วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 18:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
ช่วยวิเคราะห์ความหมาย ภาวนา ๔ อย่าง (โดยเฉพาะ ๓ อย่างแรก) ที่พระสารีบุตรแสดงในสติปัฏฐานกถา
คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
อ้างอิง : พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย (ภาษาบาลี) เล่ม ๓๑ วรรค ๓๔-๓๕ หน้า ๔๔๐-๔๔๓, ฉบับ มจร.
เตปิตกํ, (ภาษาไทย) เล่ม ๓๑ วรรค ๓๔-๓๕ หน้า ๕๙๒.-๕๙๖.

คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
๓) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
๔) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 15:54
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หนูไม่รู้เจ้าค่ะ แต่เข้ามาให้กำลังใจข้อกระทู้ดีดีอย่างนี้เจ้าค่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอาจารย์แสนปราชญ์ เขียน:
เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
ช่วยวิเคราะห์ความหมาย ภาวนา ๔ อย่าง (โดยเฉพาะ ๓ อย่างแรก) ที่พระสารีบุตรแสดงในสติปัฏฐานกถา
คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
อ้างอิง : พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย (ภาษาบาลี) เล่ม ๓๑ วรรค ๓๔-๓๕ หน้า ๔๔๐-๔๔๓, ฉบับ มจร.
เตปิตกํ, (ภาษาไทย) เล่ม ๓๑ วรรค ๓๔-๓๕ หน้า ๕๙๒.-๕๙๖.

คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
๓) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
๔) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


๑. บุคคลผู้มีสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ย่อมสามารถระลึกนึกถึง ตามหวนระลึก ถึงความรู้ทั้งหลาย ได้โดยไม่สับสน สามารถทำความรู้ทั้งหลายเหล่านั้น เกิดเป็นความเข้าใจต่อเนื่องและสัมพันธ์กันโดยไม่สับสน วุ่นวาย สามารถคงความเป็นเอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สอดคล้องผสมกลมกลืนกัน
๒. บุคคลผู้มีสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะ บริสุทธิ์ การได้รับการสัมผัสทางอายตนะภายใน อันได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นเหตุทำให้เกิด สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรม ล้วนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือเกิดธรรมหรือการรับรู้ในรูปแบบเดียวกัน หรือเกิดความรู้หรือความรับรู้ที่เป็นไปตามหลักความจริง เป็นไปตามความเป็นจริง ไม่มีการปรุงแต่ง แม้จะผ่านพ้นไปแล้วก็ตาม
๓. บุคคลมีสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะ บริสุทธิ์ มีความพยายามศึกษาหาความรู้จนกว่าจะสำเร็จ หรือมีความพยายามปฏิบัติจนกว่าจะสำเร็จ อันเป็นความรู้หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับธรรมหรือเกี่ยวข้องกับความรู้ที่ได้ศึกษา ได้คิดพิจารณา หรือที่ได้ปฏิบัติ
๔. บุคคลมีสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะ บริสูทธิ์ ย่อมต้องปฏิบัติอยู่เสมอ ในทั้ง ๓ ข้อที่ได้กล่าวไป บุคคลจึงบรรลุสู่ โสดาบันปฏิมรรค ,สกทาคมีมรรค,อนาคามีมรร,อรหันตมรรค , และนิพพาน ฉะนี้
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทุลพันธ์ (ผู้เขียน)
คำเตือน "ข้าพเจ้าไม่ได้อ่านในรายละอียดหรือบริบทแห่งเรื่องนี้ จึงได้วิเคราะห์ ตามประโยค อ่านแล้วใช้วิจารณญานให้ดีขอรับ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2008, 10:17
โพสต์: 97

ที่อยู่: นครปฐม

 ข้อมูลส่วนตัว


การวิเคราะห์ มันก็แค่ขบคิดไปตามทรรศนะ ลองภาวนาเองสิ แล้วจะเข้าใจอย่างไร้วิจิกิจฉา
นั่งนอนอยู่วัด เพื่อที่จะขบคิดวิเคราะห์มันเปล่าประโยชน์
ภาวนาหาคำตอบด้วยตนเองสิ จะได้ไม่เสียชาติบวช

.....................................................
อยู่อย่างเข้าใจในทุกสิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๗๒] ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ ภาวนา
ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น ๑
ภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ๑
ภาวนาด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ ๑
ภาวนาด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก ๑ ฯ


[๗๓] ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น อย่างไร ฯ

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนกขัมมะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น เมื่อพระโยคาวจรละพยาบาท ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่พยาบาท ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละถีนมิทธะธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาโลกสัญญา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอุทธัจจะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละวิจิกิจฉา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถการกำหนดธรรมย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอวิชชา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถแห่งญาณย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอรติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ ความปราโมทย์ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฐมฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละปีติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสุขและทุกข์ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถจตุตถฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญาธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละนิจจสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิจจานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสุขสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุกขานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนัตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละความเพลิดเพลิน ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิพพิทานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละราคะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิราคานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละฆนสัญญา ธรรมทั้งหลายเกิดด้วยสามารถขยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสมุทัย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิโรธานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละความถือมั่น ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏินิสสัคคานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอายูหนะ (การทำความเพียรเพื่อประโยชน์แก่สังขาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละธุวสัญญา (ความสำคัญว่ายั่งยืน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิปริณามานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละนิมิตร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิมิตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละปณิธิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอัปปณิหิตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอภินิเวส(ความยึดมั่นว่ามีตัวตน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสุญญตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยการถือว่าเป็นแก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสัมโมหาภินิเวส(ความยึดมั่นด้วยความหลงใหล) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถยถาภูตญาณ-
*ทัสนะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาทีนวานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอัปปฏิสังขา (ความไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏิสังขานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสัญโญคาภินิเวส(ความยึดมั่นด้วยกิเลสเครื่องประกอบสัตว์) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถด้วยวิวัฏฏานุปัสนา (ความตามเห็นกามเป็นเครื่องควรหลีกไป) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถโสดาปัตติมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสกทาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสอย่างละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอนาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอรหัตมรรคย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน อย่างนี้ ฯ


[๗๔] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ?

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งหมด อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน อย่างนี้ ฯ


[๗๕] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ อย่างไร ฯ ?

พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ เมื่อละพยาบาท ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ อย่างนี้ ฯ


[๗๖] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก อย่างไร ฯ ?

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งเนกขัมมะเพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก เมื่อละพยาบาท ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมากอย่างนี้ ภาวนา ๔ ประการนี้ ฯ

พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูป ชื่อว่าเจริญภาวนา พิจารณาเห็นเวทนา ...
พิจารณาเห็นสัญญา ...
พิจารณาเห็นสังขาร ...
พิจารณาเห็นวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ

....พิจารณาเห็นชราและมรณะ ...
พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด

ชื่อว่าเจริญภาวนา ธรรมใดๆ เป็นธรรมอันเจริญแล้วธรรมนั้นๆ ย่อมมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ
ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขอวิเคราะห์ตามความเข้าใจของตัวเองเจ้าค่ะ
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
ขอแสดงความคิดเห็นว่า

ทุกการปฏิบัติภาวนาจะมีธรรมที่ใช้บริกรรมต่าง ๆ กัน
ที่สุดปฏิบัติจนได้รู้ธรรมเห็นธรรมอันเดียวกันที่ทรงบัญญัติไว้
ซึ่งคำบริกรรมไม่ว่าจะเป็นพุทโธ ธัมโม สังโฆ สัมมาอะระหัง ฯลฯ
จะใช้บทใดก็ได้ ซึ่งล้วนแต่แยกส่วนกันไม่ใช่อันเดียวกัน
แต่ปฏิบัติแล้วรู้ธรรมของพระพุทธองค์ได้เหมือนกัน


๒) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ขอแสดงความคิดเห็นว่า

ผู้ปฏิบัติทุกคนมีการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้สุข ทุกข์เหมือนกัน
การภาวนาใช้กายเป็นที่ตั้ง ทุกคนล้วนมีกายย่อมทำได้ เว้นแต่คนที่ไม่ทำ
การรับรู้เมื่อเข้าถึงลำดับต่างๆของสมาธิ ฌาน ญาน ก็ย่อมรับรู้ได้
เป็นปัจจัตตัง เป็นอกาลิโก ผู้รู้ รู้ได้ด้วยการภาวนา



๓) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
ขอแสดงความคิดเห็นว่า

ธรรมของพระพุทธเจ้าทุกประการทำลายล้างกิเลสทุกอย่าง
ผู้ใดหมั่นฝึกฝนและปฏิบัติประจำสม่ำเสมอโดยใช้สติ(กำหนดรู้)
กาย(ยืน-เดิน-นั่ง-นอน) เวทนา(สุข-ทุกข์) จิต(ความรู้สึกนึกคิด)
ปัญญา(สิ่งที่พิจารณาเห็นอยู่ขณะนั้น)ย่อมมีความรู้ความเห็นได้เช่นเดียวกัน


๔) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ขอแสดงความคิดเห็นว่า

ปฏิบัติประจำสม่ำเสมอ...
แม้ผู้บรรลุอรหันต์ที่ยังทรงธาตุขันธ์อยู่
ก็ยังไม่หยุดการภาวนาเลยเจ้าค่ะ


คิดว่าน่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้างนะเจ้าคะ...สาธุ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา

ขออนุโมทนาทุกคำตอบที่เป็นไปในทางกุศลไม่เบียดตนเองและผู้อื่น
ถาม : มหาราชันย์ อยากให้อธิบายข้อความข้างล่างนี้เพิ่มเติม หรือสรุปหลักการใหญ่ ๆ ให้ด้วย

[๗๒] ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ ภาวนา
ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น ๑
ภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ๑
ภาวนาด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ ๑
ภาวนาด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก ๑ ฯ

[๗๓] ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น อย่างไร ฯ

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนกขัมมะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น เมื่อพระโยคาวจรละพยาบาท ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่พยาบาท ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละถีนมิทธะธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาโลกสัญญา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอุทธัจจะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละวิจิกิจฉา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถการกำหนดธรรมย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอวิชชา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถแห่งญาณย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอรติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ ความปราโมทย์ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฐมฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละปีติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสุขและทุกข์ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถจตุตถฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญาธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละนิจจสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิจจานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสุขสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุกขานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนัตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละความเพลิดเพลิน ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิพพิทานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละราคะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิราคานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละฆนสัญญา ธรรมทั้งหลายเกิดด้วยสามารถขยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสมุทัย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิโรธานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละความถือมั่น ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏินิสสัคคานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอายูหนะ (การทำความเพียรเพื่อประโยชน์แก่สังขาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละธุวสัญญา (ความสำคัญว่ายั่งยืน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิปริณามานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละนิมิตร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิมิตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละปณิธิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอัปปณิหิตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอภินิเวส(ความยึดมั่นว่ามีตัวตน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสุญญตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยการถือว่าเป็นแก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสัมโมหาภินิเวส(ความยึดมั่นด้วยความหลงใหล) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถยถาภูตญาณ-
*ทัสนะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาทีนวานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอัปปฏิสังขา (ความไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏิสังขานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสัญโญคาภินิเวส(ความยึดมั่นด้วยกิเลสเครื่องประกอบสัตว์) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถด้วยวิวัฏฏานุปัสนา (ความตามเห็นกามเป็นเครื่องควรหลีกไป) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถโสดาปัตติมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสกทาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสอย่างละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอนาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอรหัตมรรคย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน อย่างนี้ ฯ


[๗๔] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ?

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งหมด อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน อย่างนี้ ฯ


[๗๕] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ อย่างไร ฯ ?

พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ เมื่อละพยาบาท ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ อย่างนี้ ฯ


[๗๖] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก อย่างไร ฯ ?

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งเนกขัมมะเพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก เมื่อละพยาบาท ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมากอย่างนี้ ภาวนา ๔ ประการนี้ ฯ

พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูป ชื่อว่าเจริญภาวนา พิจารณาเห็นเวทนา ...
พิจารณาเห็นสัญญา ...
พิจารณาเห็นสังขาร ...
พิจารณาเห็นวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ

....พิจารณาเห็นชราและมรณะ ...
พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด

ชื่อว่าเจริญภาวนา ธรรมใดๆ เป็นธรรมอันเจริญแล้วธรรมนั้นๆ ย่อมมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ
ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ


[๗๒] ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ ภาวนา
ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น ๑
ภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ๑
ภาวนาด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ ๑
ภาวนาด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก ๑ ฯ

[๗๓] ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น อย่างไร ฯ

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนกขัมมะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น เมื่อพระโยคาวจรละพยาบาท ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่พยาบาท ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละถีนมิทธะธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาโลกสัญญา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอุทธัจจะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละวิจิกิจฉา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถการกำหนดธรรมย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอวิชชา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถแห่งญาณย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอรติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ ความปราโมทย์ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฐมฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละปีติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสุขและทุกข์ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถจตุตถฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญาธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละนิจจสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิจจานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสุขสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุกขานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนัตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละความเพลิดเพลิน ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิพพิทานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละราคะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิราคานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละฆนสัญญา ธรรมทั้งหลายเกิดด้วยสามารถขยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสมุทัย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิโรธานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละความถือมั่น ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏินิสสัคคานุปัสนาย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอายูหนะ (การทำความเพียรเพื่อประโยชน์แก่สังขาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละธุวสัญญา (ความสำคัญว่ายั่งยืน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิปริณามานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละนิมิตร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิมิตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละปณิธิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอัปปณิหิตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอภินิเวส(ความยึดมั่นว่ามีตัวตน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสุญญตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยการถือว่าเป็นแก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสัมโมหาภินิเวส(ความยึดมั่นด้วยความหลงใหล) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถยถาภูตญาณ-
*ทัสนะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาทีนวานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละอัปปฏิสังขา (ความไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏิสังขานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละสัญโญคาภินิเวส(ความยึดมั่นด้วยกิเลสเครื่องประกอบสัตว์) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถด้วยวิวัฏฏานุปัสนา (ความตามเห็นกามเป็นเครื่องควรหลีกไป) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถโสดาปัตติมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสกทาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสอย่างละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอนาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ...

เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอรหัตมรรคย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน อย่างนี้ ฯ


[๗๔] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกันอย่างไร ?

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งหมด อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน อย่างนี้ ฯ


[๗๕] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ อย่างไร ฯ ?

พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ เมื่อละพยาบาท ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรมนั้นๆ อย่างนี้ ฯ


[๗๖] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก อย่างไร ฯ ?

เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งเนกขัมมะเพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก เมื่อละพยาบาท ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมากอย่างนี้ ภาวนา ๔ ประการนี้ ฯ

พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูป ชื่อว่าเจริญภาวนา พิจารณาเห็นเวทนา ...
พิจารณาเห็นสัญญา ...
พิจารณาเห็นสังขาร ...
พิจารณาเห็นวิญญาณ ...
พิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ

....พิจารณาเห็นชราและมรณะ ...
พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด

ชื่อว่าเจริญภาวนา ธรรมใดๆ เป็นธรรมอันเจริญแล้วธรรมนั้นๆ ย่อมมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ
ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ


เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2009, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอาจารย์แสนปราชญ์ เขียน:
เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา

ขออนุโมทนาทุกคำตอบที่เป็นไปในทางกุศลไม่เบียดตนเองและผู้อื่น
ถาม : มหาราชันย์ อยากให้อธิบายข้อความข้างล่างนี้เพิ่มเติม หรือสรุปหลักการใหญ่ ๆ ให้ด้วย




นม้สการครับ

หากท่านประสงค์จะเข้าใจพระธรรมเทศนาที่ละเอียดถูกต้อง

ขอความกรุณาแจ้ง E - Mail มานะครับ
ผมจะแนะนำทาง E - Mail ครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2009, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา ท่านมหาราชันย์
(เข้าใจว่าท่านอยู่ในเพศฆราวาสเพราะไม่ใช้คำว่า "พระ" นำหน้า ถ้าอยู่ในเพศบรรพชิตก็ขออภัยด้วย)

อีเมล์ของอาตมา sanprach-@hotmail.com
สหธรรมิก ญาติธรรม ที่ต้องการแนะนำให้ความรู้แก่ข้าพเจ้า ก็ยินดีรับฟังทุกความคิดข้อเสนอแนะ
เพราะข้าพเจ้ายังเป็นผู้ที่พร่องอยู่มาก "ข้าพเจ้ารู้อย่างเดียวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้"

บัณฑิตย่อมเข้าใจบัณฑิต พาลย่อมเข้าใจพาล
บัณฑิตเข้าใจวิสัยพาล แต่พาลไม่สามารถเข้าใจวิสัยแห่งบัณฑิต ฉันใด
การแนะนำให้ความรู้แก่ข้าพเจ้า ขอให้เป็นไปในทางที่เป็นกุศล ไม่เบียดเบียนตนเอง
ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เป็นประโยชน์ และไม่เป็นโทษ ฉันนั้น


เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


แก้ไขล่าสุดโดย พระอาจารย์แสนปราชญ์ เมื่อ 31 ต.ค. 2009, 22:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
พระอาจารย์แสนปราชญ์ เขียน:
เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
ช่วยวิเคราะห์ความหมาย ภาวนา ๔ อย่าง (โดยเฉพาะ ๓ อย่างแรก) ที่พระสารีบุตรแสดงในสติปัฏฐานกถา
คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
อ้างอิง : พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย (ภาษาบาลี) เล่ม ๓๑ วรรค ๓๔-๓๕ หน้า ๔๔๐-๔๔๓, ฉบับ มจร.
เตปิตกํ, (ภาษาไทย) เล่ม ๓๑ วรรค ๓๔-๓๕ หน้า ๕๙๒.-๕๙๖.

คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี ๔ อย่าง คือ
๑) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
๒) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
๓) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
๔) ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ

เจริญในธรรมพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารย์แสนปราชญ์


๑. บุคคลผู้มีสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ย่อมสามารถระลึกนึกถึง ตามหวนระลึก ถึงความรู้ทั้งหลาย ได้โดยไม่สับสน สามารถทำความรู้ทั้งหลายเหล่านั้น เกิดเป็นความเข้าใจต่อเนื่องและสัมพันธ์กันโดยไม่สับสน วุ่นวาย สามารถคงความเป็นเอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สอดคล้องผสมกลมกลืนกัน
๒. บุคคลผู้มีสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะ บริสุทธิ์ การได้รับการสัมผัสทางอายตนะภายใน อันได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นเหตุทำให้เกิด สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรม ล้วนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือเกิดธรรมหรือการรับรู้ในรูปแบบเดียวกัน หรือเกิดความรู้หรือความรับรู้ที่เป็นไปตามหลักความจริง เป็นไปตามความเป็นจริง ไม่มีการปรุงแต่ง แม้จะผ่านพ้นไปแล้วก็ตาม
๓. บุคคลมีสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะ บริสุทธิ์ มีความพยายามศึกษาหาความรู้จนกว่าจะสำเร็จ หรือมีความพยายามปฏิบัติจนกว่าจะสำเร็จ อันเป็นความรู้หรือวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับธรรมหรือเกี่ยวข้องกับความรู้ที่ได้ศึกษา ได้คิดพิจารณา หรือที่ได้ปฏิบัติ
๔. บุคคลมีสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะ บริสูทธิ์ ย่อมต้องปฏิบัติอยู่เสมอ ในทั้ง ๓ ข้อที่ได้กล่าวไป บุคคลจึงบรรลุสู่ โสดาบันปฏิมรรค ,สกทาคมีมรรค,อนาคามีมรร,อรหันตมรรค , และนิพพาน ฉะนี้
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทุลพันธ์ (ผู้เขียน)
คำเตือน "ข้าพเจ้าไม่ได้อ่านในรายละอียดหรือบริบทแห่งเรื่องนี้ จึงได้วิเคราะห์ ตามประโยค อ่านแล้วใช้วิจารณญานให้ดีขอรับ"[/quote

อันนี้แหละ ของจริง เพียงแต่เป็นภาษาไทย ไหงพากันไปที่ลับตาขอรับ ไม่เหมาะน่า แล้วผู้สนใจท่านอื่น จะรู้อะไรเพิ่มเติมกันละ........


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron