วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 03:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนที่ ๔.
ความเดิมจากตอนที่ ๓ ซึ่งข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "การปฏิบัติสมาธิ คือการฟื้นฟู ทบทวนความจำในการมีสติสัมปชัญญะ มิให้เกิดความเคยชินในการประพฤติปฏิบัติ โดยไม่รู้สึกตัว และระลึกไม่ได้ อีกทั้งการปฏิบัติสมาธิ ยังทำให้เกิดการควบคุม การคิดฟุ้งซ่าน ปรุงแต่ง อันเกิดจากการได้รับการสัมผัสใกล้ชิดกับสรรพสิ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งย่อมหมายรวมไปถึงการควบคุมพฤติกรรมการกระทำอันเกิดจากการคิด การปรุงแต่ง อีกด้วย"
หรือหากจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้นแล้ว "การปฏิบัติสมาธิ เป็นการฝึกตัวเองมิให้เกิดความคิดฟุ้งซ่าน หรือฝึกสมาธิ เพื่อทำให้ระบบความคิดของแต่ละบุคคล สามารถควบคุมได้ ด้วยผล แห่งการปฏิบัติสมาธิ คือ ความมี สติ สัมปชัญญะ
ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปในตอนก่อนๆว่า "มนุษย์ทุกคน(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ล้วนมีสมาธิ เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว นั่นก็ย่อมหมายความว่า มนุษย์ทุกคนล้วนมี สติ สัมปชัญญะ เป็นธรรมชาติด้วยเช่นกัน" แต่การสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอันก่อให้เกิดการสัมผัสทางอายตนะทั้งหลาย เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสพฤติกรรม การกระทำทั้งทางกาย วาจา อยู่เป็นนิจ ก็จะเกิดความเคยชิน ขาดสติสัมปชัญญะไปขั้นตอนหนึ่ง กล่าวคือบุคคลมี "สติสัมปชัญญะ เพียงรู้จักตัวเอง รู้จักผู้อื่น รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แต่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ที่จะคิดพิจารณาหรือไตร่ตรอง หรือควบคุมความคิดของตัวเอง หรือไม่รู้จักใช้ความคิดตามความรู้ในหลักวิชาการ หรือไม่มีสติสัมปชัญญะ ที่จะคิดพิจารณาตามความรู้ในหลักศาสนา หรือหลักการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันฯลฯ ไม่ว่าบุคคลต่างๆเหล่านั้น จะครองเรือนอยู่ใน บทบาท หรือหน้าทีใดใด ก็ตาม หากขาดสติสัมปชัญญะในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ล้วนมีผลทำให้เกิด ความเบี่ยงเบนทางพฤติกรรม หลงตามไหลตามกระแสโลกาภิวัฒน์ทางวัตถุ และค่านิยมทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่น การละเล่น วัฒนธรรม จารีตประเพณี นับตั้งแต่ การรับประทานอาหาร ไปจนถึงการหลักนอน เพศศึกษา และอื่นๆ มากจนเกินเหตุ มากจนเกินควร เพราะขาดสมาธิ หรือขาดการควบคุมความคิด ขาดสติสัมปชัญญะในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดความวุ่นวายทั้งต่อตัวเอง ต่อบิดามารดา บุตร ธิดา ญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อนบ้านใกล้เคียง เพื่อนร่วมงาน สถาบันการเรียนการสอน สำนักงาน จนไปถึงประเทศชาติบ้านเมือง
ดังนั้น การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักศาสนาทุกศาสนา แต่ในที่นี้จะหมายเอา การปฏิบัติสมาธิตามหลักพุทธศาสนาเท่านั้น ล้วนเป็นสิ่งจำเป็น ล้วนมีความสำคัญ ที่จะเป็น เครื่องมือในการ สร้างความพอดีแห่งการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ในทุกสาขา อาชีพ ในทุกสถาบันการเรียนการสอน ในทุกสำนักงาน ในทุกกลุ่มบุคคล ในทุกกระทรวงทบวงกรม จนไปถึง ในทุกประเทศ เพราะการปฏิบัติสมาธิ จะเป็นเครื่องมือ หรือเป็นยารักษาโรครูปแบบหนึ่ง ในอันที่จะ ฟื้นฟู รักษา ทบทวน สร้างความเข้มแข็งมั่นคง ให้กับระบบการทำงานของร่างกาย อันเป็นผลต่อพฤติกรรม การกระทำทั้ง ทางกาย และใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.ค. 2009, 16:10
โพสต์: 298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณมากมายค่ะ
:b8: :b8: :b8: :b8:

ขอให้ทุกชีวิต เพื่อนร่วมโลก
พ้นทุกข์โศก เวียนวน จนสงสาร
สู่พระธรรม มรรค ผล และนิพพาน
ทุกดวงจิต วิญญาณ ถ้วนทั่วเทอญ
:b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร