วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 18:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




005.jpg
005.jpg [ 19.7 KiB | เปิดดู 4384 ครั้ง ]
วิริยารัมภญาณ



วิริยารัมภญาณะเป็นปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป


ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็น วิริยารัมภญาณอย่างไร ฯ

ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป........

เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น

เพื่อละอกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้ว

เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น

เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน เพื่อความเจริญยิ่ง
เพื่อคว ามไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

เป็น วิริยารัมภญาณแต่ละอย่าง ๆ



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น”


อกุสลานํ ธมฺมานํ คือ ธรรม อันเป็นความไม่ดี หมายถึงอกุศลธรรม

ปาปกานํ คือ ลามก

อนุปฺปนฺนานํ ที่ยังไม่เกิด คือ ยังไม่เกิดในอัตภาพหนึ่ง หรือในอารมณ์หนึ่ง

อุปปฺนานํ คือ ที่เกิดแล้วในอัตภาพนี้

เพราะชื่อว่าอกุศล อันไม่เกิดในสงสาร อันไม่รู้เบื้องต้นและที่สุด ย่อมไม่มี แต่กุศลมี




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“เพื่อละอกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้ว”

ปหานย คือ เพื่อต้องการละ

อกุสลานํ ธมฺมานํ คือ ธรรม อันเป็นความไม่ดี หมายถึงอกุศลธรรม

ปาปกานํ คือ ลามก

อุปฺปฺนฺนานํ คือ ที่เกิดแล้วในอัตภาพนี้



อ้างอิง.......

“เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น”

อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด คือ ธรรมอันเป็นความดีที่ยังไม่เคยเกิดในอัตภาพนี้

อุปฺปฺทาย คือ เพื่อต้องการให้เกิด



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว”



ฐิติยา คือ เพื่อความตั้งมั่น

อสมฺโมสาย เพื่อความไม่เลอะเลือน คือ เพื่อความไม่สูญหาย

ภิยฺโยภาวาย เพื่อความเจริญยิ่ง คือ เพื่อเกิดบ่อยๆ

เวปุลฺลาย เพื่อความไพบูลย์

ภาวนาย เพื่อความเจริญ

ปาริปูริยา เพื่อความบริบูรณ์

อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํ กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ....

เพื่อยังกามฉันทะที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

เพื่อละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว

เพื่อยังเนกขัมมะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อคว ามไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งเนกขัมมะที่เกิดขึ้นแล้ว

เป็น วิริยารัมภญาณแต่ละอย่าง ๆ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสารีบุตร ได้แสดงถึงกามฉันทะในอกุศล และเนกขัมมะในกุศล จึงกล่าวว่า อนุปฺปนฺนสฺสกามจฺฉนฺทสฺส คือ กามฉันทะที่ยังไม่เกิด

กามจฺฉนฺโท ได้แก่ กามราคะ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ

เนกฺขมฺมํ ได้แก่ ปฐมฌานสมาธิ หรือปฐมฌาน หรือกุศลธรรมทั้งหมดนั่นแหล่ะเป็นเนกขัมมะ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ....

เพื่อยังกิเลสทั้งปวงที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น

เพื่อละกิเลสทั้งปวงที่เกิดขึ้นแล้ว

เพื่อยังอรหัตมรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลอะเลือน เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อคว ามไพบูลย์
เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งอรหัตมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว

เป็น วิริยารัมภญาณแต่ละอย่าง ๆ


ชื่อว่า “ ญาณ” เพราะอรรถว่า “รู้ธรรมนั้น”

ชื่อว่า “ปัญญา” เพราะอรรถว่า “รู้ชัด”

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสารีบุตรเถระ เพี่อแสดงประกอบ ด้วยสามารถแห่งกิเลสทั้งปวง และอรหัตมรรคอันเป็นปฏิปักษ์ต่อต่อกิเลสทั้งปวง จึงกล่าวว่า อนุปฺปนฺนานํ สพฺพกิเลสานํ หมายถึง การยังกิเลสทั้งปวงที่ยังไม่เกิดขึ้น

อุปฺปนฺนสฺส อรหตฺตมคฺคสฺส ฐิติยา -- เพื่อความตั้งมั่นแห่งอรหัตมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว

ฐิติยา --ด้วยสามารถแห่งฐิติขณะ และภังคขณะของอรหัตมรรคที่เกิดขึ้นแล้วในอุปาทานขณะ

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง............

"พระสารีบุตร ได้แสดงถึง กามฉันทะในอกุศล และ เนกขัมมะในกุศล"


"กามฉันทะ" หรือ "กามราคะ" มีความหมายไปในทางเดียวกัน

กามฉันทะ เป็นความพอใจในกาม หรือ ความต้องการกามคุณ เป็น ๑ ใน ๕ ของสิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม หรือ เป็นอกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลังที่เรียกว่า "นิวรณ์"

นิวรณ์ ๕ ประกอบด้วย
๑. กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ
๒. พยาบาท คือ ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ
๓. ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่และเซื่องซึม
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล
๕. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วการทำให้ "กามฉันทะ" สิ้นไปทำได้อย่างไร ????


อ้างอิง............

สัมปชานบุคคลในศาสนานี้ ย่อมยังความเป็นไปแห่ง “กามฉันทะ” ให้สิ้นไปด้วยความ.....
......“ไม่พยาบาท ”
...... “ไม่เบียดเบียน”
...... “ออกจากกาม”
...... “ออกจากเรือน”

****************************


"ความไม่พยาบาท ความไม่เบียดเบียน ความออกจากกาม และความออกจากเรือน" เป็น สัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นมรรคในมรรคมีองค์ ๘ หรือ อัฏฐังคิกมรรค
ซึ่งประกอบด้วย

๑. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ได้แก่ วจีสุจริต ๔
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ได้แก่ กายสุจริต ๓
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ได้แก่ ฌาน ๔



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง............

"พระสารีบุตร ได้แสดงถึง กามฉันทะในอกุศล และ เนกขัมมะในกุศล"


"กามฉันทะ" หรือ "กามราคะ" มีความหมายไปในทางเดียวกัน

**********************************

"กามราคะ" คือ ความกำหนัดในกาม ความติดใจในกามคุณ เป็นองค์ธรรม ๑ ใน ๗ ของอนุสัยกิเลส และ ๑ ใน ๑๐ ของสังโยชน์

อนุสัยกิเลส คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสัน-ดานมี ๗ อย่าง

๑. กามราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในกาม]
๒. ปฏิฆานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต]
๓. ทิฏฐานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความเห็น]
๔. วิจิกิจฉานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความสงสัย]
๕. มานานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความถือตัว]
๖. ภวราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ]
๗. อวิชชานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความไม่รู้]



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"กามราคะ" คือ ความกำหนัดในกาม ความติดใจในกามคุณ เป็นองค์ธรรม ๑ ใน ๗ ของอนุสัยกิเลส และ ๑ ใน ๑๐ ของ สังโยชน์


สังโยชน์ คือ กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล ดังนี้ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ ปัญจกนิเทศ


[๙๗๖] ในปัญจกมาติกาเหล่านั้น โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เป็นไฉน

โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ คือ
.....๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
.....๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ)
.....๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร)
.....๔. กามฉันทะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ)
.....๕. พยาบาท (ความขัดเคือง, ความคิดร้าย)
เหล่านี้เรียกว่า โอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕


[๙๗๗] อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เป็นไฉน

อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ คือ
.....๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ)
.....๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในอรูปภพ)
.....๓. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่)
.....๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
.....๕. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง)

เหล่านี้เรียกว่า อุทธัมภาคิยสัญโญชน์ ๕

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง............

"พระสารีบุตร ได้แสดงถึง กามฉันทะในอกุศล และ เนกขัมมะในกุศล"

**************************************

เนกขัมมะ คือ การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม เป็น ๑ ใน ๑๐ ของบารมี


บารมี คือ ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง มี ๓ ระดับ คือ
๑. บารมี ๑๐
๒. อุปบารมี ๑๐
๓. ปรมัตถบารมี ๑๐


บารมีทั้ง ๓ ระดับ ประกอบด้วย........
๑. ทาน (การให้ การเสียสละ)
๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย)
๓. เนกขัมมะ (การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม)
๔. ปัญญา (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง)
๕. วิริยะ (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่)
๖. ขันติ (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประะพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจกิเลส)
๗. สัจจะ (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ)
๘. อธิษฐาน (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่นแน่)
๙. เมตตา (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ)
๑๐. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบฟัง)

เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron