วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 02:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปนี้เป็นเรื่องของ จินตามยปัญญา ที่ได้รวบรวมหลักฐานตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่อธิบายโดยอรรถกถาจารย์ อ่านแล้วโปรดตรองดู เผื่อว่าจะได้เข้าใจถูก หากเข้าใจผิดไป และเข้าใจใหม่กับสิ่งที่เคยเข้าใจว่าถูก โดยเฉพาะในเรื่องของความหมายของภาวนามยปัญญาว่าแท้จริงแล้วมีหลายอย่าง และความหมายดั่งเดิมเป็นอย่างไร กว้างเพียงไร...

เรื่องนี้เก็บงำมานานแสนนาน คลาดเคลื่อนไปตามกาลเวลา แต่หลักฐานยังปรากฏอยู่ โปรดใช้วิจารณญาณและโยนิโสมนสิการกันก่อนนะครับ

********************************************************
จินตามยปัญญา คือ ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด
********************************************************

๑. จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด]
๒. สุตมยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง]
๓. ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม]

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 501&Z=7015

*********************************************************
จินตามยปัญญาทำให้สำเร็จญาณเหล่านี้ได้ จากอภิธรรม
********************************************************


[๘๐๔] ในญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน

ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลมิ
ได้ฟังจากผู้อื่น ย่อมได้กัมมัสสกตาญาณ หรือย่อมได้สัจจานุโลมิกญาณ* ว่ารูปไม่
เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ย่อมได้อนุโลมิกญาณ
ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ
อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา


สุตมยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในศิลปะทั้งหลายที่ต้อง
น้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี ในวิชาทั้งหลายที่ต้องน้อมนำไปด้วยปัญญาก็ดี บุคคลได้
ฟังจากผู้อื่นแล้ว จึงได้กัมมัสสกตาญาณ หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ ว่ารูปไม่เที่ยง
ดังนี้บ้าง ว่าเวทนาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสัญญาไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าสังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ว่าวิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้บ้าง ได้อนุโลมิกญาณ ขันติญาณ
ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันใด ซึ่งมี
ลักษณะอย่างนั้น นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา

ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... A=11030&w=จินตามยปัญญา

- - - - - - - - - - -
* สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจจ์,
ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์;
อนุโลมญาณ ก็เรียก
(ข้อ ๙ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

*สมาบัติ = ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง;
สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น
สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙


*******************************************************************
อรรถกถาอธิบายจินตามยปัญญา ทำให้เกิดกัมมัสกตาญาณ หรือสัจจานุโลมิกญาณ
* หรืออนุโลมิกขันติ ทิฐิ รุจิ มุนี เปกขะ ธัมมนิชเานขันติ ***

*******************************************************************

ในปัญญาที่สำเร็จด้วยความคิดเป็นต้น มีความพิสดารดังต่อไปนี้
ที่ว่าบรรดาปัญญาเหล่านั้น ปัญญาที่สำเร็จด้วยความคิดเป็นไฉน
ในบ่อเกิดของการงานที่น้อมนำเข้าไปด้วยปัญญา หรือในบ่อเกิดของศิลปะที่น้อมนำไปด้วยปัญญา หรือในสถานที่ของวิชาที่น้อมนำเข้าไปด้วยปัญญา บุคคลไม่ได้ฟังมาแต่ผู้อื่น กลับได้กัมมัสกตาญาณ หรือสัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมิกขันติ ทิฐิ รุจิ มุนี เปกขะ ธัมมนิชเานขันติ เห็นปานนี้ อันใดว่ารูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง นี้เรียกว่าจินตามยปัญญา.
ในปัญญา ๓ ประการนั้น ปัญญาที่สำเร็จด้วยการฟังเป็นไฉน
ในบ่อเกิดของการงานที่น้อมนำเข้าไปด้วยปัญญา ได้ฟังจากผู้อื่นเท่านั้น จึงกลับได้ ฯลฯ ธัมมนิชฌานขันติ นี้เรียกว่าสุตมยปัญญา.
ในปัญญา ๓ ประการนั้น ปัญญาที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนาเป็นไฉน
ปัญญาแม้ทั้งหมดของผู้เข้าสมาบัติ ชื่อว่าภาวนามยปัญญา.๑๘-

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... i=221&p=3#ว่าด้วยธรรมหมวด_๓_ข้อ_[๒๒๘]

********************************************************
ความหมายของจินตามยปัญญาจากหนังสือพุทธธรรม
********************************************************


[93] ปัญญา 3 (ความรอบรู้, รู้ทั่ว, เข้าใจ, รู้ซึ้ง — knowledge; understanding)
1. จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล — wisdom resulting form reflection; knowledge that is thought out)
2. สุตมยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน — wisdom resulting from study; knowledge that is learned from others)
3. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ — wisdom resulting from mental development; knowledge that is gained by development or practice)

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=จินตามยปัญญา&detail=on

***********************************************************************
จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญาที่ยังมีอาสวะ ที่ยังไม่ได้มรรคและผลจัดเป็นโลกียะปัญญา
***********************************************************************

ก็สมาธิ และปัญญา มี ๒ อย่าง คือ เป็นโลกิยะ ๑ เป็นโลกุตระ ๑ เหมือนศีล. ใน ๒ อย่างนั้น โลกิยสมาธิ ได้แก่ สมาบัติ ๘ พร้อมด้วยอุปจาร โลกุตรสมาธิ ได้แก่ สมาธิที่นับเนื่องในมรรค.
ฝ่ายปัญญาที่เป็นโลกิยะ ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญาที่ยังมีอาสวะ ส่วนโลกุตรปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 5&i=44&p=1

*****************************************************
จินตามยปัญญา เกิดจาก วิตกถึงอาการแห่งสภาวธรรม
ภาวนาปัญญา มีความหมายกว้าง ครอบโลกียอภิญญา ๕

*****************************************************

พึงทราบการจำแนกลักษณะของพาหุสัจจะดังต่อไปนี้ :-

ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ สติปัฏฐาน ๔ และประเภทธรรมมีกุศลเป็นต้น. วิทยาการอันไม่โทษในโลก การพยากรณ์วิเศษอันประกอบด้วยวิธีนำประโยชน์สุขให้แก่สัตว์ทั้งหลาย. พึงให้เกิดสุตมยปัญญาด้วยการหยั่งลงสู่สุตวิสัยทุกอย่างทุกประการด้วยปัญญาอันเป็นความฉลาดในอุบายเป็นเบื้องต้น ด้วยสติ ด้วยวิริยะ ด้วยการเรียนการฟัง การทรงจำ การสะสม การสอบถามด้วยดี แล้วให้ผู้อื่นตั้งอยู่ในปัญญานั้นด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ปัญญาอันเป็นปฏิภาณที่จะทำให้สัตว์ทั้งหลายบรรลุถึงจุดหมายในสิ่งที่ควรทำ และเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ ความเสื่อมและอุบาย พึงให้เป็นไปตามสมควรในปัญญานั้นๆ อาศัยความเป็นผู้แสวงหาประโยชน์.

อนึ่ง ผู้ที่ยังสัตว์ทั้งหลายให้ทนต่อความเพ่ง ด้วยการวิตกถึงอาการแห่งสภาวธรรมมีขันธ์เป็นต้น พึงให้เกิดจินตามยปัญญา.

อนึ่ง อันผู้ที่ยังโลกิยปัญญาให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการกำหนดลักษณะของตนและสามัญญลักษณะของขันธ์เป็นต้น พึงให้สมบูรณ์ด้วยภาวนามยปัญญา อันเป็นส่วนเบื้องต้น.

จริงอยู่ นี้เป็นเพียงนามรูปย่อมเกิดขึ้นและดับไปด้วยปัจจัยทั้งหลายตามสมควร. ในเรื่องนี้ไม่มีใครทำเองหรือให้ผู้อื่นทำ เป็นความไม่เที่ยงเพราะเป็นแล้วไม่เป็น เป็นทุกข์เพราะเกิดเสื่อมและบีบคั้น เป็นอนัตตาเพราะไม่อยู่ในอำนาจตน. ด้วยเหตุนั้น มหาบุรุษกำหนดรู้ธรรมภายในและธรรมภายนอกไม่ให้เหลือ ละความข้องในธรรมนั้น และให้ผู้อื่นละความข้องในธรรมนั้นด้วยอำนาจแห่งกรุณาอย่างเดียวเท่านั้น. พระพุทธคุณยังไม่มาถึงฝ่ามือเพียงใด ยังสัตว์ทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในญาณ ๓ ด้วยการหยั่งลงและการทำให้เจริญ ยังฌานวิโมกข์สมาธิและสมาบัติ อภิญญาอันเป็นโลกิยะให้ถึงความชำนาญ ย่อมบรรลุถึงที่สุดแห่งปัญญา. ในโลกิยอภิญญานั้น ภาวนาปัญญาคือโลกิยอภิญญา ๕ พร้อมด้วยบริภัณฑ์ของญาณ ได้แก่กลุ่มคืออิทธิวิธญาณ ทิพพโสตธาตุญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 3&i=36&p=6













___________________________________________

เทพนิมิตปรากฏแก่ข้าพเจ้า...ข้าพเจ้ากำลังลากช้างเผือกเชือกหนึ่งข้ามฝั่งแม่น้ำอันกว้างใหญ่ ช้างนั้นมีตัวใหญ่โต ข้างหลังของช้างมีแถวของผู้คนจำนวนมากจับเชือกที่คล้องกับช้างนั้นเอาไว้ยาวสุดลูกตา...

ข้าพเจ้าพยายามลากช้าง และนำผู้คนที่เดินทางมาเหล่านั้น เพื่อจะข้ามฝั่งแม่น้ำ แต่ก็ไม่มีสะพานให้ข้ามไป จึงได้พยายามหาทางไปอีกด้านหนึ่ง ที่อยู่หลังเนินเขา พอข้ามเนินไป ปรากฏว่าทางข้างหน้ากลับเป็นทะเลสาปอันกว้างใหญ่ ข้าพเจ้า ช้างเผือก และผู้คนจำนวนนั้น จึงได้แต่หยุดอยู่ตรงนั้น และทอดหายใจ...


แก้ไขล่าสุดโดย ศิรัสพล เมื่อ 12 พ.ย. 2009, 22:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


สามารถศึกษาเพิ่มเติมถึงแนวทางปฏิบัติได้ที่กระทู้

พระธรรมเทศนาวิธีเจริญภาวนา จาก สมเด็จพระสังฆราชฯ

viewtopic.php?f=2&t=26903&p=153059#p153059


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิปัสสนาญาณ_๙


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป — conformity-knowledge; adaptation-knowledge)

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

...ภาษาเขียนในพระไตรปิฎกและอรรถกถา...ผู้ศึกษาต้องนำมาตีความต่ออีก...
...ยากต่อความเข้าใจของผู้ที่เข้ามาศึกษาธรรมะในระยะเริ่มต้นเจ้าค่ะ...


:b12: ...ขอตอบจินตามยปัญญาเป็นปัญญาที่ไม่ทำให้บรรลุธรรมจริงหรือไม่...
...จินตามยปัญญาอย่างเดียวเป็นปัญญาที่ไม่ทำให้บรรลุธรรมจริงเจ้าค่ะ...
...ต้องใช้ทั้ง3อย่างคือ ...1.จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด]...
...2.สุตมยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง]...3.ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม]...


:b20: :b16: ...ข้าพเจ้าขออธิบายในหลักปฏิบัติที่ตนเองฝึกฝนจนพอมีปัญญาทางธรรมเกิดขึ้นดังนี้...
...ในการปฏิบัติธรรม...ผู้ที่ปฏิบัติธรรมคือผู้ที่ต้องการฝึกอบรมจิตใจให้เข้าใจหลักธรรมคำสั่งสอน...
...โดยยึดหลักไตรสรณคมม์คือ...ศีล...สมาธิ...ปัญญา...เจตนารักษาศีล5ไม่ให้ขาด...หมั่นทำสมาธิประจำ
...โดยพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์คือเห็นอนิจจัง...ทุกขัง...อนัตตา..ในร่างกายตนจนเห็นชอบตามจริง...
...เน้นฝึกควบคุมจิตใจไม่ให้คิดส่งออกไปนอกกาย...โดยยึดคำบริกรรมภาวนา...พุทโธ...


...ข้าพเจ้าปฏิบัติธรรมจริงจังมาประมาณ 5 ปี...ได้รู้ความพิเศษของจิตจากการนั่งสมาธิ...ด้วยจิตเราเอง...
...เข้ามาปฏิบัติจากเริ่มฟังพระธรรมเทศนาจากวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนของหลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน...
...ด้วยหัวใจที่เสื่อมศรัทราในพระพุทธศาสนาจากข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ที่ลงความไม่ดีของพระสงฆ์ทุกวัน...
...ธรรมเทศนาสดๆทุกเช้าของหลวงตามหาบัวสะกิดจิตใจของข้าพเจ้า...เกิดซาบซึ้งในธรรมที่ท่านแสดง...
...เริ่มหันหน้าเข้าวัดปฏิบัติธรรม...เดิมก็นับถือศาสนาพุทธตามทะเบียนบ้าน...ไม่เข้าใจสัจจธรรมของชีวิต...

:b48: :b48: :b48:
:b20: ...ข้าพเจ้าเริ่มศึกษาธรรมจากการฟังเทศนาธรรมของพระสงฆ์สายกรรมฐานหลายท่านในวิทยุเสียงธรรม...
...ธรรมที่เข้าสู่จิตใจ...ทำให้เริ่มซึมซับความจริงของร่างกายตนเองว่าเป็นของไม่สะอาด...
...การฟังไม่ให้ส่งจิตหาผู้เทศน์...ให้ใจอยู่กับตนเอง...ให้ทำความเข้าใจว่าธรรมนั้นท่านสอนเราไม่ได้สอนผู้อื่น...
...ฟังโดยวิธีนี้ประจำ...อย่างนี้ทำให้เริ่มเข้าใจความจริงของชีวิตเกิดป็นสุตมยปัญญา...เมื่อฟังบ่อยๆเข้า...
...สิ่งที่เคยได้ยินมาแล้วก็เข้าใจมากขึ้น...สิ่งที่ไม่เคยได้ยินเช่นสมาธิขั้นต่างๆ...ก็ยังไม่เข้าใจเพราะยังไม่ได้ปฏิบัติ...


:b6: ...เมื่อเกิดปัญญาจากการฟังแล้ว...ก็นำมาคิดทบทวนพิจารณหาเหตุผลว่าสิ่งที่ท่านเทศน์อันใดไม่จริงบ้าง...
....พิจารณาจนเกิดปัญญาเข้าใจสภาพความเป็นจริงของร่างกายมนุษย์ทุกรูปทุกนาม...ในการปฏิบัตินั้น...
...ในการสวดมนต์ไหว้พระ...ทำทั้งกายวาจาใจน้อมในบทสวดมนต์...ทั้งอรรถและธรรมและคำแปลที่สวด...
...พิจารณาไปด้วยว่าสิ่งใดไม่จริงบ้าง...เกิดเป็นจินตามยปัญญา...รู้และเข้าใจเกิดการพิจารณารู้เห็นตามจริง...
...จากนั้นเริ่มฝึกปฏิบัติสมาธิ..ทั้งนั่งสมาธิและเดินจงกรม...ยังไม่เข้าใจ...และเห็นว่าทรมาณทั้งกายและใจ...


:b10: ...แต่พอความทรมาณมันมากขึ้นจิตที่เกิดพิจารณว่า...อ๋อที่ท่านว่าร่างกายไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง...ทุกขัง...อย่างนี้.
...ผลที่เกิดจากการฟังกลายเป็นสุตมยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง]...ฟังมากๆบ่อยๆเกิดพิจารณาไตร่ตรอง
...ให้เห็นเป็นจริงในกายตนเกิดจินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด]...จากนั้นนำมาปฏิบัติสมาธิภาวนา...
...เกิดภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม]...เมื่อจิตใจดูดดื่มในธรรม...ต่อมาการปฏิบัติก็เข้าสู่จิตสงบ...
...เกิดความรู้แจ้งห็นตามเป็นจริงในพระธรรมคำสอนที่พระอาจารย์สายกรรมฐานทุกๆองค์เทศน์ได้สัมมาสมาธิ


:b1: ...การนั่งสมาธิของข้าพเจ้าไม่ออกไปรู้เห็นสิ่งใดภายนอก...เมื่อข้าพเจ้ารู้เข้าใจในตนเองก็ทำให้เข้าในผู้อื่น...
...ต่อมาจึงเริ่มศึกษาพุทธประวัติจากตำราที่วางขายตามท้องตลาด...ทุกวันนี้ปฏิบัติออกทางวิปัสนากรรมฐาน...
...มากกว่าสมถกรรมฐาน...เพราะสมถกรรมฐานที่ข้าพเจ้าได้รู้ผ่านสมาธิทุกขั้นจนถึงเข้าฌาน1,2,3,4 ขั้นหยาบๆ...
...ตอนเกิดอาการอย่างนี้ข้าพเจ้าก็เกิดตอนข้าพเจ้านั่งสมาธิฟังเทศน์หลวงตามหาบัวสดๆ...กายก็อยู่...จิตก็อยู่...
...คือจิตกับกายแยกกันอยู่...จิตไม่รับรู้อาการของกาย...คือลมหายใจละเอียดจนหายไปหมด...มีแต่จิตผู้รู้...


:b20: ...ขณะที่รู้นั้นก็ได้ยินเสียงเทศน์ตลอดเวลา...ไม่รู้สึกถึงอาการเต้นของหัวใจ...ไม่หายใจแต่ไม่รู้สึกขาดอากาศ...
...รู้สึกเหมือนลมผ่านเข้าออกทุกรูขุมขนของร่างกาย...คิดว่าร่างกายจะตาย...พยายามสูดอากาศให้เข้าเต็มปอด...
...แต่ก็รู้สึกได้ว่าไม่ขาดอากาศ...มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว...จิตสงบนิ่งแน่วแน่ยาวนานฟังเทศนาธรรมจนจบ...
...การปฏิบัติข้าพเจ้าไม่ได้เรียนถามจากใคร...แม้แต่หลวงตามหาบัวข้าพเจ้าได้รู้แล้วก็ไม่ถามท่าน...
...การปฏิบัติของข้าพเจ้าเกิดปัญญาทั้ง3ประการครบถ้วนหายสงสัยในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า..ปฏิบัติเพียง2ปีก็รู้ได้ถ้าตั้งใจ....


:b1: ...ทุกวันนี้ก็ยังฟังเทศนาธรรมจากวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนของหลวงตามหาบัวตลอดเวลา......ณ ปัจจุบันข้าพเจ้าจะปฏิบัติออกทางวิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้เกิดปัญญาฆ่ากิเลสที่มีทั้งหยาบ...กลาง...ละเอียด
...ข้าพเจ้าได้รู้ธรรมของจริงไม่สงสัย...ปฏิบัติมาได้รวม 5 ปี...ธรรมที่ได้รู้เห็นอันนั้นก็ไม่เคยจืดจางไปแม้แต่น้อย...
...อ่านข้อเขียนของข้าพเจ้าแล้ว...จะนำวิธีของข้าพเจ้าไปลองปฏิบัติ...ก็ยินดีและขออนุโมทนากับท่านด้วยเจ้าค่ะ...
...การฆ่ากิเลสมันยากนัก....เราต้องขจัดการกับอวิชชาในตัวเราออกไปก่อนให้จิตรู้เนื้อรู้ตัว...จึงจะเกิดปัญญาได้...


:b8: หลวงตามหาบัวท่านสอนว่า...ก่อนนอนให้พาสวดมนต์ไหว้พระแล้วนั่งสมาธิ...ไม่ได้นานขอให้ทำสมาธิได้วันละ5นาทีก็ยังดี...

คำสมาทานกรรมฐานที่ข้าพเจ้าใช้เวลาปฏิบัติสมาธิภาวนา :b1:

...พนมมือตั้งนะโม 3 จบแล้วจิตอธิษฐานตามนี้เจ้าค่ะ...

...ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งสัมมาทิฏฐิที่เป็นความเห็นถูกต้อง...
...ให้เห็นธรรมชาติล้วนๆไหลไป...เกิด-ดับตามเหตุปัจจัย...
...ขอให้พบดวงแก้ว...ขอให้แคล้วบ่วงมาร...ขอให้พบธรรมะอันผ่องใส...
...ด้วยการเจริญสติภาวนากรรมฐานด้วยเทอญ...สาธุ...สาธุ...สาธุ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ Rosarin ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรผู้ฉลาด
พึงรักษาคุ้มครองจิตเพราะอะไร ?

เพราะ......!!

....."การฝึกจิตที่ข่มได้ยาก เบา
มักตกไปในอารมณ์ใคร่
การฝึกจิตเป็นความดี
จิตที่ฝึกดีแล้วจะนำความสุขมาให้"

เพราะฉนั้น....!!

....."บัณฑิตพึงรักษาจิตที่เห็นได้ยาก
ละเอียดยิ่งนัก
มักตกไปในอารมณ์ใคร่
จิตที่คุ้มครองแล้วจะนำความสุขมาให้"

เพราะ......!!

....."จิตนี้ไปไกล
เที่ยวไปดวงเดียว
ไม่มีรูปร่าง
มีถ้ำเป็นที่อาศัย
ผู้ใดสำรวมจิตไว้ได้
ผู้นั้นจะพ้นจากบ่วงมาร"

....."ปัญญาของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
ไม่รู้สัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย
ย่อมไม่บริบูรณ์"

....."อนึ่ง ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่
ผู้มีกัมมัฏฐานมั่นคงเป็นสหาย
มีจิตไม่ขวนขวาย
มีจิตไม่ถูกกำจัดละบุญและบาปได้แล้ว
ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ"




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:

....."ปัญญาของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
ไม่รู้สัทธรรม
มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย
ย่อมไม่บริบูรณ์"


....."อนึ่ง ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่
ผู้มีกัมมัฏฐานมั่นคงเป็นสหาย
มีจิตไม่ขวนขวาย
มีจิตไม่ถูกกำจัดละบุญและบาปได้แล้ว
ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ"

[/color]

:b8: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปัญญา

ปัญญา มีลักษณะรู้ชัดรู้แจ้ง ซึ่งสภาวแห่งรูปธรรมนามธรรม มีอรรถาธิบายกว้างขวางมาก แจกแจงได้เป็นหลายนัยหลายกระบวน ในวิสุทธิมัคคอรรถกถา ก็จำแนกเป็น ๖ หมวด รวม ๓๑ อย่าง ที่เรียกว่า ปัญญา ๓๑ ทัส แต่ในที่นี้จะแสดงแต่นัยเดียวที่เกี่ยวแก่เรื่องนี้ว่า ปัญญามีอยู่ ๓ อย่าง คือ สุตามยปัญญา จินตามยปัญญา และ ภาวนามยปัญญา เท่านั้น

http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/082.htm
-------------------------------------------------


อานิสงส์ของปัญญา

ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ในโลกุตตรจิต ซึ่งมีอานิสงส์ ดังต่อไปนี้
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/110.htm
--------------------------------------------------------

จากคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ กรรมฐานสังคหวิภาค อภิธรรมมูลนิธิ

ปัญญา ๓

ในติกะ คือ หมวดปัญญา ๓ มีอธิบายดังนี้
ในติกะที่ ๑ ปัญญาที่ไม่ได้ฟังแต่คนอื่นได้มา เป็นจินตามยปัญญาเพราะสำเร็จโดยลำพังความคิดของตนเอง ปัญญาที่ฟังแต่ผู้อื่นแล้วจึงได้มา เป็นสุตมยปัญญา เพราะสำเร็จด้วยอำนาจการฟัง ปัญญาที่ถืออัปปนาอันสำเร็จด้วยอำนาจภาวนาอย่างใดก็แล้วแต่ เป็นภาวนามยปัญญา สมดังคำในวิภังค์กล่าวไว้ว่า ในปัญญา ๓ นั้น จินตามยปัญญาเป็นไฉน บุคคลไม่ได้ฟังแต่ผู้อื่นแล้วแล ได้ซึ่งกัมมัสกตาญาณ หรือสัจจานุโลมิกญาณว่ารูปไม่เที่ยง ก็ดี ว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยงก็ดี หรือขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขาญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันเป็นอนุโลมมิกะ เห็นปานนี้ใดในกัมมายตนะทั้งหลายที่บุคคลจัดทำด้วยโยคะก็ดีในสิปปยตนะ ทั้งหลายที่บุคคลจัดทำด้วยโยคะก็ดี ในวิชา ฐานะ ทั้งหลายที่บุคคลจัดทำด้วยโยคะก็ดี อันใด ความรู้นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา

สุตมยปัญญาเป็นไฉน ? บุคคลได้ฟังแต่ผู้อื่นแล้วจึงได้ซึ่งกัมมัสกตาญาณ ฯ อันใด ความรู้นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา

ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติทุกอย่าง เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

ในติกะที่ ๒ ปัญญาเป็น ๓ โดยเป็นปริตตารัมมณปัญญา มหัคคตารัมมณปัญญา และอัปปมาณารัมมณปัญญาอย่างนี้ คือ ปัญญาที่ปรารถธรรมทั้งหลายอันเป็นกามาวจรเป็นไป เป็นปริตตารัมมณปัญญาที่ปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นรูปาวจร และอรูปาวจรเป็นไป เป็นมหัคคตารัมมณปัญญา ปัญญา ๒ นั้นเป็นโลกิยวิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่ปรารถพระนิพพานเป็นไปเป็นอัปปมาณารัมมณปัญญา อัปปมาณารัมมณปัญญานั้นเป็นโลกุตตรวิปัสสนาปัญญา (มัคคปัญญา)

ในติกะที่ ๓ ความเจริญชื่อว่า อายะ ความเจริญนั้นมีอยู่ ๒ ทาง คือ รู้สิ่งที่เสื่อมจากประโยชน์ ๑ ประโยชน์เกิดขึ้น ๑ ความฉลาดใน ๒ ทางนั้น ชื่อว่า อายโกศลตามที่กล่าวว่า “ ในกุศล ๓ นั้น อายกุศลเป็นไฉน ? คือ เมื่อเรามนสิการธรรมเหล่านี้อยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้นด้วย อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วก็ละไปด้วย อนึ่งเล่า เมื่อเรามนสิการธรรมเหล่านี้อยู่ กุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นด้วย กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่ออภิยโยภาพไพบูลย์เจริญยิ่งขึ้นด้วย “ ปัญญาคือ ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความไม่เกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย และในความเกิดขึ้น และความเจริญแห่งกุศลธรรมทั้งหลายด้วยแห่งผู้มีปัญญานั้น อันใด นี้เรียกว่า อายโกศล ดังนี้

ส่วนรู้ความเสื่อมชื่อว่า อปายะ ความเสื่อมนั้นมี ๒ ทาง คือ ประโยชน์เสื่อมไปทาง ๑ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นทาง ๑ ความฉลาด ๒ ทางนั้นชื่อว่า อปายโกศล ตามที่กล่าวว่า “ ในโกศล ๓ นั้น อปายโกศลเป็นไฉน ? คือเมื่อเรามนสิการธรรมเหล่านี้อยู่ กุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดอีกด้วย ดังนี้เป็นต้น ก็ความฉลาดอันเป็นไปฉับพลันในอุบาย คือ เหตุแห่งความสำเร็จแห่งธรรมทั้งหลายนั้น ๆ ทุกสถาน ชื่อว่า อุปายโกศล เหมือนที่กล่าวว่า ปัญญาอันเป็นอุบายในการละอกุศลธรรม และเจริญกุศลธรรมนั้นทุกอย่างชื่อ อุปายโกศล ดังนี้

ในติกะที่ ๔ ปัญญาเป็น ๓ โดยเป็นอัชฌัตตาภินิเวสเป็นต้นอย่างนี้ คือ วิปัสสนาปัญญาที่กำหนดขันธ์ของตน ปรารภไปเป็น เป็น อัชฌัตตาภินิเวสปัญญา ที่กำหนดขันธ์ของผู้อื่น หรือรูปภายนอกที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ปรารถไปเป็น พหิทธาภินิเวสปัญญา ที่กำหนดขันธ์ข้างใน และขันธ์ข้างนอกทั้งสองปรารภไปเป็น อัชฌัตตพหิทธาภินิเวสปัญญา

ปัญญา ๔

ในจตุกะที่ ๑ ปัญญาเป็น ๔ โดยเป็นญาณในอริยสัจ ๔ ดังนี้คือ ความรู้อันปรารภทุกขสัจเป็นไป เป็นญาณในทุกข์ ความรู้อันปรารภทุกขสมุทัยเป็นไป เป็นญาณในทุกขสมุทัย ความรู้อันปรารภทุกขนิโรธเป็นไป เป็นญาณทุกขนิโรธ ความรู้อันปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไป เป็นญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ในจุตกะที่ ๒ ความรู้ ๔ อันถึงซึ่งความแตกฉานในวัตถุ ๔ มีอรรถ เป็นต้น ชื่อว่าปฏิสัมภิทา ๔ สมดังพระบาลีว่า ความรู้ในอรรถ ชื่ออัตถสัมภิทา ความรู้ในธรรมชื่อ ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธรรมนิรุตติ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ปัญญา ๓

ในติกะ คือ หมวดปัญญา ๓ มีอธิบายดังนี้
ในติกะที่ ๑ ปัญญาที่ไม่ได้ฟังแต่คนอื่นได้มา เป็นจินตามยปัญญาเพราะสำเร็จโดยลำพังความคิดของตนเอง ปัญญาที่ฟังแต่ผู้อื่นแล้วจึงได้มา เป็นสุตมยปัญญา เพราะสำเร็จด้วยอำนาจการฟัง ปัญญาที่ถืออัปปนาอันสำเร็จด้วยอำนาจภาวนาอย่างใดก็แล้วแต่ เป็นภาวนามยปัญญา สมดังคำในวิภังค์กล่าวไว้ว่า ในปัญญา ๓ นั้น จินตามยปัญญาเป็นไฉน บุคคลไม่ได้ฟังแต่ผู้อื่นแล้วแล ได้ซึ่งกัมมัสกตาญาณ หรือสัจจานุโลมิกญาณว่ารูปไม่เที่ยง ก็ดี ว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยงก็ดี หรือขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขาญาณ ธัมมนิชฌานขันติญาณ อันเป็นอนุโลมมิกะ เห็นปานนี้ใดในกัมมายตนะทั้งหลายที่บุคคลจัดทำด้วยโยคะก็ดีในสิปปยตนะ ทั้งหลายที่บุคคลจัดทำด้วยโยคะก็ดี ในวิชา ฐานะ ทั้งหลายที่บุคคลจัดทำด้วยโยคะก็ดี อันใด ความรู้นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา

สุตมยปัญญาเป็นไฉน ? บุคคลได้ฟังแต่ผู้อื่นแล้วจึงได้ซึ่งกัมมัสกตาญาณ ฯ อันใด ความรู้นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา

ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติทุกอย่าง เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

ในติกะที่ ๒ ปัญญาเป็น ๓ โดยเป็นปริตตารัมมณปัญญา มหัคคตารัมมณปัญญา และอัปปมาณารัมมณปัญญาอย่างนี้ คือ ปัญญาที่ปรารถธรรมทั้งหลายอันเป็นกามาวจรเป็นไป เป็นปริตตารัมมณปัญญาที่ปรารถธรรมทั้งหลายอันเป็นรูปาวจร และอรูปาวจรเป็นไป เป็นมหัคคตารัมมณปัญญา ปัญญา ๒ นั้นเป็นโลกิยวิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่ปรารถพระนิพพานเป็นไปเป็นอัปปมาณารัมมณปัญญา อัปปมาณารัมมณปัญญานั้นเป็นโลกุตตรวิปัสสนาปัญญา (มัคคปัญญา)

ในติกะที่ ๓ ความเจริญชื่อว่า อายะ ความเจริญนั้นมีอยู่ ๒ ทาง คือ รู้สิ่งที่เสื่อมจากประโยชน์ ๑ ประโยชน์เกิดขึ้น ๑ ความฉลาดใน ๒ ทางนั้น ชื่อว่า อายโกศลตามที่กล่าวว่า “ ในกุศล ๓ นั้น อายกุศลเป็นไฉน ? คือ เมื่อเรามนสิการธรรมเหล่านี้อยู่ อกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้นด้วย อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วก็ละไปด้วย อนึ่งเล่า เมื่อเรามนสิการธรรมเหล่านี้อยู่ กุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นด้วย กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่ออภิยโยภาพไพบูลย์เจริญยิ่งขึ้นด้วย “ ปัญญาคือ ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในความไม่เกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย และในความเกิดขึ้น และความเจริญแห่งกุศลธรรมทั้งหลายด้วยแห่งผู้มีปัญญานั้น อันใด นี้เรียกว่า อายโกศล ดังนี้

ส่วนรู้ความเสื่อมชื่อว่า อปายะ ความเสื่อมนั้นมี ๒ ทาง คือ ประโยชน์เสื่อมไปทาง ๑ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นทาง ๑ ความฉลาด ๒ ทางนั้นชื่อว่า อปายโกศล ตามที่กล่าวว่า “ ในโกศล ๓ นั้น อปายโกศลเป็นไฉน ? คือเมื่อเรามนสิการธรรมเหล่านี้อยู่ กุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดอีกด้วย ดังนี้เป็นต้น ก็ความฉลาดอันเป็นไปฉับพลันในอุบาย คือ เหตุแห่งความสำเร็จแห่งธรรมทั้งหลายนั้น ๆ ทุกสถาน ชื่อว่า อุปายโกศล เหมือนที่กล่าวว่า ปัญญาอันเป็นอุบายในการละอกุศลธรรม และเจริญกุศลธรรมนั้นทุกอย่างชื่อ อุปายโกศล ดังนี้

ในติกะที่ ๔ ปัญญาเป็น ๓ โดยเป็นอัชฌัตตาภินิเวสเป็นต้นอย่างนี้ คือ วิปัสสนาปัญญาที่กำหนดขันธ์ของตน ปรารถไปเป็น เป็นอัชฌัตตาภินิเวสปัญญา ที่กำหนดขันธ์ของผู้อื่น หรือรูปภายนอกที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ปรารถไปเป็น พหิทธาภินิเวสปัญญา ที่กำหนดขันธ์ข้างใน และขันธ์ข้างนอกทั้งสองปรารภไปเป็น อัชฌัตตพหิทธาภินิเวสปัญญา

ปัญญา ๔

ในจตุกะที่ ๑ ปัญญาเป็น ๔ โดยเป็นญาณในอริยสัจ ๔ ดังนี้คือ ความรู้อันปรารภทุกขสัจเป็นไป เป็นญาณในทุกข์ ความรู้อันปรารภทุกขสมุทัยเป็นไป เป็นญาณในทุกขสมุทัย ความรู้อันปรารภทุกขนิโรธเป็นไป เป็นญาณทุกขนิโรธ ความรู้อันปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไป เป็นญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ในจุตกะที่ ๒ ความรู้ ๔ อันถึงซึ่งความแตกฉานในวัตถุ ๔ มีอรรถ เป็นต้น ชื่อว่าปฏิสัมภิทา ๔ สมดังพระบาลีว่า ความรู้ในอรรถ ชื่ออัตถสัมภิทา ความรู้ในธรรมชื่อ ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าวธรรมนิรุตติ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา


ปัญญาพึงเจริญอย่างไร

ก็ในข้อว่า ปัญญาพึงเจริญอย่างไร นี้มีการพรรณาว่าธรรมทั้งหลายมีขันธ์ อายจนะ ธาตุ อินทรีย์ สัจจะ และปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น เป็นภูมิ(พื้น) ของปัญญานี้ ได้แก่ วิสุทธิ ๒ คือ สีลวิสุทธิ และ จิตตวิสุทธิ เป็นมูล คือราก วิสุทธิ ๕ คือ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นสรีระ (ลำต้น) ของปัญญา เพราะเหตุนั้นภิกษุผู้ทำความสั่งสมความรู้ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภูมิเหล่านั้นด้วยการเรียนไต่ถามแล้ว ยังวิสุทธิ ๒ ที่เป็นมูล (ราก) ให้ถึงพร้อม แลวยังวิสุทธิ ๕ ให้ถึงพร้อมอยู่นี้เป็นการวิสัชนาสังเขปเพียงเท่านี้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์


[๘๐๔] ในญาณวัตถุหมวดละ ๓ นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r ... A=11030&w=ญาณวัตถุหมวดละ_๓
-----------------------------------------
จากอรรถกถา พระไตรปิฏก ( ที่เป็น cd ครับ เนื่อง ในเวป 84000.org ยังไม่มีครับ )

อธิบายญาณวัตถุหมวด ๓

จินตามยปัญญา
ปัญญา อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า โยคะ ในคำว่า โยค-
วิหิเตสุ นี้ มีอธิบายว่า ในการจัดแจงด้วยปัญญา ชื่อว่า น้อมนำไปด้วย
ปัญญา. อายตนะคือบ่อเกิดแห่งการงานในคำว่า กมฺมายตเนสุ นี้ ชื่อว่า
การงานนั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่งแม้แต่คำว่า การงานนั้นด้วย อายตนะนั้น
ด้วย มีอยู่แก่บุคคลผู้มีอาชีพเป็นต้น ดังนี้ ก็ชื่อว่า บ่อเกิดแห่งการงาน. แม้
ในคำว่า สิปฺปายตเนสุ ก็นัยนี้.
ในคำเหล่านั้น การงานมี ๒ อย่าง คือ หีนกรรม และอุกกัฏฐกรรม
(ชนิดเลวและดี). ใน ๒ อย่างนั้น การงานของช่างไม้ การงานของผู้เท
ดอกไม้ เป็นต้น ชื่อว่า หีนกรรม (ชนิดเลว). กสิกรรม วาณิชกรรม
โครักขกรรมเป็นต้น ชื่อว่า อุกกัฏฐกรรม (ชนิดดี).
แม้ในศิลปะก็มี ๒ อย่าง คือ ชนิดเลว และดี.
ใน ๒ อย่างนั้น ศิลปะของช่างสาน ศิลปะของช่างหูก ศิลปะของ
ช่างหม้อ ศิลปะของช่างหนัง และศิลปะของช่างตัดผมเป็นต้น ชื่อว่า ชนิดเลว.
ศิลปะที่ใช้ปัญญา (มุทฺธา) ศิลปะการคำนวณ (คณนา) ศิลปะขีดเขียน (เลขํ)
เป็นต้น ชื่อว่า ชนิดดี. ฐานะแห่งวิชชา ชื่อว่า วิชชาเทียว. ฐานะแห่ง
วิชชานั้นต้องประกอบโดยธรรม ท่านจึงถือเอา. ก็หมอ พ่อค้า ซึ่งมีวิชชา
เช่นกับมนต์เครื่องคุ้มครอง คือทำให้นาคงงงวย เช่นกับมนต์ของบุคคลผู้เป่า
ไม้เลาแม่น จักษุวิทยา ศัลยกรรม เป็นต้นท่านไม่ถือเอา เพราะความที่ศิลปะ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั้นไม่เข้าไปรวมอยู่ในศิลปะอันมีคำว่า ข้าแต่ท่าน
อาจารย์ กระผมปรารถนา เพื่อศึกษาศิลปะ ดังนี้.
นัยแห่งหีนกรรม
พึงทราบในข้อนี้ว่า บุรุษผู้ฉลาดคนหนึ่ง สร้างบ้าน ปราสาท ยาน
เรือเป็นต้น โดยธรรมดาของตนเองเพื่อต้องการอยู่เป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย
เพราะว่า บุรุษผู้ฉลาดคนนั้นดำรงอยู่ด้วยการกระทำประโยชน์เกื้อกูล โดยคิด
ว่ามนุษย์เหล่านี้เป็นทุกข์เพราะไม่มีที่เป็นที่อยู่อาศัย จึงสร้างบ้านอันต่างด้วย
บ้านมีรูปยาวและสี่เหลี่ยมเป็นต้นขึ้น และเพื่อป้องกันความหนาวและร้อนก็
สร้างปราสาทอันต่างด้วยปราสาทมีชั้นเดียวและสองชั้นเป็นต้น เมื่อยานพาหนะ
ไม่มีอยู่ ก็คิดว่า ชื่อว่า การสัญจรไปมาเป็นทุกข์ เพื่อต้องการบรรเทาความ
ปวดเมื่อยแข้งเป็นต้น ก็สร้างพาหนะเป็นเครื่องนำไปมีเกวียนและรถเป็นต้น
ครั้นเมื่อเรือไม่มีอยู่ ก็คิดว่า ชื่อว่าเครื่องสัญจรไปในสมุทรเป็นต้นไม่มี จึง
สร้างเรือมีประการต่างๆ. บุรุษผู้ฉลาดนั้น ย่อมไม่เห็นวัตถุทั้งหลายเหล่านั้น
ทั้งหมดที่บุคคลอื่นกระทำอยู่ มิได้เก็บเอาของที่บุคคลอื่นทำแล้วมา ย่อมไม่
ได้ฟังจากผู้อื่น ก็แต่ว่า เขาย่อมกระทำด้วยความคิดตามธรรมดาของตน.
จริงอยู่ การงานอันบุคคลผู้มีปัญญา แม้กระทำตามธรรมดาของตน
ย่อมเป็นเช่นกับการงานทั้งหลาย อันชนเหล่าอื่นเรียนมากระทำให้สำเร็จ
นั่นแหละ. นี้เป็นนัยในหีนกรรม (การงานอันต่ำ) ก่อน.
นัยแห่งอุกกัฏฐกรรม
แม้ในอุกกัฏฐกรรม (การงานอันสูง) บัณฑิตคนหนึ่ง คิดว่า
เมื่อกสิกรรมไม่มีอยู่ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นไป ดังนี้
เพื่อต้องการให้อยู่เป็นสุขของมนุษย์ทั้งหลาย จึงสร้างอุปกรณ์การ
ทำนามี แอกและไถเป็นต้น. โดยทำนองนั้น ย่อมสร้างวาณิชย-
กรรม และโครักขกรรมขึ้น. เขาย่อมไม่เห็นการงานเหล่านั้นทั้งหมด
ที่บุคคลอื่นทำอยู่ ฯลฯ ย่อมเป็นเช่นกับการงานที่บุคคลอื่นเรียนมา
ทำให้สำเร็จแล้วนั่นแหละ. นี้เป็นนัยในอุกกัฏฐกรรม (การงานอัน
สูง).
นัยแห่งศิลปะทั้ง ๒ อย่าง
ในบ่อเกิดแห่งศิลปะแม้ทั้งสอง บัณฑิตคนหนึ่ง ประสงค์จะ
ให้มนุษย์ทั้งหลายมีความผาสุก จึงจัดสร้างหีนศิลปะมีศิลปะของช่าง
สานเป็นต้นขึ้น และสร้างศิลปะอันสูงสุดกล่าวคือเพื่อให้ได้จำนวน
โดยสูงสุดแห่งหัตถกรรม สร้างอุปกรณ์คำนวณกล่าวคือเพื่อมิให้
ขาดปริมาณ สร้างเครื่องขีดเขียนอันเป็นแบบอย่างต่างๆ เป็นต้น.
บัณฑิตนั้น มิได้เห็นสิ่งเหล่านั้นแม้ทั้งหมดที่บุคคลอื่นทำอยู่ ฯลฯ
ย่อมเป็นเช่นกับศิลปะที่บุคคลอื่นเรียนมาแล้วทำให้สำเร็จนั่นแหละ.
ข้อนี้เป็นนัยในบ่อเกิดแห่งศิลปะ.
อนึ่ง บัณฑิตบางพวก ยังฐานะแห่งวิชาทั้งหลาย มีมนต์อันยังนาค
ให้งง (ให้หมุนไป) เป็นต้น ให้เกิดขึ้น เพื่อต้องการเยียวยามนุษย์ทั้งหลายผู้
เข้าไปเล่นกับอมนุษย์มีงูเป็นต้น. บัณฑิตนั้น ย่อมไม่เห็นฐานะแห่งวิชาเหล่า
นั้นซึ่งบุคคลอื่นทำอยู่ ไม่ได้เรียนฐานะแห่งวิชาที่บุคคลอื่นเรียนแล้ว ทั้งมิได้
ฟังต่อบุคคลอื่น แต่ว่า เขาย่อมกระทำด้วยความคิดตามธรรมดาของตน. จริง
อยู่ ฐานะแห่งวิชานั้นอันบุคคลผู้มีปัญญา แม้ทำตามธรรมดาของตน ก็ย่อม
เป็นเช่นกับบุคคลอื่นที่เรียนมากระทำอยู่ให้สำเร็จนั่นแหละ.
คำว่า กมฺมสฺสกตํ วา (แปลว่า กัมมัสสกตาญาณ) ได้แก่ ญาณ
คือการรู้อย่างนี้ว่า นี้เป็นกรรมของสัตว์ทั้งหลาย นี้เป็นกรรมของตน นี้มิใช่
กรรมของตน ดังนี้.
คำว่า สจฺจานุโลมิกํ วา (แปลว่า สัจจานุโลมิกญาณ) ได้แก่
วิปัสสนาญาณ.
จริงอยู่ วิปัสสนาญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก
ว่า สัจจานุโลมิกญาณ ก็เพราะคล้อยตามสัจจะ ๔.
บัดนี้ เพื่อแสดงซึ่งอาการ คือความเป็นไปแห่งสัจจานุโลมิกญาณ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูปํ อนิจฺจนฺติ วา เป็นอาทินั้น (แปลว่า รูป
ไม่เที่ยง). ก็รูปมีความไม่เที่ยงเป็นลักษณะนั่นแหละ มาแล้วในข้อว่า
รูปํ อนิจฺจํ นี้ มิใช่มีทุกข์เป็นลักษณะ หรือมีอนัตตะเป็นลักษณะ. แต่พึง
ทราบว่า เมื่อว่าโดยอำนาจแห่งอรรถ (เนื้อความ) แล้ว สภาวะเหล่านั้นพึง
เป็นอย่างเดียวกัน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ยญฺหิ อนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ
ยํ ทุกฺขํ ตํ อนตฺตา (แปลว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตา) ดังนี้.
คำว่า ยํ เอวรูปึ (แปลว่า อันใด ซึ่งมีลักษณะอย่างนั้น) ได้แก่
ญาณใด เป็นสภาวะอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิบายไว้ตอนหลังอย่างนี้
ญาณนั้น ชื่อว่า อนุโลมิกญาณ.
คำว่า ขนฺตึ*(คือ ขันติญาณ ทิฏฐิญาณ รุจิญาณ มุติญาณ เปกขญาณ
ธัมมนิชฌานขันติญาณ) เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ ปัญญา ทั้งนั้น. จริงอยู่
ปัญญา นั้น ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมอนุโลม (คือ คล้อยตาม)
ซึ่งเหตุอันเป็นการกระทำ ๕ อย่าง มีบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้น ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลัง โดยการเห็นซึ่งธรรมอันไม่เป็นข้าศึก ดังนี้.
อนึ่ง ปัญญา ชื่อว่า อนุโลมิกะ เพราะอรรถว่า ย่อมคล้อยตามประโยชน์
แห่งสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ย่อมคล้อยตามมัคคสัจจะดังนี้ด้วย ย่อมคล้อย
ตาม เพราะการคล้อยตามพระนิพพานอันเป็นปรมัตถสัจจะ ดังนี้ก็ได้.
ญาณใด ย่อมอดทน ย่อมสามารถ ย่อมอาจเพื่อเห็นซึ่งเหตุเป็นที่
กระทำ (การณะ*(การณะ คือ กัมมะ ศิลปะ วิชา กัมมัสสกตาญาณ
สัจจานุโลมิกญาณ)) แม้ทั้งหมดเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ญาณนั้น จึงชื่อว่า
ขันติ. คำว่า ปสฺสติ ได้แก่ ทิฏฐิญาณ. คำว่า โรเจติ ได้แก่ รุจิญาณ.
คำว่า มุจติ ได้แก่ มุติญาณ. พระบาลีว่า มุทตีติ มุทีติ ชื่อว่า มุติญาณ ดังนี้
ก็มี. คำว่า เปกฺขติ ชื่อว่า เปกขญาณ. ธรรมทั้งหลายมีบ่อเกิดแห่งการงาน
เป็นต้นแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมเข้าไปประจักษ์แจ้ง แก่ญาณนั้น จึงชื่อว่า
ธัมมนิชฌานขันติญาณ. อนึ่ง เมื่อว่าโดยพิเศษ ธรรมทั้งหลายกล่าวคือ ขันธ์
๕ เมื่อเข้าไปเพ่งพิจารณา ย่อมให้ประจักษ์แจ้งด้วยสามารถแห่งความเป็นสิ่ง
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาบ่อยๆ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า
ธัมมนิชฌานขันติญาณ.
คำว่า ปรโต อสุตฺวา ปฏิลภติ (แปลว่า บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น
ย่อมได้...) ได้แก่ มิได้ฟังคำแนะนำของผู้อื่น คิดอยู่เองนั่นแหละ ย่อมได้...
คำว่า อยํ วุจฺจติ (แปลว่า นี้เรียกว่า) ได้แก่ ปัญญานี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จินตามยปัญญา.
ก็จินตามยปัญญานั้น ย่อมไม่เกิดแก่บุคคลพวกใดพวกหนึ่ง
ย่อมเกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้รู้ยิ่งเท่านั้น.
สัจจานุโลมิกญาณแม้ในที่นี้ ก็ย่อมเกิดแก่พระโพธิสัตว์ทั้ง
สอง (ทฺวินฺนํเยว โพธิสตฺตานํ) เท่านั้น.
ปัญญาที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีปัญญา
มากแม้ทั้งหมดซึ่งมีบารมีเต็มแล้ว.

อธิบายสุตมยปัญญา
ในคำว่า ปรโต สุตฺวา ปฏิลภติ นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ปัญญา
ทั้งหมดที่บุคคลได้แล้ว เพราะเห็นบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้นอันบุคคลอื่นกำลัง
ทำอยู่ หรือทำเสร็จแล้วก็ดี ฟังถ้อยคำของใครๆ ผู้บอกอยู่ก็ดี เรียนเอาใน
สำนักของอาจารย์ก็ดี ชื่อว่า บุคคลฟังจากผู้อื่นแล้วนั่นแหละ.

อธิบายภาวนามยปัญญา
คำว่า สมาปนฺนสฺส (แปลว่า ผู้เข้าสมาบัติ) อธิบายว่า ปัญญา
ในภายในสมาบัติของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสมาบัติ ชื่อว่า ภาวนามยปัญญา.

อธิบายทานมยปัญญา
คำว่า ทานํ อารพฺภ (แปลว่า ปรารภทาน) ได้แก่ อาศัยทาน
อธิบายว่า มีเจตนาในทานเป็นปัจจัย. คำว่า ทานาธิคจฺฉ (แปลว่า บุคคล
ผู้ให้ทาน) อธิบายว่า บุคคลผู้กำลังน้อมเข้าไปให้อยู่ซึ่งทาน ชื่อว่า ผู้ให้ทาน.
คำว่า ยา อุปฺปชฺชติ (แปลว่า ย่อมเกิดขึ้น) ได้แก่ ปัญญาใด อันสัมปยุต
ด้วยเจตนาในทาน ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ปัญญานี้ ชื่อว่า ทานมยปัญญา. ก็
เมื่อบุคคลคิดว่า เราจักให้ทานดังนี้ ก็ให้ทานอยู่ ครั้นให้ทานแล้ว ก็พิจารณา
อยู่ซึ่งทานนั้น.
ทานมยปัญญานั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยอาการ ๓ อย่าง คือ
ปุพพเจตนา
มุญจนเจตนา
อปรเจตนา

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


จากที่ท่านผู้รู้ผู้หนึ่ง ได้สรุปไว้ที่ ลานธรรมเสวนา


" จิ น ต า ม ย ปั ญ ญ า " !
ปัญญาของพระพุทธเจ้าที่ชาวพุทธควรเข้าใจให้ถูกต้อง
http://larndham.net/index.php?showtopic=25283&st=0


ความหมายของคำว่า " จินตามยปัญญา " ที่พุทธศาสนิกชนนิยมใช้กันในปัจจุบัน
มักจะมีความเข้าใจกันว่า

" จินตามยปัญญา เป็น ปัญญาจากการคิดตามแล้วรู้สึกว่าเข้าใจ หมดสงสัย "

แต่โดยความหมายที่แท้จริง ของ "จินตามยปัญญา"

" จินตามยปัญญา " หมายถึง ปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ ปัญญาของพระ
ปัจเจกพุทธเจ้า อันเป็นปัญญาที่เกิดจากการตรัสรู้ดีโดย
ชอบได้โดยพระองค์เอง ไม่ต้องอาศัยการสดับฟังคำ
สั่งสอนจากผู้อื่น

โดย สภาวะปรมัตถ์ หมายถึง ปัญญา ที่ประกอบกับ อรหัตตมรรคจิต รูปฌานกริยาจิต
อรูปฌานกริยาจิต และ มหากริยาจิต
ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระปัจเจกพุทธเจ้า
เท่านั้น

ส่วน ปัญญาจากการคิดตามแล้วรู้สึกว่าเข้าใจ หมดสงสัย เรียกว่า "สุตมยปัญญา"

ดังนั้น

ท่านทั้งหลายพึงทราบเถิด ! ว่า
ในปัญญา ๓ อย่าง คือ สุตมยปัญญา ๑ จินตามยปัญญา ๑ ภาวนามยปัญญา ๑

จินตามยปัญญา เป็นปัญญาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระปัจเจกพุทธเจ้า เท่านั้น
บุคคลผู้มิใช่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระปัจเจกพุทธเจ้า
ไม่สามารถมี " จินตามยปัญญา " ได้
คงมีแต่
สุตมยปัญญา และ ภาวนามยปัญญา ที่บังเกิดขึ้นได้เท่านั้น

กล่าวคือ
1.จินตามยปัญญา ที่ใช้กันอยู่ ไม่ใช่ จินตามยปัญญาจริง ๆ แต่เป็น สุตมยปัญญา
2.จินตามยปัญญา ที่ใช้กันอยู่ เป็นจินตามยปัญญาที่ใช้กันโดยสมมติตามโวหารของ
ชาวโลกเท่านั้น ไม่ใช่ จินตามยปัญญา แท้ !
3. บุคคลผู้จักปฏิญาณตนว่า เป็นผู้มี "จินตามยปัญญา" บุคคลผู้นั้นต้องเป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้า เท่านั้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 06:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตแชร์ความรู้ค่ะ

จุฬาภินันท์ก็ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญาค่ะ ได้ความจริงเกี่ยวกับปัญญาธรรมมาตามนี้ค่ะ

สุตตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา เป็นปัญญธรรมที่อริยบุคคลเท่านั้นที่จะได้ค่ะ

ระดับสกิทาคามีขึ้นไปเท่านั้นค่ะ จึงจะได้สุตตมยปัญญา โดยการอยู่ดีๆก็รู้อะไรเยอะแยะ รู้เอง ไม่ได้คิด รู้แบบน้ำไหลบ่าเลยค่ะ เป็นการรู้ด้วยการที่จิตมีพลังพอจากการปฏิบัติค่ะ

สุตตมยปัญญา เป็นปัญญาในการระลึกรู้อดีตชาติค่ะ รู้เฉยๆ รู้เอง รู้ว่าถูก ไม่มีเหตุผลที่จะอธิบายได้ เพราะจิตเขาระลึกได้น่ค่ะ

จินตามยปัญญา เป็นการคิดทางโลก แต่ ต้องเป็นการคิดโดยใช้ความรู้จากสุตมยปัญญาเท่านั้นค่ะ

เช่น

นาย ก. ได้สุตมยปัญญาบอกว่า เป็นวินสตัน เชอร์ชิลล์ มาเกิด แล้วอีกวัน สุตมยปัญญา ก็บอกมาว่า เป็นไอสไตน์มาเกิด แต่จินตามยปัญญาก็คิดว่า ไม่ได้หรอก คนสองคนนั้นเกิดยุคสงครามโลกครั้งที่สอง มาเป็นคนเดียวกันไม่ได้ แล้วอีกวัน จินตามยปัญญาก็ทำให้คิดอีกว่า เป็นไปได้และเป็นไปแล้ว สองคนนั้นตาย แล้วจิตรวมกันมาเป็นนาย ก ไง จิตเป็นสภาวะที่ไม่เที่ยง ไม่มีรูป จะรวมจะแยกจากกันก็ได้ เพราะฉะนั้น ฟันธง นาย ก เป็นสองคนดังในอดีตนั่นมาก่อน อะไรประมาณนั้นค่ะ

มหัศจรรย์ ปาฏิหารย์ อธิบายปัญญาธรรมด้วยคำพูดไม่ได้ค่ะ ต้องรู้กันเอง

ปฏิบัตินะคะ ถือศีลด้วยใจบริสุทธิ์ ทำสมาธิด้วยใจที่ไม่ติดกิเลส แล้วปัญญาธรรมจะมาหาเองค่ะ

แล้วแต่นะคะ จะเชื่อก็ได้ ไม่เชื่อก็ได้ ต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาค่ะ

ขอให้เจริญในธรรมค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 12:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา พระอานนท์ได้กล่าวถึงพระภิกษุที่บรรลุอรหันต์ในสำนักของท่านมีอยู่ 4 แนวทาง (ในตำราท่านใช้คำว่ามรรค 4) โดยมีรายละเอียดในพระสูตรดังนี้

[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง

มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

* * *

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

* * *

[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ

ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วยความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑ ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความเป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่างเปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ

* * *

[๕๔๒] ใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ย่อมมีอย่างไร ฯ

[๕๔๒] เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาสว่า โอภาสเป็นธรรม เพราะนึกถึงโอภาสนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ปัคคาหะ (ความเพียร) อุปัฏฐานะ (ความตั้งมั่น) อุเบกขา นิกันติ (ความพอใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งความปรากฏโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรม ถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ฯลฯ

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ

เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติ ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความพอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า มีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


จินต.....น้อมไปสู่....ได้หรือเปล่า๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ

* * *

ครับ???


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร