วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 22:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2009, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษาคำว่า “ เพ่ง” คำๆเดียวกัน...

เมื่อ เวลาเปลี่ยนไป ความเข้าใจในความหมายของคำนี้ ในหมู่ชาวพุทธ ก็เริ่มที่จะเข้าใจกันไปกันคนล่ะทาง .บ้าง ก็เข้าใจความหมาย ของคำว่า”เพ่ง”นี้ ไปในทางที่พึงเจริญ .... บ้าง ก็ไม่ใช่. เวลา ชาวพุทธสนทนาในเรื่อง การเจริญภาวนา จึง อาจจะเข้าใจกันไปคนล่ะทาง เมื่อกล่าว คำๆเดียวกันนี้



ขอเสนอ การสรุปประมวล ความหมายของคำว่า”เพ่ง” นี้ เป็น 2 ประเด็นหลัก คือ




### 1. คำว่า “เพ่ง” ที่ ปรากฏอยู่ ในพระไตรปิฎกแปลไทย ใน พระสูตรต่างๆ เช่น

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พุทธอุทานคาถาที่ ๑
“...เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียร*เพ่ง*อยู่
เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ.


พระไตรปิฎกเล่มที่ 14 อินทริยภาวนาสูตร
“....ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
เธอทั้งหลายจง*เพ่ง*ฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ”


พระสุตตันปิฎกเล่มที่9 สังยุตนิกาย ขันธวราวรรค
“[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้*เพ่ง*พินิจโดยวิธี ๓ ประการ เป็นอย่างไร?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเพ่งพินิจโดยความเป็นธาตุประการหนึ่ง
โดยความเป็นอายตนะประการหนึ่ง
โดยความเป็นปฏิจจสมุปบาทประการหนึ่ง.
ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ. ภิกษุฉลาดในฐานะ ๗ ประการ
ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เรา เรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้…”



“เพ่ง” ใน ความหมายนี้ หมายถึง การดู การรู้ หรือ พิจารณา อย่างมีสติจดจ่อแน่วแน่ …. เป็นสิ่งที่ชาวพุทธพึงปฏิบัติกระทำให้บังเกิดขึ้น

“เพ่ง”ในความหมายในลักษณะนี้ ยัง ปรากฏในคำสอนของ พระสุปฏิปันโน ในไทย อีกหลายรูป เช่น โอวาทธรรม หลวงปู่ ดุลย์ อตุโล

“...กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้*เพ่ง*มองที่จิต
อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน….”



………………………………………………………….



### 2. “เพ่ง” ใน อีกความหมาย เป็นลักษณะที่ “พึงหลีกเลี่ยง” .... ซึ่ง เราอาจจะได้ยินกันในปัจจุบันบ่อยๆ ว่า “ไม่ให้เพ่ง” หรือ “ไม่เผลอไปเพ่งเข้า(ไม่เผลอเพ่ง)” .

เพ่ง ในลักษณะนี้จะเป็นลักษณะของการเพ่งจ้องจนตึงเครียด .... อาจจะเข้าลักษณะเพ่ง เช่น ในหนังภาพยนตร์เรื่อง สแกนเนอร์ . สื่อถึง การตั้งใจที่จะดู จะรู้ สภาวธรรมต่างๆ มากจนเกินไป...... เลยกลายเป็น ตึงเครียด เกร็ง ...



…………………………………………………………………..


@ ความเห็น @ ;


“เพ่ง” แบบที่1 ที่ใช้กันมาแต่เดิม ในพระไตรปิฎกแปลไทย (รวมทั้งที่ ที่หลวงปู่ ดุล ท่านกล่าวถึงนั้น) ก็ ควรจะช่วยกันอนุรักษ์การใช้ภาษา ให้ คงความหมายตามเดิมไว้ .


สำหรับ “เพ่ง” แบบที่2นั้น..... ถ้า เปรียบกับ หลักธรรมในอินทรีย์๕แล้ว “เพ่ง”ในความหมายนี้ ก็น่าจะตรงกับ การที่มีวิริยะมากไป. วิริยะ คือ เพียร..ทั้งทางกาย(มุ่งเดินจงกรม นั่งสมาธิ) และ ใจ(มุ่งมั่นจะรู้ธรรมให้ได้ ). ถ้า วิริยะทางใจมากไป หรือ ” ตั้งใจ” มากจนเกินไป... เวลาเจริญภาวนา ถ้าตั้งใจมากจนเกินไป จิตจะเสียสภาพความเป็นธรรมชาติ-ความนุ่มนวลของจิต อย่างที่ควร.

จาก หนังสือ พุทธธรรม หน้า877

"เมื่อ อินทรีย์บางอย่างแรงไป บางอย่างอ่อนไป ตามปกติต้องแก้ด้วยการเจริญโพชฌงค์ ข้อที่ตรงเรื่องกัน
เช่น วิริยะแรงไป แก้ให้ลดลงด้วยการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น"


ท่านกล่าวถึง การใช้ ปัสสัทธิสัมโพฌชงค์(ความผ่อนคลายกาย-ใจ เป็นส่วนแห่งสมาธิ) ปรับถ่วงดุลย์กับ วิริยะสัมโพฌชงค์.
กล่าว ง่ายๆ ก็คือ ถ้าตั้งใจมากจนเกินไป ก็ให้ผ่อนคลายใจลงบ้าง


ปัจจุบัน การตั้งใจที่จะรู้ธรรมมากเกินไป จะถูกเรียกว่า "เผลอเพ่ง" . แต่ ในสมัยพุทธกาล จะเป็นลักษณะ วิริยะทางใจที่มากเกินไป .....
ซึ่งต้องถ่วงดุลย์ด้วย ปัสสัทธิ(ผ่อนคลาย กาย-ใจ) ในลักษณะ ที่ท่านผู้รู้กล่าวว่า “ รู้ สบายๆ “ (สบาย คือ ปัสสัทธิ) …. น่าจะตรงกับความหมายดั้งเดิมในระดับพระสูตรมากกว่า



หลวงปู่ ชา สุภัทโท ท่านได้เคยกล่าวเรื่อง การมุ่งมั่นที่จะรู้ธรรมมากจนเกินไป(และ กลายเป็นตัวขัดขวางการรู้ธรรม) ไว้ดังนี้

"ปุจฉา ; ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า

วิสัชนา ; เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ **ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น** ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความ สงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย **จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร** อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติ หรือ ในการรู้แจ้ง..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีเพื่อนทางธรรมท่านหนึ่ง(คุณ dokai)

ได้เสนอ คห.ต่อประเด็น คำว่า เพ่ง เอาไว้ ดังนี้



>>>>>>>>>>>>>>>>



ภาษา กับ การปฏิบัติ มันไม่ตรงประเด็นกัน มันถึงเป็นปัญหาและเข้าใจยาก

ที่ผมพยายามจะกล่าวคือ คำว่า เพ่ง ในพยัชนะหรือ ความหมายกลางๆนั้น มันไม่ได้มีปัญหาอะไร ที่เป็นปัญหาคือ วิธีการประพฤตปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติ ผมถึงบอกว่า มิได้ เป็นปัญหา

ในวิถีแห่งการปฏิบัติของการ "เพ่ง" ก็ ไม่เป็นปัญหาเช่นกัน มิฉะนั้น ครูบาอาจารย์ คงไม่กล่าวถึง การเพ่ง แต่มีบางกลุ่มพยายาม ทำให้เข้าใจว่า คำว่า เพ่ง เป็นปัญหา และผิด

ทำไม ไม่กล่าวว่า มันทำไมถูกต่างหาก

คำสอน พระพุทธองค์ และ ครุบาอาจารย์สื่อความหมายไว้สิ่งหนึ่ง ผู้ปฏิบัติต่างหาก ที่ประพฤติปฏิบัติ ได้ยังไม่ตรงนัยยะ ไม่ได้ผลกับสิ่งที่บรมครู และ ครูบาอาจารย์บอก ฉะนั้น ถ้าทำถูก มันจะผิด อย่างไรกัน

ถ้าเป็นวิธีที่ผิด พระพุทธองค์กล่าวสอนไว้ทำไมกัน

ผมก็เพิ่งจะมาเห็นระยะหลังๆไม่ถึงสิบปีนี่เอง ที่ มีบางสำนัก ใช้คำว่า "เผลอเพ่ง"

ถ้าคำว่า เผลอ นั้น แสดงนัยยะของความขาดสติ เผลอสติ แต่คำว่าเพ่ง ผมไม่เห็นมีตรงไหนในพระไตรปิฏก กล่าวว่าเป็นปัญหา แต่กลับพยายามโยงภาษา เอาคำว่า เผลอ + เพ่ง แล้วทำให้ คำว่า เพ่ง หรืออะไรที่ขึ้นต้นว่า "เพ่ง" ปัป เป็น ผิดหมดเสมอ ยิ่งยุคสมัยนี้ด้วยแล้ว จะหาผู้ปฏิบัติได้ถูก นับว่าน้อย โดยส่วนใหญ่ สภาพจิตของผุ้คนยุกไฮเทคมันก็ขาดความพอดีพอควรแก่การงาน โดยมากจึงยังทำได้ไม่ถูกนัก มันก็เลยเป็นโอกาสให้ยกประเด็นขึ้นมาชูว่า "เห็นไหม ติดเพ่งแล้ว มันผิด" แล้วเที่ยวไปทักคนโน้นคนนี้ มันเป็นความพยายามที่จะเอาปัญหาของผู้ที่ปฏิบัติไม่ถูก หรือไมได้ผล หรือ พวกที่หลับตาทำกรรมฐานไม่ได้ฟุ้งซ่านตลอด แล้วเอามาตีขีดเป็น ข้อสรุปเป็นบรรทัดฐานว่า การเพ่งเป็นหนทางที่ผิด นี่คือการ มองเหมาโหล "sterio type" แต่กลับไม่พยายาม ศึกษาทบทวนหาว่า ผู้ที่ปฏิบัติได้ถูกต้อง แล้วเจริญไปได้ ทำกันอย่างไรกัน ผู้ที่เจริญได้ ก็ยังมี เพราะฉะนั้น วิธี ไม่ได้ผิด แต่ ทำไม่เป็นต่างหาก

การกล่าวหักล้าง ธรรมของบรมครู หรือแม้นแต่ ครูบาอาจารย์ที่เป็นที่นับถือสืบกันมา บ่อย ๆเข้า ทุกวันนี้ท่านๆ ที่เคยพยายามไม่ต่อปากต่อคำแต่ก่อน เริ่มชักเห็นถีงความ เยอะ ความล้น ท่านทั้งหลายก็เลยออกมากล่าวเบรค กันเป็นวงกว้างมากขึ้น ๆ คงต้องคอยติดตามกันต่อไป

คำว่าเพ่ง โดยแท้จริงมันก็ยังไม่สมบรูณ์เสียที่เดียว เนื่องด้วยความจำกัดของภาษา หากจะกล่าวให้สมบรุณ์กระชับขึ้นอีกหน่อย ควรประกอบดคำว่า "เพ่งพินิจ" หรือ "เพ่งพิจารณา" คำว่า เพ่ง โดด ๆ อย่างเดียว ภาษา มันดิ้น เลยเป็นช่องโว่แห่งนัยยะและความเข้าใจผิดกัน

ผู้ที่กล่าวถึงการเพ่ง เป็น ผิดหมด อันนี้ ผมว่าตั่งทิฐิเอาไว้ ผิดที่ผิดทาง และ เป็นความสุดโต่ง มันก็อย่างที่บอก เช่นเดียวกับการทำสมถะ พยายามบอกว่า เป็นการกดข่ม หินทับหญ้าบ้างละ เป็นการไปยกเป็นจุดๆ เอามาตี ทำไมไม่สอนว่า เวลาที่ควรกด ก็ควรกด เวลาที่ไม่ควร กดก็ไม่ควร นักภวานาว่าควรไปค้นพระไตรปิฏกอ่านศึกษากัน รุ้เรื่องบ้างไม่รุ้เรื่องบ้างยังดีกว่า ค่อยๆซึมค่อยๆซับ ดีกว่าไปฟังสืบๆมา ต้นปลายก้ไม่ชัด ผลก็คุมเคลือมาก

ผมเห็นแต่ เค้ามีแต่ สมถะนำวิปัสสนา หรือ วิปัสสนา นำสมถะ หรือ ทั้ง สมถะและวิปัสสนาดำเนินไปคุ่กัน ไม่เห็นมีการกล่าวตำหนิติเตียนการปฏิบัติกัน

สติสัมปชัญญะ และ สมาธิ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินคู่กันไปเสมอ ไม่สามารถแยกแตกจากกัน เป็นธรรมหนุนกัน ไม่หักล้างกัน หากขาดสิ่งใด อ่อนอันใดอันหนึ่ง ก็เป็นปัญหาในการปฏิบัติสำหรับนักภวานา

ขอบคุณที่ให้โอกาสสนธนาด้วย ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน พุทธทาสภิกขุ :b8:

ท่านได้เคยสรุปสาระ เรื่อง การเพ่ง ในการเจริญสติปัฏฐานเอาไว้ดังนี้




จาก หนังสือโพธิปักขิยธรรม


เรื่อง “ความเพ่ง “ นี้ ก็ได้พูดให้ฟัง กันมาหลายครั้งหลายหนแล้ว .

คำว่า เพ่ง คือ ฌานะ แปลว่าเพ่ง.
ฌาน นี้แปลว่าเพ่ง .

ถ้าเพ่งอย่างกำหนดอารมณ์ก็เป็นสมถะ
ถ้าเพ่งลักษณะให้รู้ความจริงก็เป็นปัญญาหรือวิปัสสนา มันมีอยู่สองเพ่ง
.

คำว่าเพ่งใช้สับสนปนเปกันไปหมดจนลำบาก พวกที่แปลเป็นภาษาฝรั่งก็ใช้ผิดๆ จนฝรั่งอ่านไม่รู้เรื่อง หรือ ไม่ได้เรื่องที่แท้จริง มันปนกันหมดระหว่างคำว่า meditate concentrate speculate อะไรนี้ ปนกันยุ่งไปหมด

ถ้าจะเอาเป็นหลักเป็นเกฌฑ์ meditate นี้เป็นเพ่งเฉยๆ เพ่งอย่างไรก็ได้ . ถ้า meditate ลงไปในวัตถุนั้นก็เป็น concentrate คือ รวบรวมจิต กระแสจิตทั้งหมดมาจดจ่ออยู่ที่สิ่งนี้สิ่งเดียวเป็น concentrate .

ถ้าเพ่งรายละเอียด หาข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็กลายเป็น speculate ก็รู้ข้อเท็จจริงอันละเอียดลึกซึ้งออกไป .

เดี๋ยวนี้เอาคำว่า concentrate กับ meditate มาใช้ปนกันยุ่ง ในหนังสือที่เขียนเป็นภาษาต่างประเทศมันก็ลำบาก .

แม้แต่ในภาษาไทยนี้ก็ยังลำบาก.

ต้องไปหาหลักที่ถูกต้องและแน่นอนว่า

คำว่า ฌานะ แปลว่า เพ่ง .
ถ้าเพ่งอารมณ์ก็เพ่งให้จิตหยุดอยู่ที่นั่น แล้วเป็นสมถะ.
ถ้าเพ่งหาความจริงอย่างลึกซึ้งก็เป็นปัญญา หรือ เป็นวิปัสสนา
.

คำว่า สติปัฏฐาน คำเดียวนี้ มีความหมายสองอย่าง แยกไปในทางสมถะก็ได้ แยกไปในทางวิปัสสนาก็ได้ .
เหมือนอย่างที่พูดแล้ว สำหรับกายว่าเป็นอย่างไร .

เพ่งให้จิตหยุดอยู่ที่นั่น คือ เพ่งกายให้จิตหยุดอยู่ที่นั่นก็เป็นสมถะ .
เพ่งกาย ให้รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปัญญา.


เรื่องที่สอง เวทนานุปัสสสนาสติปัฏฐาน เอาเวทนามาเพ่งเป็นอารมณ์ ;-
.....ๆลๆ......
......................



เรื่องที่สาม คือ จิต : กำหนดลักษณะจิตเป็นอย่างไร กำลังเป็นอยู่อย่างไร กำลังโกรธ หรือกำลังรัก หรือกำลังอะไรก็ตาม : อย่างนี้มันเป็นสมถะ เอาจิตเป็นอารมณ์ พอกำหนดจิตอีกอันหนึ่ง คือเพ่งเข้าไปที่นั้นเป็นสมถะ

ทีนี้ก็ดูต่อไป ดูจิต เพ่งต่อไปถึงว่าจิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา

พิจารณาจิตก็มี ๒ อย่าง
เพียงรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรกำหนดเท่านี้ก็เป็นสมถะ กำหนดเพียงภาวะว่าจิตของเรากำลังเป็นอย่างไรเท่านั้นเป็นสมถะ
ถ้าว่ากำหนดข้อเท็จจริงของมันเป็นอย่างไร ที่มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอย่างไร นี่เรียกว่าปัญญาเป็นวิปัสสนา

ๆลๆ......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ


ใช้คำว่า
อบรม ก็ได้นะครับ



จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใด
อบรม ได้ดั่งนี้
ความทุกข์จะมีมาแต่ที่ใดเล่า ?




เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร