วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 05:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

พิจารณาความคิดต่างระหว่างตัณหากับฉันทะต่อไป

ข้อพิจารณาเชิงซับซ้อน


อาจมีผู้แย้งขึ้นมาในตอนนี้ว่า ความอยากมีสุขภาพดี น่าจะเป็นตัณหา เพราะคนอาจจะอยากมีสุขภาพดี

แข็งแรง เพื่อจะได้สามารถเสพสุขเวทนาได้อย่างเต็มที่

คำแย้งนี้เกิดจากความคิดแบบตีคลุมไม่ถูกหลักวิภัชชวาทะ หรือหลักพุทธศาสนาที่ว่าให้แยกแยะองค์ประกอบ

เหตุผล ปัจจัยต่างๆ ออกไปวินิจฉัยเป็นอย่างๆให้ชัด จึงจะได้ความจริงแน่แท้ ไม่ใช่เอาขั้นตอนปัจจัยและ

องค์ประกอบต่างๆเข้ามาปะปนสับสนกันแล้ววินิจฉัยตีคลุมลงไป

ในกรณีนี้ ความมีสุขภาพ ไร้โรค อยู่สบาย เป็นธรรม เป็นภาวะดีงาม เกื้อกูลอยู่ในตัวของมัน ตัดตอนขาดไป

ได้

ส่วนใครจะเอาความมีสุขภาพไปใช้เพื่ออะไร ก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง*(*พึงเทียบกับสติ ซึ่งเป็นกุศลเป็นธรรม

ฝ่ายดี เกื้อกูล แต่อาจนำไปใช้ผิดเป็นมิจฉาสติก็ได้ ใช้ถูกเป็นสัมมาสติก็ได้)

เขาอาจจะต้องการมีสุขภาพ มีร่างกายดี เพื่อจะใช้บำเพ็ญประโยชน์ หรือเพื่อปฏิบัติธรรมกำจัดกิเลสก็ได้

ไม่จำเป็นต้อมุ่งเพื่อเอาไปใช้เสพสุขเวทนาเสมอไป และนั่นก็ต้องตัดเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง

ความจริง ความคิดของคนทั่วไปที่สำเร็จออกมาครั้งหนึ่งๆ มักจะมีองค์ประกอบหรือปัจจัยต่างๆ ผสมซ้อนกันอยู่

ซึ่งจะต้องแยกแยะออกไปเสมอ

บางทีก็ซับซ้อนต้องซอยละเอียดยิ่งไปกว่าที่กล่าวมาเสียอีก

บางคนอาจคิดว่า เรากินแต่พอดี จะได้เป็นคนแข็งแรงสวยงาม หรือว่าจะได้เป็นคนมีสุขภาพดี ความคิดอย่าง

นี้อาจซอยได้เป็น ๓ ตอน คือ รู้คิดว่าผลที่พึงประสงค์ ของการกินคือความมีสุขภาพหรือร่างกายแข็งแรง

หรือรู้ว่ากินเพื่อสุขภาพให้ร่างกายคล่องสบาย ตอนหนึ่ง

เกิดความพอใจหรือต้องการความมีสุขภาพความคล่องสบายของร่างกายที่เป็นภาวะเกื้อกูลนั้นอย่างบริสุทธิ์ล้วนๆ

ตอนหนึ่ง

อยากให้ความมีสุขภาพหรือความแข็งแรงเป็นของฉัน หรือให้ตัวฉันเป็นเจ้าของความมีสุขภาพหรือความแข็งแรง

หรืออยากให้ตัวฉันได้ชื่อว่าเป็นคนแข็งแรงมีสุขภาพดี หรือว่าฉันจะได้เป็นคนสวยงาม อีกตอนหนึ่ง


อาจคิดซ้อนต่อไปอีกด้วยซ้ำว่า ฉันจะมีสุขภาพดี ฉันจะแข็งแรงกว่าเขา ฉันจะสวยงามกว่าคนนั้นคนนี้ เป็นต้น

จะเห็นว่าในความคิดเช่นนี้ มีทั้งฉันทะและตัณหาเกิดต่อซ้อนกันอยู่ โดยฉันทะเกิดแล้ว ตัณหาเกิดตาม จัดเข้า

ในหลักว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลได้ และเมื่อกระบวนความคิดเดินมาถึงขั้นเกิดมีตัวตนเป็นตัณหาขึ้นแล้ง

ก็เป็นอันได้เริ่มต้นเพาะเชื้อสำหรับการก่อตัวของทุกข์และปมปัญหาต่างๆ ไว้สืบต่อไป

อย่างไรก็ตาม ข้อที่ว่านี้ เป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับการทำความดีของปุถุชนทั้งหลาย ที่จะยังมีตัณหาคอยเข้า

แทรกซ้อนอยู่ด้วยเสมอ และจึงยังเป็นความดีที่สั่งสมทุกข์หรือก่อทุกข์ได้

ข้อที่จะพึงปฏิบัติในกรณีเช่นนี้ก็คือ พยายามใช้โยนิโสมนสิการ ตั้งสติสัมปชัญญะ และปลูกฝังฉันทะไว้คอยตัด

ทางหรือตัดหน้าอวิชชา-ตัณหาอยู่เสมอๆ และพยายามไม่ให้ตัณหาเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากฉันทะ

ต่อไปได้ หรือเมื่อมีอันเป็นไปว่าตัณหาเกิดขึ้นแล้ว

ก็พยายามเหทิศทางหักให้ตัณหากลับเป็นปัจจัยแก่ฉันทะตามหลักอกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลได้อีก

ทำได้เพียงเท่านี้ก็นับว่าเป็นปุถุชนขั้นดีมากแล้ว

เรื่องนี้ยังจะได้พูดกันต่ออีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ม.ค. 2010, 19:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2038264y1a3fut64v.gif
2038264y1a3fut64v.gif [ 25.81 KiB | เปิดดู 3833 ครั้ง ]
ลักษณะของตัณหาที่ขอยกขึ้นมาเน้นไว้อีกครั้งหนึ่งคือ ข้อที่ว่า ตัณหาจะเป็นแรงจูงใจหรือแรงเร้าให้กระทำ

ต่อเมื่อการกระทำนั้นเป็นเงื่อนไขให้ตัณหาได้เสพสุขเวทนา

ลักษณะข้อนี้ ส่อถึงความเป็นไปในทางตรงข้ามคือ เมื่อจะไม่ได้เสพเวทนาอันอร่อย ตัณหาก็ไม่ยอมเร้าหรือ

จูงใจให้กระทำ หนำซ้ำบางทีกลับจูงใจหรือเร้าไปในทางตรงข้ามคือจูงใจไม่ให้ทำ
เสียอีก ทั้งที่การกระทำนั้น

เป็นไปเพื่อผลดีที่พึงประสงค์


ตัวอย่างเช่น เมื่อป่วยไข้ ร่างกายต้องการยาสำหรับเข้าไปช่วยทำลายเชื้อโรค ทำลายพิษหรือซ่อมแซม

ส่วนเสียหาย ยานั้นไม่อำนวยเวทนาอันอร่อย ตัณหากลับจูงใจไม่ให้กระทำคือไม่ให้กิน

ในกรณีนี้ ก็ต้องอาศัยฉันทะมาช่วยชักจูงใจให้ยอมกินยา ยิ่งกว่านั้น แม้แต่อาหารอร่อยที่ตัณหาเคยชอบ

บางคราวร่างกายเจ็บไข้ ทั้งที่ร่างกายก็ต้องการอาหารนั้น แต่กระบวนการทางสรีรวิทยาหรอความวิปริต

ของร่างกายเพราะการรุกรานของโรค ทำให้ไม่เกิดความหิว และไม่รู้สึกรสอร่อย

ในยามเช่นนั้น กามตัณหาไม่ช่วยเลย ยิ่งบางทีวิภวตัณหาเข้าเสริมซ้ำ หมดอาลัยตายอยากกับชีวิต

เสมือนดังว่าเมื่อเสพเวทนาอร่อยไม่ได้แล้ว จะอยู่ไปทำไม ไม่มีความหมาย เลยจูงใจในทางตรงข้าม

จะไม่ยอมกิน

ในกรณีนี้ก็ต้องใช้โยนิโสมนสิการปลูกฉันทะขึ้นมา จึงมีแรงจูงใจให้กิน ยิ่งฉันทะแรงกล้า

จิตใจก็ยิ่งเข้มแข็ง (ฉันทะหนุนวิริยะและทำให้เกิดสมาธิ) กินได้อย่างแข็งขันทั้งที่ฝืนตัณหา

แต่บางทีคนไข้บางคน ไม่ยอมใส่ใจคำนึงเหตุผลที่จะทำให้เกิดฉันทะ ผู้หวังดีเลยใช้วิธีเร้าภวตัณหาทำให้เกิด

ความรู้สึกกลัวตาย และปกป้องตัวตนรุนแรงขึ้นก็กินได้เหมือนกัน

บางทีอาจถึงกับกินยาและอาหารอย่างลนลานทีเดียว

แต่ในบางกรณีที่เกิดจากแรงเร้าของภวตัณหานี้ จิตใจจะมืดมัวหรือทุรนทุราย ไม่สงบผ่องใสเหมือนอย่างทำ

ด้วยฉันทะ เพราะฝ่ายแรกมีอวิชชาห่อหุ้ม

แต่ฝ่ายหลังเกิดจากปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ม.ค. 2010, 19:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคนโกรธแค้นชิงชังกันถึงขั้นฆ่าฟันกนตายนั้น ว่ากันให้ถูกต้องแท้จริงแล้ว เขาหาได้ฆ่าด้วยต้องการความตาย

ของคนอีกฝ่ายหนึ่งไม่

ความตายของศัตรูของเขาก็เหมือนกับความตายของคนอื่นๆ ทั้งหลายคือ ไม่มีคุณค่าที่เขาจะเอาไปใช้ประโยชน์

อะไรได้ การที่เขาฆ่าศัตรูก็เพราะ การฆ่าหรือการทำให้ตายนั้นเป็นเงื่อนไขดีที่สุดที่จะให้เขาได้สิ่งที่ตน

ต้องการ คือ การธำรงรักษาความถาวรมั่นคงและความยิ่งใหญ่แห่งตัวตนเอาไว้ได้ ความพ้นไปเสียได้จากสิ่ง

ที่คุกคามต่อความมั่นคงของอัตตา

ความพรากพ้นแยกขาดออกไปได้ระหว่างตัวเขากับสิ่งที่ไม่ปรารถนา หรือการทำให้ภาวะไม่น่าปรารถนา คือความ

พินาศย่อยับอย่างร้ายแรงที่สุดที่เขานึกคิดได้ เกิดขึ้นแก่บุคคลที่เขาไม่ปรารถนา แต่ในกรณีที่เขารู้แน่ชัดว่า

ความมีชีวิตอยู่ต่อไปของศัตรูของเขาจะไม่อาจกระทบกระเทือนความมั่นคงถาวรแห่งตัวตนของเขาได้

และเขา

พบวิธีอื่นที่ได้ผลกว่าการฆ่า ซึ่งจะขยายความยิ่งใหญ่แห่งอัตตาของเขาได้มากยิ่งขึ้น หรือซึ่งจะทำให้ศัตรู

ประสบภาวะที่ไม่น่าปรารถนาได้อย่างรุนแรงยิ่งกว่าความตาย เขาก็จะไม่ใช้วิธีฆ่า ไม่ยอมให้ศัตรูตาย

และหันไปใช้วิธีอื่นซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ดีกว่านั้นแทน

ยิ่งกว่านั้นในกรณีที่เขาไม่สามารถฆ่าหรือทำร้ายศัตรู ไม่สามารถกำจัดบุคคลหรือภาวะที่เขาไม่ปรารถนาให้หมด

สิ้นไปได้ กลับปรากฏบ่อยๆ ว่าเขาหันมาคิดฆ่าตัวตาย หรืออยากตายเสียเอง ว่าโดยสำนวนภาษา

อาจพูดได้ว่าเขาปรารถนาความตาย แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

เหตุผลที่แท้มีว่า ในเมื่อเขาไม่สามารถบรรลุเงื่อนไขอย่างอื่นที่จะทำให้เขาหลุดพ้นไปได้จากบุคคลหรือภาวะที่

เขาไม่ปรารถนา คือไม่สามารถฆ่าหรือกำจัดบุคคลหรือภาวะที่ไม่ปรารถนานั้น

การฆ่าตนเองหรือการทำให้ตนเองตายเสียจึงกลายเป็นเงื่อนไขอย่างเดียวที่จะทำให้เขาพ้นไปได้จากภาวะ

ที่ไม่ปรารถนา

ดังนั้น เขาจึงอยากตายให้พ้นไปเสีย หมายความว่า ตามที่จริงเขาไม่ได้ปรารถนาความตาย สิ่งที่เขาต้องการ

คือความพรากพ้นไปจากภาวะที่ไม่ปรารถนาต่างหาก เมื่อฆ่าหรือทำร้ายศัตรูไม่ได้ เมื่อแก้ไขหรือกำจัดภาวะที่

ไม่ปรารถนาไม่ได้ เงื่อนไขเดียวที่จะให้พ้นไปก็คือทำตัวให้ตายเสียเอง เหมือนอย่างคนที่กำลังจะฆ่าตัวตาย

เพราะผิดหวังรัก คนรักแต่งงานกับคนอื่นไปแล้ว หรือเพราะเป็นโรคร้ายน่ารังเกียจที่ไม่มีทางรักษา

ทั้งสองอย่างนี้ เป็นภาวะไม่น่าปรารถนาที่เขาไม่อาจแก้ไขหรือกำจัดได้

ดังนั้น ทางเดียวที่เหลืออยู่ที่จะช่วยให้เขาพ้นมันไปได้ ก็คือฆ่าตัวตาย

แต่ถ้าในเวลาที่กำลังจะฆ่าตัวตายนั้น เกิดมีคนมาบอกว่าคนที่รักของเขายังไม่ได้แต่งงานและยังคงรักเขาอยู่

อย่างเดิม หรือว่ามีหมอเทวดาที่รักษาโรคนั้นได้จริง

เขาจะเลิกอยากตายทันที เพราะมีเงื่อนไขอื่นที่ดีกว่าซึ่งจะทำให้เขาพ้นจากภาวะที่ไม่ปรารถนานั้น

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


อีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจช่วยให้ชัดยิ่งขึ้น ในการต่อสู้หรือสงครามระหว่าหมู่ชนหรือคนต่างเผ่าที่ยังป่าเถื่อน

บางทีฝ่ายชนะฆ่าคนฝ่ายแพ้ที่เป็นชายทั้งหมดรวมไปถึงเด็กและคนแก่ แต่ไม่ฆ่าหญิงสาว

อย่างน้อยก็ไม่ฆ่าทันที

แต่จับเอาไว้ปรนเปรอพวกตนก่อน การที่เขาฆ่าผู้ชายตลอดไปถึงเด็กเสียทั้งหมดนั้น ก็เหมือนดังที่กล่าวแล้ว

คือ เขาหาได้ต้องการเอาความตายของคนเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ แต่ที่ได้ฆ่าอย่างล้างพวกล้างเผ่า

ทั้งที่ชนะอยู่แล้ว และมิใช่มีเหตุผลเฉพาะที่จะต้องฆ่าคนเหล่านั้นเป็นส่วนตัวของแต่ละคน ก็เพราะความหวาด

กลัวเนื่องมาจากความต้องการธำรงรักษาความมั่นคงแห่งตัวตน

การทำให้คนเหล่านั้นตาย เป็นสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นเงื่อนไขดีที่สุดสำหรับความมั่นคงแห่งตัวตน

การทำให้คนเหล่านั้นตาย เป็นสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นเงื่อนไขดีที่สุดสำหรับความมั่นคงถาวรแห่งตัวตน(อัตตา)

ของพวกเขา

ส่วนการที่พวกเขาไม่ฆ่าพวกผู้หญิงสาว ก็มิใช่เพราะพวกเขาปรารถนาความมีชีวิตอยู่ของหญิงเหล่านั้น

แต่ประการใด

สิ่งที่พวกเขาต้องการคือสุขเวทนาที่จะได้จากหญิงเหล่านั้นต่างหาก แต่ความคงมีชีวิตอยู่ของหญิงเหล่านั้น

เป็นเงื่อนไขอันจำเป็นที่จะทำให้พวกเขาได้สุขเวทนาที่ต้องการ พวกเขาจึงไว้ชีวิตพวกเธอ

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

ความตอนนี้ มีแง่ที่โยงถึงข้อธรรมสำคัญได้อีกข้อหนึ่ง คือ เมตตา (ตลอดไปถึงพรหมวิหารธรรมข้ออื่นๆ

ด้วย)

เห็นว่าควรจะนำมาพิจารณาประกอบกันไว้ ณ ที่นี้ เพราะจะช่วยให้พลอยเข้าใจความหมายองตัณหาและฉันทะ

ชัดเจนขึ้นด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมตตา เป็นข้อธรรม ที่รู้จักกันทั่วไป แต่มีปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจอยู่บ้าง

คำแปลสามัญของเมตตา คือ ความรัก ความมีไม่ตรี ความปรารถนาดี ความอยากให้ผู้อื่นมีความสุข

และประสบแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์

คำแปลนี้ดูน่าจะเข้าใจได้ง่าย แต่ปัญหาเกิดขึ้นในแง่ที่ว่า มักจะมีความเข้าใจสับสนปะปนกันระหว่างความรัก

ที่เป็นเมตตา กับความรักที่เป็นอกุศล

ความรักที่เป็นอกุศลนั้น มักเรียกว่า สิเนหะ หรือเสน่หา ซึ่งหมายถึงความรักใคร่เยื่อใยเฉพาะบุคคล

ความพอใจโปรดปรานส่วนตัว หรือ ความรักที่เจือด้วยความเห็นแก่ตัว ทำให้จิตใจคับแคบติดข้องมัวหมองลง

หรือตื่นเต้นเร่าร้อน

ตรงข้ามกับเมตตา ซึ่งเป็นความรักที่บริสุทธิ์ มีต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมโลก

หรือเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสังสารวัฏ เป็นความรักอย่างเป็นกลางๆ อย่างเผื่อแผ่ ทำให้จิตใจเปิดกว้างออกไป

และผ่องใสเบิกบาน

พระอรรถกถาจารย์ เกรงความสับสนปนเปจึงพยายามกล่าวย้ำถึงลักษณะที่พึงสังเกตต่างๆ สำหรับป้องกันความ

เข้าใจเคลื่อนคลาด เช่นว่า สมบัติหรือผลสำเร็จของเมตตา คือ ระงับพยาบาทได้

วิบัติหรือความล้มเหลวของเมตตา คือเกิดเสน่หา และว่า ความพยาบาทเป็นศัตรูห่างไกลของเมตตา

ส่วนศัตรูใกล้ตัวของเมตตาที่พึงระวังอย่างยิ่งก็คือ ราคะ เพราะเข้ามาง่าย เผลอเมื่อใดถึงตัวทันที

(ดู สงฺคณี อ.308-9 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิเนหะ คือ เสน่หา เป็นไวพจน์คำหนึ่งของตัณหา

เมื่อพูดให้ตรงจุด ความรักฝ่ายอกุศลที่ตรงข้ามกับเมตตา ก็คือความรักที่เกิดจากตัณหาหรือความรักเจือตัณหา

นั่นเอง

ลักษณะของตัณหาที่สังเกตได้ง่าย ซึ่งได้กล่าวแล้วบ่อยๆ คือ มุ่งจะเสพเสวยเวทนา และเกี่ยวกับการปกป้อง

รักษาตัวตน (ความรู้สึกว่ามี ตัวตน หรืออัตตา)

ดังนั้น หลักที่จะใช้ตัดสินว่าความรักใดเป็นตัณหา หรือเกิดจากตัณหาหรือไม่ ก็ดูว่าเป็นความรักที่ปรารถนา

ความเป็นอยู่ดีแห่งชีวิตของผู้อื่นอย่างตรงไปตรงมา หรือเป็นความรักที่ต้องการความเป็นอยู่ดีแห่งชีวิต

ของผู้อื่น เพียงเพื่อเป็นเงื่อนไขสำหรับตนจะได้ใช้เสพเสวยเวทนา หรือเป็นเงื่อนไขสำหรับรองรับ

เสริมหรือค้ำประกันความมั่นคงถาวรของตน

บางคนกล่าวว่า เขารักภรรยา รักสามี รักเพื่อน หรือรักคนผู้ใดผู้หนึ่งอย่างมากมายจริงจัง ชีวิตของภรรยา

เป็นต้นเป็นสิ่งมีค่าสูงสุด ซึ่งเขาจะต้องทะนุถนอมเอาใจใส่ดังเอาชีวิตของเขาเองเป็นเดิมพัน


ครั้นอยู่ต่อมา สิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา หรือมีเหตุการณ์ผันผวนบางอย่าง

ทำให้ภรรยาของเขามีร่างกาย เป็นต้น อันไม่เอื้ออำนวยแก่การที่เขาจะเสพสุขเวทนาเท่าที่ปรารถนาหรือสามี

หรือเพื่อนของเขาเป็นต้น ไม่อยู่ในฐานะหรือภาวะที่จะเสริมหรือเอื้อแก่ความมั่นคงแห่งตนของเขาได้อีกต่อไป

ความรักที่เคยมีกลับจางคลายหรือถึงกับสลายลง ชีวิตของภรรยาและสามีหรือเพื่อน เป็นต้นนั้น ก็ไม่มีคุณค่า

ที่เขาจะทะนุถนอมใส่ใจที่จะให้เป็นอยู่ดีอีกต่อไป

ความรักอย่างนี้หาใช่เมตตาไม่ เป็นแต่เพียงความรักเจือตัณหา หรือตัวตัณหานั่นเองที่ฉวยโอกาสใช้ความเป็น

อยู่ดีแหงชีวิตของผู้อื่น เป็นเงื่อนไขสำหรับการที่ตนจะได้เสพเสวยเวทนาอันอร่อย หรือค้ำจุนหนุนเสริมความมั่น

คงถาวรแห่งอัตตาของตน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ม.ค. 2010, 18:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเดินทางไปในท้องทุ่งถิ่นชนบท มองเห็นต้นไม้ใหญ่ มีลำต้นแข็งแรง บริบูรณ์ด้วยกิ่งก้านแผ่ขยาย

เป็นปริมณฑล มีใบเขียวสดงามสะพรั่งสมบูรณ์ด้วยร่มเงา คนที่กำลังมีจิตใจเปิดกว้าง เบิกบานกับความงาม

ของธรรมชาติ ย่อมมีจิตยินดีในความเจริญงอกงามและความสมบูรณ์ของต้นไม้นั้น สุขสบายใจที่เห็นต้นไม้นั้น

อยู่ในสภาพที่ดี และอยากให้ต้นไม้นั้นแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากภัยเบียดเบียน จิตของเขาในเวลานั้น เป็นจิต

ที่โน้มน้อมเข้าไปหาหรือแผ่ออกไปสู่ภาวะทีดีงามของต้นไม้ คิดในทางที่เกื้อกูลแก่ต้นไม้ ไม่มีความนึกคิด

เกี่ยวกับตัวตน ไม่มีความคิดที่จะเอามาหรือเอาตัวตนเข้าไปเสพเสวยสุขเวทนา เป็นภาวะจิตที่ยินดีในความ

ดำรงอยู่ด้วยดีของต้นไม้นั้นตามสภาพของมัน

ภาวะจิตนี้เป็นกุศล ดีงาม ไร้โรค โปร่งสบาย เกื้อกูลทั้งแก่ตัวผู้คิดเองและแก่ผู้อื่น ในทำนองเดียวกันนี้

เมื่อมองเห็นบุคคลอื่นมีสุขภาพดี แข็งแรง อยู่เป็นปกติสุขแล้ว

ถ้าเรามีจิตใจสบายยินดีในความมีชีวิตที่ดำรงอยู่ด้วยดีของเขา อยากให้เขาเป็นอู่ดีแข็งแรง ปราศจากโรค

มีความสุข จิตใจที่แผ่กว้างออกไปในผู้อื่น โดยไม่วนเวียนพัวพันอยู่กับตัวตนอย่างนี้ คือ ธรรมที่เรียกว่า

เมตตา

แต่สำหรับคนจำนวนไม่น้อย จิตมิใคร่จะเดินไปตามกระบวนธรรมอย่างนี้

ถ้าเป็นกรณีของต้นไม้และสิ่งอื่นๆ ในธรรมชาติ ก็อาจเป็นไปได้ง่ายสักหน่อย

แต่ถ้าเป็นคนด้วยกันมักทำได้ยาก ตัณหาในรูปใดรูปหนึ่งมักวิ่งเข้ามาขัดหรือครอบงำกุศลจิตนั้นเสียมิทันช้า

เช่น คนแข็งแรงสมบูรณ์ รูปร่างสวยงามเจริญตา

ถ้าเป็นคนต่างเพศ แทนที่จะอนุโมทนา ตัณหากลับเข้าชักพาให้มองเห็นเป็นแหล่งที่พึงเสพเสวยสุขเวทนา

ถ้าเป็นเพศเดียวกัน ก็มักให้รู้สึกเป็นเครื่องบีบคั้นกดดันแก่อัตตา ทำให้ตนด้อยหรือลดความสำคัญลง

โดยนัยนี้ แทนที่จะมีจิตใจเปิดกว้างเผื่อแผ่เบิกบานด้วยเมตตา ก็กลับคับแคบรัดตัวมัวหมองลงด้วยตัณหา

กลายเป็นสิเนหะ หรือราคะบ้าง อิสสามัจฉริยะ หรือ ความริษยาและหึงหวงบ้าง *

ซึ่งล้วนเป็นอกุศล ไม่ดี มีโรค ไม่โปร่ง ไม่สบาย ไม่เกื้อกูลทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น


:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:


(ขยายข้างบนที่มี * ท้ายข้อความ)

* ในสักกปัญหาสูตร ที.ม.10/256/311 แสดงกระบวนธรรมอันหนึ่งว่า ฉันทะ (หมายถึงตัณหา

ฉันทะ คือ ตัณหานั่นเอง) => ปิยะอปิยะ (การแบ่งแยกเป็นที่รักไม่รัก)

อิสสามัจฉริยะ (ความริษยาและหึงหวง) ในที่นี้แสดงแต่เรื่องดีงามสวย เพราะเกี่ยวกับ ฉันทะ ตัณหา

และเมตตา

ถ้าพบสิ่งไม่สวยงาม อ่อนแอ เป็นทุกข์ เดือดร้อน ฝ่ายกุศล ก็จะเกิดกรุณา

ฝ่ายอกุศล เกิดความดูถูกเหยียดหยาม หรือ ความเกลียดชัง

แต่จะไม่บรรยายในที่นี้ เพราะไม่ตรงกับเรื่องที่กำลังพิจารณา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความที่กล่าวมานี้ ให้คติอย่างหนึ่งว่า

หากจะตรวจสอบความรักของตนต่อบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งว่าเป็นเมตตาแท้จริง หรือมีเมตตาอยู่บ้าง แต่เจือด้วย

ตัณหา

หรือว่าเป็นเพียงอาการของตัณหาเท่านั้น ก็พึงถามตนเองว่า ถ้าเราไม่อาจหาสุขเวทนาจากตัวเขาได้

และถ้าชีวิตของเขาไม่เป็นเครื่องค้ำจุนความมั่นคงถาวร แห่งตัวตนของเราอีกต่อไป เราจะยังคงรักเขา

หรือไม่ เราจะยังเห็นชีวิตของเขามีคุณค่าที่พึงใส่ใจทะนุถนอมหรือไม่ เราจะยังยินดีในความดำรงอยู่ด้วยดี

ของเขาต่อไปอีกหรือไม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ก.พ. 2012, 18:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ถือกันว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของเมตตา

พ่อแม่รักลูก หวังดีต่อลูก ยินดีในความดำรงอยู่เป็นอย่างดีต่อของลูก อยากให้ชีวิตของลูกเจริญงอกงาม

มีความสุข ปราศจากโรคภัย

ความรักความปรารถนาดีนี้ เป็นไปโดยพ่อแม่มิได้หวังที่จะใช้ชีวิตร่างกายของลูกเป็นที่เสพเสวยสุขเวทนา

และถึงแม้ชีวิตของลูกจะไม่เป็นเงื่อนไขช่วยค้ำจุนความมั่นคงถาวรแห่งตัวตนของพ่อแม่

พ่อแม่ ก็ยังคงรักและหวังดี เอาใจใส่ในการที่จะให้ลูกดำรงชีวิตอยู่ด้วยดี

ข้อนี้นับว่าเป็นคุณธรรม คือ เมตตา ของพ่อแม่

อย่างไรก็ตาม ในเมื่อพ่อแม่ยังเป็นปุถุชน

ตัณหาก็ย่อมมีโอกาสแทรกซึมเข้ามาเจือปนในความรักของพ่อแม่ได้บ้าง ไม่อาจให้เป็นเมตตาที่บริสุทธิ์

สิ้นเชิง

ดังจะเห็นได้ในอาการที่ยึดมั่นต่อลูกว่าเป็นเราเป็นของเรา

พ่อแม่ยังมักหวังอยู่มากบ้างน้อยบ้าง ที่จะให้ชีวิตของลูกเป็นเครื่องช่วยเสริมความมั่นคงถาวรหรือความยิ่งใหญ่

แห่งตัวตน (ความรู้สึกว่าเป็น อัตตา ตัวตน) เช่น อยากให้ลูกมีฐานะดี เพื่อตนจะได้ภูมิใจพลอย

มีเกียรติ หรือกลัวลูกตกต่ำ เพราะกลัวว่าตนจะเสียหน้าเป็นต้น ---(ภาวะเช่นนี้ ถ้าเป็นไปอย่างเบาบางใน

ขอบเขตแห่งคุณธรรม ก็ต้องยอมให้โดยถือเป็นธรรมดาของปุถุชน แต่ถ้าปล่อยให้ขยายตัวครอบงำพฤติกรรม

ทั่วไปของตน ก็สามารถก่อโทษได้มากเหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม ในแง่ที่เป็นเมตตา จุดสำคัญอยู่ที่ความไม่เป็นเงื่อนไขดังได้กล่าวแล้ว กล่าวคือ ถึงแม้ลูก

จะไม่สามารถเป็นเครื่องสนับสนุนค้ำจุนความมั่นคงถาวรแห่งตัวตนของพ่อแม่

พ่อแม่ก็ยังรักลูก ยังปรารถนาความดำรงอยู่ด้วยดีแห่งชีวิตของลูก เมื่อลูกถูกคนทั้งปวงทอดทิ้งหมด

ไม่มีใครต้องการแล้ว ก็จะมีแต่พ่อแม่ที่ยังคงหวังดีหรือเป็นที่พึงพิง ดังคำที่ว่า พ่อแม่ตัดลูกไม่ขาด)


เมื่อเกิดความกระทบกระทั่งระหว่างลูกกับคนอื่น

พ่อแม่ยังมักขัดเคืองต่อฝ่ายอื่น มีใจเอนเอียงมาทางลูก

ไม่สามารถตั้งความปรารถนาดีเสมอกันต่อทั้งสองฝ่ายแล้วพิจารณาเรื่องราวด้วยใจเป็นกลางอย่างแท้จริง

เพราะความรักนั้น ยังพัวพันแทรกเจืออยู่ด้วยตัณหา ยังเป็นความรักที่สามารถทำให้เกิดการแบ่งแยก

เป็นที่รักและที่ไม่รัก จึงยังเป็นความรักที่สามารถก่อปัญหาทำให้เกิดทุกข์ได้ต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ม.ค. 2010, 21:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเข้าใจลักษณะทั่วไปของเมตตา ช่วยเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับฉันทะด้วย

เพราะข้อธรรมทั้งสองนี้ เป็นเรื่องของความรัก ความอยาก ความต้องการเหมือนกัน *

และเป็นฝ่ายกุศล คือ ดีงาม โปร่ง สบาย เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจเหมือนกัน แต่ข้อสำคัญก็คือ

ฉันทะเป็นข้อธรรมพื้นฐาน ที่มีขอบเขตกว้างขวางเกี่ยวข้องและใช้ในเรื่องทั่วไป

ส่วนเมตตา เป็นข้อธรรมจำเพาะมีขอบเขตจำกัด เกี่ยวข้องกับคนและสัตว์หรือเป็นไปในคนและสัตว์

ทั้งหลายเท่านั้น

เรียกตามสำนวนบาลีว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ *

(*ดูสงฺคณี อ.310 วิสุทธิ.2/123)

ยิ่งกว่านั้น เมตตายังต้องอาศัยฉันทะ (กัตตุกัมยตาฉันทะ) เป็นจุดเริ่มต้น เป็นที่ตั้งต้น

หรือเป็นตัวเริ่มการ * อีกด้วย

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

(อธิบายข้อความข้างบนเพิ่มตรงที่มี * ตามลำดับ)


* ตัวอย่างเทียบ เมตตา = หิตสุขูปนยนกามตา (ความอยากหรือต้องการนำประโยชน์สุขเข้าไปให้)

สุตฺต. อ.1/161

ฉันทะ = กตฺตุกมฺยตา = กตฺตุกามตา (ความอยากทำหรือต้องการทำ)

เช่น อภิ.วิ.35/467/280 ฯลฯ


* กัตตุกัมยตาฉันทะ เป็นที่ตั้งต้นของพรหมวิหารธรรมทั้ง ๔ ข้อ (สงฺคณี อ.310 วิสุทธิ.2/123

ฯลฯ )

ท่านกล่าวในวิสุทธิ.ฎีกา 2/136 ว่า แม้แต่อุเบกขา ก็หาได้เริดร้างจากความต้องการประโยชน์แก่สัตว์

ทั้งหลาย (หิตฉันทะ) ไม่ เป็นแต่ในกรณีนั้น การไม่ขวนขวายเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง

เหมือนดังมารดาวางใจคอยดูเฉยอยู่ ในเมื่อบุตรทั้งหลายตั้งใจทำกิจของเขาดีอยู่แล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ม.ค. 2010, 19:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างเรื่องต้นไม้ที่งอกงาม และ ภาวะจิตที่โน้มน้อมไปสู่สิ่งดีงามโดยไม่มีความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตัวตน

หรือความอยากเสพเสวยเวทนาเข้าไปเกี่ยวข้องแทรกแซง ซึ่งได้พูดไว้เพื่อเป็นเครื่องนำทางเข้าสู่ความเข้าใจ

เกี่ยวกับเมตตานั้น ก็คือคำอธิบายความหมายของฉันทะนี้เอง


เมตตาเริ่มทำงานด้วยฉันทะ และมีขอบเขตจำกัดเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับคนและสัตว์เท่านั้น

ส่วนฉันทะเกี่ยวข้องกับทุกสิ่งทุกอย่าง

ดังนั้น การพูดเรื่องฉันทะ จึงเป็นการพูดในเรื่องที่ครอบคลุมกว้างขวางออกไปอีก

และเท่าที่กล่าวมานี้ ก็ควรสรุปความหมายของฉันทะได้อีกครั้งหนึ่งว่า ฉันทะ คือภาวะจิตที่ยินดี พอใจ

ตลอดจนต้องการให้เกิดมีความดำรงอยู่ด้วยดีของสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันก็ได้


พูดแยกให้เห็นออกไปหลายๆ แง่ว่า ความยินดีในภาวะดีงาม หรือในความเป็นสิ่งดีของสิ่งที่ดีนั้นๆ

ความต้องการให้สิ่งทั้งหลายดำรงอยู่ในภาวะที่ดี ที่ถูกต้อง ที่งอกงาม ที่เรียบร้อย ที่สุขสมบูรณ์ของมัน

หรือให้ภาวะที่ดี ที่ถูกต้อง สมบูรณ์อย่างนั้นเกิดมีเป็นจริงขึ้น

ความหมายนี้รวมไปถึงว่า ถ้าภาวะนั้นยังไม่มี หรือสิ่งนั้นๆ ยังไม่เป็นอย่างนั้น ก็ต้องการทำให้มีให้เป็น

อย่างนั้นด้วย

สำหรับผู้มีภาวะจิต หรือ คุณธรรมข้อนี้ สมมุติว่า เขาไปเห็นพื้นเรือนที่เปื้อนเปรอะ สถานที่สาธารณะที่รก

รุงรัง โต๊ะของห้องเรียนที่ออกไปตั้งเกะกะขาหลุดอยู่ข้างทางเดิน ต้นไม้ที่เหี่ยวแห้ง หนทางสัญจรที่เป็น

หลุมบ่อ เด็กที่ผอมโซเสื้อผ้ารุ่งริ่ง คนเจ็บป่วยไม่มีใครดูแลรักษา ความมีโจรขโมยมาก การข่มเหง

รังแกกัน การติดยาเสพติด การพนันแพร่หลาย ความไม่เอาใจใส่ศึกษาเล่าเรียน

ความหยาบคายกระด้าง ความแตกแยกไม่สามัคคีและการไม่ประพฤติธรรมต่างๆ


หรือในด้านตรงข้าม เห็นสถานที่สะอาดเรียบร้อย หมู่ไม้ที่ร่มรื่น ชุมชนที่อยู่สงบ

บุคคลผู้มีอาการสงบเยือกเย็นเอิบอิ่ม เป็นต้น เขาจะรู้สึกและมีพฤติกรรมอย่างไร

จะเห็นได้ว่า ในขอบเขตความหมายของฉันทะนี้ จะมีความรักและความต้องการสิ่งที่ดีงามต่างๆ เช่น

ความรักสะอาด รักความสงบเรียบร้อย รักธรรมชาติ รักสภาพแวดล้อมที่ดีงาม ความต้องการคุณธรรมต่างๆ

โดยทั่วไป คำสมัยใหม่ที่ว่า คุณภาพชีวิต คงจะรวมอยู่ในความหมายเหล่านี้ด้วย

หรืออาจจะพูดว่า ความหมายอย่างหนึ่งของฉันทะ คือ ความรักในคุณภาพชีวิตก็ได้ -(1)

จะเห็นได้โดยไม่ยากว่า ในภาวะจิตเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องมีความอยากเสพเสวยเวทนา

หรือ ความนึกคิดผูกพันกับตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเลย *( * ที่ว่าไม่จำเป็น หมายความว่า

ถ้าปล่อยให้ตัณหาแทรกตัวเข้ามา ความอยากและนึกคิดอย่างนั้นก็มีได้)

นับว่าเป็นกระบวนแห่งกุศลธรรมบริสุทธิ์หรือล้วนๆ


กระบวนธรรมเช่นนี้ ไม่เกิดขึ้นเองลอยๆ

แต่จะต้องมีความคิดหรือความรู้เข้าใจเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะกระแสที่จะไหลเรื่อยไปโดยไม่ต้องใช้ความคิด

ก็คือกระแสอวิชชา-ตัณหา ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ส่วนกระแสความรักในความดีและสิ่งที่ดี หรือการที่จะกำหนดได้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดี ต้องอาศัยความรู้คุณค่า

ของสิ่งหรือภาวะนั้นต่อชีวิต หรือรู้ความจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นก่อน

มิใช่เพียงกระทบเข้าก็รู้สึกสุขทุกข์แล้วก็เกิดความชอบใจขัดใจต่อไปเองทันทีเหมือนอย่างกระแสฝ่ายอวิชชา-

ตัณหา (ทุกข์เกิด = ทุกขสมุทัย)

ด้วยเหตุนี้ ในการที่จะเกิดฉันทะ จึงต้องใช้โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นปัจจัยของปัญญาเข้ามาตัดกระแสอวิชชา-

ตัณหา เปลี่ยนเป็นกระบวนการดับอวิชชา-ตัณหา
(ทุกข์ดับ= ทุกขนิโรธ)

โยนิโสมนสิการที่แปลตามศัพท์ว่า ทำในใจโดยแยบคายนี้ อาจทำหน้าที่เพียงคอยชักนำกระแสความคิดให้เกิด

ถูกทางเข้าสู่แนวของฉันทะที่เคยปลูกฝังไว้ก่อนแล้ว

หรืออาจถึงกับต้องคิดพิจารณาแยกแยะสืบสาวหาเหตุผลอย่างหนักก็ได้

เมื่อโยนิโสมนสิการเกิดแล้ว กระแสฝ่ายอวิชชาก็หลุดหรือขาดตอนไป เมื่อพิจารณาเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น

หรือภาวะนั้น รู้ว่านั้นเป็นสิ่งที่ดีแล้วหรือหรือรู้ว่าดี คือ อย่างนั้นอย่างนี้แล้ว จิตใจจะโน้มน้อมลาดเอนพุ่งไปหา

สิ่งนั้นเอง

กระบวนธรรมเดินไปอย่างนี้ เป็นธรรมดาของมัน ไม่ต้องบังคับหรือหาสิ่งใดมาหลอกล่อชักจูง อย่างนี้เรียกว่า

เกิดฉันทะขึ้นในภาวะหรือ สิ่งนั้นๆ- (2)

จากนั้นก็จะเกิดอุตสาหะ ที่จะทำสิ่งดีงามหรือภาวะที่ดีงามนั้นให้เกิดมีเป็นจริงเป็นจังขึ้น

กระบวนธรรมอย่างนี้ ในบางกรณีที่เป็นเรื่องเฉพาะ ท่านอาจซอยขั้นตอนออกไปให้เห็นองค์ธรรมย่อยๆใน

ระหว่างละเอียดชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ในกีฎาคิสูตร และจังกีสูตร พระพุทธเจ้า ทรงแสดงลำดับขั้น

ตอน ความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม ตั้งแต่เกิดศรัทธาจนบรรลุสัจธรรม มีขั้นตอนที่ควรจะกล่าวถึงใน

ที่นี้ คือ

เมื่อฟังธรรมและทรงจำไว้ได้แล้ว ก็พิจารณาเนื้อความ เมื่อพิจารณาเนื้อความ ก็เข้าใจสมตามธรรม

ที่พินิจ เข้าใจตาม ฉันทะก็เกิด เมื่อเกิดฉันทะก็อุตสาหะ ฯลฯ - (3)

ขั้นตอนที่ว่า พิจารณาเนื้อความหรือไตร่ตรองความ (อัตถุปปริกขา) ก็คือขั้นของโยนิโสมนสิการนั่นเอง

ส่วนการเข้าใจตามธรรมที่พินิจ (ธัมมนิชฌานักขันติ) ก็เป็นผลต่อเนื่องจากการพิจารณาไตร่ตรองนั้น

รวมทั้งสองอย่างเป็นขั้นของการใช้ปัญญา กล่าวคือเมื่อพิจารณาเข้าใจมองเห็นสิ่งที่ดีมีคุณค่าเป็นความจริง

แล้ว จิตก็น้อมไปหา เรียกว่าเป็นฉันทะ คือยินดีพอใจต้องการสิ่งหรือภาวะดีงามที่เป็นธรรมเป็นสัจจะนั้น

พูดรวบรัดให้เหลือแต่ขั้นตอนใหญ่ๆ ว่า

โยนิโสมนสิการนำไปสู่ฉันทะ และนำต่อไปสู่อุตสาหะ ดังได้กล่าวมาแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2010, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความ คห.บนที่มี (1) ตามลำดับ)

(1) ผู้มีฉันทะมากคงจะกลายเป็นนักแสวงคุณภาพชีวิต และแสวงสิ่งที่เป็นคุณค่าแท้จริงของชีวิตกระมัง

ในบาลีท่านเรียกนักแสวงกุศลธรรมว่า “กุสลานุเอสี”

(ขุ.สุ.25/423/520; ขุ.ม.29/936/597)

หมายถึงผู้แสวงอริยมรรค หรือแสวงนิพพาน พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จออกแสวงสัจธรรมก็ทรงเป็น

กิงกุสลานุเอสี (ผู้แสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล ที.ม.10/139/176)

หรือ กิงกุสลคเวสี (แปลเหมือนกัน, 12/317/318)

กุศลในกรณีนี้ ฝรั่งมักแปลว่า The Good.

(2) พึงระวังความสับสนระหว่างฉันทะกับตัณหา เพราะเมื่อเข้าไปสู่สถานที่สะอาดเรียบร้อย ร่มรื่น

เป็นต้น ตัณหา ก็ทำให้เกิดความยินดี พอใจ เช่นเดียวกัน

แต่ข้อแตกต่างอยู่ที่ว่า ตัณหายินดีพอใจในสุขเวทนาที่ได้รับจากการได้เห็นได้ยินได้สัมผัสอารมณ์ที่น่าชื่นใจ

ต่างๆ ในที่นั้น

ไม่ใช่ยินดีพอใจในภาวะดีงามโดยตรง การกระทำที่เกิดจากความยินดีของตัณหาก็คือ

หยุดเพื่อจะได้เสพอารมณ์เสวยเวทนาที่ชอบใจได้มากๆ อาจลงนั่งหรือนอนหลับไปด้วยความขี้เกียจ


ฯลฯ (3)ลำดับขั้นตอนทั้งหมดคือ: สัทธา => อุปสังกมน => ปยิรุปาสน=> โสตาวธาน=>ธัมมัสสวนะ

=> ธัมมธารณา =>อัตถุปปริกขา=> ธัมมนิชฌานักขันติ => ฉันทะ => อุสสาหะ => ตุลนา =>

ปธาน=> อัญญาราธนา (หรือ สัจานุปัตติ)

ดู ม.ม.13/238/233; 657/605

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อที่

viewtopic.php?f=2&t=28945&p=171527#p171527

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร