วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 02:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2009, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมถามว่าไปยินดียินร้ายอย่างไร
คุณเช่นนั้นรับผิดชอบคำพูดหน่อยครับ เพราะพูดออกมาแล้ว
ผมมีคำอธิบายได้ก็แล้วกัน และทุกคำที่ผมอธิบาย มีหลักการ
อ้างอิงได้ทั้งในพระไตรปิฏกและคัมภีร์อื่นๆ

ตอบไม่ตรงมา ๒ ข้อแล้วนะครับ

ข้อที่หนึ่ง ที่ว่าจิตนิ่ง นิ่งอย่างไร
ข้อที่สอง ยินดียินร้ายอย่างไร

ส่วนคำตอบของผม อธิบายตามมหาสติปัฏฐานสูตร ดังนี้

ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีบาลีว่า

ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา ตถา นํ ปชานาติ

ก็หรือว่า กายตั้งอยู่อย่างไรๆ ย่อมรู้อย่างนั้นๆ


ตรงนี้ท่านตรัสไว้ครอบคลุมเลยว่า กายตั้งอยู่แบบไหนก็รู้แบบนั้น
ในเมื่อท้องก็เป็นส่วนของกาย เมื่องพอง-ยุบ เรารู้ว่า พอง-ยุบ
ไม่ได้ทำกันลอยๆนะครับคุณเช่นนั้น กำหนดรู้ไปตามจริง ไม่ถูกต้องตรงไหนครับ

และบาลีใช้คำว่า คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ
เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่า (เรา)เดินอยู่

คำว่า คจฺฉามิ ในเวลาแปล ต้องขึ้นคำว่า อหํ หรือ อันว่าเรา คือต้องแปลว่า
อันว่าเรา เดินอยู่ ท่านใช้คำตรงๆเลย ฉะนั้น ท้องพองยุบ เราก็ใช้คำตรงๆว่า
พองหนอ-ยุบหนอ ก็ไม่เห็นผิดอะไรครับ



คุณเช่นนั้น อธิบายผมได้หรือยังที่ถามไว้ครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ข้อที่หนึ่ง ที่ว่าจิตนิ่ง นิ่งอย่างไร
ข้อที่สอง ยินดียินร้ายอย่างไร


ข้อที่ 1 จิตนิ่งไม่มีหรอก พระพุทธองค์ตรัสสอนแต่จิตที่เป็นสมาธิ คือจิตที่ตั้งมั่น
[๕๘๘] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ


ข้อที่สอง ยินดียินร้ายอย่างไร

เมื่อจิตปุถุชนที่คลุกเคล้าด้วยทิฐิตัณหา พัวพันอยู่กับรูปขันธ์ ย่อมก่อให้เกิดสักกายทิฐิ

เพราะยังรับรู้ยังเห็นการพองการยุบของรูปขันธ์อยู่ และยังรู้เวทนา ก็ย่อมแสดงว่าอภิชฌาและโทมนัสก็ยังอยู่้ในจิต ดังนั้น การกำหนดพองยุบ ย่อมก่อให้เกิดสักกายทิฐิ และความยินดียินร้ายในวิบากนั้น

อ้างคำพูด:
ส่วนคำตอบของผม อธิบายตามมหาสติปัฏฐานสูตร ดังนี้
ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีบาลีว่า
ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา ตถา นํ ปชานาติ
ก็หรือว่า กายตั้งอยู่อย่างไรๆ ย่อมรู้อย่างนั้นๆ
ตรงนี้ท่านตรัสไว้ครอบคลุมเลยว่า กายตั้งอยู่แบบไหนก็รู้แบบนั้น
ในเมื่อท้องก็เป็นส่วนของกาย เมื่องพอง-ยุบ เรารู้ว่า พอง-ยุบ
ไม่ได้ทำกันลอยๆนะครับคุณเช่นนั้น กำหนดรู้ไปตามจริง ไม่ถูกต้องตรงไหนครับ



การเจริญสติปัฏฐาน 4 เจริญเพื่ออะไรท่านต้องตอบคำถามตัวเองก่อนครับ
เจริญเพื่อรู้กาย รู้รูปขันธ์ หรือครับ
ซึ่งในพระสูตรก็บอกแล้วดังนี้ครับ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔

[๒๖๙] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็นโลกุตตระ ฯลฯ.......เจริญจิตเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

Quote Tipitaka:
http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=2522&Z=2570


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 16 ส.ค. 2009, 00:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ.


การเจริญสติปัฏฐาน 4 เป้าหมายคือจิตที่ตั้งอยู่ในพรหมจรรย์ เป็นกุศลจิตที่หลุดพ้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อเริ่มต้นก็ต้องระวังปัจจุบันให้จิตตั้งอยู่ในพรหมจรรย์ด้วย

การรู้ชัดคือ การรู้โดยปราศจากทิฐิ และตัณหา อันก่อให้เกิดสัญญาวิปลาส ทิฐิปลาส จิตวิปลาส จึงเรียกว่ารู้ชัด พระพุทธองค์จึงตรัสสอนว่า "เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ "

ในทุกอริยาบทหน้าที่ของเราคือจะต้องให้จิตมีคุณสมบัติเหล่านี้คือ
จิตที่จะสามารถกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ก็มีอยู่เพียงจิตประเภทเดียวนั่นคือจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เป็นจิตที่เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ในทุกอริยาบท กุศลจิตแบบนี้ก็ได้แก่กุศลจิตระดับปฐมฌานขึ้นไปเท่านั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 01:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


แหม๋ คุณขยันพิมพ์จัง

ก็กำหนดว่า เห็นหนอ เมื่อเห็น แล้วพอรูปนั้นหายไป ก็ไม่ได้ตามดู เวลาเห็น ก็ไม่ใด้สนใจว่า
รูปอะไร สีอะไร สัณฐานอย่างไร สักว่าเห็นแบบที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเมฆิยะไง
ตอนนั้นเมฆิยะท่านก็ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ท่านก็ยังมีตัณหาทิฏฐิอยู่ด้วย
พอท่านทำตามก็บรรลุได้
เรากำหนดรู้ด้วยใจที่เป็นกลางตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ละอภิชฌาและโทมนัส คือกำหนดแบบไม่มี
ยินดียินร้าย หลักคือ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ทันปัจจุบันขณะที่สภาวะมากระทบ
กำหนดแบบนี้มีทิฏฐิตัณหาตรงไหนครับ

ถ้าคิดว่าการกำหนดแบบนี้เป็นของคนหมดทิฏฐิตัณหา ทุกวิธีก็ทำไม่ได้ครับ ไม่ว่าจะดู รู้ วิธีไหน
เช่น ดูที่ใจคิดอยู่ คนดูก็ยังมีทิฏฐิตัณหาอยู่ แสดงว่าดูด้วยใจไม่เป็นกลางซิครับ

ที่ว่าต้องมีฌานก่อน คุณเข้าใจผิดแล้วครับ ไม่มีข้อกำหนดในสติปัฏฐานเลย ตอนท้ายท่านบอกว่า
ละอภิชฌาและโทมนัสเในโลกเสียได้ หมายถึง ละยินดียินร้ายในขันธ์ ๕ ที่เกิดอยู่ในเวลาเรากำหนด
ไม่ใช่หมายถึงต้องละอภิชฌาและโทมนัสก่อน ถ้าต้องละ ๒ ตัวนี้ก่อน ไม่มาปฏิบัติหรอกครับ
เพราะองค์ธรรมของอภิชฌาคือโลภะ และของโทมนัสคือ โมหะ ละได้ก็พระอรหันต์แล้วครับ
ไม่ต้องมานั่งกำหนดแล้ว

การที่อธิบายว่าเจริญสติปัฏฐาน ๔ ต้องมีจิตที่หลุดพ้นก่อนเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก เพราะทรง
ตรัสเรื่องนี้ที่กุรุนั้น ที่นั่นแม้จะเจริญสติกันก็จริง แต่หาใช่จะบรรลุกันไม่ และทรงแสดงแก่ภิกษุด้วย
ในหมู่สงฆ์นั้นก็หาบรรลุกันทุกรูปไม่ แก้ซะเถิดความคิดแบบนี้

แสดงว่าคุณยังไม่เคยปฏิบัติตามแนวพองยุบให้ถึงขนาดเลย แต่คุณด่วนตัดสินวิธีการเขาแล้ว
ตรงนี้บ่งบอกวิธีการที่คุณปฏิบัติอยู่ครับ คนที่ปฏิบัติแล้วได้ผลดี เขาไม่มาวิจารย์วิธีการของคนอื่น
โดยที่เขายังไม่รุ้จักดีพอหรอกครับ

หลักฐานผมจะๆเลยนะครับว่ามีจริงๆ การที่กำหนดอย่างพองยุบไม่ผิด มีหลักฐานอยู่
ที่คุณอธิบายมา ไม่เห็นจะหักล้างหลักฐานผมได้เลย ทั้งไม่เกี่ยวกันกับที่ผมอ้างมาเลย
แถไปประเด็นอื่นอีก

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โกธัง ฆัตตะวา สุขัง เสติ
ฆ่าความโกรธได้มีความสุข


กิเลสที่ควรฆ่า มันอยู่ที่ไหน อยู่ที่ตัวเรานี่แหละ
ควรจะฆ่าความโลภ ความโกรธ ความหลง
ไอ้ ๓ ตัวนี่แหละตัวร้าย เป็นตัวที่เราเห็นหน้ามันแล้ว ต้องเล่นงานมันเลยทีเดียว
อย่าปล่อยให้มันมาโจมตีเรา อย่าให้มันมาเป็นนายเหนือเรา
เดี๋ยวนี้คนเราไม่โกรธกิเลส แต่ว่ากลับไปโกรธคน

ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ :b8: ........


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
ก็กำหนดว่า เห็นหนอ เมื่อเห็น แล้วพอรูปนั้นหายไป ก็ไม่ได้ตามดู เวลาเห็น ก็ไม่ใด้สนใจว่ารูปอะไร สีอะไร สัณฐานอย่างไร สักว่าเห็นแบบที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเมฆิยะไง
ตอนนั้นเมฆิยะท่านก็ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ท่านก็ยังมีตัณหาทิฏฐิอยู่ด้วย
พอท่านทำตามก็บรรลุได้


พระเมฆิยะ รูปไหน ครับ ใช่รูปที่ถูกวิตก 3 เกาะกุมหรือเปล่า ยกพระสูตรมาสิครับ



อ้างคำพูด:
เรากำหนดรู้ด้วยใจที่เป็นกลางตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ละอภิชฌาและโทมนัส คือกำหนดแบบไม่มี
ยินดียินร้าย หลักคือ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ทันปัจจุบันขณะที่สภาวะมากระทบ
กำหนดแบบนี้มีทิฏฐิตัณหาตรงไหนครับ

ถ้าคิดว่าการกำหนดแบบนี้เป็นของคนหมดทิฏฐิตัณหา ทุกวิธีก็ทำไม่ได้ครับ ไม่ว่าจะดู รู้ วิธีไหน
เช่น ดูที่ใจคิดอยู่ คนดูก็ยังมีทิฏฐิตัณหาอยู่ แสดงว่าดูด้วยใจไม่เป็นกลางซิครับ


การปฏิบัติธรรม สติปัฏฐาน 4 ก็คือการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 มีนิพพานเป็นอารมณ์ มี กาย เวทนา จิต ธรรม สักแต่ว่าเป็นที่ระลึกอาศัย เพื่อประหาน ความวิปัลลาส ทั้ง 4

[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔
ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน ๑
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑

สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส๔ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่
วิปลาส ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่
วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ๑ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ๑
ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าไม่ใช่ตน ๑ ในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม ๑ สัญญาไม่วิปลาส
จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล ฯ
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฐิกำจัด มีจิตฟุ้งซ่าน มีความสำคัญผิด
มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง สำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์
ว่าเป็นสุข สำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน และสำคัญในสิ่งที่
ไม่งามว่างาม สัตว์คือชนเหล่านั้น ชื่อว่าประกอบแล้วในเครื่อง
ประกอบของมาร ไม่เป็นผู้เกษมจากโยคะ มีปรกติไปสู่ชาติ
และมรณะ ย่อมไปสู่สงสาร ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้กระทำแสงสว่าง บังเกิดขึ้นในโลก พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ย่อมประกาศธรรมนี้เป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบทุกข์ ชน
เหล่านั้น ผู้มีปัญญา ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
แล้ว ได้จิตของตน ได้เห็นสิ่งไม่เที่ยงโดยความเป็นของไม่
เที่ยง ได้เห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ ได้เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตน
ว่าไม่ใช่ตน ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความเป็นของไม่งาม
สมาทานสัมมาทิฐิ
จึงล่วงทุกข์ทั้งปวงได้

เมื่อต้องการผลคือความสิ้นทุกข์ การทำเหตุ คือเจริญมรรคปฏิปทา
เมื่อต้องการผลคือความทุกข์ การทำเหตุคือ พัวพันในกามสัญญา สร้างเหตุให้เกิดอุปธิเพื่อ
ภพ

การทำเหตุโดยเพื่งรูปขันธ์ ท้องยุบ ท้องพอง จึงเป็นการพัวพันในรูปกาย อันเป็นเหตุแห่งอุปธิเพื่อภพต่อไป การกำหนดเช่นนั้นจึงเป็นไปด้วยทิฐิ พัวพันอยู่ในกามสัญญาอันเป็นเครื่องเนิ่นข้า ไม่อาจพ้นจากความทุกข์ไปได้

ธรรมอันใด ไม่ตามพัวพันในกามสัญญา
โลกกุตตรปฐมฌาน จิตย่อมละนิวรณ์อันเป็นกิเลสเครื่องกั้นจิตให้ห่างจากกุศลธรรม แม้เพียงเจริญโลกุตตรปฐมฌาน จิตย่อมละกามสัญญา ไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่อ รูป นาม อันเป็นเหตุให้เกิดอุปธิเพื่อภพ
จิตตั้งมั่นใน ความไม่ยึดในขันธ์5 อันมีนิพพานเป็นอารมณ์ เจริญสุญญสมาธิ หรืออนิมิตสมาธิ หรือ อัปปณิหิตสมาธิ ย่อมมีสัญญา ในอนัตตสัญญา หรืออนิจจสัญญา หรือทุกขสัญญา

ด้วยสัทธาต่ออรหัตมรรคนั้นแน่วแน่ไม่คลอนแคลนมี อรหัตมรรคเป็นธรรมเฉพาะหน้าเป็นปัจจุบัน ย่อมมีกาย เวทนา จิต ธรรม สักแต่ว่าเป็นที่ระลึกอาศัย โดยไม่ต้องไปเห็นหนอ รู้หนอซึ่งทำให้จิตฟุ้งออกจากอรหัตมรรค ฟุ้งออกจากธรรมคืออรหัตมรรค

เมื่อต้องการผลคือ การพ้นทุกข์ จึงควรตั้งจิตไว้ประคองจิตไว้ที่อรหัตมรรค ไม่พัวพันในวิบากอันเป็นทุกข์


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 16 ส.ค. 2009, 15:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
ที่ว่าต้องมีฌานก่อน คุณเข้าใจผิดแล้วครับ ไม่มีข้อกำหนดในสติปัฏฐานเลย ตอนท้ายท่านบอกว่า
ละอภิชฌาและโทมนัสเในโลกเสียได้ หมายถึง ละยินดียินร้ายในขันธ์ ๕ ที่เกิดอยู่ในเวลาเรากำหนด
ไม่ใช่หมายถึงต้องละอภิชฌาและโทมนัสก่อน ถ้าต้องละ ๒ ตัวนี้ก่อน ไม่มาปฏิบัติหรอกครับ
เพราะองค์ธรรมของอภิชฌาคือโลภะ และของโทมนัสคือ โมหะ ละได้ก็พระอรหันต์แล้วครับ
ไม่ต้องมานั่งกำหนดแล้ว

การที่อธิบายว่าเจริญสติปัฏฐาน ๔ ต้องมีจิตที่หลุดพ้นก่อนเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก เพราะทรง
ตรัสเรื่องนี้ที่กุรุนั้น ที่นั่นแม้จะเจริญสติกันก็จริง แต่หาใช่จะบรรลุกันไม่ และทรงแสดงแก่ภิกษุด้วย
ในหมู่สงฆ์นั้นก็หาบรรลุกันทุกรูปไม่ แก้ซะเถิดความคิดแบบนี้


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์

[๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่

๔๕๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ
อยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความ
ทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ
สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้
เรียกว่าสติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
.....
Quote Tipitaka:
http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=6260&Z=6310


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
การที่อธิบายว่าเจริญสติปัฏฐาน ๔ ต้องมีจิตที่หลุดพ้นก่อนเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก เพราะทรง
ตรัสเรื่องนี้ที่กุรุนั้น ที่นั่นแม้จะเจริญสติกันก็จริง แต่หาใช่จะบรรลุกันไม่ และทรงแสดงแก่ภิกษุด้วย
ในหมู่สงฆ์นั้นก็หาบรรลุกันทุกรูปไม่ แก้ซะเถิดความคิดแบบนี้


จิตเป็นสัมมาสมาธิ คือจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ปัญญาเครื่องทำลายกิเลสมากน้อย คือปัญญาพละ

๒. สัพพาสวสังวรสูตร
ว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง
....ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่ ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี ที่จะพึง
ละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี

จิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นคุณภาพหนึ่งของจิตเป็นกุศลจิตเป็นสัมมาสมาธิ
ดังนั้น การเจริญสติปัฏฐานจึงต้องอาศัยคุณภาพของจิตที่ตั้งไว้ดี ตั้งไว้ถูกเสียก่อน ซึ่งความหยาบละเอียดของกุศลจิตย่อมมี การละอภิชฌาโทมนัสในโลกเสียได้ จึงเป็นไปตามคุณภาพของปัญญา ที่จะทำหน้าที่ละอภิชฌาโทมนัสในโลกเสียได้ด้วย การละประการใดอันปรากฏในสัพพาสวสังวรสูตร

ยกตัวอย่างเช่น
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยัง
ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขามนสิการ
อยู่
"

เมื่อปุถุชนมนสิการในกามสัญญา เช่นท้องยุบท้องพอง กามสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดแล้วย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขามนสิการอยู่

เมื่อละอภิชฌาโทมนัสในโลกเสียได้ แต่ปัญญิณทรีย์ยังอ่อน พึงอาศัยสัทธา ยังสัทธาในมรรค อันมีนิพพานเป็นอารมณ์ มีสัญญาในอนิมิต หรือสุญญตสัญญา หรืออัปปณิหิตสัญญา และทำให้ปรากฏเป็นจริง

เมื่อมนสิการอยู่เช่นนี้ ก็เป็นการมนสิการอันสมควรแก่ธรรมตามพุทธพจน์ดังนี้

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรมนสิการที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่ เป็นไฉน? เมื่อปุถุชน
นั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดีที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมที่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะ
ทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรม
ที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ
"

Quote Tipitaka:
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=238&Z=384

ธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ท่านกามโภคี พึงแก้ทิฐิ ของท่านเสียใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พระเมฆิยะ รูปไหน ครับ ใช่รูปที่ถูกวิตก 3 เกาะกุมหรือเปล่า ยกพระสูตรมาสิครับ


ประทานโทษ ไม่ใช่พระเมฆิยะ ตรงนี้ขอประทานโทษ ชื่อคล้ายกัน เลยจำผิดสับกัน แก้เป็นพระพาหิยะ ใน ขุ.อุ. ๒๕.๑๐.๑๐๑

ตสฺมาติห พาหิย เอวํ สิกฺขิตฺตพฺพํ. ทิกฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ภวิสฺสติ ฯลฯ วิญฺเญ วิญฺญาตมตฺตํ.
เอวญฺหิ เต พาหิย สิกฺขิตฺตพฺพํ.

ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อ
เห็น สักว่าเห็น เมื่อฟังสักว่าฟัง เมื่อทราบสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้ง
สักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

ตรงนี้ผมแก้ให้แล้ว ชัดไหมครับ เห็นสักว่าเห็น ฟังจักว่าฟัง ทรายจักว่าทราบ รู้แจ้งจักเป็นสักรู้แจ้ง

เห็นหนอ ยินหนอ รู้หนอ รู้สภาวะนั้นโดยไม่ตามว่า รูปอะไร เสียงอะไร รู้อะไร สักว่า....

ชัดหรือยังครับ ไม่ได้ทำกันลอยๆนะครับ

เช่นนั้น เขียน:
การปฏิบัติธรรม สติปัฏฐาน 4 ก็คือการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 มีนิพพานเป็นอารมณ์ มี กาย เวทนา จิต ธรรม สักแต่ว่าเป็นที่ระลึกอาศัย


คุณเข้าใจผิดตรงที่ว่า เอานิพพานเป็นอารมณ์ป่าวครับ อารมณ์นิพพานปรากฏเฉพาะในตอน
มรรค-ผลญาณเท่านั้น ท่านผู้เข้านิโรธสมาบัติและท่านผู้เข้าสมาบัติ อารมณ์นิพพานบอกไม่ได้
รู้ไม่ได้ ลักษณะอาการไม่มี เอามาเป็นอารมณ์ได้อย่างไรครับ รูปนามดับหมด จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์
สภาวะรูปไม่มีนามไม่มี อะไรก็ไม่ปรากฏซิครับ ตรงนี้ลองตรองนะครับ

เช่นนั้น เขียน:
เพื่อประหาน ความวิปัลลาส ทั้ง 4
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔
ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑


พองหนอ ยุบหนอ รู้สภาวะรูปที่พองหายไป รูปที่ยุบปรากฏและดับไป พองมาแทน สลับไปมา
ก็รู้ว่าไม่เที่ยง วิธีพองยุบนี่ตัวเปิดสันตติเลยนะครับ เพิกอนิจจลักษณะให้ปรากฏเลย

เช่นนั้น เขียน:
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑


รู้ว่าตั้งอยู่ไม่ได้ทนอยู่ไม่ได้(ทุกข์) เพราะถูกการบีบคั้นด้วยการเปลี่ยนจากพองเป็นยุบตลอดเวลา
พองมากบ้างน้อยบ้าง รู้ตามจริงแบบนี้ วิปลาสเหรอครับ

เช่นนั้น เขียน:
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน ๑


พองหนอ ยุบหนอ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ มีแต่รูปที่เคลื่อนไป กับ จิตที่รู้ (รูป+นาม) ไม่มีอะไร
เลย มีเท่านี้เอง รู้แบบนี้จัดเป็นวิปลาสเหรอครับ รู้แบบนี้ เขาเรียกว่ารู้จักอนัตตาแท้ครับ ไม่ใช่รู้เพราะ
อ่านมาฟังมา ปฏิบัติแบบนี้ รู้จริงนะครับ

เช่นนั้น เขียน:
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑


ท้องที่พองยุบแล้วกำหนดรู้ตามจริงไม่ปรุงแต่งเพิ่ม ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ก็รู้อาการตามจริง
ไม่ปรุงแต่งเพิ่ม คุณว่าคนปฏิบัติจะมองว่างามเหรอครับ ผู้ปฏิบัติมาแบบนี้ ผมยังไม่เคยเจอบอกว่า
งามเลย มีแต่รูปที่เคลื่อนไปกับใจที่รู้ เมื่อไม่ปรุงแต่เพิ่มไป ก็มีเท่านี้ งามหรือไม่งาม ไม่มีเลย

เช่นนั้น เขียน:
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฐิกำจัด มีจิตฟุ้งซ่าน มีความสำคัญผิด


เมื่อกำหนดรู้ตามจริงโดยสติ สัมปชัญญะ ไม่ได้ปรุงเพิ่มเติม ไม่ได้ชอบหรือไม่ชอบ ไม่มีอะไรพอใจ
หรือไม่พอใจ รู้ว่า พองหนอ....(ดับ) ยุบหนอ....(ดับ) เป็นขณะอยู่อย่างนี้ จิตอยู่ในขณะสภาวะนั้น
ไม่ฟุ้งซ่านเลยครับ เพราะเห็นแต่เกิดดับๆอยู่อย่างนั้น จะฟุ้งได้อย่างไร บริกรรมช่วยให้จิตมีอารมณ์
อยู่กับรูปนามดีขึ้น ใจที่รู้อาการของท้องที่พองขึ้นยุบลงนั้น ตรงนี้เรียกว่าเห็นสภาวะรูปตามจริง

เช่นนั้น เขียน:
การทำเหตุโดยเพื่งรูปขันธ์ ท้องยุบ ท้องพอง จึงเป็นการพัวพันในรูปกาย อันเป็นเหตุแห่งอุปธิเพื่อภพต่อไป การกำหนดเช่นนั้นจึงเป็นไปด้วยทิฐิ พัวพันอยู่ในกามสัญญาอันเป็นเครื่องเนิ่นข้า ไม่อาจพ้นจากความทุกข์ไปได้


คุณบอกว่าเพิ่มรูปขั้นธ์ เพิ่มตรงไหนครับ ผมจะรู้ว่าพองยุบหรือไม่ มันก็มีอยู่แล้ว มันพองยุบอยู่ของมัน
อย่างนั้นเอง มีมาตั้งแต่คลอดออกมาครับ ไม่ได้เพิ่มเลย เพียงแต่รู้อาการพองยุบของท้องเท่านั้นครับ
และการกำหนดตามสภาวะนั้นว่า พองหนอ ยุบหนอ ก็นัยเดียวกันกับ เมื่อเดินอยู่ก็รู้ว่า เราเดินอยู่ ในสติ
ปัฏฐานนะครับ

เช่นนั้น เขียน:
ธรรมอันใด ไม่ตามพัวพันในกามสัญญา ฯลฯ


พองหนอ ยุบหนอ ตรงไหนบอกว่ากามสัญญาครับ พอง คืออาการที่ท้องค่อยๆพองขึ้น รูแบบนี้
เป็นกามเหรอครับ รู้รูปหรือกายแบบนี้เป็นกามสัญญาตรงไหน พระพุทธองค์แนะนำแบบนี้ไว้นะครับ
รู้ตามจริง มันพองก็ว่าพองไงครับ

คำว่าหนอ ตรงไหนบอกว่ากามสัญญา หนอแล้วจบ คำว่าหนอเองก็ไม่ส่อไปใน
ทางดีหรือร้ายเลย แม้แต่พระอุทานของพระพุทธเจ้า ยังมีคำว่าหนอเลย หนอคำนี้ไม่มีอคตินะครับ

เช่นนั้น เขียน:
ด้วยสัทธาต่ออรหัตมรรคนั้นแน่วแน่ไม่คลอนแคลนมี อรหัตมรรคเป็นธรรมเฉพาะหน้าเป็นปัจจุบัน ย่อมมีกาย เวทนา จิต ธรรม สักแต่ว่าเป็นที่ระลึกอาศัย โดยไม่ต้องไปเห็นหนอ รู้หนอซึ่งทำให้จิตฟุ้งออกจากอรหัตมรรค ฟุ้งออกจากธรรมคืออรหัตมรรค
เมื่อต้องการผลคือ การพ้นทุกข์ จึงควรตั้งจิตไว้ประคองจิตไว้ที่อรหัตมรรค ไม่พัวพันในวิบากอันเป็นทุกข์


สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีปฏิบัติครับ ไม่เหมือนกันทุกแบบหรือทุกทาง แต่จะสรุปลงที่สติปัฏฐานเหมือนกันหมด
แม้แต่พระพุทธองค์ยื่นผ้าให้ภิกษุบริกรรม รโชหรณํ ๆ ยังบรรลุพระอรหันต์ได้เลยครับ ไวด้วยซิ
๗ วันเอง มีบริกรรมด้วย แถมมีรูป(ผ้า)ด้วย ถ้าจำไม่ผิดน่าจะพระจูฬบันถก ทำไมไม่ตำหนิพระองค์ท่าน
บ้างครับ

อย่าเชื่อเพราะคนพูดเป็นพระหรือเป็นคนน่านับถือครับ เรามีปัญญาที่จะรู้เข้าใจ มี ศรัทธา วิริยะ สติ
สมาธิ ปัญญา พร้อมที่ฝึกได้เหมือนๆกันทุกคน

คุณลองพิจารณานะครับว่า ที่ผมพูดถูกหรือไม่ ตามเหตุผล อย่าตามทิฏฐิครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
จิตเป็นสัมมาสมาธิ คือจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย


ยินหนอ รู้หนอ แล้วดับเลย ไม่ปรุงแต่งเพิ่ม เป็นกามสัญญาตรงไหนครับ
สิ่งที่มากระทบยังไม่ถึงเวทนาด้วยซ้ำ ดับไปตั้งแต่ผัสสะหรือกระทบแล้ว
ก็เลยไม่ถึงสัญญาด้วย แล้วเป็นกามสัญญาตรงไหนครับ เมื่อเวทนาไม่มี
สัญญาไม่เกิด แล้วอกุศลกรรมจะมาอย่างไรครับ

เช่นนั้น เขียน:
เมื่อละอภิชฌาโทมนัสในโลกเสียได้ แต่ปัญญิณทรีย์ยังอ่อน พึงอาศัยสัทธา ยังสัทธาในมรรค อันมีนิพพานเป็นอารมณ์ มีสัญญาในอนิมิต หรือสุญญตสัญญา หรืออัปปณิหิตสัญญา และทำให้ปรากฏเป็นจริง


อภิชฌา องค์ธรรมคือ โลภะ
โทมนัส องค์ธรรมคือ โมหะ มีโมหะเป็นสมุฏฐาน (ปริยุฏฐานกิเลส)

พองหนอ ยุบหนอ เห็นหนอ ยินหนอ รสหนอ รู้หนอ ฯลฯ ไม่ได้อยากให้พองเกิด
หรือไม่ได้อยากให้เสียงเกิดเลย มันมีอยู่แล้วปกติ แล้วมันเกิดมา ก็รู้ตามจริงว่ามันพองมันยุบ
รูปที่เห็นก็เหมือนกัน อยู่เฉยๆมันก็เห็น เพราะมีตาและรูป มีจักขุประสาท เมื่อเห็นก็เห็นหนอ
ไม่ได้อยากให้เห็น หรือ เมื่อรู้เห็น ก็ไม่ได้ไม่พอใจมันเลย รู้มันเฉยๆเท่านั้น วางใจเป็นกลาง
คุณคิดว่าวางใจเมื่อกำหนดรู้แบบนี้เป็นโลภหรือโทสะเหรอครับ

เช่นนั้น เขียน:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยัง
ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่านี้ ที่เขามนสิการ
อยู่


ไม่อยาก เพราะกำหนดรู้เฉยๆ (ไม่มีกามาสวะ)
มันจะมีอาการอย่างไร ก็ช่างมัน รู้เฉยๆ (ไม่มีภวาสวะ)
เห็นตามจริงว่า มันพองแล้วตั้งอยู่ไม่ได้ (อนิจจัง) เพราะถูกบีบคั้นด้วยอนิจจังจึงเป็นสภาพทนไม่ได้
(ทุกขัง) ก็รู้ว่า มีเพียงรูปกับนาม ไม่ควรยึดถือว่าเรา ว่าของเรา

แบบนี้ กาม ภพ อวิชชา เกิดเหรอครับ มนสิการแบบนี้ มีตัณหาคือ กาม ภวะ หรือ อวิชชาตรงไหน



เช่นนั้น เขียน:
ธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ท่านกามโภคี พึงแก้ทิฐิ ของท่านเสียใหม่


เตือนตนเองเถิดครับ ผมมีเหตุผลในวิธีนี้ คนที่พูดว่าวิธีนี้ไม่ถูกต้อง จะเป็นใครก็ตาม ผมว่าเขาไม่รู้จริง
ในวิธีนี้แล้วละครับ ทั้งไม่เคยปฏิบัติวิธีนี้ให้ถึงขนาดที่จะตัดสินได้ด้วย แล้วมาพูดทำไมไม่รู้
คนประเสริฐด้วยคุณธรรม จะไม่ตำหนิวิธีปฏิบัติอื่นโดยที่ตัวเองยังไม่เข้าไปประจักษ์แจ้งอย่างถ่องแท้
ครับ

ที่คุณยกพระสูตรมา ๒ โพสของผม แก้ได้หมดแล้วว่าไม่ผิดเลย หามาอีกครับ ผมจะอธิบายให้ฟัง
อีกว่าอะไรเป็นอย่างไร คนอื่นอ่านจะได้ประโยชน์ด้วย จะได้รู้จักวิธีพอง-ยุบถูกกันซักที หลับหูหลับตา
ว่าวิธีนี้อยู่นั่นเอง ทั้งที่ไม่เคยปฏิบัติจริงๆ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
ที่คุณยกพระสูตรมา ๒ โพสของผม แก้ได้หมดแล้วว่าไม่ผิดเลย หามาอีกครับ ผมจะอธิบายให้ฟังอีกว่าอะไรเป็นอย่างไร คนอื่นอ่านจะได้ประโยชน์ด้วย จะได้รู้จักวิธีพอง-ยุบถูกกันซักที หลับหูหลับตาว่าวิธีนี้อยู่นั่นเอง ทั้งที่ไม่เคยปฏิบัติจริงๆ


คุณกามโภคี ไม่ได้แก้ซักกะอย่าง ท่านก็ยังคงพัวพันอยู่ในกามสัญญาตั้งแต่ต้นจนจบ จิตมีอารมณ์ที่รูปขันธ์ที่กายอันพองๆ ยุบๆ ทั้งๆที่ อาการพองๆ ยุบๆ ก็เป็นรูปที่มีจิตเป็นสมุฐาน อันมีเจตนากระทำ
ท่านต้องการทุกข์ ท่านก็ทำเหตุให้เกิดทุกข์ ต่อไป
มีรูปเป็นอารมณ์ มีขันธ์เป็นอารมณ์ ผลก็คือวัฏฏะนั้นย่อมยาว

อ้างคำพูด:
อภิชฌา องค์ธรรมคือ โลภะ
โทมนัส องค์ธรรมคือ โมหะ มีโมหะเป็นสมุฏฐาน


เขียนผิดเขียนใหม่ก็ได้น๊ะครับท่าน

อ้างคำพูด:
พองหนอ ยุบหนอ เห็นหนอ ยินหนอ รสหนอ รู้หนอ ฯลฯ ไม่ได้อยากให้พองเกิด
หรือไม่ได้อยากให้เสียงเกิดเลย มันมีอยู่แล้วปกติ แล้วมันเกิดมา ก็รู้ตามจริงว่ามันพองมันยุบ
รูปที่เห็นก็เหมือนกัน อยู่เฉยๆมันก็เห็น เพราะมีตาและรูป มีจักขุประสาท เมื่อเห็นก็เห็นหนอ
ไม่ได้อยากให้เห็น หรือ เมื่อรู้เห็น ก็ไม่ได้ไม่พอใจมันเลย รู้มันเฉยๆเท่านั้น วางใจเป็นกลาง
คุณคิดว่าวางใจเมื่อกำหนดรู้แบบนี้เป็นโลภหรือโทสะเหรอครับ


โมหะครับ โมหะ ฟุ้งโดยเจตนาครับ ออกจากมรรคปฏิปทาครับ จิตเป็นอกุศลครับ
[๓๓๔] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?
อกุศลจิต สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น
ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ
มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ อุทธัจจะ โมหะ
อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย
เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล.

อ้างคำพูด:
ยินหนอ รู้หนอ แล้วดับเลย ไม่ปรุงแต่งเพิ่ม เป็นกามสัญญาตรงไหนครับ
สิ่งที่มากระทบยังไม่ถึงเวทนาด้วยซ้ำ ดับไปตั้งแต่ผัสสะหรือกระทบแล้ว
ก็เลยไม่ถึงสัญญาด้วย แล้วเป็นกามสัญญาตรงไหนครับ เมื่อเวทนาไม่มี
สัญญาไม่เกิด แล้วอกุศลกรรมจะมาอย่างไรครับ


จิตท่านพัวพันในกามสัญญาตามที่ท่านหนออยู่นั่นล่ะครับ เวทนารู้สิ่งใด สัญญาจำสิ่งนั้น วิญญาณก็รู้ในสิ่งนั้น การบอกว่าไม่ถึงสัญญา จึงผิดสภาวะธรรมครับ ท่านเข้าใจองค์ธรรมผิดแระครับ
ท่านขณะท่านหนอ เห็นหนอ ท่านไม่มีสัญญาขันธ์หรือครับ ท่านมีสัญญาขันธ์หรือเปล่าครับ
ถ้าไม่มีสัญญาท่านจะเห็นหนอ ยินหนอ รู้หนอ ได้อย่างไรครับ
อกุศลกรรม คือก็มีโมหะมูลจิตนะครับ
ดังนั้นการยินหนอ รู้หนอแล้วดับเลยไม่ถึงสัญญาเลยจึงไม่สามารถทำได้จริงครับ

อ้างคำพูด:
ไม่อยาก เพราะกำหนดรู้เฉยๆ (ไม่มีกามาสวะ)
มันจะมีอาการอย่างไร ก็ช่างมัน รู้เฉยๆ (ไม่มีภวาสวะ)
เห็นตามจริงว่า มันพองแล้วตั้งอยู่ไม่ได้ (อนิจจัง) เพราะถูกบีบคั้นด้วยอนิจจังจึงเป็นสภาพทนไม่ได้
(ทุกขัง) ก็รู้ว่า มีเพียงรูปกับนาม ไม่ควรยึดถือว่าเรา ว่าของเรา


ถูกแล้วครับ โดยองค์ธรรมของอกุศลจิตดวงที่12 จึงเป็นตามที่ท่านบอกล่ะครับ เจตนาฟุ้งไงล่ะครับ
อกุศลจิตก็ เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป เหมือนกันกับกุศลจิตล่ะครับ เมือมนสิการด้วยอกุศลจิต ผลที่ได้ก็คือ ภพหรือวัฏฏ์ อันยาวต่อไป อวิชชาสวะทั้งนั้นครับ


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 17 ส.ค. 2009, 15:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แชร์หน่อยนะครับ ดูมันยุบ และพอง เฉยๆได้มั้ยครับ โดยไม่ต้องกล่าวในใจก็น่าจะดีนะครับแค่เห็นลักษณะอาการ ความเป็นอนิจจัง

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อ เห็น สักว่าเห็น เมื่อฟังสักว่าฟัง เมื่อทราบสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้ง สักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ ตรงนี้ผมแก้ให้แล้ว ชัดไหมครับ เห็นสักว่าเห็น ฟังจักว่าฟัง ทรายจักว่าทราบ รู้แจ้งจักเป็นสักรู้แจ้ง เห็นหนอ ยินหนอ รู้หนอ รู้สภาวะนั้นโดยไม่ตามว่า รูปอะไร เสียงอะไร รู้อะไร สักว่า.... ชัดหรือยังครับ ไม่ได้ทำกันลอยๆนะครับ
สาธุสำหรับการยกท่านพาหิยะครับ ท่านพาหิยะ ท่านสั่งสมบารมีมานานมากจนเมื่อสหายผู้เป็นเทวดาได้เตือนท่านว่าท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ท่านไม่ได้มีปฏิปทาเป็นเครื่องบรรลุพระอรหันต์ และเทวดาสหายท่านก็ได้บอกท่านพาหิยะว่าพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่ใด เมื่อท่านได้พบพระพุทธองค์ ท่านจึงขอให้พระพุทธองค์แสดงธรรม และได้ทรงอ้อนวอนถึง 3 หนซึ่งหนที่ 3

พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคก็ดี
ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรด
ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาล
นานเถิด ฯ

ซึ่งพระพุทธองค์ ก็ทรงตรัสสอนดังนี้ว่า " ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อ ทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ." เมื่อท่านพาหิยะได้ฟังอรหัตมรรค บทนี้ จิตของพาหิยทารุจีริยะกุลบุตร หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาค

อะไรคืออริสัจจ์4 ในบทนี้ ท่านพาหิยะท่านใช้ปัญญาญาณแทงตลอดอริยสัจจ์ 4 ในขณะจิตเดียวอย่างไร

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ ทั้งหลาย ......ทุกข์
การรับรู้โดยทิฐิ ตัณหา มานะว่าเป็นอัตตา ก่อให้เกิดอุปธิ นั้นคือ.... สมุทัย เหตุแห่งทุกข์
ในกาลใดแลท่านไม่มี ในกาลนั้นท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง ........นิโรธ
เพราะละอัตตา ว่ามีว่าเป็น จึงชื่อว่าเป็นผู้สักว่าเห็น เป็นผู้สักว่าฟัง.... คือไม่พัวพันในอุปธิอันก่อให้เกิดภพ เป็นที่ตั้งแห่งอัตตา นี้คือมรรคปฏิปทา

ท้ายพระสูตร
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทาน
นี้ในเวลานั้นว่า
ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด
ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์
ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี
ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ ๔) รู้แล้ว
ด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป
จากสุขและทุกข์ ฯ


พระธรรมบทนี้ ว่างแล้วจากการพัวพันในนามรูป อันก่อให้เกิดอัตตา เมื่อละอัตตาทั้งมวล ก็บรรลุมรรค ผล นิพพาน ท่านพาหิยะจึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ และบรรลุนิพพานในท้ายที่สุด

การตามดูตามรู้ พองๆ ยุบ อันเป็นรูปขันธ์เนื่องด้วยตน เป็นไปกับตน ย่อมเป็นปปัญจธรรม ธรรมอันเป็นเครื่องเนิ่นช้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ใจจริง อยากเข้ามาสนทนา กับทั้งสองท่านน่ะครับ

แต่ อ่านแล้ว ตาลาย ...




ผมเสนอว่า

ลองลิสต์ ประเด็นที่เห็นไม่ตรงกัน ออกมา เป็นข้อๆ

แล้ว ศึกษาร่วมกัน ไปทีละข้อ ทีละข้อๆ

ข้อไหนเห็นตรงกันแล้ว หรือ เห็นไม่ตรงกันแต่ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน(หรือ ไม่ต้องการข้อสรุป)... ก็ผ่านไป
แล้ว นำข้อใหม่มาวาง



ถ้า ว่างๆ ผมจะลองมาลิสต์ แยกเป็นประเด็นๆ ให้

จะได้เกิดประโยชน์ต่อผู้ศึกษาท่านอื่นด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


dhama เขียน:
แชร์หน่อยนะครับ ดูมันยุบ และพอง เฉยๆได้มั้ยครับ โดยไม่ต้องกล่าวในใจก็น่าจะดีนะครับแค่เห็นลักษณะอาการ ความเป็นอนิจจัง


บริกรรมหรือกำหนด เป็นเพียงวิธีฝึกครับ ถ้าสติสมาธิดีแล้ว ละได้เองครับ
จะเริ่มที่กำหนดแบบรู้เฉยๆก็ได้ ถ้าไม่เคยมา รู้แบบกำหนดบริกรรมก่อนก็ได้

เมื่อปรมัตถ์ปรากฏ จะละบัญญัติเองเลย ไม่ต้องบริกรรมช่วย ก็เห็นไตรลักษณ์ได้ชัดเจน
ในคนใหม่จะฟุ้ง อุบายท่านโกเอ็นก้า ยังเอาอานาปานะสติมาช่วยสติสมาธิก่อนเลยท่านดามา
ต่อเมื่อสติสมาธิดีแล้ว รู้เฉยๆครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 118 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร