วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 22:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 17:20
โพสต์: 17

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่กล่าวมาในหัวข้อ ให้ก้าวพ้นภวังค์จิต ไม่ให้หลับ รบกวนผู้รู้แนะนำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่จะก้าวพ้นภวังค์จิต ไม่ให้หลับ ...นั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ สติ เท่านั้น นอกเหนือสิ่งอื่นไม่มี


การที่จิตตกภวังค์ จนวูบหลับนั้น..จิตเป็นถินมิทธะ นิวรณ์ครอบงำ...
จึงแก้ด้วยการเจริญคำบริกรรม จิตจดจ่ออยู่กับคำบริกรรม พุทโธ
บริกรรมพุทโธถี่ยิบ ไม่เปิดช่องให้อารมณ์ความคิดเข้าแทรก
จิตเป็นพุทโธ พุทโธเป็นจิต..จนเป็นอันหนึ่งอันเดียว ระหว่างจิตกับสติ
ถ้าจิตเริ่มสงบ คำบริกรรมพุทโธหายไป อย่าตกใจหรือเอ๊ะใจ....เด็ดขาด

กำหนดสติ ทำความรู้ อยู่ที่ฐานความรู้เดิม..
อย่าเปลี่ยนฐานความรู้...รู้อยู่ที่รู้...อย่าไปวิตกวิจารณ์ตรึกตรองคิดเด็ดขาด...จะเป็นสัญญา..
กลายเป็นอารมณ์บัญญัติ..เพราะอารมณ์ฟุ้งซ่านจะเข้าแทรกแทน
จะทำให้จิตถอนจากสมาธิ....ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่...

สิ่งสำคัญ...กำลังสติ..ตั้งมั่น...ถ้าสติไม่มั่นคงคลาดเคลื่อนจะถอนออกจากสมาธิหรือหลับทันที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตประภัสสร เขียน:
ตามที่กล่าวมาในหัวข้อ ให้ก้าวพ้นภวังค์จิต ไม่ให้หลับ รบกวนผู้รู้แนะนำ


ถ้าภวังค์จิต ตามที่ท่านกล่าวมีอาการประมาณนี้คือ กำหนดไปซักพักมีอาการเคลิ้มๆ สติเริ่มจางลงเรื่อยๆ แล้วก็ไม่รู้สึกตัวขาดสติเต็มที่ นานเท่าใดก็ไม่ทราบได้ กำหนดเวลาเข้าออกไม่ได้ และก็ไม่ได้หลับ แก้โดย เดิน เดิน เดิน .... แล้วก็นั่ง ก็คือเดินให้มากกว่านั่งกำหนดครับ

เจริญธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2009, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตประภัสสร เขียน:
ตามที่กล่าวมาในหัวข้อ ให้ก้าวพ้นภวังค์จิต ไม่ให้หลับ รบกวนผู้รู้แนะนำ


ภวังค์จิต หมายถึง ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆแห่งร่างกาย
ถ้าคุณนั่งสมาธิ แล้วมีอาการไม่รู้สึกตัว เกิดจากสาเหตุหลายประการขอรับ ในที่นี้ไม่อธิบายนะขอรับ


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 23 ก.ย. 2009, 20:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




A036.jpg
A036.jpg [ 41.06 KiB | เปิดดู 6309 ครั้ง ]
จิตประภัสสร เขียน:
ตามที่กล่าวมาในหัวข้อ ให้ก้าวพ้นภวังค์จิต ไม่ให้หลับ รบกวนผู้รู้แนะนำ



ภวังคจิต คือจิตที่เป็นผลเป็นวิบาก
ภวังจิตของมนุษย์ปุถุชนทั่วไปได้แก่ อกุศลวิบากจิต และกามาวจรกุศลวิบากจิต

ถ้าต้องการไม่ให้จิตเป็นภวังค์ ให้เจริญกุศลจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแทนครับ
ได้แก่
1.เจริญอารัมณูปณิชฌาน ได้แก่รูปฌานที่เป็นรูปาวจรกุศล 4 และอรูปฌานที่เป็นอรูปาวจรกุศล 4

หรือ

2.เจริญลักขณูปณิชฌาน ได้แก่กุศลฌานในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน จากสุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ



เจริญอนิมิตตวิปัสสนา บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ชนิดอนิมิตตสมาธิ
เจริญอัปปณิตวิปัสสนา บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ชนิดอัปปณิตสมาธิ
เจริญสุญญตวิปัสสนา บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ชนิดสุญญตสมาธิ


เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2009, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
จิตประภัสสร เขียน:
ตามที่กล่าวมาในหัวข้อ ให้ก้าวพ้นภวังค์จิต ไม่ให้หลับ รบกวนผู้รู้แนะนำ



ภต

ถ้าต้องการไม่ให้จิตเป็นภวังค์ ให้เจริญกุศลจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแทนครับ
ได้แก่
1.เจริญอารัมณูปณิชฌาน ได้แก่รูปฌานที่เป็นรูปาวจรกุศล 4 และอรูปฌานที่เป็นอรูปาวจรกุศล 4

หรือ

2.เจริญลักขณูปณิชฌาน ได้แก่กุศลฌานในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน จากสุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ
เจริญในธรรมครับ


ถ้าเป็นคนที่ยังเข้าฌาณไม่ได้ทำยังไงดีคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ในความเข้าใจของผม ... สิ่งที่เป็นอุปสรรค หรือเครื่องกั้นจิตไม่ให้เป็นสมาธิของคุณจิตประภัสสร คือนิวรณ์ (ถีนมิทธะ...ความง่วง ความท้อแท้ เคลิบเคลิ้ม ซึมเซา) ซึ่งเมื่อจิตสงบ ก็จะมีข้าศึกของความสงบคือความง่วง จึงต้องคอยระวังไม่ให้สติดับไป เพราะหากสติดับก็ไม่ใช่สมาธิแล้ว ตัวรู้กับสติต้องมีอยู่ตลอดเวลา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้กล่าวถึงวิธีที่จะแก้ง่วงก็คือต้องรู้ว่าทำไมจึงง่วง ง่วงก็เพราะว่าเมื่อทำใจให้สงบนั้น ก็ปล่อยตัวรู้ ปล่อยสติ เหมือนคนที่จะนอนหลับก็ปล่อยตัวรู้ ปล่อยสติ และก็หลับผลอยลงไป เพราะฉะนั้นจึงปล่อยไม่ได้ ปล่อยเมื่อใดก็เกิดความง่วงเมื่อนั้น ต้องทำตัวรู้ไว้ให้เต็มที่ ทำสติไว้ให้เต็มที่ และเมื่อรู้เต็มตัวอยู่ มีสติเต็มตัวอยู่ ง่วงก็ไม่เกิด และถ้ารู้สึกง่วงก็ต้องแก้ด้วยวิธีดังกล่าว ประกอบกับกำหนดให้เกิดแสงสว่าง เหมือนอย่างเป็นกลางวันในจิตใจ คือให้มีตัวรู้สว่าง มีสติความระลึกสว่างไสวอยู่ จิตก็เบิกบานอยู่ด้วยสัมปชานะ คือรู้ด้วยสติเต็มที่ ไม่ใช่ริบหรี่ลงไปเหมือนอย่างตะเกียง ในเวลาที่ทำความสงบ ถ้าหรี่ลงไป ๆ เหมือนอย่างหรี่ตะเกียง ก็หลับเท่านั้น.....

ส่วนคำว่าภวังคจิตนั้น เหมือนกับคำว่าประภัสสร พระธรรมวิสุทธิกวี ได้อธิบายความว่า ไม่ได้หมายถึงบริสุทธิ์ แต่หมายถึงผ่องใส ท่านเปรียบจิตประภัสสรว่าเป็น “ภวังคจิต” คือ จิตที่อยู่ในองค์ของภพ เป็นจิตที่ยังไม่ขึ้นสู่วิถี ผู้ที่ศึกษาคัมภีร์อภิธรรมจะเข้าใจชัดเจนว่า ถ้าจิตขึ้นสู่วิถีท่านเรียกว่า “วิถีจิต” ดังนั้น จิตที่อยู่ในองค์ของภพเรียกว่า “ภวังคจิต” เช่น คนในเวลานอนหลับ ไม่ได้คิด ไม่ได้ฝันอะไร จิตประเภทนี้เป็นภวังคจิต หรือ จิตของทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งยังไม่รับรู้อะไรเลย จิตนั้นเป็นภวังคจิต ซึ่งประภัสสร ผ่องใสอยู่ (ในบางนิกายของพุทธศาสนาเรียกจิตประเภทนี้ว่า “จิตเดิม” แต่อาจารย์ผู้ชำนาญอภิธรรมค้านว่า จิตเดิมไม่มี เพราะจิตเกิดใหม่ตลอดเวลา คือมี อุปาทะ (เกิดขึ้น) ฐิติ (ตั้งอยู่) ภังคะ (ดับไป) เป็นอย่างนี้ตลอดเวลา) จิตที่ยังไม่เกลือกกลั้วกับอะไร ยังอยู่ในภวังค์ เป็นจิตประภัสสร

ในฝ่ายมหายานถือว่า จิต ทำหน้าที่สั่งสมอารมณ์ เป็นพีชะสั่งสมพฤติกรรมต่าง ๆ ไว้ทั้งดีและชั่ว ในบางนิกายจัดให้จิตเป็นวิญญาณดวงที่ ๘ จิตนี้ก็คือ “อาลยะ” หรือ “อาลยะวิญญาณ” ซึ่งตรงกับ “ภวังคจิต” ในพระอภิธรรมของเถรวาท หรือจิตที่เป็นองค์แห่งภพ ท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้ให้ความเห็นว่า คำว่าภวังคจิต มีขึ้นในชั้นอภิธรรม แต่ไม่ปรากฎในพระวินัยและพระสูตร แต่คณาจารย์ในชั้นอภิธรรมได้บัญญัติขึ้น โดยอาศัยรากฐานจากประโยคที่กล่าวว่า “ภวปัจจยาชาติ” ในปฏิจจสมุปบาท คือจิตที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดภพ (ภว) ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ...

ขอแสดงความเห็นแต่เพียงแค่นี้ หวังว่าคุณจิตประภัสสรคงได้รับประโยชน์ตามสมควร

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2009, 00:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




16.gif
16.gif [ 7.67 KiB | เปิดดู 6270 ครั้ง ]
อายะ เขียน:
ถ้าเป็นคนที่ยังเข้าฌาณไม่ได้ทำยังไงดีคับ



สวัสดีครับคุณอายะ

ก็คงต้องลงมือปฏิบัติกันก่อนละครับ
ลองเลือกเจริญอนิจจสัญญา หรือทุกขสัญญา หรืออนัตตาสัญญาเป็นอารมณ์กัมมัฏฐานก็ได้ครับ
สมาธิที่ได้เรียกว่า อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ สุญญตสมาธิ
ฌานที่ได้เรียกว่า ลักขณูปณิชฌาน

ฌานคือ กุศลจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายครับ


สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ??

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ




เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 25 ก.ย. 2009, 01:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 17:20
โพสต์: 17

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกความคิดเห็นน่ะค่ะ จำนำไปพิจารณา และปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 14:50
โพสต์: 69

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมก็หลับประจำ เวลานั่งสมาธิ ขอบคุณคำตอบทุกคำตอบครับ

ได้ความรู้เรื่องภวังคจิตด้วย ดีครับ ขออนุโมทนา :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ก็คงต้องลงมือปฏิบัติกันก่อนละครับ
ลองเลือกเจริญอนิจจสัญญา หรือทุกขสัญญา หรืออนัตตาสัญญาเป็นอารมณ์กัมมัฏฐานก็ได้ครับ
สมาธิที่ได้เรียกว่า อนิมิตตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ สุญญตสมาธิ
ฌานที่ได้เรียกว่า ลักขณูปณิชฌาน



สวัสดีครับคุณมหาราชันย์
เจริญอนิจจสัญญา หรือทุกขสัญญา หรืออนัตตาสัญญาเป็นอารมณ์กัมมัฏฐานทำไมอารมณ์กรรมฐานในกองเหล่านี้ไม่ทำให้จิตตกภวังค์ มีรูปแบบการปฏิบัติอย่างไรครับช่วยอธิบายให้คนที่ไม่ได้เรียนอภิธรรมเป็นภาษาง่ายๆ เข้าใจได้ไหมครับ และอารมณ์กรรมฐานดังกล่าวจัดอยู่ในหมวดไหนครับ {กสิน 10 อสุภะ10 อนุสสติ 10 อัปปมัญญา 4 อรูป 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถาน สติปัฏฐานสี่ หรือ อานาปานสติ}


ไม่ว่าจะเลือกอะไรก็ตามในผู้ปฏิบัติใหม่ส่วนมากก็ต้องเจอกับภวังค์อยู่ดี คราวนี้จะแก้อย่างไรดีครับ (ผู้ปฏิบัติใหม่เข้าฌาณไม่ได้ครับถ้าเข้าฌาณได้ก็คงไม่มีปัญหาเรื่องภวังค์)

เจริญธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 27 ก.ย. 2009, 00:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร