วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 22:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสัมมาสติกับสัมมาสมาธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ในระดับใหนละครับ ... โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ... อรหันตมรรค อรหันตผล ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2009, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบโยม Supareak Mulpong

อยากให้ลองวิเคราะห์ในแง่การทำงาน สมาธิทีมีใน สัมมาสติ และ สติ ที่มีในสัมมาสมาธิ แล้วแต่จะนำระดับไหนมาวิเคราะห์ หรือจะเป็นเรื่องอื่นที่โยมคิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ศึกษาและปฏิบัติ (อาตมากำลังศึกษาวิจัยเรื่องนี้ท้งการศึกษาและปฏิบัติ)

เจริญในธรรมของพระพุทธศาสดา
เข้าใจ เข้าถึง เผยแผ่ ปกปักษ์รักษาพระสัทธรรม
พระอาจารยืแสนปราชญ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมแน้นเรื่อง โสดาปัตติมรรค เพราะพระพุทธพจณ์ที่พระศาสดาสนทนากับพระอานนท์ว่า การที่จะถากเอาแก่นไม้ โดยไม่ถากเปลือก ถากกะพี้ไม้ออก จะเข้าถึงแก่นั้น เป็นไปไม่ได้ อุปมาเหมือน การที่จะได้มรรคผล โดยไม่เดินตามทางของมรรคนั้น ก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน

ธรรมที่มรรคเบื้องต่ำปหาน ก็เป็นธรรมที่มรรคเบื้องสูงไม่ปหาน

เพราะฉะนั้น เมื่อพลาดจากโสดาปัตติมรรคไปแล้ว อย่างไรก็ไม่มีหนทางสำเร็จธรรม

สติ กับ สมาธิ ในระดับนี้ สำคัญมาก เพราะหากพลาดแล้ว หากไม่ศึกษาให้ดีแล้ว เดินผิดทางได้ง่ายๆ

สมาธิ ที่จะถือว่าเป็นสัมมาสมาธิ ไม่ว่าจะเพื่อรูปภพ อรูปภพ หรือโลกุตตรภพ ต้องกำเนิดจากจิตที่เป็นกุศล โดยเฉพาะโลกุตตรภพ ต้องประกอบด้วยปัญญา

Quote Tipitaka:
(ธรรมสังคณีปกรณ์ เหตุโคจฉกะ)
รูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน?
กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า รูปาวจรเหตุ ๖.
อรูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน?
กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรเหตุ ๖.
[๖๙๔] โลกุตตรเหตุ ๖ เป็นไฉน?
กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรเหตุ ๖.
บรรดาโลกุตตรเหตุ ๖ นั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?
อโลภะ อโทสะ อโมหะ


ตัวที่จะทำให้จิตเกิดเป็นกุศลได้ ก็คือ สติ เพราะสติเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น ถ้าขาดสติ สมาธิที่ได้ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ

หากเจริญสมาธิ โดยมีสติบริบูรณ์ ผลที่ได้ก็จะออกมาเป็นฌาน หากจะให้เป็นผลสมาบัติ ต้องมีด้วยปัญญาประกอบด้วย

ปุถุชนปฏิบัติธรรม การที่จะเจริญสมถะนั้น ไม่ง่าย เพราะธรรมฝ่ายอกุศลมีกำลังมาก เป็นนิสสยปัจัยของปุถุชนที่อยู่กับ โลภะ โทสะ โมหะ มาตลอดชีวิต ยิ่งส่วนมาก ตั้งหน้าตั้งตาไปหาความสงบ ไม่สนใจสติปัญญาเลย

ความสงบ (เอกัคคตา อุเบกขา) สามารถเกิดร่วมด้วยกันกับโลภะ ผลออกมาจะเป็นมิจฉาสมาธิ ไม่มีโอกาสได้ฌานสมาบัติ หรือผลสมาบัติ ถือเป็นการบำเพ็ญบาป หรือความพอใจ เดินหน้าลงนรกโดยเต็มใจ ตกนรกเหมือนจับไปวาง ลักษณะอาการไม่ต่างกับคนนั่งตกปลา

ตั้งแต่โสดาปัตติผล เป็นต้นไป การเจริญสมถะนั้น ไม่มีโอกาสเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะ สตินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของอริยะบุคคลถือว่ามั่นคงแล้ว สามารถแยกออกระหว่าง กุศล กับอกุศลได้ชัดเจน

ดังนั้น ในระดับโสดาปัตติมรรค พวกผมจึงแนะนำให้เจริญปัญญาโดยใช้วิปัสสนานำสมถะ ได้ทั้งสติปัญญาและสมาธิ เพราะเริ่มด้วยปัญญาโอกาสที่จิตจะเป็นอกุศลนั้นไม่มี

สำหรับผู้ที่มีเนกขัมมะธรรม จะมีเนกขัมมะสมาธิ เนกขัมมะปัญญา ซึ่งปหานกิเลสกามอย่างหยาบได้แล้ว ก็เจริญปัญญาโดยใช้สมถะนำ จุดนี้มีรายละเอียดมาก มีหลายๆ ท่านไปจับเอาการปฏิบัติตรงส่วนนี้ โดยไม่ได้มีเนกขัมมะธรรม เพราะเห็นว่ามีเขียนในพระไตรปิฎก ผลที่ได้ก็เป็นมิจฉาสมาธิ

สรุปง่ายๆ ว่า สมาธิ ที่ขาดสติปัญญา ไม่ใช่สัมมาสมาธิ ไม่ใช่มหากุศล

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 15 ต.ค. 2009, 08:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2009, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 20:54
โพสต์: 282


 ข้อมูลส่วนตัว




51245_0025.JPG
51245_0025.JPG [ 32.5 KiB | เปิดดู 3372 ครั้ง ]
tongue นมัสการครับท่านพระอาจารย์แสนปราชญ์

สติ จะเป็นสัมมาได้ เมื่อเป็นสติที่รู้อยู่ในสติปัฏฐาน 4 หรือรู้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ สำคัญที่สุดคือต้องเป้นสติที่ระลึกรู้อยู่กับการเจริญวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 มีงานชี้ครงไปที่เดียวเป็น เอโกธัมโม คือชี้ไปที่พระนิพพานแต่เพียงถ่ายเดียว

สติ เป็นเหตุของสมาธิ สมาธิ เป็น ผล ของการเจริญสติ

สมาธิ จะเป้นสัมมา เมื่อตั้งมั่นอยู่กับการเจริญวิปัสสนาภาวนาหรือการเจริญมรรค 8 ตอนที่เป็นสัมมาสมาธิเต็มร้อยนั้น จะตั้งมั่นอยู่กับการเห็นว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา" เพราะความที่มั่นอยู่กับการเห็นอนัตตา จะเป็นเหตุ ทำลาย อัตตา หรือสักกายทิฐิ อันเป็นประเด็นสำคัญที่สุดของ โสดาปัตติมรรค หรือ มรรค 1

tongue smiley cool
ลองพิสูจน์ดูโดยปฏิบัติการนะครับผม :b8: :b16: :b12: :b8:

.....................................................
เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
[quote]พระอาจารย์แสนปราชญ์ : เขียน

ขอยกคำสอนมา ณ โอกาสนี้ (พาลวรรค ปฐมปัณณาสก์ ทุ.อ.12/275-276/69)
...ในหนังสือสติกุญแจไขชีวิต...ผู้แต่ง...นพ.คงศักดิ์ ตันไพจิตร...
:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:
:b20: พระศาสดาได้ตรัสถึงความสำคัญของ สมถะ กับ วิปัสสนา ไว้ดังนี้
...ดูกร...ภิกษุทั้งหลาย...ธรรม 2 อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา...
...ธรรม 2 อย่างเป็นไฉน......คือสมถะ1...วิปัสสนา1...
:b8:

...ดูกร...ภิกษุทั้งหลาย...
...สมถะ...ที่ภิกษุเจริญแล้ว...ย่อมเสวยประโยชน์อะไร...ย่อมอบรมจิต...
...จิตที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร...ย่อมละราคะได้...
...วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร...ย่อมอบรมปัญญา...
...ปัญญาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร...ย่อมละอวิชชาได้...
:b8:

...ดูกร...ภิกษุทั้งหลาย...จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ...ย่อมไม่หลุดพ้น...
...หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา...ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล...


...ดูกร...ภิกษุทั้งหลาย...
...เพราะสำรอกราคะได้...จึงได้ชื่อว่า...เจโตวิมุติ...
...เพราะสำรอกอวิชชาได้...จึงได้ชื่อว่า...ปัญญาวิมุติ...

:b8: :b8: :b8:

วิเคราะห์ตามความเข้าใจและประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง
สัมมาสติ :b1:

...สัมมาสติ...เกิดขึ้นด้วยความมีการระลึกรู้สึกตัวทั่วพร้อม...คือมีสติ-สัมปชัญญะ...
...สติคือความระลึกได้...สัมปชัญญะคือความรู้ตัวทั่วพร้อม...สัมปชัญญะทำให้สติสมบูรณ์...
...เป็นธรรมควบคู่กัน...เพื่อทำให้จิตไม่หลงหรือถูกครอบงำด้วยความโลภ...โกรธ...หลง...
...ความรู้ตัวทำให้ความไม่รู้ตัวหายไปเกิดปัญญามาแทน...กล่าวคือสัมปชัญญะทำให้เกิดปัญญา...
...งานที่ทำในที่นี้เป็นงานพิจารณากายกับจิตทางธรรมเพื่อฆ่ากิเลส...กำจัดอวิชชาให้เกิดวิชชา...
...สรุปการปฏิบัติที่ดีงามของสัมมาสติ...ต้องครบถ้วนตามอริยมรรค8...พระสงฆ์น่าจะมีครบ...


...สัมมาสติเป็นสติที่นำให้การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม...การปฏิบัติสัมมาสติ...
...ใช้หลักมัชฌิมาปฏิปทาคือทางสายกลาง...ไม่ตึงไปด้วยการทรมาณตนเอง(อัตตกิลมถานุโยค)...
...ไม่หย่อนเกินไปในกาม(กามสุขัลลิกานุโยค)...ตลอดจนมีความเห็นชอบ...ตามความเป็นจริง...
...ไม่ใช่สถานการณ์เข้าข้างตนเอง...ทำกรรมดี...อาชีพสุจริต...ขยันหมั่นเพียร...พูดจาไพเราะ...
...รักษาคำพูด...มีจิตใจเข้มแข็งตั้งมั่นตลอดจนมีความคิดดำริชอบ...ไม่เห็นผิดว่าชีวิตเป็นอัตตา...


...การใช้สติ-สัมปชัญญะในการทำงานโดยทั่วไป...ไม่ใช่สัมมาสติ...เพราะยังมีอวิชชา...
...งานทางโลกโอทีมากๆจะได้เงินมากๆ...ยังมีกิเลสครอบงำ...เป็นมิจฉาสติไม่รู้เท่าทันกิเลส...
...ในงานที่ทำ...ถ้าใจจดจ่อกับงานไม่คิดวุ่นวายเรื่องอื่นก็สติมีสมาธิทำงาน...ถ้าสติไม่อยู่กับตัว...
...เช่นคิดวุ่นวายเรื่องทะเลาะกับสามีมา...คิดวุ่นวายไม่มีใจ+อารมณ์ทำงาน...คือไม่มีสมาธิทำงาน...
...คนทั่วไปมีสติ-สัมปชัญญะดี...เรียกว่าสติดีก็ทำงานให้สำเร็จเหมือนกันแต่ยังไม่เป็นสัมมาสติ...
...สัมมาสติสติตรงข้ามกับมิจฉาสติ...เป็น1ใน8ของมิจฉัตตะซึ่งเป็นทางตรงข้ามกับอริยมรรค 8...
...มิจฉาสติเช่นโจรมีสติสัมปชัญญะวางแผนปล้นธนาคาร...อยากรวยทางลัดไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา...


...การมีสติในทางธรรมเป็นการดับอวิชชาให้เกิดวิชชา...ค่อยละกิเลสโลภ...โกรธ...หลง..ออกจากใจ
...เป็นการกำหนดระลึกรู้สึกตัวทั่วพร้อมในอิริยาบทยืนเดินนั่งนอน...มีหรือไม่มีสมาธิแต่เกิดสมาธิได้...
...การกำหนดสติสัมปชัญญะเช่น...ในการฝึกเดินจงกรมให้ฝึกช้าๆก่อน...เพื่อให้รู้เท่าทันอารมณ์...
...ซ้ายย่างหนอ...ขวาย่างหนอ...ใจที่มีกิเลสจะแสดงออกทางกายและอารมณ์หลายอย่างพร้อมกัน...
...กิเลสปรุงแต่งอารมณ์ดีใจก็ยิ้มแย้มแจ่มใสตบไม้ตบมือ...อารมณ์เสียใจหน้าบูดบึ้งร้องไห้ตีอกชกตัว...
...การฝึกทำช้าๆเพื่อให้จิตสั่งร่างกายทำงาน...แสดงออกในกิริยาเดียว...จึงจะรู้เท่าทันกิเลสที่เกิด...


...สูตรสำเร็จในการสร้างสัมมาสติ...ใช้หลักสติปัฏฐานสี่...ผูกสติลงที่กายกับจิตตนเอง...
...ระลึกรู้ตัวทั่วพร้อมด้วยเวทนาและอารมณ์...คือความรู้สึกและธรรมที่เกิดในตนเอง...


สัมมาสมาธิ :b16:

...สัมมาสมาธิ...
...จากประสบการณ์...เน้นเรื่องนั่งสมาธิ...ให้จิตติดอยู่กับคำบริกรรมพุทโธ...ไม่ให้ส่งจิตไปข้างนอก...
...การนั่งสมาธิทำให้เห็นสัจจธรรมโดยง่าย...นั่งขัดสมาธิหลับตานี่แหละเจ้าค่ะ...สงบจริง...
...กำหนดคำบริกรรม...กำหนดทุกข์ที่เกิดในกายตน...ถ้าจิตเผลอให้ดึงกลับด้วยคำบริกรรม...
...อันนี้ข้าพเจ้าทำได้จนกระทั่งลมหายใจไม่มี...มีแต่จิตผู้รู้ที่ว่า...จิตกับกายแยกส่วนอย่างนี้เอง...
...การนั่งสมาธิทำให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว...กายนิ่ง...จิตสงบ...จนถึงจิตรวมเป็นหนึ่ง...
...จากขนิกสมาธิ...ไปอุปจารสมาธิ...ไปอัปปนาสมาธิ...ไปจนถึงฌาน...ถึงได้ด้วยการฝึกฝน...
...ตรงนี้แหละที่ทำให้ข้าพเจ้าหายสงสัยในนรก...สวรรค์...พรหมโลก...นิพพาน...พระธรรมคำสอน...

ความสัมพันธ์ของสัมมาสติกับสัมมาสมาธิ :b1:

...ข้าพเจ้าหมายความถึงความสัมพันธ์ของวิปัสนากรรมฐานกับสมถกรรมฐาน...
...ตามที่พระศาสดาตรัสไว้ข้างบนนั่นแหละเจ้าค่ะ...ใช้คู่กันเป็นธรรม 2 อย่าง...
...ผู้ปฏิบัติผ่านแล้วไม่สงสัยอีก...ค่อยละกิเลสอย่างหยาบไปถึงกลางจนละเอียดถึงหลุดพ้นได้...
...ผู้ไม่ปฏิบัติอ่านถึงไหนไม่หายสงสัย...ให้เรียนไปเถอะจนถึงจรวดดาวเทียม...
...กิเลสแม้ตัวเดียวก็ไม่หลุดลอกออกเจ้าค่ะ...เรียนมาแล้วต้องลงมือปฏิบัติจึงเห็นผลงาน...
...ขึ้นชื่อว่าเพศบรรพชิต...สละทางโลกมาเพื่อแสวงหาทางธรรม...ย่อมมีโอกาสดีกว่าฆราวาส...
...เพราะถึงพร้อมด้วยอริยมรรคมีองค์8...เหลือแต่จะปฏิบัติให้เห็นจริงในอริยสัจจ์สี่หรือไม่เท่านั้น...
...ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในบุญกุศลคุณงามความดีทุกประการที่ท่านพระอาจารย์สั่งสมมาเจ้าค่ะ...
:b8:
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร