที่ทุกขเวทนาเกิด แล้วเวลาสุขเวทนาเกิดทำไมไม่ขยับด้วย หรือทางสายกลางคือเอาแต่สุขเวทนาอย่างเดียว ทางสายกลางของท่านนั้น อากาศร้อนไปได้ไหมเช่นห้องไม่ติดแอร์ หนาวไปได้ไหมเช่นตั้งแอร์เย็นไป แล้วพวกพระธุดงท่านก็ไม่ทางสายกลางนะซิอยู่วัดสบายไม่ชอบ ไปเดินตากแดด ตากฝนให้ลำบาก ไหนจะเรื่องอาหารการกิน กลางคืนก็หนาว ไหนจะสัตว์ป่า เอาแค่มดอย่างเดียวก็นอนไม่ได้แล้ว ฝนตกมาก็ย้ายกลดหนีกลางคืนไม่ได้ ฯลฯ ถ้าอย่างไงก็ขอนิยามทางสายกลางของท่านแจ่มๆ หน่อย อธิบายให้ดีๆ นะครับ ระวังจะเป็นกามสุข
ส่วนที่ท่านยกมาอ้างในเรื่องญาณหรืออะไรก็แล้วแต่ผมไม่ขออภิปรายเอาไว้ท่านนั่งให้ได้ 3 ชม แบบไม่ขยับก่อนเพราะถ้าปฏิบัติได้ สติ สมาธิ ปัญญา มันจะพัฒนาขึ้นแล้วค่อยมาคุยอีกทีนะครับ


คุณอายุครับ ต่อให้ผมทนนุ่งอยู่กับทุกขเวทนา แล้ว ทุกขเวทนาถูก สมาธิข่มไว้ ด้วยคำภาวนาปวดหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ถึง 3-6 ชม.

หรือ ทนเดินยกหนอ ย่างให้ได้ ๑ จังหวะ จนถึง ๑๒ จังหวะ 4 ชม.

ก็หาได้เกิดรูชัดตามแนวทางที่ปรากฏใน พระไตรปิฏก อรรถกถา ข้างบนไม่

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนถาม คุณอายะครับ

คุณคิดว่าแนวทาง ยุบหนอ พองหนอ เป็น

วิปัสสนายานิกะ (อาศัยขณิกะสมาธิ กับ ปรมัตถ์อารมณ์)

หรือ

สมถะยานิกะ (ทำสมาธิจนเกิด ฌาน แล้วยกองค์ฌาน ขึ้นสู่วิปัสสนา)


วิปัสสนายนิกะ และ สมถะยานิกะ
viewtopic.php?f=2&t=28365&start=0

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 123 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร