วันเวลาปัจจุบัน 20 พ.ค. 2025, 05:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0013.jpg
0013.jpg [ 48.19 KiB | เปิดดู 5459 ครั้ง ]
สัลเลขัฏฐญาณ

“สัลเลขัฏฐญาณ” คือ ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่าง ๆ และเดช


ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่าง ๆ และเดชเป็นสัลเลขัฏฐญาณอย่างไร ฯ

ปัญญาในความสิ้นไปแห่ง “กิเลสอันหนา” ........................
คำว่า ปุถุ - หนา คือ.........
...... ราคะหนา โทสะหนา โมหะหนา
......ความโกรธ
......ความผูกโกรธ
......ความลบหลู่
......ความตีเสมอ
......ความริษยา
......ความตระหนี่
......ความเจ้าเล่ห์
......ความโอ้อวด
......หัวดื้อ
......ความแข่งดี
......ความถือตัว
......ความดูหมิ่นท่าน
......ความมัวเมา
......ความประมาท
......กิเลสทั้งปวง
......ทุจริตทั้งปวง
......อภิสังขารทั้งปวง
......กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง
เป็นกิเลสหนา ฯ



เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทว่า ราโค ปุถุ ราคะหนา คือ ราคะต่างหาก ไม่ปนด้วยโลกุตระ

ชื่อว่า “ราคะ” เพราะอรรถว่า “กำหนัด”
ชื่อว่า “โทสะ” เพราะอรรถว่า “ประทุษร้าย”
ชื่อว่า “ราคะ” เพราะอรรถว่า “ลุ่มหลง”


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจะแสดงโดยประเภท จึงกล่าวบทเหล่านี้ว่า “โกโธ” มีลักษณะโกรธ ท่านประสงค์เอาวัตถุ ๗ อย่าง ดังนี้..................

...... “อุปฺนาห” มีลักษณะผูกโกรธ คือ ความโกรธนั่นเอง ที่ซึงความมั่นคง
...... “มกฺข” มีลักษณะลบหลู่คุณผู้อื่น คือ ลบล้างคุณของผู้อื่น
...... “ปลาส” มีลักษณะตีเสมอ คือ เห็นคุณผู้อื่นด้วยการตีเสมอ
...... “อิสฺสา” มีลักษณะทำสมบัติของผู้อื่นให้สิ้นไป คือ ริษยา
...... “มจฺฉริย” มีลักษณะซ่อนสมบัติของตน คือ สมบัติของเราจงอย่าเป็นของผู้อื่น
...... “มายา” มีลักษณะปกปิดความชั่วที่ตนทำ คือ ทำเป็นมายาด้วยความปกปิด
...... “สาเถยฺย” มีลักษณะประกาศคุณที่ไม่มีในตน คือ ความเป็นผู้โอ้อวด

“ถมฺภ” มีลักษณะพองจิต คือ ความเป็นผู้กระด้าง
“สารมฺภ” มีลักษณะให้ยิ่งด้วยการทำ
“มานะ” มีลักษณะถือตัว
“อติมานะ” มีลักษณะดูหมิ่น
“มทะ” มีลักษณะความเป็นผู้มัวเมา
“ปมาทะ” มีลักษณะปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.......... “กามคุณ ๕” หมายถึง ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา หรือส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม ประกอบด้วย
........๑.รูปะ หมายถึง รูป
........๒.สัททะ หมายถึง เสียง
........๓.คันธะ หมายถึง กลิ่น
........๔.รสะ หมายถึง รส
........๕.โผฏฐัพพะ หมายถึง สัมผัสทางกาย


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“สพฺเพ กิเลสา” กิเลสทั้งปวง
ชื่อว่า “กิเลส” เพราะอรรถว่า ..ยังสัตว์ให้เศร้าหมอง ให้เดือดร้อน ให้ลำบาก ในภพนี้และภพหน้า ทั้งที่สงเคราะห์เข้าในกุศลกรรมบถ ทั้งที่มิได้สงเคราะห์เข้า


“กุศลกรรมบถ ๑๐” หมายถึง ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ แบ่งเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

“กายกรรม ๓” คือ การกระทำทางกาย ได้แก่......
.......๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เป็นการเว้นจากปลงชีวิต
......๒.อทินนาทานา เวรมณี เป็นการเว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้โดยอาการขโมย
......๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เป็นการเว้นจากประพฤติผิดในกาม

“วจีกรรม ๔” คือ การกระทำทางวาจา ได้แก่......
.......๔.มุสาวาทา เวรมณี เป็นการเว้นจากการพูดเท็จ
.......๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เป็นการเว้นจากพูดส่อเสียด
.......๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เป็นการเว้นจากพูดคำหยาบ
.......๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เป็นการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

“มโนกรรม ๓” คือ การกระทำทางใจ ได้แก่......
.......๘.อนภิชฌา เป็นความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
.......๙.อพยาบาท เป็นความไม่คิดร้ายผู้อื่น
.......๑๐.สัมมาทิฏฐิ เป็นความเห็นชอบ ถูกต้องตามคลองธรรม



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“สพฺเพ ทุจฺจริตา” ทุจริตทั้งปวง
ชื่อว่า “ทุจริต” เพราะอรรถว่า ..ประพฤติด้วยความชั่ว หรีอประพฤติชั่ว มี ๓ ประการ คือ
.....กายทุจริต
.....วจีทุจริต
.....มโนทุจริต



“ทุจริต ๓” คือ ความประพฤติชั่ว, ประพฤติไม่ดี

.....กายทุจริต คือ ความประพฤติชั่วด้วยกาย มี ๓ ประการ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และ กาเมสุมิจฉาจาร

.....วจีทุจริต คือ ความประพฤติชั่วด้วยวาจา มี ๔ ประการ คือ มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และ สัมผัปปลาปะ

..... มโนทุจริตคือ ความประพฤติชั่วด้วยใจ มี ๓ ประการ คือ อภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“อภิสงฺขารา” อภิสังขารทั้งปวง
ชื่อว่า “อภิสังขาร” เพราะอรรถว่า ..ปรุงแต่งวิบาก มี ๓ ประการ คือ
.....ปุญญาภิสังขาร : อภิสังขาร คือ บุญ
.....อปุญญาภิสังขาร : อภิสังขาร คือ บาป
.....อเนญชาภิสังขาร : อภิสังขาร คือ ความไม่หวั่นไหว


*********************************


“อภิสงฺขารา” อภิสังขาร ๓ หมายถึง สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม

.....๑.ปุญญาภิสังขาร คือ อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร

รูปาวจร ๔ ......จตุตถฌาน (ฌาน ๔)
....ปฐมฌาน
....ทุติยฌาน
....ตติยฌาน
....จตุตถฌาน

.....๒.อปุญญาภิสังขาร คือ อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย

.....๓.อาเนญชาภิสังขาร คือ อภิสังขารที่เป็นอเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน



อรูปาวจร ๔
......อากาสานัญจายตนสมาบัติ
......วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
......อากิญจัญญายตนสมาบัติ
......เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ”



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง



ภวคามิโน เพราะอรรถว่า สัตว์ไปสู่ภพ ด้วยอำนาจวิบาก

ภวคามิกมฺมา เพราะอรรถว่า กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพ


ด้วยบทนี้ แม้นเมื่อความเป็นอภิสังขารมีอยู่ ก็เป็นอันห้ามกรรมที่ยังมิได้เสวย



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “สภาพต่าง ๆ และสภาพเดียว”
ความว่า ...............

“กามฉันทะ” เป็นสภาพต่าง “เนกขัมมะ” เป็นสภาพเดียว

“พยาบาท” เป็นสภาพต่าง “ความไม่พยาบาท” เป็นสภาพเดียว

“ถีนมิทธะ” เป็นสภาพต่าง “อาโลกสัญญา” เป็นสภาพเดียว

“อุทธัจจะ” เป็นสภาพต่าง “ความไม่ฟุ้งซ่าน” เป็นสภาพเดียว

“วิจิกิจฉา” เป็นสภาพต่าง “การกำหนดธรรม” เป็นสภาพเดียว

“อวิชชา เป็นสภาพต่าง “ญาณ” เป็นสภาพเดียว

“อรติ” เป็นสภาพต่าง “ความปราโมทย์” เป็นสภาพเดียว

“นิวรณ์” เป็นสภาพต่าง
............. “ปฐมฌานสมาบัติ” เป็นสภาพเดียว
............. “ทุติยฌานสมาบัติ” เป็นสภาพเดียว
............. “ตติยฌานสมาบัติ” เป็นสภาพเดียว
............. “จตุตถฌานสมาบัติ” เป็นสภาพเดียว
............. “อากาสานัญจายตนสมาบัติ” เป็นสภาพเดียว
............. “วิญญาณัญจายตนสมาบัติ” เป็นสภาพเดียว
............. “อากิญจัญญายตนสมาบัติ” เป็นสภาพเดียว
............. “เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ” เป็นสภาพเดียว

“กิเลสทั้งปวง” เป็นสภาพต่าง “อรหัตมรรค” เป็นสภาพเดียว



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ

นานตฺเตกตฺตํ สภาพต่างๆ และสภาพเดียว....


นานตฺตํ คือ สภาพต่างๆ เพราะความไม่มั่นคง และเพราะมีความดิ้นรน

เอกตฺตํ คือ สภาพเดียว เพราะความมั่นคง และเพราะไม่ดิ้นรน



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “เดช”

ความว่า “เดช มี ๕” คือ .....
... จรณเดช
...คุณเดช
...ปัญญาเดช
...บุญญเดช
...ธรรมเดช


บุคคลผู้มีจิตอันกล้าแข็ง..........

ย่อมยัง “เดชคือความเป็นผู้ทุศีล” ให้สิ้นไป “ด้วยเดชคือศีล” เครื่องดำเนินไป

ย่อมยัง “เดชมิใช่คุณ” ให้สิ้นไป “ด้วยเดชคือคุณ”

ย่อมยัง “เดชคือความเป็นผู้มีปัญญาทราม” ให้สิ้นไป “ด้วยเดชคือปัญญา”

ย่อมยัง “เดชมิใช่บุญ” ให้สิ้นไป “ด้วยเดชคือบุญ”

ย่อมยัง “เดชมิใช่ธรรม” ให้สิ้นไป “ด้วยเดชอันเป็นธรรม”



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ


จรณ

จรณะ หมายถึง ความประพฤติ หรือ ปฏิปทา หรือข้อปฏิบัติที่จะให้บรรลุวิชชา หรือนิพพาน ประกอบด้วย ๑๕ ประการ คือ.....

๑. สีลสัมปทา ๑ คือ ความถึงพร้อมด้วยศีล คือ ประพฤติถูกต้องดีงาม สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทเรียบร้อย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย

๒. อปัณณกปฏิปทา ๓ คือ ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด เป็นปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด

๓. สัทธรรม ๗ หรือ สัทธัมมสมันนาคโต คือ ธรรมอันดี ธรรมที่แท้ ธรรมของสัตบุรุษ เป็นหลักหรือแก่นศาสนา

๔. ฌาน ๔ หมายถึงรูปฌาน ๔



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ...(ต่อ)...


อปัณณกปฏิปทา ๓

อปัณณกปฏิปทา ๓ คือ ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด เป็นปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด ประกอบด้วย

๑. อินทรียสังวร เป็น การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ (หู ตา จมูก ลิ้น กาย และ ใจ)

๒.โภชเนมัตตัญญุตา เป็นความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา

๓.ชาคริยานุโยค เป็นการหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2009, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ...(ต่อ)...

สัทธรรม ๗ หรือ สัทธัมมสมันนาคโต

สัทธัมมสมันนาคโต คือ ธรรมอันดี ธรรมที่แท้ ธรรมของสัตบุรุษ เป็นหลักหรือแก่นศาสนา ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ดังนี้

๑.มีศรัทธา
๒.มีหิริ
๓.มีโอตตัปปะ
๔.เป็นพหูสูต
๕.มีความเพียรอันปรารภแล้ว
๖.มีสติมั่นคง
๗.มีปัญญา



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาน ๔ หมายถึงรูปฌาน ๔

๑.ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒.ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
๓.ตติยฌาน หรือฌานที่ 3 มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
๔.จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร