วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 18:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ความมีจิตใจเข้มแข็ง กับ สมาธิ

ในบทความหรือกระทู้นี้ ข้าพเจ้าจักได้อธิบาย ในเรื่องของ ความมีจิตใจเข้มแข็ง กับ สมาธิ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง ท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในพุทธศาสนา ควรได้ศึกษาและเรียนรู้ อีกทั้งควรได้คิดพิจารณา ไตร่ตรอง มองดูสภาพจิตใจของตัวเอง และถ้าเป็นไปได้ ก็สังเกตดูผู้อยู่รอบข้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะมีหลายๆท่าน หรืออาจจะเป็นส่วนใหญ่ก็ได้ ที่ยังมีความคิดว่า การมีสมาธิ คือ การมีจิตใจเข้มแข็ง อันเป็นการเข้าใจและเป็นความรู้ที่ไม่ถูกต้อง

สมาธิ หมายถึง สภาพสภาวะจิตใจ เป็นกลาง ในทางพุทธศาสนา เรียกว่า มีอุเบกขา หรือ ความมีจิตใจแน่วแน่ อยู่ในอารมณ์อันเดียวนั้น
สมาธิ หรือ สภาพสภาวะจิตใจ ที่เป็นกลาง หมายถึง สภาพสภาวะจิตใจ ที่สามารถมุ่งไปทางใดก็ได้ คือ จะคิด จะกระทำอย่างใดก็ได้ ตามแต่ความรู้ ความเข้าใจ ที่มีอยู่ในตัวเขาผู้นั้น หากบุคคลขณะทำงานใดใดก็ตาม เอาใจจดจ่อหรือเอาใจฝักใฝ่ในกิจการงานที่ทำนั้น สมาธิ ก็จะเกิดมี และเป็นสมาธิ ที่สร้างสภาพสภาวะจิตใจ ที่มุ่งให้เกิดความสำเร็จในกิจการงาน ตามความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้นๆ และขณะเดียวกัน บุคคลนั้นๆก็ยังสามารถ ปรุงแต่งทางด้านความรู้ อันเป็นการปรุงแต่งด้านความคิด ทำให้เกิดชิ้นงานใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ได้ เช่นกัน
สมาธิ เป็นสิ่งสำคัญ ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และความรู้สึก เพราะ สมาธิในตัวบุคคลนั้นๆ จะเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีสติ คือ ความระลึกได้หรือความหวนนึกถึง ในความรู้ ประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับการขัดเกลา รวมไปถึงสิ่งที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า ธรรมะ ซึ่งมีอยู่ในตัวในกาย ในสมอง ในจิตใจของทุกคนอยู่แล้วด้วย อีกทั้งยังมีผลทำให้บุคคลนั้นๆ มีสัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัว อยู่เสมอ อีกด้วย

ความมีจิตใจเข้มแข็งนั้น ไม่ได้เกิดจากสมาธิ แต่ก็ต้องอาศัย สมาธิโดยทางอ้อม เหตุเพราะเป็นกลไกการทำงานของร่างกาย หรือ ภวังค์ ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
ความมีจิตใจเข้มแข็งนั้น เกิดจาก กรรมพันธุ์ ความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ต่างๆ อีกทั้งรวมไปถึงการได้รับการขัดเกลาทางสังคม ในด้านต่างๆ แต่ล้วนย่อมต้องมี สติ คือ ความระลึกได้หรือความหวนนึกถึง ในความรู้ ความเข้าใจ และอื่นๆ และที่สำคัญยังมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอ ซึ่งล้วนเป็นผลของการมีสมาธิ
ความมีจิตใจเข้มแข็งนั้น แบ่งได้หลายอย่างหลายรูปแบบ ที่สำคัญๆ แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
๑. ความมีจิตใจเข้มแข็งต่อความชั่ว หรือ ความมีจิตใจเข้มแข็งในการประพฤติดี ปฏิบัติดี
๒. ความมีจิตใจเข็มแข็งต่อความดี หรือ ความมีจิตใจเข้มแข็งในการประพฤติชั่ว ปฏิบัติชั่วหรือ ประพฤติปฏิบัติในทางที่ไม่ดี

ความมีจิตใจเข้มแข็งต่อความชั่ว หรือ ความมีจิตใจเข้มแข็งในการประพฤติดี ปฏิบัติดี หมายถึง การไม่ประพฤติชั่ว เห็นสิ่งชั่ว เป็นสิ่งชั่ว ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดี ตามครรลองครองธรรม

ความมีจิตใจเข้มแข็งต่อความดี หรือ ความมี จิตใจเข้มแข็งในการประพฤติชั่ว ปฏิบัติขชั่ว หรือ ประพฤติปฏิบัติในทางที่ไม่ดี หมายถึง ไม่ประพฤติดี แต่ประพฤติชั่ว เห็นความดี ไม่ย่อมอ่อนตาม แต่กลับแข็งขืน กลับไปอ่อนแอต่อความชั่ว จึงประพฤติไม่ดี ประพฤติชั่ว เพราะมีจิตใจเข้มแข็งต่อความดี อ่อนแอต่อความไม่ดี

การที่บุคคลจะมีจิตใจเข้มแข็งนั้น ย่อมมีจิตใจเข้มแข็ง ทั้งในการประพฤติชั่วไม่ดี และ ย่อมมีจิตใจเข้มแข็ง ในการประพฤติดี

การประพฤติชั่วไม่ดีนั้น มีน้อยคนที่จะประพฤติปฏิบัติ ไปแบบไม่มีสติ ทุกคนที่ประพฤติไม่ดี ประพฤติชั่ว ล้วนมีสติด้วยกันทั้งนั้น แต่ที่เป็นเช่นนั้น เกิดจาก ความรู้ ความเข้าใจ การได้รับการขัดเกลาทางสังคมสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความคิดตามที่ได้รับการขัดเกลา หรือ ตามความรู้ ความเข้าใจ ในบุคคลนั้นๆ
แต่ บุคคลขณะประพฤติปฏิบัติไม่ดี ปฏิบัติชั่วนั้น อาจมีมีสัมปชัญญะ คือ กระทำไปโดยไม่รู้สึกตัวเลยก็ได้ จุดนี้เป็นจุดสำคัญยิ่ง ที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับท่านทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณากันให้ดีนะขอรับ
แล้วทำไมบุคคลที่ประพฤติไม่ดี ประพฤติชั่ว จึงขาดสัมปชัญญะ ซึ่งหากเป็นในหลักการหรือหลักวิชาการอื่นๆ จะเหมารวมเอาว่า ขาด ทั้ง สติ และสัมปชัญญะ แต่ในทางที่เป็นจริงแล้ว บุคคลเหล่านั้น มีสติ แต่ไม่มีสัมปชัญญะ แต่สติ หรือการระลึกได้ หรือความหวนนึกถึง ในก่อนและขณะประพฤติปฏิบัติ เป็นความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ ตามที่บุคคลเหล่านั้น จะระลึกได้ในขณะกระทำการนั้นๆ โดยไม่ได้ระลึกนึกถึง ผลร้าย หรือผลเสีย ที่จะเกิดจากการประพฤติปฏิบัติของบุคคลเหล่านั้น

ในทางตรงกันข้าม บุคคลก่อนหรือขณะประพฤติปฏิบัติดี ก็ย่อมต้องมีสติ และรู้สึกตัวอยู่เสมอ และบางครั้ง บุคคลผู้ประพฤติดีเหล่านั้น ก็อาจจะกระทำความดีไป โดยไม่รู้สึกตัวก็ได้ ทีเป็นเช่นนั้น ก็เพราะ บุคคลเหล่านั้น ได้รับการขัดเกลาทางสังคม สิ่งแวดล้อม ประกอบกับได้ศึกษาเรียนรู้ หลักในการประพฤติปฏิบัติในทางที่ดี จนจดจำกลายเป็น สัญชาตญาณ ฝังอยู่ในหัวใจและสมองดังนั้น บุคคลผู้ประพฤติดีปฏิบัติดีนั้น ก็อาจกระทำหรือประพฤติปฏิบัติดี โดยไม่รู้สึกตัว คือ ไม่มีสัมปชัญญะ แต่บุคคลเหล่านั้น ก็กระทำไปด้วยความมีสติ คือ ระลึกได้ ความหวนนึกถึง ในความรู้ ความเข้าใจ และอื่นๆ

ดังนั้น ความมีจิตใจเข้มแข็ง จึงไม่ได้เกิดจาก สมาธิ แต่ความมีจิตใจเข้มแข็ง เกิดจาก กรรมพันธุ์ ความรู้ ความเข้าใจ การได้รับการขัดเกลาทางสังคมสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ต่างๆที่ได้เรียนรู้ ซึ่ง บุคคลนั้นๆ ระลึกนึกถึง หรือความตามหวนระลึก หรือ สติ อันเป็นผล แห่งความมีสมาธิ ฉะนี้
๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๒


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 28 ธ.ค. 2009, 20:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron