วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 21:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




001.jpg
001.jpg [ 22.09 KiB | เปิดดู 5724 ครั้ง ]
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่การฟัง]


ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณอย่างไร
ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า …………
ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้
ธรรมเหล่านี้ควรละ
ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ
ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง
ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม
ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่
ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ
ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นี้ทุกขอริยสัจนี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นสุตมยญาณ


เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2009, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียน ท่านมหาราชันย์

ปัญญาเกิดแต่การฟัง เป็นปัญญาเบื้องแรกที่ระบุบในพระไตรปิฏกใน 73 ปัญญา ผมเข้าใจว่าในสมัยก่อนคนที่จะอ่านหนังสือได้นี้ นับได้น้อยมากส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการฟังและจำ แต่ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่อ่านหนังสือออก เขียนได้ สุตมยญาณ จะเกิดขึ้นจากการอ่านได้ด้วยหรือเปล่าครับ


:b8: :b8: :b8: :b8: :b16: :b16: :b16: :b20: :b20:


มหาราชันย์ เขียน:
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณอย่างไร
ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า …………
ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้
ธรรมเหล่านี้ควรละ
ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ
ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง
ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม
ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่
ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ
ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นี้ทุกขอริยสัจนี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นสุตมยญาณ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 01:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่ครับคุณโคตรภู

เมื่อผู้แสดงธรรมอยู่ตรงหน้เรา เราใช้วิธีฟังแล้วจดบันทึกหรือจดจำ
ถ้าผู้แสดงธรรมไม่ได้อยู่ตรงหน้าเรา เช่นดับขันธ์ปรินิพพาน หรือไปที่อื่น แต่มีการบันทึกความรู้เอาไว้เราก็ใช้วิธีการอ่านแทนการฟัง เป็นสุตมยญาณเช่นเดียวกันครับ

สวัสดีครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 01:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เป็นเครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า

ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง คือ …………..

ธรรมควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ธาตุ ๒ ธาตุ ๓ อริยสัจ ๔ วิมุตตายตนะ ๕ อนุตตริยะ ๖ นิททสวัตถุ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิอีกต่อไป] ๗ อภิภายตนะ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายีบุคคลครอบงำไว้] ๘ อนุปุพพวิหาร ๙ และ นิชชรวัตถุ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิเป็นต้น] ๑๐ ฯ

ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัสสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย [แต่ละอย่างๆ] หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้นรส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัสสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ …ฯลฯ จักขุวิญญาณ …ฯลฯ จักขุสัมผัส …ฯลฯ จักขุสัมผัสสชาเวทนา …ฯลฯ รูปสัญญา… ฯลฯ รูปสัญเจตนา… ฯลฯ รูปตัณหา …ฯลฯ รูปวิตก …ฯลฯ รูปวิจาร …ฯลฯ ธาตุ ๖ กสิณ ๑๐ ผม ขน เล็บ… ฯลฯ อายตนะ ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ ธาตุ ภพ ฌาน เจโตวิมุต สมาบัติ ปฏิจจสมุปบาท ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชรามรณะ ชรามรณสมุทัย ชรามรณนิโรธชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา


ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ คือ ……………

สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ แห่งจักษุฯลฯ
สภาพที่ควรละแห่งทุกขสมุทัย รูปสมุทัย
สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่ง ทุกขนิโรธ รูปนิโรธ ชรามรณนิโรธ
สภาพที่ควรเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทา ชรามรณนิโรธคามินี
สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ทุกข์ รูป ชรามรณะ
สภาพที่แทงตลอดด้วยการละทุกขสมุทัย รูปสมุทัย ชรามรณสมุทัย
สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งทุกขนิโรธ รูปนิโรธ ชรามรณนิโรธ
สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา รูปนิโรธคามินีปฏิปทา เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา




ยังมีต่อ....


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 01:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ความดับเหตุให้เกิดทุกข์ ความดับฉันทราคะในทุกข์ ความยินดีใน ทุกข์ โทษแห่งทุกข์ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ รูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯแห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ ฯลฯ แห่งจักขุ ฯลฯ ชรา และมรณะเหตุให้เกิดชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ความดับเหตุให้เกิดชราและมรณะ ความดับฉันทราคะในชราและมรณะ คุณแห่งชราและมรณะ โทษแห่งชราและมรณะ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งชราและมรณะ

การพิจารณาเห็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขารในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ
การพิจารณาเห็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขารในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ
การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย ในรูป ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขารในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ
การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัด ในรูป ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขารในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ
การพิจารณาเห็นด้วยความดับ ในรูป ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขารในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ
การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืน ในรูป ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขารในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ


ยังมีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเกิดขึ้น (ความเป็นไป เครื่องหมาย ความประมวลมา [กรรมอันปรุงแต่งปฏิสนธิ] ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิมรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาส ) เป็นทุกข์ เป็นภัย มีอามิส เป็นสังขาร

ความไม่เกิดขึ้น (ความไม่เป็นไป ความไม่มีเครื่องหมาย ความไม่มีประมวล ความไม่สืบต่อ ความไม่ไปความไม่บังเกิดความไม่อุบัติ ความไม่เกิด ความไม่แก่ ความไม่ป่วยไข้ ความไม่ตาย ความไม่เศร้าโศก ความไม่รำพัน ความไม่คับแค้นใจ) เป็นสุข ปลอดภัย ไม่มีอามิส เป็นนิพพาน


ยังมีต่อ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา ..............
สภาพแห่งธรรมที่เป็นบริวาร.............
สภาพแห่งธรรมที่เต็มรอบ .........
สภาพแห่งสมาธิที่มีอารมณ์อย่างเดียว .............
สภาพแห่งสมาธิ ไม่มีความฟุ้งซ่าน
สภาพแห่งธรรมที่ประคองไว้ .........
สภาพแห่งธรรมที่ไม่กระจายไป ..............
สภาพแห่งจิตไม่ขุ่นมัว .............
สภาพแห่งจิตไม่หวั่นไหว.........
สภาพแห่งจิตตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความปรากฏแห่งจิตมีอารมณ์อย่างเดียว .. สภาพแห่งธรรมเป็นอารมณ์ .....
สภาพแห่งธรรมเป็นโคจร .............
สภาพแห่งธรรมที่ละ ................
สภาพแห่งธรรมที่สละ ..........
สภาพแห่งธรรมที่ออก ...............
สภาพแห่งธรรมที่หลีกไป ..............
สภาพแห่งธรรมที่ละเอียด ..............
สภาพแห่งธรรมที่ประณีต .........
สภาพแห่งธรรมที่หลุดพ้น
สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีอาสวะ ...........
สภาพแห่งธรรมเครื่องข้าม ................
สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีเครื่องหมาย .............
สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีที่ตั้ง ....................
สภาพแห่งธรรมที่ว่างเปล่า ...............
สภาพแห่งธรรมที่มีกิจเสมอกัน ..............
สภาพแห่งธรรมที่ไม่ล่วงเลยกัน ............
สภาพแห่งธรรมที่เป็นคู่ ..............
สภาพแห่งธรรมที่นำออก .........
สภาพแห่งธรรมที่เป็นเหตุ ................
สภาพแห่งธรรมที่เห็น ....................
สภาพแห่งธรรมที่เป็นอธิบดี ...............

ยังมีต่อ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ
สภาพที่พิจารณาเห็นแห่งวิปัสนา
สภาพที่มีกิจเสมอกันแห่งสมถะและวิปัสนา
สภาพมิได้ล่วงกันแห่งธรรมที่เป็นคู่
สภาพที่สมาทานแห่งสิกขาบท
สภาพที่โคจรแห่งอารมณ์
สภาพที่ประคองจิตที่ย่อท้อ
สภาพที่ปราบจิตที่ฟุ้งซ่าน
สภาพที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ
สภาพที่จิตบรรลุคุณวิเศษ
สภาพที่แทงตลอดอริยมรรคอันประเสริฐ
สภาพที่ตรัสรู้สัจจะ
สภาพที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ
สภาพที่น้อมไป ประคองไว้ ตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน และเห็นแห่งอินทรีย์
สภาพที่ศรัทธามิได้หวั่นไหว แห่งพละ
สภาพที่ตั้งมั่น ที่เลือกเฟ้นแห่งธรรม ที่ประคองไว้ ที่แผ่ไป ที่สงบ ที่ไม่ฟุ้งซ่าน ที่พิจารณาหาทางแห่งสัมโพชฌงค์
สภาพที่เห็น ที่ตรึก ที่กำหนด ที่ประชุม ที่ผ่องแผ้ว ที่ประคองไว้ ที่ตั้งมั่น
และที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งอริยะมรรค
สภาพที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์
สภาพที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ
สภาพที่นำออกแห่งโพชฌงค์
สภาพที่เป็นเหตุแห่งมรรค
สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน
สภาพที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน
สภาพที่สำเร็จแห่งอิทธิบาท
สภาพที่เที่ยงแท้แห่งสัจจะ
สภาพที่ระงับแห่งประโยชน์
สภาพที่ทำให้แจ้งแห่งผล
สภาพที่ตรึกแห่งวิตก
สภาพที่ตรวจตราแห่งวิจาร
สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติ
สภาพที่ไหลมาแห่งสุข
สภาพที่มีอารมณ์เดียวแห่งจิต
สภาพที่คำนึง
สภาพที่รู้แจ้ง
สภาพที่รู้ชัด
สภาพที่จำได้
สภาพที่สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น

ยังมีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาพที่นึกในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว
สภาพที่รู้แจ้ง ...
สภาพที่รู้ชัด ...
สภาพที่จำได้ ...
สภาพที่จิตมั่นคง ...
สภาพที่เนื่อง ...
สภาพที่แล่นไป ...
สภาพที่ผ่องใส ...
สภาพที่ตั้งมั่น ...
สภาพที่หลุดพ้น ...
สภาพที่เห็นว่านี่ละเอียด ...
สภาพที่ทำให้เป็นเช่นดังยาน ...
สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้ง ...
สภาพที่ตั้งขึ้นเนืองๆ ...
สภาพที่อบรม ...
สภาพที่ปรารภชอบด้วยดี ...
สภาพที่กำหนดถือไว้ ...
สภาพที่เป็นบริวาร ...
สภาพที่เต็มรอบ ...
สภาพที่ประชุม ...
สภาพที่อธิษฐาน ...
สภาพที่เสพ ...
สภาพที่เจริญ ...
สภาพที่ทำให้มาก ...
สภาพที่รวมดี ...
สภาพที่หลุดพ้นด้วยดี ...
สภาพที่ตรัสรู้ ...
สภาพที่ตรัสรู้ตาม ...
สภาพที่ตรัสรู้เฉพาะ ...
สภาพที่ตรัสรู้พร้อม
สภาพที่ตื่น ...
สภาพที่ตื่นตาม ...
สภาพที่ตื่นเฉพาะ ...
สภาพที่ตื่นพร้อม ...
สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ ...
สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ตาม ...
สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้เฉพาะ ...
สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้พร้อม ...
สภาพที่สว่าง ...
สภาพที่สว่างขึ้น ...
สภาพที่สว่างเนืองๆ ...
สภาพที่สว่างเฉพาะ ...
สภาพที่สว่างพร้อมในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว

ยังมีต่อ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอรบกวนถามท่านครับ

สุตะ แปลว่า ฟัง
มหาราชันย์ เขียน:
ใช่ครับคุณโคตรภู

เมื่อผู้แสดงธรรมอยู่ตรงหน้เรา เราใช้วิธีฟังแล้วจดบันทึกหรือจดจำ
ถ้าผู้แสดงธรรมไม่ได้อยู่ตรงหน้าเรา เช่นดับขันธ์ปรินิพพาน หรือไปที่อื่น แต่มีการบันทึกความรู้เอาไว้เราก็ใช้วิธีการอ่านแทนการฟัง เป็นสุตมยญาณเช่นเดียวกันครับ



แสดงว่า การอ่าน กับการ ฟังนี้ อันเดียวกันใช่ไหมครับ หรือว่า ผมจะเข้าใจผิดในธรรม

ขอ อนุโมทนากับ กับธรรมะ ด้วยนะครับ

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณมดดำ


ในกรณีที่ไม่มีเครื่องอัดเสียง
ถ้าคุณมดดำมีหน้าที่ในการถ่ายทอดคำพูดจากเจ้านาย ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาอีกทอดหนึ่ง และเป็นการถ่ายทอดคำพูดจากเจ้านายเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบทุกถ้อยคำ คุณมดดำจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไรครับ ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงจะสามารถทราบทุกถ้อยคำที่เจ้านายพูดเอาไว้ได้ครบถ้วนครับ ?


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาพที่ให้สว่าง ให้รุ่งเรือง ให้กิเลสทั้งหลายเร่าร้อน ไม่มีมลทิน ปราศจากมลทิน หมดมลทิน สงบ ให้กิเลสระงับแห่งอริยมรรค

สภาพแห่งวิเวก ที่คลายกำหนัด ที่ดับ ที่ปล่อย ที่พ้น

สภาพแห่งความประพฤติในวิเวก ในความคลายกำหนัด ในความดับ ในความปล่อย ในความพ้น

สภาพแห่งฉันทะ วิริยะ จิต วิมังสา สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ฯลฯ.... สภาพที่เป็นบาท แห่งฉันทะ ฯลฯ....สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ฯลฯ....สภาพที่สำเร็จแห่งฉันทะ ฯลฯ....สภาพที่น้อมไปแห่งฉันทะ ฯลฯ....สภาพที่ประคองไว้แห่งฉันทะ ฯลฯ....สภาพที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ ฯลฯ....สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ ฯลฯ....สภาพที่เห็นแห่งฉันทะ ฯลฯ....

สภาพแห่งทุกข์ สภาพที่ทุกข์บีบคั้น สภาพที่ทุกข์อันปัจจัยปรุงแต่ง สภาพที่ทุกข์ให้เดือดร้อน สภาพที่ทุกข์แปรปรวน สภาพแห่งสมุทัย สภาพที่สมุทัยประมวลมา สภาพที่สมุทัยเป็นเหตุ สภาพที่สมุทัย เกี่ยวข้อง สภาพที่สมุทัยพัวพัน สภาพแห่งนิโรธ สภาพที่นิโรธสลัดออก สภาพที่นิโรธเป็นวิเวก สภาพที่นิโรธเป็นอสังขตะ สภาพที่นิโรธเป็นอมตะ สภาพแห่งมรรค สภาพที่มรรคนำออก สภาพที่มรรคเป็นเหตุ สภาพที่ มรรคเห็น สภาพที่มรรคเป็นอธิบดี

สภาพที่ถ่องแท้ สภาพที่เป็นอนัตตา สภาพที่เป็นสัจจะ สภาพที่ควรแทงตลอด สภาพที่ควรรู้ยิ่ง สภาพที่ควรกำหนดรู้ สภาพที่ทรงรู้ สภาพที่เป็นธาตุ สภาพที่อาจได้ สภาพที่รู้ควรทำให้แจ้ง สภาพที่ควรถูกต้อง สภาพที่ควรตรัสรู้

เนกขัมมะ อัพยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความกำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นความทุกข์ การพิจารณาเห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืน การพิจารณาเห็นความสิ้นไป การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป การพิจารณาเห็นความแปรปรวน การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย การพิจารณาเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง การพิจารณาเห็นโทษ การพิจารณาหาทาง การพิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป

อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์ด้วยความว่านำออก มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งมั่นสัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้อิทธิบาทด้วยความว่าสำเร็จ สัจจะด้วยความว่าเที่ยงแท้ สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสนาด้วยความว่าพิจารณา สมถะและวิปัสนาด้วยความว่ามีกิจเสมอกัน ธรรมชาติที่เป็นคู่ด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน

ยังมีต่อ

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทาน นาม ๑ รูป ๑ เวทนา ๓ อาหาร ๔ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะภายใน ๖ วิญญาณฐิติ ๗ โลกธรรม ๘ สัตตาวาส ๙ อายตนะ ๑๐

สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ แม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ธรรมอย่างหนึ่งควรละ คือ อัสมิมานะ อวิชชา ๑ ตัณหา ๑ ตัณหา ๓ โอฆะ ๔ นิวรณ์ ๕ หมวดตัณหา ๖ อนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ความเป็นผิด ๘ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ มิจฉัตตะ ๑๐

สิ่งทั้งปวงควรละคืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยควรละทุกอย่าง หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรละทุกอย่าง

ธรรมอย่างหนึ่งควรเจริญ คือ กายคตาสติอันสหรคตด้วยความสำราญ สมถะ ๑ วิปัสนา ๑ สมาธิ ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมาสมาธิ มีองค์ ๕ อนุสสติ ๖ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ องค์อันเป็นประธานแห่งความบริสุทธิ์ [ปาริสุทธิ] ๙ กสิณ ๑๐

ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑ วิชชา ๓ สามัญญผล ๔ ธรรมขันธ์ ๕ อภิญญา ๖ กำลังของพระขีณาสพ ๗ วิโมกข์ ๘ อนุปุพพนิโรธ ๙ อเสกขธรรม ๑๐

สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง คือ อะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง

ยังมีต่อ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 07 ต.ค. 2009, 20:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.......ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถรู้ว่าชัดเพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือเครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่า สุตมยญาณ ฯ

ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในส่วนชำแรกกิเลส ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ

...........ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่า ญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ ได้สดับมาแล้วนั้นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าสุตมยญาณ ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว ชื่อว่า สุตมยญาณอย่างนี้ ฯ

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมให้ทานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่รักษาศีลเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมรักษาศีลเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่เจริญฌานเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมเจริญฌานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมให้ทาน
ย่อมรักษาศีล ย่อมเจริญฌาน
เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว
มีจิตเอนไปในพระนิพพาน
มีจิตน้อมไปในพระนิพพาน
เหมือนแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ทะเลฉะนั้น



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร