วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 18:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 01:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

ทำไม พระอริยะเจ้าบางองค์ไม่ได้ฌานก่อน เพราะว่า

พระอริยะเจ้า ที่เจริญสมถะหรือฌานก่อน แล้วบรรลุเป็นพระอริยะก็มี

พระอริยะที่ไม่ได้เจริญสมถะ (หมายถึงปฐมฌาน)แล้ว บรรลุก็มี

ท่านเหล่านี้เรียกว่า ปัญญาวิมุต หรือ สุกขวิปัสสกะ เช่นพระจักขุปาละเถระ


ใน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๒๑๙ และ หน้า ๒๕๐
และพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้าที่ ๔๕ ใน อรรถกถารัตนสูตร
ท่านพูดถึงการจำแนกพระอริยบุคคล ไว้ยาวครับ
ท่านระบุว่ามีพระอรหันต์ ๒ จำพวกคือสุกขวิปัสสกะ ๑ สมถยานิกะ


ในตำราทางพระพุทธศาสนา มีพระอริยะเจ้าหลายองค์ มาบำเพ็ญฌานภายหลัง

แสดงว่า

ท่านบรรลุอริยธรรมโดยไม่บรรลุฌานก่อน

[color=#000080]ขออนุญาตเพิ่มเติม และแก้ไขข้อมูล เพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ


ขอเพิ่มคำว่า "ก่อน"

มีเวลาไปทบทวนตำรา

จึงรู้ว่าตัวเองผิดพลาด รีบโพสเกินไป


อ้างคำพูด:
โดยนัยเดียวกัน แสดงว่า แม้จิตที่ไม่ถึงฌาน ก็บรรลุเป็นพระอริยะเจ้าได้[/color]

ถ้าพระอริยะเจ้าท่านต้องได้ฌานทุกองค์แล้วจึงบรรลุอริยะได้ แล้วทำไมจึงต้องมาบำเพ็ญฌานอีก
หรือฌานท่าน เสื่อมเพราะการบรรลุ นั่นคงฟังไม่ขึ้น


ข้อความนี้ ขอแก้ไข ไม่ลบออก ถือว่าเป็นความผิดพลาดของการตีความ เอาไว้เป็นครู

ขออธิบาย ในองค์แห่ง โสดาปัตติมัคคจิต และ วิถีจิต โดยละเอียด

ในองค์แห่งวิถีจิตขณะบรรลุเป็นพระอริยเจ้าก่อน

ขณะจิต ที่เป็นมัคควิถี ที่เกิดก่อน โคตรภูญาน ของติกขบุคคล คือ

มโนทวารวัชชนะ

อุปจาร

อนุโลมญาน

เป็นมหากุศลญาณสัมปยุต


ต่อจากนั้น

โคตรภูขณะ มัคคจิต เกิด ๑ ครั้ง ผลจิต เกิด ๒ หรือ ๓ ครั้ง

มัคคจิตและ ผลจิต ตรงนี้ มีองค์ธรรมแห่งจิตคล้ายฌานจิตคือ

วิตกฺกวิจารปีติสุขเอกคฺคตาสหิตํ คือประกอบด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา


ตรงนี้ถือว่า เป็นมรรควิถี และ ผลวิถี เกิดขึ้นแล้ว ดับไป ตามด้วยภวังคจิต

ต่อเมื่อเจริญฌาน ต่อ จัดเป็นฌานวิถี วิถีจิตต่อไป จะเป็นฌานวิถีเท่านั้น


ข้อนี้ อธิบายได้ดังนี้

๑.พระโสดาบันบุคคล ขณะบรรลุ มัคควิถีจิตมี องค์ฌานเกิดขึ้นแล้วดับไป จะเรียกว่าได้ฌานพร้อมก็ได้

๒. วิถีจิตถัดไป จึงเป็นจึงเรียกว่าเป็นฌานวิถีแบบเต็มตัว

ถ้าเอาวิถีเข้าจับก็ มัคควิถี เกิด แล้ว ฌานวิถีจึงเกิด
ถ้าเอาสภาวะเข้าจับ มัคควิถี มีสภาวะแห่งฌานวิถีอยู่


ผมมุ่งเน้นตรงนี้ครับว่า

พระอริยเจ้า ท่านไม่ได้ฌานก่อน แต่ได้พร้อมกัน แล้วเจริญต่อ หรือไม่เจริญต่อ ก็ได้





ข้อความนี้ขออนุญาตคงไว้ครับ


ใน พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ หน้าที่ ๒๒๒
เรื่อง อุภโตภาควิมุตตบุคคล ฯลฯ
[๔๑] ปัญญาวิมุตตบุคคล บุคคลชื่อว่าปัญญาวิมุตเป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถ
อยู่ แต่อาสวะของผู้นั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า
ปัญญาวิมุต.

ฯลฯ ปัญญาวิมุตตบุคคลนั้นมี ๕ จำพวก คือ พระอรหัตสุกขวิปัสสก ๑ บุคคลผู้ออกจากฌานทั้ง ๔ แล้ว
บรรลุพระอรหัต



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ หน้าที่ ๒๕๕ อรรถกถาปุตตสูตร

ท่านอธิบายว่า
ศัพท์ว่า สมณปุณฺฑริโก ได้เเก่ สมณะดังบัวขาว.
ธรรมดาบัวขาวเกิดในสระมีใบ ๙๙ ใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพสุกขวิปัสสกผู้บำเพ็ญ
วิปัสสนาล้วนด้วยบทนี้.
ด้วยว่าพระขีณาสพสุกขวิปัสสกนั้น ชื่อว่าสมณะดัง
บัวขาว เพราะท่านมีคุณยังไม่บริบูรณ์ โดยที่ฌานและอภิญญาไม่มี.

บทว่า สมณปทุโม ได้แก่ สมณะดังบัวหลวง. ธรรมดาบัวหลวง เกิดในสระมี
ใบครบร้อยใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพผู้เป็นอุภโตภาควิมุตด้วยบทนี้. ด้วยว่า
พระขีณาสพอุภโตภาควิมุตนั้น ชื่อว่าสมณะดังบัวหลวง เพราะท่านมีคุณ
บริบูรณ์โดยที่มีฌานและอภิญญา.



ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ หน้าที่ ๑๔๑
เนื้อความพระอรรถกถาจารย์ อธิบายว่า


พระอานนท์ทูลถามว่า ภิกษุทำสมาบัติให้เป็นปทัฏฐานก่อน แล้วเจริญวิปัสสนา
ได้บรรลุพระอรหัตย่อมไม่ลำบาก เหมือนบุคคลอาศัยเรือหรือแพเป็นต้น
ข้ามห้วงน้ำใหญ่ก็ไปถึงฝั่งได้ฉะนั้น
ส่วนพระสุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนา
ล้วน ๆ พิจารณาปกิณณกสังขาร แล้วได้บรรลุพระอรหัต ย่อมลำบาก
เหมือนบุคคลฟันฝ่ากระแสน้ำด้วยกำลังแขนไปถึงฝั่งฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถาม
พระอรหัตของพระสุกขวิปัสสกนี้ด้วยประการดังกล่าว
.

ในสุสิมสูตร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ ๓๘๔


ความย่อ
สุสิมปริพพาชก ปลอมบวชเพื่อขโมยธรรมของพระพุทธเจ้า ก็สงสัยว่าพระภิกษุไม่มีฤทธิ์เดชอะไร
แต่พระพุทธเจ้าก็พยากรณ์ว่าเป็นพระอรหันต์ บรรลุคุณวิเศษ บรรลุมรรค ผล จึงไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า สิ่งที่พระเหล่านั้นได้ คืออะไร ประมาณนั้นครับ


เนื้อความที่พระพุทธองค์ตรัสตอบ ดังนี้ครับ

ฯลฯ ดูก่อนสุสิมะ มรรคก็ตาม ผลก็ตาม ไม่ใช่เป็นผลของสมาธิ ไม่ใช่เป็นอานิสงส์ของสมาธิ ไม่ใช่เป็น ความสำเร็จของสมาธิ แต่มรรคหรือผลนี้ เป็นผลของวิปัสสนา
เป็นอานิสงส์ของวิปัสสนา เป็นความสำเร็จของวิปัสสนา ฉะนั้น ท่านจะรู้ก็ตาม
ไม่รู้ก็ตาม ที่แท้ธัมมัฏฐิติญาณเป็นญาณในเบื้องต้น ญาณในพระนิพพาน
เป็นญาณภายหลัง ฯลฯ


ในอรรถกถาวังคีสเถรคาถาที่ ๑ ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ ๕๖๗
(ปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา มหานิบาต พระอาจารย์ธัมมปาลเถระ แห่ง พทรติตถมหาวิหารรจนา )


ท่านจะพูดถึง เกรด ระดับ พระอรหันต์ ๕ จำพวก ไว้ดังนี้
อนึ่ง มี ๕ จำพวก คือท่านผู้บรรลุบารมี คือ
๑.พวกมีคุณอันยอดเยี่ยม บรรดาพระสาวกทั้งหลาย
๒.ท่านผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
๓.ท่านผู้มีอภิญญา ๖
๔.ท่านผู้มีวิชชา ๓ และ
๕. ท่านผู้เป็นสุกขวิปัสสก.
ฯลฯ
(พวกที่ ๕) ส่วนพระเถระผู้ตั้งอยู่ในสมาธิ เพียงสักว่า ขณิกสมาธิ แล้วเริ่มตั้ง
วิปัสสนาบรรลุอรหัตมรรคนั้น ชื่อว่าสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนา
ล้วนๆ เพราะมีแต่วิปัสสนาล้วน ไม่มีการสืบต่อในภายในวิปัสสนา
ด้วยองค์ฌานอันเกิดแต่สมาธิในเบื้องต้น และในระหว่าง ๆ



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๖๕ - ๔๖๖
ใน ยุคนัทธวรรค อรรถกถายุคนัทธกถา

พระอานนทเถระกล่าวบาลีว่า สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวติ ย่อมเจริญวิปัสสนา
อันมีสมถะเป็นเบื้องต้น คือเจริญวิปัสสนาทำสมถะให้เป็นเบื้องต้น คือให้ไปถึง
ก่อน (พระอรรถกถาอธิบายว่า ยังสมาธิให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง )

และมีบาลีว่า วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถ ภาเวติ ย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็น
เบื้องต้น คือ ภิกษุเจริญสมถะ โดยทำวิปัสสนาให้สำเร็จก่อน
ความว่า ยังวิปัสสนาให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญสมาธิภายหลัง.
และ
บาลีว่า บทว่า ยุคนทฺธํ ภาเวติ เจริญคู่กันไป คือเจริญทำให้คู่กันไป.
ได้ แก่ ภิกษุที่เข้าปฐมฌาน ครั้นออกจากปฐมฌานนั้นแล้วย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย
ครั้นพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วย่อมเข้าทุติยฌาน ครั้นออกจากทุติยฌานนั้น
แล้ว ย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย ครั้นพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อม
เข้าตติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ครั้นออกจากเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว ย่อมพิจารณาถึงสังขารทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุชื่อว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาอันเป็นธรรมคู่กัน.


อนุโมทนาครับ


สงสัยต่อไปคงมีเวลาน้อยมาก มาโพส มาอ่านแล้วครับ
พหุกิจจา พหุกรณียา

ขออนุโมทนาผู้ตั้งเว็บไซด์ ขออนุโมทนาเจ้าหน้าที่ทุกท่าน
ขออนุโมทนาทุกท่านในบอร์ด
ทุกท่านล้วนมีจิตดี
ทุกท่านล้วนมาแสวงหาสิ่งที่ดี
บอร์ดนี้ เป็นที่พบกันของคนดี

ขอให้ทุกท่านที่เข้ามาในบอร์ดนี้
จงเห็นแจ้งในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หากยังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสาร ขอจงเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ พบแต่กัลยาณมิตร มีจิตเป็นกุศล
เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งหลาย จนกว่าจะถึงนิพพาน เทอญ

สาธุ สาธุ สาธุ
วิโรจนมุนินโท


:b53: :b53: :b53:


แก้ไขล่าสุดโดย ไวโรจนมุเนนทระ เมื่อ 08 ม.ค. 2010, 08:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 03:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะกล่าวว่า..พระอริยะบางองค์ไม่ได้ญาณ..(ยกเว้นอาสวขยญาณ)..ก็พอจะเชื่อ

แต่..จะมาบอกว่า..พระอริยะบางองค์ไม่ได้ณาน..เชื่อยาก..แล้วปัญญาที่ไปฆ่ากิเลสที่ชื่อว่า..อาสวขยญาณ..จะเกิดได้ตอนไหนกัน..ถ้าจิตไม่อยู่ในอาการที่นิ่ง..ที่ตั้งมั่น :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 04 ม.ค. 2010, 03:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เคยคุยกันมากแล้ว ในกระทู้เก่า ในจุดนี้

เสนออ่าน



ตรงประเด็น เขียน:
เพิ่มเติมเล็กน้อย ในประเด็น พระอรหันต์ปัญญาวิมุต


คำว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุต นี้
ทางท่าน อาจจะเข้าใจว่า หมายถึง พระอรหันต์ที่ไม่เคยบรรลุฌานมาก่อนที่จะบรรลุอรหันต์.คือ หมายเอาว่า ไม่เคยได้ฌานมาก่อนเลย


แต่ ที่ท่านเจ้าคุณๆท่านประมวลมานั้น
พระอรหันต์ปัญญาวิมุตมีอยู่๕ประเภท คือ

1.ปัญญาวิมุติ สุกขวิปัสสก
2.ปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานที่๑
3.ปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานที่๒
4.ปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานที่๓
5.ปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานที่๔


(อ่านจาก พุทธธรม ฉบับขยายความ หน้า295 ในช่องตารางสรุป)

ส่วน ปัญญาวิมุต สุขวิปัสสก นั้น ท่านบรรยายขยายความดังนี้

"ก. พระสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิถึงระดับฌานต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค"

(อ่านจาก พุทธธรม ฉบับขยายความ หน้า296)


พึงสังเกตุ

ไม่มีพระอรหันต์ประเภทใด ที่ไม่เคยผ่านฌานจิตเลย
เพียงแต่ว่า ฌานจิตจะเด่นชัด หรือ ไม่เด่นชัด เท่านั้น

แม้นแต่ พระอรหันต์ปัญญาวิมุต สุกขวิปัสสก ที่ไม่เคยได้ฌานใดๆมาก่อน แต่ ก็จะมีฌานจิตปรากฏในขณะบรรลุมรรคผล



จาก

posting.php?mode=quote&f=1&p=116829


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 04 ม.ค. 2010, 07:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue เจริญปัญญา เจริญธรรม ในโอกาสแห่งปีใหม่ฝรั่ง ทุกๆท่าน

กบนอกกะลาเขียน

ถ้าจะกล่าวว่า..พระอริยะบางองค์ไม่ได้ญาณ..(ยกเว้นอาสวขยญาณ)..ก็พอจะเชื่อ

แต่.. จะมาบอกว่า..พระอริยะบางองค์ไม่ได้ณาน..เชื่อยาก..แล้วปัญญาที่ไปฆ่ากิเลส ที่ชื่อว่า..อาสวขยญาณ..จะเกิดได้ตอนไหนกัน..ถ้าจิตไม่อยู่ในอาการที่นิ่ง.. ที่ตั้งมั่น

อโศกะ แสดงความเห็น

มีสิ่งที่เชื่อได้ยากอีกหลายอย่าง ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการพูด คุย บอกกล่าว หรือเขียนอธิบายให้กันดูได้ต้องพิสูจน์ด้วยการลงมือปฏิบัติ แล้วสัมผัสเอาเองที่ใจเจ้าของนะครับ

มีอุปมา ที่ผมเคยได้ยินครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า

อันอุปาทาน ความเห็นผิดว่าเป็น อัตตา ตัวกู ของกู ซึ่งเป็นเหตุต้นทำให้เกิด ตัณหา อันเป็นเหตุทุกข์นี้ เปรียบอุปมาไปก็เหมือนดั่งเหล็กแหลมที่ปักแทงอยู่ที่สมองและหัวใจ (มีกล่าวในบาลี) แต่เพื่อให้เข้าใจง่ายกว่านั้น ขอเปรียบอุปมาเหมือนหนามแหลมหรือเสี้ยนที่ทิ่มตำปักคาเท้าอยู่ ผู้ถูกหนามปักย่อมจะได้รับความเจ็บปวดเป็นผล ความเจ็บปวด เป็นทุกข์ การจะแก้ไขทุกข์นั้น ก็ต้อง ค้นหาให้พบเหตุแห่งทุกข์ แล้วเอาเหตุนั้นออกเสียให้ได้ ความทุกข์ เจ็บปวดนั้นก็จะหายไป

แต่การแก้ทุกข์ของผู้คนในโลกนี้ส่วนใหญ่ มักจะนิยมแก้ที่ผล คือแก้ที่ตัวความทุกข์เจ็บปวด วิธีแก้เจ็บปวดที่ไว ทันใจสำหรับกรณีหนามตำคาเท้า ก็คือ กินยาแก้ปวด หรือหายามาทาบริเวณที่ปวด สำหรับทุกข์อื่นก็เปรียบอุปมาเหมือนคนที่แก้ความทุกข์ในกายและจิต ด้วย สมาธิ สมถะภาวนา หรือการหลบทุกข์ กลบบังให้ลืมทุกข์ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่นหลบไปท่องเที่ยว เล่นไพ่ ยิงนก ตกปลา ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ ตามวิธีการของชาวโลก

ส่วนวิธีการแก้ทุกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น พระองค์ทรงสอนให้แก้ที่ เหตุ โดยการกำหนดรู้ทุกข์ ศึกษาทุกข์นั้นให้ดี เพื่อจะได้อาศัยทุกข์นั้นเป็นต้นเงื่อน สาว สืบค้นหา สมุทัย เหตุแห่งทุกข์นั้นให้เจอ แล้วจะได้ ละ หรือเพิกถอน เหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย

เมื่อกลับมาเปรียบอุปมากับคนที่ถูกหนามตำคาเท้าอยู่ เมื่อมีความเจ็บปวดเกิดขึ้น อย่ารีบไปหายาแก้ปวดมากิน ให้ทนเจ็บ ทนทุกข์ ต่อไปสักนิดหน่อย เอาความเจ็บนั้นมาเป็นเครื่องมือ ค้นหาหนามว่าปักคาอยู่บริเวณไหนของเท้า ถ้าหาไม่เจอเพราะหนามฝังลึกหรือฝังอยู่นาน ก็ต้องเอามือคลำดู ถ้ามือข้องถูกปลายหนามมันจะปวดแปล๊บขึ้นมาให้รู้สึก ได้ตำแหน่งหนามที่แน่นอนแล้ว ก็เอาเครื่องมือที่เหมาะสมคือ เข็ม ที่แหลมคม (เปรียบเหมือน สติและปัญญา) มาบ่งเอาหนามออก เมื่อบ่งเอาหนามออกพ้นจากเท้าได้ บุคคลผู้นั้นจะได้พบ สุข หรือนิโรธะ สัมผัสรู้ขึ้นที่ใจเจ้าของเอง

สิ่งสำคัญที่ผู้คนทั้งหลายจะทนไม่ได้คือ เวลาบ่งหนาม ความเจ็บปวดจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 3 เท่าคือ

1.เจ็บเพราะหนามคาอยู่ในเท้า

2.เจ็บเพราะปลายเข็มแหลมแทงลงไปเพื่อจะเอาหนามออก

3.เวลาที่ปลายเข็มจะเกี่ยวเอาหนามออก ปลายเข็มจะต้องไปชนและเกี่ยวถูกตัวหนาม หนามกระเทือนก็จะแทงเข้าไปในเนื้อ เพิ่มความเจ็บขึ้นไปอีก รวมเป็น 3 เท่า

ดังนั้น การบ่งหนามออกจากเท้า ต้องใช้ทั้ง สติ ปัญญา วิริยะ ตบะ ขันติ ตายเป็นตาย มิยอมถอย จึงจะบ่งหนามออกได้

การบ่งหนามอัตตาก็เกือบจะไม่แตกต่างกัน

สมาธิที่จะใช้ในการบ่งหนามนั้นต้องใช้มากแค่ไหน ระดับฌาณ หรือระดับ ขณิกะสมาธิ หรือสมาธิธรรมดา ก็ลองพิจารณากันดู

การถอนหนามอัตตา ออกจากจิตใจ ก็แทบไม่ต่างกันกับ การถอนหนามออกจากเท้าเช่นกัน

เล่าอุปมาอุปมัยมาตั้งนาน ยาวยืด เป็นของขวััญวันปีใหม่ให้ทุกท่านลองนำไปคิดเปรียบเทียบ และให้กลับมาเข้าประเด็นของกระทู้นี้ว่า

การถอนความเห็นผิดออกจากจิตใจจนเป็นสมุทเฉทปหาณนั้น ประกอบด้วยฌาณ ก็ได้ ไม่ประกอบด้วยฌาณก็ได้ แต่ขอให้มีสมาธิเบื้องต้นเพียงพอที่จะจรดปลายเข็มแห่งสติปัญญา ลงไปให้แม่นยำ ณ จุดที่หนามฝังอยู่ แล้วมีความอดทน ต่อเนื่องเพียงพอจนงัดเอา สมุทัย คือหนามอัตตา ตัณหา พ้นออกมาจากใจได้ ดังนี้

สาธุ อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ และทุกท่านที่เข้าใจธรรม
tongue

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอริยะ ตอนบรรลุก็ต้องใช้กำลังฌานทุกองค์

จาบอกว่าไม่ได้ฌานไม่ได้นะครับ :b55:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ส่วน ปัญญาวิมุต สุขวิปัสสก นั้น ท่านบรรยายขยายความดังนี้

"ก. พระสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิถึงระดับฌานต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค"


ตรงนี้ถูกต้องครับ สาธุ สาธุ สาธุ

ขออธิบายเพิ่มเติม

ท่านหมายถึงดังนี้ครับ
ถ้าศึกษาถึงระดับวิถีจิต เมื่อมัคคจิต ผลจิต เกิดขึ้น
มหัคตกิริยาจิต ๙ (จิตที่ได้ฌานของพระอริยเจ้า) เกิดขึ้นต่อ
จากมัคควิถี คือ เกิดขึ้นทีหลังอย่างต่อเนื่อง


บางท่านที่บรรลุถึงฌานที่ ๔ จะมีปฏิสัมภิทา และอภิญญามาพร้อมด้วยเลย
คือที่ท่านเรียก บรรลุอริยเจ้าพร้อมปฏิสัมภิทา เป็นต้น
เพราะธรรมเหล่านี้มีในผู้ถึงฌาน ๔ เท่านั้น


ถ้าท่านบรรลุอริยเจ้า แล้ว บรรลุฌานที่ ๑ ต่อเนื่อง เป็นแบบที่ ๒
ถ้าท่านบรรลุอริยเจ้า แล้ว บรรลุถึงฌานที่ ๒ ต่อเนื่อง เป็นแบบที่ ๓
ถ้าท่านบรรลุอริยเจ้า แล้ว บรรลุถึงฌานที่ ๓ ต่อเนื่อง เป็นแบบที่ ๔
ถ้าท่านบรรลุอริยเจ้า แล้ว บรรลุถึงฌานที่ ๔ ต่อเนื่อง เป็นแบบที่ ๕


ถ้าท่านบรรลุฌานก่อน ท่านจะจำแนกพระอริยะบุคคลสุกขวิปัสสกะไว้ ๕ ทำไม

เพราะท่านแสดงถึงพระอริยบุคคลที่เจริญฌานก่อนบรรลุอริยธรรมด้วยคำว่า สมถยานิก เป็นต้น อยู่แล้ว

ปกติถ้าพระอริยบุคคลถ้าจะประสงค์เจริญฌานต่อ ท่านจะทำได้ง่ายมาก เพียงชั่วขณะ
พระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน สกทาคามี และ อนาคามี บางท่านจะเจริญฌานต่อ


แต่ท่านที่บรรลุพระอรหันต์ ที่เป็นแบบสุกขวิปัสสกโดยมาก ถ้าฌานไม่มาขณะท่านบรรลุ
ท่านมักจะไม่เจริญฌานต่อ เพราะท่านหมดเชื้อที่ทำให้ต้องการเจริญต่อ


สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
ทำไม พระอริยะเจ้าบางองค์ไม่ได้ฌาน เพราะว่า

พระอริยะเจ้า ที่เจริญสมถะหรือฌานก่อน แล้วบรรลุเป็นพระอริยะก็มี



สวัสดีครับคุณไวโรจนมุเนนทระ


พระอริยะเจ้าต้องได้ฌานทุกองค์ครับ อย่างน้อยก็ปฐมฌานเพื่อกำจัดนิวรณ์ 5 ครับ
ถ้าไม่ได้ฌานย่อมไม่อาจบรรลุธรรมครับ
ไม่อาจเข้าฌานสมาบัติและผลสมาบัติเสวยวิมุติสุขได้ครับ
ไม่สามารถเสวยทิฏฐธรรมสุขวิหารสมาบัติได้ครับ


แต่พระอริยะเจ้าที่ได้ฌานทุกองค์นั้น ไม่ได้อภิญญาญาณกันทุกองค์ครับ
เพราะต้องบรรลุอริยะผลมีจตุตถฌานเป็นบาทจึงจะบรรลุกำลังแห่งอภิญญาด้วยครับ
พระอริยะเจ้าที่บรรลุอริยะผลมีปฐมฌานเป็นบาทเป็นพระสุขวิปัสสโกครับ



กระทู้นี้ของคุณไวโรจนมุเนนทระ จึงเป็นการรู้มาผิด เข้าใจมาผิดครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:

แต่ท่านที่บรรลุพระอรหันต์ ที่เป็นแบบสุกขวิปัสสกโดยมาก ถ้าฌานไม่มาขณะท่านบรรลุ
ท่านมักจะไม่เจริญฌานต่อ เพราะท่านหมดเชื้อที่ทำให้ต้องการเจริญต่อ


สาธุ สาธุ สาธุ





จาก

อ้างคำพูด:
แต่ท่านที่บรรลุพระอรหันต์ ที่เป็นแบบสุกขวิปัสสกโดยมาก ถ้าฌานไม่มาขณะท่านบรรลุ
ท่านมักจะไม่เจริญฌานต่อ เพราะท่านหมดเชื้อที่ทำให้ต้องการเจริญต่อ



ถ้า ฌานไม่มา... อาสวักขยญาณก็ไม่มี น่ะครับ


ถ้า ฌาน(เอกัคคตาแห่งจิต) ไม่ปรากฏ จะไม่มีทางบรรลุอรหัตตผลได้ ครับ




เสนออ่าน


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=109458

[๑๔๗] อริยมรรคสมังคีบุคคล ย่อมเผาสังกิเลสที่ยังไม่เกิด ด้วยโลกุตตรฌานที่เกิดแล้ว

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวโลกุตตรฌานว่าเป็นฌาน

บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดในฌานและวิโมกข์

ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้งฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดีฉันนั้น

สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่



จาก พระสูตรนี้

ในขณะจิต แห่งการบรรลุมรรคผล อริยมรรคสมังคี ย่อมต้องสมบูรณ์พร้อมทั้ง สมถะ(สัมมาสมาธิ) และ วิปัสสนาญาณ(สัมมาญาณะ)





ประเด็นเรื่อง การเจริญอริยมรรคโดยใช้วิปัสสนานำหน้า คือ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า ในสมัยพุทธกาล

ดังปรากฏในพระสูตร

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ ด้วยประการดังนี้

วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ



พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา


(ปล...คนล่ะอย่างกับ วิปัสสนาล้วน ที่เป็นคำสอนรุ่นหลังพุทธกาลน่ะครับ...วิปัสสนาล้วน นั้น ไม่มีในสมัยพุทธกาลครับ)



ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ท่านกล่าวไว้ดังนี้

จาก พุทธธรรม หน้า 331

"....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."


ความที่จิตมีอารมณ์เดียว คือ เอกัคคตาจิต เป็นส่วนสมถะ

สัมมาสมาธิ ที่เป็นสมาธิขั้นแน่วแน่ หรือ ที่เรียกว่า โลกุตรฌานนั้น จึงต้องบังเกิดขึ้นกับทุกท่าน ถ้าเดินมรรคถูกทาง.... ไม่ว่า จะในแนวทางไหนๆ ใน3แนวทาง(ตามที่ท่านพระอานนท์กล่าว)



ดังนั้น

แม้นแต่ท่านที่เจริญมรรคโดยใช้วิปัสสนานำหน้า สมถะ ก็จะบังเกิดตามมาเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 16:32
โพสต์: 323

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยอะคับ

ฌาณมีมาก่อนพระพุทธศาสนานับพันปี
แต่ทำไมไม่มีพระอริยะเจ้าเกิดขึ้น

ตรงไหน ที่ทำให้แตกต่าง สภาวะตรงไหนอะคับ

เคยอ่าน อริยสมังคีบุคคล เขาแปลว่าพระอริยะเจ้าที่ได้ฌานไม่ใช่เรอะครับ
คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปอะ
ฌานที่ได้เขาเรียกโลกุตรฌาน

ขอบคุณค๊าบบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงจีนงมงาย เขียน:
สงสัยอะคับ

ฌาณมีมาก่อนพระพุทธศาสนานับพันปี
แต่ทำไมไม่มีพระอริยะเจ้าเกิดขึ้น


สวัสดีครับ

ฌานอย่างนี้เรียกว่า อารัมณูปณิชฌาน ได้แก่รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 ครับ ใช่มีมานานในวัฏฏะนี้นับวันเวลาไม่ถ้วนจริงครับ เพราะรูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 มีสังโยชน์ร้อยรัดอยู่ ไม่มีปัญญาทำลายสังโยชน์ได้จึงไม่มีพระอริยะเจ้าเกิดขึ้นครับ




หลวงจีนงมงาย เขียน:
ตรงไหน ที่ทำให้แตกต่าง สภาวะตรงไหนอะคับ


แต่ที่พูดกันในกระทู้นี้พูดกันถึงลักขณูปณิชฌานครับ เป็นฌานในวิปัสสนาจิตครับ ในกระทู้นี้คุณไวโรจนมุเนนทระ เขาไม่เอาทั้งอารัมณูปณิชฌาน และลักขณูปณิชฌานครับ

ลักขณูปณิชฌานเป็นฌานแบบนี้ เป็นสมาธิแบบนี้ครับ


ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓
ที่ชื่อว่า มัคคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล การทำให้แจ้งซึ่ง
สกทาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล การทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล
ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ
ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิตจากโทสะ ความเปิด
จิตจากโมหะ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
พระอริยะที่ไม่ได้เจริญสมถะ (หมายถึงปฐมฌาน)แล้ว บรรลุก็มี

ท่านเหล่านี้เรียกว่า ปัญญาวิมุต หรือ สุกขวิปัสสกะ เช่นพระจักขุปาละเถระ



สวัสดีครับคุณไวโรจนมุเนนทระ

จิตที่ไม่บรรลุฌานคือจิตที่มีนิวรณ์ ๕ ครับ
บุคคลที่ไม่บรรลุฌานบรรลุธรรมเป็นพระอริยะเจ้าไม่ได้ครับ
เพราะนิวรณ์ ๕ เป็นอาหารของอวิชชาครับ
เมื่อเป็นอย่างนี้ความรู้ที่คุณมีอยู่ จำมาอยู่จึงเป็นความรู้ที่รู้มาผิด เข้าใจมาผิดครับ


ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวดังนี้ว่า :- อวิชชาก็อีกนั่นแล มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ เรากล่าวว่า

๑. อวิชชามีอาหาร อาหารของอวิชชา คือ นิวรณ์ ๕
๒. นิวรณ์ ๕ มีอาหาร........... คือ ทุจริต ๓
๓. ทุจริต ๓ มีอาหาร ........ คือ การไม่สำรวมอินทรีย์
๔. การไม่สำรวมอินทรีย์ มีอาหาร ...... คือ การขาดสติสัมปชัญญะ
๕. การขาดสติสัมปชัญญะ มีอาหาร........ คือ การขาดโยนิโสมนสิการ
๖. การขาดโยนิโสมนสิการ มีอาหาร........ คือ การขาดศรัทธา
๗. การขาดศรัทธา มีอาหาร........ คือ การไม่ได้สดับสัทธรรม
๘. การไม่ได้สดับสัทธรรม มีอาหาร........ คือ การไม่ได้เสวนาสัปบุรุษ
การไม่ได้เสวนาสัปบุรุษอย่างบริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ได้ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การไม่ได้ฟังสัทธรรมอย่างบริบูรณ์ ย่อมทำความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
ฯลฯ

นิวรณ์ ๕ บริบูรณ์ ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชา มีอาหาร และมีความบริบูรณ์ อย่างนี้



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im62.jpg
guan-im62.jpg [ 18.79 KiB | เปิดดู 7174 ครั้ง ]
มหาราชันย์ เขียน:


จิตที่ไม่บรรลุฌานคือจิตที่มีนิวรณ์ ๕ ครับ
บุคคลที่ไม่บรรลุฌานบรรลุธรรมเป็นพระอริยะเจ้าไม่ได้ครับ
เพราะนิวรณ์ ๕ เป็นอาหารของอวิชชาครับ
เมื่อเป็นอย่างนี้ความรู้ที่คุณมีอยู่ จำมาอยู่จึงเป็นความรู้ที่รู้มาผิด เข้าใจมาผิดครับ


ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวดังนี้ว่า :- อวิชชาก็อีกนั่นแล มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ เรากล่าวว่า

๑. อวิชชามีอาหาร อาหารของอวิชชา คือ นิวรณ์ ๕
๒. นิวรณ์ ๕ มีอาหาร........... คือ ทุจริต ๓
๓. ทุจริต ๓ มีอาหาร ........ คือ การไม่สำรวมอินทรีย์
๔. การไม่สำรวมอินทรีย์ มีอาหาร ...... คือ การขาดสติสัมปชัญญะ
๕. การขาดสติสัมปชัญญะ มีอาหาร........ คือ การขาดโยนิโสมนสิการ
๖. การขาดโยนิโสมนสิการ มีอาหาร........ คือ การขาดศรัทธา
๗. การขาดศรัทธา มีอาหาร........ คือ การไม่ได้สดับสัทธรรม
๘. การไม่ได้สดับสัทธรรม มีอาหาร........ คือ การไม่ได้เสวนาสัปบุรุษ
การไม่ได้เสวนาสัปบุรุษอย่างบริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ได้ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การไม่ได้ฟังสัทธรรมอย่างบริบูรณ์ ย่อมทำความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
ฯลฯ

นิวรณ์ ๕ บริบูรณ์ ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชา มีอาหาร และมีความบริบูรณ์ อย่างนี้



เจริญในธรรมครับ



เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้ว..........ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีปีติในใจ..............กายย่อมสงบ
เธอมีกายสงบแล้ว..........ย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข....................จิตย่อมตั้งมั่น

เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว .. ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก จะไม่ถูกต้อง

ฯลฯ

ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่
เธอทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว .. ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ จะไม่ถูกต้อง.

ฯลฯ

ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว..ที่สุขปราศจากปีติ จะไม่ถูกต้อง

ฯลฯ

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว.. ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว จะไม่ถูกต้อง





รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im38.jpg
guan-im38.jpg [ 25.03 KiB | เปิดดู 7143 ครั้ง ]

ฯลฯ

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง


ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ

เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น
มีอันทำลาย กระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้


ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิดแต่ใจ

คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง


ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี

เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้


ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส
อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ

เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์


ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ

เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ
คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น


ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ

เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง
สามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง
ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ฯลฯ


ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย

เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง จักษุของมนุษย์ ฯลฯ


ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ

ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 06 ม.ค. 2010, 22:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงคุณหลวงจีนงมงายครับ ยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนา พระอริยะเจ้า มีครับ พระปัจเจกพุทธเจ้าไงครับ มีมากๆๆพระองค์ด้วย:b8: :b8: :b8: :b16: smiley


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 05 ม.ค. 2010, 00:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




R802-6.gif
R802-6.gif [ 9.91 KiB | เปิดดู 7101 ครั้ง ]

ดูกรพราหมณ์ ความเพียรเราได้ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน
กายสงบระงับแล้ว ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์แน่วแน่

ดูกรพราหมณ์ เรานั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน
มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในกายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะ วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

เพราะมีปีติสิ้นไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและ เสวยสุขด้วยกาย
บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยสาวกทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่



:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ
ฯลฯ

ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี
กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้ ความสว่างก็เกิดขึ้น
เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น.


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ โน้มน้อมจิตไป
เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย.

เรานั้นเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ

ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี
กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้ ความสว่างก็เกิดขึ้น
เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น.


:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:


เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ โน้มน้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ
ฯลฯ

ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี
กำจัดอวิชชาเสียได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น
เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ฉะนั้น.




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร